เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

อยากรู้ไหมว่าเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานเพียงใด (ข้อมูลจาก ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย)

เห็นมีคุณแม่บางท่านสงสัยเรื่องนี้ จริงๆ เราได้ตอบไปในกระทู้อื่นทีนึงแล้ว แต่ขอเอามาโพสแยกต่างหากอีกทีเผื่อใครยังไม่เคยอ่านนะค่ะ 

 

ขออนุญาตก้อปข้อมูลมาให้อ่านนะค่ะ จากเวป http://www.thaibreastfeeding.org/content/view/477/81/

 

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานเพียงใด
เขียนโดย SUTHEERA UERPAIROJKIT   
WEDNESDAY, 07 OCTOBER 2009

 

 เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานเพียงใด

 

     น้ำนมคืออาหารที่ธรรมชาติเตรียมไว้สำหรับลูกของสัตว์เลี้ยงด้วยนม   สัตว์แต่ละชนิดจะผลิตน้ำนมสำหรับลูกไปนานจนกว่าระบบของร่างกายลูกจะพร้อมทุกด้าน  ไม่ว่าจะเป็นระบบการย่อยอาหารชนิดอื่นที่ไม่ใช่นม   ระบบภูมิคุ้มกันโรค  ความสามารถในการหาอาหารได้ด้วยตัวเอง  หรือความพร้อมในการพึ่งพาตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยแม่    
        ในอดีต  ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ผู้หญิงเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นแม่ผู้ให้นมและดูแลลูกอยู่ที่บ้าน  มาเป็นแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้าน  และก่อนที่จะมีการใช้นมอื่นมาใช้เลี้ยงลูกคน   ไม่เคยมีบันทึกไว้ว่าคนควรให้นมลูกนานเพียงใด  จึงมีการศึกษาให้ได้คำตอบนี้โดยการสังเกตจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดต่างๆ   พบว่าสัตว์บางชนิดหยุดกินนมแม่ (natural weaning age)  เมื่อน้ำหนักตัวเป็น4 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด  บางชนิดหยุดเมื่อน้ำหนักตัวถึงหนึ่งในสามของน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่   บางชนิดหยุดเมื่อเริ่มมีฟันแท้ซี่แรกขึ้น  
       ส่วนในลิงซึ่งมีหลายพันธุ์  ตั้งแต่ลิงขนาดเล็ก   มีอายุขัยสั้น เช่น ลิงแสมดำ  ชะนี จนถึงลิงขนาดใหญ่  อายุขัยยาวขึ้น  มีความฉลาดมากขึ้น  และมีลักษณะใกล้เคียงคนมากที่สุด เช่น  กอริลล่าหรือชิมแปนซี  พบว่าเหล่าลิงใหญ่ จะมีน้ำหนักของลูกเมื่อแรกเกิดเทียบกับน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่มากกว่าลิงขนาดเล็ก  มีสมองขนาดใหญ่กว่าและน้ำหนักสมองมากกว่า มีระยะเวลาการตั้งครรภ์ที่ยาวนานกว่า (ชะนีตั้งครรภ์นาน 30 สัปดาห์  ชิมแปนซีตั้งครรภ์นาน 33 สัปดาห์  คนตั้งครรภ์นาน 40 สัปดาห์) จะ ให้นมลูกนานกว่าลิงขนาดเล็ก  ความเป็นจริงในธรรมชาติ เราพบว่า ลิงกอริลล่าและชิมแปนซี ซึ่งมีอายุขัย 30-40 ปี ให้นมลูกนาน 6 ปี   ขณะที่คนมีอายุขัย 70 ปี  เมื่ออาศัยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดประกอบกันแล้ว จึงได้ข้อสรุปว่าคนเราควรให้ลูกกินนมนานอย่างน้อยที่สุดคือ 2.5 ปี และกินได้นานถึง 7 ปี (คนมีน้ำหนัก 4 เท่าของแรกเกิดเมื่ออายุ 2.5 ปี   มีน้ำหนักหนึ่งในสามของน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่เมื่ออายุ 6 ปี    มีฟันแท้ซี่แรกขึ้นเมื่ออายุ 6-7 ปี)
    
