เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

สวัสดีคะ นี่คุณเม แม่น้องกันดั้มคะ

 

ตั้งแต่ลูกยังเล็ก ก็มีความคิดอยู่เนือง ๆ ว่าจะสอนลูกเองที่บ้านในขั้นพื้นฐาน (หรือที่เรียกกันว่า Homeschool) ดีมัียน๊า.....

 

ตัวเมเอง มีเพื่อนที่เป็นเด็กที่โตมาแบบ homeschool อยู่บ้าง มีทั้งที่เฉพาะช่วงอนุบาลหรือช่วงไม่เกินประถม จนไปถึงคนที่ทำจนถึงม.6เลยก็มี

 

สิ่งที่เราเห็นก็คือ.....เมืองไทย เหมือนกับจะยังไม่ค่อยยอมรับระบบนี้กันเท่าไหร่ เรามีเพื่อนคนนึง เป็นนักดนตรี(ก็ไม่ได้ชื่อดังคะ แต่เก่งมาก) พ่อแม่ทำ homeschool ให้ (รู้สึกว่าจะใช้หลักสูตรของอังกฤษ เพราะคุณพ่อเป็นชาวอังกฤษคะ) พอตอนจะเข้ามหาลัย ก็จะเริ่มมีปัญหาแล้วละสิคะ เพราะไม่ได้จบมาแบบชาวบ้านเค้า เราก็ยังงงเลยว่า นักกีฬา นักแสดง ฯลฯ มหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่ง รับกันเข้าไปแบบแทบจะเรียกว่าแย่งตัวกันเลยทีเดียว แต่เพื่อนเรากลับมีปัญหาอย่างหนัก.....ก็แปลกคะ เพราะว่าต่างประเทศก็แย่งตัวเพื่อนไปเรียนกัน ปัจจุบันที่ไปเรียนต่างประเทศ ก็ได้ทุนไปเรียนมาตลอด แข่ง ประกวด เรียน.....แข่ง ประกวด เรียน มาตลอด......ได้รางวัลอันดับต้น ๆ มาตลอด.........เราจึงมีคำถามมาตลอดว่า อะไรทำให้มหาวิทยาลัยในเมืองไทยไม่ยอมรับเพื่อนเรา ทั้ง ๆ ที่มีวุฒิจบจากหลักสูตรที่ถูกต้อง (หรือว่ามันจะไม่ถูกต้องในเมืองไทยหว่า.....อันนี้เราก็ไม่แน่ใจคะ เราไม่ค่อยรู้เรื่องนี้)

 

ถึงกระนั้น ตัวเราก็ยังอยากจะสอนลูกเองที่บ้านมาก ๆ อยู่ดีคะ เคยคิดถึงขั้นจะลองดูว่าแถวบ้านมีใครเค้าลูกเต้าอายุเท่า ๆ กับลูกเรา แล้วอยากทำด้วยมั๊ย

 

เรามองคร่าว ๆ แล้ว ข้อดีมันมีอยู่หลายอย่างคะ เช่น

 

1. เรารู้จักลูกเราดี รู้ว่าอะไรเค้าทำได้ อะไรไม่ได้ เข้าใจว่าอันไหนเค้าทำไม่ได้จริง ๆ อันไหนเค้าแกล้งทำไม่ได้

2. เราเลือกสังคมให้ลูกเราได้ กลุ่มเพื่อนที่จะทำ homeschool ด้วยกัน

3. เราวาดฝันไว้สวย (แต่อาจเป็นไปได้ยากคะ 5555) ว่าถ้าหากลุ่มได้ จะไม่ให้ลูกขลุกอยู่แต่ในบ้านเรา แต่สลับบ้านทุกวัน จันทร์ ถึง ศุกร์ สรุปคือ ทั้งอาทิตย์ อาจจะได้อยู่บ้านตัวเองแค่วันเดียว หรือ อาจจะไม่มีเลย คือไปอยู่บ้านเพื่อนหมด พ่อแม่แต่ละคนก็จะสอนสิ่งที่ตัวเองถนัด ไม่มีใครรังแกลูกใคร เพราะวันหน้าลูกเราก็ต้องไปอยู่บ้านเขา ลูกเขาก็ต้องมาอยู่บ้านเรา

