เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
Tags:
ปกติจะใช้คำว่า soup กับ warm แต่ก็จะเห็นคำว่า broth กับ lukewarm ในหนังสือทำอาหารบ่อยๆ บางทีก็ฉลากอาหาร เลยอยากทราบว่ามีความแตกต่าง หรือการเลือกใช้ยังไงคะ
- lukewarm = พออุ่น ๆ คือไม่ถึงขนาดอุ่นแบบที่ควรเป็น (lukewarm < warm) อย่างทำเค้ก หรือขนมปัง ต้องเทน้ำพออุ่น แต่ไม่อุ่นมากไปลงไปผสมกับแป้งกับยีสต์ ก็คือแบบ lukewarm เนี่ยครับ
- broth คือ thin soup เช่น น้ำซุปไก่ตุ๋นยาจีน ที่กินตอนไม่สบาย, ซุปใสที่ใส่ถ้วยมาเป็นเครื่องเคียง คือกิน "น้ำ" เป็นหลัก บางครั้ง broth อาจจะมีเนื้อ หรือผักที่ใช้ต้มอยู่บ้างในชามก็ได้
เทียบกับซุปน้ำใสอย่างแกงเลียง หรือต้มยำ ที่เรากิน "ผักหรือเนื้อ" ในซุปเป็นหลัก แบบนี้จะเป็น soup ยกเว้นแต่ถ้าเราตักเฉพาะน้ำต้มยำ หรือน้ำแกงเลียงมากินเปล่า ๆ น้ำที่ตักมากินแบบนี้จะเรียกว่าเป็น broth หรือ clear soup ก็ได้ครับ สรุป broth, thin soup, clear soup ทั่ว ๆ ไปใช้แทนกันได้ มีลักษณะคือเป็นน้ำซุปใส จะมีเนื้อ ผัก บ้างก็ได้ หรือใสเลยก็ได้ แต่กินที่น้ำเป็นหลักครับ (และ broth จะต่างกับ stock ที่เป็นน้ำซุปกระดูก ไม่ได้เป็นอาหาร แต่เป็นส่วนผสมหลักของการทำ soup หรือ broth ครับ)
2. คำที่พ้องทั้งรูปและเสียง แต่ความหมายต่างกันเรียกว่าอะไรคะ เช่นคำว่า bow (โบว) แปลว่า คันธนู กับ โบว์
- อันนี้คือ homonym ครับ
และคำที่พ้องแต่รูปแต่เสียงต่างกัน เรียกว่าอะไรคะ เช่น bow (โบว) กับ bow (บาว) ที่แปลว่า โค้งตัว
- แบบนี้เรียกว่า homograph ครับ คือ เขียนเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกัน
ลองดูตามที่ว่านะครับ ^^
© 2024 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by