เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

สวัสดีค่ะสมาชิกหมู่บ้านสองภาษา พอดีวันนี้ไปเจอกระทู้เกี่ยวกับคนที่มีความเห็นแตกต่างจากพวกเราในการเลี้ยงลูกสองภาษาในเวปบอร์ดแห่งหนึ่ง เลยตัดมาให้อ่านกัน แล้วอยากถามเพื่อนสมาชิกว่ามีความเห็นอย่างไรกันบ้างคะ บอกตามตรงว่าข้อความข้างล่างนี้ทำให้เราลังเล เลยอยากขอความมั่นใจจากสมาชิกค่ะ



หลัก OPOL - One Person One Language เป็นหลักที่ดีที่เด็กๆ
จะเรียนภาษาที่ ๒ ที่ ๓ ได้แน่ๆ ถ้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า
คนๆ นั้น ต้องพูดภาษาหลัก (ภาษาธรรมชาติ ที่เป็นภาษาแม่) ของเรากับลูกค่ะ
ไม่ใช่ภาษาอื่นที่เราไม่คุ้น ชิน การเลี้ยงลูก หรือตัวลูก ต้องการทั้งความรู้ (ที่ลูกจะได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม) และ
ความรัก ความเป็นธรรมชาติของครอบครัวไปด้วยพร้อมๆ กันค่ะ คือ การสื่อสารมันเป็นมากกว่า
คำพูด คำศัพท์เท่านั้น มันต้องมีความเป็นธรรมชาติอยู่ด้วย อย่างที่จะได้รู้สึกอบอุ่นได้
ทั้งพ่อ แม่ ลูกค่ะ เราว่า ความสุข และความรู้สึกมันสำคัญไม่น้อยกว่าความรู้ค่ะ โดยเฉพาะ
ในวัยเยาว์ และพ่อแม่ก็น่าจะ enjoy กับการเป็นพ่อแม่ด้วยค่ะ
(เราบอกจากใจเลยค่ะ ว่าชื่นชม ความตั้งใจและทุ่มเทของพ่อแม่ทุกๆ ท่านมากๆ นะคะ)

มีหลายๆ คำค่ะ ที่เราจะไม่รู้ หรือ ไม่ไหลรื่นออกมาเลย ถ้าเราไม่ได้เป็นเจ้าของภาษานั้นๆ
ลองยกตัวอย่างคำที่ใช้กับเด็กๆ เช่น จ๊ะเอ๋ ว้าย...น้ำกระเซ็น (ตอนลูกเล่นน้ำ) ฯลฯ

การเรียนภาษาอย่างที่เป็นธรรมชาติ (ของผู้พูดและผู้ฟัง) จะได้ผลดีกว่าค่ะ
อย่างที่กระทู้บนๆ ว่า เช่นที่อาม่า อากง ของเราพูดกันมา อย่างนั้นแหละดีค่ะ หรือ ถ้าดูเด็กๆ ตามชายแดนเด็กอิสานแถวๆ สุรินทร์ บุรีรัมย์ หลายคนพูดได้ทั้งไทย อีสาน เขมร เวียต บางคนพูดจีนได้อีกด้วย ถ้าได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอกับเจ้าของภาษา

ถ้าลูกเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมภาษาเดียว (คือ ไทย) ก็ให้เรียนอังกฤษ (จีน หรือ อะไรเสริม)
จากเจ้าของภาษาดีกว่าค่ะ ทุ่มเทน้อยกว่า จะสัมฤทธิ์ผล และพูดได้ชัดเจนกว่า
และตามหลักการศึกษาที่มีการวิจัยมา ถ้าก่อนอายุ ๑๔ และลูกได้คุยกับเจ้าของภาษาอย่าง
สม่ำเสมอ ไม่สายเกินไปหรอกค่ะ คือให้ลูกเริ่มรู้จัก ได้เรียนภาษาที่ ๒ กับเจ้าของภาษา
ตอนอายุ ๗ - ๘ - ๙ - ๑๐ ขวบ ก็ยังไม่สายเกินไปค่ะ (เราทำงานกับเด็ก ESL หลายปี)
และยิ่งเดี๋ยวนี้ ทีวี ซีดี เน็ตฯ สื่อที่จะไปเข้าถึงภาษาได้มีมากมาย
หลานของแฟนเราคนหนึ่ง (อ่อนอังกฤษมากๆ)แต่พออยู่ ม.ต้น คุยแช็ทฯ กับเพื่อน
มีมาเลเซีย เมล์คุยกันประจำ จนภาษาดีขึ้นมามากๆ เพราะมีแรงจูงใจและได้ใช้จริงน่ะค่ะ