4. กว้างไกลมาก ๆ ด้วยการออกทัศนศึกษามันทุกอาทิตย์เล๊ยยยยย อาิทิตย์นี้เรียนเรื่องสัตว์น้ำใช่มั๊ยเด็ก ๆ.....ไปกันเลย สยามโอเชี่ยนเวิล์ด.....หรือจะไปบึงฉวากหละ หรือจะไปไหนดี......พ่อแม่คนไหนว่างก็ไปเป็น แชปเปอโรน ช่วย ๆ กันดูเด็ก ๆ

ฯลฯ

 

 

แต่ผู้ใหญ่ก็ทัดทานมาคะ ด้วยเหตุผลที่ฟังขึ้นอยู่เหมือนกันในบางประการ

 

1. เด็กจะไม่มีสังคมเลยนะ (อันนี้ เราค้าน เพราะว่าเรากะจะทำเป็นกรุ๊ป ถ้าไม่ทำเป็นกรุ๊ป วันอาทิตย์เราก็พาลูกไปโบสถ์ ลูกก็จะมีเพื่อนที่โบสถ์อยู่ดีคะ)

 

2. เดี๋ยวลูกโตมา เข้าโรงเรียน จะเ้ข้ากับเพื่อน กับระบบไม่ได้นะ จะอยู่ไม่ได้ (อันนี้เราเองไม่แน่ใจคะ ไม่เคยมีข้อมูล และก็รู้สึกว่า เออ....จริงแฮะ มันก็อาจจะต้องปรับตัวยากนิดนึง คนอื่นเค้าอยู่แบบนี้ ใส่ชุดนักเรียนทุกวันมาตั้งแต่อนุบาล ลูกเราเพิ่งจะมาโดนบังคับเอาตอนนี้)

 

3. เมืองไทยหนะ ทำไม่รุ่งหรอก อย่าทำเลย สงสารลูก โตมาแล้วไม่เหมือนชาวบ้านเค้า คนที่นี่เค้าไม่ค่อยยอมรับกัน เมืองไทยหนะ คนบ้าชื่อ บ้าเสียง โรงเรียนดัง มหาลัยเด่น ถึงจะไปได้.....(ก็จริงอยู่แหะ......ทำไงดีละเนี่ย เริ่มสับสนแล้วสิเรา)

 

จนปัจจุบันก็ยังหาข้อมูล โรงเรียนทางเลือก และ กลุ่ม โฮมสคูล อยู่เรื่อย ๆ คะ เห็นมีเป็นรูปเป็นร่างที่ขอนแก่น ไม่แน่ใจว่าเป็นกลุ่มเดียวกันกับที่เล่นอยู่ในเว็บนี้รึเปล่า แต่มันช่าง.........ห่างไกลเหลือเกินนนนน.....ขอนแก่น-กรุงเทพ.....ในกรุงเทพ ยังไม่เจอข้อมูลว่ามีใครทำเป็นกลุ่มจริงจังเลยคะ

 

บางที เราก็อยากหาข้อมูลของคนที่เค้าทำกันเป็นกลุ่มจริงจัง ไปให้ผู้ใหญ่ดู ว่ามันดียังไง มันก็มีข้อดีนะ แต่มันก็หาไม่เจอเลยจริง ๆ คะ

 

อีกอย่าง......เวลาบอกใครว่าเรียนที่บ้าน......คนมักจะมองกันไปถึงระบบ ก.ศ.น. ซึ่งเราผ่านมาแล้วด้วยตัวเอง ก่อนจะเข้าเอแบค.........เราก็ว่ามันก็สมควรให้คนเค้า "ดูถูก" คะ..........ตอนสอบอาจารย์พูดหลังแจกกระดาษว่า "ทำอะไรให้มันเบา ๆ หน่อย" หลังจากนั้นก็บรรเลงกันแบบว่า แทบจะเดินไปแลกกระดาษกันดูเลยค่า หึ หึ หึ  แบบว่าไม่อ่านหนังสือไปสอบ ส่วนใหญ่ก็จะผ่านมากันด้วยคะแนน 2.8 โดยเฉลี่ยคะ ส่วนตอนนี้ระบบจะดีขึ้นรึยังไม่รู้ แต่เราว่า.........คนก็ยังมองระบบการศึกษานอกโรงเรียนอยู่แบบเดิมแหละคะ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว เราเคยดูทีวี เห็นว่ามีการศึกษานอกโรงเรียนแบบวิชาชีพที่ดูแล้วก็เข้าท่าดีออก น่าเสียดายนะคะ

