จาก Treasure basket ที่เป็นตะกร้ามหาสมบัติให้เด็กเล็กวัยเริ่มนั่งและคลาน มาสู่ Heuristic Play กับเด็กวัยเตาะแตะ
ในตะกร้าเด็กได้สำรวจสิ่งของ และเรียนรู้ถึงผิวสัมผัส น้ำหนัก กลิ่น และการใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือหยิบจับของ จากนั้นเด็กๆก็จะเริ่มมาสู่การเรียนรู้ว่าแล้วของเหล่านั้นมาทำและเล่นอะไรได้บ้าง
วิธีการเล่นและอุปกรณ์สำหรับ Heuristic Play ไม่มีขอบจำกัด ส่วนใหญ่จะเป็นของเหลือใช้ ของใช้ในบ้าน ไม้หนีบผ้า เศษไม้ กระดาษ ห่วงไม้ โซ่ หม้ออลูมิเนียม แกนกระดาษชำระ ผ้า พลาสติกห่อกันกระแทกใช้ได้หมดค่ะ
การเล่นก็เหมือนตะกร้าคือไม่ใช้เวลานาน ปล่อยให้เด็กสำรวจและเลือกเล่นของที่เราว่างไว้บนพื้น หน้าที่ของเราคือเหมือนเดิมค่ะ
นั่งเฝ้าและสังเกตุ (จดบันทึกก็ดีนะค่ะ กลับมาอ่านอีกทีมีเรื่องขำๆ เยอะเลย ถ้าถ่ายวิดีโอก็ดีค่ะ แต่เด็กบางคนจะไม่เป็นตัวของตัวเอง แบบเด็กจะสนใจแต่กล้อง)
แนะนำให้ชวนเพื่อนๆของลูกมานั่งเล่นด้วยกัน กิจกรรมนี้จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้การเข้าสังคม สร้างจินตนาการในการเล่น
เราไม่ควรเข้าไปชี้แนะให้เด็กเล่น ปล่อยให้เค้าเล่นในแบบของเด็กๆ ไม่มีข้อจำกัดว่า.....
"อย่าเสียงดังลูก"
"เดี๋ยวเลอะ"
"อย่าวิ่ง เดี๋ยวหกล้ม"
"เอาห่วงนี้ใส่กับแป้นไม้นั้นดีกว่าลูก มา แม่ช่วย"
ปล่อยเด็กให้เค้าเล่นโดยไม่มีแม่เป็นผู้กำกับอยู่เบื้องหลังค่ะ ให้เค้าใช้จินตนาการในการสร้างเรื่องราวและการเล่นจากของที่มีอยู่.....
ตอนนี้น้องๆที่บ้านไม่ค่อยเล่นแบบนี้เท่าไร แต่ยังชอบเล่นสร้างบ้านอยู่ Den making แล้วจะชวนคุณแม่มาเล่นสร้างบ้านกับลูกๆ คราวหน้าค่ะ
You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!
Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้