เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

 A. ปัจจุบันการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยนั้น ยังคงใช้ระบบท่องจำคำศัพท์ และอ่านออกเสียงแต่ละคำตามครูผู้สอน เช่นเดียวกับวิธีการที่เราเคยเรียนมาในอดีต ซึ่งหากครูผู้สอนขาดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง ย่อมทำให้ผู้เรียนจำวิธีการออกเสียงไปใช้อย่างคลาดเคลื่อน ประสบปัญหาในการสื่อสาร ซึ่งบ่อยครั้งที่เราเองยังรู้สึกว่าพูดไปอย่างไร ผู้ฟังซึ่งเป็นเจ้าของภาษาก็ไม่สามารถเข้าใจคำพูดที่เราต้องการสื่อสารได้ 

B. ระบบ Phonics สอนให้เด็กรู้จักเสียงที่ถูกต้องของตัวอักษร ไม่ได้ให้อ่านตามชื่อตัวอักษรเท่านั้น...

ในระบบปกติเด็กๆ จะถูกสอนให้อ่าน A=เอ, B=บี , C=ซี  แต่เมื่อเรียนตามระบบ Phonics จะอ่านออกเสียง A=แอะ, B=เบอะ, C=เคอะ 
ดังนั้นเวลาผสมคำว่า CAT จะต้องสะกด "เคอะ-แอะ-เทอะ=แคท" ไม่ใช่ "ซี-เอ-ที=แคท" ซึ่งทำให้เด็กสามารถอ่านหรือสะกดคำได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยการท่องจำคำศัพท์ (เช่น "ซี-เอ-ที-แคท-แปลว่าแมว") แต่เป็นการอ่าน จากความเข้าใจในระบบการออกเสียงที่ถูกต้องตามหลัก Phonics
       เราเคยสังเกตหรือไม่ว่า ตัวอักษร C ออกเสียงอย่างไร ในเวลาใช้ตัว C ในการผสมคำต่างๆ เช่น CAT, COOK, CUP หากออกเสียงตามชื่อเรียกตัวอักษร "ซี" เราจะไม่สามารถออกเสียงเป็นคำว่า "แคท" ได้เลย (น่าจะเป็นเสียง "แซด" เสียมากกว่า) ฉะนั้นตามที่เราเรียนมาแบบดั้งเดิม จึงเป็นเพียงการสอนให้จำเสียงของคำที่เราได้ยินจากการเรียกชื่อตัวอักษรเท่านั้น และนั่นหมายความว่าเราไม่เคยรู้จักเสียงที่แท้จริงของตัวอักษรหรือสามารถออกเสียงที่ถูกต้องของตัวอักษรนั้นๆ เลย
C. การถอดรหัสเสียงในระบบ Phonics จะช่วยสร้างความเข้าใจในการออกเสียงหรือผสมคำในภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักตัวอักษรและคำศัพท์โดยไม่ต้องอาศัยการท่องจำ แม้แต่คำที่เราไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินมาก่อนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน เช่นเดียวกับเจ้าของภาษา ขณะที่เด็กที่ผ่านการเรียนแบบท่องจำมาตลอด จะรู้จักเฉพาะคำศัพท์ที่ท่องมาเท่านั้น
D. สิ่งสำคัญของการเรียนระบบ Phonics แท้จริงแล้วไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การออกเสียงเท่านั้น แต่ยังสร้างความสามารถในด้านการผสมเสียงและสะกดคำ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสู่ทักษะการอ่านจับใจขั้นสูง และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ได้เร็วยิ่งขึ้น  ซึ่งจะทำให้เด็กที่เรียนในระบบนี้รักการอ่านและการเขียน ซึ่งนับเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเปิดโลกใบนี้ให้กว้างขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดขอบเขตของการเรียนรู้อยู่ที่แหล่งความรู้ที่เป็นภาษาไทยเพียงอย่างเดียว
E. ที่สำคัญระบบการเรียนแบบโฟนิกส์นั้น มีความสัมพันธ์กับการเรียนภาษาอังกฤษในทุกๆ ทักษะ ไม่ว่าจะเป็นฟัง พูด อ่าน เขียน หรือสะกดคำ จะเห็นได้ว่าเมื่อเด็กสามารถแยกแยะหน่วยเสียงได้ จะทำให้ฟังได้ง่ายขึ้นเมื่อฟังเจ้าของภาษาพูดหรือสนทนา (Listening) และเมื่อเข้าใจที่พูดก็จะสามารถโต้ตอบได้ (Speaking) และเมื่อพบคำใหม่ ก็ใช้จะหลักแยกแยะหน่วยเสียงอ่านได้ (Reading) ซึ่งเมื่อสามารถอ่านได้ก็จะสามารถเขียนคำตามที่อ่านได้ (Spelling และ Writing) นั่นเอง 
 