 

ถึงตรงนี้แล้ว รู้สึกเหมือนมาบ่นมากกว่ามาถามเลยคะ เอาเป็นว่า อยากทราบความคิดเห็นของผู้ปกครองท่านอื่น ๆ

 

แล้วก็ถ้าใครมีข้อมูล หรือกำลังทำโฮมสคูลให้ลูกอยู่ มาแบ่งปันกันหน่อยนะคะ ว่าเป็นยังไงกันบ้าง แ้ล้วใช้หลักสูตรไหนกันอยู่ ดีหรือไม่ดียังไงคะ 

Views: 935

Replies to This Discussion

โดยส่วนตัว .. เราไม่พร้อมที่จะทำ Homeschool ให้กับน้องเจค่ะ

- อาจจะพูดได้ว่าก็มีบ้างยังติดระบบ ติดชื่อ ติดเสียง ของโรงเรียนและมหาลัยแบบที่คุณเมเล่ามาค่ะ (เพราะค่านิยมคนไทยเป็นอย่างงั้น เราว่าดูดีมีภาษีกว่าโนเนมเยอะ ... ขนาดว่าไปสมัครงานที่ไหนบางทียังดูที่สถาบันเลย แต่เรายังไม่มองไกลถึงขั้นเรื่องการทำงานของลูกนะ) สำหรับเรา เราเลือกจะทำหน้าที่วันนี้ให้ดีที่สุด เราสอนเสริมจากหน่วยการเรียนแต่ละสัปดาห์ที่ลูกเรียน (ซึ่งครูแจ้งอยู่แล้วทุกสัปดาห์) เราสร้างวินัยให้ลูกวันละชั่วโมงเป็นการทบทวนบทเรียน ทำการบ้านของโรงเรียน และการบ้านวิชาต่าง ๆ ในแบบของเราสลับกันไปทุกวัน

 

- ด้วยเวลาที่มีต่อวัน กับงานที่ล้นมือ วินัยส่วนตัว ก็เป็นอีกเหตุผลนึงด้วยล่ะ ไม่สามารถสอนอะไรได้มากมาย รวมถึงความรู้เฉพาะทาง ความรู้ต่าง ๆ ในเชิงลึก .... เฮ้อ! คิดแล้วกลุ้ม 5555+

 

และสิ่งที่เรามองและเห็นว่าสำคัญสำหรับน้องเจ (ที่เราไม่ทำ Homeschool นอกเหนือจากการเล่าข้างบนแล้ว) ก็คือ

 

- เราว่าลูกจำเป็นต้องมีสังคม เป็นสังคมที่ลูกสร้างเอง เลือกเอง เรียนรู้เอง และจำเป็นต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกันเอง ต้องหัดทำอะไรด้วยตัวเอง ต้องคิดเองเป็น ลงมือทำได้ และเข้ากับคนอื่นได้ด้วย อย่าคิดถึงแต่ตัวเอง ให้คิดถึงใจคนอื่นที่อยู่รอบข้างด้วย (มันยากนะที่จะทำ แต่ก็สอนไว้ก่อน สอนให้รู้ และสอนให้ทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย ไม่นึกถึงใครเลย)

 

