เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

กาลครั้งหนึ่ง ยังไม่นานเท่าไหร่ เพราะแค่ปี 1906
มีกระทาชายนายหนึ่งชื่อว่า ​​ฟรานซิส​​ ​​กัลตัน
ชาวอังกฤษได้เดินทางไปงานแสดงประจำปีของสัตว์เลี้ยง

กัลตันเดิน เที่ยวงานจนกระทั่งไปพบ​​​กับ​​
​​ซุ้มหนึ่ง​​​ซึ่ง​​​จัดแข่งขันทายน้ำ​​​หนัก​​
​​โดย​​​จะ​​​มีการคัดเลือกแพะตัวอ้วน​​ ​​ๆ​​
​​ขึ้นมาสักตัวหนึ่ง​​​แล้ว​​​นำ​​​ขึ้นมา​​​ให้​​​ผู้​​​เข้า​​​ชม​​
​​ทายน้ำ​​​หนักของมัน​​ ​​ใน​​​การทายน้ำ​​​หนัก​​​นั้น​​
​​ผู้​​​ชม​​​จะ​​​ต้อง​​​วางเงินเดิมพันน้ำ​​​หนักของแพะตัว​​​นั้น​​
​​โดย​​​ซื้อตั๋ว​​​ซึ่ง​​​ผู้​​​ทาย​​​จะ​​​ต้อง​​​ใส่​​​ชื่อ​​,
​​ที่​​​อยู่​​ ​​และ​​​น้ำ​​​หนักที่ทาย​​ ​​ใครทาย​​​ได้​​
​​ใกล้​​​เคียงที่สุดก็​​​จะ​​​ได้​​​รางวัล​​​ใหญ่​​​ไป

ภายหลังการ แข่งขัน จบลง​​ ​​กัลตัน​​​ได้​​​ขอยืมตั๋วทายน้ำ​​​หนัก​​​ทั้ง​​​หมด​​
​​จาก​​​เจ้าหน้าที่จัดงาน​​ ​​และ​​​นำ​​​ไป​​​ใช้​​
​​ใน​​​การวิ​​​เคราะห์ทางสถิติ​​
​​โดย​​​เขา​​​นำ​​​ผลการทาย​​​ทั้ง​​​หมดจำ​​​นวน​​ 787
​​คนมาจัดเรียงตามลำ​​​ดับ​​​จาก​​​สูงที่สุดไปต่ำ​​​สุด​​
​​จาก​​​นั้น​​​นำ​​​ไปพล็อตกราฟ​​ ​​นอก​​​จาก​​​นี้​​
​​เขา​​​ยัง​​​นำ​​​ผลการทาย​​​ทั้ง​​​หมดมาคำ​​​นวณหาค่า​​​เฉลี่ย​​
​​ซึ่ง​​​อาจ​​​จะ​​​เรียกว่า​​​เป็น​​ ​​ความ​​​สามารถ​​
​​หรือ​​​ความ​​​ฉลาด​​ ​​ของประชาชนชาวพลีมัธ​​
(ที่​​​ไปร่วมการทายน้ำ​​​หนักแพะ) ​​นั่นคือ​​
​​ถ้า​​​ถือว่ากลุ่มคน​​​ทั้ง​​​หมดนี้​​​เป็น​​​คนคนหนึ่ง​​
​​ค่า​​​เฉลี่ยนี้​​​สามารถ​​​แสดง​​​ถึง​​
​​ความ​​​สามารถ​​​ใน​​​การทายน้ำ​​​หนักแพะของคนคน​​​นั้น​​​นั่นเอง​​

เดิม กัลตันเชื่อว่า​​ ​​ค่า​​​เฉลี่ยของการทายน้ำ​​​หนัก​​
​​น่า​​​จะ​​​เบี่ยงออก​​​จาก​​​น้ำ​​​หนักจริงค่อนข้างมาก​​ ​​เพราะ​​
​​ค่า​​​เฉลี่ยนี้​​​เกิด​​​จาก​​​การผสมผสาน​​
​​ของคนที่​​​เก่ง​​​และ​​​ฉลาดมาก​​​​ๆ​​
​​สองสามคน​​​เข้า​​​กับ​​​กลุ่มคนที่​​​ไม่​​​เก่งนักแต่ค่อนข้างดี​​,
​​รวม​​​กับ​​​คนที่ไม่รู้จำ​​​นวนมาก​​
​​นั่นย่อม​​​จะ​​​ทำ​​​ให้​​​ค่า​​​เฉลี่ยการทายแย่​​​ไป​​​ด้วย​​
​​แต่ปรากฏว่า​​ ​​เขา​​​คิดผิด​​ ​​

เพราะ​​​น้ำ​​​หนักแพะ​​​เท่า​ ​​กับ​​ 1,198 ​​ปอนด์​​​ใน​​​ขณะที่ค่า​​​เฉลี่ย​​
​​ของการทาย​​​เท่า​​​กับ​​ 1,197 ​​ปอนด์​​
​​ซึ่ง​​​ต่าง​​​กัน​​​เพียงปอนด์​​​เดียว

ซึ่ง​​​กัลตันสรุป​​​ไว้​ ​​ภายหลัง​​​ใน​​​บท​​​ความ​​​ที่ตีพิมพ์​​​ใน​​​ วารสาร​​ Nature ​​ว่า​​
​​บางที​​​เรื่องผู้เชี่ยวชาญไม่กี่คนอาจ​​​จะ​​​ไม่​​​มี​​​ความ​​​สำ​​​
คัญมากนัก​​ ​​แต่ควร​​​จะ​​​เชื่อมั่น​​
​​ใน​​​การตัดสินของภูมิปัญญาร่วมมากกว่า

...

