เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
ดนตรี สร้างลูกฉลาดจริงหรือ
ที่มา : นิตยสารบันทึกคุณแม่ ฉบับที่ 169
ผู้ปกครองมักจะมีคำถามเสมอว่า “เด็กเริ่มเรียนดนตรีเมื่อไหร่?” บางท่านพาลูกไปสมัครเรียน เมื่อถามเจ้าหน้าที่มักจะได้คำตอบที่ไม่ชัดเจน ครูบางคนจะบอกว่ายังเล็กไปไว้ 7 ขวบค่อยมา พอลูก 7 ขวบ พอไปอีกครูอีกคนอาจจะบอกว่า น่าจะมาตั้งแต่ยังเล็กๆ ด้วยสาเหตุนี้เองที่ทำให้พ่อแม่สับสน จริงๆ แล้ว เด็กเรียนดนตรีได้ตั้งแต่ยังเล็กๆ ยิ่งเล็กยิ่งดี แต่ไม่ได้หมายความว่า 1 ขวบมานั่งเล่นเปียโน เพราะกล้ามเนื้อยังไม่มีแรง แต่จะเรียนรู้ดนตรีได้ในวิธีที่ต่างกันขึ้นอยู่กับพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ในแต่ละวัย
พลังดนตรีพัฒนาความฉลาด
เชื่อไหมว่า เมื่อแรกเกิดลูกฟังดนตรีรู้เรื่องแล้ว จากการวิจัยพบว่าทารกในครรภ์ช่วงอายุ 7-8 เดือน สามารถรับรู้เสียงดนตรีและได้ยินเสียงที่คุณแม่พูดหรือร้องเพลง ดนตรีช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองมากกว่า 10 ส่วนทั่วไปหมด ทั้งสมองส่วนบน ส่วนล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ให้สมองกระตุ้นจินตนาการและความคิดอย่างมีเหตุผล การคิดคำนวณ วิทยาศาสตร์และภาษา โดยเฉพาะดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ ฟังสบายๆ มีจังหวะท่วงทำนองและความกลมกลืนของเสียงที่เหมาะสมจะทำให้สมองของลูกพัฒนา ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะลูกน้อยที่อยู่ในวัยแรกเกิดถึง 3 ขวบ เกิดการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาทั้งทางด้านอารมณ์ สติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้มีความสามารถที่จะจดจำสิ่งต่างๆ ที่พ่อแม่สอนได้ดียิ่งขึ้น
พลังของดนตรีคลาสสิก
ผู้ เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กส่วนใหญ่จะแนะนำให้พ่อแม่เปิดเพลงช้าๆ มีช่วงทำนองสม่ำเสมอ เช่น เพลงคลาสสิกให้ลูกฟัง เพราะดนตรีคลาสสิกมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองของเด็กให้เจริญเติบโตได้เป็น อย่างดี จังหวะทำนอง และความกลมกลืนของเสียงดนตรีที่ถูกเรียบเรียงไว้อย่างเป็นลำดับขั้น จะช่วยจัดลำดับความคิดในสมองเด็กและช่วยให้เกิดการผ่อนคลายขณะรับฟังดนตรี การรับฟังดนตรีคลาสสิกเบาๆ ในจังหวะช้าๆ จะทำให้เด็กเกิดอารมณ์สุนทรีย์ ซึ่งความรู้สึกผ่อนคลายที่ได้รับจะช่วยให้เด็กเปิดรับการเรียนรู้ได้ดี และยังช่วยเสริมสร้างสมาธิจากการที่เด็กสงบนิ่งชั่วขณะหนึ่ง จังหวะและท่วงทำนองที่คลาสสิกของดนตรี จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์แบบมีเหตุ มีผลในด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมและการอ่านเขียน
จังหวะ เสียงสูงต่ำและความถี่ของเสียงดนตรีคลาสสิก ยังมีส่วนในการพัฒนาความสามารถด้านการเรียนภาษาได้ดีขึ้นได้ และบทประพันธ์ของดนตรีคลาสสิกบางชิ้นส่งผลด้านการพัฒนาสติปัญญาและความคิด สร้างสรรค์ โดยเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้คำพูด อารมณ์และพัฒนาสมาธิและความจำ ในขณะที่เด็กเรียนรู้ทักษะบางอย่างขณะที่ฟังดนตรีคลาสสิกไปด้วย จะสามารถจดจำสิ่งที่ตัวเองเรียนรู้ได้ดี เข้าใจเหตุผลของความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
