เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ

ที่มา: http://www.breastfeedingthai.com/index.php?lay=show&ac=article&...
---------

"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ

เริ่มจากเราต้องเข้าใจกระบวนการผลิตน้ำนมกันก่อนว่ามันทำงานอย่างไร

 

Lactogenesis I & II  น้ำนมแม่ ที่ผลิตจากการทำงานของฮอร์โมน

 

กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกายนั้น จะแบ่งเป็นสามช่วง เริ่ม ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ได้สัก 16-22 สัปดาห์ ร่างกายจะเริ่มผลิต Colostrum หรือหัวน้ำนม ในปริมาณน้อยนิด ช่วงนี้เรียกว่า Lactogenesis I  ต่อ จากนั้นเมื่อคลอดได้ 30-40 ชม. ฮอร์โมนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะเริ่มทำงานกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมในปริมาณที่เพิ่มขึ้น
แต่ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่ทั้งหลายจะเริ่มรู้สึกว่านม มาแล้ว หลังจากที่คลอดได้ประมาณ 50-73 ชม. (2-3 วันหลังคลอด) ช่วงที่สองนี้เรียกว่า
Lactogenesis II ค่ะ

 

ทั้งสองช่วงแรกนี้ กระบวนการผลิตน้ำนมเกิดจากการทำงานของฮอร์โมน  ไม่ว่าแม่จะให้ลูกดูดนมหรือไม่ก็ตาม ร่างกายก็จะทำการผลิตน้ำนมโดยธรรมชาติ

 

 

Lactogenesis III  ถ้าไม่ให้ลูกดูด น้ำนมก็ไม่มี

 

ช่วงที่สามนี้เป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะการผลิตน้ำนมของคุณแม่จะไม่ได้ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนล้วนๆ อีกต่อไป  น้ำนมแม่จะผลิตอย่างต่อเนื่องก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะด้วยการดูดของลูก การบีบด้วยมือ หรือการปั๊มด้วยเครื่อง

 

ดัง นั้นภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความ
สำเร็จอย่างง่ายดาย หรือยากลำบาก  ถ้าคุณแม่สามารถนำน้ำนมออกจากร่างกายได้มากเท่าใดในช่วงนี้ ก็จะยิ่งช่วยให้การผลิตน้ำนมมากขึ้นเท่านั้น  ในทางกลับกันการให้นมผสมในช่วงสัปดาห์แรกนี้ เป็นการแทรกแซงกลไกของธรรมชาติ  ที่เป็นการซ้ำเติมให้การผลิตน้ำนมของแม่ช้าลง

 

คุณ แม่จำนวนมากได้รับความรู้ผิดๆ จากบุคลากรในโรงพยาบาลว่า น้ำนมน้อย ต้องเสริมนมผสมให้ลูกก่อน รอให้น้ำนมมาก่อน แล้วค่อยให้นมแม่
ซึ่งการทำเช่นนั้นยิ่งทำให้น้ำนมแม่มาช้ากว่าเดิม  วิธีที่จะเร่งให้น้ำนมมาเร็วๆ คือ ต้องพยายามนำน้ำนมออกจากร่างกายให้มากที่สุด  ด้วยการให้ลูกดูดอย่างถูกวิธีบ่อยๆ
ซึ่งในช่วงสองสามวันแรกนั้น ลูกจะหลับเป็นส่วนใหญ่ และดูดยังไม่ค่อยเก่ง
แม่ก็อ่อนเพลียจากการคลอด
การใช้มือบีบหรือเครื่องปั๊มคุณภาพดีจะช่วยให้สามารถนำน้ำนมออกมาจากร่างกาย
ได้มากขึ้นกว่าการรอให้ลูกดูดอย่างเดียว  และจะช่วยให้การผลิตน้ำนมเร็วและมากขึ้น

 

แต่การบีบหรือปั๊มในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ นี้ก็มีข้อควรระวังคือ ร่างกายที่ผ่านการคลอดมาใหม่ๆ นั้น มักจะอ่อนเพลียและ sensitive การ บีบหรือปั๊ม หรือแม้แต่ลูกดูด ก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บมากๆ ได้ จนทำให้แม่หลายๆ ท่าน รู้สึกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นี้ช่างเจ็บปวด
และทรมานเสียจริง  ขอให้เข้าใจว่าความรู้สึกเจ็บปวดทรมานแบบนั้นจะคงอยู่ไม่นาน จะดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป หลังจากนั้น ไม่ว่าลูกจะดูด ใช้มือบีบ หรือใช้เครื่องปั๊ม ก็จะไม่เจ็บอีกต่อไป  ทั้งนี้ต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า ลูกดูดถูกวิธี บีบด้วยมืออย่างถูกวิธี หรือใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี

 

 

 

ในน้ำนมแม่ ประกอบด้วย โปรตีนเวย์ขนาดเล็ก ที่เรียกว่า Feedback Inhibitor of Lactation (FIL) เมื่อน้ำนมถูกผลิตสะสมจนเต็มเต้านม FIL จะมีมากและทำให้การผลิตน้ำนมเริ่มน้อยลงและช้าลง ในทางกลับกันเมื่อน้ำนมถูกนำออกไปจนเต้านมว่าง FIL จะน้อยลง กลไกการผลิตน้ำนมจะทำงานเร็วขึ้นและมากขึ้น

 

ฮอร์โมนโปรแล็คตินมีบทบาทสำคัญมากในกระบวนการผลิตน้ำนม  กล่าวคือ ที่ผนังของเซลส์ผลิตน้ำนม (Lactocyte) นั้นจะมี ตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คติน (Prolactin receptor sites) ซึ่งจะส่งผ่านโปรแล็คตินเข้าสู่กระแสเลือดไปยังเซลส์ผลิตน้ำนม และทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างน้ำนม

 

เมื่อ ต่อมน้ำนมมีน้ำนมสะสมอยู่เต็ม ผนังของเซลส์ผลิตน้ำนมนี้จะขยายและทำให้ตัวรับฮอร์โมรโปรแล็คตินไม่สามารถ
ส่งผ่านฮอร์โมนโปรแล็คตินได้ ซึ่งจะทำให้การผลิตน้ำนมลดลง  เมื่อมีการนำน้ำนมที่สะสมมนี้ออกไป (โดยการดูด บีบ หรือปั๊ม)  ตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คตินก็จะกลับสู่สภาพเดิม ทำการส่งผ่านฮอร์โมนโปรแล็คตินได้ต่อไป  กระบวนการผลิตน้ำนมก็กลับมาทำงานอีกครั้งหนึ่ง

 

ทฤษฎี การทำงานของตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คตินนี้ ทำให้เรารู้ว่าเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากร่างกายได้มากและบ่อยๆ
ในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังคลอด
จะช่วยเพิ่มปริมาณตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คตินได้มากขึ้น
และเมื่อมีตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คตินมากขึ้น
ก็หมายความว่าปริมาณโปรแล็คตินที่ผ่านเข้าสู่เซลส์ผลิตน้ำนมจะยิ่งมีมากขึ้น
และทำให้สามารถผลิตน้ำนมได้มากขึ้นนั่นเอง

 

สรุปก็คือ

 

 

การผลิตน้ำนมในแต่ละวันเป็นอย่างไร

 

จากการวิจัยพบว่าปริมาณน้ำนมจะมีมากที่สุดในช่วงเช้า (เวลาดีที่สุดสำหรับการปั๊ม ถ้าต้องการทำสต็อค) และจะน้อยลงในช่วงบ่ายหรือเย็น  ในขณะที่ปริมาณไขมันในน้ำนมกลับมีน้อยในช่วงแรก และมีมากขึ้นในช่วงหลังของวัน

 

ความสามารถในการเก็บน้ำนมของเต้านม

 

อีก ปัจจัยหนึ่งซึ่งมีผลต่อการผลิตน้ำนม ก็คือ ความสามารถในการเก็บน้ำนมของเต้านมของแต่ละคน ความสามารถในการเก็บน้ำนมนี้
หมายถึงปริมาณน้ำนมที่เต้านมสามารถเก็บไว้ได้ในแต่ละมื้อ  ซึ่งแม่แต่ละคนสามารถเก็บได้ไม่เท่ากัน  และแต่ละข้างของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน 

 

ความสามารถในการเก็บน้ำนมนี้ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยขนาดของเต้านม แม้ว่าขนาดของเต้านมจะมีผลต่อปริมาณในการเก็บน้ำนมก็ตาม  ไม่ว่าหน้าอกคุณแม่จะมีความสามารถในการเก็บน้ำนมได้มากหรือน้อย ก็สามารถผลิตน้ำนมได้มากมายเหลือเฟือสำหรับลูกของตัวเองเสมอ

 

