เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

OH my GODDDD!!! ภาษาอังกฤษไทยแพ้ลาว

OH my GODDDD!!! ภาษาอังกฤษ ไทย แพ้ ลาว
โอ้มายก๊อด!!! ภาษาอังกฤษไทยแพ้ลาว กลุ่มอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC


ในปี 2558 หรืออีกเพียง 3 ปีนับจากนี้กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนลงนามข้อตกลงในกฎบัตรอาเซียนให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร


แต่คนไทยมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นอันดับท้ายๆ ของอาเซียน น้อยกว่าสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า เวียดนามและลาว เจ้าข้าเอ๊ย!

เด็กไทยแพ้ลาว

 

ศาสตราจารย์(ศ.) ดร.อัจฉรา วงศ์โสธร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ(ศสษ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แถลงเรื่อง “วิกฤตหรือโอกาสของภาษาอังกฤษในสังคมไทย” ว่า ผลการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยด้อยกว่าเป้า หมาย ดังจะเห็นจากข้อมูลการสอบโทเฟลโดยการสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ในระหว่างเดือน กรกฎาคม 2547-มิถุนายน 2548 ของอีดูเคชั่นนัล เทสติ้ง เชอร์วิส หรืออีทีเอส(Education Testing Service : ETS) ของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าประเทศไทยมีคะแนนเฉลี่ยสอบโทเฟลอยู่ในลำดับที่ 8 ของกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย เวียดนาม และลาว ตามลำดับ


“นอกจากนี้ จากข้อมูลการสอบภาษาอังกฤษเพื่อนำคะแนนไปใช้ในการสมัครงานยังต่างประเทศ หรือการสอบโทอิก(TOEIC) พบว่าในช่วงปี 2547-2548 คะแนนเฉลี่ยสอบโทอิกของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 4 ของกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และกัมพูชา โดยมีคะแนนเฉลี่ยสอบน้อยกว่าคนกัมพูชาเหยียบ 100 คะแนน”

 

“อีกทั้งพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนสอบภาษาอังกฤษจากการสอบเอ็นทรานซ์ตั้งแต่การ สอบในเดือนมีนาคม 2545-มีนาคม 2548 ไม่มีปีใดที่ผู้เข้าสอบทำคะแนนเฉลี่ยได้เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ โดยล่าสุดมีคะแนนสอบเฉลี่ยเพียง 40.14 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ข้อสอบก็ไม่ได้ยาก เพราะเป็นการออกโดยนักวิชาการ สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยยังไม่น่าพอ ใจ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะนโยบายการสอนภาษาอังกฤษเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง การสอนภาษาอังกฤษจึงไม่ต่อเนื่อง ครูอาจารย์ก็ไม่มีคุณภาพ บางคนไม่ได้จบเอกภาษาอังกฤษแต่จำเป็นต้องสอน นอกจากนี้ ตำราเรียนในระดับอุดมศึกษาเองก็ยังเป็นภาษาไทยอยู่ ทำให้ผู้ผ่านการศึกษาไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างมี ประสิทธิภาพทุกทักษะ ที่สำคัญหลักสูตรภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษาก็ยังไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติ งาน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคคลในการแข่งขันของ ประเทศ ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง 6 อุตสาหกรรมหลัก อันได้แก่ การท่องเที่ยว แฟชั่น อาหาร วิทยาศาสตร์สุขภาพ ยานยนต์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ”

 

ด้านนายชวลิต หมื่นนุช รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ(เอแบค) และเลขาธิการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาความสามารถทางภาษาอังกฤษของคนไทยสู้ต่างประเทศไม่ ได้ว่า เป็นเรื่องน่าห่วง ทั้งที่ในยุคโลกาภิวัตน์สื่อวิทยุและโทรทัศน์ต่างมีช่องภาษาอังกฤษ ซึ่งถือเป็นสิ่งกระตุ้นและสิ่งเร้าให้เด็กมีพัฒนาด้านทักษะภาษาอังกฤษได้ อย่างมาก แต่เด็กไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น จึงหมายความว่าเด็กไทยและระบบการศึกษาของไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ขณะที่นักเรียนต่างชาติ ทั้งจีน เวียดนาม หรือลาว ต่างขยันและทุ่มเทกับการเรียนภาษาอังกฤษกันมาก

 

