อะไรจะขยันเขียนได้เขียนดีกันทุกวันน้อ บล็อควันนี้เป็นความคิดส่วนตัวนะคะ ใครไม่ชอบโปรดมองข้ามไปเถอะ
วันนี้ขอเขียนเรื่องแม่ติดลูก อึม แล้วจะเริ่มตรงไหนดี เอาเป็นว่า มาพูดถึงเรื่องการนอนของลูกกันดีกว่า อย่างที่ทุกๆคนรู้อยู่ว่าครอบครัวของเราใช้ชีวิตอยู่ไกลจากเมืองไทย แถมเป็นครอบครัวผสม สามีมีความเป็นส่วนตัวสูง ส่วนเรามีความเป็นครอบครัวสูง เมื่อพูดถึงความเป็นส่วนตัว ก็ต้องพูดถึงพื้นฐานการสอนตั้งแต่เด็กๆ การสอนของคนอเมริกันในความคิดส่วนตัวแล้ว คนอเมริกันจะสอนให้เด็กมีความเป็นส่วนตัวสูง มีความมั่นใจในตัวเอง ส่วนคนไทยจะสอนให้เด็กมีความนอบน้อมรักครอบครัว เกรงใจผู้ใหญ่ ดิฉันคิดว่าแคเร็คเตอร์พวกนี้ เกิดจากการปลูกผังตั้งแต่เด็ก ปกติดิฉันจะเป็นคนชอบขีดๆเขียนๆ บันทึกไดอารี่จนเป็นกิจวัตร เรื่องราวทุกตัวหนังสือ เมื่อกลับมาอ่าน จะได้ความรู้สึกย้อนกลับไปเมื่อเวลานั้น หลังจากที่มีลูก จากที่บันทึกถึงเรื่องของตัวเองก็กลายเป็นบันทึกถึงเรื่องลูกซะเป็นส่วนใหญ่ การเลี้ยงลูก พัฒนาการของลูก และสิ่งที่ได้ยินจากเพื่อนๆคนไทยที่อ่านไดอารี่ของดิฉันที่อยู่ที่เมืองไทยบ่อยๆคือ "ทำไมต้องอยากดิ้นรนให้ลูกนอนคนเดียว ทำไมอยากให้ลูกแย่งห้องนอน"
เรื่องของการแยกห้องนอนของลูกนี้เป็นเรื่องที่ถกกันมานมนาน เริ่มจาก ลูกสาวแรกเกิด ให้นอนในตระกร้าข้างๆเตียง ที่นี่เรียก baby bassinet อันนี้เข้าใจเหตุผล เพราะถ้านอนเตียงเดียวกันแล้วอาจจะหัน หรือกลิ้งไปทับเด็กได้ พอลูกสาวเริ่มโตขึ้นมานิด คนรอบข้างทุกคนแนะนำว่าอย่ากล่อมให้หลับคามือ ให้เอานอนตอนที่สลึมสลือ แรกๆ แยกห้องนอนลูกสาวเป็นสัดเป็นส่วน ทาสีห้องสวยงามเป็นสีชมพูหวานจนมดเลี่ยน ตกแต่งด้วยม่านสีหวาน มีเตียงเด็กแรกเกิดที่แยกเป็นสัดเป็นส่วน แรกๆลูกนอนดี ห้องของลูกอยู่คนละฝั่งบ้านกับห้องนอนของเรา พอดิฉันเริ่มกลับไปทำงาน ซึ่งเป็นการทำงานในเวลากลางคือ พ่อของลูกต้องดูลูกสามคืนต่ออาทิตย์ จากที่ต้องเดินไปหาลูก อีกฝั่งของบ้าน นานๆเข้าก็ย้ายลูกเข้ามานอนในห้อง นอนในห้องกลายเป็นนอนเตียงเดียวกัน นอนเตียงเดียวกันกลายเป็นอนก่ายกัน จบลงที่สามคนพ่อแม่ลูกนอนเตียงเดียวกันหมด ปัจจุบัน ลูกสาว สิบหกเดือน ยังนอนกับพ่อและแม่ นอนเองไม่ได้ ต้องกล่อม ต้องกก กันกว่าจะหลับ ถือว่าไม่เป็นปกติของเด็กอเมริกัน แต่ถ้าถามว่าในวัฒนธรรมคนไทยแล้วถือว่าเป็นปกติ เพราะหลานสาวสามคนก็นอนกับพ่อแม่จนห้าหกขวบ หลานสามคนก็ต้องกล่อมให้หลับ ไม่หลับเอง