ผล การวิจัยล่าสุดพบว่า ความสบายใจที่ได้ฟังดนตรีในวัยเด็ก โดยเฉพาะดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ อย่างดนตรีคลาสสิกมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นสมองส่วนที่ควบคุมด้านความสนใจ ความจำ ความฉลาด และการสร้างอารมณ์ที่ดี จากการฟังดนตรีดังกล่าว ยังช่วยให้ลูกเกิดการใช้สมองทุกส่วนพร้อมกันอีกด้วย
ผลจากการวิจัยพบว่า ดนตรีอาจส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น
สมอง ของเด็กประกอบด้วยเซลล์ประสาทเป็นจุดๆ กำลังรอคอยการเชื่อมต่อกันเพื่อนำเข้าส่งต่อและบันทึกข้อมูลต่างๆ ทุกๆ ครั้งที่เด็กถูกกระตุ้นให้คิด จุดเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นหรือที่มีอยู่แล้วก็แข็งแรงขึ้น ถ้ามีจุดเชื่อมต่อโยงใยมาก เซลล์จะแข็งแรงและฉลาดยิ่งขึ้นแต่ถ้าไม่ได้รับข้อมูลเป็นเวลานานเซลล์ประสาท ก็จะเหี่ยวเฉาตายไป
การ ศึกษาทารกอายุ 3 เดือน ซึ่งเรียนรู้ทักษะง่ายๆ ขณะฟังดนตรีคลาสสิกพบว่า เด็กๆ จะจำสิ่งที่ตัวเองเรียนรู้ได้นาน และเมื่อเปิดเพลงเดิมให้ฟังอีกครั้ง หลังจากนั้นไปอีก 7 วัน เด็กก็ยังจำเพลงนั้นได้อยู่
การ ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ฝึกเล่นเปียโน กลุ่มที่ฝึกใช้คอมพิวเตอร์ และกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกฝนใดๆ พบว่าในระหว่างที่ทำการวิจัย มีกลุ่มเด็กที่เล่นเปียโนเพียงกลุ่มเดียว ที่มีความสามารถเข้าใจเหตุผลของความสัมพันธ์เชิงมิติของสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็วเพิ่มขึ้น 37%
การศึกษากลุ่มเด็กอนุบาล พบว่า ความสามารถในการจำแนกเสียงสูงต่ำ สัมพันธ์กับทักษะการเรียนรู้ ด้านการอ่านหนังสือ
Fran Rauscher และ Gordon Shaw แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียร์ ได้ทำการศึกษาผลจากการฟังเพลงโมสาร์ท พบว่าเพลงคลาสสิกมีอิทธิพลต่อการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์ในมิติ ของสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เขาทำการทดลองกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย 3 กลุ่ม กลุ่มแรกฟังเพลงโซนาต้าของโมสาร์ท กลุ่มที่สองฟังเพลงประเภทผ่อนคลาย กลุ่มที่สามไม่เปิดเสียงใดๆ ให้ฟัง พบว่าหลังจากกลุ่มแรกที่ฟังเพลงโซนาต้าของโมสาร์ทไม่กี่นาที สามารถทำคะแนนสอบในวิชาทักษะด้านการหาเหตุผลด้านความสัมพันธ์เชิงมิติเพิ่ม ขึ้น 62% ซึ่งดีกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด
ปี พ.ศ. 2537 นักจิตวิทยาชื่อ Fran Raucher และนักฟิสิกส์ Gordon Shaw มหาวิทยาลัย University of California-Irvine วิจัยหาจุดต่อระหว่างดนตรี ทักษะในทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ กลุ่มแรกได้รับการฝึกให้ร้องเพลงทุกวัน กลุ่มสองได้รับการฝึกคีบอร์ดสัปดาห์ละครั้ง กลุ่มสามไม่ได้รับการฝึกดนตรีใดๆ แม้การให้เด็กอายุ 3 ขวบ เรียนดนตรีจนประสบความสำเร็จ จะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่มีผลผนวกดนตรีเข้ากับการเรียนได้เป็นอย่างดี หลังจาก 8 เดือน เด็กที่ได้รับการฝึกดนตรีมีความเฉลียวฉลาดมากขึ้นถึง 46% มากกว่าเด็กกลุ่มควบคุมซึ่งพัฒนาเพียง 6% และเด็กที่พัฒนาความฉลาดจากการเล่นดนตรีได้อย่างน่าตื่นเต้นคือ เด็กพิการ