F. นอกจากนั้นยังมีผลสรุปงานวิจัยด้านการเรียนรู้ทางด้านสมอง (Brain-based learning /Neuron-scientific research) ของมหาวิทยาลัยเยล ที่ได้ทำการสแกนสมองของผู้เรียนภาษาอังกฤษด้วยวิธีการแบบโฟนิกส์ กับวิธีการสอนแบบดั้งเดิม สรุปไว้ว่า วิธีการสอนแบบโฟนิกส์นั้น ช่วยกระตุ้นเซลล์สมอง ทำให้มีการสร้างเส้นใยสมองใหม่ ทั้งทำให้เส้นใยสมองเดิมแตกตัวและเบ่งบานอย่างถาวร มีผลทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนภาษาอังกฤษสูง เมื่อเปรียบเทียบกับการสอนด้วยวิธีอื่นๆ
 
ข้อมูลจาก

Views: 3077

Reply to This

Replies to This Discussion

Totally Agree. ช่วยได้มากจริงๆค่ะ ทุกวันนี้แพทเรียนไปพร้อมกับลูกด้วย หลายๆคำที่นึกคำสะกดไม่ออก ก็จะใช้วิธีออกเสียงตามทีละตัวทีละพยางค์
เมืองไทยเค้าก็น่าจะสอนอย่างนี้ไปเลยเนอะคุณแพท ไม่น่าเลยเนอะ วันนี้ลิงที่บ้าน A ANT มด แต่คำว่ามดออกเสียงเป็นเหมือน ภาษาอังกฤษอะ ลูกฉัน

เลยบอก A ANT ก็พอลูก ไม่ต้อง โมด หรอก
555 แพทมีปัญหาเหมือนกันค่ะ ลูกแพทพูดเป็นกระเหรี่ยงตกดอยเลย
สวัสดีค่ะคุณปอ

ขอบคุณมากนะค่ะ แต่อย่าถึงกับยกเป็นอาจารย์เลยนะค่ะ มันคงไม่ค่อยดีเท่าไหร่ คิดว่าบารมีไม่ถึงค่ะ (อิอิ)

ถ้าเคยได้อ่านที่แพทเคยแสดงความคิดเห็นเกียวกับเรื่อง Phonics จะทราบว่าแพทเคยบอกไปว่า คำในภาษาอังกฤษมีหลายคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอื่นเช่น กรีก หรือฝรั่งเศส ซึ่งคำพวกนั้นและอีกหลายคำจะใช้ Phonics ไม่ได้ เพราะจะทำให้สับสนในการออกเสียง ทำให้แพทเห็นด้วยกับคุณปออีกเช่นกันว่า "ไม่ใช่ 100% ของคำทั้งหมดที่จะ spell ได้ ตามหลัก phonics ซึ่งก็คือการ decode เสียงที่ได้ยินให้มาเป็นตัวอักษร หรือ decode ตัวอักษรให้เป็นเสียงอ่าน"

แต่ที่แพทเห็นด้วยกับคุณแอนตรงที่ว่า แพทเคยเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนที่เมืองไทย ที่ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบท่องจำ คุณพ่อแพทเคยให้นั่งท่องคำศัพท์จาก Dictionary ในรถทุกวันตอนที่ท่านขับรถไปส่งที่โรงเรียน ต้องท่องให้ได้ก่อนถึงโรงเรียนด้วย ซึ่งยอมรับว่าตอนนั้นมันก็เข้าหัวไปซักพัก แล้วก็เด้งกลับออกมา เท่าที่แพทสังเกตตัวเอง แพทเป็นคนที่จำโดยใช้กึ่ง Photographic memory คือจะจำอะไรต้องเขียนออกมาห้เห็นภาพ ให้ท่องในใจจะจำได้ไม่ดีถึงกับจำไม่ได้เลย ยกเว้นว่าถ้าแพทเข้าใจหลักการนั้นๆ แพทถึงจะจำได้ ฉะนั้นคำศัพท์ต่างๆ การสะกดคำ แพททำได้แย่มากๆ แต่พอลูกเข้าเรียนที่โรงเรียนแล้ว ปีแรกที่เข้าเรียน น้องนิวได้คำศัพท์เร็วมาก รู้จักการอ่านออกเสียงคำโดยใช้เทคนิค phonics ที่คุณครูสอนมา แพทเองพอลูกเริ่มเรียน ก็ต้องทำความเข้าใจเรื่อง phonics ไปพร้อมกับลูก แล้วเราก็ได้สังเกตเห็นว่า ทุกวันนี้ การสะกดคำของตัวเราเองก็ดีขึ้น การที่ลูกเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆก็ได้มากขึ้น แพทคิดว่าเพราะเราเข้าใจการออกเสียงมากขึ้นด้วยนะค่ะ