หรืออย่างคนรุ่นๆ เรา ที่เรียน ภ.อังกฤษ (กับครูไทย) มาตั้งแต่เล็กๆ(เราเริ่มตอน ๔ ขวบ)
ท่องศัพท์ได้มากมาย (ทักษะการอ่านตำราฝรั่งนี่ เราอ่านได้เร็วกว่าเพื่อนอเมริกันซะอีก)
แต่ทักษะการพูดและฟังของเรา แย่มาก สื่อสารแล้วเขาแทบไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด
ตอนอยู่อเมริกา ครูภาษาอังกฤษหลายคน (ของเรา) ชี้ให้ดูเลยว่า
พวกผู้ใหญ่ (ตอนนั้นเราอายุ ๒๐ กว่าๆ) ที่ไม่เคยเรียนภาษาอังกฤษมาเลย
อย่างคนจากซิมบับเว่ เคนย่า ทิเบต ฯลฯ ยังเรียนได้ง่ายกว่าคนอย่างเราที่เรียน ภ.อังกฤษ
(จากครูคนไทย)ซะอีก ครูบอกว่า ของคนอื่นเป็นเหมือนผ้าขาวน่ะ แต่ของเราต้องมาแก้
ศัพท์ สำเนียง แกรมม่า หลายอย่าง (หรือเราเป็นพวกโง่เรื่องภาษามากๆ มั้ง)
อย่างคนอื่นๆ ฟังคำหนึ่งสัก ๒๐๐ ครั้ง ก็อาจจะซึมและจำได้ในหัว แต่ของเราต้องสัก ๔๐๐
เพราะ ๒๐๐ แรก เอาไปลบเม็มโมรี่ที่ไม่ถูกต้องก่อน แล้วอีก ๒๐๐ ถึงค่อยซึมเข้าไปแทนที่ได้

และที่สำคัญมากๆ เลย คือ เด็กต้องรู้ภาษาหลัก (ภาษาแม่)ของตัวเองให้แน่นเสียก่อนถึง
จะเรียนภาษาอื่นได้ดีค่ะ (มีการศึกษาเรื่องครอบครัวญี่ปุ่นในอเมริกาสมัย ๓๐ กว่าปีก่อนเรื่องนี้เลยค่ะ)

(บังเอิญว่า) ลูกๆ เราเกิดและโตที่อเมริกา (เพราะเราไปเรียนต่อและเป็นครูอยู่ที่นั่น ๑๐ กว่าปี)
เรื่องนี้ เราคิดมาตั้งแต่วันแรกที่เรารู้ว่า ท้องเลย เราก็ไปหาข้อมูลมากๆ ๆ แล้วก็ได้ข้อสรุปว่า
่ในครอบครัวเรา เราจะพูดไทยกับลูกตลอดเลยค่ะ สามีก็พูดฮิบรูกับลูกตลอดเหมือนกัน
เรากับแฟนสื่อสารกันด้วย ภาษาไทยค่ะ ลูกเรียน ภ.อังกฤษจากสิ่งแวดล้อม
และเราสารภาพนะ ว่าคงไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอื่น (นอกจากภาษาไทย)ให้ลึก และลึกซึ้ง
กับลูกเราได้ (โดยเฉพาะเมื่อตอนที่เขายังเล็กๆ เช่น จะบอกว่า "เจ้าซาละเปา แม่รักหนูนะ" นี่)
ถ้าให้พูดเป็นภาษาอื่น เราคงไม่อิน และลูกเราก็คงไม่อินเหมือนกันมั้ง
ให้เราร้องเพลงกล่อมลูก เพลงเด็ก (หรือท่องสูตรคูณ) เป็นภาษาอื่นให้ลูกฟังนี่
เราอาจจะทำได้ แต่โทนเสียง น้ำเสียง มันคงไม่ได้สื่อความรู้สึกออกไปได้อย่างที่ใจรู้สึกน่ะ
มันอาจจะเป็นภาษาคำศัพท์ แต่มันไม่ได้เป็นภาษาจากใจ (พ่อแม่)ถึงใจ(ลูก)

