เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ลูกกินนมได้มากเพียงพอหรือเปล่า

ที่มา: http://www.breastfeedingthai.com/index.php?lay=show&ac=article&...

ลูกกินนมได้มากเพียงพอหรือเปล่า

 

คุณแม่ที่ให้ลูกกินนมตัวเองมักจะมีคำถามอยู่บ่อยๆ ว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมได้มากเพียงพอ เนื่องจากเต้านมของคนเราไม่ใช่ขวดนม
เราจึงไม่สามารถยกเต้านมขึ้นส่องกับไฟเพื่อดูว่าลูกกินนมไปได้กี่ออนซ์
ประกอบกับสังคมของเราก็เป็นสังคมที่หมกมุ่นอยู่กับตัวเลข
มันจึงเป็นเรื่องยากที่จะให้บรรดาคุณแม่ทำใจรับได้กับการไม่สามารถวัดหรือ
ระบุได้อย่างแม่นยำว่าลูกกินนมไปเท่าไร
อย่างไรก็ตามเรามีวิธีการหลายวิธีที่จะช่วยให้รู้ว่าลูกกินนมได้มากพอหรือ
เปล่า ในระยะยาวการเพิ่มน้ำหนักตัวเป็นสิ่งที่ชี้วัดได้ดีที่สุด
แต่อย่าลืมว่าเกณฑ์การเพิ่มน้ำหนักตัวที่เหมาะสมสำหรับทารกที่กินนมผสมอาจจะไม่ใช่เกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับทารกที่กินนมแม่

 

วิธีที่จะช่วยให้รู้ว่าลูกกินนมได้มากพอ

 

1. การดูดนมของทารกมีลักษณะเฉพาะ เด็กทารกที่กินนมได้มากพอ จะมีการดูดนมจากอกแม่ในลักษณะพิเศษเฉพาะ ในขณะที่เด็กทารกกินนมได้ (ไม่ใช่ แค่ เพราะเขามีเต้านมอยู่ในปากและทำท่าดูด) คุณจะต้องเห็นว่าหลังจากที่เขาอ้าปากและดูดนมได้ปริมาณมากพอ
จะต้องมีการหยุดเคลื่อนไหวตรงปลายคางก่อนที่เขาจะปิดปาก ดังนั้นการดูดนม 1
ครั้ง คือ อ้าปากกว้าง --
> หยุด --> ปิดปาก

 

ถ้า คุณต้องการจะสาธิตการดูดแบบนี้ด้วยตัวเอง ให้ลองเอานิ้วชี้ใส่ปากตัวเอง และดูดนิ้วเหมือนกับดูดน้ำจากหลอดกาแฟ ขณะที่คุณดูดเข้าไป
คางของคุณจะลดต่ำลงและค้างอยู่ในตำแหน่งนั้นไปเรื่อยๆ
เมื่อคุณหยุดดูด คางของคุณจะกลับมาที่ตำแหน่งเดิม
ถ้าคุณสังเกตเห็นการหยุดเคลื่อนไหวแบบนี้ที่บริเวณคางของลูก
นั่นหมายความว่า ลูกของคุณดูดนมได้จนเต็มปากของเขาในการดูดแต่ละครั้ง
ยิ่งมีการหยุดเคลื่อนไหวนานเท่าไร ทารกก็ยิ่งดูดนมได้มากเท่านั้น

 

เมื่อ คุณเข้าใจการดูดนมที่มีการหยุดเคลื่อนไหวของคางแบบที่ว่านี้แล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับคำแนะนำไร้สาระต่างๆ ที่บอกต่อๆ
กันมาเกี่ยวกับการให้ลูกกินนมแม่  เช่น ต้องให้ลูกดูดนมจากเต้านมข้างละ 20 นาที ทารก
ที่ดูดนมในลักษณะนี้ (มีการหยุดเคลื่อนไหวคาง) อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 20
นาที อาจจะไม่ยอมดูดนมอีกข้างหนึ่งเลยด้วยซ้ำ
ในขณะที่เด็กทารกที่อมหรือตอดหัวนมอยู่ 20 ชั่วโมง (โดยไม่ได้กินนม)
ก็จะยังรู้สึกหิวอยู่หลังจากแม่ให้นมเสร็จแล้ว
เว็บไซต์ Dr.Jack (เลือกหัวข้อ Pause in chin)
มีวิดีโอแสดงการหยุดเคลื่อนไหวคางของทารกในระหว่างดูดนม

 

