เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ลอกจากเวปแห่งหนึ่งมาแปะ เล่าสู่กันฟังคะ

"ลูกไม่ได้อย่างใจ" เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกๆ บ้าน ที่คาดหวังและวางกฎเกณฑ์ไว้ให้กับลูกมากเกินไป และมักจะมีคำถามจากบรรดาคุณพ่อคุณแม่หลายคนที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ทำไม" เช่น ทำไมลูกถึงเป็นแบบนี้ ทำไมลูกไม่เป็นแบบนั้น ทำไมลูกไม่ทำตามที่แม่สั่ง..... จนบางครั้งคนที่มานั่งตอบคำถามเหล่านั้นก็คือตัวของพ่อแม่เองว่า ทำไมเราต้องอยากให้ลูกเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ในความเป็นจริงแล้ว การเลี้ยงลูกให้ได้อย่างใจไม่ใช่เรื่องยากเลย หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยวางและให้อิสระกับลูก อย่าคาดหวังกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะนั่นอาจหมายความว่ายังไม่ถึงเวลาที่ลูกจะมีพัฒนาการในส่วนนั้นๆ ก็เป็นได้

"พญ. วิมลรัตน์ วันเพ็ญ" รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ให้ความรู้กับเรื่องนี้ว่า ความเป็นจริงแล้ว ความหมายของคำว่า ลูกไม่ได้อย่างใจของคุณพ่อคุณแม่ หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ลูกไม่กิน ไม่นอน ซน บอกให้ทำอะไรก็ไม่ทำ เพียงแต่สิ่งที่พ่อแม่ควรเข้าใจคือ เด็กในแต่ละวัยมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นเด็กตั้งแต่แรกเกิด-6 ปี จะทำอะไรก็ได้อย่างใจ เพราะว่าเด็กยังไม่ค่อยมีปฏิกิริยาโต้ตอบมากนัก แต่พอเริ่มหัดเดิน พ่อแม่จะเริ่มหงุดหงิด เพราะลูกจะเดินไปเดินมาบอกให้หยุดก็ไม่เชื่อฟัง อยากทำอะไรก็ทำทันที บางครั้งก็รื้อข้าวของในบ้านจนกระจัดกระจาย

ดังนั้นพ่อแม่ต้องเข้าใจว่า เด็กแต่ละวัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เด็ก 2-3 ปี มีความต้องการทำอะไรด้วยตัวเอง หากพ่อแม่ไปสะกัดกั้นทุกอย่างที่เขาอยากทำ มันก็กลายเป็นการขัดขวางจินตนาการของเด็ก ส่งผลให้ลูกเป็นคนขี้อาย กลัวไปทุกอย่าง เพราะตอนเด็กจะทำอะไรพ่อแม่ก็ห้ามตลอด จึงทำให้ตอนโตเขาเป็นคนไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำงานตามคำสั่งเนื่องจากเคยชินกับการเลี้ยงดูที่อยู่ในกรอบของคำสั่ง แตกต่างกับพ่อแม่ที่ให้ลูกได้ทดลองเล่นสิ่งต่างๆ โดยอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัย เช่น อยากตักข้าวกินเอง ก็ปล่อยให้เขาตัก เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือไปด้วย อีกอย่างเขาจะได้รู้ว่าพ่อแม่ได้ให้โอกาสกับเขาในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตั้งแต่เด็ก เขาจะได้สนุกกับตรงนั้นมากกว่าการทำโดยถูกบังคับหรืออกคำสั่ง

แต่พอเข้าสู่ช่วงวัยเรียน พ่อแม่หลายคนจะคิดว่าพอเข้าสู่วัยเรียนแล้ว การเรียนของลูกก็ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยไม่สนใจให้ลูกทำกิจกรรมเลย บังคับให้ลูกเรียนอย่างเดียว เพราะคิดว่าการทำกิจกรรมเป็นเรื่องที่ไร้สาระ จนทำให้ลูกขาดทักษะการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขปัญหา และการคบเพื่อนซึ่งเป็นเรื่องหนักใจของพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงของวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง

