เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

"การเลี้ยงดูลูก" และ "การสั่งสอนลูก" คือประโยคสองประโยคที่คนเป็นพ่อแม่คงคุ้นเคยกันดี ประโยคแรก "การเลี้ยงดูลูก" เป็นการบ่งบอกไปในทาง physical หรือเป็นการปฏิบัติ ดูแลทางด้านการพัฒนาทางร่างกาย ส่วนประโยคที่สอง "การสั่งสอนลูก" เป็นการบ่งบอกไปในทาง emotion หรือใรทางจิตใจ การพัฒนาการทางจิตจะอาจะไม่เห็นได้เป็นตัวตนเหมือนการพัฒนาการทางร่างกายของลูก แต่การพัฒนาการทางจิตใจมีความสำคัญไม่แพ้การพัฒนาการทางร่างกายเลยทีเดียว

คำถามที่หลายๆคนอาจจะมีอยู่ในใจ คือ "ทำอย่างไรถึงจะเลี้ยงลูกให้ได้ดี" คำว่า "ได้ดี" หมายถึงอะไร สำหรับตัวดิฉันเองแล้ว คิดเสมอ ว่า เลี้ยงลูกได้ดีหรือไม่ได้ ใครคือคนตัดสิน สังคม คนรอบข้าง หรือตัวพ่อแม่เอง สังคมและคนรอบข้างอาจจะมีส่วนประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงดูลูกของแต่ละบุคคล ในสังคมที่แตกต่างกัน อาจจะมองในสิ่งเดียวกันแตกต่างกันไป เมื่อสังคมคือแค่ส่วนประกอบ แล้วอะไรคือตัวหลักที่จะช่วยในการเลี้ยงดูลูกล่ะ "พ่อแม่" นั่นเอง คือตัวหลักที่จะ ทำให้ลูกมีการพัฒนาทางร่างกายและจิตใจที่ดี

ร่ายมาก็ซะยาว อะไรหนอที่จุดประกายทำให้แม่มาบ่นเรื่อยเปื่อย จากที่เกริ่นเอาไว้แต่ต้นว่าสังคมและคนรอบข้างมีส่วนสำคัญในการเลี้ยงลูก เมื่อลูกเป็นเด็กที่มีสองสังคม หน้าที่ ที่จะดูแลลูกอบรมให้ลูกเข้าใจทั้งสองสังคมก็ดูจะหนักขึ้นเป็นสองเท่า ตัวแม่เองดูแล และเลี้ยงดูลูกใช้พื้นฐานของทั้งสองวัฒนธรรม ทุกอย่างผ่านมาด้วยดีจนเมื่อลูกเริ่มเข้าขวบปี มีการตอบโต้ได้มากขึ้น การตอบโต้กลับของลูก เป็นเหมือนตัวประเมิณผลงานของแม่เอง ว่าแม่ทำหน้าที่ของแม่ได้ดีขนาดไหน แม่อยากจะพูดถึงอีกหนึ่งตัวประเมิณที่แม่ได้สัมผัสในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา

ช่วงเดือนที่ผ่านมานี้แม่ได้มีโอกาศเห็นถึงพัฒนาการทางด้านที่ไม่ค่อยดีของหนูอีกอย่างหนึ่ง หนูเริ่มที่จะติดที่จะใช้จุกหลอกมากขึ้น จากที่เคยใช้แค่อันเดียว เวลานอน พอตื่นก็จะคายออกวางไว้ที่เตียงแล้วเดินออกมาจากห้องนอน ก็กลายเป็น ไม่ยอมคาย จะอมเอาไว้ตลอดเวลา จากที่ใช้แค่อันเดียว ก็เปลี่ยนมาใช้ถึงสามอัน อันนึงใส่ปาก อีกสองอันเอาไว้ในมือ มือละข้าง สำหรับแม่ มันเป็นอะไรที่แม่รับไม่ได้มาก จากที่แต่แรกหนูเกิดไม่เคยอยากให้ใช้จุกหลอกเลย แต่ครอบครัวทางด้านของพ่อของหนูใช้กัน พอหนูไปบ้านโน้นก็กลายเป็นนิสัยติดมา พออาทิตย์ที่ผ่านมาทุกอย่างเริ่มเหมือนจะแย่ลง วันอาทิตย์ที่ผ่านมาหนูร้องให้จะเอา nuk-nuk ทั้งวัน อมไว้ไม่ยอมปล่อย แม่เหมือนมองเห็นในอนาคต ลูกสองขวบ สามขวบ แต่ยังอมจุกหลอกอยู่เหมือนเป็นเด็กๆ คิดอยู่นานจะทำอย่างไรดี ถ้าปล่อยให้โตไปใช้จุกหลอกอย่างนี้ต่อไป ถ้าหนูโดนเพื่อนๆล้อคงจะทำลายจิตใจหนูเอง ทำให้พัฒนาการทางจิตใจหนูด้อยลง พอแม่คิดได้ ตอนแรกแม่ก็แพลนเอาไว้ว่า จะไม่ให้หนูอมจุกในช่วงเวลากลางวัน แต่กลางคืนโอเค

