เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ดนตรีมีประโยชน์ ในวงการการศึกษา วงการศาสนา และวงการแพทย์

ดนตรีมีประโยชน์ในวงการการศึกษา วงการศาสนา และวงการแพทย์ เช่น การใช้ดนตรีเพื่อบำบัดโรคภัยต่างๆ ซึ่งศาสตราจารย์ Carl E. Seashore นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัย Iowa ได้กล่าวว่า เสียงดนตรีสามารถกระตุ้นมนุษย์ได้ทั้งร่างกายและจิตใจ

ดนตรี ประกอบด้วย ระดับเสียง ทำนอง จังหวะและเสียงประสาน ซึ่งแต่ละส่วนต่างก็มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้ของลูกได้ ดังนี้

1.ระดับเสียง (Tone) หมายถึง เสียงของเครื่องดนตรีและเสียงของผู้ร้อง ระดับเสียงดนตรีที่เหมาะจะให้ลูกฟังต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่ดังหรือเสียงไม่สูงจนเกินไป เพราะจะเกิดเป็นผลเสียแก่ลูกได้ ซึ่งหากให้ลูกฟังดนตรีที่มีระดับเสียงที่สูงมากเกินไป จะทำให้เด็กเกิดความเครียดอีกทั้งส่งผลให้ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้ และหากให้ลูกฟังดนตรีที่มีระดับเสียงที่ดังมากเกินไป จะมีผลเสียต่อระบบประสาทหูในเรื่องการได้ยินเสียงของลูกอีกด้วย

2. ทำนอง (Melody) หมายถึง ระดับเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ที่เมื่อนำมาเรียบเรียงจะเกิดเป็นทำนองเพลงที่มีความไพเราะแตกต่างกันออกไป โดยทำนองดนตรีที่เหมาะสำหรับลูกมีอยู่ 2 ประเภท คือ

- ดนตรีที่มีทำนองช้า ช่วยทำให้ลูกเกิดความรู้สึกสบายใจ คลายความเครียด ลดความก้าวร้าว
และทำให้เกิดสมาธิ เช่น เพลงช้าทำนองไทยเดิม เพลงช้าทำนองคลาสสิค หรือดนตรีบรรเลงที่มีเสียงธรรมชาติประกอบ เช่น เสียงน้ำไหล เสียงลมพัดเบาๆ เสียงนกร้อง

- ดนตรีที่มีทำนองเร็ว เมื่อลูกฟังแล้ว จะรู้สึกกระฉับกระเฉง ร่าเริงแจ่มใส หายง่วงนอน อยากกระโดดโลดเต้น ยักย้ายส่ายสะโพก อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นสมองของลูกให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และพร้อมเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้อีกด้วย

3. จังหวะ (Rhythm) ดนตรีที่มีจังหวะเร็ว คือ ดนตรีที่มีความถี่ของจังหวะประมาณ 70-80 BPM ถือเป็นจังหวะที่ช่วยกระตุ้นสมองของเด็กให้รู้สึกคึกคัก ตื่นเต้น สนุกสนาน เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ได้อย่างดี ดนตรีที่มีจังหวะช้า คือ ดนตรีที่มีความถี่ของจังหวะประมาณ 60 BPM (ความถี่ของจังหวะเคาะมือ 60 ครั้งต่อนาที) ถือเป็นจังหวะที่ช่วยให้สมองเกิดการผ่อนคลายและมีสมาธิ

4. เสียงประสาน (Harmony) หมายถึง การบรรเลงเพลงด้วยเครื่องดนตรีหลายชนิดที่มีเสียงแตกต่างกัน แต่เมื่อมาเล่นร่วมกันแล้วเกิดเป็นเสียงดนตรีที่มีทำนองไพเราะน่าฟัง เช่น วงออเคสตร้า วงมโหรีปี่พาทย์ และยังหมายถึงการร้องเพลงด้วยกลุ่มนักร้องที่ร้องเพลงด้วยระดับเสียงที่แตกต่างกัน แต่เมื่อมาร้องเพลงร่วมกันแล้วเกิดเป็นเพลงไพเราะที่มีเสียงผสมกลมกลืนกันอย่างลงตัว ซึ่งการให้ลูกได้ฟังเสียงร้องและเสียงดนตรีที่ประสานเสียงกันอย่างลงตัวนั้น มีประโยชน์ในการช่วยให้ลูกได้เรียนรู้การแยกแยะความเหมือนและความแตกต่างของเสียงร้องเพลงและเสียงของเครื่องดนตรี ซึ่งจะช่วยพัฒนาสมองของลูกในเรื่องของการคิดวิเคราะห์และการรู้จักแยกแยะความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่างๆได้ดี

ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

กิจกรรมดนตรีสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของลูกรัก ได้ดังนี้