หรือ ตอนที่ลูกเป็นวัยรุ่นอย่างตอนนี้
ถ้าจะให้เราพูดเรื่องยาเสพติด ประจำเดือน เอดส์ เอ็กซ์ แฟน แฟชั่น ดนตรี ฯลฯ
กับลูกเป็นภาษาอื่น เราคงพูดได้ไม่ลึก ไม่กว้าง ไม่อิน คือ จะมีข้อจำกัดทางภาษาอยู่มากๆ
และอาจจะสื่อสารไม่ได้อย่างที่อยากสื่อไปเลยด้วย (ในบางกรณ๊)

(ป.ล.ลูกๆ เราเป็นเด็ก ๓ ภาษาตามสิ่งแวดล้อมที่เอื้อนี่แหละ ไม่ได้ให้ไปเรียนอะไรเพิ่มเติมด้วย
ลูกยังอยากเรียนภาษาที่ ๔ และก็มีภาษา Pig Latin ที่เอาไว้พูดกันเมื่อไม่อยากให้พ่อแม่เข้าใจด้วย
อือ...ลูกเราเป็นเด็กธรรมดาๆ ไม่ได้เก่ง อัฉริยะ หรืออะไร แต่อย่างใดเลยนะคะ)

ถ้าอยากให้ลูกได้ภาษาตั้งแต่เด็กๆ จริงๆ ให้ลูกไป ร.ร.ธรรมดาก็ได้ค่ะ
แล้วรวบรวมกันให้ได้สัก ๓- ๔ คน ให้มีโอกาสได้เล่นกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน พี่ๆ หรือหาครู"ฝรั่ง" ที่ใจดี น่ารัก มาเล่นยิม เล่นดนตรี อ่านหนังสือ ทำกิจกรรม (ปั้น เล่น ฯลฯ) กับเด็กๆ กลุ่มนี้
สักอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง น่าจะเป็นธรรมชาติ และสัมฤทธิผลกว่าค่ะ
(โดยทั่วๆ ไปเด็กเล็กๆ มีปฏิสัมพันธ์เป็นกลุ่ม และเรียนรู้ได้ดีกว่าเดี่ยวๆ ค่ะ)

แล้วภาษาในซีดีของเด็กๆ (บางโปรแกรม) หรือการ์ตูนบางเรื่อง
เป็นภาษาการ์ตูน ที่ต่างจากภาษาในชีวิตประจำวันมากๆ เลยค่ะ
การให้ลูกอยู่หน้าจอมากๆ ก็มีผลต่อสุขภาพ สมาธิ และมันเป็นการสื่อสารทางเดียวด้วยนิ

ชีวิตของลูก ของเรา ของครอบครัว ยังมีอีกหลายๆ มุม
ไม่ใช่เรื่องภาษาอังกฤษแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ขออภัยนะคะ ที่เขียนยาวและคิดต่างจากพ่อแม่บางท่าน คือ อยากจะบอกว่า
ไม่ต้องเร่ง รีบ มากค่ะ อยากให้ enjoy กับการเลี้ยงลูก และมีความสุขกับการเป็นพ่อแม่ค่ะ
เพราะเวลาเหล่านี้ ถ้ามันผ่านไป มันเรียกกลับมาไม่ได้อีก น่าเสียดาย. . .

ขอให้ถือว่า เป็นมุมต่าง(ของพ่อแม่บ้านหนึ่ง) ที่ไม่ได้ตั้งใจจะขัดแย้งส่วนตัวอะไรใดๆ กับใครนะคะ