ขอยกตัวอย่างว่า เวลาถ้าลูกมาถามว่า คำว่า Student สะกดยังงัย แพทจะใช้วิธีให้ลูกฟัง แพทจะออกเสียงให้เค้าฟังอีกทีว่ามีเสียงอะไรบ้าง จากนั้นก็แยกที่ละพยางค์ ให้น้องนิวค่อยๆคิดตามว่ามันควรที่จะต้องมีอักษรตัวไหนบ้างในคำๆนี้ แพทจะไม่บอกให้เค้าท่องจำเหมือนกับที่แพทเคยท่องนะค่ะ

ส่วนเรื่อง whole language นั้นทางโรงเรียนก็นำหลักการนี้มาใช้กับเด็กที่เริ่มต้นด้วยเช่นกันค่ะ ทางคุณครูเค้าจะมีคำเบสิกเป็นชาร์ตมาให้เด็กเลยค่ะ ใบนึงจะมีซัก 20-25 คำ ทำเป็นวงๆเอาไว้ ให้เด็กเริ่มต้นหัดเขียน โดยมีคำเริ่มแบบง่ายๆเลยเช่น I, a, An, Is, Are, The ไปจนถึงคำศัพท์บางคำที่ยากกว่า คุณครูจะถามเด็กทีละคน ว่าหนูต้องการจะเขียนประโดยคว่ายังงัย พอเด็กบอกมา ก็จะให้นักเรียนดูที่ชาร์ตว่ามีคำที่เราต้องการจะใช้ไหม ให้เด็กก๊อปปี้เอา ส่วนคำไหนที่ยากกว่าระดับหรือไม่มี คุณครูก็จะช่วยอีกที ในห้องเรียนของน้องนิวก็จะมีคำศัพท์ต่างๆมากมายติดไว้เป็นคำๆ รอบห้อง เป็นกลุ่มๆ ให้เด็กได้เงยหน้ามองหาคำเวลาที่ตัวเองนึกไม่ออก เขียนไม่ถูกได้ค่ะ ถือเป็นตัวช่วย


แพทอยากเรียนให้ทราบว่า ที่บอกว่า Total agree นั้น เป็นเพราะมันเป็นการสอนในแบบที่ทำให้เด็กเข้าใจถึงเบสิก หลักการออกเสียง และสะกดคำ ซึงอย่างที่บอกว่า มันช่วยแพทกับลูกได้มากจริงๆ เราถึงกล้าพูด แต่การเรียนภาษาอังกฤษ มีหลายเทคนิคการเรียนการสอนคะ Phonics ไม่ใช่ทางเลือกเดียวหรือทางเลือกสุดท้าย แพทคิดว่าเราควรที่จะต้องเรียนควบคู่กันไปมากกว่าค่ะ

ส่วนเรื่องการอ่านให้ลูกฟังเยอะๆนี่ บอกได้เลยว่าที่นี่เค้าสนับสนุนให้อ่านหนังสือให้ลูกฟังตั่งแต่ในท้องเลยละค่ะ ฉะนั้นก่อนนอนทุกคืนเป็นอย่างน้อยที่เราควรที่จะต้องมีเวลาให้แก่กัน โดยการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ถ้ากลางวันมีเวลาจัดเป็นช่วงสงบศึกจากการเล่น การอ่านหนังสือให้เค้าฟังจะช่วยส่งเสริมทั้งทางด้านภาษาและความสัมพันธ์ภายในครอบครัวได้ดีทีเดียวค่ะ (ตอนนี้แพทขี้โกงนิดนึง ให้น้องนิวอ่านนิทานให้น้องฟัง แต่แม่จะมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ฟังด้วยนะค่ะ)