2. อุจจาระของทารก ช่วงสองสามวันแรกหลังคลอด ทารกจะถ่ายอุจจาระเป็นสีเขียวเข้มหรือเกือบดำที่เรียกว่ามีโคเนียม (meconium) ทารก จะสะสมมีโคเนียมไว้ในช่องท้องในระหว่างที่อยู่ในครรภ์แม่และจะถ่ายมันออกมา ในช่วง 1-2 วันแรก เมื่อถึงวันที่ 3 อุจจาระควรจะสีอ่อนลง
หลังจากที่เด็กได้กินนมแม่เพิ่มขึ้น ตามปกติเมื่อถึงวันที่ 5
อุจจาระควรจะมีลักษณะเหมือนอุจจาระที่เกิดจากนมแม่แล้ว
อุจจาระจากนมแม่จะค่อนข้างเหลวจนถึงเป็นน้ำ สีเหลืองมัสตาร์ด
และมักจะมีกลิ่นเล็กน้อย
อย่างไรก็ตามลักษณะของอุจจาระอาจแตกต่างไปจากนี้มากก็ได้
มันอาจจะเป็นสีเขียวหรือสีส้ม อาจมีคราบน้ำนมหรือเมือกปนอยู่ด้วย
หรืออาจจะเป็นฟองคล้ายครีมโกนหนวด (เนื่องจากฟองอากาศ)
ความแตกต่างของสีสันไม่ได้แสดงว่ามีสิ่งผิดปกติ
สำหรับทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียวและเริ่มถ่ายอุจจาระที่มีสีอ่อนลงใน
วันที่ 3 นั่นหมายความว่าเขามีอาการปกติดี

 

การสังเกตความถี่และปริมาณการถ่ายอุจจาระของลูก (โดยไม่หมกมุ่นหรือวิตกกังวลกับมันมากเกินไป) เป็นหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดในการดูว่าลูกกินนมได้มากพอหรือเปล่า (รองจากการสังเกตวิธีการดูดนมที่กล่าวไปแล้วข้างต้น) หลังจากผ่านไป 3-4 วัน
ทารกควรจะถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น
และเมื่อถึงหนึ่งสัปดาห์เขาควรจะถ่ายอุจจาระอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อวัน
โดยอุจจาระควรจะเป็นสีเหลือง
ยิ่งไปกว่านั้นทารกส่วนใหญ่มักจะอุจจาระใส่ผ้าอ้อมทุกครั้งที่แม่ให้กินนม ถ้าหากลูกยังคงถ่ายออกมาเป็นมีโคเนียมในวันที่ 4 หรือ 5 คุณแม่ควรจะพาไปหาหมอภายในวันเดียวกัน ทารกที่ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีน้ำตาลอย่างเดียว อาจจะหมายความว่าเขากินนมไม่ได้มากพอ แต่นี่ก็ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่เชื่อถือสักเท่าไร

 

ทารก ที่กินนมแม่บางคน หลังจากผ่านไปประมาณ 3-4 สัปดาห์ จู่ๆ อาจจะเปลี่ยนเวลาการถ่ายอุจจาระจากวันละหลายๆ ครั้ง ไปเป็น 1 ครั้งทุกๆ 3
วันหรือห่างกว่านั้น  ทารกบางคนอาจจะยืดเวลาไปถึง 15
วันหรือมากกว่าโดยไม่มีการถ่ายอุจจาระเลย ตราบเท่าที่ทารกยังมีอาการอื่นๆ
เป็นปกติดี และอุจจาระที่ถ่ายออกมายังคงเป็นสีเหลืองและมีลักษณะเหลวนุ่ม
ก็ไม่ถือว่าเขามีอาการท้องผูกและไม่ใช่เรื่องที่ต้องวิตกกังวลแต่อย่างใด ไม่จำเป็นต้องพาลูกไปพบแพทย์เพื่อบำบัดรักษา เพราะไม่มีความจำเป็นต้องบำบัดรักษาอาการที่เป็นปกติดี

สำหรับ ทารกอายุตั้งแต่ 5-21 วันที่ไม่ได้ถ่ายอุจจาระปริมาณมากๆ อย่างน้อย 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง ควรถูกพาไปพบผู้เชี่ยวชาญที่คลินิกนมแม่ในวันเดียวกัน
โดยทั่วไปการถ่ายอุจจาระปริมาณน้อยๆ และไม่บ่อย
ในช่วงอายุเท่านี้จะเป็นการแสดงว่าทารกกินนมได้ไม่เพียงพอ 
แน่นอนว่ามีข้อยกเว้นสำหรับข้อสังเกตนี้ บางทีทารกก็อาจจะปกติดี
แต่จะเป็นการดีกว่าถ้าเขาได้รับการตรวจเช็คจากผู้เชี่ยวชาญ

