ทุกวันนี้คนไทยมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม
โดยเฉพาะในสังคมเมืองทำให้ส่งผลต่อการกินอยู่ กิจวัตรประจำวันที่อยู่อาศัย
รวมไปถึงการเลี้ยงดูลูกด้วยปัจจัยหลายอย่างของคนในสังคม
ไม่ว่าจะเป็นภาระหน้าที่การงาน ความรีบเร่ง
รูปแบบการดูแลลูกจึงถูกปรับให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์พ่อแม่ในเมือง
ซึ่งเสี่ยงต่อโรคเด็กเมืองบางโรค แต่เราหลีกเลี่ยงได้ค่ะความเสี่ยงที่มาพร้อมความเป็นเมือง ไม่ น่าเชื่อว่าการที่ลูกอยู่ในเมืองใหญ่นอกจากมีเทคโนโลยีต่าง ๆ
ที่ทันสมัยแล้ว ยังมีหลายปัจจัย
ที่ทำให้เด็กอาศัยอยู่ในเมืองเสี่ยงต่อโรคบางอย่างด้วย
ความเสี่ยงเหล่านั้นมาจาก...
1. อยู่แต่ในบ้าน
คุณพ่อคุณแม่ในเมืองมักไม่ค่อยได้พาลูกออกไปนอกบ้าน ทำกิจกรรมกลางแจ้ง
สัมผัสธรรมชาติ หรือแสงแดด และอากาศที่บริสุทธิ์ อาจด้วยปัจจัยเรื่องเวลา
ที่อยู่อาศัย และกลัวว่าลูกจะไม่ปลอดภัยเพราะออกไปรับเชื้อโรคมาจากนอกบ้าน
2. ลักษณะที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไปจากเดิม
จากบ้านที่มีลักษณะโล่งโปร่ง ลมพัดเข้าออกได้ดี ข้าวของไม่เยอะ
แต่ปัจจุบันสภาพความเป็นอยู่แออัดมากขึ้น ประกอบกับภาวะโลกร้อน
คนในเมืองนิยมติดเครื่องปรับอากาศ ปูพรม เลี้ยงสัตว์ในห้อง
ไม่ค่อยเปิดหน้าต่างรับลม จึงทำให้ฝุ่นฟุ้งอยู่แต่ในบ้าน
3. อาหารการกินเปลี่ยนไป นิยมตามกระแสตะวันตกและอาหารจานด่วน เน้นเนื้อ นม ไข่ แต่กินผักผลไม้น้อย
3 ปัจจัยข้างต้นนี้ล้วนเป็นที่มาของโรคที่มาพร้อมกับเด็กเมือง3 โรคฮิตของเด็กเมือง 1. โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบบ่อย และจากการสำรวจพบว่า
ผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นมากและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
สาเหตุของโรคเกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้
แล้วกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารนั้นมากผิดปกติ
ต่อมาเมื่อได้รับการก่อภูมิแพ้เหล่านั้นอีก
ก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ขึ้น
ทั้งนี้จะเกิดอาการเฉพาะคนที่แพ้เท่านั้น
โรค
ภูมิแพ้เกิดจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ คือมักมีคนในครอบครัวที่เป็นโรคนี้ด้วย
ร่วมกับปัจจัยกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อม เช่น การสัมผัส ไรฝุ่น ละอองเกสร
ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ อยู่เป็นประจำ
ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้
อาการของโรคภูมิแพ้เกิดได้ในหลายระบบของร่างกาย ได้แก่ ตา จะมีอาการคันตา ระคายเคือง แสบตา น้ำตาไหล อาจมีอาการหนังตาบวมได้
จมูก จะมีอาการจาม คันจมูก น้ำมูกไหล คัดแน่นจมูกหายใจไม่สะดวก
หลอดลมหรือโรคหืด จะมีอาการหอบเหนื่อย แน่นหน้าอกหายใจลำบาก มีเสียงวิ้ด หรือไอมากโดยเฉพาะตอนกลางคืน เช้ามืด หลังออกกำลังกาย หรือขณะเป็นหวัด
ผิวหนัง
จะมีอาการคันตามตัว มีผื่นตามตัว
มักมีผิวแห้งในเด็กเล็กมักมีผื่นแดงคันที่แก้ม ข้อศอก หัวเข่า
ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ มักพบผื่นตามข้อพับ อาจมีน้ำเยิ้มร่วมกับผื่นด้วย
ในบางรายที่เป็นมานาน ๆ อาจพบผิวหนังบริเวณนั้นหนาตัวและมีสีคล้ำขึ้นได้
ระบบทางเดินอาหาร
จะมีอาการอาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้อง สำหรับการแพ้อาหารนั้น