"พ่อแม่บางคนเห็นว่า การคบเพื่อนจะต้องเลือกคบเพื่อนดีๆ เพื่อนที่ตั้งใจเรียน แต่โดยธรรมชาติของเด็กบางครั้งก็มีการออกนอกลู่นอกทางบ้าง ดังนั้นพ่อแม่ต้องกำหนดกรอบใหญ่ๆ ให้กับลูกแต่ไม่ใช่กฎเกณฑ์อย่างชัดเจน เพราะเด็กก็จะพยายามหาทางหลบหลีกจนได้ พ่อแม่ควรมีวิธีที่พูดคุยกับลูกโดยการบอกว่า ถ้าลูกเป็นผู้หญิงจะไปไหนกับเพื่อนผู้ชายสองต่อสองไม่ได้เด็ดขาด อย่างน้อยต้องมีเพื่อนผู้หญิงไปด้วย หรือสถานที่ไหนไม่ควรไปหรือไปได้แต่ต้องไปกับผู้ใหญ่ มีการกำหนดกรอบของความเหมาะสมเอาไว้ ถ้าลูกหลุดออกไปนอกกรอบก็ควรมีการลงโทษ ในความหมายนี้ไม่ใช่การตี แต่เป็นเงื่อนไขที่สามารถต่อรองกันได้ เช่น เมื่อลูกไปเที่ยวกลับมาไม่ตรงเวลา ครั้งต่อไปอาจจะไม่ได้ไปเที่ยวอีก และในพื้นฐานของกรอบจะต้องมีความยุติธรรม ถ้าเป็นข้อกำหนดที่แม่ตั้งขึ้นและลูกก็ปฏิบัติตามแล้ว แต่ไม่ได้ผลตามคาดหวังเอาไว้ แม่ก็ไม่ควรต่อว่าลูกว่าทำไมถึงทำไม่ได้"

นอกจากนั้น บางครั้งระเบียบกฎเกณฑ์ที่จะใช้กับลูกอาจทดลองใช้กับคุณพ่อก่อนก็ได้ว่า จะมีผลตอบกลับมาในทิศทางไหน ถึงแม้มันจะเป็นคนละวัยก็ตามจะได้เตรียมรับมือ หรือตอบคำถามที่ลูกจะถามย้อนกลับมา อีกประการหนึ่ง พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกด้วย ถ้าพ่อแม่เป็นคนใจร้อน ขี้หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย แต่ต้องการให้ลูกเป็นคนมีเหตุผล มันก็คงจะไม่ยุติธรรมสำหรับลูกมากนัก บางเรื่องเด็กก็เข้าใจ เพียงแต่เขาไม่สามารถทำได้

อย่างไรก็ดี คุณหมอแนะนำว่า ทุกครั้งที่จะสอนลูกอย่าใช้คำด่า อย่าเหยียดหยาม อย่าประนาม อย่าเปรียบเทียบ แต่ให้พูดอย่างตรงไปตรงมาว่าลูกมีความต้องการอะไร ยกตัวอย่างเรื่องความปลอดภัยของลูกและอยากให้ลูกกลับบ้านตรงเวลา แม่ต้องอธิบายเหตุผลว่า สังคมมันมีอันตรายอยู่มากมาย แม่เป็นห่วงลูก อยากให้ลูกกลับบ้านเร็ว ๆ การพูดเพียงเท่านี้ เด็กก็จะสามารถเข้าใจได้เอง ตรงข้ามถ้าพูดในเชิงของการดุด่า เช่น โตแล้วไม่รู้จักคิด กลับดึกๆ ดื่นๆ พ่อแม่เป็นห่วงรู้ไหม คำพูดนี้จะทำร้ายความรู้สึกของลูก ฉะนั้นพ่อแม่ต้องพยายามพูดในเชิงบวกและต้องรู้จักบอกความต้องการของพ่อแม่ไปตรงๆ

