เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ขอความร่วมมือ สอบถามค่ะ เรื่องระบบการศึกษาภาษาอังกฤษ

ในฐานะอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ (ที่รู้แค่พอประมาณ) กำลังทำวิทยานิพนธ์อยู่ค่ะ อยากสอบถามคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายค่ะว่า ในการเรียนภาษาอังกฤษที่เรียนกันมาตั้งแต่ชั้นประถม มัธยม อุดมศึกษา คิดว่า ระบบการศึกษา การสอนภาษาอังกฤษของไทยเรา ดี ไม่ดีตรงไหนคะ และอยากให้มันเป็นยังไง ด้วยเหตุผลอะไร

ถ้าท่านไหนสามารถให้ข้อมูลส่วนตัวด้วยได้ (แค่ชื่อ อายุ อาชีพ) จะเป็นพระคุณมากเลยค่ะ หรือถ้าอนุญาตให้ alissa เก็บข้อมูลส่วนตัวจาก profile ในเว็บได้ จะขอบคุณมากค่ะ

Views: 2475

Replies to This Discussion

ขอร่วมแชร์ประสบการณ์ด้วยนะครับจากที่ผ่านการเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเอกชนในเครือแคธอลิคมาตั้งแต่ประมาณ 1970's - 1990's  

  สื่อการสอน:  เรื่องนี้ผมคิดว่าควรต้องปรับปรุงให้หนังสือ และเนื้อหาในหนังสือดูหน้าอ่าน ดึงดูด ตื่นตาตื่นใจ เพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้เรียนภาษาอังกฤษ  ผมจำได้แม่นว่าหนังสือวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนเน้นให้ท่องจำ, แปลอังกฤษเป็นไทย ไทยเป็นอังกฤษ เป็นคำ ๆ  ขาดความหลากหลายทางบริบท  ประโยคที่ยกตัวอย่างก็ตายตัวเกินไปสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน  การอธิบาย grammar ก็ค่อนข้างขาดตัวอย่างที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และขาดความหลากหลาย และเขียนเป็นวิชาการมากเกินไป ทำให้น่าเบื่อ  รูปลักษณ์ของเล่มก็ไม่น่าอ่านเมื่อเทียบกับ text book ภาษาอังกฤษจากต่างประเทศ

  สื่อการสอนอื่น ๆ ก็น่าจะเสริมเข้ามา เช่น ตอนผมเรียนระดับมัธยมอีกที่นึง มีวิชาภาษาอังกฤษให้ดูหนัง, การ์ตูน, ข่าว ภาษาอังกฤษ ถือว่าช่วยได้มาก  หนังสือเรียนจากต่างประเทศแยกเป็นการอ่าน, การเขียนเรียงความ, ย่อความ, conversation, ฯลฯ รูปลักษณ์น่าจับ น่าเปิด น่าอ่าน  เนื้อหาก็ลึกซึ้งกว่าเยอะ

 

   ผู้สอน:  ผมว่ามีคุณครูภาษาอังกฤษที่เป็นคนไทย ที่มีความรู้ทางภาษารอบด้าน ลึก ออกเสียงถูกต้อง เพราะผมได้รับการศึกษาจากคุณครูท่านเหล่านี้มาเหมือนกัน  แต่ทั่ว ๆ ไป อาจจะไม่ทุกคนที่จะมีคุณภาพแบบนี้ หากโรงเรียนไหนมีครูแบบนี้ก็ถือว่าลูกหลานโชคดี  แต่มีเยอะเหมือนกันที่มีปัญหา:

   1. การออกเสียงไม่ถูกต้อง ไม่คล่อง

   2. เน้นแปลเป็นคำ ๆ จากไทยเป็นอังกฤษ แล้วให้ท่องจำ  ไม่มีความรู้กว้าง และลึกพอที่จะอธิบายความหมายแต่ละคำนอกจากคำแปลเป็นไทยสั้น ๆ 

   3. เน้นให้ท่องจำเป็นประโยคไปใช้งาน ไม่เน้นสอนการสร้างประโยคอย่างใช้ความเข้าใจ (จำอย่างเดียว พลิกแพลงหน่อย บื้อใบ้หมด)

