เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

สมมติว่าท่านเป็นรมต. กระทรวงศึกษาธิการ ท่านจะออกแบบหลักสูตรของโรงเรียนอย่างไร

ผมเคยศึกษาระบบการศึกษาของต่างประเทศมาบ้าง โดยมองเข้าไปจากสายตาของคนที่เป็นผู้ปกครอง แล้วหันกลับมามองโรงเรียนของบ้านเราว่ามีอะไรที่ประหลาดๆในความคิดผม หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
การเร่งอ่านเขียนให้ได้ เพื่อให้นักเรียนไปสอบเข้า ป.1 โรงเรียนสาธิต
การให้การบ้านมาทำที่บ้านมากมาย ราวกลับว่าจะมีสอบวันรุ่งขึ้น
ผมก็เลยสงสัยแล้วเด็กไปทำอะไรตอน 8 โมงเข้าถึง 4 โมงเย็น นี่กะไม่มีเวลาเหลือให้พ่อแม่กับเด็กอยู่ด้วยกันทำอย่างอื่นบ้างเหรอ

พออ่านระบบการศึกษาของแม่น้องพลอยชมพูที่บล็อก เขียนไป...ตามใจฉัน...ตอน การศึกษาของประชาชนคนเยอรมัน (แนะนำให้อ่านก่อน)

ถูกใจผมหลายอย่าง ในแง่แนวคิดการจัดการศึกษา คือไม่เร่งเด็กเลย แต่คิดว่าทำอย่างไรให้เด็กเติบโตตามธรรมชาติ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เน้นกิจกรรม โรงเรียนใกล้บ้าน

ท้ายสุด เมื่อเด็กเติบโตถึงจุดหนึ่ง เด็กก็สามารถซึมซับการอ่านเขียนได้เป็นอย่างดี

ไหนๆมีการเปิดประเด็นเรื่อง Home School ไปแล้ว ผมอยากทำบทบาทสมมติอีกสักนิดว่า

ถ้าสมาชิกมีโอกาสเป็นรมต. ที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องการศึกษา ท่านจะออกแบบหลักสูตร บนแนวคิดอย่างไร เพราะอะไร (จะเน้นเฉพาะอนุบาล ประถม หรือมัธยม ก็ได้ตามอัธยาศัยครับ)

ผมอยากขอเสนอสร้างภูมิปัญญาร่วม ในประเด็นนี้นะครับ เผื่อเราจะได้ไอเดียดีๆ มาเสนอผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไปพิจารณากันต่อไป


