เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000039058 การ เหยียบย่างห้องของผู้อำนวยการโรงเรียน ได้พบกับความเงียบสงบ ได้สัมผัสอากาศเย็น ๆ ชวนให้นั่งสบายในวันที่อุณหภูมิความร้อนของประเทศไทยเดือดทะลุ 40 องศา รวมถึงได้เห็นเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งดูดี มีราคาสมฐานะของผู้ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน อาจทำให้ผู้ปกครองหลายคนรู้สึกไว้วางใจ และมั่นใจกับโรงเรียนที่ตั้งใจเลือกให้ลูก |
|||||
ตรงกันข้ามกับสภาพที่เกิดในปัจจุบัน ที่ชื่อของโรงเรียนรัฐบาลดัง ๆ หลายแห่งนำไปสู่การเรียกเก็บแป๊ะเจี๊ยะอย่างจริงจัง พร้อมกับการหยิบยกความจำเป็นของการสร้างตึก สร้างสนามกีฬา สร้างสระว่ายน้ำ ติดเครื่องปรับอากาศให้ห้องเรียน ฯลฯ ขึ้นมา แถมด้วยคำพูดสรุปตบท้ายว่า เงินที่ผู้ปกครองร่วมด้วยช่วยกันสนับสนุน สุดท้ายมันก็จะวกกลับมาหาลูก ๆ ของแต่ละท่านในรูปแบบของสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่ได้หายไปไหน คุณวัฒนชัย (ขอสงวนนามสกุล) ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรแห่งหนึ่ง และเติบโตมาโดยที่ครอบครัวไม่เคยใช้เงินแป๊ะเจี๊ยะเป็นใบผ่านทางเลยเปิดเผย ว่า "สมัยก่อนรร.รัฐบาลมีน้อยมากที่เรียกเก็บ มีแต่เก็บเพื่อเข้าโรงเรียนเอกชน แต่ปัจจุบัน กลายเป็นธรรมเนียมของผู้อำนวยการที่จะมาเรียกเก็บจากผู้ปกครอง เพราะโรงเรียนรัฐบาลชื่อดัง ความต้องการในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนก็สูง แล้วเขามีวิธีคัดเข้าอย่างไร ก็ดูที่เงินก้อนนี้" "ยิ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เงินแป๊ะเจี๊ยะรุนแรงมาก สาธิตชื่อดังบางแห่ง ค่าแป๊ะเจี๊ยะเป็นล้าน ผมเห็นว่า ถ้าโรงเรียนเอกชนจะเก็บค่าบำรุงยังพอทน แต่โรงเรียนรัฐบาลเก็บเนี่ยมันเจ็บปวด ยิ่ง รร.ดัง ๆ แล้วมาฟังผู้อำนวยการโรงเรียนอ้างว่า เราต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก สร้างสนามสวย ๆ สร้างตึกใหญ่ ๆ ทำไมกระทรวงศึกษาไม่ใช้นโยบายของในหลวงที่เน้นความพอเพียง พ่อแม่แค่อยากให้ลูกมีวิชาความรู้ที่ดี แต่ผู้ใหญ่ในระบบการศึกษากลับไปเน้นที่ความอู้ฟู่ โดยใช้วิธีรีดเงินจากผู้ปกครอง ซึ่งการทำแบบนี้เท่ากับสร้างค่านิยมที่ไม่ถูกต้องให้กับอนาคตของชาติ" แป๊ะเจี๊ยะที่ดีต้องไม่มีใบเสร็จ นอกจากนั้น หากพิจารณาถึงช่องทางการจ่ายเงินกินเปล่าก้อนนี้ วิธีของโรงเรียนเอกชน โดยมากจะมีช่องให้ผู้ปกครองกรอกตัวเลขที่ต้องการสนับสนุนให้กับทางโรงเรียน อย่างเปิดเผย ชัดเจน ตรงไปตรงมา แต่ในกรณีของโรงเรียนรัฐบาล การสนับสนุนการศึกษาให้กับทางโรงเรียนกลับเป็นสิ่งที่กระทำกันแบบงุบงิบ ไม่มีช่องให้กรอกในใบสมัคร ผู้ปกครองต้องเขียนเองตามความสมัครใจ ไม่มีใบเสร็จ ไม่มีการสรุปยอดเงินทั้งหมด ไม่มีการชี้แจงว่าเงินดังกล่าว จ่ายแล้วไปไหน และที่สำคัญ ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า เท่าไรจึงจะเพียงพอต่อการแลกที่นั่งเรียนสำหรับลูก "100 บาท 500 บาท 800 บาท พอไหม?" ประโยคนี้ ลองคิดดูว่า หากผู้ปกครองพาซื่อเอ่ยปากถามออกไป อาจเป็นการดูหมิ่นผู้เป็นใหญ่ในสถานศึกษาโดยไม่ได้ตั้งใจก็เป็นได้ แต่คิดในมุมกลับกัน นี่อาจเป็นสิ่งที่ควรถามเพื่อความกระจ่าง และช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ดีกว่าปล่อยให้พ่อแม่ต้องมาตั้งกลุ่มลับ ๆ กันในชุมชนออนไลน์และโพสต์ถามกันเองว่า ต้องจ่ายค่าแป๊ะเจี๊ยะเท่าไรดี หรือถูกปั่นด้วยข้อมูลลวงจนทำให้ค่าแป๊ะเจี๊ยะสูงเกินความเป็นจริง อย่างไรก็ดี อดีตผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการศึกษาเลื่องชื่อย่านเสาชิงช้า เผยว่า ปัจจุบัน ความรุนแรงของการเรียกเก็บเงินก้อนนี้ก้าวขึ้นไปถึงขั้นสูงสุดเท่าที่เคยมี มา นั่นก็คือ มีการแบ่งระดับเงินที่ผู้ปกครองจ่ายให้กับทางโรงเรียน พร้อมกับคำยืนยันว่า ถ้าจ่ายในระดับนี้ "ได้ชัวร์" หรือก็คือเด็กจะมีชื่อในห้องเรียนอย่างแน่นอน แต่ถ้าจ่ายในระดับรองลงมาจะเข้าข่าย "ต้องลุ้น" ให้ผู้ปกครองใจตุ้ม ๆ ต่อม ๆ เวลาประกาศผลสอบ และถ้าจ่ายในระดับต่ำสุด หรือก็คือเงินบริจาคทั่วไป ก็หมายความว่า "ไปสอบคัดเลือกเอาเอง" ไม่มีการช่วยเหลือใด ๆ สอบเข้าโรงเรียนดังได้ใช่ตอบทุกโจทย์ เมื่อผ่านขั้นตอนของการจ่ายเงินแป๊ะเจี๊ยะที่ผู้ปกครองยอมจ่ายเพื่อ แลกกับการให้ลูกได้เข้าโรงเรียนดังอย่านึกว่าทุกอย่างจะจบสิ้น เพราะมันอาจแค่หมายถึงสภาพแวดล้อมดี ๆ ที่เด็กจะได้รับ มีเพื่อนฝูงที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง แต่ความเสี่ยงที่จะตามมาก็มีอีกมาก เพราะโรงเรียนที่ใช้วิธีดังกล่าวในการคัดคนเข้าเรียนย่อมสะท้อนถึงวิสัย ทัศน์ของผู้บริหารได้เป็นอย่างดีและนั่นอาจหมายความว่า โรงเรียนแห่งนี้มีแนวโน้มจะมุ่งเก็บเงินเข้ากระเป๋าเป็นหลัก ส่วนการมุ่งพัฒนาศักยภาพของเด็กกลายเป็นเรื่องรองนั่นเอง ผลก็คือ เด็กที่จบจากโรงเรียนเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา ส่วนหนึ่งก็ไม่สามารถพัฒนาให้กลายเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพได้อย่างน่า เสียดาย |
|||||
"ที่ว่าล้มเหลวเพราะระบบการเมืองระดับประเทศมีการล้วงลูกมาถึงการ เมืองระดับโรงเรียน ทำให้โรงเรียนรัฐบาลอ่อนแอ ครูเมื่อไม่สามารถจะสอนให้เด็กเก่ง ก็จะวิ่งสร้างแบรนด์ให้โรงเรียน แล้วก็เรียกรับแป๊ะเจี๊ยะ เป้าหมายโรงเรียนจึงไม่ใช่เป้าหมายด้านวิชาการ แต่เป็นเป้าหมายเพื่อวัตถุ ผอ.ในโรงเรียนก็อยากเป็นใหญ่เป็นโต หาทางวิ่งตัวเอง ขยับตัวเองด้วยการสร้างตึกสร้างอาคาร ตัวเองจะได้ย้ายไปโรงเรียนชั้นนำ" ดร.นิวัตรสะท้อนความจริงที่น่าเจ็บปวด "ตอนนี้เด็กที่จบ ม.ปลายมาอยู่กับผม จบเกรดเฉลี่ย 3 กว่าทุกคน แต่ล้มเหลว ทำไมถึงล้มเหลว เพราะไม่สามารถบอกหลักการฟิสิกส์ได้ เด็กไม่สามารถวิจารณ์ กฎ สมการ โมเมนตัม ทำเป็นแต่แทนสูตร คิดลัด การเรียนของเด็กปัจจุบันคือหาเทคนิคการทำโจทย์เพื่อเตรียมสอบเข้า มันก็เลยส่งผลดีต่อโรงเรียนกวดวิชา ที่สอนการแก้โจทย์เป็นหลัก" พร้อมกันนี้ ดร.