   4. มีความรอบรู้ทางภาษาอังกฤษที่อยู่นอกตำราน้อย 

หากเทียบกับคุณครูต่างชาติ (ที่มีคุณภาพ)ฟิลิปปินส์, อินเดีย, พม่า,สิงคโปร์ หรือ ฝรั่ง ที่เราต้องเปลี่ยนไปเรียนด้วย ปรับตัวแทบไม่ทัน  ไม่ต้องพูดถึงว่าเขาพูดกับเราเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว แต่เขามีความรู้กว้าง และลึกซึ้ง รวมทั้งมีวิธีการสอน มีสื่อประกอบการสอนที่ทำให้รู้สึกว่าภาษาอังกฤษก็คืออีกภาษานึง ไม่ใช้วิชาฟิสิกส์

 

ผมว่ามหาวิทยาลัยที่จะผลิดคุณครูที่จะมาสอนภาษาอังกฤษควรจะดูว่าประเทศในเอเชียที่สามารถผลิตครูสอนภาษาอังกฤษได้ดี เขาทำกันอย่างไร และนำมาปรับใช้    ในความเห็นส่วนตัว ควรเน้นเสริมให้คนที่จะมาเป็นครูศึกษาจากหนังสือที่ไม่ใช่ text book อย่างเดียว และเรียนรู้จากสื่อหลายๆสื่อ, เน้นให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ,  ให้เรียนกับอาจารย์ต่างชาติที่มีคุณภาพ, มีความเข้มทางการทดสอบก่อนให้จบมาเป็นครู  

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีบทความหนึ่งใน The Nation เกี่ยวกับเรื่องกระทรวงศึกษาจะจ้างต่างชาติมาสอนเด็กไทย  ซึ่งในบทความเห็นว่าปัญหาจริงๆอยู่ที่ทำอย่างไรให้สร้างครูคนไทยที่มีคุณภาพเหมือนในครูภาษาอังกฤษในอินเดีย หรือ สิงคโปร์ซึ่งเขาสามารถผลิตครูมาสอนนักเรียนให้มีความรู้ภาษาอังกฤษดี ใช้ได้จริง โดยเขาไม่ได้พึ่งครูฝรั่งจากตะวันตก ซึ่งก็สะท้อนว่าการผลิตครูภาษาอังกฤษที่เป็นคนไทยเป็นไปได้จริง และเลยเวลาที่จะคิดทำมานานแล้วครับ

ให้สร้างครูคนไทยที่มีคุณภาพเหมือนในครูภาษาอังกฤษอินเดีย หรือ สิงคโปร์

มากดlike

สวัสดีค่ะครู Alissa    วาสนา  อายุ43 ปี อาชีพ พยาบาล จบปริญญาโท ทางการพยาบาล  แ่ต่ทักษะการพูดการฟังภาษาอังกฤษไม่ดี  อยากให้ระบบการสอนภาษาอังกฤษในไทย เน้นการเรียนรู้พัฒนาอย่างเป็นธรรมชาติ  นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้   การเรียนภาษาในห้องเรียนที่ดีต้องกลุ่มเล็ก เพือให้ทุกคนได้ฝึกการใช้ภาษาอย่างทั้วถึง ไม่เรียนแบบท่องศัพท์ แปลไทย และครูต้องมีความรู้ในการสอนด้วย โดยเฉพาะการออกเสียงที่ถูกต้อง

ขอบคุณทุกๆ ท่านเลยค่ะ มาตามเก็บข้อมูลค่ะ

แชร์ด้วยนะคะ การเรียนการสอนในห้องเรียน teaching material ถือว่าสำคัญจริงๆ ค่ะ แต่ถ้าได้รับการใส่ใจที่ดี งบประมาณมีถึง ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่เรื่องผู้สอนนี่เป็นปัญหาใหญ่ค่ะ alissa เชื่อเสมอค่ะว่ามีคนไทยที่เก่งภาษาอังกฤษ (ไม่ใช่จากในระบบการศึกษาไทย หรือที่ขวนขวายเอง)  เยอะจริงค่ะ แต่การที่คนเหล่านั้นจะมาเป็นอาจารย์สอนภาษานี่ น้อย หรือถ้าเป็นอาจารย์ก็จะไม่เข้าไปสอนในโรงเรียนรัฐบาล แต่เป็นโรงเรียนเอกชน (ส่วนหนึ่ง) และโรงเรียนกวดวิชา (ที่เน้นแกรมม่า ติวสอบผ่าน) ส่วนคนอื่นๆ ที่เก่งก็ไปทำงานอื่นที่ได้เงินมากกว่า เหนื่อยน้อยกว่า