Views: 586

Reply to This

Replies to This Discussion

คิดว่าการศึกษาในประเทศไทยยังแย่ เพราะเน้นเรื่องค่านิยมจะต้องเป็นโรงเรียนดัง ๆ พ่อแม่ก็อยากให้ลูกเรียนที่ดี ๆ และมืชื่อเสียงเพราะลูกจบมาจะได้สมัึครงานได้ง่าย ซืึ่งบางโรงเรียนหรือเกือบจะทุกโรงเรียนเลยก็ได้ ต้องมีค่าแปะเจี๊ยะ เพื่อให้ลูกเข้าเรียนได้แล้วเมื่อสมัครงานบางแห่งยังมีเล่นสีกันอีกก็หมายถึงต้องเป็นสถาบันเดียวกันกับรุ่นพี่ที่่อาจทำงานอยู่ก่อน โดยระบุไม่รับบางสถาบันเลย และสมัยนี้เด็กเรียนจบกันมามากแต่ก็ต้องตกงานเพราะบางสาขาจบมามากจนล้นตลาด ซึ้๋งทางกระทรางน่าจะมีการทำการสำรวจแล้วก็มีมาตรการส่งเสริมให้เด็กเรียนแต่ละสาขาให้เพียงพอต่อกันระหว่างดีมานกับซัพพลาย ถ้าได้มีโอกาสเป็นรมต.ก็จะเริ่มเน้นการศึกษาตัี้้งแต่วัยอนุบาลเลยโดยให้เด็กเรียนแบบเน้นกิจกรรมร่วมกันการเรียน ให้เด็กได้มีการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ฝึกอบรมด้านจริยธรรม ฝึกสมาธิ ให้เด็กมีจิตใจที่แข็งแรงไม่ใช่เรียนเก่งแต่อ่อนแอ มีเจอกับเหตุการอะไรก็ไม่สามารถที่จะมีสติในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
ต้องเปลี่ยนระบบใหม่ เริ่มที่เรียนฟรี จนจบมัธยมปลาย ก่อนเลยค่ะ เรียนฟรีจริงๆ และคัดเลือกเด็กแบบแบ่งเขต เพื่อให้เด็กได้ไปโรงเรียนใกล้บ้าน ยกเลิกระบบให้เงินแปะเจี๊ยะ ยกระดับโรงเรียนประถม มัธยม ให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกัน อันนี้ควรจะจัดเรตติ้งค่ะ เรตติ้งโรงเรียนที่ดี ก็ให้งบประมาณมากหน่อย อย่างน้อยเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้บริหารโรงเรียนมีความใส่ใจอย่างจริงจัง รวมถึงการคัดสรรครูที่มีคุณภาพ (อันนี้ยากที่สุด) ครูที่ดีไม่ใช่แค่สอนดี ต้องมีวินัย มีใจรักเด็ก อาชีพครูไม่ใช่อาชีพที่ใครก็สามารถเป็นได้เพราะแค่หางานอื่นไม่ได้ก็มาเป็นครู มันไม่ถูกต้อง จริงๆเรื่องนี้ทุกคนที่เป็นรมต.คิดได้ค่ะ แต่ทำไม่ได้ เพราะมันมีผลประโยชน์มากมายในระบบการศึกษาไทย มีพี่สาวเป็นครูค่ะ รู้ดีมากๆๆ อย่างที่อังกฤษระบบการศึกษาของเค้าเท่าที่สัมผัส มีระบบที่ดีมากๆๆ เด็กเรียนฟรีตั้งแต่อายุ สามขวบ จนจบมัธยมค่ะ เด็กสามขวบสามารถเข้าเรียน pre-school ฟรี ครึ่งวัน จำนวนห้าวัน หรือจะมากกว่านั้นเราก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง พอสี่ขวบก็เลือกโรงเรียนซึ่งจะมีให้เลือกสามโรงเรียน ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนใกล้บ้าน เราสามารถไปดูโรงเรียนก่อนค่อยตัดสินใจได้ แต่ละโรงเรียนจะถูกจัดเรตติ้งไว้แล้ว เด็กก่อนห้าขวบจะเรียน reception พอห้าขวบ ขึ้น year 1 จนจบyear 6 ก็เปลี่ยนไป โรงเรียนมัธยม ซึ่งระบบการศึกษาของที่นี่ให้ความสำคัญกับเด็กเล็กมาก แต่ละห้องจะมีครูประจำชั้นและครูพี่เลี้ยงประมาณสามคน เด็กไม่เกิน 20 คน ห้องเรียนจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กสามารถหยิบจับได้จริง ไม่ใช่โชว์ มีคอมฯ มีหนังสือ มีสื่อการสอนมากมาย ทางโรงเรียนจะเน้นให้พ่อแม่มีส่วนร่วมอย่างมากในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน กิจกรรมต่างๆ ซึ่งน่าสนใจมาก อันนี้เล่าคร่าวๆ ค่ะ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีของระบบการศึกษาเมืองไทย ค่ะ
ให้เน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนรู้ให้น่าเรียน น่าสนใจ การเรียนรู้ที่ดีบางครั้งไม่จำเป็นต้องมีผู้สอนแต่การจัดสิ่งแวดล้อมให้น่าเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และให้เด็กมีส่วนตัดสินใจ และเลือกเรียนในสิ่งที่เค้าถนัดและสนใจ มักพบได้ในหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติ เด็กจะเรียนอย่างมีความสุข สนุกสนาน ได้ความรู้ ( มิใช่ยัดทุกวิชา ลงไปในหัวเด็ก จัดเป็นวิชาบังคับและวิชาเลือกเสรี{ที่ไม่เสรี} ให้เด็กเรียนโดยไม่สนใจว่าเด็กชอบมั๊ย สนใจหรือเปล่า อย่างที่เป็นอยู่ )
ครูควรสอนและรับฟังความคิดเห็นของเด็กด้วย มิใช่ผู้กุมอำนาจและใช้อำนาจกับเด็กอย่างเดียว ซึ่งในความเป็นจริงมักเป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะในโรงเรียนของรัฐ

จำกัดจำนวนเด็กในชั้นเรียนให้ได้ไม่เกิน 30 คนต่อชั้นจริงๆไม่ว่าจะในชั้นเด็กเล็กหรือเด็กโต เพราะในปัจจุบัน ห้องหนึ่งๆ มีนักเรียนเกือบ 50 คนเกินความสามรถที่จะครูสื่อสารและดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง แต่ก็ยังปล่อยให้เป็นเช่นนี้ น่าสงสารเด็กมากๆๆๆๆๆๆๆ

เปิดใจให้สอนเรื่องเพศศึกษา กันอย่างถูกต้องและชัดเจน โดยครูที่มีความรู้ (จริงๆ) อันนี้สำคัญมากเช่นกัน กับในสังคมยุคอันตรายเช่นนี้

เด็กโรงเรียนต่างจังหวัดบางคน เรียนชั้น มัธยมปลายเรียนจะจบแหล่มิจบแล่ ติด 0 หลายวิชา เรียนก็ไม่ค่อยเข้าเรียน มองแล้วไม่น่าจะเอ็นทรานส์ได้ คือเค้าน่าจะไปเรียนสาขาที่เหมาะกับเค้า เช่น ฝีมือแรงงาน อาชีวะเป็นต้น (เพราะในความจริงประเทศของเรายังขาดแรงงานด้านฝีมือแรงงานอีกมาก) แต่ก็ยังเข้ามหาวิทยาลัย...ของจังหวัดตัวเองได้เพราะเป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่นต้องรับเด็กในท้องถิ่นของตัวเอง แต่พอเด็กจบมาแล้วเป็นกลับคนที่ไม่ได้คุณภาพด้วยเพราะได้เรียนสิ่งที่ไม่ตรงตามความสามารถของตัวเอง

การปฏิรูปการศึกษาในความเป็นจริง มักไปเริ่มที่คุณครูก่อนเสียเป็นส่วนใหญ่ ช่วยกันคิดหลักสูตรมากมาย ก่ายกอง ไม่ได้หันมาดูเด็กที่นั่งมองทำตาปริบๆ และมักมีเรื่องของเม็ดเงินมาเกี่ยวข้องด้วย (เสมอ)

ไม่แปลกใจที่เมืองไทยสถาบันกวดวิชาจึงขายดิบขายดี ขณะที่ประเทศอื่นไม่มี และเด็กไม่ต้องเรียนพิเศษ ระห่ำแบบเมืองไทย

อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ในทางที่ดีขึ้นเพื่อเด็กๆของเรา จะได้เรียนอย่างมีความสุข เก่ง และ เป็นเด็กดีค่ะ*-*
I agree ^__^
การศึกษาของเมืองไทยในปัจจุบันอยู่ในรูปแบบยัดเยียดเรียน นักการเมืองไม่ให้ความสำคัญในการปฎิรูปการศึกษาเลยแม้แต่สมัยเดียว โครงการต่างๆเหมือนวาดวิมานอันสวยหรูตามแบบฉบับของผู้อยู่ในหอคอยงาช้าง ที่ไม่เคยรับรู้ปัญหาของการศึกษา ว่าเกิดจากอะไร ครูผ้สอนเองก็ไม่เคยมีความคิดที่จะพัฒนาตนเอง และนำความรู้ความสามารถมาใช้พัฒนานักเรียน ที่เป็นปัญหาหนักที่สุดก็คือระบบการเมินคุณภาพครู คุณภาพการสอน ก็ทำแบบผักชีโรยหน้า ดีเมื่อมีการตรวจประเมิน ตรวจเสร็จก็สภาพเดิม ผู้ทำหน้าที่ประเมินก็คือครูด้วยกันนั่นแหละ (แล้วจะประเมินเพื่ออะไร พวกกันเองทั้งนั้น) การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน เลื่อนระดับก็เป็นการประเมินด้วยกระดาษ ไม่มีการวัดผลสัมฤทธิ์จากผู้เรียน แล้วนักเรียนจะได้อะไรหล่ะ ประเทศชาติจะได้อะไร
ผมเคยได้ยินในช่วงประมาณปี 2541 มีการกล่าวถึงคำๆหนึ่ง คือการเรียนการสอนโดยเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แต่ก็ไม่มีความเคลื่อนไหวอะไรที่มีการนำคำกล่าวดังกล่าวมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม เหมือนกับการสร้างวิมานในอากาศ
ปัจจุบันผมเองก็ได้มีส่วนเข้าไปเป็นกรรมการผู้ปกครองของโรงเรียนในอำเภอ ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า การศึกษาในบ้านเราไม่ได้มีแนวโน้มในการพัฒนาอะไรที่ดีขึ้น