"ถึงตอนนี้ การเลี้ยงเด็กที่เลี้ยงง่ายก็ยังต้องอาศัยความอดทนของพ่อแม่อยู่ และพ่อแม่ที่มีลูกเป็นเด็กเลี้ยงยากก็ยิ่งต้องเพิ่มความอดทนให้เข้มข้นขึ้น อย่าใช้อารมณ์กับลูก เพราะความใจร้อนมันจะยิ่งไปเพิ่มดีกรีความเป็นเด็กเลี้ยงยากขึ้นอีก แต่ถ้าพ่อแม่ใจเย็นกับเด็กที่ขี้หงุดหงิด เด็กจะซึมซับเอาความใจเย็นของพ่อแม่ไปอย่างไม่รู้ตัว เช่นเดียวกับเด็กที่ขี้อาย พ่อแม่ก็ต้องอดทนกับความขี้อาย ความไม่กล้าของลูก และพยายามผลักดันให้ลูกมีความกล้า อย่าพูดว่า เมื่อไรจะทำได้สักที ควรช่วยประคับประคองเขาก่อน อย่างการไปซื้อของฝึกให้เขามีความกล้า จูงมือลูกไปแต่ให้เขาไปซื้อเอง โดยที่พ่อแม่ยืนดูอยู่ห่าง พอลูกทำได้ก็ควรชื่นชมในความสามารถของลูกด้วย และอย่ารำคาญกับคำถามของลูก ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะตอบไม่ได้ก็ชวนลูกมาหาคำตอบด้วยกัน เพราะเมื่อใดที่เราเปิดโอกาสให้กับเขา เราจะเห็นว่าลูกก็เป็นอย่างใจเราต้องการได้"

Views: 196

Comment

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

Comment by MaMa n'JaY on October 11, 2010 at 4:12pm
มีหลายมุข 5555+ ปรับไปเรื่อยตามสถานการณ์จ้า ... บางทีก็โอนอ่อนผ่อนตามน้องเจเพื่อให้น้องเจทำตามในสิ่งที่มะม๊าอยากให้ทำบ้าง เพราะว่าถ้าห้ามมากไป ก็ไม่ทำ ก็ให้น้องเจทำตามอย่างที่น้องเจอยากทำ ทำเสร็จแล้ว ก็ทำตามมะม๊าบ้างน๊าาา 555+ อะไรอย่างเงี้ยค่ะ

