เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

เคล็ดลับหน้าใส กับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (1)

มาอีกแล้วคร่า มาช้าไปหน่อยเนื่องจากช่วงนี้มีม๊อบ อ๊ะ ป่าวไปชุมนุมนะคะ แต่ว่าไปบ้านยายพอดีไม่ได้ เลยต้องเลี้ยงเอง ลูกชายเกาะหนึบเป็นตังเมเลยคร่า  วันนี้จาขอนำเหนอ เคล็ดลับหน้าใส กับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว  หลายคนคงมีคำถามอยู่ในใจว่าครีมยี่ห้อไหนดี ทาแล้วเด้ง ทาแล้วริ้วรอยตื้นขึ้น จะซื้อยี่ห้อแพงๆดีมั้ยน้า แล้วทำไมยี่ห้อที่ใครๆใช้กันแล้วบอกว่าดีทำไมทาเองแล้วไม่เห็นดีเลย  ก็เลยจะมาเล่าข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อครีมบำรุงผิวให้เหมาะสมกับผิวของเราคร่า

ข้อแรกเลยค่ะคือครีมราคาแพงยี่ห้อสุดหรูไม่ได้การันตรีว่าจะดีกับผิวหน้าของทุกคน  แต่ของที่ราคาถูกก็อาจมีคุณภาพของวัตถุดิบที่ได้มาตราฐานน้อยกว่าเช่นกัน  ฉะนั้นขึ้นอยู่กับว่าผิวของเราถูกกับผลิตภัณฑ์ยี่ห้อไหนที่เห็นผลและไม่แพ้  จึงควรเลือกซื้อครีมตามความต้องการที่แท้จริงของผิวเราโดยดูส่วนผสม และต้องดูบริษัทที่ผลิตว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่   ล่าสุดมีเคสมาหาเค๊าซื้อครีมรักษาฝ้า หน้าขาวจากเพื่อนที่แนะนำมา ทีแรกเค๊าก็ไม่มั่นใจเพราะไม่เห็นแปะยี่ห้ออะไรที่ดูน่าเชื่อถือ แต่เพราะเชื่อเพื่อนจึงลองทาดู  ทาต่อเนื่องสี่เดือนช่วงแรกหน้าขาวใส ฝ้าจางลงมาก ผิวเรียบเนียน ทุกคนเจอเป็นต้องทักว่าไปทำอะไรมาผิวหน้าจึงดีขึ้นมาก ต่อมาหน้าที่ขาวก็ค่อยๆดำขึ้น ฝ้าก็เข้มมากกว่าเดิม แถมมีขนบนใบหน้ายาวขึ้นด้วย มีเส้นเลือดฝอยเล็กๆขึ้นเต็มหน้าไปหมด  แล้วก็มีสิวขึ้นทั่วทั้งหน้า  ครีมตัวนี้น่าจะมีสารต้องห้ามที่อย.กำหนดไว้ว่าห้ามใส่ คือสเตียรอยด์ อาจมีกลุ่มปรอท และไฮโดรควิโนน ด้วย  น่ากลัวจริงๆค่ะ    แต่ถ้าเราซื้อของมียี่ห้อก็ต้องระวังของปลอมนะคะเช่นซื้อจากตลาดนัดหรือตามอินเตอร์เน็ต ของปลอมเพียบคร่า  

ข้อต่อมาคือเราต้องรู้ว่าสภาพผิวของเราเป็นผิวประเภทไหน แบ่งเป็นผิวธรรมดา ผิวแห้ง ผิวมัน ผิวผสม ผิวแพ้ง่าย  แล้วเราก็ต้องรู้ว่าผิวของเราเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละวัน แต่ละช่วงอากาศ(หน้าร้อน หน้าหนาว) แต่ละช่วงอายุ(ช่วงวัยรุ่นฮอร์โมนเพศทำให้หน้ามัน แต่พอช่วงวัยสามสิบขึ้นไปต่อมไขมันทำงานลดลง และยิ่งอายุมากขึ้นผิวเราก็จะขาดความชุ่มชื้นมากขึ้นด้วยค่ะ)หรือช่วงใกล้มีประจำเดือน(สิวก็จะขึ้นง่าย)    ผิวคนเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ได้ตายตัว เช่นเราเป็นคนผิวมันแต่พอไปลองครีมตัวนึงทาลดความมันของหน้าแต่ทามากไปผิวก็เลยแห้งกลายเป็นขุย ช่วงนี้เราก็ต้องเน้นทามอยเจอร์ไรเซอร์ให้ความชุ่มชื้นผิวแทนค่ะ 