1. ฟังดนตรี การฟังเป็นทักษะเริ่มต้นในการทำกิจกรรมดนตรี เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่ทักษะดนตรีในด้านอื่นๆ ได้แก่ การร้องเพลง การเล่นดนตรี การเต้น การรำ การอ่านโน้ตดนตรีและการสร้างสรรค์งานดนตรี นอกจากนี้การฟังดนตรีทำให้ลูกได้ผ่อนคลาย ทั้งยังเกิดสมาธิ ซึ่งสมองที่ผ่อนคลายจะทำให้เกิดความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี ทั้งยังช่วยเรื่องความจำได้มากด้วย

2. ร้องเพลง การร้องเพลงเป็นการช่วยพัฒนาสมองในส่วนของทักษะการคิดในด้านภาษาจากการจดจำและแปลความหมายของเนื้อเพลงนั้นๆ กิจกรรมการร้องเพลงจึงช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ด้านการใช้ภาษาได้มาก เช่น ถ้าร้องเพลงภาษาต่างประเทศลูกก็สามารถเรียนรู้คำศัพท์ภาษาต่างๆได้ เช่น เพลงฉันรักเธอ(จากหนังสือซีดีเพลงพหุปัญญา) ที่มีหลายภาษาอยู่ในเพลง ลูกจะได้เรียนรู้ว่าคำว่า ฉันรักเธอในภาษาต่างๆ

3. กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย เด็กๆทุกคนชอบกิจกรรมการเคลื่อนไหว เพราะเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง กิจกรรมการเคลื่อนไหวทำให้ลูกมีความสุขสนุกสนาน ซึ่งเมื่อลูกรู้สึกสนุก สมองจะหลั่งสารแห่งความสุข หรือสารเอ็นโดฟิน ออกมา ซึ่งทำให้ลูกอารมณ์ดี ส่งผลให้สมองเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและคล่องแคล่ว นอกจากนี้กิจกรรมการเคลื่อนไหวยังมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของลูกโดยตรงด้วย เพราะเมื่อลูกเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอก็จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง มีกำลัง

4. เล่นดนตรี การให้ลูกเล่นเครื่องดนตรี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดีด สี ตี เป่าหรือเคาะ จะส่งผลต่อการทำงานของสมองของลูกอย่างหลากลาย ทั้งเรื่องการใช้สมองในการคิดวิเคราะห์แยกแยะความแตกต่างระหว่างเครื่องดนตรีแต่ละชนิด การเรียนรู้เรื่องโน๊ต ทำให้ลูกมีความจำที่ดี และการเล่นดนตรีในทำนองที่หลากหลายหรือคิดทำนองเอง ช่วยฝึกในเรื่องของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างดีทีเดียว

ดนตรีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งยังเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ดีต่อการพัฒนาศักยภาพของลูกรักในด้านต่างๆ ทั้งช่วยให้มีความจำที่ดี รู้จักการคิดวิเคราะห์ การใช้จินตนาการ นอกจากนี้ หากมีโอกาสคุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้ทำกิจกรรมดนตรีร่วมกับผู้อื่น เช่น ให้ลูกตั้งวงดนตรีเล่นกันกับเพื่อน เพื่อฝึกการเข้าสังคมและฝึกการแก้ปัญหาได้อย่างดีด้วย เมื่อเห็นประโยชน์เช่นนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่จึงควรนำกิจกรรมดนตรีมาใช้กับลูก ให้ลูกได้มีความผูกพันกับดนตรี เพราะอย่างน้อยดนตรีก็ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใครอย่างแน่นอน

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

Views: 1011

Comment

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

Comment by แม่น้องกุน & น้องญาญ่า รักในหลวง on July 12, 2010 at 11:49am
ฟังเพลงแล้วสบายใจเล่นกับลูกร้องเพลงมั่วๆ(ให้พ่อร้องเพลงเล่นกับลูก) แต่น้องกุนชอบร้องเพลงให้เราฟัง อิอิ
Comment by อรดา พงศ์สุธนะ on July 9, 2010 at 10:13am
ขอบคุณเนื้อหาดีๆค่ะ ที่บ้านกำลังหัดร้องเพลงกันอยู่เลยค่ะ
Comment by เกษม สิริภัทรคุณ on July 9, 2010 at 10:07am
ดีใจครับที่ช่วยกันหาข้อมูลเพื่อพัฒนาการให้เด็กไทยได้มีภูมิคุ้มกัน และเสริมสร้างสติปัญญาโดยธรรมชาติรวมทั้งค้นหาศักยภาพในตัวลูก เพื่อทำความเข้าใจกับคุณค่าของดนตรี และช่วยการเรียนรู้ภาษาได้อย่างมีความสุข เพื่อนำไปสู่การสร้างกิจกรรมดนตรีให้เด็กได้แสดงออก ขอปรบมือดังๆให้ครับ

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service