วันจันทร์ตอนเย็น พ่อเอาหนูนอน หนูไม่ยอมนอนงอแงจะร้องเอาจุกทั้งๆที่มีอยู่แล้วหนึ่งอันในปาก แม่นั่งกุมขมับ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ท่าทางจะเลิกแค่กลางวันมันคงจะมีแค่ความหวังริบหรี่ แม่บอกพ่อบอกว่า We must give her her nuk-nuk only when she go to bed. สักพักหนูหายไป หนูแอบไปนั่งที่เตียงพร้อมทำเสียง nuk nuk แหมมอะไรจะรู้ขนาดนั้นว่าพ่อแม่คุยอะไรกัน พอแม่แกล้งยื่นให้เท่านั้น ลูกสาวคนดีเดินลงจากเตียง ก็ได้ของที่อยากได้แล้ว แม่จะมีความหมายอะไร คืนนั้นแม่ทำงานคิดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นตลอด คิดอยู่นานว่าจะปล่อยให้ลูกใช้จุกไปเรื่อย จะให้ลูกใช้แต่ตอนกลางคืน หรือจะเลิกไปเลย สุดท้ายแม่เลยตัดใจได้ เพื่อเป็นผลดีต่อทั้งพ่อแม่ และหนูเอง เพราะฉะนั้นเลิกมันไปเฉยๆเลยก็แล้วกัน

วันอังคารเย็นแม่ได้มีโอกาศดูหนู หนูยังงอแงเหมือนเดิม จะเอาแต่จุกหลอก แม่ด้วยความโมโห เลยเอาทุกอย่างไปซ่อนหมดเลย พอถึงเวลานอนหนูกลับนอนได้อย่างไม่มีปัญหา ทำเอาแม่โล่งใจว่าคงไม่ยากอย่างที่แม่คิด พอตีสองแม่ได้ยินเสียงร้องหนู ตื่นขึ้นมาจากปกติเอาจุกยัดปากแล้วก็เดินไปเอาขวดนม วันนี้ไม่มีจุก หนูเลยร้องให้เหมือนโลกจะแตกก็วันนี้แล้ว แม่เอานมให้ก็ไม่กิน ร้องให้จนสิบนาทีผ่านไป แม่ดูออกว่าไม่ได้ร้องแบบเจ็บปวดแต่เป็นการร้องแบบไม่ได้ดังใจ ผ่านไปครึ่งชั่วโมง แม่แทบจะวิ่งไปเอาจุกหลอกมายัดปาก แต่พ่อเตือนแม่ว่า Ater all the crying we just went through and you want to give her that...... แม่กลับมานึกได้ แม่ไม่อยากได้ขึ้นชื่อว่า เป็นพ่อแม่รังแกฉัน แม่ท่องเอาไว้จากหนึ่งถึงร้อย "ต้องใจแข็ง ต้องใจแข็ง" สุดท้ายหนู ร้องให้จนเหนื่อยหลับไปเอง

วันพุธ ทั้งวันหนูโอเค ไม่มีการถามหาจุกหลอก กลางคืนนอนหลับได้โดยไม่มีจุกหลอก พอหนูนอนแม่ก็ใจหวิวๆเตรียมตัวรับการร้องให้ของหนู แต่แปลกมาก หนูตื่นมาร้องกินนมแต่ไม่มีร้องโววายเหมือนคืนแรก ทานนมจนหมดแล้วก็หลับไป