ปล. จริง ๆ เมื่อก่อนเนี่ยสุดปรี๊ดเลยนะ ต้องยอมรับก่อน เพราะเราไม่เข้าใจเด็กอะ ว่าอย่างงั้นก็ได้ เราลืมไปข้อนึงว่า "เด็กไม่รู้ แต่เรารู้" อาม่าน้องเจคอยเตือนสติอยู่เรื่อยว่าอย่าดุหรือตีลูกด้วยอารมณ์นะ เวลาจะทำโทษ ก็ทำตอนที่เราอารมณ์ไม่ปรี๊ด มีเหตุมีผลอธิบายดีที่สุด ใจเราเย็นขึ้นเยอะตอนที่เราเห็นอาม่าสอนน้องเจ มีเทคนิคไม่ให้น้องเจงอแง เราก็ค่อย ๆ ลดความปรี๊ดลง ก็รู้สึกเออจริงเนอะ อาม่าเนี่ยเทคนิคดี คนสมัยก่อนมีเทคนิคดี ๆ และใจเย็นกว่าเราเย๊อะ ก็ลองใช้ น้องเจก็ไม่ค่อยดื้อ ไม่ค่อยซนเหมือนที่อาม่าบอกเลย และที่เชื่อมากขึ้น ก็ตอนไปรับสมุดพก คุณครูประจำชั้นเนี่ยแหละบอกว่าน้องเจค่อนข้างมีเหตุผล จะไม่ค่อยเหมือนเพื่อน ๆ ที่ยังกระจองงอแงอยู่เยอะกว่า ครูบอกว่าถ้าครูพูดเหตุผลนะ น้องเจจะยอมรับฟัง แล้วเชื่อทันที เราก็เลยเชื่อในสิ่งที่อาม่าน้องเจบอกไว้ และคอยแอบดูวิธีปรามดี ๆ แล้วเอามาใช้ บางอย่างก็มาปรับใช้ ... ดื้อน้อยลงเยอะกว่าตอนสองขวบกว่าสามขวบเยอะเลย ;)
Comment by แม่น้องกุน & น้องญาญ่า รักในหลวง on October 11, 2010 at 3:59pm
ขอบคุณคะMaMa n'JaYแชร์ประสบการณ์ให้ฟังคะ จะลองดูบ้างคะ
Comment by MaMa n'JaY on October 11, 2010 at 2:29pm
ของกัน ทำดีก็จะชม ทำได้จะชม แต่ถ้าทำได้แต่ไม่เรียบร้อย ก็จะมีแอบติบ้างว่ายังไม่สวย ยังไม่เรียบร้อย ลองจัดดูจิ๊ ทำงัยให้ดูเรียบร้อยกว่านี้ พับผ้าได้เรียบเหมือนที่ครูสอน บางทีก็มีบ้างที่น้องเจอิดออด งอแง แต่ก็จะยอมทำทุกครั้ง และจะมีคำชมพ่วงท้ายว่าอืมม วันนี้ทำได้ดี วันนี้มะม๊าไม่เหนื่อยเลย อะไรทำนองนี้ เรื่องที่นอน (และหมอนเน่า) ก็นอนแล้วต้องเก็บ กันเคยนะคะว่าน้องเจเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บ ดูซีดีแล้วทิ้งไว้อย่างงั้น กันก็ไม่ว่าค่ะ แต่ของจะหายไปทีละชิ้น เริ่มจากของที่คุ้นตา ของที่ชอบก่อน แล้วน้องเจจะเกิดอาการสงสัยว่า .. เอ หายไปไหนหว่า ก็ยังเล่นและไว้ตรงนี้เลย (ของที่โดนเอาไปซ่อนเนี่ย กันจะแอบซ่อนตอนน้องเจไปโรงเรียน เวลาต่อหน้าเค้าจะได้รู้ว่ามะม๊าก็อยู่กะน้องเจของก็อยู่ตรงนี้ และไม่มีใครเข้ามาในห้อง มะม๊าก็ต้องทำงานอยู่ข้างล่าง) เคยชนิดที่ว่ากันซ่อนจนแบบน้องเจค้นหลายที่แล้วไม่เจอ กันให้ไปไหว้พระ ให้น้องเจบอกพระว่าของเล่นของน้องเจหายจะทำงัยดี แล้วกันจะตอบให้น้องเจว่าก็ต้องเป็นเด็กดี ไม่ดื้อ เล่นแล้วต้องเก็บ ใช้แล้วก็ต้องเก็บ แล้วให้น้องเจลองทำดู ว่าของจะกลับมามั๊ย ... ตอนนั้นน้องเจนับวันเลย วันนึงก็แล้ว สองวันก็แล้ว ไม่เห็นกลับมา น้องเจสงสัยก็เลยถามกันว่าทำไมของไม่กลับมาซะทีล่ะมะม๊า ... กันก็อมยิ้ม บอกน้องเจว่าก็ต้องทำดีโดยไม่ต้องหวังอะไรทั้งนั้น เดี๋ยวถ้าน้องเจเป็นเด็กดี ของเล่นก็กลับมาเอง น้องเจก็พยายามทำดีทุกวัน เก็บทุกวัน ... ผ่านไปอาทิตย์นึง ซีดีกลับมาแผ่นนึงตรงที่ใกล้ ๆ ที่เขียนหนังสือ น้องเจดีใจใหญ่เลย (ฝีมือแม่เองแหละ 555+) มีกำลังใจน้องเจก็ทำดีใหญ่ ของก็ค่อย ๆ กลับมา แต่ถ้าไม่เก็บอีก ก็จะค่อย ๆ หายไป ทำเหมือนเดิม จนน้องเจค่อนข้างจะรู้ว่าต้องเก็บ ไม่งั้นของหาย (แม้แต่หมอนเน่า ก็เคยเอาไปซ่อน น้องเจแทบจะลงแดง 5555+)
Comment by แม่น้องกุน & น้องญาญ่า รักในหลวง on October 11, 2010 at 9:21am
ขอบคุณคะ คุณวิทยาที่เข้ามาอ่านคะ
Comment by แม่น้องกุน & น้องญาญ่า รักในหลวง on October 11, 2010 at 9:13am