- ลูกต้องอยู่ได้ ..... ในวันที่ลูกไม่มี "เรา" เพราะเราสอนลูกเสมอว่า "มะม๊าไม่ได้อยู่กับน้องเจตลอดไป อะไรที่มะม๊าสอนแล้วถ้าหากน้องเจพอทำเองได้ ขอให้น้องเจลองทำเอง มะม๊าคอยดูอยู่ใกล้ ๆ อันไหนที่มะม๊าช่วยน้องเจได้ ก็ยังช่วยอยู่ แต่น้องเจต้องลงมือทำด้วยตัวเองด้วย" จริง ๆ ลูกรู้นะคะว่าเราหมายถึง "ตาย" เค้าจะพูดตลอดว่า "ไม่อยากให้มะม๊าตาย" (ร้องไห้ด้วย) แต่เราไม่ได้เน้นย้ำตรงคำว่า "ตาย" แต่เน้นย้ำว่า "ลูกต้องอยู่ดูแลตัวเองได้ เวลามะม๊าแก่ น้องเจจะได้ดูแลมะม๊าเหมือนที่มะม๊าดูแลน้องเจงัย" น้องเจก็พยักหน้าเข้าใจนะ จริง ๆ เด็กตัวแค่นี้ บางทีที่เราให้ช่วยเฝ้าหน้าร้านเวลาที่เราไปทำครัว เวลามีลูกค้าให้เรียก หรือให้เก็บเงิน ทอนเงินลูกค้า เสิร์ฟน้ำ ฯลฯ เราให้ค่าจ้างวันละ 10.- เค้าก็พยายามทำให้ดี (ลูกค้าก็ดี มีชม มีตบมือให้กำลังใจน้องเจด้วย) จริง ๆ การให้ค่าจ้างเป็นสินน้ำใจวันละ 10.- มันน้อยมากนะ แต่สิ่งเรากำลังสอนให้น้องเจรู้ก็คือ  ที่บ้านเรามีงานเป็นของตัวเอง สอนให้เค้ามีหน้าที่ สอนให้รับผิดชอบ รู้จักช่วยงาน ฯลฯ

- ข้อสุดท้ายก็คือ เรามองว่าถึงแม้ว่าการเรียนในระบบจะมีการแข่งขันกันสูง ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม เราไม่ได้สอนให้ลูกแข่งกับใคร ลูกต้องแข่งกับผลงานของตัวเองที่ผ่านมา การแข่งขันพวกนี้มันเป็นเรื่องธรรมดาที่มันต้องเจอทุกสังคม ไม่ว่าจะเรียน ทำงาน โอเคแหละ เพื่อนเก่ง เพื่อนไม่เก่ง ตัวเองเก่ง ไม่เก่ง มีการเปรียบเทียบ อย่างน้อยก็สอนให้ลูกรู้จักกับแรงกดดัน การยอมรับในเหตุและผล ฯลฯ ก็เป็นเรื่องสำคัญ มันจะสอนให้เค้ารู้ปรับตัวปรับใจยอมรับสภาพที่เป็นไปได้ ไม่ว่าจะทางดีหรือไม่ดี ... เพราะผลที่ออกมาทุกอย่างมันก็คือย้อนถึงการกระทำและพฤติกรรมการเรียน ความตั้งใจของเค้า เราเป็นพ่อเป็นแม่ เราจะสอนเค้ายังงัยให้รับได้กับตรงนี้ (แต่จะไม่มีคำว่า "ถ้าลูกทนไม่ได้ ให้ออกมาเรียนกับพ่อกับแม่" ออกจากปากเราเด็ดขาด เพราะถ้าแค่เรื่องเรียนยังรับไม่ได้แล้วต่อไปเจออะไรที่หนักกว่านี้ลูกจะทำยังงัย ?)

 

จริง ๆ ไม่ว่าการเรียนแบบ Homeschool หรือการเรียนในระบบมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ ก็เลือกที่เหมาะกับครอบครัวดีที่สุดค่ะ

 

ปล. ที่เขียนมาเป็นการแสดงความคิดเห็นและมองจากสภาพครอบครัวของเราเท่านั้นนะจ๊ะ ... อาจจะไม่โดนใจใครเท่าไหร่ เราขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ :)

เราก็เห็นด้วยกับที่คุณเขียนมาเหมือนกันคะ คุณแม่น้องเจ

 

ถึงได้บอกคะ ว่า.....สองจิตสองใจ ยังไงดีน๊า......เหอ เหอ เหอ........