ท้ายที่สุด อย่าขออภัยเลยนะค่ะ สำหรับความคิดเห็นของคุณปอ เราถือว่าเรามาแชร์ความรู้และความคิดกันค่ะ อย่าลืมสิค่ะว่าที่นี่คือแหล่งภูมิปัญญาร่วม ที่คุณบิ๊กจัดสรรเนื้อที่มาให้เราได้มีส่วนร่วมตรงนี้ ใช้มันให้เต็มที่ค่ะ

คิดต่างไม่ใช่เรื่องผิด เราเอามาแชร์กันเพื่อที่เราจะได้เดินไปด้วยกันได้งัยค่ะ

ด้วยความนับถือเช่นกันค่ะ
แพท
พึ่งอ่านอันนี้ http://www.educationworld.com/a_curr/curr029.shtml จบหลังตอบจากความรู้สึกส่วนตัวไปแล้ว
ก็ยิ่งเห็นด้วยถึงการใช้เทคนิคควบคู่กันไปค่ะ และได้แต่หวังว่าการศึกษาไทยจะสามารถพัฒนา และยกระดับการสอนภาษาขึ้นไปได้นะค่ะ เพราะที่จริงแล้ว คนไทยเราเก่งไม่แพ้ชาติไหน ขอแค่ให้เราได้สามารถแสดงศักยภาพของเราออกมาให้ทั่วโลกได้รับรู้เท่านั้น คนเ่ก่งหลายๆคนที่เก่ง แต่สื่อสารออกไปไม่ได้เท่านั้นเอง ..แป้วเลย
เปล่าหรอกคะคุณปอ พอดีแอนเห็นตอนนี้ในเวปเรากำลังฮิตphonicsกันอยู่ แอนก็เลยอยากให้เพื่อนๆเค้าได้รู้กันเท่านั้นแหละคะ เอามาแชร์กับเค้าบ้างหนะคะ

ก็แล้วแต่ความคิดหละคะ แอนก็ว่าแอนไม่ได้ถนัดเรื่องphonicกับเค้าเหมือนกัน ก็คงจะสอน ซี เอ ที แคท ไปตามประสาแอนนั้นแหละคะ

ขอบคุณนะคะคุณปอสำหรับความเห็น แอนไม่ได้คิดว่าเป็นความคิดเห็นที่แตกต่างที่ทำให้เราแตกแยกหรอกคะ นี่แอนก็ต้องไปค้นเรื่องwhole language ที่คุณปอแนะนำอีกคะ เอาอะไรก็ได้ที่เหมาะกับเราหรือที่เราถนัดดีกว่าเนอะ

ด้วยความนับถือ (ทางการกันจังเนอะ)

แอนคะ
พอดีพี่เม่ยมีคำถามเข้าไปถามที่กระทู้แพทนะค่ะ ก็เลยอยากจะเอามาแชร์ที่นี่ด้วย
เพราะคิดว่าอันนี้น่าจะตอบคำถามเรื่องการใช้ Whole Langauge and Phonics ควบคู่กันไป(จากประสบการ์ณของแพท)ได้ดีกว่านะค่ะ

ที่พี่เม่ยว่า "whole language เป็นจุดเริ่มของการเขียน แต่โฟนิกส์เป็นจุดเริ่มของการอ่าน" เท่าที่แพทสังเกตการเรียนการสอนของที่นี่นะค่ะ จริงๆแล้ว Whole language มีส่วนช่วยอยู่มากค่ะ เพราะจริงอยู่ว่าการสอน Phonics เป็นการสอนให้เด็กเข้าใจการสะกดคำแต่ละคำ แต่ถ้าบอกจริงๆว่าเริ่มต้นกันเลยสำหรับการอ่านนะค่ะ คุณครูที่นี่จะมีสมุดนิทานเล็กๆ ง่ายๆ (เหมือนที่บ้านเรามีดรุณศึกษา) หลักการคือคนอ่าน อ่านให้เด็กฟังโดยชี้ไปที่คำแต่ละคำที่ออกเสียง แล้วบางครั้งก็จะถามเด็กว่าคำที่ออกเสียงไปเป็นคำไหน ให้เด็กชี้ไปที่คำนั้น เด็กก็จะเรียนรู้คำจำคำเหมือนเป็นภาพ โดยที่ไม่ได้สะกดหรือรู้วิธีการสะกดคำ จากนั้นเวลาหัดเขียน คุณครูก็จะให้เด็กนึกประโยคขึ้นมา แล้วมองหาคำแต่ละคำจากประโยคนั้นในชาร์ตคำที่คุณครูเตรียมไว้ แล้วก็ให้เด็กหัดเขียนโดยก๊อปปี้คำๆนั้นลงในกระดาษนะค่ะ

