เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

เอาข้อมูลดีดีมาฝากอีกแล้วคะ

Terrible twos คำคำนี้ แม่ๆ หลายคนคงเคยได้ยิน และเคยพบเจอกับตัวกันมาแล้ว แต่แม่บางคนยังไม่เคยเจอมาก่อน หรือแม่บางคนอาจจะไม่ต้องเจอเลยก็ได้

Terrible twos เป็นทฤษฎีของทางตะวันตกที่นิยามให้กับพฤติกรรมของเด็กวัยประมาณ 2 ขวบ

Terrible (เทอ'ระเบิล) adj. หมายถึง น่ากลัว,น่าเกรงขาม,ร้ายแรง,สยองขวัญ,มหันต์

Terrible twos ก็น่าจะหมายความว่า "2 ขวบสยองขวัญ"

จะสยองขวัญยังไงบ้าง มีบทความที่น่าสนใจมาให้อ่านกันด้วยค่ะ

พ่อแม่ที่มีลูกผ่านพ้นวัยประมาณ 2 ขวบมาแล้ว คงจะผ่านภาวะ Terrible twos ของลูกกันมาแล้ว ส่วนพ่อแม่ที่ลูกกำลังเข้าสู่วัยดังกล่าวก็เตรียมรับมือกับภาวะ Terrible twos ของลูกกันได้เลย
ลองนึกถึงภาพที่เจ้าตัวเล็กอารมณ์ดีๆ อยู่ แล้วก็สามารถร้องกรี๊ดลั่นบ้าน หรือหงุดหงิดร้องไห้ลั่นบ้านโดยไม่รู้สาเหตุ ทำเอาคนเป็นพ่อแม่งงงันตามๆ กัน พานนึกว่าลูกเจ็บป่วยหรือโดนมดแมลงกัดหรือไม่ แต่แท้จริงแล้ว ลูกของคุณอาจกำลังเข้าข่ายที่ว่านี้ก็ได้เด็กที่เข้าสู่วัย 2 ขวบ มักมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่รวดเร็วมาก ภาวะอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เช่นนี้เรียกว่า terrible twos เป็นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของเด็ก จากเด็กที่หัวเราะร่าถูกใจไม่นาน หนูน้อยน่ารักคนเดียวกันนี้ก็จะเปลี่ยนเป็นอาละวาดร้องกรี๊ดลั่นบ้าน เรียกว่า อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ตลอด เพราะลูกกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนจาก เด็กน้อยเตาะแตะ เป็นเด็กที่เดินเหินได้คล่อง ทำให้หนูน้อยสับสนว่าจะออกไปสำรวจโลกให้เต็มที่อย่างใจต้องการหรือจะอยู่กับแม่ดี ทำให้อารมณ์หนูน้อยไม่ดี

แต่อาการแบบนี้จะอยู่สักพัก แล้วก็จะค่อยๆ ลดลง
ก่อนหน้านี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกว่ามีผลต่อภาวะ terrible twos ในเด็กหรือไม่ โดยเริ่มเฝ้าสังเกตการณ์บ้านที่มีลูกวัยเตาะแตะทั้งหมด 60 ครอบครัว ในครอบครัวที่มีลูกวัย 2 ขวบ 6 เดือน จะใช้เวลา 50 นาที และวัย 3 ขวบใช้เวลา 1 ชั่วโมง ในการเฝ้าสังเกตว่า เมื่อเกิดข้อขัดแย้งขึ้นระหว่างแม่กับเจ้าตัวเล็ก บรรดาพ่อแม่ จะมีวิธีจัดการกับลูกอย่างไร