แม่ ที่สามารถเก็บน้ำนมได้มากในแต่ละมื้ออาจจะช่วยให้ระยะเวลาระหว่างมื้อนมของ ลูกแต่ละครั้งนานกว่าโดยที่ไม่มีผลต่อปริมาณการผลิตน้ำนมและความเจริญเติบโต
ของลูก  ส่วนแม่ที่เก็บน้ำนมได้น้อย
อาจจะต้องให้นมลูกในจำนวนครั้งที่ถี่กว่า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูก
และสามารถคงปริมาณการผลิตน้ำนมไว้ได้ เนื่องจากหน้าอกจะเต็มเร็ว
(เมื่อหน้าอกเต็ม ก็จะทำให้การผลิตน้ำนมช้าลง)

 

***ลองเปรียบเทียบความสามารถในการเก็บน้ำนมของเต้านมนี้กับขนาดของแก้วน้ำ  เราจะดื่มน้ำในปริมาณมากๆ  ด้วยแก้วน้ำขนาดใดก็ได้  เล็ก กลาง ใหญ่  แต่ถ้าเป็นแก้วขนาดเล็ก เราก็ต้องเติมบ่อยกว่า

 

หากต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนม ต้องทำอย่างไร

 

น้ำนมจะถูกผลิตอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเร็วที่ขึ้นอยู่กับว่าเต้านมนั้นว่างหรือเต็ม  น้ำ นมที่ถูกผลิตจะสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาระหว่างมื้อนมที่ให้ลูกดูดแต่ละครั้ง
เมื่อน้ำนมสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่ลูกดูดครั้งสุดท้าย เมื่อน้ำนมเริ่มเต็ม
การผลิตน้ำนมก็จะช้าลง

 

ถ้าต้องการที่จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน  สิ่งที่ต้องทำคือ พยายามนำน้ำนมออกจากร่างกายให้เร็วขึ้นและบ่อยขึ้น เพื่อให้มีน้ำนมสะสมในเต้าในระหว่างมื้อน้อยลง

 

 

นั่นก็หมายความว่า หากต้องการเพิ่มน้ำนม จะต้องทำให้เต้านมเกลี้ยงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตลอดทั้งวัน ด้วยวิธีต่อไปนี้

 

  1. นำน้ำนมออกจากร่างกายให้บ่อยมากขึ้น (ด้วยการให้ลูกดูดบ่อยกว่าเดิม และ/หรือ เพิ่มการบีบหรือปั๊มในระหว่างมื้อที่ลูกดูด)
  2. พยายามทำให้น้ำนมเกลี้ยงเต้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการดูดหรือปั๊มแต่ละครั้ง

 

 

ทำอย่างไรให้เกลี้ยงเต้า

 

  • ต้องให้ลูกดูดอย่างถูกวิธี (ดูดอย่างมีประสิทธิภาพ)
  • ใช้การนวดเต้านมและบีบหน้าอกช่วย
  • ให้ลูกดูดเต้านมทั้งสองข้างในแตะละมื้อ  รอให้ลูกดูดข้างแรกนานจนพอใจ แล้วค่อยเปลี่ยนข้าง
  • บีบหรือปั๊มนมออกอีก หลังจากลูกดูดเสร็จแล้วและรู้สึกว่าลูกยังดูดไม่หมด ถ้าลูกดูดได้เกลี้ยงเต้าดีแล้ว  การบีบหรือปั๊มจะช่วยได้มากขึ้น ถ้าทำเพิ่มในระหว่างมื้อที่ลูกดูด (พยายามทำให้เต้าว่างให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้)

 

ถ้าน้ำนมมากไปจะทำอย่างไรดี

 

คุณ แม่บางคนก็น้ำนมมากโดยธรรมชาติ บางคนก็กระตุ้นมากไปจนมากเกิน หากต้องการลดปริมาณการผลิตน้ำนมโดยไม่ให้มีผลกระทบกับจำนวนครั้งในการดูดของ
ลูกหรือต้องหย่านมลูก สามารถทำได้โดยการจำกัดการดูดนมของลูก
ให้ดูดเพียงข้างเดียวในแต่ละมื้อ (ระยะห่างระหว่างมื้อ 3-4
ช.ม.หรือนานกว่า) แล้วสลับข้างในมื้อถัดไป  ด้วยวิธีนี้ น้ำนมจะสะสมอยู่ในเต้าเต็มที่ก่อนที่จะเปลี่ยนข้าง (น้ำนมสะสมมากๆ
à การผลิตจะลดลง)

 

การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิตน้ำนมในแต่ละช่วงวัยของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

ในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอด ก่อนจะถึงจุดที่คุณแม่เริ่มรู้สึกว่า นมมาแล้วนั้น กระบวนการผลิตน้ำนมเกิดจากการทำงานของฮอร์โมน ไม่ว่าจะอย่างไร ก็จะมีการผลิตน้ำนม (แต่ในปริมาณที่น้อย) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำน้ำนมออกจากร่างกาย

 

แต่หลังจากสองสามวันแรกผ่านไป  การผลิตน้ำนมจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง ก็ต่อเมื่อ มีการนำน้ำนมออกมาจากเต้าอย่างสม่ำเสมอ (โดย การดูด การบีบหรือการปั๊ม) เต้านมจะหยุดการผลิตน้ำนม ภายในไม่กี่วัน* ถ้าไม่มีการนำน้ำนมออกจากเต้าอย่างสม่ำเสมอ (*พอๆ
กับระยะเวลาที่แม่ชงนมผสมที่แจกฟรีให้ลูกกินหมดกระป๋องแรก)

 

ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ถ้าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดำเนินไปด้วยดี แม่ส่วนใหญ่จะมีน้ำนม มากเกินกว่า ความต้องการของลูก สังเกตได้จากอาการคัดเต้านม น้ำนมไหลซึมเลอะเทอะ ลูกดูดข้างนึง อีกข้างก็ไหลพุ่งออกมาด้วย หรือน้ำนมไหลพุ่งก่อนที่จะถึงมื้อนม
สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ สิ่งปกติที่จะเกิดขึ้นตลอดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  แต่
จะเกิดขึ้นในช่วงของการปรับตัวระหว่างปริมาณการผลิตน้ำนมของร่างกายแม่
ให้เข้ากับปริมาณความต้องการน้ำนมของร่างกายลูก ในระยะ 2-3 สัปดาห์แรก
(สำหรับแม่บางคน อาจจะยาวนานกว่านี้ก็ได้)

 

สำหรับทารกที่ถูกเลี้ยงด้วยนมแม่ล้วนๆ  จะ มีความต้องการน้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นจะค่อนข้างคงที่ในช่วง 1-6 เดือน
(แต่ก็อาจจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ
ของการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า
Growth Spurts)

 

งานวิจัยที่มีอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้พบว่าปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการจะมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุ หรือน้ำหนักของทารกในช่วง 1-6 เดือนแรก  ใน บางกรณี ระหว่าง 6-12 เดือน (เมื่อเริ่มอาหารเสริมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทีละน้อย) ปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการอาจจะเริ่มลดลงบ้าง
แต่น้ำนมแม่ก็ยังเป็นอาหารหลักที่สำคัญสำหรับทารกในขวบปีแรก

 

หลังจาก 6 สัปดาห์ - 3 เดือนแรก (หรืออาจจะนานกว่านี้ สำหรับบางคน) ผ่านไป  ปริมาณของฮอร์โมนโปรแล็คตินระดับสูงซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับระยะแรกคลอด  จะค่อยๆ เริ่มลดต่ำลงกลับสู่ระดับปกติของการผลิตน้ำนมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลัง  เมื่อ โปรแล็คตินกลับสู่ระดับปกติในช่วงนี้ คุณแม่จะไม่รู้สึกว่าหน้าอกคัดตึงเหมือนช่วงแรก น้ำนมที่เคยไหลซึมก็น้อยลง
หรือหายไปเลย ไม่รู้สึกว่าน้ำนมไหลพุ่ง ไม่รู้สึกถึงกลไกการหลั่งน้ำนม (
Let down reflex) และปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ก็อาจจะลดลง
ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็น เรื่องปกติ ไม่ได้หมายความว่า ปริมาณการผลิตน้ำนมของคุณลดลงแต่อย่างใด 

 

จงจำไว้ว่าในช่วงแรกนั้น ปริมาณน้ำนมทีผลิตนั้น มากเกินกว่า ความต้องการ ทำให้มีการคัดตึง และไหลซึมเลอะเทอะ  เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว ปริมาณการผลิตน้ำนมจะพอดีกับความต้องการของลูก โดยไม่มีส่วนเกิน ไม่ใช่ผลิตน้อยลงจนไม่พอ อย่างที่ทุกคนกังวล  ขอเพียงให้ลูกดูด และหรือ บีบหรือปั๊มออกอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ให้นมผสมเพิ่ม  ร่างกายคุณแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้เพียงพอกับความต้องการของลูกในแต่ละวัยไปตราบนานเท่าที่ต้องการ

 

 

รู้สึกว่าหน้าอกไม่คัดตึง นิ่ม เหมือนไม่มีน้ำนม น้ำนมแห้งแล้วหรือเปล่า?

