เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

พอดีวันนี้หลิงหลิงมีนัดกับหมอฟัน..เลยทำให้นึกขึ้นมาได้ว่าติดค้างเรื่องราวเกี่ยวกับฟันที่คุณพ่อมือใหม่บอกว่าช่วยมาเล่าสู่กันฟังบ้าง บางทีอาจจะมีประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นบ้าง...
เพราะฟันหน้าบน 4ซี่ของเพ่ยเพ่ย เริ่มมีคราบเหลืองๆจับจนสังเกตุได้ชัดเมื่ออายุราว 1.4ปี เอาเล็บสะกิดก็สามารถหลุดออกมาได้บ้าง ก็เลยคิดว่าอาจจะเป็นคราบอาหาร (ขี้ฟัน) ก้เลยไม่ได้เอะใจอะไรกันมาก แต่คุณป้าของเพ่ยเพ่ยทนไม่ได้ แนะให้ไปหาคุณหมออยู่เนืองๆ แต่เราก็ยังไม่ได้พากันไปหาหมอสักที จนวันหนึ่งได้ผ่านคลีนิคฟันที่เคยมีคนแนะนำ เลยแวะเข้าไปค่ะ คุณหมอดูเสร็จก็บอกว่าเป็นคราบขี้ฟันครับ (เห็นมั๊ยล่ะ) ให้เอาผ้ากอสพันนิ้วแม่แล้วถูๆก็ออกครับ หมอไม่คิดเงินด้วย กลับบ้านแล้วก็ทำตามที่คุณหมอแนะนำ แต่ทุกครั้งที่ทำ เพ่ยจะร้องเสียงดังเลย แล้วคราบมันก็ไม่หลุดออกมาด้วยสิ !!
มีโอกาสแวะไปคลีนิคแห่งที่ 2 คุณหมอตรวจแล้วบอกว่า..น้องฟันผุค่ะแม่ อ้าว!เราก็คุ้นกับการที่ฟันผุจะต้องสีดำไง ใช่หรือหมอ แล้วทำไงดีคะ หมอให้แวะมาอีกครั้งเพื่อให้หมออีกท่านดู แล้วก็ให้เอาคอตตอลบัทชุบน้ำยาบ้วนปากเด็กถูทำความสะอาดไปก่อน เพื่อเสริมฟลูออไรด์
เพื่อความสบายใจและชัวร์ ไปคลีนิคที่ใหญ่ขึ้น เป็นแห่งที่3 หมอตรวจแล้วบอกว่าอืม..ไม่น่าจะใช่ฟันผุค่ะ แต่เกิดจากการทานฟลูออไรด์มากไป ทำให้ฟันเหลืองเป็นคราบแบบที่เห็น เอางี้มาอีกครั้ง จะนัดหมอเด็กเฉพาะให้เลย
สัปดาห์ต่อมา ย้อนกลับไปที่คลีนิคเดิมอีกครั้ง เพื่อพบหมอเด็กเฉพาะ เพราะใจชื้นแล้วว่าลูกอาจจะฟันไม่ผุ ผลตรวจบอกว่ายืนยัน 100% ผุแน่นอนค่ะ โอยสงสารเพ่ยเพ่ยจัง 1.4ปี ฟันผุ 4ซี่เลย ทำไงดีคะหมอ หมอแนะนำว่าทำได้ 2 วิธี คือ1.ขูดที่ผุออกแล้วอุด แต่จะไม่แข็งแรง หรือ2. ครอบฟันเหล็ก ที่เราจะเห็นกันเป็นสีเงินวาวๆ และ 3. ทำเหมือนข้อสอง แต่เพื่อความสวยงาม จะเจาะโลหะเงินวาวๆด้านหน้าออกและอุดด้วยสารสีขาวให้ ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่า วิธีที่1 ต้องฉีดยาชาและสามารถทำได้เพียงครั้งละ 1-2 ซี่เท่านั้น หมายถึงต้องมาทำหลายครั้งและทุกครั้งก็ต้องจับมัดไว้ด้วย เพื่อป้องกันการดิ้น โอๆๆๆๆ...ส่วนวิธีที่2และ3 จะทำเพียงครั้งเดียว แต่ต้องวางยาสลบ ส่วนเรื่องความเสี่ยง..ไม่รับประกัน แต่จากประสบการณ์หมอก็ยังไม่เคยเจอปัญหาค่ะ....อึ้งค่ะ