ข้อสามสารประกอบหลักในครีมที่เป็นสารออกฤทธิ์เป็นสิ่งที่เราควรรู้ค่ะ รู้คร่าวๆก็ได้ค่ะ หมั่นอ่านฉลากข้างขวดว่ามีสารอะไรเป็นส่วนผสมหลัก ช่วยเรื่องอะไร  โดยเฉพาะคนผิวแพ้ง่ายควรสังเกตว่าเราแพ้สารตัวไหน เช่น แอลกอฮอลล์  น้ำหอม  สารกันเสีย จะได้หลีกเลี่ยง เป็นต้น

ข้อสี่ปริมาณที่ใช้  ควรทาพอดีๆ ไม่ควรทามากเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดการอุดตันและเป็นสิวตามมาได้ ที่สำคัญทาเยอะไป ทาหลายชั้นมากไปก็เปลืองค่ะเพราะผิวมีความสามารถในการดูดซับครีมได้ถึงจุดหนึ่งเท่านั้น 

ข้อห้าหลายคนสงสัยว่าครีมที่ได้รับจากคลินิกผิวหนังหรือรพ.แตกต่างอย่างไรกับครีมแบรด์ต่างๆ  ขออธิบายจากศัพท์ดังนี้นะคะ
          -  ครีมที่เป็นยา (ซึ่งจ่ายได้เฉพาะที่คลินิกหรือรพ.เท่านั้น) จะมีสารออกฤทธิ์ในปริมาณสูง แก้ปัญหาผิวได้โดยตรง เห็นผลเร็ว แต่มีโอกาสระคายเคืองผิวได้ง่าย จึงต้องใช้ในความดูแลของแพทย์
          -  เครื่องสำอาง(ครีมแบรนด์ต่างๆ) จะมีสารออกฤทธิ์ที่มีความเข้มข้นไม่มาก ทาแล้วเห็นผลช้า แต่ระคายเคืองน้อย
          -  คอสเมซูติคอล ปัจจุบันหลายแบรด์พยายามหันมาใช้คำนี้ค่ะ คือ ครีมที่ใส่สารออกฤทธิ์มากพอสมควร สามารถแก้ปัญหาผิวได้เร็วกว่าครีมทั่วไป และสามารถวางขายได้ตามท้องตลาดด้วย

ข้อหกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวนั้นสามารถช่วยบำรุงและชะลอริ้วรอยได้ถึงระดับนึง อย่างไรก็ตามอายุเราก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน รวมถึงปัจจัยความเครียดต่างๆที่ทำให้ผิวเสื่อมก่อนวัยก็มีอีกเพียบ (หนึ่งในนั้นคือนอนดึก ติดเวป อิอิ )  เราจึงจำเป็นต้องมีตัวช่วยในการชะลอผิวคือการทำทรีตเม้นต์ให้กับผิวนั่นเอง เช่นเอเอชเอผลัดเซลล์ผิว  ไอออนโต  เลเซอร์ ไอพีเเอล  โบท๊อกซ์  ............ ขอเขียนตอนต่อไปนะคะ  ทิ้งไว้ให้อยากรู้ดีก่า