Views: 1205

Reply to This

Replies to This Discussion

จากตัวเองค่ะ เรียนภาษาอังกฤษได้ 2 บ้าง 3 บ้างเพราะขยันท่องแกรมม่า พอเจอฝรั่งไม่กล้าสบตาค่ะกลัวเค้ามาพูดด้วย พอมีหลานอยากให้หลานพูดได้ ลงทุนจ้างแม่บ้านฟิลิปปินส์มาอยู่ในบ้านเลย ได้ผลค่ะ ไม่ใช่หลานน่ะค่ะ แต่เป็นพี่สาวค่ะ พูดภาษาอังกฤษกับแม่บ้านฟิลิปปินส์คล่องเลยค่ะ แถมกล้าพูดกับครูฝรั่งมากขึ้น ตัวเองเคยให้แม่บ้านฟิลลิปินส์มาช่วย 1 เดือนตอนคลอดลูกคนแรก กล้าพูดมากขึ้นเพราะจำประโยคที่พูดประจำได้ ให้ช่วยหยิบของ อุ้มน้อง เปลี่ยนผ้าอ้อม เจอหน้ากัน 12 ชั่วโมงยกเว้นเวลานอนนี่ค่ะ เลยอยากให้ลูกตัวเองพูดได้บ้าง สำเนียงไทยก็ไม่เป็นไรค่ะ ค่อยปรับทีหลัง
สวัสดีค่ะ

ขอตอบที่จริงคนพูดเขาก็พูดถูกน่ะค่ะ แต่ถูกในทัศนะของเขา ซึ่งมันก็แล้วแต่น่ะค่ะ เพราะที่จริงเขาเองก็ทำตามหลักของ OPOL นั่นแหละ เพียงแต่คิดต่างตรงที่ว่า ต้องเป็นคนที่พูดภาษาหลักได้ ซึ่งมันก็จริง แต่ต้องยอมรับว่า สำหรับคนไทยอย่างเราๆ การที่จะหาสภาพแวดล้อมในการให้เด็กได้พูดสองภาษานั้น ค่อนข้างเป็นไปได้ยาก ทำให้ต้องมีการสร้างสภาพแวดล้อมขึ้นมางัยล่ะค่ะ

ยังงัยก็ลองอ่านบทความนี้ดูน่ะ ซึ่งคัดมาจะเวปสองภาษานี่หล่ะค่ะ อยู่ในบล๊อกเล่า ซึ่งจะทำให้ได้แง่มุมอีกมุมหนึ่ง ซึ่งชัดเจนอยู่ในหนังสือเด็กสองภาษาเล่มที่หนึ่ง

จุดเริ่มต้นสองภาษาของ น้องแพรวาเริ่มโดย คุณ นภาพร รัตนางกูร เมื่อ 14/04/2010 เวลา 11:48am
ส่งข้อความ View คุณ นภาพร รัตนางกูร's blog
.คุณแม่เริ่มเป็นสมาชิกของหมู่บ้านเด็กสองภาษา ตั้งแต่ซื้อหนังสือเล่มแรก (พิมพ์ครั้งที่ 1) มาอ่านแล้วค่ะ ตอนน้องแพรวา