         ในคนนั้น  พบว่าต้องรอจนอายุ 6-7 ปี  ระบบหลายอย่างของร่างกายจึงจะพัฒนาได้เต็มที่  จึงเป็นเหตุผลว่าเด็กควรได้รับนมแม่ไปจนถึงช่วงเวลาดังกล่าว 
            ประการแรก คือ เด็กจะมีระดับภูมิต้านทาน (อิมมูโนโกลบูลิน A,G,M)  ซึ่งช่วยในการป้องกันโรคติดเชื้ออยู่ในระดับใกล้เคียงผู้ใหญ่เมื่อเด็กอายุ 6 ปี  ส่วนระดับภูมิต้านทานในเด็กอายุก่อน 6 ปี พบว่ายังมีระดับต่ำอยู่ จึงทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย   ต้องอาศัยสารสำคัญที่หลั่งจากเม็ดเลือดขาวที่มีอยู่ในนมแม่เป็นตัวช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทาน  ทำให้เด็กที่กินนมแม่มีร่างกายที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อยเมื่อเจอกับเชื้อโรค  
           ประการที่สอง คือ จากการศึกษาพบว่าน้ำหนักสมองของเด็กจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งอายุ 6-7 ปีและการสร้างปลอกหุ้มเส้นใยประสาทจะสำเร็จสมบูรณ์ที่อายุ 7 ปี (ไม่ใช่แค่เพียงอายุ 2 ปีแรก)    หากในช่วงเวลานี้สมองได้รับสารสำคัญคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวPUFA (ที่รู้จักกันดีคือ DHA และ ARA)  จะทำให้เด็กมีสมองและจอประสาทตาที่ดีที่สุด   ซึ่งสารดังกล่าวพบได้ในนมแม่ไม่ใช่นมวัว (ส่วนที่มีการเติม DHA, ARA ในนมผงนั้น  ยังไม่ได้รับการยืนยันว่ามีประโยชน์จริง)  ดังนั้นเด็กจึงควรกินนมแม่เพื่อให้ได้รับสารเหล่านี้เต็มที่     
           ประการที่สาม นักจิตวิทยาด้านพัฒนาการเด็กพบว่า กระบวนการทางความคิดของเด็กจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากเด็กเล็กที่มีความคิดที่ไม่ซับซ้อน เป็นลักษณะที่มีคุณภาพมากขึ้นแบบเด็กโตเมื่ออายุ 7 ปี  หากเด็กยังคงได้กินนมแม่ในช่วงเวลานี้  จะช่วยสร้างความสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างแม่ลูกและเป็นพื้นฐานความรักความอบอุ่นที่สำคัญของครอบครัว  จากการวิจัยพบว่าผู้ที่ทราบว่าตัวเองได้กินนมแม่  ไม่ว่าจะเป็นจากคำบอกเล่าของแม่หรือจากความทรงจำของเด็กเอง  จะมีความรู้สึกที่ดีกับแม่และรู้สึกขอบคุณแม่ 
            ประการสุดท้าย คือ การปรากฏของฟันแท้ซี่แรก เป็นสัญญานที่บอกว่า พร้อมแล้วสำหรับการพึ่งพาตัวเอง  การหาอาหารเองในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด  อันที่จริงคนสมัยก่อนเรียกชื่อฟันชุดแรกว่าฟันน้ำนม ก็เป็นการบอกเป็นนัยแล้วว่า ควรกินนมแม่จนกว่าฟันแท้จะมานั่นเอง    จากเหตุผลดังกล่าวทั้ง 4 ประการ ทำให้สรุปได้ว่า ช่วงเวลา 6-7 ปีแรกของคน เป็นช่วงที่เด็กควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแม่ รวมถึงการได้รับนมแม่ เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม
   
      นมแม่มีประโยชน์ต่อเด็กทุกอายุแน่นอน หมอขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรง คือ หมอพบคนไข้หลายครอบครัวที่มีลูกคนโตเป็นโรคภูมิแพ้ เป็นหวัดบ่อย เป็นไซนัสอักเสบ ต้องหยุดเรียน  กินยารักษาโรคจำนวนมาก  เนื่องจากลูกคนโตไม่ได้กินนมแม่เลยหรือได้กินน้อยมาก  จนกระทั่งแม่คลอดน้องแล้วได้รับคำแนะนำเรื่องนมแม่  และทราบว่าการกินนมวัวสัมพันธ์กับการเกิดโรคภูมิแพ้   ทำให้แม่มีความตั้งใจอย่างมากในการผลิตน้ำนมเผื่อลูกคนโตด้วย  โดยปั๊มนมให้ลูกคนโตกิน  บางคนผลิตน้ำนมได้มากสำหรับเลี้ยงเด็กได้ถึง 3คน (ลูกคนโตเป็นฝาแฝด ป่วยบ่อยทั้งคู่)  หลังจากที่ลูกคนโตได้กินนมแม่ และหยุดกินนมวัว  พบว่าสุขภาพแข็งแรงขึ้นมาก  อาการภูมิแพ้ดีขึ้นอย่างชัดเจน
         