เพื่อนๆทุกคนของดิฉันเองไม่มีใครแนะนำให้ให้ลูกนอนกับเรา ไม่ให้กล่อม เหตุผลที่เค้าให้ คือ มันจะเป็นการดีต่อเด็ก เด็กสามารถที่จะ comfort themselves ให้นอนได้ ตอนฝึกแรกๆอาจจะร้องให้ แคอาทิตย์เดียว พอปรับตัวได้เค้าก็จะนอนเอง คำแนะนำที่ได้ในวิธีการ คือ เอาลูกไปใส่ไว้ที่คริป ปิดประตู ปล่อยให้ร้อง ร้องเองเดี๋ยวก็หลับ
ดิฉันเอง ฟังคำแนะนำแล้ว เกิดความขัดแย้ง อย่างแรก รับไม่ค่อยได้ที่ปล่อยให้ลูกร้องให้ ฟังเสียงลูกร้องให้เหมือนใจแม่เองจะขาด อย่างที่สอง ให้เอาลูกใส่เปลเด็ก คงไม่ได้ เพราะเด็กที่บ้านลูกลิงมาเกิด ให้สูงแค่ไหนก็ปีนออกเองได้ เพราะตกคริปมาแล้วหนึ่งรอบ
พอกลับมานั่งคิด กลับมานั่งทบทวน จากการที่ใช้วัฒนธรรมทั้งไทย และอเมริกัน ก็ได้ข้อคิดใหม่ ที่เป็นข้อคิดผสมผสานของเราเอง ตัดใจได้ว่า คงให้แยกลูกให้เป็นสัดส่วนถึงแค่จุดๆหนึ่ง ให้เค้านอนในห้องเดียวกัน เตียงเค้าเอง ถ้าต้องกล่อมกันจนกว่าจะหลับ แต่ลูกมีความสุข ได้รับความอบอุ่นจากการกอด จากการหอม จากการที่ได้รับความใกล้ชิดจากพ่อแม่ ก็คงจะปล่อยไป สองอาทิตย์ที่ผ่านมา ยังต้องกล่อมลูกนอนอยู่ แต่ที่แตกต่างออกไปคือ เอาลูกนอนเตียงเด็กที่เอาที่กันเตียงมากัน เค้ายังขึ้นลงได้เองอยู่ ลูกนอนเองได้เกือบตลอดคืน ไม่ตื่นบ่อยเหมือนนอนที่เตียงของพ่อและแม่ มีตื่นมาขอทานนมบ้างเป็นบางคืน ส่วนความรู้สึกของแม่เมื่อสองอาทิตย์ผ่านไป อะไรเกิดขึ้น ความรู้สึกของแม่เอง เกิดอาการเปล่าเปลี่ยว จากที่นอนกอดลูกแทบทุกคืน ความรู้สึกดีๆที่กอดลูกมันหายไป ความเป็นส่วนตัวเพิ่มขึ้นนิดหน่อย เมื่อมาชั่งความรู้สึกดูแล้ว ใครกันแน่ที่ติดกัน ลูกติดนอนกับพ่อแม่ หรือพ่อแม่เองที่ติดนอนกับลูก
เมื่อต้องกลับมาตอบคำถามของเพื่อนที่เคยถามกันมา หลังจากลูกสาว สิบหกเดือน ดิฉันก็ได้คำตอบ ไม่ขอดิ้นรน คำแนะนำในการเลี้ยงลูก มีเอาไว้เป็น guidline การน้ำมาใช้นั้น อยู่ที่การปรับเปลี่ยน การเลี้ยงดูลูกที่ใช้ได้ผลต่อครอบครัวหนึ่่ง อาจจะใช้ไม่ได้ผลกับอีกครอบครัวหนึ่ง เพราะฉะนั้นปรับเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นสไตล์ของตัวเอง บางทีทุกอย่างมันก็ขึ้นอยู่แค่ "our parents'instinct"
You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!
Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้