อายุได้ประมาณ 1 ขวบ 8 เดือน แต่เพิ่งจะมีโอกาส + เวลา เข้ามาหาความรู้ และแสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนๆ จาก Web 2pasa เนื่องจากที่ผ่านมาลาออกจากงานประจำ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อมาเลี้ยงลูกสาวเต็มตัว จนปัจจุบันน้องอายุ 2ขวบ 6 เดือนแล้ว ส่วนตัวเป็นคนชอบอ่านหนังสือทุกประเภทพาลูกสาวเข้าร้านหนังสือตั้งแต่ยังเล็ก ตัวคุณแม่เองอ่อนภาษาอังกฤษมากๆ โดยเฉพาะฟัง พูด อ่านและเขียนพอได้นิดหน่อย ก็เลยอยากให้ลูกสาวเก่งภาษา ภายในครอบครัวไม่มึใครพูดภาษาอังกฤษได้เลย ทำให้ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นสอนภาษาให้กับลูกสาวได้อย่างไรดี และกังวลว่าจะพูดคุยกับเพื่อนๆ ในหมู่บ้านสองภาษาได้หรือไม่ก็เลยหายจาก Web นี้ไปนานพอสมควร แต่ก็ยังไม่ได้ล้มเลิกความพยายามและตั้งใจจริง ที่จะสอนภาษาให้กับลูกสาวในช่วงที่ดูแลเลี้ยงดูอยู่ที่บ้าน โดยหาเทคนิคต่างๆ จากหนังสือสองภาษา อ่านแล้วรู้สึกถูกใจมากค่ะ ถึงแม้จะปฏิบัติไม่ได้ 100% อย่างกับคุณแม่ที่อ่อนภาษาเอามากๆ แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาจากตัวลูกสาวทำได้จริง ประโยชน์ที่ได้รับจากหนังสือเล่มนี้ ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะนำมาเป็นแนวทางในการสอนภาษาให้กับลูกสาว โดยคุณแม่เริ่มสอนจากการผ่านสื่อดีวีดี ที่มีเพลงประกอบอยู่เป็นเรื่องราวต่างๆ เช่น Baby einstein , Barney และอื่นๆ อีกมากมาย ส่วน Mommy&me ไม่ต้องพูดถึง คุณพ่อขับรถออกนอกบ้านเมื่อไร ลูกสาวจะขอร้องให้เปิดทุกครั้ง จะร้องไปตลอดทาง เพราะชอบมากๆ สำหรับผลดีของสื่อดีวีดีต่างๆ ลูกสาวจะชอบเลียนแบบตัวละคร ทั้งร้องและเต้น ได้เป็นเรื่องราวเอง โดยที่คุณแม่ยังไม่ได้เริ่มสอนอะไรเลย แต่จะคอยสนับสนุน กับกิจกรรมตัวละครที่ลูกสาวกำลังทำอยู่ ตัวอย่างตอนที่ Barney กำลังสวมหมวก แว่นกันแดด ไปเดินชายหาด พร้อมกับร้องเพลงเต้นรำไปด้วย ลูกสาวก็จะให้คุณแม่ไปหยิบหมวก แว่นตา มาให้เพื่อเลียนแบบให้เหมือนกับตัวละครนั้นๆ

ส่วนดีวีดีที่ดู ลูกสาวก็จะเลือกเอง ถ้าเปิดแล้วเป็นโหมดภาษาไทย ก็จะให้คุณแม่เปลี่ยนเป็นโหมดภาษาอังกฤษทันที สิ่งที่คุณแม่เห็นคือน้องมีพัฒนาการด้านภาษา และเรียนรู้ได้ไวมาก ถึงแม้คุณแม่จะยังไม่ได้สอนพูดโต้ตอบเป็นประโยค ภูมิใจมากๆเลยค่ะสำหรับผลลัพธ์ที่ได้ สำหรับการสอนที่ถือว่ายากกับครอบครัวคือการพูดโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ แต่เราก็จะพยายามทำให้ได้ สู้สู้! เพื่อลูกสาวที่น่ารักของเราค่ะ ถ้าจะให้บรรยายเรื่องราวของน้องแพรวายังไม่หมดเท่านี้นะคะ แต่คุณแม่ก็จะพยายามแชร์เรื่องราว และกิจกรรมต่างๆ ในการสอนภาษา ที่ทำร่วมกันกับลูกสาว เพื่อให้เพื่อนๆ ร่วมแสดงความคิดเห็นในครั้งต่อไปอีกนะคะ


สรุป: เห็นไหมหล่ะค่ะ ว่าที่จริง คนพูดคนนั้นเขาก็มองในมุมของเขา แต่อาจไม่ได้มองในมุมของคนอื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อม สถานะที่เอื้อหรือไม่เอื้อ รวมถึง อาจไม่ได้เข้าใจแก่นจริงๆก็ได้ และตอนหนึ่งที่เขาอ้างว่า

"ถ้าลูกเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมภาษาเดียว (คือ ไทย) ก็ให้เรียนอังกฤษ (จีน หรือ อะไรเสริม)
จากเจ้าของภาษาดีกว่าค่ะ ทุ่มเทน้อยกว่า จะสัมฤทธิ์ผล และพูดได้ชัดเจนกว่า

และตามหลักการศึกษาที่มีการวิจัยมา ถ้าก่อนอายุ ๑๔ และลูกได้คุยกับเจ้าของภาษาอย่าง
สม่ำเสมอ ไม่สายเกินไปหรอกค่ะ คือให้ลูกเริ่มรู้จัก ได้เรียนภาษาที่ ๒ กับเจ้าของภาษา
ตอนอายุ ๗ - ๘ - ๙ - ๑๐ ขวบ ก็ยังไม่สายเกินไปค่ะ "