แต่หลังจากนั้น พอถึงเวลาที่เด็กๆจะต้องรู้จักการสะกดคำด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ใช้ชาร์ต Whole language ช่วยแล้ว เด็กๆต้องเรียนรู้วิธีนี้ด้วยวิธีการออกเสียงตัวอักษรแบบ Phonics การอ่านหนังสือก็เช่นกัน พอถึงในระดับที่ยากขึ้น มีคำใหม่ๆ Phonics ก็จะช่วยในการอ่านคำๆนั้นเหมือนกัน หรือการเขียน การเรียนรู้คำใหม่ๆ Phonics ก็จะเข้ามามีส่วนช่วยค่อนข้างมาก แต่ก็มีจุดบอดตรงที่คำในภาษาอังกฤษนั้น มีหลายคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอื่น ฉะนั้นการออกเสียงไล่ที่ละตัวอักษรของคำเหล่านั้นจะใช้วิธี Phonics ช่วยไม่ได้ แต่พอถึงตอนนั้นแพทคิดว่าเด็กก็จะโตพอที่จะเรียนรู้วิธีการจดจำคำศัพท์เหล่า นั้นเองได้

วิธีที่แพทสอนน้องนิว มีทั้งการอ่านนิทานในแบบที่ชี้ไปทีละคำให้เค้ารู้จักคำๆนั้นทีละตัว และก็อ่านออกเสียงสะกดคำแบบ Phonics แล้ว น้องนิวจะมีคำศัพท์ให้กลับมาท่องที่บ้าน แต่วิธีการท่องไม่เหมือนกันของเราสมัยเด็กๆที่ต้องท่องจำ แต่น้องจะออกเสียงคำทั้งคำ แล้วก็สะกดออกมา คำไหนที่เค้าติด แพทก็จะใช้การออกเสียงแบบ Phonics ช่วยที่ละตัวอักษร แล้วให้เค้าบอกชื่อของเสียงตัวอักษรนั้นออกมานะค่ะ บางทีการแยกคำอาจจะไม่ได้แยกทุกตัวอักษร เพราะคำบางคำสามารถแยกออกมาเป็นคำซ้อนอยู่ข้างในอีกที เช่น What wh-at หรือ w-hat w-h-at เป็นต้นนะค่ะ ก็สนุกดีนะค่ะ เพราะเราก็ได้รู้จักสังเกตด้วยว่าในคำแต่ละคำมีศัพท์อะไรซ่อนอยู่มั่ง อย่าง Yesterday นิวเค้าจะรู้จักคำว่า Yesและ Day มาจาก whole language อยู่แล้ว แพทก็จะบอกเค้าว่า Yes t-เทอะ er-เออะ day เค้าก็สะกดออกมาได้นะค่ะ