ยากจริงๆ ค่ะ เรื่องนี้

สวัสดีค่ะคุณครูalissa
ดิฉันเป็นหนึ่งที่ไม่เก่งในวิชาeng จำได้ว่าตนเด็กวิชาeng ไม่เข้าใจเอาซะ อ่านไม่ออกแปลไม่เห้อกลุ้มใจในสภาพวะตอนเด็ก ครูให้ท่องศัพท์ เช้ามาให้มาเขียนตามคำผิดเหมือนภาษาไทยแต่พอเริ่มโตเรียนมัธยมหนักกว่าเก่าคะ ท่องเยอะไม่รู้จะให้ท่องทำไมหนัก มันเกิดความเบื่อหน่ายเริ่มสนุกละ เรียนก็เยอะฟังไม่รู้เรื่องลอกเพื่อนตลอด สอบเดาบ้าง อาจเป็นความไม่ชอบของเราไม่เข้าใจว่าจริงๆแล้วมัยนแปลว่าอะไร พอเรียนปวช ปวส ก็มั่วตลอด พอมาใช้ชีวิตสู่โลกภายนอก ไปสมัครงานก็ต้องเปฌนเรื่องสนทนาในตำราก็เท่าน้านแกรมม่า
พอมีลูกก็ไม่เคยคิดว่าต้องสอนเองทั้งหมดทุกวิชาแทบเป็นลม เริ่มสอนengตอน1ขวบทำไงดีเราไม่เก่งซะเลยเน้นคุยกับคนอื่นในเว็บ เลยได้คำตอบพูดไม่เป็นไม่เป็น เน้นฟังengกับการ์ตูนละกัน เน้นเรื่องความชอบเป็นหลัก หาสื่อทุกอย่างยอมเสียเงินซื้ออุปกรณ์ 555 มาวันนึงลูกไปโรงเรียน55
ครูงงคะ เพราะไม่เคยบอกอะไรครูเลย ตอนช่วง2.2ปี ลูกตอบengกะครูคะ ครูเล่าให้เราเลยอ่อ ได้ผลแหะ สักเริ่มใช้ipad. ลูกรู้คำศัพท์เองเติมคำได้ จนต้องตัดสินใจย้ายโรงเรียนมาเรียนep แต่เรียนภาคไทยอีกหนึ่งปีเพราะให้ลูกเรียนตามเกณฑ์ แต่ภาษาไทยรู้เยอะเหมือนeng. แต่โรงเรียนลูกผู้อำนวยการนำร่องเรียนeng. ครูประจำชั้นต้องคุยกะเด็กเป็นengทุกวัน แม้สอนแปลบ้าง แต่ไม่ว่ากันเพราะถือว่าครูใส่ใจในการสอนเด็กให้มีคุณภาพ
แต่ก็ชอบนะ เด็กที่ไม่เก่งก็มั่นใจในการเรียนeng คิดเลือกไม่ผิดกับโรงเรียนนี้ ส่วนศัพท์เขาให้แค่5คำ ยันป6 แต่เด็กเล็กไม่ต้องท่องคะลืมบอกไปคะ
โรงเรียนลูกมี2โปรแกรมคือ ep กับเรียนธรรมดาคะ
แต่อีกโรงเรียนคือโรงเรียของลูกเพื่อนให้เด็กท่องศัพท์พอเปรียบเทียบกะลูกสาว. เด็กกำลังขึ้นป1แต่ภาษาเขาไม่เก่งด้วยซำ้และเด็กโรงเรียนลูกเพื่อนแฟนเห็นได้เลยส่วนภาษาว่าเขาเน้นอังกฤษแต่กลับ ทำไม่ได้ไม่อยากเรียนengซะงั้นเพราะเห็นเด็กโตก็เป็น
ฉะนั้นเชื่อว่าทุกโรงเรียนขึ้นอยู่กับ ผู้บริหารนำร่องมากกว่าว่า จะสนับสนุนแค่ไหนเปิดโอกาสให้ครูผู้สอน ได้สอนแนวใหม่รับฟังความคิดเห็นมากกว่าแล้วนำมาปรับปรุงการเรียนการสอนพัฒนาเด็กในบ้านเมืองเราให้เขามั่นใจในภาษาและกล้าคิดกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องดีกว่า
แต่อีกเรื่องหนังสือเรียนในบ้านเราเปลี่ยนตลอดไม่รู้เปลี่ยนเปลี่ยนเพื่ออะไร ทำให้ครูผู้สอนแต่ละปีลำบากมากในการเขียนแผนการสอนบางปีดีอยู่ก็จะเปลี่ยนทำไมกันอื่น แถมคิดได้ไงแจกแท๊บแล๊ตเด็ก แจกไปเชื่อดิน้อยครูที่จะใส่ใจการสอน ถ้าเป็นช้อยให้เด็กหรือเป็นตัวเลขเยอะ เด็กมั่วตอบ แล้วครูจะทันเด็กไหมหนอยถ้าเด็กแอบเล่นเกม เด็กยุคนี้ฃฉลาดนะเรื่องที่ไม่สมควรฉลาด บ้านไหนที่มีให้ลูกเล่นเขาควบคุมได้เพราะอยู่มนสายตาพ่อแม่ แต่โรงเรียนนอกสายตาพ่อแม่กลายเป็นสายตา ครูถ้าคุมถึงก็ดีไปคะ.
สรุป. สอนอะไรไม่ว่าภาษาหรืออะไรก็เน้นให้ชอบดีที่สุด แล้วจะเห็นความมหัศจรรย์เหมือนที่ดิฉันเจอ