 

แต่ตลกตรง "ไม่อยากให้มะม๊าตาย".........น่าสงสารรรร โถ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ^_^

น้องเจเค้าเคยเจอเหตุการณ์ตอนที่เราเสียพ่อไป เราบอกน้องเจว่าอากงไปสวรรค์ แล้วก็สอนพุทธศาสนาง่าย ๆ ให้น้องเจได้เรียนรู้ เราก็งงว่าน้องเจรู้จักคำว่า "ตาย" ได้งัย แต่เค้าก็เข้าใจ เค้ากลัวการสูญเสีย ทุกครั้งที่น้องเจพูดเรื่องพวกนี้ออกมา ทำให้เราก็ต้องอธิบายให้ฟัง ยากอยู่ เพราะยังเด็ก พยายามหาศัพท์ง่าย ๆ ให้เข้าใจ แต่จะพยายามเลี่ยงสิ่งที่จะทำจินตนาการเกินจริง (อาม่าน้องเจ-แม่เรา ก็บอกว่าอย่าพูดเรื่องพวกนี้บ่อย ๆ เพราะวัยนี้เริ่มจินตนาการเป็นแล้ว พยายามพูดความจริง ค่อย ๆ เพิ่ม อย่าตูมเดียวหมด) :)
ทำโฮมสคูลให้ลูกค่ะ (3.8 ขวบ แต่จะทำตลอดไปเลยค่ะ) ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างค่ะ คงเหมือนกับพ่อแม่ที่คิดทำโฮมสคูลส่วนใหญ่ แต่การทำโฮมสคูลสำหรับแต่ละครอบครัวก็ต่างกันไปตามความต้องการของครอบครัวว่าอยากจะให้ลูกไปแนวไหน บางคนทำโฮมสคูลแต่สอนวิชาแบบในโรงเรียนเพียงแต่สอนเองก็มี บางคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามความต้องการของเด็กเป็นหลัก บางคนก็เน้นอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นความสามารถพิเศษไป และอีกมากมายค่ะ

สำหรับครอบครัวเราก็ไม่ได้ค่อยเน้นแบบว่าต้องวิชานั้นนี้อะไรเป๊ะๆ แบบที่เค้าเรียนกันในโรงเรียนนะคะ เราเน้นให้ลูกพึ่งตนเองได้ในเรื่องปัจจัยสี่ ส่วนอย่างอื่นเป็นกำไรแล้ว ขอให้ดำรงชีวิตเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาภายนอกมากนักได้ก่อนเป็นสำคัญค่ะ ลูกก็ทำทุกอย่างตามที่พ่อแม่ทำ ปลูกต้นไม้ ปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เป็ด ห่าน สร้างบ้าน(ดิน) หมักปุ๋ย ฯลฯ เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ทั้งนั้นสำหรับบ้านเรา การจำกัดความโดยพูดถึงคำว่า "เรียน" เฉยๆ มันอาจทำให้คนนึกแคบไปว่าเรียนหนังสือ แต่จริงๆ แล้ว การเรียน(รู้)มีเยอะแยะมากมาย สำหรับเราแล้วถ้าลูกสร้างปัจจัยสี่เองได้ (อย่างน้อยก็ 3 เว้นเรื่องเสื้อผ้าไว้ก่อน ซื้อไม่แพงแล้วใส่ให้นาน) นี่คือเค้าเอาตัวรอดได้ ไม่อดตาย เพราะปัจจัยสี่คือสิ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ ที่นอกเหนือจากนั้นคือเกินจำเป็น แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคน แต่ทุกคนอย่างน้อยต้องมีปัจจัยสี่แน่นอน ใช่มั้ยคะ ^^

แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่สอนลูกอ่านเขียน บวกลบ อะไรพวกนั้นเลย นั่นต้องสอนอยู่แล้ว ก็ค่อยๆ เป็นไปตามวัย อ่านออกเขียนได้ คิดเลขได้เป็นสิ่งจำเป็น วิชาอื่นๆ สามารถเรียนรวมๆ กัน ผ่านกระบวนการปฏบัติกิจกรรมได้มากมาย เราไม่ชอบกางหนังสือแล้วให้ลูกจำตัวหนังสือ แต่ชอบให้ลูกได้ลงมือแล้วเห็นผลของมันเองว่าอะไรเป็นอะไร เค้าจะเข้าใจได้ดีและสามารถทำอะไรเองได้ทีหลังเยอะ เรียนหนังสือนี่จำได้สอบได้แต่ถึงเวลาจะนำมาใช้เป็นหรือเปล่าก็ไม่รู้ และเรื่องบางเรื่องก็ไม่เห็นน่าท่องจำเลย เช่น ถ้ารู้ว่าหน้าฝนเดือนไหนถึงเดือนไหน แต่ไม่รู้จะทำอะไรกับหน้าฝน เก็บเกี่ยวประโยชน์อะไรจากหน้าฝนได้ก็ไม่เห็นจะน่ารู้ไปทำไม หรืออย่างพุทธศาสนาที่สอนท่องจำวันสำคัญนั้นนี้ แต่ปฏิบัติตนตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ไม่ได้ ก็ไร้ค่า ฯลฯ

แต่เข้าใจหละค่ะที่คนส่วนใหญ่ต้องพาลูกเข้าระบบเสมอ ก็เพราะว่าสิ่งสำคัญที่ต้องมีคือ "เวลา" อย่างน้อยพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง แต่ให้ดีก็ทั้งสองคน แต่สังคมปัจจุบันนี้เวลาหาได้ยากกว่าเงินเสียแล้ว (ทั้งๆ ที่ ถ้าเอาเวลาหาเงินจ่ายค่าเทอม ค่าเดินทางไปกลับ ค่าชุดนักเรียน ค่าหนังสือ ค่าเรียนพิเศษ และค่าโสหุ้ยในการไปโรงเรียนอีกมากมายมาสอนเองก็คงไม่ต่างกัน แต่คงลืมนึกไป แต่ว่าก็เคยโดนเถียงโดยคนในบ้านนี่แหละว่า เค้าทำงานแล้วเค้าได้ค่าอย่างอื่นด้วย อืมมม...พอดีบ้านเราหาเงินน้อย แต่ก็ใช้เงินน้อย ทำเองให้มาก เลยมีทั้งเวลาและเงินเหลือใช้ด้วย)

อีกเรื่องที่มักขัดขวางการทำโฮมสคูลคือญาติพี่น้องไม่อำนวย อันนี้ต้องสู้รบปรบมือกันเอาค่ะ พอดีเรากับสามีหัวแข็งค่ะ 55 คือ เราต้องทำให้เค้าเห็นว่าลูกเรามีพัฒนาการที่ดียังไง เค้าก็จะรู้และยอมรับเองค่ะ ถึงตอนนี้ปู่ย่าตายายของลูกไม่มีใครค้าน (อาจจะเพราะค้านไม่ได้ 55) มีลุงป้าน้าอาของพ่อแม่นี่แหละพูดขัดบ้าง แต่เราก็แค่ฟังไป เพราะเถียงไปก็ไม่เข้าใจกันเมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกัน เราแค่รอให้เค้าได้เห็นเองว่าผลลัพธ์จะเป็นยังไง

เรื่องต่อมาคือความมั่นใจของพ่อแม่เอง เราคิดว่าคนส่วนใหญ่ไม่มีความมั่นใจพอ แม้บางคนบอกว่าอยากทำแต่ก็ไม่ได้ทำเพราะสุดท้ายก็คิดว่าครูหรือโรงเรียนจะให้ความรู้ลูกได้ดีกว่าตัวเอง อันนี้ก็ต้องแล้วแต่ความสามารถทางด้านกำลังใจของพ่อแม่ เราไม่จำเป็นต้องเก่งทุกเรื่อง แต่เราสามารถเรียนรู้ไปพร้อมกับลูกก็ได้ถ้าเกิดลูกอยากรู้อะไรที่เราเองก็ไม่รู้