นิวัตรยังได้ยกตัวอย่างการศึกษาของประเทศในสหภาพยุโรปเช่น ฝรั่งเศส ที่มีการเรียนการสอนตรงข้ามกับของไทยอย่างสิ้นเชิงด้วยว่า "หากให้เปรียบเทียบกัน การเรียนในฝรั่งเศสไม่มีโจทย์ ขอแค่คุณอธิบายหลักการให้ได้ แต่ประเทศไทย คุณทำโจทย์เยอะ ๆ เข้าไว้ ซึ่งไม่ต่างกับการสอนในระบบช่าง ทำโจทย์เยอะ ๆ จะได้ชำนาญ แต่การสอนเด็กในสายวิชาการ คุณควรจะสอนให้เขาคิดเป็น วิเคราะห์ปัญหาได้ เหล่านี้จึงจะไปเป็นนักวิชาการที่ดี" โรงเรียนต้นแบบแก้แป๊ะเจี๊ยะ? แม้จะมีนโยบายจากนักการเมืองถึงหลักสูตรการเรียนการสอนประเภท "โตไปไม่โกง" แต่การผลักดันให้เป็นรูปธรรม สามารถใช้ได้จริงในสังคมไทยยังเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากความคาดหวังของผู้ ปกครอง ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า เพราะตัวแทนแนวคิดนี้มีอาชีพเป็นนักการเมือง หนึ่งในอาชีพที่ติดโผว่ามีความทุจริตสูงนั่นเอง อย่างไรก็ดี หากไม่หาทางแก้ไขปัญหานี้ ประเทศไทยจะไม่สามารถพัฒนาตนเองไปไกลกว่าที่เป็นอยู่ รวมถึงไม่สามารถแข่งขันกับโลกในอนาคตได้ ซึ่งในมุมของนักการศึกษาผู้เห็นภาพดังกล่าวมาเป็นเวลานานอย่าง ดร.นิวัตร ได้ให้แง่คิดเอาไว้อย่างน่าสนใจ "ถ้าจะลดปัญหาแป๊ะเจี๊ยะ ลองให้โรงเรียนรัฐบาลที่มีชื่อเสียงบริหารตัวเองดีกว่า แล้วเชิญคนที่มีความสามารถมาบริหาร ไม่ต้องให้เขาไปบ้า ๆ บอ ๆ กับระบบการศึกษา นอกจากนั้นอยากให้ลองพิจารณาแนวทางของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งสร้างคนได้ดีมาก เราน่าจะลองสร้างโรงเรียนแบบนี้ขึ้นมาอีกเยอะ ๆ โดยใช้โรงเรียนนี้เป็นต้นแบบ สร้างสักจังหวัดละ 1 แห่งก็ยังดี ผมเชื่อว่าเราอาจแก้ไขสิ่งที่เคยผิดพลาดมาได้ก็เป็นได้" การสร้างจิตสำนึกให้ผู้ปกครองปฏิเสธ ไม่ยอมรับการติดสินบนเพื่อแลกกับที่นั่งทางการศึกษาอีกต่อไปก็เป็นอีกทาง เลือกหนึ่ง เพราะเชื่อเถิดว่า การที่มนุษย์เติบโตมาโดยใช้เงินแป๊ะเจี๊ยะหล่อเลี้ยงตั้งแต่เด็ก ในอนาคตเขาย่อมนำความคุ้นเคยนี้ไปใช้สร้างผลกระทบที่ใหญ่หลวงในสังคมได้อีก มากมาย อย่างไรก็ดี หากทุกฝ่ายยังยอมให้ความเลวร้ายนี้เกิดขึ้นต่อไปได้ ก็คงเป็นเพราะคำตอบเดียวคือสังคมไทยทุกวันนี้มันยังเลวไม่พอ |
Tags:
โดนใจมากค่ะ ครอบครัวกำลังคุยกันเรื่องย้ายกลับไทย พ่อเจคอบเขาอยากย้ายไปอยู่เงียบๆสงบๆที่เมืองไทย แต่แอ๋วยังค้านหัวชนฝาเพราะห่วงเรื่องโรงเรียนลูก คิดว่าโรงเรียนนานาชาติเเพง เราคงสู้ไม่ไหว โรงเรียนรัฐดีๆ เราก็คงสู่ค่า "แป๊ะเจี๊ยะ" ไม่ไหวเหมือนกัน
เห็นอย่างนี้เเล้วเศร้าเหมือนกันนะคะ
คุณเอ๋ แอ๋ววางเเผนไว้หลายอย่างมากๆเรื่องโรงเรียนลูก (ในกรณีที่ย้ายกลับเมืองไทย) อีกทางเลือกหนึ่งที่คิดไว้คือ ส่งลูกเข้าโรงเรียนธรรมดาๆ แต่เราทำโฮมสคูลออนไลน์ เลือกโรงเรียน Private School Online ไปด้วย หาโปรแกรมที่ได้รับการรองรับจากกระทรวงการศึกษาของต่างประเทศ เลือกโปรแกรมที่มีครูคอยกำกับและตรวจข้อสอบ ให้เกรดลูกเราด้วย เราจะได้มีคนช่วย และมีหลักสูตรให้เราทำตาม
เป็นแค่เเพลนค่ะ คิดๆไว้ เตรียมตัวไว้เผื่อวันฝนตก ฝรั่งเรียก a plan for rainy days
© 2025 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by