เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

อัจฉริยะสร้างได้ อะไรคือคำตอบ?

 

  ถ้าเรานั่งไทม์แมชีน(Time Machine)ของโดราเอมอนย้อนกลับไปในอดีตแ้ล้วต่อด้วยรถโรงเรียนมหาสนุก(Magic School Bus)กับคุณครูฟริสเซิลที่พานักเรียนไปทัศนศึกษาแบบพิเศษและน่าตื่นเต้นเด็กๆ จะได้รับความรู้รอบตัวเชิงวิทยาศาสตร์และความสนุกเหนือจินตนาการ เราคงรู้ว่าอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มีโครงสร้างของสมองที่มีเส้นใยประสาทแตกแขนงออกไปอย่างหนาแน่นและสื่อสารกัน ได้อย่างยอดเยี่ยมนั้นดนตรีมีส่วนช่วยให้เป็นเช่นนั้นอย่างแน่นอน
             ไอน์สไตน์เริ่มเรียน ดนตรีตั้งแต่เด็กอายุ 6 ขวบ เริ่มเรียนเปียโน แล้วตามด้วย ไวโอลิน  เขาเรียนอย่างมีความสุข เขาเล่นไวโอลินได้อย่างไพเราะและเป็นธรรมชาติมาก มีเพื่อนเป็นนักดนตรีหลายคน เช่น ดร.ซูซูกิ( ที่มีความเชี่ยวชาญด้านไวโอลินเป็นพิเศษ) ไอน์สไตน์เคยพูดแบบติดตลกไว้ว่า


             “หากไม่ได้เป็นนักฟิสิกส์ ข้าพเจ้าอาจเป็นนักดนตรี"


 ได้มีการเปรียบเทียบวิชาดนตรีกับทฤษฎีสตริง(เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมในวิชาฟิสิกส์)โดยเปรียบเทียบไว้ดังนี้

                การเทียบเคียงในวิชาดนตรี                   สิ่งที่เทียบเคียงในทฤษฎีสตริง 

                 สัญลักษณ์ทางดนตรี                            วิชาคณิตศาสตร์

                 สายไวโอลิน                                       ซูเปอร์สตริง

                 โน้ตดนตรี                                          อนุภาคระดับเล็กกว่าอะตอม

                 กฏแห่งการประสานเสีบง                        กฏทางฟิสิกส์                        

                 ทำนองเพลง                                        กฏทางเคมี

                 จักรวาล                                              วงซิมโฟนี่ของสตริง

               " พระจิตของพระเจ้า "                      ดนตรีแห่งจักรวาลซึ่งก้องไปทั่วไฮเปอร์สเปซ

                 ผู้ประพันธ์เพลง                                            ?  

 

           ไอน์สไตน์ ไม่ได้เชี่ยวชาญเฉพาะฟิสิกส์และดนตรี หลังประสบความสำเร็จในทฤษฎีสัมพัทธภาพอันโด่งดัง จนได้รับรางวัลโนเบลในปีค.ศ.1921 ไอน์สไตน์เดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ในที่ต่างๆ มีวาทะอันเฉียบคมที่เราเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว เช่น “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพอันหลากหลายมิติ ทั้งอีคิวและไอคิวของไอน์สไตน์
   หลายคนอาจตั้งคำถมว่า "ทำไมดนตรีจึงสร้างความเป็นอัจฉริยะได้"
            ดนตรี มีองค์ประกอบที่สมดุล สามารถกระตุ้นการทำงานของสมองได้ทั้งซีกซ้ายและซีกขวา สมองซีกซ้ายเป็นพื้นฐานของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอ่าน เขียน พูด การคิดวิเคราะห์ ภาษา และการใช้เหตุผล สมองซีกขวาเป็นการเรียนรู้ด้านความรู้สึก จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะ และดนตรี เสียงดนตรีช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวา ตัวโน้ต ทำนอง และจังหวะ กระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้าย สมองสองซีกทำงานประสานกันอย่างสมบูรณ์นั่นหมายความว่า ประสิทธิภาพสูงสุดเกิดขึ้น
             ดนตรี มีหลายประเภท ที่เหมาะสมกับเด็กก็คือ ดนตรีที่มีจังหวะ ทำนอง และความกลมกลืนของเสียงอย่างมีลำดับ มีผลต่อขั้นตอนทางความคิดในสมองซึ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก ระบบประสาทการรับฟังของเด็กในท้องเริ่มทำงานตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 5 เดือน คลื่นเสียงที่มีโครงสร้างเหมาะสมจะกระตุ้นเครือข่ายสายใยประสาทเกี่ยวกับการ ได้ยินให้พัฒนาได้แข็งแรงและมั่นคง
            ดนตรีคลาสสิกมีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อ พัฒนาการของเด็กมากที่สุด โดยเฉพาะดนตรีของโมสาร์ท อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกดนตรีแนวอื่น เช่น ดนตรีไทยเดิม ดนตรีป็อป ดนตรีแจ็ซ ให้ลูกฟังก็ได้ เมื่อลูกแสดงออกว่า ชื่นชอบเพลงแบบไหน จึงค่อยส่งเสริมไปตามแนวทางที่ลูกถนัดต่อไป
             ผลงานเพลงของโมสาร์ท มีผลต่อพัฒนาการด้านมิติสัมพันธ์ และจะคงอยู่ได้นานก็ต่อเมื่อมีการฝึกฝนในช่วงอายุ 3-7 ขวบ อย่างต่อเนื่อง 2 ปีขึ้นไป ได้แก่ การที่เด็กได้ร้องรำทำเพลง เล่นดนตรี และประกอบกิจกรรมเข้าจังหวะ
จากการทดลองพบว่า “เด็กในวัยเรียนอายุต่ำกว่า 7 ปี ที่ฝึกเล่นดนตรีอย่างสม่ำเสมอ จะมีความสามารถด้านความสัมพันธ์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาดีกว่าเด็กที่ไม่ได้เล่นดนตรี”