หากผมเป็น รมว.ศึกษา(ลองสวมหัวโขนดู) จะลงตรวจเยี่ยมโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล(ขนาดเล็ก) และโรงเรียนระดับต่างๆ โดยไม่แจ้งล่วงหน้า เก็บข้อมูล มาทำการปฎิรูปโดย ตั้งกรรมการหลายๆฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้ปกครอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยตั้งโจทย์ว่า "อยากเห็นการศึกษาของไทยก้าวไปอย่างไร" ระดมสมองจากทุกๆส่วน มาช่วยกันคิดเพื่อทำแผนแม่บท และจะทำแผนพัฒนาครูผู้สอนอย่างไร
ผมคนหนึ่งที่เป็นลูกครู ปัญหาหนี้สินครู มากกว่าครึ่งเกิดจากค่านิยมที่ฟุ้งเฟ้อ แข่งกันมีแข่งกันได้ ไม่รู้จักพอเพียงทั้งที่การเลื่อนขั้นเงินเดือนของครูเมื่อเทียบกับหน่วยราชการอื่น ดีกว่ามาก กู้เมื่อมีให้กู้ ผู้ชายเมื่อมีอายุหน่อยก็มีกิ๊ก บ้านเล็กบ้านน้อย แล้วมันจะไม่เกิดปัญหาได้อย่างไร
ผ่านมาตั้ง 20 กว่าปีสมัยผมเรียนด้วยตนเอง จนมาถึงรุ่นลูกของผมเรียนก็ไม่มีอะไรแตกต่างจากเดิม หนำซ้ำคุณภาพของผู้เรียนกลับแย่ลงกว่าเดิม คุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัยไม่มีให้เห็นเลยในสมัยทุกวันนี้ เฮ้อ! คิดแล้วกลุ้ม.... (นอนเอาตีนก่ายหน้าผากคิดแล้วยังมองไม่เห็นว่าทางออกของการศึกษาไทยจะไปทางไหน วนอยู่ในอ่างทองคำอยู่นั่นแหละ) ไม่มีตังค์พอส่งลูกไปเรียนเมืองนอกเหมือนคนอื่นเขา ก็เอาแบบลูกทุ่งละกัน แหกปากตะโกนดังๆ "ลูกข้า ข้าสอนเองก็ได้โว๊ย..." สรุปแล้ว โฮมสคูลดีที่ซู๊ด.......ก้อนหิน20-30 ก้อน ก็สอนเลขได้แล้ว หลายอย่างด้วย ทั้งจับคู่ เรียงลำดับ บวกลบ คูณหารได้ทั้งเพ........จ-โอะ-บ....จบ
ว๊าวเป็นแจ๋วในครัวมาเป็นสิบปี วันนี้จะได้เป็น รอ มอ ตอ ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เลย แจ๋วจัดหั้ย...

การศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ทำกันเป็น “ธุรกิจ” กันไปหมดแล้ว การที่จะมีการปฏิรูปการศึกษาจากหน้ามือเป็นหลัง...มือ เห็นทีจะยาก เพราะมันมีเรื่องเส้นสาย และเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง การลงทุนในธุรกิจการศึกษาใช้เงินจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการปฏิรูปแล้วทำให้ผู้เกี่ยวข้องเสียผลประโยชน์มันคงจะสร้างความวุ่นวาย และเกิดการถกเถียงกันไม่รู้จบ และอาจจะหาข้อสรุปไม่ได้อีกด้วย ประกอบกับค่านิยมของคนไทย ยังยึดติดกับสถาบันก็มีจำนวนมาก คือลูกต้องจบจากโรงเรียนเอกชนดังๆ และแพงๆ ในฐานะที่เราเป็น รอ มอ ตอ เราว่าอะไรที่มันเป็นอยู่ ก็จะปล่อยให้มันเป็นเช่นนี้ต่อไป เพราะจะปุบปั๊บเปลี่ยนมันคงเกิดปัญหาแน่ เราจะค่อยๆ ปรับทีละนิด