นั่นคือจุด เริ่มต้นของหนังสือ Wisdom of crowds ของ James Surowiecki
ซึ่งเป็นนักเขียนประจำนิตยสารปัญญาชนอเมริกัน The New Yorker

นายเจมส์พยายามจะนำเสนอประเด็นที่ว่า การที่คิดว่าตัวเองเป็น กูรู้ (Guru- จากด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม)
การรวบอำนาจข้อมูล นำไปสู่ความคับแคบและการบิดเบือนในระบบตัดสินใจ
ในขณะที่การกระจายที่มาของแหล่งข้อมูลและการเปิดกว้างทางความคิด
เป็นการสร้างความเป็นไปได้และความช่ำชองเฉพาะทางที่มากที่สุดที่จะช่วย
ป้องกันความผิดพลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อมูลที่เป็นความรู้


Wikipedia.org สารานุกรม ที่อาศัยคนที่สนใจทั้งหมดช่วยกันสร้างเนื้อหา ช่วยกันขัดเกลาเนื้อหา
โดยไม่สนใจว่าเขามาจากวิชาชีพใด นี่คือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดบนแนวคิดของ
ภูมิปัญญาร่วม (Wisdom of crowds) ตอนที่ Jimmy Wales
สร้างวิกิพีเดียขึ้นมานั้น ก็โดนพวกกูรู้ทั้งหลายถล่มเขาอย่างหนักว่า
ข้อมูลมันจะถูกต้องเหรอ ปล่อยเชื้อมั่วเปล่า
เดี๋ยวตกเป็นเหยื่อของคนรู้ไม่จริง แต่จนแล้วจนเล่าพวกกูรู้เหล่านี้
ก็ไม่ได้ทำประโยชน์อะไรเลยบนโลกนี้ นอกจากวิพากษ์วิจารณ์อย่างเมามัน แต่
Jimmy Wales ก็ไม่ได้สนใจอะไรเขาก็เดินหน้าสร้างวิกิพีเดียต่อ (ดีใจจัง
คนดีไม่ท้อแท้) ซึ่งผลตอบรับจากมวลชนดีมาก
เพราะเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมด้วยช่วยกันขัดเกลาองค์ความรู้ได้
ทันที โดยไม่ต้องไปรอกูรู้จากสำนักไหนมาช่วยตอบ
จนปัจจุบันวิกิพีเดียเป็นสารานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้ว มีบทความกว่า 3
ล้านบทความ 250 ภาษา ช่วยคนบนโลกนี้ได้เยอะแยกมากมาย



อีกตัวอย่างที่อยู่บนพื้นฐานของแนวคิด ภูมิปัญญาร่วมก็คือเกมโชว์ชื่อดังในอเมริกา Who Wants to Be a Millionaire?
หรือเกมเศรษฐีที่รู้จักกันในเมืองไทย

โดยในอเมริกานั้น ถ้าผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถตอบคำถามได้ ก็จะมีตัวช่วยสามตัว ตัวช่วยแรก
คือตัดคำตอบบางข้อที่ไม่ใช้ออก ตัวช่วยที่สองคือ ให้โทรศัพท์สอบถามคนใกล้ตัวหรือเพื่อนสนิทที่คิดว่ามีความรู้ความสามารถได้และตัวช่วยที่สามคือให้ผู้ชมในห้องส่งที่มาร่วมชมรายการทุกคนได้แสดงความคิดเห็นผ่านทาง
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เล็กๆ ที่ติดอยู่กับที่นั่งแต่ละคนซึ่งผู้ชมเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญอันใดเป็นเพียงแต่คนมานั่งชมรายการเท่านั้นเอง

จากสถิติพบว่า ถ้าเลือกตัวช่วยที่สองคือสอบถามผู้ที่ตนเองคิดว่า "เชี่ยวชาญ"
ผู้เชี่ยวชาญนั้นจะให้คำตอบที่ถูก 65% ซึ่งก็ถือเป็นสถิติที่ดีนะครับ
แต่พอไปดูตัวช่วยที่สามแล้ว จะพบว่าพวกผู้ชมที่มานั่งในห้องส่งนั้นจะเลือกคำตอบที่ถูกต้องถึง 91%
(จริงอยู่ผู้ชมคงจะไม่ได้เลือกคำตอบที่เหมือนกันหมด แต่เขาแสดงให้เห็นว่าผู้ชมจำนวนเท่าใดที่เลือกคำตอบใดบ้างและจะพิจารณาจากคำตอบที่เลือกกันมากที่สุด)