MaMa n'JaY ขอบคุณคะรุ้สึกเห็นด้วยเลยเคยฝึกน้องเหมือนกัน แต่เสียดายเราไม่ได้สอนน้องทำทุกวัน ทำบ้างไม่ทำบ้าง ตอนนี้ก็ฝึกให้เขามีระเบียบ อ่านหนังสือแล้วเก็บที่เดิม ทำการบ้านเสร็จให้เก็บใส่กระเป๋าเองแล้วชมเค้าด้วยคะ
Comment by MaMa n'JaY on October 10, 2010 at 7:40pm
สำหรับตัวเอง .. เวลาจะให้ลูกเก็บของหรือทำอะไร เราจะร่วมทำไปกับลูกตั้งแต่เด็ก จำได้ว่าน้องเจเริ่มเก็บแพมเพิร์สและเสื้อผ้าที่ใส่แล้วเองตอนที่หัดเดิน เราจับมือนึงของน้องเจหยิบแพมเพิร์ส แล้วจับอีกมือหนึ่งหยิบเสื้อผ้า แล้วพาไปหย่อนลงที่ถังขยะและตะกร้าผ้า ทำอย่างนี้ทุกวัน อาม่าน้องเจมีบ่นว่าเกินไปมั๊ยกะเด็กหัดเดิน ตอนนั้นเราคิดเองว่าไม่ เพราะว่าหัดไปพร้อมกับเดินเลย คุ้นชินดี ระหว่างที่เดินไปเราก็ร้องเพลงซ้าย ขวา ซ้าย ที่เราแต่งเองให้น้องเจฟัง แล้วก้าวไปพร้อมกัน) ตอนนี้น้องเจ 4 ขวบ เราไม่ต้องพูดเยอะ แค่ถอดเสื้อผ้าเตรียมอาบน้ำ น้องเจจะหยิบเสื้อผ้าอัตโนมัติเลย แต่ถ้าจะถามว่า Washing machine or white basket :) หรืออย่างอ่างอาบน้ำ ก็สอนให้เก็บตั้งแต่ขวบกว่าตอนเดินได้แล้ว ช่วยกันเทน้ำ ช่วยกันยกเก็บเข้าที่ ตอนนี้ก็อีกเหมือนกัน หลังอาบน้ำเสร็จน้องเจจะได้เล่นน้ำซักพัก แล้วจะรู้อัตโนมัติว่าต้องเก็บเอง ตอนนี้ไปโรงเรียนแล้ว กลับมาถึงบ้าน จะต้องถอดรองเท้าเปลี่ยนเป็นรองเท้าแตะ แล้วเก็บรองเท้าที่ชั้น เก็บกระเป๋านักเรียนที่ชั้นวาง ซึ่งน้องเจก็จะทำเองอย่างนี้ทุกวัน คือพูดง่าย ๆ ว่าตอนนี้อะไรที่เป็นเรื่องส่วนตัวของน้องเจ น้องเจจะทำได้ในระดับนึงที่เราไม่ต้องเหนื่อยมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว :) ตอนนี้กะลังฝึกให้น้องเจจัดกระเป๋าไปโรงเรียนเอง จัดนม จัดผ้ากันเปื้อน ทำนองนี้ค่ะ แต่ทุกอย่างที่สอน ก็มีทั้งคำสอน มีทั้งคำชม คำติ แล้วก็ร่วมทำไปพร้อมกับน้องเจด้วย ;)
Comment by วิทยา on October 9, 2010 at 11:23pm
เยี่ยมมากเลยครับ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดี ๆ ครับ
Comment by แม่น้องกุน & น้องญาญ่า รักในหลวง on September 28, 2010 at 8:59am
ขอบคุณคะคุณแพทที่น่ารักคะ และคุณ Anfield's mommy ด้วยคะ อ่านแล้วทำให้รุสึกต้องปล่อยวางโดยไม่รุ้ตัว เวลาเราเหนื่อยๆกลับมาจากที่ทำงานมาถึงบ้านไหนต้องการสอนการบ้าน ต้องเจออาการหงุดหงิดแน่นอนกับคุณแม่หลายๆท่าน วิธีเดียวที่อ๊ดจัดการกับลูกคือชม จากนั้นเขาทำการบ้านเองเสร็จแล้วมาให้เราดูและชมเขาพร้อมกับเก็บของเล่นทีเกะกะ ไปไว้ทีเดิม ได้ผล(เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อคืนนี้เองคะ)
Comment by Anfield's mommy on September 27, 2010 at 9:11pm
โอ้ ขอบคุณค่ะ เป็นบทความที่ดีมากๆ ยอมรับว่าเป็นแม่คนหนึ่งที่คาดหวังมากเกินไป ตอนนี้พอเริ่มปรับตัวเองให้เข้ากับลูกได้บ้างแล้ว(ฟังดูห่างเหินเนอะ) แต่ก็ยังติดที่ว่าเราเป็นคนใจร้อน อยากให้ลูกมีความรับผิดชอบ ตอนแรกๆเวลาสอนเค้าให้เก็บของเล่นหลังจากเล่นแล้วมีอารมณ์มาก แกไม่ค่อยให้ความร่วมมือ แต่พอเราค่อยๆปรับโหมดพูด ซอฟท์ๆ ชมเค้า ให้กำลังใจเค้า เค้าก็สามารถทำได้ดีขึ้น(ถึงแม้จะไม่ได้ดั่งใจนักก็ตาม) แต่ก็เอาน่า ยังไงลูกก็พยายามแล้ว เค้ายังเล็กอยู่แค่นี้แม่ก็ปลื้มแล้วล่ะ ^^
Comment by Pat on September 27, 2010 at 6:39pm
ขออนุญาตโพสแบบเต็มๆเพิ่มนะค่ะ พอดีแพทอ่านแล้วมันแห่วงๆนะค่ะ หรือเป็นที่คอมแพทรึเปล่าก็ไม่รู้ เลยไปเปิดหามาอ่านจนครบนะค่ะ