งาน วิจัยอีกชิ้นกล่าวว่า ช่วงเวลาที่เด็กจะพัฒนาความฉลาดทางดนตรีให้มากที่สุดคือทันทีที่เด็กเกิด เพราะสมองบางส่วนที่ไม่ได้ถูกใช้ในการพัฒนาด้านดนตรี อาจถูกเปลี่ยนไปใช้พัฒนาในด้านอื่นๆ ดังนั้นยิ่งเด็กได้เรียนรู้ดนตรีเร็วเท่าไร ก็ยิ่งมีความสามารถในการเรียนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการวิจัยว่าดนตรีแบบต่างๆ ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กต่างกัน ดนตรีคลาสสิกมีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรคได้ ขณะที่เพลงมาร์ชปลุกใจสามารถเพิ่มอาการ hyperactivity ให้เด็กบางคน ส่วนดนตรีร๊อคและดิสโก้ อาจเป็นการกระตุ้นเด็กมากเกินไป ควรหลีกเลี่ยงการเปิดดนตรีให้เด็กฟังตลอดเวลา เพราะความเงียบเป็นอีกส่วนที่สำคัญต่อการพัฒนาความสามารถในการแยกแยะเสียง ของเด็ก เมื่ออยู่ในที่เงียบ เด็กจะเพ่งสมาธิไปยังการฟังได้ นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดนตรีหนักๆ เร่งเร้า กระตุ้นตลอดเวลา จะทำให้เด็กโวยวาย และทำให้ความสามารถในการฟังลดลง
สรุป แล้วดนตรีที่มีจังหวะและท่วงทำนองที่เหมาะสม จะมีผลทำให้สมองพัฒนาได้ถึงขีดสุด เสริมความฉลาดในหลายๆ ด้าน ช่วยเชื่อมสายสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ เพิ่มความสนใจในงานต่างๆ และพัฒนาการควบคุมสิ่งกระตุ้นและพัฒนาการเคลื่อนไหว
ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับคณิตศาสตร์
France Rauscher และทีมงานยังพบว่าเด็กก่อนวัยเรียนที่เรียนเปียโน สามารถทำข้อสอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์เหตุผลในความสัมพันธ์เชิงมิติเพิ่มขึ้น 34% เพราะระบบประสาทที่ควบคุมการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์เป็นอันเดียวกับทักษะทาง ดนตรีเท่ากับได้พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆ กันด้วย
สมอง ของทารกมีศักยภาพอันน่าอัศจรรย์ เด็กทารกสามารถจดจำเสียงเพลงเดิมๆ ที่แม่เคยร้องกล่อมตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้ เมื่อทารกลืมตาดูโลกและแม่ร้องเพลงนี้ให้ฟังอีก เด็กจะมีปฏิกิริยา 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ดูดนมแม่เร็วและถี่ขึ้น กับแบบที่ 2 คือ หยุดดูดชั่วขณะคล้ายกับกำลังหยุดฟังเสียงเพลงอยู่ และเสียงเพลงขับกล่อมจากแม่ที่แฝงความนุ่มนวลอ่อนโยนในน้ำเสียง ยังช่วยทำให้ทารกเกิดความสบายใจ รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกให้แนบแน่นยิ่งขึ้น
คุณค่าดนตรีพัฒนาสมองลูกน้อย
การ เปิดเพลงคลาสสิกเบาๆ ให้ทารกฟังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จะส่งผลให้ทารกสามารถรับรู้เรื่องเสียงได้มากขึ้น และเมื่อออกจากครรภ์มารดามาสู่โลกภายนอก ทารกก็จะปรับตัวกับสภาพแวดล้อมภายนอกได้ดีขึ้นและมีอารมณ์ความรู้สึกผ่อน คลายมากขึ้น