งานวิจัยดังกล่าว พบว่า ครอบครัวที่เด็กควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ค่อยได้ เมื่อเกิดความขัดแย้งกันขึ้น ในที่สุดแล้วแม่จะบังคับข่มขู่ หรือดุลูกให้ทำตามคำสั่งโดยไม่ได้อธิบายเหตุผลให้ลูกเข้าใจ ซึ่งมักจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายลงไปกว่าเดิม
ในขณะที่ครอบครัว ซึ่งแม่ลูกมีระดับความสัมพันธ์แน่นแฟ้น เมื่อเกิดข้อขัดแย้งขึ้น แม่กับลูกจะมีการปรับตัวเข้าหากันโดยอัตโนมัติ มีการสลายข้อขัดแย้งและยอมความกันโดยใช้เหตุผล เพื่อพยายามดูแลรักษาความสัมพันธ์นี้ให้มั่นคง จะสามารถมีการประนีประนอมกันได้ นั่นหมายความว่า เด็กในกลุ่มนี้จะมีภาวะ terrible twos ที่ไม่รุนแรงนัก และเด็กๆ มีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี สามารถควบคุมตนเองได้ในระดับหนึ่ง

งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าภาวะ terrible twos สามารถจัดการได้ง่าย หากเด็กใกล้ชิดกับครอบครัว และพ่อแม่ตอบสนองลูกด้วยเหตุผล ทำให้ลูกเกิดความรู้สึกมั่นคงและไว้ใจพ่อแม่นั่นเอง

ขณะเดียวกัน ถ้าพ่อแม่เข้าใจถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยอย่างเหมาะสมอยู่แล้ว ก็จะทำให้สามารถรับมือกับเจ้าตัวน้อยได้อย่างไม่ยากเย็น เพราะนั่นหมายถึงในช่วงที่เด็กเข้าสู่วัย terrible twos แต่พ่อแม่เตรียมรับมือ พยายามสรรหากิจกรรมให้ลูกได้สนุกสนานกับกิจกรรมของครอบครัว ก็จะช่วยผ่อนคลายกับความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ที่ขึ้นๆ ลงๆ ได้
ยกตัวอย่าง กิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้

ช่วงวัยเตาะแตะไปสู่วัยที่สามารถเดิน วิ่งเองได้แล้ว จะชอบเคลื่อนไหวร่างกาย เพราะกำลังเปลี่ยนผ่านสามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตัวเองได้ ก็มักจะชอบปีนป่าย ลูกจะสนุกกับการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในการเดิน วิ่ง กระโดด หรือปีนป่าย เพราะเขาหรือเธอตัวน้อยสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครองอีกต่อไป ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้โลกของเขาก็จะกว้างมากขึ้น เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจถ้าเด็กวัยนี้จะไม่ชอบอยู่นิ่ง จนบางทีถึงขั้นทำให้คนเป็นพ่อแม่เข้าใจผิดคิดเอาเองว่า ลูกเป็นสมาธิสั้นไปซะอีก

กิจกรรมอีกอย่างที่เด็กวัยนี้ชอบมาก คือ การเล่นบทบาทสมมติ เป็นการเล่นที่ทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สะกิดต่อมจินตนาการได้อย่างมากมาย หรือบางครั้งอาจจะเล่นเลียนแบบ เช่น เครื่องครัวเด็กเล่น บ้านตุ๊กตา ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาเห็นในชีวิตประจำวันและต้องการเลียนแบบ และอาจจะมีการรื้อข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดา
ยิ่งถ้าเขาสามารถจับดินสอหรือดินสอสีได้แล้วล่ะก็ เขาจะสนุกสนานกับการขีดๆ เขียนๆ ได้ไม่รู้เบื่อจริงๆ ก็ควรปล่อยให้เด็กๆ ได้ใช้จินตนาการอันบรรเจิดได้อย่างเต็มที่ หรือไม่ก็หาตัวต่อ หรือบล็อกให้ลูกได้นำมาเล่นฝึกกล้ามเนื้อมือได้อีกต่างหาก

เรื่องพัฒนาการของลูกน้อยเป็นเรื่องไม่ยากที่พ่อแม่จะแสวงหาข้อมูล แต่อยู่ที่พ่อแม่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับวัยและพัฒนาการของลูกน้อยได้หรือไม่ เพราะหากเราเข้าใจพัฒนาการตามวัยของลูก ก็สามารถตอบสนองและรับมือได้อย่างทันท่วงที