 

3. ปัสสาวะ หลังจากทารกอายุประมาณ 4-5 วัน ถ้าเขาฉี่จนผ้าอ้อมเปียกชุ่ม 6 ผืนใน 24 ชั่วโมง (เน้นว่าเปียกชุ่ม ไม่ใช่แค่เปียกๆ) คุณแม่สามารถจะแน่ใจได้ค่อนข้างมากว่าลูกกินนมได้มากเพียงพอ
(ในกรณีที่ให้กินนมแม่เพียงอย่างเดียว)
อย่างไรก็ตามผ้าอ้อมสมัยใหม่แบบใช้แล้วทิ้งที่โฆษณาว่าซูเปอร์ดรายมักจะให้
สัมผัสที่ค่อนข้างแห้งถึงแม้ว่าจะกักเก็บปัสสาวะไว้จนเต็มแผ่น
แต่ผ้าอ้อมที่เต็มไปด้วยปัสสาวะจะต้องหนัก
แน่นอนว่าการสังเกตปริมาณปัสสาวะนี้ใช้ไม่ได้ในกรณีที่คุณแม่ให้ลูกกินน้ำ
เพิ่มเติมนอกเหนือจากการให้กินนมแม่
(ซึ่งการให้กินน้ำเพิ่มเติมไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับทารกที่กินนมแม่เลย
ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม และยิ่งถ้าคุณแม่ให้ลูกกินน้ำโดยใช้ขวด
มันก็อาจจะไปรบกวนหรือส่งผลกระทบกับการดูดนมแม่อีกด้วย)
หลังจากผ่านไปสามสี่วัน ปัสสาวะของทารกควรจะจางลงจนแทบไม่มีสี
แต่การมีปัสสาวะที่สีเข้มขึ้นเป็นครั้งคราวก็ไม่ใช่เรื่องต้องวิตกกังวลแต่
อย่างใด

 

หลัง จากมีอายุได้ 2-3 วัน ทารกบางคนอาจจะปัสสาวะเป็นสีชมพูหรือแดง นี่ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องตื่นตระหนกและไม่ได้หมายความว่าทารกขาดน้ำ
ยังไม่มีใครรู้สาเหตุว่าเกิดอะไรขึ้นหรือว่ากระทั่งว่ามันเป็นสิ่งผิดปกติ
หรือเปล่า
แน่นอนว่ามันเกี่ยวข้องกับการกินนมปริมาณน้อยกว่าของเด็กกินนมแม่เปรียบ
เทียบกับเด็กที่กินนมผสม
แต่เด็กที่กินนมผสมก็ไม่ใช่เกณฑ์มาตรฐานที่จะนำมาใช้ตัดสินเด็กที่กินนมแม่
อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดมีปัสสาวะที่มีสีเช่นนี้ขึ้น
คุณแม่ควรจะใส่ใจกับการทำให้ลูกงับหัวนมได้ดีและทำให้เขาสามารถกินนมได้ในระหว่างที่ดูดนมจากเต้านม ช่วงวันแรกๆ ทารกต้องรู้จักที่จะงับหัวนมของแม่ได้ เขาจึงจะสามารถกินนมแม่ได้

 

การให้ทารกกินน้ำจากขวด, ถ้วย หรือจากปลายนิ้ว จะไม่ช่วยแก้ปัญหานี้ แต่จะแค่ช่วยให้ทารกออกจากโรงพยาบาลได้เพราะปัสสาวะของเขาไม่เป็นสีแดงแล้ว
การแก้ไขวิธีการที่ทารกงับหัวนมและการบีบหน้าอก มักจะแก้ปัญหานี้ได้
(ดูแผ่นพับ
B เรื่อง วิธีการเพิ่มปริมาณการกินนมแม่ให้กับทารก)

แต่ถ้าหากว่าการแก้ไขวิธีการงับหัวนมและการบีบหน้าอกไม่ทำให้ทารกกินนมได้
มากขึ้น ก็ยังมีวีธีอื่นๆ
ที่จะทำได้ทารกได้รับของเหลวมากขึ้นโดยไม่ต้องใช้ขวดนม (ดูแผ่นพับที่ 5 เรื่องการใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมหรือ lactation aid
) นอกจากนี้การจำกัดระยะเวลาหรือความถี่ในการให้นม ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทารกกินนมได้น้อยลงด้วยเหมือนกัน

 