        กล่าวโดยสรุปคือ การให้นมแม่นาน 2.5-7 ปี เป็นสิ่งปกติที่แม่ทำได้  หากแม่อยากทำ  และมีประโยชน์แน่นอนทั้งทางด้าน คุณค่าทางโภชนาการ  ภูมิต้านทานโรค และเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางอารมณ์ที่สำคัญ  จนกว่าเด็กจะถึงวัยที่สามารถสร้างสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง  
       แต่ความเป็นจริงในยุคปัจจุบัน  อิทธิพลจากความเชื่อในสังคม บุคคลในครอบครัว คนรอบข้างและผองเพื่อน   การที่แม่ต้องทำงานนอกบ้าน (แต่หากแม่ทราบวิธีปั๊มนมและเก็บนม  ก็ยังสามารถให้นมลูกต่อไปได้เรื่อยๆ  ลูกคนเล็กของหมอ 2 ปี 7 เดือนแล้ว ก็ยังกินนมแม่อยู่ค่ะ)  
       กระแสโฆษณาชวนเชื่อเกินความจริงของนมผง   คำแนะนำจากหนังสือหรือนิตยสารแม่และเด็ก   คำแนะนำจากบุคลากรสาธารณสุข หรือแม้แต่คำพูดจากคนแปลกหน้าหรือผู้หวังดีที่เห็นแม่กำลังให้นมลูก  มักแสดงความเห็นที่ต่อต้านหรือไม่เห็นด้วยกับการให้นมของแม่  ทำให้แม่ต้องยุติการให้นมก่อนเวลาอันควร  (cultural weaning age)  แล้วเปลี่ยนไปใช้นมวัวแทน   จนเกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น ภาวะทุพโภชนาการหรือโรคอ้วน  โรคภูมิแพ้  และโรคติดเชื้อ ซึ่งโรคเหล่านี้แสดงออกโดยใช้เวลาไม่นานหลังเริ่มกินนมวัว 
         ส่วนผลเสียในระยะยาวของการที่ทารกกินนมวัวอาจยังไม่แสดงออกในเวลาเพียงไม่กี่ปี  แต่อาจแสดงออกเมื่อเป็นผู้ใหญ่ไปแล้วเช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันสูง โรคมะเร็ง  หรืออาจแสดงออกในเวลาที่นานกว่าชั่วชีวิตของมนุษย์  นั่นคือ อาจส่งผลต่อวิวัฒนาการของมนุษย์ทำให้เบี่ยงเบนไปจากธรรมชาติของมนุษย์   เนื่องจากการได้รับสารอื่นแปลกปลอม (ฮอร์โมนของวัว)  เข้าไปในร่างกายของเด็กในช่วงที่ระบบของร่างกายยังพัฒนาไม่เต็มที่  ทำให้เกิดโรคบางอย่างหรือเกิดเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติของเด็กในอนาคต  คงต้องรอติดตามผลการศึกษาวิจัยกันต่อไป   
          ในระหว่างนี้  หากแม่ยังสามารถให้นมแม่ได้ ก็ควรให้ต่อไป  ไม่ควรจะเปลี่ยนมากินนมวัวเพราะคิดว่านมแม่ดูใสๆนั้นไม่มีประโยชน์   การที่นมแม่ใสเนื่องจากมีไขมันเป็นชนิดดีเป็นพิเศษ บำรุงสมอง  ไม่อุดตันเส้นเลือด 
           ขณะที่ในนมวัวเป็นไขมันชนิดไม่ดี หากกินมากเกินไป จะทำให้มีปัญหาไขมันอุดตันเส้นเลือดได้  และที่นมวัวดูเข้มข้นเพราะผู้ผลิตตั้งใจใส่ไขมันจากพืช เช่น ปาล์ม มะพร้าว ข้าวโพด  ถั่วเหลือง เพื่อทดแทนกรดไขมันจำเป็นที่ไม่มีอยู่ในนมวัว และต้องการให้ดูเข้มข้นเพราะหวังผลทางการตลาด เพราะทราบว่าผู้บริโภคชอบ (ลำพังนมวัวเอง จะไม่ดูเข้มข้นมากนัก)
     