เริ่มแรกปรับที่ครูก่อน

เมื่อเรายังไม่เปลี่ยนโครงสร้างทางการศึกษา แต่เราจะมาปรับมาตรฐานครูแทน เราคิดว่าอาชีพครูเป็นตัวเลือกอาชีพสุดท้ายของครูจำนวนหนึ่ง คือสมัครงานอะไรไม่ได้ก็มาเป็นครูกัน ดูแล้วเป็นครูเนี่ยเป็นกันง่ายยยยยมากกก เราจะเปลี่ยนใหม่ ไม่ใช่ทดสอบครูเฉพาะ IQ ต้องทดสอบ EQ ด้วย อย่าได้มีอีกเลยที่ครูใช้ความรุนแรงกับเด็กซึ่งเมื่อเดือนที่แล้วได้เห็นข่าวและคลิป ครูตบเด็กตัวเล็กๆ กระชากคอเสื้อเอาหัวเด็กกระแทกกระดานดำ น่ากลัวจริงๆ ครูสมัยนี้

เราจะปรับเพิ่มค่าตอบแทนให้ครูของรัฐ ให้เหมาะสมกับภาระหน้าที่และความสามารถ เมื่อคนสอนมีกำลังใจ และพร้อมที่จะทำงาน มันก็สร้างอารมณ์และบรรยากาศในการเรียนรู้ได้ที่มีประสิทธิภาพได้เหมือนกัน นอกจากนี้จัดตั้งหน่วยงานพิเศษที่ไม่ใช่ครูด้วยกันตรวจสอบประเมินผลงานของครู และเด็กนักเรียน รวมทั้งสภาพแวดล้อมของโรงเรียนด้วย เพื่อให้ร.ร.ได้มาตรฐาน และคงมาตราฐานไว้อย่างสม่ำเสมอ


ในเรื่องของวิชาการ ก็จะต้องพิจารณากันใหม่ ว่าควรตัดควรหรือเพิ่มอะไรให้เหมาะสมกับยุคสมัย อย่างน้อยต้องทำโพลสอบถามความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อให้ทุกๆ คน ได้มีส่วนในการจัดการศึกษาให้ลูกหลาน


แต่เนื่องด้วยเด็กนักเรียน มีปริมาณมาก โรงเรียนไม่เพียงพอที่จะรองรับ เราจะไม่แก้ไขโครงสร้างเก่าที่มีอยู่แล้ว ก็แค่ปรับเล็กๆ น้อยอย่างที่กล่าวมาแล้วเท่านั้นเอง แต่เรากลับไปเพิ่มโรงเรียนทางเลือกและสร้างโครงสร้างใหม่แทน (แข่งกับโครงสร้างเก่า) คือเราจะจัดงบสร้างโรงเรียนเพิ่ม ซึ่งเป็นระบบโครงสร้างใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มให้กับประชาชน โดยเริ่มทำโรงเรียนนำร่องตามชุมชนใหญ่ๆ ที่มีประชากรหนาแน่นและขาดแคลนสถานศึกษา


เนื่องจากเราชอบระบบของเยอรมนี และโรงเรียนทางเลือกแบบ Home School โรงเรียนโครงสร้างใหม่นี้(เรียน 13 ปี ถึงเข้ามหาวิทยาลัย) ก็จะเป็นแบบลูกผสม การจัดการศึกษาของรัฐ และของผู้ปกครองร่วมกัน ร.ร.นี้เราจัดทำเป็น ร.ร. 2 ภาษาด้วย เราขอเรียกร.ร.นี้ว่า “โรงเรียนทางเลือกพิเศษ”


จะว่าไปโรงเรียนนี้ เราผู้เป็น รอ มอ ตอ ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สร้าง ร.ร.ทางเลือกพิเศษ เพื่อรองรับเด็กบ้านเรียนโดยตรง การเรียนการสอน เน้นวิชาขั้นพื้นฐาน เช่น เลขคณิต, อังกฤษ, วิทยาศาสตร์, สร้างเสริมประสบการณ์ฯ, ศาสนา, (และวิชาไรอีกหว่าลืมไปละ) มีตั้งแต่ป.1-ม.6 เริ่มแรกแต่ละชั้นมีเพียง 1 ห้องเรียน แต่จะค่อยสร้างหลายๆ ร.ร. กระจายไปให้ทั่วจุดสำคัญๆ ในแต่ละจังหวัด เรียนตั้งแต่ 8.00 น. ถึง 12.00 น. ไม่เกิน 13.00 น. หลังจากเลิกเรียนเด็กกลับบ้านให้พ่อแม่จัดการเรียนการสอนเพิ่มเติมตามความชอบและความถนัดของเด็ก


การเปิดรับสมัครนักเรียน มีดังนี้

พ่อแม่ที่ต้องการทำ Home School ให้ลูก ต้องไปลงทะเทียน ทำบ้านเรียนให้ลูกตามกฎหมายเดิมที่ออกไว้ จากนั้นถึงจะเอาหลักฐานการจดเบียนไปสมัครเรียนที่ “โรงเรียนทางเลือกพิเศษ” ในเขตที่ตนเองพักอาศัย จะไม่มีการเรียนข้ามเขต

ในส่วนของค่าเรียน จะฟรีหรือเสียเงิน ขอ รอ มอ ตอ ดู งบ ก่อนนะคะ....