ดิฉันไม่แปลกใจที่มักจะได้ยินเพื่อนๆ ที่มีลูกอยู่ในวัยเปลี่ยนผ่านดังกล่าว มักจะบอกว่าลูกซน ลูกไม่อยู่นิ่ง ลูกเล่นทั้งวัน บางคนลูกมีภาวะ terrible twos แต่ไม่รู้ ก็เข้าใจว่าลูกดื้อ ลูกซน หรือลูกอารมณ์ร้ายอีกต่างหาก แท้จริงแล้ว พัฒนาการของมนุษย์ในแต่ละช่วง ล้วนมีความสำคัญ และมีช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทั้งสิ้น ไม่ใช่ว่าความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรวดเร็วจะเกิดเฉพาะช่วงวัยรุ่นเท่านั้น ช่วงวัยทารกก็มีช่วงเปลี่ยนผ่านเหมือนกัน และในขณะเดียวกันในวัยผู้ใหญ่ ก็มีช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่วัยทอง หรือวัยชรา ก็มีช่วงที่อารมณ์เปราะบางได้ง่ายเช่นกัน
เรียกว่าช่วงชีวิตของมนุษย์ มีอารมณ์เป็นตัวแปรในช่วงเปลี่ยนผ่านในแต่ละวัยทั้งสิ้น ฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจ และเตรียมรับมือกับช่วงวัยต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ก็จะไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

กรณีนี้เป็นกรณีที่สัมพันธ์กับห้วงอารมณ์ของมนุษย์ ที่มีความละเอียดอ่อนและต้องอาศัยความเข้าใจและการยอมรับจากคนรอบข้างด้วย

จากบทความนี้ จะเห็นว่าจริงๆ แล้ว ภาวะ Terrible twos หรือ 2 ขวบสยองขวัญนี้ ก็เป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของลูกน้อยนั่นเอง เป็นความตื่นเต้นอยากรู้อยากลองทำในสิ่งที่ลูกไม่เคยได้ทำมาก่อน

ลูกของเราคงจะภาคภูมิใจกับความสามารถของแกที่สามารถทำอะไรได้เองเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ต้องให้แม่ทำให้

หนูเดินเองได้ หนูวิ่งได้ด้วย ดูสิ หนูปีนได้ด้วยนะแม่ เย้ๆๆ ข้างนอกบ้านนั่น แม่เคยอุ้มหนูไป ตอนนี้หนูวิ่งไปได้เองแล้วนะแม่ ถนนนั่นหนูไม่เคยเดินไปเอง หนูเดินไปเองก็ได้นะแม่ !!!

จากที่เคยให้แม่คอยป้อนข้าว คอยหยิบของเล่นให้เล่นให้ดู หนูน้อยของเราก็หยิบจับเองได้ แกใช้มือได้คล่องมากขึ้น แม่ๆ หนูใช้มือได้เก่งมั้ยแม่ ดูสิ หนูขว้างลูกบอลได้แล้ว หนูขว้างของได้ตั้งหลายอย่าง แก้วหนูก็ขว้างได้นะแม่ หนูฉีกกระดาษเป็นแล้ว หนูหยิบเสื้อผ้าออกมาจากตะกร้าได้สบายๆ เลยแม่ดูสิ

อีกหลายๆ ความภูมิใจ ความตื่นเต้นของลูกที่แม่อย่างเราควรจะภาคภูมิใจไปกับแกด้วย แต่หลายๆ ครั้งที่แม่กลับรู้สึกตรงข้ามกับลูก แม่เสียงดังเมื่อลูกปีนป่าย วิ่งไปที่ถนน หรือดุว่าเมื่อลูกขว้างปาข้าวของ ฉีกหนังสือ

อย่าไป !!! อย่าวิ่ง !!! อย่าปีน !!! อย่าฉีก !!! อย่า ............... !!!!!