ขอบคุณค่ะ ^^

เห็นด้วยค่ะ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายโรงเรียนด้วยเช่นกัน โรงเรียนคุณแม่น้องโบอิ้งเป็นโรงเรียนรัฐบาลหรือเอกชนคะ?

เอกชนคะ

รร.ไหนคะ น่าส่งน้องไปเรียนจัง

โรงเรียนธัมมสิริสัตหีบคะ ที่สำคัญค่าเทอมไม่แพงจนเวอร์คะหลักสูตรep 23,000บาท เรียนปกติ8500บาท
แถมผ่อนชำระค่าเทอมได้ด้วยคะ พอเรียนเทอม2เหลือ20000ep. โปรแกรมธรรมดาเหลือ 5000กว่าเกือบ6000บาท
ค่าเทอมไม่ขึ้นบ่อยด้วยอิๆๆ

 แชร์ด้วยคน ค่ะจะว่าไปแล้วก็คงต้องรื้อกันทั้งระบบนะคะ ทั้งกระทรวงเลย รัฐไม่ได้จริงจังในเรื่องนโยบายการศึกษา เปลี่ยนเป็นว่าเล่น ตามนโยบายของนักการเมือง หลักสูตรเปลี่ยนไปเรื่อย  ไม่แน่ใจว่าได้สอบถามครูผู้สอนบ้างหรือไม่ มีการวิจัยเชิงลึกรึเปล่า สงสาร นักเรียน  ในรร. ห่างไกล ทุรกันดาร ที่มีครูไม่เพียงพอ  ไม่ตรงสาขา อันนี้สงสารทั้งเด็ก ทั้งคุณครูค่ะ  ครูคนหนึ่งสอนหลายวิชา  โดยเฉพาะภาษาอังกฤษครูไม่ถนัด ก็เลยไม่ได้สอน (อันนี้ในระดับประถม  บางโรงเรียน) พอส่งผ่านมามัธยมเด็กไม่มีพื้นความรู้ ต้องมา เริ่มใหม่  ว่ากันตั้งแต่ ABC ใหม่หมด หลักสูตรเน้นการสอบให้ผ่าน Onet  / Nt  แต่ละช่วงชั้นไม่ได้ประเมินทักษะด้านการพูด/การฟัง  บางโรงติวเด็กเพื่อให้ผ่าน Onet /Nt  แค่นั้นเองหรือ หลักการวัดผลประเมินผลเน้นสอบเข้ามหาวิทยาลัย ไม่เน้นการฟัง การพูด  อาชีพครูต้องมาอันดับ 1 เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ใช่ว่าสอบอะไรไม่ได้แล้วมาเรียนครู อันนี้อนาคตของชาติฝากไว้ในมือใครคะ จะโทษใครดี คนเก่ง ๆ  ไม่อยากเป็นครู  

(ไม่แน่ใจตัวเองว่าแสดงความคิดเห็นหรือบ่นค่ะ ) มีคนฝากบ่นอีกเยอะค่ะ แต่เอาแค่นี้ก่อนนะคะ

 

Copy   คุณอลิสามาเลยนะคะ

1. methodology วิธีการสอน ไม่ควรสอนแบบท่องจำ (rote learning) แต่สอนแบบเน้นความเข้าใจ (sight reading) สอนให้แสดงออก (express) ซึ่งฝึกการคิด วิเคราะห์ 

เห็นด้วยค่ะ

2. knowledge สิ่งที่มาสอนควรเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าถูกต้องแล้วจริงๆ เช่น (โดยเฉพาะ) phonics