และประเด็นหลักสุดท้ายคงเป็นเรื่องสังคม แต่เรื่องนี้คนทำโฮมสคูลทุกคนเบื่อจะพูดค่ะ 555 ถ้าสังคมคือเพื่อนหน้าเดิมๆ ที่เรียนด้วยกันมา และคนคุมหน้าห้องคนหนึ่ง เราว่ามันแคบซะยิ่งกว่าอีกนะ สำหรับครอบครัวโฮมสคูลแล้วแน่นอนว่าต้องมีเวลา ดังนั้นการพาไปข้างนอก ไปทำกิจกรรมร่วม ไปเข้ากลุ่มไหนๆ ไปเข้าสังคม มันกว้างงงซะยิ่งกว่าเด็กในโรงเรียนเยอะค่ะ อย่างลูกเราตอนนี้ยังเล็กยังไม่ได้ไปกิจกรรมกับคนอื่นในกลุ่มโฮมสคูลนักก็มีสังคมคือ เพื่อนบ้าน คนในชุมชม เด็กที่เจอกันที่สนามเด็กเล่น คนที่เจอกันระหว่างทางตอนไปเที่ยว กลุ่มเด็กที่ชายหาด ชาวบ้านที่เราไปช่วยเหลือ ฯลฯ คือทุกที่ที่เราไปหนะแหละ เค้าก็มักจะได้พบเจอและพูดคุยกับเด็กหรือผู้ใหญ่คนอื่นเสมอ ไม่กลัวที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่เลย ไปไหนก็ไปหาเพื่อนได้ตลอด และมันก็อยู่ที่พ่อแม่ด้วยว่าตัวเราเองนั้นคบแต่คนที่เป็นเพื่อนอยู่แล้ว? คบแต่คนรู้จักเดิมๆ? อย่างบ้านเรา สมมติตอนไปเที่ยวทะเล เจอผู้ใหญ่และเด็กกลุ่มนึงเล่นจับปูลมกันอยู่ เราก็เดินเข้าไปทักทาย พูดคุย และเข้าไปร่วมกับเค้าด้วย เด็กๆ เค้าก็ยินดีที่จะเล่นกับน้อง ชวนน้องดูนั่นนี่ ถ้าเป็นคนอื่นก็คงไม่ค่อยทำแบบนี้กันใช่มั้ยคะ คงเล่นกันแค่คนในบ้านที่ไปเที่ยวใช่มั้ยล่ะ เราถึงว่าสังคมเรากว้างกว่านั้นมากมาย

พูดเรื่องโฮมสคูลนี่คงยาววว 55 แต่ว่ายังไงสำหรับในกรุงเทพมีคนทำพอสมควรนะคะ หาเพื่อนเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันไม่ยากหรอกค่ะ อย่างเรานี่อยู่กระบี่หายากกว่ามากกกกกกกกกกกก (เพิ่งเจอครอบครัวเดียวแต่ก็ยังไม่เคยเจอกัน รู้ผ่านคนอื่นมาอีกที)

ฝากไว้ให้อ่านค่ะ ที่คุณสามีเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้บ้าง
http://www.numthang.org/content/ข้อเสียของโฮมสคูล (Home School)/
http://www.numthang.org/content/ข้อดีของระบบโรงเรียนยุคปัจจุบัน/

ส่วนเรื่องการสอนลูกเราก็เขียนไว้เรื่อยๆ ค่ะ เช่น วิชารู้จักตัวเอง วิชาสิ่งแวดล้อม วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ ฯลฯ ลองอ่านได้ในเว็บค่ะ (แต่ไม่ทราบว่าลูกจขกท.อายุเท่าไหร่แล้วคะ)

ส่วนเรื่องการทำโฮมสคูลแล้วต้องการศึกษาต่อภายหลังหรือต้องการวุฒิ ถ้ายังไม่ทราบถามได้นะคะ ค่อยเล่าอีกที ^^

ปล. เอแบคเหมือนกันค่ะ ;)
ลูกอายุขวบสามเดือนคะ. ไม่ค่อยแน่ใจคะว่าตอนนี้ควรจะเริ่มอะไรให้เค้าบ้าง ตอนนี้ก็เริ่มอ่านหนังสือให้ฟังบ้าง พูดให้พูดตามบ้างทำกิจกรรมนู่นนี่ไปเรื่อย แต่ไม่มีตารางไม่มีเวลาแน่นอนคะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service