ตรงนี้ตอบได้ว่าถูกเลย ถ้าเรามีคนที่เป็นเจ้าของภาษา แต่บอกแล้วว่า สภาพบ้านเรามันไม่เอื้อ ครูภาษาก็ต้องจ้างเสียเงินเยอะ และใครเล่าจะมายอมสอนลูกเราที่อายุตั้งแต่ทารก-6 ขวบ

แต่ผิดที่ว่า จะให้เริ่มตอน 7-10 ขวบไม่เห็นด้วยเลย และที่อ้างว่ามีการวิจัยมาว่า ก่อนอายะ 14 ปี ไม่สาย ขอบอกเลยว่า อ้างลอยๆ

เอาเป็นว่าถ้าคุณได้อ่านหนังสือ เด็กสองภาษาพ่อแม่สร้างได้ ทั้งเล่ม 1-2 ก็ให้จับหลักให้ได้ว่า จะทำแบบใด ซึ่งก็มีวิธิต่างๆให้เลือกอยู่ในเล่มหนึ่ง ว่าจะให้เป็น OPOL แบบใด ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ได้บังคับ

ขอสรุปในประสบการณ์ส่วนตัวว่า ตอนนี้ลูกสาวคือน้องผิงผิง อายุ 1.6 ปี ได้เริ่ม OPOL กับเขาตอนหนึ่งขวบ ซึ่งปาป๊าเป็นผู้สอน-พูด จะไม่พูดไทยกับลูกเลย แต่รู้ไหมว่า ปาป๊า สื่อกับคนต่างชาติไม่ได้มากเท่าไหร่เลย แต่อาศัยหลักการในหนังสือเล่มหนึ่ง (เล่มสองยังไม่ได้อ่าน) ซึ่ง 6 เดือนที่ผ่านมาปรากฏว่า ทุกวันนี้ผิงผิง เริ่มฟังปาป๊าพูดและทำตามได้หมดเลย ประโยคยาวๆด้วย ซึ่งปาป๊าก็ยังงงว่า ทำไมเข้าใจหมดเลย ทำตามคำสั่งได้ทุกอย่าง ทั้งๆที่ยังสื่อได้แค่เป็นคำๆเท่านั้น

แต่ขอบอกว่า คำศัพท์นั้นได้เยอะมากเป็นมากกว่าร้อยคำ รวมภาษาท่าทาง (Sign) ซึ่งปาป๊าก็อาศัยเปิดสื่อเอาเหมือนกับ แม่ของน้องแพรวานั่นแหละ (อ่อนภาษาพอๆกัน แต่ไม่อ่อนความรู้ที่จะหาให้ลูกได้รู้มากกว่า และเรียนรู้ไปกับลูก ซึ่งก็รู้คำศัพท์มากขึ้น) ตอนนี้รู้ไหมว่า ไปที่ไหน ปาป๋าก็พูดอังกฤษกับลูกตลอด ไม่อายใครเลย และเมื่อคนเห็นบางคนก็เข้ามาทักทาย เข้ามาทดสอบ ซึ่งผิงผิงก็ตอบได้หมดในสิ่งที่ถาม เช่น ชึ้เก้าอี้ ว่าคืออะไร ผิงผิงก็ตอบว่า แชร์ , ชี้ที่น้ำก็ต่อบว่า วอร์เทอร์ ซึ่งทำให้คนเหล่านั้นประทับใจ


ค่ะ สรุปว่า เราต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่เราได้รู้ได้อ่านได้ศึกษา และเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่นๆ (ส่วนใหญ่) ก็จะทำให้เรามั่นใจมากขึ้น อย่ากังวลหรือลังเลเลยค่ะ ทำต่อไป

รู้ไหมค่ะว่า ปาป๋าเขาตั้งใจจะสอน ภาษาที่สามคือ จีนและเกาหลี หากผิงผิงเริ่มสนทนาโต้ตอบอังกฤษได้มากขึ้น ซึ่งปาป๋าก้ไม่รู้เรื่องเลยกับภาษาจีนและเกาหลี แต่ยังมั่นใจขนาดนี้