วัย 2-3 เดือนแรก ลูกชอบฟังเพลงช้าๆ เบาๆ ท่วงทำนองที่นุ่มนวล ถ้าหากพ่อแม่เปิดเพลงแบบนี้ให้ฟัง จะช่วยทำให้ลูกนอนหลับสบาย
วัย 4-5 เดือน ลูกเริ่มเข้าใจจังหวะมากขึ้น เมื่อได้ยินเสียงเพลงจะสามารถขยับร่างกาย หากได้ฟังดนตรีในท่วงทำนองที่ชอบก็จะยิ้มและตบมือด้วยความคึกคัก
วัย 6 เดือน เด็กจะเริ่มมีพัฒนาการของการออกเสียงเป็นพยางค์ได้บ้างแล้ว ลูกน้อยจะพยายามส่งเสียงเลียนแบบเพลงที่เขาได้ยิน ดังนั้นพ่อแม่ควรหาเพลงที่มีเนื้อร้องสั้นๆ ง่ายๆ มาเปิดให้ลูกฟัง เพื่อให้เขาหัดเลียนเสียงตาม
มีคำแนะนำสำหรับการใช้ดนตรีคลาสสิกมากระตุ้นสมองลูกดังนี้
- ถ้าพ่อ แม่เริ่มสังเกตเห็นว่าลูกเริ่มหงุดหงิด ให้เปิดเพลงจังหวะช้าๆ นุ่มนวล หรือร้องเพลงกล่อมลูก จะคลายความหงุดหงิดและเกิดความสบายใจ
- สร้างดนตรีให้ลูกสนุกสนานด้วยการร้องเพลงที่มีเนื้อหาเลียนแบบเสียงร้องของ สัตว์ต่างๆ หรือทำเสียงเคาะขวด เคาะแก้วพลาสติกซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการขยายการเรียนรู้เรื่องเสียงและ เรื่องคำให้ลูกน้อยเพิ่มขึ้น
- ใช้ เสียงเพลงเป็นสื่อให้ลูกเรียนรู้กิจวัตรประจำวัน เช่น ร้องเพลงให้บ่อยครั้งจนกลายเป็นเพลงที่ใช้ประจำวัน เช่น “ซู่ซ่าๆ ได้เวลาอาบน้ำ” หรือเปิดเพลงที่ลูกเคยฟังเมื่อจะเตรียมนมให้ลูกกิน ทำให้ลูกรู้จักการรอคอย เพราะรู้ว่าอีกไม่นานก็จะได้อิ่มท้องสบายแล้ว
ดนตรีเรียนเมื่อไหร่? เรียนอย่างไร?
พ่อ แม่บางคนให้ลูกเรียนดนตรีตามแฟชั่นหรือให้ลูกเรียนดนตรี เพราะลูกอยากเรียน ให้ลูกเรียนดนตรี เพราะต้องใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน แต่ไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจังว่าดนตรีมีคุณค่ากับชีวิตของลูกมากน้อยเพียงใด ก่อนพาลูกไปเรียนดนตรีจึงควรทำความเข้าใจผลของดนตรีต่อเด็กให้มั่นใจเสีย ก่อน
“ลูก” สามารถสัมผัสกับดนตรีตั้งแต่อยู่ในครรภ์
โดย อาศัยการฟัง เด็กที่ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมตั้งแต่ก่อนเกิดจะช่วยให้สมองได้รับการ พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ เด็กแรกเกิดจะเรียนดนตรีในลักษณะที่เป็นการสัมผัสประกอบเสียงในขณะที่เด็ก กำลังฟังอยู่นั้นคุณพ่อคุณแม่อาจใช้การสัมผัสลูกตามจังหวะเพลง ทั้งเลือกเพลงให้เหมาะสมกับเด็ก เด็กเล็กๆ เรียนรู้ในเรื่องของเสียง และจังหวะได้
“ลูก” อายุ 3 ขวบเป็นวัยที่เริ่มเล่นเครื่องดนตรีได้
เพราะ กล้ามเนื้อเริ่มแข็งแรงแต่จะเรียนในลักษณะของการร้องหรือเต้นให้เข้ากับ จังหวะหลักสูตรที่สอนสำหรับเด็กเล็ก อาจใช้เครื่องเคาะเครื่องตีเข้ามาผสมการสอนเรื่องเสียงและจังหวะจะเป็นการ ผสมระหว่างการเรียนดนตรีกับการเล่นที่เป็นไปตามธรรมชาติ