 

เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกว่าหน้าอกเริ่มจะไม่คัดตึง นิ่ม เหลว เหมือนไม่มีน้ำนม เมื่อเวลาผ่านไป 6-12 สัปดาห์หลังคลอด

 

หลัง จากสัปดาห์แรกๆ (6-12 สัปดาห์ หรือนานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละคน) ผ่านพ้นไป
คุณแม่จำนวนมากรู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับปริมาณน้ำนมของตน
เมื่อสังเกตเห็นว่า นมที่เคยปั๊มได้มีปริมาณลดลง หรือรู้สึกว่าหน้าอกนิ่ม
เหลว ไม่คัดตึง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ
แม้ว่าบางครั้งอาจจะรู้สึกคัดตึงบ้าง ถ้าเว้นช่วงการให้ลูกดูด
หรือปั๊มนานกว่าปกติ

 

ความรู้สึกว่าหน้าอกคัดตึง เต็มไปด้วยน้ำนม ในช่วงสัปดาห์แรกๆ นั้นไม่ใช่เรื่องปกติ ตลอดช่วงระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงแรกที่ร่างกายของแม่ยังไม่สามารถปรับตัวให้รับรู้กับปริมาณความต้องการน้ำนมของลูกได้

 

ใน ช่วงเวลาหนึ่ง โดยปกติจะอยู่ระหว่าง 6-12 สัปดาห์ (อาจจะนานกว่านี้ สำหรับบางคนที่มีนมเยอะมากๆ)ปริมาณการผลิตน้ำนมจะปรับเข้าที่
จะรู้สึกว่าหน้าอกคัดน้อยลง นิ่มเหลว เหมือนไม่มีน้ำนม ไม่มีการไหลซึม
ไม่รู้สึกถึง
let-down และถ้าปั๊ม ก็จะได้ปริมาณน้อยลงกว่าเดิม

 

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าร่างกายผลิตน้ำนมน้อยลง  แต่เป็นสิ่งที่บอกว่า ร่างกายสามารถรับรู้แล้วว่าปริมาณน้ำนมเท่าใดจึงจะพอดีกับความต้องการ ไม่จำเป็นต้องผลิตให้มากเกินไปอีกต่อไป

 

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดก็ได้ แตกต่างกันไปในแต่ละคน  มีคุณแม่จำนวนมากที่ไม่ค่อยรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เป็นเรื่องปกตินี้  เพราะส่วนใหญ่มักจะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองไปก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้ไม่เคยรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ (หรือบางทีก็เข้าใจผิดๆ ว่าความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสัญญาณบอกว่านมกำลังจะแห้ง ทำให้เลิกให้นมแม่ แล้วไปให้นมผสมแทน)  

 

ทำไมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้

 

โดยปกติหลังจากที่เราเริ่มจะรู้สึกว่า น้ำนมมาแล้วนั้น กระบวนการผลิตน้ำนมจะถูกควบคุมโดยการนำน้ำนมออกมาจากร่างกาย (ถ้ามีการดูดหรือปั๊มออกมา ก็จะมีการผลิตน้ำนมต่อไป
ถ้าไม่มีการดูดหรือปั๊มออกมา ก็จะหยุดการผลิต)  แต่กระนั้นก็ตาม  ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ฮอร์โมนซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนมในช่วงแรก (
Lactogenesis I&II) นั้น ยังคงมีอยู่ในระดับสูง ซึ่งป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้เกินกว่าความต้องการ  

 

การ ที่ฮอร์โมนในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ มีระดับสูงเช่นนี้ ก็เพื่อช่วยในการผลิตน้ำนมให้ได้มากขึ้นถ้ามีความต้องการ
(แม้ว่าจะมีลูกแฝดสอง หรือสาม แม่ก็จะสามารถผลิตน้ำนมได้พอสำหรับลูกทุกคน)  หลัง
จาก 2-3 เดือนแรกผ่านไป
ระดับของฮอร์โมนโปรแล็คตินซึ่งปกติจะสูงในช่วงสัปดาห์แรกๆ จะค่อยๆ
ลดลงสู่ระดับปกติในที่สุด
หลังจากนั้นการผลิตน้ำนมของแม่ก็จะปรับได้พอดีกับความต้องการของลูก
(ไม่มีส่วนเกินอีกต่อไป)