วันพฤหัส (วันนี้) วันนี้มีร้องให้จะเอาจุกหลอกตอนกลางวัน แต่แม่ยังคงความใจแข็งเอาไว้ ยังไงเราก็ทำกันมาสองวันแล้ว แม่ยอมทน คืนนี้แม่จะดูว่าหนูจะร้องอีกหรือเปล่า แม่เห็นได้ว่าทุกๆวันอาการของหนูจะดีขึ้น อย่างเดียวที่แม่ต้องจำไว้คือใจแข็ง น้ำตาของลูกไม่มีใครอยากที่จะเห็น ลูกร้องให้แม่เองอยากร้องให้มากกว่าเป็นสิบเท่า

ถ้าเราผ่านปฏิบัติการนี้ไปได้ อันต่อไปที่แม่อยากจะทำคือ เลิกขวดนม และให้หนูนอนในเตียงของหนูข้างๆเตียงพ่อแม่ได้เองตลอดคืน

แล้วแม่จะมาบันทึกเพิ่มเติมนะคะ

Views: 244

Comment

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

Comment by แม่น้องเรอิ-เลอา-ลูค on January 15, 2010 at 5:15pm
ขอปรบมือให้กับสิ่งที่รีทำนะจ๊ะ เพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เข้าใจว่ามันทำให้แม่ต้องปวดใจเมื่อเห็นลูกร้องไห้ แต่ถ้าเราคิดถึงอนาคตข้างหน้า ก็ถือว่าเราทำเพื่อลูก เค้าจะได้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องฟันยื่น มีการสบฟันที่ผิดปกติ ต้องมาเจ็บตัวกับการต้องจัดฟันภายหลัง เป็นกำลังใจให้ด้วยคนนะจ๊ะ และขอให้เลิกขวดนมให้ได้ด้วนจ้ะ

ปล. การที่เด็กติดดูดนิ้ว หัวนมหลอก หรือดูดขวดนมหรือขวดน้ำ จะมีผลต่อการกลืนของเด็ก ทำให้เด็กมีการกลืนที่ผิดปกติ (tongue thrust) ลิ้นจะยื่นมาอยู่ระหว่างฟันหน้าขณะกลืน (การกลืนที่ถูกต้องในเด็กที่ฟันขึ้นแล้วจะเอาลิ้นแตะที่เพดานบนหลังฟันหน้าบนโดยที่ฟันหลังสบกัน) ซึ่งผลที่ตามมาจะทำให้ฟันหน้าไม่สบกัน และนอกจากนั้นการดูดจะทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อแก้ม ซึ่งมีผลทำให้ขากรรไกรบนแคบลง และเพดานโค้งมากขึ้น ทำให้เกิดการสบฟันที่ผิดปกติประเภท posterior crossbite ได้
Comment by Prim & Poom on January 15, 2010 at 3:40pm
มาร่วมฟังปฏิบัติการด้วยคนจ้ะรี ขอแชร์ประสบการร่วมนิดๆหน่อยๆด้วย
ตอนพี่เลี้ยงพริมเล้กๆ เคยจะเอาจุกหลอกให้ใช้ (เห็นเค้าใช้กันอะ) แต่กลับแทบไม่ได้ใช้เพราะ พริมไม่อยากใช้ อมๆ คายๆ เล่นไปงั้นแหละ ซื้อมาเลยแทบไม่ได้ใช้ โชคดีไป ส่วนมาถึงตาแสบเล้กของพี่ พี่เลยไม่มีการซื้อมาให้ใช้เลย เพราะลองย้อนไปดูว่าพริมไม่จำเป็นต้องใช้ เลยคิดว่าจะไม่ใช้กะพูมด้วย และก็ไม่ได้ใช้มาจนบัดนี้ เลยไม่ต้องประสบปัญหาเรื่องเลิก

แต่ขวดนมยังเลิกไม่ได้ เพราะพี่อาจจะคิดต่างไปนิดคือ พี่เห็นเค้าใช้ขวดนมแล้วมีความสุขดี และก็ไม่ได้อมขวด อมนม คือ ดูดพรวดเดียวจบ ก็เลยยังไม่ได้จะให้เลิกอะ (คงคิดผิดเหมือนกันเนอะ) ตอนพริมก็เลิกช้าเกือบจะเข้ารร.โน่นแน่ะ แต่ก็เลิกได้ไม่ยากจ้ะ มีอ้อนนิดหน่อย เท่านั้น