ข้อเจ็ดนอกจากครีมบำรุงผิวที่เราควรเลือกอย่างดีเเล้ว ครีมอีกชนิดที่สำคัญมากและขาดไม่ได้เลย คือครีมกันแดดค่ะ  ไว้จะมาเล่าตอนต่อไปอีกเช่นกันว่าทำไมครีมกันแดดจึงมีความสำคัญมาก  บางคนไม่ชอบทาครีมกันแดดเพราะกลัวเหนียวเหนอะหนะ ลืมความคิดนี้ไปเลยคร่า ปัจจุบันมีครีมกันแดดให้เลือกมากมายเนื้อบางเบา เนื้อผสมรองพื้น เนื้อสเปรย์ ผสมนู่นนี่นั่นเพียบ  รอตอนต่อไปนะคะ

ข้อแปดผิวจะสวยใสเด้งได้ นอกจากบำรุงจากภายนอกแล้ว เราต้องอย่าลืมบำรุงจากภายในด้วยค่ะ ภายในที่ว่าคือเน้นเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย และผ่อนคลายความเครียด  ไว้ถ้าไม่ลืมก็จะมาแนะนำเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

ตอนหน้าจะมาเล่าถึงประเภทของผิว  ครีมบำรุงผิวแบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง  สารออกฤทธิ์เด่นๆในครีมบำรุงผิวแต่ละชนิด   แต่ยังไม่รู้เลยว่าจะมาเขียนได้ช่วงไหน รอกันหน่อยนะคะ 

เพื่อนๆพี่ๆน้องๆใครสงสัยเรื่องไหนถามได้นะคะ  แต่อาจตอบช้านิดนุง ถ้าอยากให้ตอบเร็วต้องมารับพอดีไปเลี้ยงสักวันสองวันแล้วจะว่างรีบตอบให้เลยคร่า อิอิ


Views: 563

Replies to This Discussion

ใช่ค่ะ พี่นุ้ย นี่ก็เป็นอีกเหตุผลนึง ที่ต้องใช้มาส์กตาช่วย เพราะติดเว็บนี้จริงๆ ยิ่งมีห้องนี้นะ

โอ้ พระเจ้า

ต้องทำการบ้าน ของพี่รี ทั้งนั้น มานั่งจำว่าวันนี้ฉันกินอะไร แต่ก็ดีค่ะ ภารกิจจะสำเร็จหรือไม่ต้องรอดูต่อไป

และต้องใช้ครีม spf เยอะ ๆ เพราะคอมก็มีแสงยูวี เว็บนี้มีค่าครีมให้เราไหมเนี่ย อิอิ

ส่งการบ้านพี่นุ้ยค่ะ
ข้อความได้มาจากwww.elib-online.com

ผลิตภัณฑ์ยากันแดดส่วนใหญ่จะระบุค่า SPF (Sun Protection Factor) หรือแปลเป็นไทยว่า ค่าการป้องกันแสงแดด ถ้าเคยตากแดดแล้วผิวไหม้แดง ในเวลา 15 นาที หากทายากันแดดที่มี SPF= 6 ผิวจะไหม้ในเวลาเป็น 6 เท่าคือ 90 นาที (6x15=90) ถ้าค่า SPF= 8 ผิวจะไหม้ในเวลา 2 ชั่วโมง (8x15=120)

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีคำนิยามใหม่ของค่า SPF (Sun Protection Factor) โดยใช้สูตรสำหรับหาค่า SPF คือ

SPF = MED บริเวณที่ทายากันแดด / MED บริเวณที่ไม่ได้ทายากันแดด

โดย MED นั้นย่อมาจาก minimal erythematous dose คือ ปริมาณแสงแดดที่น้อยที่สุด ที่ทำให้เกิดอาการแดงที่ผิวหนัง ซึ่งอาการแดงนั้นเป็นจุดที่สังเกตเห็นด้วยตา มีการศึกษาพบว่า ปริมาณแรงที่เป็น suberythemal dose (คือปริมาณแสงที่ยังน้อยกว่าจะทำให้เกิดอาการแดง) ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังและมีการทำลายเซลล์ของผิวหนังเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นในอนาคตอาจต้องมีวิธีที่จะวัดการทำลายผิวหนังของแสงแดดที่ดีกว่าอาการแดง เช่น การดูลักษณะของเซลล์ผิวหนังที่เปลี่ยนไปจากการไหม้แดด (sunburncell) การดูลักษณะของเส้นใยอิลาสตินที่เปลี่ยนรูปร่าง การลดลงของจำนวน Langerhans cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทาน เพื่อหาประสิทธิภาะของการกันแดด