เฮ้อ รอ มอ ตอ เหนื่อย ละ นั่งคิดไปพิมพ์ไป 2 ชั่วโมงละ ต้องไปทำงานราษฎ์ก่อนค่ะ ไม่มีเวลาแล้ว ขอสละเก้าอี้ รอ มอ ตอ ไปเป็นแจ๋วก่อนนะคะ เอาไว้คิดอะไรออก แล้วจะมาต่อค่ะ (หากเก้าอี้ รอ มอ ตอ ยังว่างอยู่ อิ อิ)
อุ๊ยนับเลขผิด ขอโทษค่ะ ขอแก้ไขข้อความนะคะ

"มีตั้งแต่ป.1-ม.6 " แก้ไขเป็น "มีตั้งแต่ป.1-ม.7 " ค่ะ เพราะเรียน 13 ปี
มาต่อค่ะ….

“โรงเรียนทางเลือกพิเศษ” ของเรานี้ มี 13 ชั้นเรียน เปิดเพื่อรองรับ “เด็กบ้านเรียน” โดยเฉพาะ เมื่อเด็กเรียนไปจนถึงชั้น 10 หรือ ม.4 ก็สามารถออกจากระบบ ไปเข้าระบบของ ก.ศ.น แทน ก็ได้ เพื่อเรียนลัด 1 ปี หรือ 2 ปี จบม.6 ดังที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งทางกระทรวงฯ ก็ออกใบวุฒิบัตรให้มีสิทธิ์เทียบเท่าโรงเรียนภาคปรกติอยู่แล้ว อันนี้ก็ไม่ต้องไปปรับอะไร ในส่วนของ ก.ศ.น. นอกจากดูแลเรื่องคุณภาพของเด็กที่จบมา ว่ามีมาตรฐานรึไม่ ก็ควรดูแลในเรื่องของหลักสูตรอีกด้วย และหากผู้ปกครองอยากให้ลูกหลานเรียนจนถึงชั้น 13 ก็เป็นการดี เพราะวิชาจะแน่นกว่า อันนี้ประชาชนเลือกเรียนได้ตามความเหมาะสมและความต้องการของตนเอง

ควรออกกฎหมายเพิ่มเติมอีกนิด สถานศึกษาในทุกแห่งในประเทศ จะต้องรับเด็กที่จบจาก “โรงเรียนทางเลือกพิเศษ” หรือ “ก.ศ.น” โดยไม่มีข้อยกเว้น เพื่อให้สิทธิ์เด็กทุกคนไม่ว่าจะเรียนจบจากระบบใด ได้มีสิทธิ์เรียนเท่าๆ กัน ไม่ว่าเด็กที่เรียน “โรงเรียนทางเลือกพิเศษ” จะออกจากระบบกลางคัน ต้องการกลับไปเรียนระบบเก่า ก็สามารถเรียนต่อได้

จริงๆ การสร้างโรงเรียนเพิ่มใช้งบประมาณมหาศาลอยู่ ในฐานะ รอ มอ ตอ อย่างเรา จะเปิดให้ภาคเอกชนมีสว่นร่วมจัดทำด้วย แต่ต้องมีการจัดการจัดเก็บค่าเล่าเรียนอย่างเป็นธรรม โดยมีรัฐบาลควบคุม เพื่อไม่ให้เกิดการค้ากำไรเกินควร


หากมี “โรงเรียนทางเลือกพิเศษ” เกิดขึ้นในประเทศไทยจริงๆ ละก็ จะช่วยลดความหนาแน่นของจำนวนนักเรียนตามโรงเรียนทั่วไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เด็กทุกคนจะเดิน หรือขี่จักรยานไปเรียน มีผลให้มลภาวะเป็นพิษน้อยลง เพราะไม่ต้องใช้รถ ประหยัดน้ำมัน และลดการจราจรติดขัด มีผลพวงที่ดีตามมาอีกมากมายค่ะ