ยาวเลย หวังว่าคงไม่งงนะค่ะ
ชวนคุยต่อนะค่ะ ขอบคุณคุณปอ มากเลย คือตอนนี้ลูกๆ ที่บ้านก็โตมากเลยค่ะ คนโต อายุ 10 ขวบ คนเล็ก 9 ขวบ จริงๆ ก็สอนเค้ามาตลอดเหมือนกันค่ะ แต่ว่าทำแบบมั่วๆ มากๆ เลย ไม่มีทฤษฎีอะไรทั้งนั้นเลยค่ะ พอดีเจอคุณปอ ก็เลยตามไปอ่านดู รู้สึกทึ่งมากเลยค่ะ อยากจะเดินตามรอย อย่างเรื่องภาษาอังกฤษเนี่ย ก็พยายามหาวิธีอยู่ค่ะ เมื่อก่อนไม่ได้สอนเลย เพราะว่าแม่ไม่เก่ง พูดไม่เก่่ง ฟังก็ไม่เก่ง อ่านได้อย่างเดียว การสอนที่ผ่านมาลูกก็คงจะเบื่อเหมือนกัน ตอนนี้ก็เหมือนเริ่มใหม่เลยค่ะ แม่ก็ไปเรียนเพิ่ม หาหนังสือมาให้เด็กๆ กำลังพยายามดูอยู่ว่าเรื่องไหนที่ลูกชอบ อย่างหนังสือของ Dr. Seuss แล้วก็ We are going on a bear hunt. ลูกชอบมากค่ะ ก็ใช้วิธีโหลดออกมาจาก youtube แล้วมาแปลงไฟล์เป็น MP3 ให้ลูกฟังเสียง อย่างน้องขิม ยั่งอ่านไม่ค่อยเก่่งค่ะ ก็พยายามให้ฟังก่อนแล้วค่อยเอาหนังสือมาให้อ่าน อาทิตย์นี้ให้ฟัง Dr seuss เรื่อง Green eggs and Ham. น้องขิมบอกว่า มีคำว่า Could กับ would ที่เสียงเหมือนกัน อย่างเดียวกับในภาษาไทยก็มีใช่ไหมแม่ ในภาษาไทยมี มา กับ หา ที่เสียงเหมือนกัน ส่วน I spy ก็น่าสนใจนะค่ะ ตอนนี้กำลังเตรียมหนังสืออยู่ค่ะ ได้ล่ะ เดี๋ยวจะเริ่มแล้วค่ะ ถ้ายังไงจะกลับมาเล่าค่ะ แต่คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
สนใจเทคนิคหลอกล่อลูกค่ะ จะได้เอามาเชื่อมโยงกันไงค่ะ เด็กโตเนียต้องมีเทคนิค พี่ว่าคุณปอมีเยอะมากหลายวิธี ตามไปอ่านมาหลายวันแล้วค่ะ ที่บ้านโน้น
ขออธิบายนิดหนึ่งนะค่ะ คืออย่างนี้ค่ะ ที่บ้านซื้อหนังสือทั้งสองเล่มคือ Green eggs and ham ของ Dr.Seuss กับ We are going on a bear hunt. ตอนแรกก็จะให้ฟังเสียงจาก MP3 ก่อนค่ะ แล้วพอฟังจนค่อยๆ คุ้นเคยแล้ว ก็จะเอาหนังสือมาให้อ่านค่ะ ทีนี้เค้าชอบค่ะ ถามหาเล่มอื่นอีกค่ะ ว่าแม่มีอีกไหม ถ้าคุณ supaporn ชอบและอยากได้ file เสียง อาจจะลองส่งไปทาง อีเมล์ ดูก่อนน่าจะได้นะค่ะ ลองแจ้ง email address ไว้ให้ก่อนดีไหมค่ะ
ขอบคุณค่ะคุณปอ

Class เรียนที่นี่จะออกแบบ Active learning มากกว่า Passive learning ค่ะ จนบางทีเราก็ห่วงเรื่องวิชาการของเด็กว่ามันจะได้อะไรกลับมาไหมหนอ ก็แบบยึดติดกับความที่เราเคยเรียนมางัยค่ะ เชื่อไหมว่าการบ้านของเด็กที่นี่ไม่มีเหมือนบ้านเราเลยที่ให้มาทำแบบฝึกหัดเป็นเล่มๆ การบ้านของน้องนิวจะมีกระดาษแปะมา 2 หน้า A4 ใบนึงเป็นการบ้านเลยแบบเป็นโจทย์ให้คิดครึ่งหน้า อีกครึ่งนึงเป็นท่องศัพท์ กับการผสมคำ โดยครูให้ตัวอักษรมา 20 ตัว แล้วให้นักเรียนไปนั่งคิดมาว่าผสมคำ 3 ตัวอักษร 4 ตัวอักษร 5 ตัวอักษร หรือมากกว่านั้นได้อะไรบ้าง อีก 1 หน้ากระดาษจะมีวงๆอยู่ 5-6 วงแล้วแต่อาทิตย์ เป็นโจทย์หรือโปรเจคให้ทำ ที่เคยผ่านมามีโจทย์ให้ทำเช่น ให้วิ่งรอบบ้าน 10 รอบ แล้วอย่าลืมเรียกคนในบ้ามมาแข่งวิ่งด้วยนะ หรือ วัดขนาดขวดต่างๆในบ้านมา 5 ขวด ดูว่าขวดไหนสูงที่สุด เตี้ยที่สุด หรือ ให้หัด juggling ball 3 ลูก หรือ ให้ไปสังเกตดอกไม้ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง หรือ ให้ทำ paper sculpture มาส่ง หรือ ให้สังเกตุ Ramp and Wedges อีกอันค่ะ อันนี้ล่าสุดเลย เพราะน้องนิวอยู่ ป.3 ให้ไปถามเด็กรุ่นน้องว่าชื่ออะไรบ้าง แล้วถามด้วยว่าน้องๆชอบอะไรกัน ทุกอาทิตย์จะมีการบ้านสลับกันมา แต่การบ้านที่นี่มีแค่ 2 หน้ากระดาษ A4 ต่อ 1 อาทิตย์ แถมลงท้ายที่กระดาษด้วยว่า "Home work is optional but valuable to do" คุณหญิงก็รีบบอกเลยว่า ครูบอกว่าไม่ต้องทำก็ได้ ก็มัน optional นี่ค่ะ