ข้อนี้มากที่สุดค่ะ  แนะสพฐ. ส่งวิทยากรจากหมู่บ้าน 2 ภาษาให้ความรู้ครูอังกฤษค่ะ

3. practise การฝึกฝน นำเอามาใช้จริง เพื่อให้เข้าใจ จำได้ และใช้จริงได้

เหมือนข้อสองคะ

4. teacher บุคลากรผู้สอนต้องมีความรู้ทักษะที่ถูกต้องและเพียงพอในการสอน

อบรมครูโบ (โบราณ ที่ถูกสอนมาแบบเก่าๆ อันนี้ไม่ได้ลบหลู่ค่ะ เห็นใจว่าเมื่อก่อนครูของครูก็ไม่เคยไปเมืองนอก เคยแต่อยู่นอกเมือง สื่อต่างๆ ก็ยังไม่ทันสมัย คำบางคำ หรือ ประโยค  หรือวลี ต่างๆ  อาจผิดเพี้ยนไปต้องมารื้อใหม่ค่ะ ( เข้าเวิร์คชอบ คุณบิ๊กค่ะ )  มีให้ครูได้น่าจะดีนะคะ

ข้อนี้มากถึงมากที่สุดค่ะ

5. teaching material อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน ควรใช้ที่เหมาะสม ถูกต้อง และหลากหลาย (ขอแอบเม้าท์ด้วยว่า หนังสือเห็นเปลี่ยนทุกปี) ไม่ใช่เฉพาะหนังสือ แต่รวมสื่อการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย ( หรือแม้แต่หลักสูตร ไม่อยากให้เปลี่ยนบ่อย)

แนะนำคือ less grammar, more listening-speaking เรียนไวยากรณ์ให้น้อยลงและเรียนการฟังการพูดให้มากขึ้น

เห็นด้วยค่ะ

สรุปก็คือ  การวัดผลประเมินผลก้อตรงจุดด้วยค่ะ  สอนเน้นสื่อสารตอนวัดผลก็ควรเน้นสื่อสารด้วยเช่นกัน

สรุปอีกครั้งอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนในประเทศไทยโดยเฉพาะการสอนภาษาอังกฤษ    

 

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ  รัฐไม่ได้จริงจังในเรื่องนโยบายการศึกษา เปลี่ยนเป็นว่าเล่น ตามนโยบายของนักการเมือง หลักสูตรเปลี่ยนไปเรื่อย  ไม่แน่ใจว่าได้สอบถามครูผู้สอนบ้างหรือไม่ มีการวิจัยเชิงลึกรึเปล่า(ขอตอบว่าไม่เคยวิจัย นักการเมืองเน้นเรื่อง หาเสียงกับครู เดี๋ยวนี้โรงเรียนมีเด็กร้อยคนจากครูใหญ่ก็กลายเป็น ผอ. ได้ ถ้าผลงานผ่าน อะไรประมาณนี้)

ในรร. ห่างไกล ทุรกันดาร ที่มีครูไม่เพียงพอ  ไม่ตรงสาขา อันนี้สงสารทั้งเด็ก ทั้งคุณครูค่ะ (จริงๆทำให้เพียงพอได้แต่ไม่ทำ บางโรงเรียนห่างกันไม่ถึง 1 กิโล ในเขตพื้นที่เดียวกันมีโรงเรียนประถม 5 โรงเรียน บางโรงเรียนมีเด็กไม่ถึง 100 คนแต่ไม่ยอมยุบรวมกัน แล้วอย่างนี้จะหาครู 1 คน ต่อหนึ่งวิชาได้ที่ไหน มันเป็นปัญหาการศึกษาระดับชาติ ที่ต้องคุยกันยาว เพราะฉะนั้นครูภาษาอังกฤษดีๆ มันหายากอยู่แล้วก็ยิ่งยาก ทั้งหมดมันก็มาจากภาครัฐที่ไม่จริงจัง หรือไม่ก็มองปัญหาไม่ออก นักการเมืองเข้ามามีบทบาทในนโยบายทั้งๆที่ไม่มีความรู้ ไม่เคยเรียนมาด้านนี้แต่ดันทะลึ่งมาคุมกระทรวงศึกษา และออกนโยบายที่เอื้อแต่ผลประโยชน์เข้าตัว การอบรมมีงมมาทุกปี แต่ไม่ได้ผล เพราะอะไรก็เพราะมันไม่ต่อเนื่อง พอกำลังจะสอนเป็นก็เปลี่ยนเจ้ากระทรวงเปลี่ยนนโยบาย ครูตาย เด็กโง่ แต่ทุกคนได้เลื่อนชั้น ฮา....)

ฮาด้วย..... มันคือความจริง ทุกคนได้เลื่อนชั้นและขั้น

ขอบคุณค่ะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service