อาจพบอาการทางระบบอื่นได้ด้วย เช่น อาจพบมีผื่นลมพิษ ปากบวม
หรือมีอาการหอบเหนื่อย ครืดคราดได้ อาหารที่เป็นสาเหตุได้บ่อย ได้แก่ นมวัว
ไข่ ถั่ว อาหารทะเล และสารปรุงแต่งอาหารบางชนิด
สำหรับ
ผู้ป่วยเด็ก ส่วนมากอาจได้ประวัติการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ไม่ชัดเจน
แต่ให้สงสัยรายที่มีอาการหวัดบ่อย ๆ เป็นหวัดเรื้อรังไม่หายหรือหายช้า
หอบเหนื่อยต้องพ่นยาบ่อย ๆ รวมทั้งถ้ามีประวัติครอบครัวร่วมด้วย
ก็น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้มากขึ้น
อย่าง
ไรก็ตามในเด็กเล็กที่เพิ่งเข้าโรงเรียน
เลี้ยงในเนอร์สเซอรี่หรืออยู่ในที่ที่มีเด็กมาก ๆ
ก็อาจเป็นหวัดบ่อยได้โดยที่ไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ได้เหมือนกันค่ะ
อาการของโรคถ้าเป็นมาก อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกได้ 2. โรคหวัด เป็นโรคติดต่อจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจส่วนบน (จมูกและคอ)
จะมีอาการจาม คัดจมูกเยื่อจมูกบวมแดง
มีน้ำมูกมากกว่าปกติและมักจะมีไข้ร่วมด้วย อาจมีอาการเจ็บคอ คอแหบแห้ง
หรือไอมีเสมหะ นอกจากนี้จะมีอาการปวดศีรษะและเหนื่อยง่าย
ไข้หวัดมักจะมีระยะโรคอยู่ที่ประมาณ 3-5 วัน
มีเพียงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเท่านั้น
ที่สามารถทำลายเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันนั้นจะใช้เวลาประมาณ 7
วันในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง การรับประทานยาต่าง ๆ เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก
ยาขับเสมหะ เป็นเพียงการช่วยบรรเทาอาการของโรคหวัดเท่านั้น ส่วนวิธีป้องกัน
หวัดที่ดีที่สุด
คือการหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยและด้วยการล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ
More Info : บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะสงสัยว่า ลูกเป็นหวัดคัดจมูกหรือภูมิแพ้กันแน่ วิธีสังเกตง่าย ๆ ก็คือ โรค
ไข้หวัดมักจะมีไข้ร่วมด้วย และมักจะเป็นระยะสั้น ๆ 3-5 วัน ก็จะหายไป
ไม่ค่อยเป็นซ้ำกัน ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
ส่วนภูมแพ้ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
แต่เกิดจากสารที่เด็กแพ้เข้ามามีปฏิกิริยากับเซลล์ในร่างกาย
ทำให้มีการหลั่งสารเคมี บางอย่างออกมา มีไข้ร่วมด้วย และเกิดซ้ำได้บ่อย ๆ
ในช่วงเวลาที่สั้น ๆ
3. โรคอ้วน
เด็กตามเมืองใหญ่มักกินอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะเนื้อ นม ไข่ ของขบเคี้ยว
อาหารฟาสต์ฟู้ด น้ำอัดลม แต่กินผักผลไม้น้อย
และไม่ค่อยออกกำลังกายจนน้ำหนักเกินเกณฑ์และเป็นโรคอ้วน
ปัจจุบันพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของเด็กในกรุงเทพ
ส่วนหนึ่งของปัญหานี้เกิดจากการขาดการดูแลที่ดีจากคุณพ่อคุณแม่
หรือเกิดจากความเข้าใจผิดว่า เด็กอ้วนคือเด็กมีสุขภาพดี
ทั้งที่เด็กอ้วนมักมีปัญหาสุขภาพตามมา ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ นอนกรน หยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะกระดูกโก่งงอ
หรือเสื่อมเร็วกว่าปกติ โรคอ้วนยังนำไปสู่สภาวะบกพร่องทางจิตใจ เช่น
ไม่มั่นใจในตนเอง ถูกเพื่อนล้อ เป็นต้น