กลับบ้านเปิดเวป..ค้นๆๆๆไปเรื่อยๆจนเจอโรงพยาบาลดังแห่งหนึ่ง คุณหมอเด็กเฉพาะ ประสบการณ์มากกว่า20 ปี เลยชวนพ่อมือใหม่ไปลุยกัน..คำตอบของหมอก็คือ วิธีที่1และ3 ทำไมได้ค่ะ ต้องวิธีที่ 2เท่านั้น และไม่รับประกันความเสี่ยงเช่นกัน แต่คุณหมอก็ย้ำให้มั่นใจว่ายังไม่เคยเกิดเคส ค่าใช่จ่ายเบ็ดเสร็จเจ็ดหมื่นกว่า ได้แต่มองตากันปริบๆ ค่ารักษายังพอทน แต่เรื่องความเสี่ยงในการวางยาเด็กวัย 1.6 ปี
พ่อมือใหม่พยายามยื้อเวลาเพราะเห็นว่าลูกยังเล้กเกินไป ไม่อยากเสี่ยง เพียรพาลูกไปหาคุณหมอบ่อยๆเพื่อดูความคืบหน้าของฟันที่ผุ จนคุณหมอบอกว่า ถ้าไม่ครอบฟัน ไม่ต้องมานะคะ ใจร้ายจริงๆ ไม่เป็นลูกหมอบ้างก็แล้วไป (แอบคิด)
กลับมาเริ่มต้นใหม่ เอาไงดี..ลองอีกสักครั้ง ไปอีกโรงพยาบาล นัดคุณหมอฟันเด็กเฉพาะ..ก็บอกหมอไปเลยว่าจะพาลูกมาครอบฟันค่ะ คุณหมอตรวจราวสัก 5 นาทีแล้วบอกว่าฟันผุมากค่ะ แต่ไม่ต้องครอบ !! หมายความว่าไม่ต้องวางยาสลบ !! เหตุผลเพราะเป็นเพียงการผุภายนอก ไม่ทะลุถึงเนื้อใน เหมือนกับเราเป็นแผลที่ผิวหนังเช่นนั้น แต่ต่างกันที่แผลอันนี้จะไม่หาย แต่เราสามารถประคองอาการได้ ดดยการหมั่นดูแลอย่างถูกต้อง และเคลือบฟลูออไรด์อย่างเข้มข้นทุก 4-6เดือน หากไม่มีการผุเพิ่มก็รอจนฟันน้ำนมนี้หลุดไปเอง แต่ถ้าผุเพิ่มก็วางแผนการรักษากันต่อไป...
เลยเป็นเรื่องเตือนใจจากคุณพ่อมือใหม่เลยค่ะว่า
ใครว่าลูกทานแต่นมแม่ฟันไม่ผุ..ไม่ใช่เรื่องจริง
เวลาจะหาคุณหมอ ควรหาคุณหมอเฉพาะด้านจริงๆ และแยกด้วยว่าเป็นหมอเด็กกับหมอผู้ใหญ่
หากเป็นกรณีต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อการตัดสินใจและมีความเสี่ยงร่วมอยู่ด้วย..ควรจะมีการปรึกษามากกว่า1 ท่านและมากกว่า 1โรงพยาบาลนะคะ
ฟันผุของเด็กเล้ก..จะแสดงออกมาในคราบสีเหลืองมากกว่าจุดสีดำแบบผู้ใหญ่นะคะ
การให้ฟลูออไรด์เด็กควรอยู่ในคำแนะนำของทันตแพทย์ ไม่ใช่แพทย์ทั่วไป
และการกินหรือกลืนฟลูออไรด์มากเกินไปไม่ว่าจะทางตรง (ยาเม็ด/ยาน้ำ) หรือทางอ้อม (ยาสีฟัน) จะมีผลกระทบต่อฟันแท้ในอนาคตของลูกนะคะ