“อาจเป็นเพราะทุกวันนี้เด็กไทยสบายๆ เรียนประเภทจ่ายครบจบแน่ ทำให้ยิ่งเรียนยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ หนักไม่เอา เบาไม่สู้ ไม่ใฝ่รู้สู้งานหนัก เวลานี้แม้แต่การใช้ภาษาไทยของเด็กไทยก็ยังแย่ ภาษาไทยยังไม่เป็นเรื่องเป็นราว บางคนพูดดัดจริต ขนาดภาษาไทยยังแย่แล้วภาษาอังกฤษจะไม่แย่หรือ ปัญหานี้อยู่ที่เด็ก ระบบ สิ่งแวดล้อม โรงเรียน และมหาวิทยาลัย มีความเข้มงวดและเข้มข้นกับสิ่งเหล่านี้แค่ไหน ซึ่งเท่าที่เห็นเด็กไทยสมัยนี้สมาธิสั้น ยิ่งมีสิ่งแวดล้อมยั่วยวน เย้ายวน จึงไม่ให้ความสำคัญกับการเรียน จะอ่านหนังสือก็เฉพาะก่อนสอบ ขณะที่ภาษาอังกฤษนั้นจะต้องฝึกฝน ต้องพัฒนาซ้ำแล้วซ้ำอีก จะต่างจากเด็กต่างชาติที่เข้ามาเรียนในประเทศไทย จะตั้งใจเรียน อยู่ในห้องสมุดตลอดเวลา แต่เด็กไทยกลับไม่ตั้งใจเรียน เอาแต่คุย แทนที่จะหาอ่านหนังสือในห้องสมุด”


นายชวลิตกล่าวต่อว่า การแก้ปัญหานั้นจะต้องทำให้เด็กไทยเรียนให้เข้มงวดมากขึ้น สถาบันการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถม มัธยม และอุดมศึกษาจะต้องเข้มงวด ถ้าเรียนไม่ได้ก็ต้องไม่ได้ แต่ระบบการศึกษาของไทยเป็นการเรียนแบบไม่ได้ก็สอบใหม่ นอกจากนี้ ระบบการศึกษาไทยต้องสร้างความเข้มแข็งให้เด็กรู้จักรับผิดชอบตัวเอง และมองอนาคต


ศ.ดร.อัจฉรากล่าวด้วยว่าจากการวิเคราะห์ความต้องการความสามารถในภาษาอังกฤษ ของบุคลากรในกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า ทักษะด้านการฟัง การพูด และการเขียนสำคัญมากที่สุดสำหรับบุคลากรทุกอาชีพ ยกเว้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องใช้ทักษะด้านการอ่านมากกว่ากลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้ ยังพบว่าพนักงานระดับผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติการไม่มีเวลาเรียนภาษา อังกฤษเพิ่มเติม

Views: 2500

Reply to This

Replies to This Discussion

การเปลี่ยนแปลงอีกอย่าง คนเก่งๆ มักจะไม่เลือกที่จะทำงานเป็นบุคลากรทางการศึกษาหรือครู แต่ถ้าเป็นก็เป็นอาจารย์ระดับอุดมศึกษาไปเลย จริงๆแล้วการวางรากฐานตั้งแต่เด็กเป็นสิ่งสำคัญมาก 

ตอนนี้เริ่มเห็นบางบริษัท รับพนักงานขายหน้าร้านเป็นชาวฟิลิปปินโน สำหรับกิจการที่ต้องขายให้กับคนต่างชาติ น่ากลัวครับ ถ้าเปิด เออีซี เต็มรูปแบบ มีการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อิสระกว่านี้ ต่อไปแรงงานไทยที่ทักษะภาษาอังกฤษน้อย มิต้องตกงาน หรือทำงานที่ค่าจ้างตำ่แทน เท่าที่เห็นคนไทยส่วนใหญ่พูดภาษาไทย ยังไม่มีควบกล้ำ แล้วภาษาอังกฤษซึ่งมีความละเอียดน้อยกว่า มิแย่เหรอครับ

ไทยต้องตื่นตัว แล้วหันกลับไปมองคิดทบทวนว่ามีที่ผ่านมาะไรผิดพลาด รีบแก้ไข แล้วไปต่อให้ไว
กระทรวงศึกษาเห็นรึยังน้อ

ต้องเปลี่ยนระบบการศึกษา ไม่งั้นลูกหลานจะตกงาน เรื่องครูสอนอังกฤษเหมือนกันทำไมต้องรอให้ครูต่างชาติมาสอนทั้ง ๆ ครูคนไทยเก่ง ๆ มีหลายคนหายไปไหยหมด แต่เมื่อวานดูรายการสอนภาษาอังกฤษ ป.2  จาก โรงเรียนวังไกลกังวล พาเด็ดพูดอังกฤษผิด คำว่า tired แปลว่าเหนื่อยค่ะ คุณครูพูดกับนักเรียนว่า ไทเอ็ด  ดิฉันฟังแล้วฟังอีก ผิดนี่น่า หรือว่าเราฟังผิดและพูดกับลูกผิดรึเปล่าเราก็เช็คเสียงกับดิกชั่นนารีจากเน็ทเราก็ออกเสียงถูกต้อง  นี่แหละครูมีคุณภาพรึเปล่า น่าคิดนะค่ะ และเมื่อวานคุยกับเพื่อนฟิลิปปินส์เค้าบอกว่าประเทศไทยสอนภาษาอังกฤษช้ามาก อย่างเด็ก ป.1 ที่ฟิลิปปินส์เค้าอ่านออกเขียนได้แล้วของเรายังไม่ไปถึงไหนเลยน่าเศร้าใจ  ขอบคุณข่าวร้ายที่กระตุ้นให้แม่ ๆ สองภาษาได้ตระหนักในการพูดอังกฤษ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service