เหตุผลที่ทำให้แม่ต้องหยุดให้นมลูกก่อนเวลาอันควร ได้แก่ 
    · คนรอบข้าง  หมอที่ดูแลลูก  หมอที่รักษาโรคหวัดของแม่ พอทราบว่าแม่ยังให้นมลูก  ทำตาโตและอุทานว่า อะไรกัน  จะให้ไปถึงไหน  เลิกได้แล้ว ไม่มีประโยชน์แล้ว 
     วิธีแก้ไข คือ ให้รับฟังโดยสงบ  ไม่ต้องแย้ง  แต่ไม่ต้องเชื่อค่ะ  คิดเสียว่า เราอยู่ผิดที่ผิดทาง  ถ้าเป็นทางยุโรป ซึ่งเขาสนับสนุนนมแม่มาก ให้ลางานได้ 1-2 ปี มีน้ำนมแม่ ซึ่งรัฐบาลซื้อจากแม่ที่มีน้ำนมมาก มาเก็บไว้สำหรับแม่ที่มีน้ำนมน้อยมารับไปใช้ได้ฟรี (ตรวจเช็คนมแล้ว ว่าปลอดภัยแน่นอน จากแม่ไม่เป็นเอดส์)  เวลาเห็นแม่ให้นมลูก ก็จะมองด้วยสายตาชื่นชมและยกย่องชมเชยว่าแม่น่ารักจัง ทำให้แม่มีกำลังใจที่จะให้ต่อไปเรื่อยๆ  ว่ามีคนเห็นคุณค่า เหนื่อยอย่างไรก็ไม่เป็นไร  แต่อยู่ในเมืองไทย  กลายเป็นว่า เหนื่อยแล้วยังไม่มีใครเห็นความดี  ก็ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม

 

 

***ถ้าใครสนใจอ่านเรื่องอื่นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้นมแม่

มีในเวป ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย http://www.thaibreastfeeding.org/

มีรายละเอียดมากมายเลยค่ะ

 

 

Views: 990

Replies to This Discussion

ขอบคุณ มากเลยค่ะ อ่านแล้ว ให้กำลังใจตัวเองได้ดีเลย เพราะเมื่อวานไปหาหมอที่รักษาหัวใจน้อง หมอบอกว่าน้ำหนักน้องขึ้นน้อย จัง 9.8 Kg 2เดือนที่แล้ว 9.3 พอดี ช่วงที่ผ่านมาน้องไม่สบายด้วย ก็บอกหมอยังให้นมแม่อยู่ด้วย น้อง 1.3 ขวบ หมอ ก็บอกนมแม่ประโยชน์ไม่เพียงพอแล้ว เสริมนมกล่องได้แล้วครับ  แฟนก็บอกงั้นไม่ต้องปั๊มนมแล้ว  กำลังคิดอยู่เลยค่ะว่าเอาไงดี

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ดีๆ ตอนนี้ลูกอายุได้ ขวบกับ 9เดือนค่ะ ก็ยังติดนมแม่มาก มีแต่คนพูดมากมายค่ะว่านมแม่มันไม่มีประโยชน์แล้ว ลูกได้แค่ความอบอุ่น ให้ลูกกินนมชงเสริมด้วย เหนื่อยจะอธิบายแล้วก็รู้สึกท้อค่ะ ลูกตัวเล็กแต่น้ำหนักตอนนี้ไม่ตกเกณฑ์ คือคนรอบๆข้างคงอยากให้ลูกเราตัวอ้วนๆ แต่เราก็ว่าแค่นี้ดีแล้วนะคะไม่เป็นโรคอ้วน เจอบางคนก็บอกว่าของเค้าเนี่ยดีแล้วลูกไม่เอานมแม่เลยไม่ต้องมาเปิดนมให้ลูกกินในที่สาธารณะ แต่เราก็ภูมิใจนะคะ ที่เปิดนมให้ลูกกิน แบบว่าคนภายนอกเนี่ยต่อต้านเยอะมาก ที่เพื่อนทั้งคนที่เห็น เลยขอระบายหน่อย แต่ดีที่บ้านไม่ว่าอะไรค่ะ เราดีใจด้วยซ้ำว่าลูกได้ภูมิคุ้มกันที่หาไม่ได้จากนมวัว แล้วอย่างน้อยเก็บเงินในส่วนที่จะซื้อนมกระป๋องที่ไม่ได้ถูกเลยให้ลูกไว้เรียนดีกว่าค่ะเพราะโตไปค่าใช้จ่ายก็เยอะ

โดนต่อต้านเหมือนกันค่ะ ตอนนี้ลูก 20 เดือน ยังกินนมแม่ทั้งวัน ทั้งคืน ลูกแข็งแรง ฉลาด แอบกังวลนิดๆเรื่องน้ำหนักน้อย ตกเกณฑ์