ทำอย่างไร เมื่อ "ลูกไม่ได้อย่างใจ"

ลูกไม่ได้อย่างใจ" เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกๆ บ้าน ที่คาดหวังและวางกฎเกณฑ์ไว้ให้กับลูกมากเกินไป และมักจะมีคำถามจากบรรดาคุณพ่อคุณแม่หลายคนที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ทำไม" เช่น ทำไมลูกถึงเป็นแบบนี้ ทำไมลูกไม่เป็นแบบนั้น ทำไมลูกไม่ทำตามที่แม่สั่ง..... จนบางครั้งคนที่มานั่งตอบคำถามเหล่านั้นก็คือตัวของพ่อแม่เองว่า ทำไมเราต้องอยากให้ลูกเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ในความเป็นจริงแล้ว การเลี้ยงลูกให้ได้อย่างใจไม่ใช่เรื่องยากเลย หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยวางและให้อิสระกับลูก อย่าคาดหวังกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะนั่นอาจหมายความว่ายังไม่ถึงเวลาที่ลูกจะมีพัฒนาการในส่วนนั้นๆ ก็เป็นได้

"พญ. วิมลรัตน์ วันเพ็ญ" รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ให้ความรู้กับเรื่องนี้ว่า ความเป็นจริงแล้ว ความหมายของคำว่า ลูกไม่ได้อย่างใจของคุณพ่อคุณแม่ หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ลูกไม่กิน ไม่นอน ซน บอกให้ทำอะไรก็ไม่ทำ เพียงแต่สิ่งที่พ่อแม่ควรเข้าใจคือ เด็กในแต่ละวัยมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นเด็กตั้งแต่แรกเกิด-6 ปี จะทำอะไรก็ได้อย่างใจ เพราะว่าเด็กยังไม่ค่อยมีปฏิกิริยาโต้ตอบมากนัก แต่พอเริ่มหัดเดิน พ่อแม่จะเริ่มหงุดหงิด เพราะลูกจะเดินไปเดินมาบอกให้หยุดก็ไม่เชื่อฟัง อยากทำอะไรก็ทำทันที บางครั้งก็รื้อข้าวของในบ้านจนกระจัดกระจาย