โดยที่ปริมาณของยากันแดดที่เป็นมาตรฐานในการหาค่า SPF นั้น ต้องทายากันแดดปริมาณ 2 มิลลิกรัม ต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตร ดังนั้นหากปริมาณแสงแดดที่จะทำให้บริเวณที่ทายากันแดดนั้นเกิดอาการแดง มีปริมาณมากกว่าบริเวณที่ไม่ได้ทายากันแดด 5 เท่า ยากันแดดนั้นก็จะมีค่า SPF 5 ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นจะแปลว่าปริมาณแสงเป็นเวลาแทน

ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า
1. การใช้ค่า MED นี้ อาจไม่สะท้อนถึงประสิทธิภาพภายในการป้องกันผิวหนัง จากการทำลายของแสงแดด นั่นคือยากันแดดถึงจะป้องกันไม่ให้ผิวหนังแดงได้ แต่ก็ยังอาจเกิดการเสื่อมของผิวหนังขึ้นแล้ว

2. ปริมาณของการใช้ยากันแดดในการหาค่ามาตรฐาน คือ ต้องทายากันแดด 2 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรนั้น นับว่ามากกว่าปริมาณการใช้ในชีวิตจริง คนปกติจะทายากันแดดแค่ 0.5 ถึง 1 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ทั้งนี้เพราะ หากทายากันแดดมากไปจะเกิดปัญหาด้านความมันและความสวยงาม
สำหรับยากันแดดชนิดที่ละลายน้ำได้น้อยนั้น มีชื่อคือ
Water resistant หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 40 นาที
Waterproof (=very water resistant) หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 80 นาที
โดยการใช้ยากันแดดตามค่า SPF นี้มักดูตามลักษณะของสีผิวคือ
1. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนยาก ใช้ค่า SPF 20-30 (Ultra high)
2. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวอาจมีสีแทนนิดหน่อย ใช่ค่า SPF 12-20 (Very high)
3. ถ้าผิวไหม้แดดปานกลาง และผิวค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแทนใช้ค่า SPF 8-12 (High)
4. ถ้าผิวไหม้แดดได้น้อย และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้เสมอ ใช่ค่า SPF 4-8 (Moderate)
5. ถ้าผิวไหม้แดดยากมาก และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้อย่างมาก ใช้ค่า SPF 2-4 (Minimal)
ถ้าดูตามนี้จริงๆ แล้ว อย่างผมซึ่งน่าจะจัดว่าอยู่ในกลุ่มที่ 5 คือโดนแดดอย่างไร ก็ไม่ไหม้เสียที จะมีก็แต่ผิวคล้ำดำปี๋ ก็ควรจะใช้ SPF แค่ 2-4 เท่านั้นเอง





เมื่อดูจากค่า SPF และปริมาณการดูดซับรังสียูวีบี พบว่า
ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%





เมื่อดูตามนี้จะเห็นว่า เมื่อใช้ยากันแดดค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3% ซึ่งเมื่อเพิ่ม SPF ขึ้นจะเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นไม่มากนัก และยากันแดดที่มีค่า SPF สูงมักมีปัญหาด้านความงามและมีราคาแพง จากมุมมองนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ SPF สูงนัก

แต่ก็มีปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้และมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยากันแดด เช่น การทา การสวมใส่เสื้อผ้า การมีเหงื่อออก ลม เหงื่อ การว่ายน้ำ ฯลฯ และมีความจริงที่ว่า ยากันแดดที่มีค่า SPF สูงนั้น จะมีประสิทธิภาพในการกันแสงแดดในช่วงยูวีเอ โดยเฉพาะยูวีเอ II ที่ดีขึ้น ซึ่งรังสีตัวนี้ทำให้เกิดการเสื่อมของผิวหนังได้มาก นอกจากนั้นการหาค่า SPF จะเป็นการหาค่าในห้องทดลอง ซึ่งเมื่อนำยากันแดด มาใช้ในชีวิตจริงจะพบว่ามีค่า SPF น้อยกว่าที่ระบุเสมอ ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง

จึงแนะนำว่าควรใช้ยากันแดดค่า SPF สูง (15 ขึ้นไป) ในกรณีที่ต้องตากแดด เป็นเวลานานติดต่อกันและใช้ค่า SPF ต่ำ ในกรณีที่โดนแดดเป็นครั้งคราวระหว่างวันครับ สำหรับข้อมูลนี้ส่วนหนึ่งมาจากการประชุมของสมาคมศิษย์เก่าสถาบันโรคผิวหนัง โดยมีอาจารย์จิโรจ สินธวานนท์ เป็นผู้บรรยาย
โอ้ น้องปุยฝ้ายส่งการบ้านละเอียดถูกใจกว่าพี่เขียนเองอีกแน่ๆ ส่งการบ้านอีกหลายๆเรื่องก็ได้น้า 5555+

ช่ายเลยจ้า ถ้าจะทาครีมกันแดดให้ได้SPF ตามที่ขวดเขียนไว้ประมาณว่าหนึ่งหน้าต้องทาครีมกันแดดตั้งหนึ่งช้อนชาเลยทีเดียว
โอ้ววววเป็นประโยชน์มากเลยค่ะน้องนุ้ย เอาอีกๆ เดี๋ยวพี่สั่งคนพาไปทานข้าวนะคะ อิอิ
สั่งเลยค่ะพี่รี ว่าแต่เค๊าจะพาไปทานอย่างเดียวหรือเลี้ยงด้วยคะ ชอบของฟรี อิอิ

ปอลิง ไม่ฟรีแต่ให้ส่วนลดเยอะๆก็ได้นะคะ ^^
ติดต่อแล้วค่ะ พี่เค้าว่าส่วนลดไม่มี แต่กินฟรีโอเค กร๊ากกกกกกกก
ได้เลยค่ะ คุณบิ๊กเลี้ยง กร๊ากกกก
เอ่อ คบ ฝันร้ายค่ะ คบ ไป รีไปด้วย 555555 ขอเนียน


นุ้ยเดี๋ยวเปิดเมนูเลือกเลยนะจ๊ะ เจ้าของร้านเค้าอนุมัติแระ 555
ไปด้วยจิ ไรกัน เผลอไม่ได้แวะมาไม่กี่ ชม. เกือบตกรถแน่ะ ไปด้วย ไปด้วยจร้า
รออ่านตอนต่อไป
พี่นุ้ยนั่งคำนวณกันเลยทีเดียว ไม่ไหวอ่ะ เปลืองค่ะ ยิ่งหน้าใหญ่ไม่ 1 ช้อนโต๊ะเลยหรอ หุหุ
ว๊าว....ชอบค่ะๆๆๆ ให้ความรู้ดีจังค่ะ
ส่วนตัวแล้วชอบทาครีมกันแดดทุกวัน ออกแดดไม่ออกแดดก็ทา(เฉพาะหน้านะคะ่ส่วนผิวกายขี้เกียจมากเลยค่ะ)

รออ่านนะคะ
เยี่ยมมากเลยจร้า ทั้งน้องนุ้ย น้องปุยฝ้าย ก๊อปไว้อ่านดีกว่า

น้อยนุ้ยไม่ต้องมาจั่วให้อยากแล้วจากไปเลยนะจ๊ะ จัดด่วน ไอพีแพล โบท็อกซ์ เทอร์มาจ(อย่างหลังนี่พี่อาจจะต้องใช้ในเร็ววันนี้ แง ๆ ) จัดด่วน เดี๋ยวเพื่อนพี่จะเลี้ยงข้าวมื้อใหญ่ อิอิ (อ่านดี ๆ นะเพื่อนพี่นะที่เลี้ยง ง่ะ)

จากคุณพี่ผู้สนใจความงาม

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service