Views: 2617

Reply to This

Replies to This Discussion

แถมค่ะ ช่วงอายุต่างๆในเด็กก่อนวัยเรียน ข้อมูลจากกรมอนามัยค่ะ

เด็กแรกเกิดถึง 1 ปี
1. เช็ดช่องปากเด็กในระยะที่ฟันยังไม่ขึ้น เริ่มเมื่อเด็กอายุ 4 เดือน หรืออย่างช้าที่สุดเมื่อมีฟันน้ำนมซี่แรกขี้นในช่องปาก
2.แปรงฟันให้เด็กเมื่อมีฟันขึ้นหลายซี่ เมื่ออายุประมาณ 9 เดือน ผู้เลี้ยงดูเด็ก เป็นผู้แปรงฟันให้เด็กวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า และก่อนนอน
3.ลดการถ่ายทอดเชื้อจากผู้เลี้ยงดูระยะแรกๆ โดยไม่ใช้ปากเปาอาหาร หรือเคี้ยวอาหาร ป้อนเด็ก ไม่ใช้จาน ช้อน แก้วน้ำ รวมกับเด็ก
เพราะเด็กปฐมวัยที่มมีเชื้อมิวแทนส์สเตรปโตคอคไคในช่องปากมาก จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นฟันผุมากขึ้น
4. บริโภคอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารเพียงพอ เพราะภาวะทพโภชนาการในช่วงวัยนี้จะมีผลใหเกิดความผิดปกตของผิวเคลือบฟัน เช่น อีนาเมลไฮโปเพลเชีย และเพิเมความเสี่ยงต่อการเป็น ฟันผุของฟันน้ำนม
5.วิธีการบริโภคนมขวดอยางเหมาะสม (เฉพาะเด็กที่บริโภคนมขวด)
- ไม่ควรใหเด็กบริโภคนมที่มีรสหวาน
- ไม่ควรให้นมเด็กเวลานอน เพราะเด็กจะดูดนมหลับคาปาก
- อย่าให้เด็กดูดนมจากขวดนานเกินไป โดยฝึกใหเด็กดื่มนมจากถ้วยเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน
- ไม่ควรใหเด็กดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือน้ำผลไม้จากขวดนม

เด็กอายุ 1-2 ปี
1.ผู้เลี้ยงดูเด็ก แปรงฟันให้เด็กวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า และก่อนนอน
2.การบริโภคนม ซึ่งในวัยนี้จะเป็นอาหารเสริม มีหลักปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่มอายุแรก แต่ช่วงวัยนี้ควรใหเด็กเลิกกินนมขวด และดื่มนมจากแก้ว
3.การบริโภคอาหารหลัก 3 มื้อ เน้นเรื่องคุณค่าอาหารตามหลักโภชนาการและเลือกอาหารว่างระหว่างมื้อที่มีประโยชน์ เช่น นมจืด ผลไม้

เด็กอายุ 2-5 ปี
1.ผู้เลี้ยงดูเด็กแปรงฟันให้เด็กวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า และก่อนนอน และฝึกให้เด็กแปรงฟันเอง แต่ต้องแปรงซ้ำ
2.ส่งเสริมใหเด็กบริโภคอาหารที่มีคุณค่า ตามหลักโภชนาการ
3.ส่งเสริมอาหารว่างที่ไม่ทำให้ฟันผุ
4.งดการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลผสมและละลายช้าในปาก
5.ส่งเสริมใหเด็กรับประทานอาหารเป็นมื้อ ไม่รับประทานจุบจิบ หากมีการรับประทานขนมหวาน ควรรับประทานในมื้ออาหารหลัก
ในกลุ่มเด็กที่มีฟันขึ้นแล้ว
6.ผู้ปกครองควรตรวจดูสภาพช่องปากเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงสภาพช่องปากเด็ก
ขอบคุณคุณหมอฟันใจดีทุกๆคนแทนทุกๆครอบครัวในหมู่บ้านแห่งนี้เลยนะคะ นอกจากเด็กๆของเราจะได้เรียนรู้ภาษาที่สองอย่างสนุกแล้ว..ยังจะเป็นเด็กที่มีฟันแข็งแรง..ไม่ผุ (หรือผุน้อยลง)อีกด้วย
ไม่ได้เข้ากระทู้นี้หลายวัน เพราะมัวแต่ช็อปปิ้งที่กทม.เพลิน (ประเภทหลงแสงสีกรุงเทพ) ขอบคุณน้องภานะจ๊ะที่เข้ามาช่วยตอบคำถามให้ แถมตอบได้ดีกว่าพี่อีก อิอิ
ฟลูออไรด์เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อฟัน โดยเฉพาะพื้นผิวด้านเรียบของตัวฟัน แต่หากได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไป ในระยะเวลานานๆ จะทำให้เนื้อฟันสีขาวขุ่น และไม่แข็งแรง โดยทั่วไปถ้าหากอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มมีน้อยสามารถให้ลูกทาน ได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ในขนาด 0.25 มิลลิกรัมต่อวัน จนถึงอายุ 3 ปี แต่หากอาศัยอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ ควร เช็คปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มก่อน แล้วปรึกษาแพทย์หรือทันตแพทย์