ดังนั้นพ่อแม่ต้องเข้าใจว่า เด็กแต่ละวัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เด็ก 2-3 ปี มีความต้องการทำอะไรด้วยตัวเอง หากพ่อแม่ไปสะกัดกั้นทุกอย่างที่เขาอยากทำ มันก็กลายเป็นการขัดขวางจินตนาการของเด็ก ส่งผลให้ลูกเป็นคนขี้อาย กลัวไปทุกอย่าง เพราะตอนเด็กจะทำอะไรพ่อแม่ก็ห้ามตลอด จึงทำให้ตอนโตเขาเป็นคนไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำงานตามคำสั่งเนื่องจากเคยชินกับการเลี้ยงดูที่อยู่ในกรอบของคำสั่ง แตกต่างกับพ่อแม่ที่ให้ลูกได้ทดลองเล่นสิ่งต่างๆ โดยอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัย เช่น อยากตักข้าวกินเอง ก็ปล่อยให้เขาตัก เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือไปด้วย อีกอย่างเขาจะได้รู้ว่าพ่อแม่ได้ให้โอกาสกับเขาในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตั้งแต่เด็ก เขาจะได้สนุกกับตรงนั้นมากกว่าการทำโดยถูกบังคับหรืออกคำสั่ง

แต่พอเข้าสู่ช่วงวัยเรียน พ่อแม่หลายคนจะคิดว่าพอเข้าสู่วัยเรียนแล้ว การเรียนของลูกก็ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยไม่สนใจให้ลูกทำกิจกรรมเลย บังคับให้ลูกเรียนอย่างเดียว เพราะคิดว่าการทำกิจกรรมเป็นเรื่องที่ไร้สาระ จนทำให้ลูกขาดทักษะการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขปัญหา และการคบเพื่อนซึ่งเป็นเรื่องหนักใจของพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงของวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง

"พ่อแม่บางคนเห็นว่า การคบเพื่อนจะต้องเลือกคบเพื่อนดีๆ เพื่อนที่ตั้งใจเรียน แต่โดยธรรมชาติของเด็กบางครั้งก็มีการออกนอกลู่นอกทางบ้าง ดังนั้นพ่อแม่ต้องกำหนดกรอบใหญ่ๆ ให้กับลูกแต่ไม่ใช่กฎเกณฑ์อย่างชัดเจน เพราะเด็กก็จะพยายามหาทางหลบหลีกจนได้ พ่อแม่ควรมีวิธีที่พูดคุยกับลูกโดยการบอกว่า ถ้าลูกเป็นผู้หญิงจะไปไหนกับเพื่อนผู้ชายสองต่อสองไม่ได้เด็ดขาด อย่างน้อยต้องมีเพื่อนผู้หญิงไปด้วย หรือสถานที่ไหนไม่ควรไปหรือไปได้แต่ต้องไปกับผู้ใหญ่ มีการกำหนดกรอบของความเหมาะสมเอาไว้ ถ้าลูกหลุดออกไปนอกกรอบก็ควรมีการลงโทษ ในความหมายนี้ไม่ใช่การตี แต่เป็นเงื่อนไขที่สามารถต่อรองกันได้ เช่น เมื่อลูกไปเที่ยวกลับมาไม่ตรงเวลา ครั้งต่อไปอาจจะไม่ได้ไปเที่ยวอีก และในพื้นฐานของกรอบจะต้องมีความยุติธรรม ถ้าเป็นข้อกำหนดที่แม่ตั้งขึ้นและลูกก็ปฏิบัติตามแล้ว แต่ไม่ได้ผลตามคาดหวังเอาไว้ แม่ก็ไม่ควรต่อว่าลูกว่าทำไมถึงทำไม่ได้" รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ฯ อธิบายทักษะการวางกรอบให้กับลูก