เข้าถึงธรรมชาติ เข้าถึงสุขภาพที่ดี ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ปรับชีวิตความเป็นอยู่ให้เข้าถึงธรรมชาติมากขึ้น ลดการปรุงแต่งในด้านต่าง ๆ ลงดังนี้ อาหาร "You are what you eat"
หากเรากินสิ่งดีมีประโยชน์ ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรง
แต่หากเรากินสิ่งที่ไร้ประโยชน์หรือทำให้เกิดโทษ ก็จะเกิดโรคตามมา
ดังนั้นควรสร้างพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องคือ
ควรกินอาหารที่มีสารอาหารครบทุกประเภท ทั้งที่ให้พลังงานได้แก่
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันในสัดส่วนที่เหมาะสม
รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่จากผักผลไม้ ดื่มน้ำสะอาด
และสร้างพฤติกรรมการขับถ่ายที่ดีด้วย
อากาศ
อากาศที่บริสุทธิ์ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้
การที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกออกมาเล่นหรือทำกิจกรรมนอกบ้าน เช่น
สนามหน้าบ้านหรือสวนสาธารณะบ้าง ไม่อยู่แต่ในบ้าน
หรือห้างสรรพสินค้าที่มีคนพลุกพล่าน ระบบการระบายอากาศที่ดี
จะทำให้ลูกรวมทั้งคุณพ่อคุณแม่เองมีสุขภาพที่ดีขึ้น
นอกจากนั้นยังทำให้จิตใจปลอดโปร่งอีกด้วย
ออกกำลังกาย อย่าง
สม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
ปัจจุบันพบว่าเด็กมีกิจกรรมที่ต้องออกกำลังกายน้อยลง มักอยู่แต่ในบ้าน
ซึ่งอาจไม่อำนวยต่อการออกกำลังกาย โดยรูปแบบอาจเป็นการวิ่งเล่น
หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ กับคุณพ่อคุณแม่ หรือกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน
นอกจากจะได้สุขภาพที่ดี มีภูมิต้านทานมากขึ้นแล้ว
ยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคมแก่ลูกด้วย
อารมณ์
พยายามรักษาบรรยากาศของครอบครัวไม่ให้อยู่ในภาวะเครียด
หากิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ ทำร่วมกัน แบ่งเวลางาน
และเวลาของครอบครัวออกจากกัน
เพราะอารมณ์ที่ดีจะช่วยลดภาวะการเป็นโรคภูมิแพ้แล้ว
ยังลดอัตราการเป็นโรคอื่น ๆ ด้วย
ที่อยู่อาศัย ควรจัดให้มีลักษณะโปร่ง โล่ง สบาย มีอากาศถ่ายเทที่ดี ไม่แออัด ทำความสะอาดบ่อย ๆ มีการกำจัดขยะและของเสีย
การพักผ่อน
ที่เพียงพอเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
คนเราใช้เวลาถึงประมาณหนึ่งในสามของชีวิตในการพักผ่อน โดยการนอนที่เพียงพอ
อาจไม่ได้เฉพาะเจาะจงที่จำนวนชั่วโมงต่อวัน
แต่หมายถึงการนอนที่มีคุณภาพมากกว่า ดังนั้นควรจัดบรรยากาศของการนอนที่ดี
ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียดหรือกังวล การออกกำลังกาย หรือการเปิดเพลงเบา ๆ
ก่อนนอนอาจช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
คุณพ่อคุณแม่คงเห็นแล้วว่า การมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบคนเมืองเช่นนี้ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้หลายโรค
ซึ่งวิธีการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงโรค หรือภาวะต่าง ๆ เหล่านี้
สามารถทำได้ง่าย ๆ แค่เราหันมาใช้ชีวิตแบบอิงธรรมชาติมากขึ้น
ให้เวลากับการดูแลสุขภาพของตนเองรวมทั้งลูกที่เรารัก ก็จะทำให้มีสุขภาพดี
ปราศจากโรคต่าง ๆ เหล่านี้ได้ค่ะ
You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!
Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้