ค่ะอาจยาวไป แต่ขอให้มองว่า คนนั้นที่พูดเขาก็พูดในมุมของเขา ส่วนเราก็ต้องกลับมามองในมุมของเรา ว่าเราพร้อมและมีทรัพยากรในมือมากแค่ไหน ก็ทำตามนั้นอย่าไปสนใจว่าคนอื่นเขาจะว่าอย่างไร

เพิ่มเติมนิด ช่วงแรกๆที่ปาป๋าเริ่มสอนผิงผิง คนข้างบ้านก็บอกว่า ปาป๊า Froce ลูกมากเกินไป ซึ่งไม่จริงเลย ทุกวันนี้ผิงผงิไปหาเขายื่นมือ Chake hands กับลูกเขา ลูกเขาใบ้รับประทานเลย เพราะไม่รู้เรื่อง ซึ่งต่างจากเรา คุณเชื่อไหม ผิงผิงเองปาป๋าไม่เคยพูดไทยสักคำ แต่เขากลับสื่อเป็นภาษาไทยกับปาป๋าเป็นประจำ แต่ก็ต้องหันมาพูดอังกฤษ เพราะปาป๋าไม่พูดไทยด้วย ซึ่งเห็นไหมล่ะค่ะ โหมดขอป่าป่าคืออังกฤษเขาก็ต้องพูดอังฤษ นี่คือหลักการที่มีในหนังสือเด็กสองภาษา

แถมหน่อย แน่นอนเรื่องดูทีวี มากไม่ดี แต่รู้ไหม ผิงผิงป่าป่าไม่เคยเปิดทีวีปกติให้ดูเลย และตอนนี้ป่าป่า ก็อดดูรายการที่ชอบด้วย แต่มีผลดีคือพอผิงผิงเห็นรายการทีวีปกติ ก็จะหันมาพุดกับป่าป๊าทันทีว่า Change คือให้เปลี่ยนมาเปิด DVD เห็นไหมค่ะว่า ทีวีที่เราสอนอังกฤษก็มีประโยชน์ แต่บอกแล้วงัยก็การจะเปิด DVD ผู้สอนต้องอยุ่ด้วยและสอนไป ซึ่งปาปาก็ทำตามหนังสือเป๊ะ ตอนนี้ผิงผิงนั่งดู DVD แต่ละเรื่องแต่ละครั้งได้นานกว่า ครี่งชั่วโมง ซึ่งผิดกับเด็กทั่วไปที่ดูรายการทีวีปกติ ซึ่งสมาธิจะสั้น แต่แปลก ผิงผิงสมาธิดีเอามากๆ

ค่ะอยู่ที่เราเองมากกว่า อย่าฟังคนอื่นที่มีแนวคิดต่างเลยจะสับสนอซะเปล่าๆ น่ะค่ะ

หากมีอะไรเขียนามาคุยได้น่ะค่ะ ยินดีแลกเปลี่ยน
ชีวิตของลูก ของเรา ของครอบครัว ยังมีอีกหลายๆ มุม
ไม่ใช่เรื่องภาษาอังกฤษแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ขออภัยนะคะ ที่เขียนยาวและคิดต่างจากพ่อแม่บางท่าน คือ อยากจะบอกว่า
ไม่ต้องเร่ง รีบ มากค่ะ อยากให้ enjoy กับการเลี้ยงลูก และมีความสุขกับการเป็นพ่อแม่ค่ะ
เพราะเวลาเหล่านี้ ถ้ามันผ่านไป มันเรียกกลับมาไม่ได้อีก น่าเสียดาย. . .