นอกจากนั้น บางครั้งระเบียบกฎเกณฑ์ที่จะใช้กับลูกอาจทดลองใช้กับคุณพ่อก่อนก็ได้ว่า จะมีผลตอบกลับมาในทิศทางไหน ถึงแม้มันจะเป็นคนละวัยก็ตามจะได้เตรียมรับมือ หรือตอบคำถามที่ลูกจะถามย้อนกลับมา อีกประการหนึ่ง พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกด้วย ถ้าพ่อแม่เป็นคนใจร้อน ขี้หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย แต่ต้องการให้ลูกเป็นคนมีเหตุผล มันก็คงจะไม่ยุติธรรมสำหรับลูกมากนัก บางเรื่องเด็กก็เข้าใจ เพียงแต่เขาไม่สามารถทำได้

อย่างไรก็ดี คุณหมอแนะนำว่า ทุกครั้งที่จะสอนลูกอย่าใช้คำด่า อย่าเหยียดหยาม อย่าประนาม อย่าเปรียบเทียบ แต่ให้พูดอย่างตรงไปตรงมาว่าลูกมีความต้องการอะไร ยกตัวอย่างเรื่องความปลอดภัยของลูกและอยากให้ลูกกลับบ้านตรงเวลา แม่ต้องอธิบายเหตุผลว่า สังคมมันมีอันตรายอยู่มากมาย แม่เป็นห่วงลูก อยากให้ลูกกลับบ้านเร็ว ๆ การพูดเพียงเท่านี้ เด็กก็จะสามารถเข้าใจได้เอง ตรงข้ามถ้าพูดในเชิงของการดุด่า เช่น โตแล้วไม่รู้จักคิด กลับดึกๆ ดื่นๆ พ่อแม่เป็นห่วงรู้ไหม คำพูดนี้จะทำร้ายความรู้สึกของลูก ฉะนั้นพ่อแม่ต้องพยายามพูดในเชิงบวกและต้องรู้จักบอกความต้องการของพ่อแม่ไป ตรงๆ

"ถึงตอนนี้ การเลี้ยงเด็กที่เลี้ยงง่ายก็ยังต้องอาศัยความอดทนของพ่อแม่อยู่ และพ่อแม่ที่มีลูกเป็นเด็กเลี้ยงยากก็ยิ่งต้องเพิ่มความอดทนให้เข้มข้นขึ้น อย่าใช้อารมณ์กับลูก เพราะความใจร้อนมันจะยิ่งไปเพิ่มดีกรีความเป็นเด็กเลี้ยงยากขึ้นอีก แต่ถ้าพ่อแม่ใจเย็นกับเด็กที่ขี้หงุดหงิด เด็กจะซึมซับเอาความใจเย็นของพ่อแม่ไปอย่างไม่รู้ตัว เช่นเดียวกับเด็กที่ขี้อาย พ่อแม่ก็ต้องอดทนกับความขี้อาย ความไม่กล้าของลูก และพยายามผลักดันให้ลูกมีความกล้า อย่าพูดว่า เมื่อไรจะทำได้สักที ควรช่วยประคับประคองเขาก่อน อย่างการไปซื้อของฝึกให้เขามีความกล้า จูงมือลูกไปแต่ให้เขาไปซื้อเอง โดยที่พ่อแม่ยืนดูอยู่ห่าง พอลูกทำได้ก็ควรชื่นชมในความสามารถของลูกด้วย และอย่ารำคาญกับคำถามของลูก ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะตอบไม่ได้ก็ชวนลูกมาหาคำตอบด้วยกัน เพราะเมื่อใดที่เราเปิดโอกาสให้กับเขา เราจะเห็นว่าลูกก็เป็นอย่างใจเราต้องการได้" พญ.วิมลรัตน์ ฝากทิ้งท้าย

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service