เคยถามครูที่โรงเรียน เค้าบอกว่าเด็กๆเรียนที่โรงเรียนพอแล้ว (8:45 - 2:45) การบ้านที่ให้ทำ อย่าให้ทำเกินครึ่งชั่วโมงต่อวัน

แต่ที่นี่ดีอย่างค่ะ ทุกๆปีจะมีการอบรมผู้ปกครองในแต่ละวิชาที่ลูกเรียน ซึ่งของเด็กเล็กก็จะมีแค่ภาษา (รวมการอ่านการเขียน แล้วแต่ระดับของเด็ก) เลข สังคม (ล่าสุดหัวเรื่องคือ Changing and Me) เค้าจะมีแยกอบรมในแต่ละระดับชั้น ว่าคุณครูจะสอนอะไรนักเรียนบ้าง คุณพ่อคุณแม่มีอะไรสงสัยบ้าง มีอุปกรณ์เสริม เป็นเกมส์ (ทำเองค่ะ) ให้เอากลับไปเล่นกับลูกที่บ้าน มี snack เลี้ยง แถมมีจับฉลากของขวัญให้กับผู้ปกครองที่มาร่วมอบรมด้วย อบรมแต่ละครั้งก็ประมาณ 1-2 ชั่วโมงตอนค่ำของวันธรรมดา แพทพยายามจะไปทุกครั้งที่เค้าจัด เพราะคิดว่าเราควรที่จะต้องทราบแนวทางการสอนเด็กของทางโรงเรียน และก็อย่างที่คุณปอบอกคือ เด็กจะประสบความสำเร็จได้ มันต้องเป็นความร่วมมือของทั้งตัวเด็กเอง โรงเรียน และผู้ปกครองค่ะ

แม่แพทคนนี้นี่เสนอหน้าทุกอย่างเลยนะค่ะ งานโรงเรียนมีต้องไป เค้ามีย่างไส้กรอกหาเงินเข้าโรงเรียนเพื่อซื้ออุปกรณ์กีฬา เราก็เสนอหน้าไปทุกครั้งเหมือนกัน ไปช่วยย่างไส้กรอกค่ะ มีกิจกรรมถือศีลอด ให้ทุกคนในโรงเรียนทานข้าวสวย ลูกเราก็สบายทานข้าวทุกวันอยู่แล้ว ขอความร่วมมือจากคุณแม่ๆ ให้ไปช่วยหุ่งข้าว ก็ได้เลย Expert อยู่แล้วหุ่งทุกวัน ด้วยหม้อไฟฟ้า 555 สร้างสัมพันธภาพที่ดี ระหว่าครูกับผู้ปกครองค่ะ สาเหตุหลักๆ คือ แพทเองก็ต้องเรียนรู้ระบบการเรียนการสอนที่นี่ จริงอยู่มาเรียนต่อ ม.ปลายที่นี่ แต่มันก็นานมาแล้ว แถมของเด็กเล็กกะเด็กโตก็ไม่เหมือนกัน ไม่ตีสนิทที่โรงเรียนเอาไว้ เราคงตามเค้าไม่ทันจริงๆค่ะ

อ้าว จากเรื่องการเรียนในห้องเรียน ยาวมาเรื่องสัมพันธภาพของผู้ปกครองกะโรงเรียนไปได้ กลับไม่ถูกแล้ว จบเลยละกันนะค่ะ คริคริ
ไม่เสียแรงตั้งกระทู้จริงๆเลย ได้ความรู้เพิ่มมาเพียบ ดีคะ ชอบ ชอบ ชอบ อิ อิ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service