คราวนี้จบจริงๆ แล้วค่ะ อิ อิ เสนอเสียยาว ไม่รู้เป็นน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหลงเลงรึเปล่าเนี่ยเรา...หุ หุ..
คิดว่าระบบการศึกษาน่าจะเริ่มจากการศึกษาในครอบครัวก่อนเป็นอันดับแรก เพราะว่าระบบการศึกษาในเมืองไทยยังไม่สามารถที่จะสร้างให้เด็กเข้มแข็งทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งยังไม่สามารถเข้าใจการดำเนินชีวิตปัจจุบันได้เท่าที่ควร เด็กๆยังมีค่านิยมที่ผิด ในหลายๆเรื่อง เช่น การเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง การใช้ของแพง เป็นต้น ซึ่งคิดว่ามันมาจากการวางรากฐานตั้งแต่ครอบครัวไปจนถึงสังคม สังคมที่อยู่รอบตัวเด็กไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน หรือที่อื่นๆ เคยได้ยินว่ามีนักเรียน หรือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยดังๆ ทำงานพิเศษอย่างว่า ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องหาเงินมากๆๆๆๆ ทำไมระบบการให้การศึกษาเราถึงเป็นแบบนี้ ตัวเองมีลูกสาว ค่อนข้างจะกลัวมาก อีกทั้งระบบการศึกษาในกรุงเทพ และต่างจังหวัดก็ต่างกันมาก
นอกจากนี้ยังรวมถึงคุณภาพของครูผู้สอนทั้งด้านวิชาการและคุณธรรม ซึ่งดูเมื่อว่าบางโรงเรียนงานจะเยอะมากรับผิดชอบเด็กในห้องหลายคน และสวัสดิการของคุณครูเป็นอย่างไรบ้างมีใครดูแลให้ความห่วงใยบ้างไหม และยังมีปัญหาอื่นๆอีกมากมาย พวกผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมัวทำอะไรกันอยู่ (คงคิดแค่เรื่องโกงกินกันไปวันๆ)
**แต่ตัวเองก็ยังไม่เคยศึกษาระบบของประเทศอื่นนะคะ ถ้ามีเวลาหรือได้ศึกษามาเพิ่มเติมจะเล่า(ระบาย) ให้ฟังอีกค่ะ
แหม ประเด็นนี้เนี่ยกระทบกระเทือนอาชีพเสียเหลือเกิน เอ้า เอาเป็นว่าถอดหัวโขนออกก่อน แล้วว่ากันเลย...
โดยส่วนตัวต้องบอกก่อนว่าถ้าเป็น รมต. กระทรวงศึกษาธิการจริงๆ คงต้องบอกคณะรัฐมนตรีก่อนว่า เลิกบ้าอำนาจ เลิกทำงานเอาหน้า แล้วหันมาบ้างานจริงๆ จังๆ กันดีกว่า จะได้ไม่เปลืองภาษีประชาชน เพราะว่าพอเปลี่ยนรัฐบาลทีนึง ข้าราชการประจำ (บางคน) นักวิชาการ (บางคน) ก็เสนอผลงาน ปรับโน่น เปลี่ยนนี่ ให้มันต่างจากเดิม ไม่ก็เพิ่มมันเข้าไปอีก ให้ดูเป็นของใหม่ ก็จะได้กลายเป็นผลงานของตัวเอง ผลงานของ รมต. คนใหม่ ผลงานของรัฐบาลใหม่ (แรงไปหรือเปล่าเนี่ย) ให้ทำโพล ประชาพิจารณ์ บางชิ้นก็ตั้งมันไว้อย่างนั้นแหละ เพราะผลที่ออกมามันขัดแย้งกับผลงานชิ้นใหม่ ถูกเก็บเข้ากรุกันไป อย่างปฏิรูปการศึกษาเนี่ย เอาของฝรั่งเขามาใช้ เห็นว่าคนของเขาดี หลักสูตรหรือรูปแบบการเรียนการสอนของเขาน่าจะดี ต้องกลับมาดูที่พื้นฐานสังคมของไทยกันด้วยว่ามันเข้ากันไหม อย่างการเรียนการสอนที่เรียกว่าเด็กเป็นศูนย์กลางเนี่ย มันต้องอาศัยทั้งครูและผู้ปกครองช่วยกัน ร่วมกันฝึกฝน พัฒนาเด็ก ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ก็ยอมรับค่ะว่าครู (บางคน) ขาดความรู้เรื่องนี้ ไหนจะสอนเยอะ ไหนจะไม่มีเวลา ไม่มีกำลังทรัพย์ (ขี้เกียจอีกประเด็น) ก็เลยทำกันไปแบบแกนๆ แต่ครู (บางคน) ก็ใช้เป็นค่ะ แต่ขาดความร่วมมือกับทางบ้าน โดยส่วนตัวเคยเจอเหมือนกัน มีผู้ปกครองคนนึง มาต่อว่าที่โรงเรียน ประมาณว่า เป็นครู มีหน้าที่สอนหนังสือ ก็สอนมันไปสิ จะให้ทำโน่น ทำนี่ ทำไมนักหนา เสียเวลา เปลืองเงิน (ทั้งๆ ที่เป็นวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ถ้าเด็กไม่ลงมือทำก็จะไม่รู้อะไรเลย) ดังนั้นถ้าจะให้ปรับหลักสูตร มันจะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งผู้นำเสนอนโยบาย ผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายค่ะ แล้วต้องร่วมมือแบบเต็มใจด้วยนะ ไอ้แบบทำเพื่อขอไปที กั๊กกันไว้นิดเพื่อพวกพ้องเนี่ย หรือว่าธุระไม่ใช่ เลิกซะที ตอนเขาให้ออกความเห็นแล้วไม่ออก แต่พอเขาทำมาแล้วค่อยมาว่าเนี่ย มันก็เท่านั้นแหละค่ะ
อยากให้มีหลักสูตรเหมือนโรงเรียนของดร.อาจอง ที่จ.ลพบุรี เน้นคุณธรรมให้เด็ก สร้างสมาธิให้มีสติ และการเรียนรู้ทักษะชีวิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นประสบการณ์จริงเรียนปนเล่นแต่มีสาระ การดำเนินชีวิตแบบพอเพียง เรียนเพียงครึ่งวันเหมือนเยอรมันก็ดี เด็กเยรมันโชคดีมาก บ้านเราควรจะมีอย่างนี้บ้างเด็กไทยจะได้เท่าเทียมกัน ไม่มีรร.ไฮโซ โลโซ เห็นการศึกษาของไทยปฏิรูปที่ไรก็ไม่เอาไหนทุกที เรียนกันแทบตายแต่เอาตัวไม่รอด
ต้องเพิ่มเงินเดือนครูรุ่นใหม่ เพื่อดึงดูดคนมีคุณภาพให้เข้ามาในวงการศึกษา แล้วคุณภาพของการให้การศึกษาในเมืองไทยจึงจะ"เริ่ม"เป็นจริงได้ พร้อมกับมาตรฐานที่สูงขึ้นในทุกๆโรงเรียน จะช่วยให้พ่อแม่ไม่ต้องดิ้นรนให้ลูกเข้าเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเจอครูคุณภาพต่ำ