เด็กเมื่อฟันเริ่มขึ้น คุณหมอก็จะแนะนำให้ฟลูออไรด์เสริม 0.25 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ให้แปรงฟันโดยไม่ใช้ยาสีฟัน หรือเป็นยาสีฟันแบบที่ไม่มีฟลูออไรด์ เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถบ้วนยาสีฟันทิ้งได้ และคุณแม่ก็จะไม่สามารถควบคุมปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันที่ลูกได้รับได้ค่ะ

ฟลูออไรด์สามารถเริ่มให้ลูกทานได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ในขนาด 0.25 มิลลิกรัมต่อวัน จนถึงอายุ 3 ปี โดยให้เด็กทานพร้อมข้าวหรือน้ำผลไม้ก็ได้ แต่ห้ามทานพร้อมกับนม เพราะจะทำให้ฟลูออไรด์ไม่ถูก ดูดซึม, ในช่วงอายุ 3-6 ปี ให้เพิ่มปริมาณเป็น 0-5 มิลลิกรัมต่อวันแล้วให้ทานวันละ 1 มิลลิกรัมได้ เมื่ออายุ ตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ก่อนจะทานฟลูออไรด์คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือทันตแพทย์เฉพาะทางเด็กก่อนค่ะ

อย่าลืมทำความสะอาดฟันลูกหลังทานนมหรืออาหารค่ะ เดี๋ยวนี้ทันสมัยมากเลยค่ะ มี tissuesสำหรับทำความสะอาดฟัน ออกมาขายแล้วค่ะ บางทีออกไปทานอาหารนอกบ้าน ไม่มีอุปกรณ์แปรงฟัน ก็ใช้ตัวนี้เช็ดทำความสะอาดฟันได้เลยค่ะ ง่ายสุดๆ ปลอดภัยด้วยค่ะ อิอิ
แองเจิ้ลก็เพิ่งไปพบคุณหมอ เมื่อไม่กี่วันมานี้เหมือนกันค่ะ
ไปให้คุณหมอตรวจ คุณหมอแนะนำให้ใช้วิธีแปรงฟันลูก โดยนอนหงาย
แล้วไม่ต้องใช้ยาสีฟัน ใช้แค่น้ำต้มสุกอุ่นๆก็พอ
ฟันน้องแองเจิ้ลไม่มีปัญหาค่ะ มีคราบเหลืองบ้างแต่พอแปรงแล้วก็ออก
ถามคุณหมอเรื่องฟูออไรด์ ...คุณหมอบอกว่า น้องแองเจิ้ลไม่จำเป็นต้องใช้
หลังจากคุณหมอตรวจครั้งแรก แต่ถ้าคุณแม่ต้องการให้ลูกทานฟูออไรด์ คุณหมอจะต้อง
ดูฟันน้องไปอีกสักระยะว่าต้องการฟูออไรด์หรือไม่
เพราะน้ำบ้านเราที่เราดื่มกันทุกวัน ก็มีฟูออไรด์ผสมอยู่ด้วยเช่นกัน
ถ้าให้มากไป เนื้อฟันน้องอาจมีคราบขาวเป็นหย่อมๆก็ได้...

เราก็กลัวลูกมีปัญหาเรื่องฟัน คุณหมอก็บอกว่า ถ้าเราแปรงฟันสม่ำเสมอ ไม่ต้องเป็นห่วง
แปรงฟันให้ถูกวิธี และสอนเค้าแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอเป็นลักษณะนิสัย
ก็ป้องกันฟันผุได้เช่นกัน....

ไปแ้ล้วค่อยสบายใจขึ้นค่ะ....