เด็กตัวน้อยคงจะงง และสับสนไม่น้อยกับอารมณ์ของแม่ ว่าแม่เป็นอะไร ทำไมต้องเสียงดังกับหนู ทำไมต้องห้ามหนู ทำไมต้องตีหนู ...

แกคงสับสนว่า แล้วเราจะทำยังไงดี เราจะวิ่งดีมั้ย เราจะเล่นได้มั้ย เราจะหยิบของอันนี้ได้มั้ย เราจะทำอะไรๆ เอง หรือเป็นแบบเก่า ให้แม่อุ้ม ให้แม่ป้อน ให้แม่ทำทุกอย่างให้เราดีมั้ยนะ เราจะทำยังไงดีเนี่ย........

แกเลยแสดงออกมาแบบสับสนเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เพราะว่างงๆ กับอารมณ์ของแม่เหมือนกัน

บางทีแม่ก็ตบมือชื่นชมกับสิ่งที่หนูทำได้ เก่งจังเลยๆๆ แต่ไหงบางทีกลับดุหนูซะได้

แล้วหนูจะทำยังไงดีละแม่ !!!!!!!!!!

ใครจะไปรู้ว่า ในโลกของเด็กอาจจะมีคำนิยามที่แกมีให้กับพฤติกรรมของแม่ก็ได้ ว่าแม่ช่างน่ากลัวเสียนี่กระไร เดี๋ยวแม่ก็ดี เดี๋ยวแม่ก็ร้าย เดี๋ยวก็ชม เดี๋ยวแม่ก็ห้าม

เมื่อแกเจอเพื่อนเด็กๆ ด้วยกันแกอาจจะคุยกันว่า เธอๆ แม่เธอเป็น Terrible Mom หรือเปล่าอ่ะ แม่เรากำลังเป็นเลย เธอเป็นยังไงมั่งอ่ะ เรานะงงไปหมดแล้ว โหย...เด็ก 2 ขวบเซ็งเลย !!!!

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อจะทำความเข้าใจกับพัฒนาการตามวัยของลูกน้อย และรู้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ที่ขึ้นๆ ลงๆ ของทั้งลูกและของแม่เอง

และเมื่อแม่ๆ อย่างเราเข้าใจลูกน้อยแล้ว เรื่องทุกอย่างก็จะง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับมือกับพฤติกรรมของลูกว่า แม่อย่างเราควรจะสนับสนุนตรงไหน ห้ามปรามและสอนลูกอย่างไร ตามวัยและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

เท่านี้ครอบครัวก็คงเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ลูกก็มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งร่างกายและอารมณ์ ครอบครัวแฮปปี้ไม่ต้องมีทั้ง Terrible twos หรือ Terrible Mom ให้ต้องปวดหัว