 

ต้องใช้เวลาให้นมเต็มเต้าก่อนให้ลูกดูดหรือปั๊มหรือเปล่า

 

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดๆ ว่า ต้องให้ลูกดูดให้เกลี้ยง แล้วก็ต้องรอให้เต็มใหม่เสียก่อน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

 

ในความเป็นจริงแล้ว ร่างกายจะทำการผลิตน้ำนมอยู่ ตลอดเวลา ดังนั้นจริงๆ แล้ว เต้านมจะไม่เคยเกลี้ยงจริงๆ  จากการวิจัยพบว่า ทารกไม่ได้ดูดนมจนหมดเต้า  ปริมาณน้ำนมที่ทารกดูดออกไปนั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความหิวของทารกในแต่ละครั้ง แตกต่างกันในแต่ละมื้อ โดยปกติจะประมาณ 75-80 % ของปริมาณน้ำนมที่มีในเต้านม

 

ความพยายามที่จะทำให้นมเกลี้ยงเต้า ก็เหมือนกับความพยายามที่จะทำให้แม่น้ำแห้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้  เพราะเมื่อน้ำนมถูกนำออกไป ก็จะมีการผลิตน้ำนมใหม่เข้ามาแทนที่

 

ยิ่งทำให้เต้านมมีน้ำนมน้อยลง (ดูดหรือปั๊มออกบ่อยๆ) เท่าใด  เต้านมก็จะยิ่งผลิตน้ำนมเร็วขึ้นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อลูกดูดนมไปได้เยอะแค่ไหน การผลิตนำนมก็จะมากขึ้นเท่านั้น

 

การ กำหนดเวลาทุกกี่ช.ม. เพื่อให้ลูกดูดนมในแต่ละมื้อหรือปั๊มนั้น (เพราะเข้าใจผิดๆ ว่าต้องรอให้นมเต็มเต้าเสียก่อน)
ไม่ได้ช่วยให้น้ำนมผลิตได้มากขึ้น  ในทางตรงข้าม การทำเช่นนั้น (เว้นช่วงห่างระหว่างมื้อนม หรือการปั๊มนานๆ ) บ่อยๆ  จะยิ่งทำให้การผลิตน้ำนมน้อยลงเรื่อยๆ  เพราะการที่มีน้ำนมสะสมในเต้ามากๆ จะยิ่งทำให้การผลิตน้ำนมช้าลง

 

ข้อมูลอ้างอิง : How does milk production work? By Kelly Bonyata, BS, IBCLC

 

Views: 319

Reply to This

Replies to This Discussion

ขอบอกต่อค่ะ จากประสบการณ์จริงที่ผ่านมา เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว ไม่ต้องมีอย่างอื่น แม้แต่น้ำก็ไม่ต้อง
เห็นผลจริง ๆ ค่ะ เห็นมาแล้วด้วยตัวเอง ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน แน่นอนที่สุดค่ะ
ข้อมูลแน่นมากค่ะคุณบิ๊ก...
นมเเม่ดีที่ซู้ดๆๆๆๆ
ข้อมูลแน่นจริงๆ น่าเป็นคนให้เองเลยนะค่ะ คริคริ (มีแซว)
จำได้แม่นเลยว่าตอนแรกคลอดนั้นแอบเครียด ได้ print ข้อมูลชุดนี้ออกมาอ่านเหมือนกันค่ะ ทำให้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ ทฤษฎีการผลิตน้ำนม ขอให้คุณแม่ๆที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองประสบความสำเร็จทุกคนค่ะ
โหคุณบิ๊กขาข้อมูลแน่นมาก อิอิ
รู้สึกว่าคุณบิ๊ก จะสนใจ ในเรื่อง นมลูกนะคะ
วิชาการเยอะเหมือนเรียนหมอเลยนะคะเนี่ย
เออ! เนอะ สนใจแต่เรื่องนมๆจริงด้วย คราวก่อนก็มีเรื่อง นม เหมือนกันเนอะ อิ อิ
คุณบิ๊กเป็นทั้งผู้ใหญ่บ้านแล้วก็หมอตำแย อุ๊ยไม่ใช่ หมอสูติด้วยเลยนะคะเนี่ย ^_^
ขอสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกคนค่ะ
จะเล็กหรือใหญ่ก็ทำได้ค่ะถ้าตั้งใจจริง
นมแม่ สะอาด สะดวก ประหยัด แถมให้คุณค่าทั้งทางร่างกายและจิตใจค่ะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service