ผมทำเว็บ 2pasa.com ขึ้นมาพร้อมกับเขียนหนังสือเล่มนี้ นอกจากแนวคิดการสอนภาษาที่สองแบบ
"เด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้" แล้วผมยังพยายามสร้างวัฒนธรรมร่วมด้วยช่วยกัน บนแนวคิดของ "ภูมิปัญญาร่วม"อีกด้วย

ผมไม่ได้สนใจว่าใครจะเก่งภาษาอังกฤษมากน้อยแค่ไหน จะเป็นฝรั่งเนทีฟ ไม่เนทีฟหรือเป็นกูรู้จากสำนักไหน แต่ผมเชื่อภูมิปัญญาร่วมของสมาชิกทั้งหมด ที่เข้ามาช่วยกันขัดเกลาองค์ความรู้ให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด มีคนตั้งประเด็น มีคนช่วยตอบ ตอบแล้วยังดีไม่พอ ก็มีเพื่อนสมาชิกมาช่วยเสริมเพิ่มเติม เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้


ดังนั้นพื้นที่ทั้งหมดในหมู่บ้านแห่งนี้เป็น "พื้นที่สาธารณะ" ทุกคนมีสิทธิตั้งคำถาม วิจารณ์ ช่วยแนะนำ
ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวของใคร เพียงแต่ขอให้การพูดคุยอยู่บนเหตุผล แตกต่างได้
แต่ต้องเพื่อ "ตกแต่งต่อเติมองค์ความรู้" ไม่ใช่แตกแยก

ผมอยากให้ พยายามเอาอัตตาของตัวเองออกไปให้มากที่สุด พยามเป็นแก้วที่น้ำที่ไม่เต็ม
เพื่อเปิดรับสิ่งใหม่ๆเขามาคิด ขัดเกลา เพื่อคัดเอาสิ่งที่ดีที่สุด


ผมมีความเชื่อเรื่องภูมิปัญญาร่วมครับ และผมเชื่อว่าพวกเราชาวหมู่บ้านทุกจะได้สิ่งที่เรียกว่า "ความผูกพันธ์ เอื้ออาทรระหว่างสมาชิกด้วยกัน" แล้วเราจะเติบโตไปข้างหน้าอย่างมั่นคงครับ

ผู้ใหญ่บิ๊ก


Views: 2707

Replies to This Discussion

ชอบนะคะที่นี่ รู้สึกถึงการแบ่งปันความรู้ ช่วยเหลือกัน

ขอพาดพิงถึงคนอื่นนิดนะคะ เคยไปอ่านที่เวปอื่นที่เขาพูดถึงเวปนี้และผู้ใหญ่บ้าน
แบบว่าประเภท กูรู้ เลยไปชวนเขามาเขียนบทความของเขาที่เวปนี้ เพราะถ้าเขาคิดว่าเขาอยากจะอธิบายข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับข้อความบางตอนในหนังสือ และอยากที่จะถามความรู้สึกจากคนที่อ่านหนังสือ 2 ภาษา
ก็ต้องมาถามคนที่อ่านส่วนใหญ่ในนี้ ไม่ใช่ไปถามที่เวปอื่น
และอีกครั้งที่เห็นคืออยากได้ข้อความบางหน้าในหนังสือ 2 ภาษาไปใช้งาน แต่กับไปขอความช่วยเหลือที่เวปอื่น
คิดในใจนะคะ ทำไมไม่เข้ามาขอที่นี่

อย่างนี้เขาเรียกพวก กูรู้ ใช่หรือเปล่าคะ
น่าจะเป็นพวก กูไม่รู้มากกว่านะค่ะ แบบไม่รู้ว่าควรจะไปที่ไหน (ขำขำนะค่ะ อย่าเครียต)

5555 ขำอย่างเดียวค่ะ อย่าไปเคียด...เขาคงไม่รู้ว่าจะไปทางไหน
กูไม่รู้ ขอร่วมแจมกะกูรูด้วยค่ะ 5555
มาทันเวลาจริงๆๆ
ขอบคุณผู้ใหญ่บิ๊ก

คุณปอ กลับมาแล้วเหรอคะ คิดถึงคะ เห็นชอปหนังสือใน pantonw เยอะเลยคะ

มีคลิปวิดีโอภูมิปัญญาร่วมมาฝากครับ ใส่ต่อจากเนื้อหาด้านบนครับ
สมกับเป็นผู้ใหญ่บ้านจริงๆค่ะ ขอตบมือให้ แปะ ๆ ๆ รู้สึกบรรยากาศดีขึ้นยังไงไม่รุ
อ่านแล้วชอบจังคะ
เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
ขอบคุณมากค่ะที่สร้างสังคมนี้ขึ้นมาค่ะ
การคิดต่างเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่เรายอมรับซึ่งกันและกันและไม่ละเมิดสิทธิ์ของคนอื่น
ทำให้เราอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขค่า

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service