เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
Tags:
555 อ่านเยอะ งงเหมือนกันเลยค่ะ รอฟังคำตอบเหมือนกัน
ขออนุญาติลองตอบหน่อย-ผิดถูกยังไงให้คุณครูมาแก้อีกที
1. S + V1 + (คำนาม) / คำนามมีก็ได้มีไม่มีก็ได้แล้วแต่ชนิดของกริยา
พูดถึงเรื่องที่ทำประจำหรือเกิดประจำ เช่น พวกเขากินข้าว(ทุกวัน) they eat rice.
- ถ้าพูดปฏิเสธ ต้องเติม not หลังกริยา แต่ "rice not" ไม่มีใครเขาใช้กัน ก็เลยต้องมีกริยาพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยก็คือ "do"
จะกลายเป็น they do not eat rice. พวกเขาไม่ได้กินข้าว(ทุกวัน)
-ถ้าตั้งคำถามใช่ไหม ก็ต้องทำการสลับที่ระหว่าง S และ V1 แต่อย่ากระนั้นเลย "do" เขายังช่วยปฎิเสธเลย ตั้งคำถาม "do" ก็มาช่วยเหมือนเดิม
จะกลายเป็น do they eat rice . พวกเขากินข้าวหรือยัง
1.1กรณี V to be ตัวนี้เขาทำหน้าที่ได้หลายอย่างมาก
-คือเขาทำหน้าที่เป็น V1 ก็จะแปลว่า เป็น,อยู่,คือ(อันนี้คงรู้แล้ว) ก็ใช้แบบเดียวกับข้อ 1 แต่เนื่องจาก V to be เขาเก่ง เวลาจะทำเป็น
ปฎิเสธหรือคำถามก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพระเอก"do" มาช่วย
-ทำหน้าช่วยบอกลักษณะต่าง S + V to be + adj เช่น I am stupid.ผมโง่
-ทำหน้าที่ช่วย V ที่มี ing # อันนี้ต้องบอกนิดนึงว่าเมืองนอกเวลาเขามีน้อย แปปเดียวก็มืดล่ะ เวลาจึงสำคัญมากสำหรับเขา
รูปประโยค S + V to be + V ing
ที่ต้องมี V to be ก็เพียงจะบอกว่า เรื่องที่พูดนี้ เป็น อดีต หรือ ปัจจุบันเท่านั้น ก็เท่านั้น
-ทำหน้าที่ว่าประธานถูกกระทำ
รูปประโยค S + V to be + V3 เช่น rice is eaten.ข้าวถูกกิน
V to be มันอะไรได้อีกเยอะ ผมก็จำได้ไม่หมด ให้ครู มาบอกดีกว่า
เอาจำง่ายๆว่า
อดีตยิ่งกว่า | อดีต | ปัจจุบัน | อาคต |
S + had + V3 S + V2 S + V1 S + will + V1
<----------------------- S + have + V3 --------------------------------->
<------------------------------------------S + have + been + Ving---------------------------------------->
เป็นไวยากรณ์ ที่เจอบ่อยๆ ใช้บ่อยๆ ส่วนตัวอื่นค่อยว่ากันอีกทีละกัน
จากรูปประโยคด้านบน
จะสามารถนำ V ing มาต่อท้ายเพื่อให้เห็นภาพถึงการกระทำ ที่มักแปลกันว่า "กำลังจะ" โดยมีกติกาว่า
ต้องพาเพื่อน "V to be" ด้วย เช่น [ S + V1 ] มาเจอกับ [ V to be + V ing ] ===> [ S + is/am/are + V ing ]
ก็คืออันเดียวกับหัวข้อ 1.1 นั้นเอง
รวมถึง [ V to be + V3 ] เอาซ้อนอีกชั้นก็ยังไหว
แต่ผมว่าประโยคที่ซ้อนกันหลายๆชั้น คงไม่ค่อยได้ใช้กันเท่าไร ยกเว้นใน ตำราเรียน
หมายเหตุ
S + had + V3 รูปอดีตยิ่งกว่า ต้องมีรูปอดีตก่อน ถึงจะมีรูปอดีตยิ่งกว่า มาเสริมความเป็นอดีตได้
V to have
อันนี้ก็จะใช้ในลักษณะ S + V1 ได้ดังข้อ 1. ข้างบน โดยมีความหมายว่า "มี,กิน"
เช่น I have breakfast. เรากินเมื้อเช้า (กินทุกวัน)
ใช้เพื่อทำ perfect tense รูปประโยค S + V to have + V3 อันนี้ก็ตามไวยากรณ์ข้างบน
แล้วก็ใช้แบบ S + V to have + to + infinitive(กริยาไม่เปลี่ยนรูป)
โดยจะมีความหมายว่า "จำเป็นต้อง" คือประมาณว่าเหตุการณ์ นั้นต้องเกิดขึ้นแน่นอน
ความหมายคล้ายๆกับ must นะครับ
หมายเหตุ
infinitive (กริยาไม่เปลี่ยนรูป) ส่วนใหญ่จะหมายถึง V1 ยกเว้น is,am,are เพราะรูปจริงของเขาที่ยังไม่ผันตามประธาน ก็คือ "be" เท่านั้น เป็นเหตุผลว่าทำไมข้อ 3.1 ต้อง "be" เท่านั้น
2.1
I was eating an apple.หลับตานึกภาพ ตัวเองกำลังเคี้ยวแอปเปิ้ลงับ เมื่อก่อนนี้ สักช่วงหนึ่ง
I ate an apple.ฉันกินแอปเปิ้ล เมื่อก่อนนี้ แต่ไม่รู้กินอย่างไร รู้แค่ว่ากิน
จุดแตกต่างคือ
past cont. พูดถึงช่วงเวลา ช่วงหนึ่งที่ทำอย่างนั้น นึกภาพออกว่า กำลังทำ
past simple พูดถึง ณ เวลาในอดีต แค่รู้ว่าทำแต่นึกภาพไม่ออกว่าทำอย่างไร
5.ก็ตามนั้นนะครับ
แต่ในบางกรณี Adv + N ได้เช่นกัน
3.1 ถูกต้องแล้วครับ
3.2 I will have eaten an apple.ประมาณว่า ในอนาคต ฉันจะได้กินแอปเปิ้ล
(มั่นใจว่าได้กินแน่ และยังไงก็ต้องกินหมดลูกด้วย อีกทั้งระบุได้ว่าจะต้องเริ่มกินเมื่อไหร่) -- อะไรประมาณเนี่ย
I had eaten an apple. อันนี้เรื่องของอดีตยิ่งกว่า(อดีตของอดีต)
ดูคำอธิบายด้านบนในหัวข้อ 1.1
1. don'bite the spoon
2. be careful your mouth might hit the floor.
3. be careful you're gonna fall down.
4. I know it itches but don' scratch it . you will be hurt.
5. your neck rash is getting worse. Let's put some oinment on it.
6.
7.
8. I'm hanging out the washing
© 2024 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by