ข้อสังเกตเหล่านี้ไม่ใช่วิธีการที่ดีในการตัดสินว่าลูกกินนมได้มากพอหรือไม่

 

1.      คุณแม่ไม่มีอาการคัดเต้านม เป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ส่วนใหญ่ที่จะไม่รู้สึกคัดเต้านมในระยะสองสามวันแรกหรือกระทั่งสัปดาห์แรกหลังคลอด  ร่าง กายของคุณแม่จะปรับตัวตามความต้องการของลูก การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะเกิดขึ้นอย่างค่อนข้างฉับพลัน
คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่บางคนสามารถให้นมลูกได้อย่างปกติดีไปตลอดโดยไม่
เคยมีอาการคัดเต้านมเลย

 

2.      ลูกนอนหลับได้ตลอดทั้งคืน อาจจะไม่ได้หมายความว่าทารกกินนมจนอิ่มพอเสมอไป ทารกอายุ 10 วันที่นอนหลับได้ตลอดทั้งคืน อาจจะไม่ได้รับนมมากเพียงพอ
ทารกที่ง่วงนอนมากเกินไปจนต้องถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมากินนม หรือทารกที่
เลี้ยงง่าย ไม่ร้องงอแงเลย ก็อาจจะไม่ได้รับนมมากเพียงพอ แน่นอนว่าอาจจะมีข้อยกเว้นในเรื่องนี้ แต่คุณแม่น่าจะขอคำแนะนำจากแพทย์โดยเร็ว

 

3.      ลูกร้องไห้งอแงหลังจากให้นมเสร็จแล้ว แม้ว่าทารกอาจจะร้องไห้หลังจากกินนมเพราะยังไม่อิ่ม แต่ก็อาจจะมีสาเหตุอื่นที่ทำให้ทารกร้องไห้งอแงด้วย (เช่น อาการโคลิก
ดูแผ่นพับที่ 2 เรื่องอาการโคลิกในทารกที่กินนมแม่)
อย่าจำกัดระยะเวลาในการให้นม ควรให้ลูกกินนม
ให้หมดข้างแรกก่อน แล้วจึงเปลี่ยนให้เขาไปกินอีกข้างหนึ่ง

 

4.      ลูกกินนมบ่อย หรือ กินนมเป็นระยะเวลานาน สำหรับคุณแม่คนหนึ่ง การให้ลูกกินนมทุกๆ 3 ชั่วโมงอาจจะเรียกว่าบ่อย แต่สำหรับคุณแม่อีกคนหนึ่งการให้นมทุก 3 ชั่วโมงอาจจะห่างเกินไป สำหรับคุณแม่คนหนึ่งการให้ลูกกินนมนาน 30 นาที อาจจะถือว่านาน แต่กับคุณแม่อีกคนหนึ่งอาจจะถือว่าไม่นาน ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าควรจะให้นมลูกนานเท่าไรหรือบ่อยแค่ไหน
มันไม่เป็นความจริงที่ว่าทารกจะกินนม
90% ของปริมาณที่กินได้ในแต่ละครั้งในช่วง 10 นาทีแรก ปล่อยให้ลูกเป็นคนกำหนดตารางการกินนมของเขาเอง ถ้าทารกสามารถดูดและกินนมจากเต้านมได้ และถ่ายอุจจาระเป็นสีเหลืองปริมาณมากๆ อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อวัน ก็แสดงว่าทุกสิ่งทุกอย่างราบรื่นดี อย่าลืมว่าคุณอาจจะให้นมลูกนาน 2 ชั่วโมง แต่ถ้าเขาได้กินนมหรือดูดนม (โดยมีการ อ้าปากกว้างหยุดปิดปาก) จริงๆ เพียงแค่ 2 นาที เขาก็จะยังรู้สึกหิวอยู่ดี ถ้าทารกผล็อยหลับไปอย่างรวดเร็วในระหว่างให้นม คุณแม่สามารถบีบหน้าอกเพื่อช่วยให้น้ำนมไหลอย่างต่อเนื่องได้ (ดูแผ่นพับ 15 เรื่องการบีบหน้าอก)
ถ้าคุณแม่ยังมีความวิตกกังวล ก็อาจขอคำปรึกษาจากคลีนิกนมแม่ได้
แต่ยังไม่ควรเริ่มให้นมเสริมในทันที
ถ้าหากว่าการให้นมเสริมเป็นสิ่งที่จำเป็นจริงๆ
ก็ยังมีการให้อาหารเสริมวิธีอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้จุกนมยาง (ดูแผ่นพับที่ 5 เรื่องเรื่องการใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมหรือ lactation aid
)