อ่านรายละเอียดได้ที่   http://go2pasa.ning.com/profiles/blogs/2456660:BlogPost:552255

              ดังนั้น การปั้นลูกน้อยสู่เส้นทางของความเป็นอัจฉริยะอย่างมีความเกื้อกูล ดนตรีจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ มีบทบาทต่อการพัฒนาศักยภาพเป็น อย่างมาก การดูแลเอาใจใส่ รู้จักกระตุ้น และต่อยอดลูกน้อยด้วยดนตรีที่เหมาะสมกับวัยของเด็กเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณ แม่โดย ตรง ดนตรีกับเด็ก ณ วันนี้ จึงเป็นมากกว่าเครื่องมือกล่อมเด็ก หรือกิจกรรมเสริมเพื่อความบันเทิงเท่านั้น

       ถ้าเปรียบเทียบสมองกับคอมพิวเตอร์ สมองทำการประมวลผลได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์มาก แต่มีข้อจำกัดเรื่องความจำไม่สามารถเพิ่มได้ เมื่ออายุ 25 ปีความจำจะเริ่มลดลงปีละ 1% โครงสร้างจึงจำเป็น เหมือนการวางผังเมืองถ้าเป็นระบบสามารถจัดการ การจราจร การขนส่งทุกรูปแบบ มลพิษ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ภูมิทัศน์ ฯลฯ เท่ากับว่าเราได้ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด

ข้อมูลจากหนังสือเรื่อง จักรวาลคู่ขนาน(Parallel Worlds) เขียนโดย Michio Kaku แปลโดย สว่าง พงศ์ศิริพัฒน์ สำนักพิมพ์มติชน

                              ลูกฉลาดได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ นพ.ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร

                              ลายแทงนักคิด (A Guide book to Thought Analysis) ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์

                     ดนตรีเป็นหนึ่งคำตอบสำหรับการพัฒนาสมองอย่างมีประสิทธิภาพ


Views: 447

Comment

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

Comment by หม่าม๊าเฮงๆ on September 25, 2011 at 11:06pm
ตามมาเก็บข้อมูลค่ะ
Comment by แม่หนูนานา on February 17, 2011 at 2:09pm

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

Comment by ภฤศวัฒน์ เวชอุไร on February 16, 2011 at 7:09pm
ขอบคุณเช่นกันครับ.
Comment by สุภาพร(แม่ปั้น฿แป้ง) on February 15, 2011 at 10:26pm

ขอบคุณค่ะ คุณลุงเกษม

Comment by YaYo & JaJa & MamaKim on February 11, 2011 at 10:47pm

ขอบคุณที่แชร์ข้อมูลดีๆค่ะ ....^___^

Comment by Nui & Pordee krub on February 9, 2011 at 11:05am

ได้รับคำตอบแล้วค่าคุณพ่อเกษม ต้องรีบหามาอ่านบ้างแล้ว 

ขอบคุณมากนะคะสำหรับบทความดีๆเช่นนี้  ^O^

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service