เคยคิดเสมอว่า เราน่าจะทำอะไรให้กับลูกได้มากกว่านี้
เวลาไม่รอใคร ความสุขที่ให้กับลูก พร้อมกับโอกาสดีๆที่สามารถหยิบยื่นให้กับเค้าได้ มันก็ผ่านไปไวเช่นกันค่ะ
พอลูกโตแล้ว วันนึงอาจจะย้อนกลับมาคิดว่า ทำไมเราไม่มอบโอกาส ไม่มอบความรู้ดีๆให้กับเค้าตั่งแต่เล็ก
เราไม่ได้พยายามยัดเยียด แต่สิ่งที่ให้ได้ สิ่งที่ลูกรับได้ ทำไมถึงปิดโอกาสนั้นเสีย
ขอโทษค่ะพิมชื่อผิดตอนสุดท้ายไม่โกรธนะคะ
ขอบคุณ phanprapa rojanavanote ที่นำข้อความนี้ของผู้เขียนมาให้เราอ่านกัน ผมว่าคุณ phanprapa rojanavanote ไม่น่าจะตกใจอะไรนะครับกับการสอนลูก ในความคิดส่วนตัวหลังจากการอ่านข้อความนี้ ผมคิดว่าผู้เขียนก็ดำเนินการสอนลูกของเค้าแบบ OPOL เหมือนกัน แต่อยากแสดงมุมมองที่แตกต่าง แต่ไม่สามารถชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนอย่างที่เค้าตั้งใจได้ (เพราะตัวเค้าเองก้ใช้อยู่) ถ้าคุณอ่านแล้ววิเคราะห์ดีๆ จะเห็นได้ว่า เค้าใช้ OPOL อยู่ พ่อพูดภาษาหนึ่ง แม่พูดอีกภาษาหนึ่ง ส่วนภาษาอังกฤษหรือภาษาที่ 3 ของเค้าได้จากสิ่งแวดล้อม ส่วนที่เค้าจะเหนือกว่าเราๆก็คือ ความเป็น native ของพ่อ แม่ และ สิ่งแวดล้อม ซึ่งจริงๆแล้ว พ่อแม่ที่อยู่ในเมืองไทย สามารถเพิ่มความเป็น native ได้โดย

1. ตามที่คุณบิ๊กบอก สร้างสิ่งแวดล้อม โดยใช้สื่อ และ เทคโนโลยี่ต่างๆ
2. คุณพ่อแม่ พยายามพัฒนาตัวเอง เรื่องการออกเสียงชัดเจน (ตรงนี้ผมถือว่าเป็นจุดสำคัญเลยทีเดียว)
3. คุณพ่อแม่ พยายามเรียนวัฒนธรรมของภาษาอังกฤษ (ส่วนนี้ก็สำคัญ เพราะว่า สิ่งนี้จะเพิ่มความลึกซึ้งของการใช้ภาษาอังกฤษ)
4. กล้าเข้าหา native speakers ที่มีอยู่ในประเทศไทย (ตอนนี้ผมมีเพื่อน อเมริกัน ที่นครสวรรค์ ไว้พูดคุยด้วย ซึ่งเกิดจากความกล้าอันนี้) ผมแนะนำว่าอย่ากลัว ฝรั่งเค้าน่าจะดีใจมากที่เราพูดกับเค้า
5. ต้องทำ ข้อ 1-4 ได้อย่างมีความสุข หรือว่าถ้ามันยากมากเมื่อลงมือทำแล้ว ถามตัวเองต่อว่ายังมีความสุขอยู่ไหม ถ้ามีก็ทำต่อ แต่ถ้าไม่.....ก็แล้วแต่เห็นสมควร

โชคดีครับ พ่อแม่ทุกคน
เราก็ลังเลในประเด็นเหล่านี้เหมือนกันค่ะ เพราะมั่นใจว่าภาษาอังกฤษของตัวเองไม่ดีพอ โดยเฉพาะสำเนียง การออกเสียง สูงๆ ต่ำๆ อะไรพวกนี้ยิ่งแล้วใหญ่เลย เพราะเราเป็นพวกพูดจาโมโนโทน ฮ่าๆๆๆ

ตอนนี้ก็กำลังอ่านหนังสือเจ้าของคำพูดข้างบนอยู่ค่ะ ยังอ่านไม่จบ แต่ก็ได้แง่คิดอีกมุมนึง ซึ่งเราคิดว่าสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้อให้ลูกเราได้เจอภาษาอังกฤษมันน้อยเหลือเกิน (นอกจากซีดี ดีวีดี เพลง ซึ่งเราก็ไม่อยากให้ลูกอยู่หน้าจอทั้งวัน) ก็เลยยังคิดไม่ตกว่า แล้วเราจะพูดภาษาอังกฤษกับลูกดีไหมหนอ

เกรงว่าลูกจะพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนแม่ 555555

ตามมาอ่านเก็บข้อมูลจากท่านอื่นๆ ด้วยคนค่ะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service