เชฟไว้จำไม่ได้ว่าเอามาจากไหน รู้สึกว่าน่าจะเป็นจากพันทิป

Views: 225

Comment

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

Comment by หม่ามี้พี่กาตาร์&น้องลาเต้ on November 25, 2009 at 10:57am
เจ้าตัวเล็กที่บ้านนี่แหละ Terrible 2 เลย ตอนแรกเครียดมากๆเลยคะ เคยคิดเหมือนกันว่า สมาธิสั้นหรือเปล่า แต่ก็ไม่มีอะไร ช่วงนี้เริ่มรับลูกได้แล้วคะ อ่านแล้วกลัวลูกคิดว่าตัวเองเป็น Terrible Mom เหมือนกันนะเนี๊ยะ ขอบคุณนะคะที่เอาข้อมูลดีๆมาแชร์กัน
Comment by JT007 on November 25, 2009 at 3:24am
คุณแป้งคะ ธรรมดาของเด็กทุกคนที่ได้ยินมา ช่วงแรกๆ เด็กยังไม่เข้าใจ พอเห็นแม่อุ้มน้องแล้วไม่สนใจเขา เขาก็คิดว่าแม่ไม่รัก เพราะแม่ให้ความสำคัญกับน้องมากว่า แต่เดียวพอเขาโตขึ้นมาหน่อย เขาก็จะเข้าใจและที่สำคัญคุณแม่ต้องพูดให้เขาเข้าใจว่าทำไมต้องอุ้มน้อง อาจจะบอกเขาไปว่าน้องยังเล็ก น้องยังเดินไม่ได้ น้องไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เหมือนกับที่ตอนลูกอายุเท่าน้องแม่ก็ทำแบบนี้กับหนูเหมือนกัน อะไรแบบนี้คะ อธิบายให้เขาเข้าใจ แต่ส่วนนึ่งก็อย่าลืมที่จะแบ่งเวลาให้กับคนพี่ด้วยนะคะ ใหความสำคัญกับเขาด้วย เขาจะได้เห็นว่าแม่ก็รักเราเหมือนกัน
Comment by จิตตินันท์ on November 21, 2009 at 8:46am
น้องจะ2 ขวบแล้วเริ่มมีอาการบ้างแล้วค่ะ
Comment by อรดา พงศ์สุธนะ on November 20, 2009 at 4:10pm
อ่านแล้วหย๋องจริงๆเลยค่ะ โชคดีที่คนโตผ่านวัยนั้นมาแล้ว แต่ก็คงต้องเตรียมรับมือกับคนใหม่อีก ..ขอให้เป็นTerrific 2หรือShy 2 ก็คงจะเยี่ยมเลยค่ะ อิอิ
Comment by ปาจรียา(แม่ป้อของอิง+หมิง+หลง) on November 20, 2009 at 2:46pm
ของป้อก็กำลังเจอ terrible two อยู่เหมือนกันค่ะ แต่เท่าที่อ่านจากบทความคงอาการไม่หนักเท่าไหร่ จะแย่หน่อยก็เวลาที่เค้าเห็นเราอุ้มน้องอยู่ อาการจะหนักหน่อย (ไม่แน่ใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของช่วงอายุนี่ด้วยหรือเปล่า) เราก็พยายามจะตอบสนองเค้านะค่ะแต่บางทีก็รู้สึกว่ากลายเป็นเราเอาใจเค้ามากไปหรือเปล่า กลัวจะตามใจมากเกินไปจนเหลิงนะค่ะ เดี๋ยวจะเอาอะไรก็ต้องได้หมด
Comment by สุภาพร(แม่ปั้น฿แป้ง) on November 20, 2009 at 10:52am
แป้ง 2 ขวบ ขี้อาย เขาเรียกว่าไงคะพี่Ying ----> Shy 2
Comment by Clamp ka on November 20, 2009 at 1:08am
ท่าทางเจ้า Taipei ของเราก็คงเข้าวัย Terrible Two แน่นอนเลยค่ะ
มีพี่ๆที่บริษัทเตือนแล้วล่ะว่าใกล้ถึงเวลาแล้ว แต่เราก็ยังคิดว่า ยังมั้งยังมั้ง
แต่ท่าทางเป็นการหลอกตัวเอง เพราะเจ้าtaipeiคงเข้าวัยนี้เรียบร้อย

บางทีทำงานมาเหนื่อยๆก็แอบฟิวส์ขาดได้เหมือนกันค่ะ
ต้องตั้งสติดีเลยทีนี้

ขอคุณที่หาบทความดีๆมาแบ่งปันนะคะ
Comment by babyashi on November 20, 2009 at 12:25am
อ๊อบ เล่นให้เจเจเป็นแบบ terrific เลยเหรอ เจเจออกจะน่ารัก ขี้อ้อนน๊ะ อิอิ
Comment by อรนัย รักในหลวง on November 19, 2009 at 10:16pm

พี่ขอเรียกเด็ก 2.3 ขวบที่บ้านว่า Terrific 2 แทนนะ อิอิ

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service