ผู้ ปกครองหลายท่านไม่เข้าใจ ก็จะคิดเสมอว่าลูกไม่เห็นเล่นเป็นเพลงเลย แล้วให้หยุดเรียนรอให้โตพอที่จะเล่นเปียโนได้ค่อยให้เรียนใหม่ จริงๆ แล้วเป็นการทำให้เด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ หลังจากเด็กได้เรียนรู้ดนตรีขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ การร้อง การเต้น ให้เข้ากับจังหวะได้ดีแล้วเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องพิจารณาผู้เรียนว่า สมควรจะได้เรียนดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งเมื่อใด เช่น การเรียนเปียโน ส่วนมากจะให้เด็กเริ่มเรียนในช่วงอายุ 4 ปี อาจจะเร็วหรือช้ากว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับพัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านการเรียนรู้ดนตรี ความต้องการและความสนใจของเด็กเป็นสำคัญ
ครูดนตรีมีส่วนทำให้ “ลูก” ชอบหรือไม่ชอบ
เพราะ ครูสามารถที่จะทำให้เด็กรู้สึกรักดนตรี หรือเกลียดดนตรีไปเลยก็ได้ การสอนไปวันหนึ่งๆ โดยไม่รู้ว่าสอนอะไร และจะสอนยังไงต่อไปนั้นเป็นการทำลายโอกาสของเด็ก ถ้าครูไม่มีความสามารถที่จะกระตุ้นให้เด็กแสดงความสามารถทางดนตรี
พ่อแม่ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ “ลูก”
เพราะ การสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการเรียนดนตรี การที่พาลูกไปดู Concert หรือไปดูการแข่งขันเปียโนเป็นการสร้างแรงบันดาลใจอย่างหนึ่งให้กับลูก และทำให้ได้เห็นถึงความสามารถของเด็กในวัยเดียวกันว่า ทำไมถึงเล่นได้เก่งขนาดนั้น เขาซ้อมได้อย่างไรวันละหลายชั่วโมง นี่ก็คือการสอนให้ลูกรู้จักแบ่งเวลาเพราะการซ้อมเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ของการเรียนดนตรี
ข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นคงทำให้ผู้ปกครองเข้าใจดนตรีมากขึ้น รู้ว่าควรให้เด็กเริ่มเรียนรู้ดนตรีตั้งแต่เมื่อไหร่ เรียนดนตรีแบบไหนจึงจะเหมาะสม การที่เด็กเรียนดนตรีแล้วจะประสบความสำเร็จมาก ขึ้นอยู่กับคนรอบข้างทั้งพ่อแม่ คนในครอบครัว และครู
ช่วง วัยนี้เป็นช่วงวัยที่พ่อแม่จำเป็นต้องเลือกกิจกรรมเพื่อดูว่าลูกชอบหรือถนัด อะไร เพื่อที่จะได้ส่งเสริมให้ลูกได้ทำในสิ่งที่ชอบ
เป็นบทความในแนวเดียวกันที่ผมเคยอ่านก่อนเริ่มให้น้องบุ้งฟังเพลงตั้งแต่อยู่ในท้องจนเป็นที่มาของ Music By Heart ครับ
ดนตรีช่วยพัฒนาศักยภาพของสมองและทักษะให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
Comment
น้องเก่งมากค่ะ
ขอบคุณ คุณเกษมค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆค่ะ
ขอบคุณครับที่ติดตามผลงานของน้องบุ้ง พร้อมแล้วมาเล่นตามได้เลยครับ
http://go2pasa.ning.com/profiles/blogs/easy-way-to-play-piano-happy
เพลง Twinke little star ใกล้เสร็จแล้วครับ
ขอบคุณมากๆเลยนะคะ กำลังจะเอาลูกวัย 4 ขวบ ไปเรียนพอดี ดีนะที่ได้อ่านก่อน ขอบคุณจากใจค่ะ
ขอบคุณบทความดีๆที่แนะนำค๊ะ ดูคลิบน้องแล้วเก่งมากๆเลยค๊ะ
ปิดเทอมนี้ก็ว่าจะพาน้องแฝดไปเรียนดนตรีเหมือนกันค๊ะ อยากจะให้น้องเรียนขิม(ไม่รู้จะยากไปอะป่าว ช่วยแนะนำหน่อยนะค๊ะ)
ดีจังคิดอยู่ค่ะว่าจะไห้น้องพรีมไปเรียนแต่อายุยังไม่ได้เค้ารับ4ขวบขึ้นไปก็เลยต้องรอตอนนี้น้อง2ขวบ9เดือนค่ะ
© 2025 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by
You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!
Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้