ปล....ไปตรวจไม่เสียเงินด้วย พอดีคุณพ่อเค้าต้องไปทำฟัน เลยให้ตรวจลูกสาวซะเลย
ลูกสาวให้ความร่วมมือดีมากค่ะ นิ่งให้คุณหมอตรวจ คุณหมอใส่เครื่องมือในปาก ก็ไม่ร้องไม่ตกใจ

ยก 2 นิ้วให้คนเก่งเลยค่ะ เก่งมากที่ไม่ร้องไม่กลัวเลย
ทำงัยดีคะฟันน้องก้เป็นสีเหลืองอย่างที่แม่เพ่ยบอกแต่น้องเคลือบฟลูออไรด์มา2ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพ.ยที่ผ่านมาแต่คุณหมอบอกว่าฟันไม่ผุหรือว่าของน้องอาจเป็นคราบขี้ฟันอย่างที่แม่เพ่ยบอกไว้คะเพราะน้องไม่ค่อยยอมแปรงฟันบนด้วยทำไงดีคะแม่เพ่ย..
แล้วคุณหมอบอกหรือเปล่าคะว่าฟันซี่ที่เห็นเป็นสีเหลืองนั่นคืออะไร ตอนนี้ยังติดอยู่หรือคะ เพราะถ้าเห็นหลังจากเคลือบฟลูออไรด์ใหม่ๆ ก็ไม่ต้องตกใจเพราะมันอาจจะเป็นฟลูออไรด์ที่เคลือบมาซึ่งอาจจะติดอยู่สักวันสองวันก็หายไป แต่ถ้ายังไม่หายก็ลองเอาผ้ากอสชุบน้ำแล้วเช็ดดู หรือเอาแปรงเด็กขัดเบาๆ ถ้าออกก็คงเป็นคราบขี้ฟัน ควรรีบทำความสะอาดเลยค่ะ เพราะทิ้งไว้ฟันอาจจะผุขึ้นมา แต่เพื่อความสบายใจลองถามคุณหมอให้แน่ๆไปเลยดีกว่่านะคะ ได้ผลอย่างไรมาเล่าสู่กันฟังนะคะ รอติดตามผลอยู่ด้วยค่ะ
ว๊า พึ่งเข้ามาอ่าน ตอนนี้ น้องคีน ขวบเกือบสองเดือนแล้วค่ะ ยังไม่เคยพาไปหาหมอฟันเลย แต่หมอเด็กประจำตัวเค้าให้กินฟลูออไรด์เม็ด เริ่มตอน เก้าเดือนค่ะ ตอนนี้ ฟันขึ้นมา 4 ซีกเต็มๆ อีกสองกำลังพ้นเหงือกค่ะ สรุปว่า ต้องพาไปพบหมอเพื่อตรวจช่องปากใช่ไม๊คะ แม่น้องเพ่ยเพ่ย อ้อ รพ.วิภาวดีนี่ ที่อยู่ตรงแยกบางเขนใช่ไม๊คะ

มาอ่าน ที่ mom jenita ให้ข้อมูลเรื่อง ....3.ลดการถ่ายทอดเชื้อจากผู้เลี้ยงดูระยะแรกๆ โดยไม่ใช้ปากเปาอาหาร หรือเคี้ยวอาหาร ป้อนเด็ก ไม่ใช้จาน ช้อน แก้วน้ำ รวมกับเด็ก
ตรงนี้ อ่ะคะ ต้องเคี้ยวอาหารให้ ไม่งั้น เค้ากินไม่ได้ มันจะติดคออ่ะค่ะ
มาแนะนำหนังสือเกี่ยวกับฟันค่ะ เรื่องลูกฟันสวย สุขภาพฟันดี พ่อแม่เสกได้ โดยทต.พญ.กมลชนก เดียวสุรินทร์ค่ะ พอดีผ่านไปเจออ่านง่าย อ่านสนุกดีค่ะ

ขอบคุณมากมากเลยคะ คุณแม่น้องเพ่ยเพ่ย

 

(แต่ ว้า! น่าเสียดาย คุณแม่รู้ช้าไปหน่อย เพราะไม่เคยมีความรู้เรื่องฟันกร่อนของเด็กมาก่อนเลยไม่ทันระวัง * _*)

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service