ระบบการศึกษาในระหว่างการปฏิรูปการศึกษาปัจจุบันนั้น เริ่มเข้าสู่ทิศทางที่ทันสมัยมากขึ้น แต่เนื่องจากบุคคลากรทั้งในกระทรวงและในโรงเรียนไม่มีความพร้อม ทุกอย่างจึงยิ่งแย่(มั่ว)และควบคุมไม่ได้ ยิ่งมีนักการเมืองที่อยากชูนโยบายเปลี่ยนแปลงอย่างรีบร้อนต่างๆในระบบการศึกษา (เช่นเปลี่ยนระบบรับนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย เปลี่ยนโรงเรียนไทยเป็นโรงเรียนสองภาษาทั้งที่ไม่พร้อมเรื่องครู ฯลฯ) ก็ยิ่งซ้ำเติมความอ่อนแอในระบบมากขึ้นเท่านั้น

แต่ไม่ว่าระบบจะเป็นอย่างไร "ครู" เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการให้การศึกษาในโรงเรียน (จำได้ไหมคะ ตอนเราเด็กๆ ถ้าเราโชคดี เราอาจเจอครูที่ดีที่สร้างให้เราประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ แม้ระบบการศึกษาจะไม่สมบูรณ์เพียงใด) เราจะมีครูที่มีคุณภาพในปริมาณที่เพียงพอได้ยาก หากเงินเดือนเริ่มต้นของครูยังต่ำกว่าเงินเดือนพี่เลี้ยงที่บ้านเรา ถ้าแก้พื้นฐานจำเป็นข้อนี้ได้ จึงจะต่อยอดได้

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service