 

5.      ฉันปั๊มนมได้แค่ครึ่งออนซ์ เรื่อง นี้ไม่มีความหมายอะไรเลย และมันไม่ควรจะส่งผลกระทบอะไรกับคุณด้วย ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรจะปั๊มนมเพียงเพราะต้องการจะรู้ว่าจะได้น้ำนมปริมาณ
เท่าไร คุณแม่ส่วนใหญ่มีน้ำนมมากมายเพียงพอ
แต่ปัญหามักเกิดจากการที่ทารกไม่สามารถกินนมที่คุณแม่มีอยู่ได้ต่างหาก
ซึ่งอาจเกิดจากเขาไม่สามารถงับหัวนมได้อย่างถูกต้อง
หรือเขาไม่สามารถดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ ทั้งสองอย่าง
ปัญหาเหล่านี้มักจะแก้ไขได้อย่างง่ายดาย

 

6.      ทารกยังจะกินนมขวดต่อหลังจากกินนมแม่แล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าเขายังหิวอยู่เสมอไป และไม่ใช่วิธีการทดสอบที่ดีด้วย เนื่องจากการให้กินนมขวดอาจจะไปรบกวนการกินนมจากอกแม่

 

7.      จู่ๆ ทารกวัย 5 สัปดาห์ก็ดึงตัวเองออกจากเต้านมแม่ แต่ก็ยังมีทีท่าว่าหิวอยู่ นี่ไม่ได้หมายความว่า น้ำนมของคุณแม่กำลังจะแห้ง หรือมีปริมาณลดลงแต่อย่างใด ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ระหว่างที่คุณแม่ให้นม
ทารกมักจะผล็อยหลับไปเวลาที่น้ำนมไหลช้าลงถึงแม้ว่าเขาจะยังกินไม่อิ่ม
แต่เมื่อเขาโตขึ้น (ประมาณ
4-6 สัปดาห์)
เขาจะไม่ผล็อยหลับในระหว่างกินนมเหมือนเดิมแล้ว
แต่จะดึงตัวเองออกจากเต้านมหรือแสดงอาการหงุดหงิดแทน
ปริมาณน้ำนมของคุณแม่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่พฤติกรรมของลูกต่างหากที่เปลี่ยน
คุณแม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการบีบหน้าอกเพื่อช่วยเพิ่มการไหลของน้ำนม
(ดูแผ่นพับที่
15 เรื่องการบีบหน้าอก)

 

หมายเหตุเกี่ยวกับตาชั่งและน้ำหนัก

 

1. ตาชั่ง แต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน เรามีหลักฐานมากมายที่แสดงว่าตาชั่งแต่ละเครื่องแตกต่างกันอย่างมาก
บ่อยครั้งที่มีการจดน้ำหนักผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
นอกจากนี้ผ้าอ้อมที่เปียกชุ่มอาจจะหนัก
250 กรัม (หรือ 1/2 ปอนด์) หรือมากกว่า ดังนั้นควรชั่งน้ำหนักทารกโดยไม่ใส่ผ้าอ้อม หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมผืนใหม่ก่อนชั่งน้ำหนัก

 

2. กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเพิ่มน้ำหนักตัวส่วนใหญ่นำมาจากการสังเกตการเจริญเติบโต
ของเด็กที่กินนมผสม กฎเกณฑ์เหล่านี้อาจจะใช้ไม่ได้ในเด็กที่กินนมแม่ แม้
ว่าทารกที่กินนมแม่จะมีการเพิ่มน้ำหนักอย่างช้าๆ ในช่วงแรก
แต่เราสามารถชดเชยในภายหลังได้
โดยการแก้ไขวิธีการให้ลูกกินนมแม่ให้ถูกต้องขึ้น
ตารางแสดงพัฒนาการของการเจริญเติบโตควรใช้เป็นเพื่อเป็นแนวทางเท่านั้น

 

 

แผ่นพับที่ 4 - ลูกกินนมได้มากเพียงพอหรือเปล่า (สิงหาคม 2549)

แปลและเรียบเรียงโดย นิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์

Views: 620

Replies to This Discussion

โอ้ว..ความรู้เพียบเลย ขอบคุณค่ะ
กินแค่สี่เดือนเอง ไม่เอานมแม่แล้วทั้งๆที่คัดนม ต้องปั๊มนมใส่ขวดแทน
ดีใจจังเลย เป็นบทความที่ดีและให้ความรู้มากคะ ขอบคุณคะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service