เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ก่อนสอนภาษาให้เด็กเล็ก เราควรคำนึงถึงอะไรบ้าง

ขออนุญาตให้คำแนะนำตามประสบการณ์จากการสอนและพัฒนาเด็กนานาชาติ, เด็กพิเศษด้านภาษา, และเด็กไทยในอเมริกา
เพ็ญเข้าใจคุณแม่ที่ว่า มีความประสงค์ที่จะให้ลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษแต่เยาว์วัยนอกเหนือจากภาษาไทย
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแห่งการสื่อสารทั่วโลก โรงเรียนเอกชนหรือรัฐบาลในเมืองไทยให้ความสำคัญมาก
โดยปัจจุบันนี้ เด็กต้องเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไปเพื่อที่ว่าเวลาเข้าเรียนอนุบาล จะได้เรียนไวและเรียนทันเพื่อน
ยิ่งเรียนรู้ภาษามากเท่าไหร่ ก็จะช่วยสร้างฐานะการงานได้มาก หรือที่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่
บางคนก็อยากให้เด็กฉลาดทันวัยในภาษาอื่นๆและสอบได้ดีหรือสอบผ่านเมื่อเข้าโรงเรียน

ซึ่งหลักความจริงแล้ว หลักการเรียนรู้ภาษาอื่นๆหรือภาษาอังกฤษนั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
บางคนก็อาจจะมีการพัฒนาการเรียนรู้ช้ากว่า ซึ่งอาจจะเกิดจากเซลล์ในสมองหรืออารมณ์ แต่ก็ยังแก้ได้บ้าง
หากหมั่นฝึกฝนอย่างมีความสุขแต่เยาว์วัยและไม่รังเกียจภาษาอื่นๆ
เพ็ญจึงอยากจะขอร้องให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ทุกคนเห็นใจและเข้าใจในตัวเด็กบ้างนะคะ

อย่าลืมนะคะว่า "นี่คือภาษาที่สองของเด็ก" จำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะต้องเรียนรู้การหัดพูด เมืองไทยเก่งในการเรียนรู้แกรมม่า
บางคนฝึกพูดตอนอายุใกล้ 40 ปีก็ยังไม่สายเกินไปนะคะ ยังไงๆแกรมม่าก็ยังอยู่ในความทรงจำบ้างค่ะ พี่สาวดิฉันไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษมา 31 ปีเต็มๆ พอกลับไปเรียนภาษาอังกฤษเพียงแค่ 1-3 ปี เธอสามารถพูดได้ 65-85%

ก่อนที่จะสอนภาษาอะไรก็ตาม ผู้ใหญ่หรือผู้สอนต้องคอยสังเกตและคำนึงถึง (อย่าลืมไปว่า "นี่คือภาษาที่สองของเด็ก")

1. พื้นฐานในการพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคน ไม่ว่าจะสอนภาษาใดๆก็ตาม เช่น
- เด็กเบบี้จะพัฒนาเรียนรู้และโต้ตอบภาษาด้วยเสียง อู้อี้ แอ้ แอ้ และเลียนแบบด้วยการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์
ได้โดยจาก การฟัง, การมองหน้าและท่าทางปฏิกิริยาบทของผู้ใกล้ชิดหรือผู้ใหญ่...
- เด็กเตาะแตะวัย 12-18 เดือน พัฒนาการออกเสียงแค่ 1-2 คำสั้นๆ เช่น milk, more, go, no, Dada, MaMa
- เด็กเตาะแตะวัย 18-24 เดือน พัฒนาการพูดประโยคสั้นๆ หรือแค่ 2 คำสั้นๆขึ้นไป ที่อาจไม่ตรงตามแกรมม่า
เช่น no more, want more, me want more, go there, carry me, here,
- เด็กวัย 2-3 ปี พัฒนาการพูดประโยคได้อย่างน้อย 3 คำขึ้นไป เช่น I want more, some more milk please,
I don't want that, did you see that, I want it, I don't want it, I love you

2. วัย 0-4 ปี การเรียนรู้แกรมม่าหรือการเขียนและการอ่านยังไม่เน้นมากนัก และไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม

    ก็ไม่จำเป็นที่จะไปเน้นการออกเสียงให้ชัดเหมือนเจ้าของภาษานั้นๆ ก็เหมือนกับการร้องเพลง

    ควรใช้เสียงอันไพเราะของตัวเองเปล่งเสียงออกมา ให้ความภูมิใจและรักเสียงกับสิทธิของตัวเด็กเองหรือผู้ใหญ่

    เองก็ตาม

   สิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กก็คือ ขอให้เด็กได้พัฒนาการฟัง, เข้าใจความหมายของคำและประโยค,

   รู้จักโต้ตอบหรือแสดงออกและสามารถพูดได้, เด็กออกเสียงได้มากน้อยแค่ไหน,

   พัฒนาคำศัพท์ตามวัยได้ถึงไหน

3. คำที่เหมาะสมตามวัย เช่น เด็กควรจะเรียนรู้อะไรก่อน..สอนคำอะไรบ้างตั้งแต่เกิด..

4. ความถนัดในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก เช่น เด็กบางคนถนัดหรือรับรู้ได้จากการอ่าน, บางคนรับรู้ได้จากการมองภาพและให้อ่าน, บางคนก็ถนัดและรับรู้ได้จากการสัมผัส

5. การพัฒนาของตัวเซลล์ในสมองมีมากพอที่จะให้เด็กรับรู้ที่จะเรียนภาษาหรือเข้าใจภาษาได้มากน้อยแค่ไหน

6. เด็กมีอารมณ์ที่จะเรียนรู้หรือพร้อมหรือเปล่าในเวลานั้น

7. ผู้ใหญ่มีเทคนิคในการสร้างความสนใจในการเรียนรู้ภาษาในตัวเด็กได้อย่างไร
เด็กมีความสนใจหรือไม่อยากที่จะเรียนรู้แต่ถูกบังคับจนรังเกียจที่จะเรียนรู้ภาษา

หวังว่าบทความดังกล่าวข้างต้น อาจจะช่วยให้ข้อคิดในการเริ่มสอนภาษาที่สองได้บ้างนะคะ

Views: 4374

Reply to This

Replies to This Discussion

ดีมากมายและเห็นด้วยมากกกกกกค่ะ :)

หลักการสอนเด็กสองภาษาในที่นี้ เน้นความเป็นธรรมชาติ โดยไม่กดดันให้เด็กต้องเรียนเหมือนการนั่งเรียนในห้องเรียน แต่ใช้หลักการแทรกภาษาที่สองเข้าไปในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กได้ซึมซับภาษาที่สองเองโดยไม่ผ่านการท่องจำเหมือนการเรียนทั่วไป วิธีการสอนแบบนี้จะไม่เน้นเรื่องถูกผิดด้านแกรมม่าเหมือนในห้องเรียน เน้นความเข้าใจในคำที่พูดและประโยคที่ใช้มากกว่า การเรียนรู้ของเด็กก็จะไม่ถูกกดดันเหมื่อนว่ามีระยะจำกัดเวลาว่าต้องเรียนรู้เท่าไหร่ ประเมินผลได้เท่าไำหร่ ยิ่งถ้าได้สอดแทรกความสนุกของการเล่นด้วยแล้ว ภาษาที่สองก็ไม่ยากเกินไปที่จะสอนลูกเราเองค่ะ

เห็นด้วยเพราะบางสิ่งบางเกิดจากลูกสาวจิงๆ

 

ขอบคุณมากสำหรับที่มาแบ่งปันประสบการณ์  ขอสมัครเป็นแฟนคลับครูเพ็ญด้วยค่ะ

 

อ่านแล้ว เตือนสติได้อย่างดีเลยค่ะ  เพราะบางครั้ง ก็กดดันลุกดันมากไป  ยิ่งเวลาไปเห็นลูกคนอื่นทำได้ดีกว่า ก็ยิ่งเครียด 

 

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

 

 

 

ขออณุญาตปลอบใจนะคะ กฏข้อ1.ห้ามเครียดโดยเด็ดขาดค่ะ เพราะน้องทำได้ซึ่งก็ดีกว่าคนที่ใม่ได้ทำที่มีอยู่มากกว่าคนที่ทำได้ดีกว่า(มาให้งง55)อย่าเครียดอีกนะคะ

ต้องขอบพระคุณน้องๆคุณแม่ที่มาสนับสนุนข้อคิดที่ด้านบน คุณแม่ Pat ความคิดเห็นดีมากเลยค่ะ

คุณแม่น้องกาหนาฉ่ายคะ เพ็ญขออนุญาตตั้งกระทู้ใหม่เกี่ยวกับ

"ความกดดันมากจนกระทั่งเครียด โดยเฉพาะเวลาเห็นลูกคนอื่นทำได้ดีกว่า"

ขอบคุณสำหรับหัวข้อนี้ค่ะ

 

ขอบคุณครูเพ็ญค่ะ ตามอ่านทุกกระทู้ค่ะ

ให้ข้อคิดดีทีเดียวค่ะ เพราะบางทีก็รู้สึกว่าตัวเองมองข้ามอะไรบางอย่างไปเหมือนกัน

ขอบคุณมากค่ะคุณครูเพ็ญ

บ่อยครั้งเราเองก็ลืมนึกถึงใจลูกนะคะว่าเค้าอยากเรียนรึเปล่า เค้าพร้อมมั้ย

ขอบคุณมากนะคะ

 

หัวข้อที่ 2 ในข้อ 1 ที่ว่า ไม่จำเป็นต้องไปเน้นการออกเสียงให้เหมือนเจ้าของภาษานั้นๆๆ...

อันนี้ ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ

ขอตอบแม่น้องคีนนะคะ

ที่บอกว่า "ไม่จำเป็นต้องเน้นการออกเสียงให้เหมือนเจ้าของภาษา" อย่างเช่น ภาษาอังกฤษนั้น

แต่ละประเทศหรือรัฐหรือเมืองมีสำเนียงเป็นของตัวเอง ขอเพียงแค่เด็กออกเสียงที่คนฟังแล้วพอเดาหรือเข้าใจได้บ้าง

ฝรั่งส่วนใหญ่พูดสำเนียงภาษาไทยไม่ชัด แต่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจ ก็เหมือนการอ่านลายมือคนเขียนน่ะค่ะ

เด็กเล็กเพิ่งจะหัดฟังหัดพูดและออกเสียงบ้าง ผู้ใหญ่ควรจะเข้าใจข้อนี้ พยายามไม่ย้ำให้เด็กพูดหรือออกเสียงหลายครั้งเพื่อให้ฟังชัด

แต่คนสอนน่ะรู้หรอกว่า เด็กพูดคำอะไรออกมา เพียงแค่สนับสนุนแต่ก็ไม่บังคับให้พูดชัด

หวังว่าคงพอเข้าใจแล้วนะคะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service