เป็นกำลังใจให้แม่เก่งๆอย่างรี ไม่ต้องปวดใจกับน้ำตาลิซซี่มาก พี่เชื่อว่า เลิกได้อีกไม่นานแน่ๆ ลิซซี่ฉลาด พอรู้ว่าแม่ไม่ให้เด๋วก็ไปสนใจอย่างอื่นแทนเองล่ะ
Comment by ลูกลิงทั้งสอง on January 15, 2010 at 3:13pm
กำลังจะให้เลิกนมแม่อยู่ค่ะ สงสัยจะใจแข็งไม่พอ ใกล้เจ็ดเดือนแล้ว ให้เลิกนมแม่ตั้งแต่5เดือนแล้วไม่ได้ซักทีเลย ไม่กินนมขวด จะกินแต่นมจากเต้า ปั๊มให้ก็ไม่กิน น้ำจากขวดแต่ก่อนกินเดี๋ยวนี้ไม่เอาเลย กลัวติดนมแม่แล้วเลิกนานจังเลยค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ
Comment by อรนัย รักในหลวง on January 15, 2010 at 2:52pm
ต้นกล้าก็ติดจุกหลอกจนสองขวบทำให้ต้นกล้าเป็นเด็กผอมเพราะผมไม่เห็นต้องง้อนมเลย ผมเลยไม่ดูดนมซะงั้น..คุณหมอแนะนำว่าให้เลิกตอนที่มีการเปลี่ยนบรรยากาศ เปลี่ยนสถานที่

ยังไงพี่ก็เป็นกำลังใจให้รีด้วยนะ ในชีวิตแม่ยังมีอีกหลายเรื่องที่เราต้อง "ใจแข็ง" เพื่อลูก..
Comment by สุภาพร(แม่ปั้น฿แป้ง) on January 15, 2010 at 2:24pm
รี เด็กแต่ละคน เลิกบางอย่างได้ต่างกัน แป้งเลิกจุกหลอก ตอน 1 ขวบ ง่ายมาก ไม่ใช้เลยก็จบไม่ร้อง ซึ่งใช้มาตั้งแต่เกิดเลยนะ แต่ขวดนม นี่ดิเลิกยากกกกกจริงๆ สำหรับ เรา รวมถึงนมกลางคืน เลิกไม่เด็ดขาด วกกลับมากินใหม่แล้ว ต้องใจแข็งอย่างว่า หาอย่างอื่นหลอกล่อ เช่นตุ๊กตา ผ้าที่ชอบ เด็กบางคนติดผ้า เขาก็อาจหลับได้อ่ะ รี สู้ๆๆ
Comment by Nui & Pordee krub on January 15, 2010 at 2:23pm
" heartache " คำนี้มันโดนหัวอกคนเป็นแม่อย่างเรามากเลยค่ะพี่รี
รออ่านปฏิบัติการขั้นเลิกขวดนมนะคะ ขอลอกบ้าง
Comment by babyashi on January 15, 2010 at 1:59pm
รี ใจแข็งเข้าไว้ เลิกจุกหลอก ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เลิกตอนนี้ดีแล้วล่ะ อีกหน่อยโตขึ้นจะเลิกยากกว่านี้ พี่ว่า ลิซซี่น่าจะปรับตัวได้เร็วนะ จากที่อ่านมา น่าจะทำได้สำเร็จ อชิก็เลิกได้แล้วตอนขวบครึ่ง แต่ตอนนี้กลับติดขวดนมแทน จะดูดน้ำจนกว่าจะหลับ กลายเป็นว่า ดูดน้ำเยอะมากๆ เลยคืนนึง เป็น8-10 ออนซ์อ่ะ (ไม่รู้ดีป่าว แต่เค้าก็ดูดของเค้าอย่างนั้น) ตอนแรกก็คิดว่า อึม ก็ดีเหมือนกัน ดูดน้ำล้างปากไปในตัว แต่ช่วงนี้พี่ก็เริ่มกังวลแล้วล่ะ ว่า อาจทำให้เลิกขวดนมยากขึ้น ไว้รีมีวิธีเลิกขวดนมยังไงก็แนะนำกันบ้างนะจ้ะ

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service