เอาใจช่วยคุณแม่ทุกท่านนะค่ะ ตัวเองก็ให้นมแม่มา 1ปี 7 เดือนแล้วค่ะ น้ำหนักตกเกณฑ์ แต่แข็งแรงมาก พยายามป้อนข้าวให้มากขึ้น ตอนแรกตั้งใจจะให้ถึง 2 ปี พอได้อ่านแล้ว คงให้ไปเรื่อยๆค่ะ

ปล. เป็นหมอเด็กที่ไม่เคยบอกให้คุณแม่หยุดให้นมลูกเลยค่ะ :) อย่าไปโทษหมอท่านอื่นเลยนะค่ะ เพราะหมอเมื่อจบมาบางครั้งถ้าไม่ update ข้อมูล ความรู้ก็ไม่ทันสมัย ยิ่งไม่มีประสบการณ์ตรงก็ยิ่งไม่เข้าใจค่ะ และบางครั้งคำแนะนำก็อาศัยจำมาจากหนังสือ ถ้าคุณแม่ไม่มั่นใจแนะนำหาข้อมูลจากหลายๆแหล่งมาประกอบกันนะค่ะ

ดีใจนะค่ะที่ข้อมูลมีประโยชน์

แต่ขออธิบายนิดนึงว่าตัวเองไม่ได้โทษหมอท่านใดนะค่ะ ข้อความทั้งหมดก้อปปี้มาจากการเขียนโดย SUTHEERA UERPAIROJKIT หรือคุณหมอสุธีรา ค๊า คุณหมอเป็นผู้เชียวชาญด้านเด็กแรกเกิด ณ รพ. แห่งหนึ่งค่ะ และเป็นคุณหมอประจำเวป  ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย http://www.thaibreastfeeding.org/ ค่ะ

ส่วนตัวก็เข้าใจนะค่ะว่าหมอทั่วไป จะชำนาญกันเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง ไม่รู้อัพเดททุกเรื่อง แต่แอบสงสัยมาตลอดว่า ทำไมหมอ 10 คนก็พูดเหมือนกันทั้ง 10 คน เลยอยากรู้ว่า ประโยคที่ว่า นมแม่หลัง 6 เดือนไม่มีประโยชน์ ไม่ควรดื่มแล้วนี่ มันมาจากในหนังสือเรียนแพทย์หรือจากไหนค่ะ อยากอ่านเหมือนกัน จะได้เห็นข้อมูล 2 ด้านนะค่ะว่าเป็นยังไง

มาช่วยสนับสนุนอีกแรงค่ะ ตอนนี้ลูกชาย 2.5 ปี ยังทานนมแม่อยู่ค่ะ ถึงแม้คนรอบข้างจะพูดอย่างไร เราก้อยังให้ลูกทานนมแม่อยู่ดี ก่อนหน้าที่ยังไม่ศีกษาเรื่องนมแม่ ก้อเคยมีความกังวลค่ะ แต่พอได้อ่านบทความและศึกษาหาข้อมูลต่างๆในเว็บ ก้อทำให้คลายความกังวลและความสงสัยลงไป และมั่นใจว่าจะให้นมลูกต่อไปจนกว่าเค้าจะไม่ต้องการเองน่ะค่ะ ส่วนเรื่องน้ำหนักลูกอยู่ในเกณฑ์ปกติตลอด ส่วนสูงก้อตามเกณฑ์เช่นกันค่ะ แต่ไม่ได้ค่อนไปทางสูงเท่านั้นเองค่ะ

ใช่ค่ะ หมอ 100 คนก็พูดเหมือนกันค่ะ ยกเว้นคุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ค่ะ

คุณหมอยังบอกอีกว่า ถึงแม้ไม่มีน้ำนมแล้วแต่ลูกยังดูดอยู่ยังมีคุณค่าทางด้านจิตใจ

กับลูกของเรามหาศาลเลยค่ะ

มาเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกท่านนะคะ คุณแม่เท่านั้นที่จะเป็นผู้มอบอาหารล้ำค่านี้

กับลูกน้อยค่ะ

ตอนนี้น้องก็หนึ่งปีเเปดเดือนเเล้วคะ ก็ยังกินนมอยู่เลย ดีใจจังเลยคะที่มี บทความดีดีมาฝาก อย่างนี้ต้องให้กินไปเรื่อยเรื่อย จนกว่าจะเลิกไปเองคะ ขอคุณมากค่ะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service