เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
เก็บตกจากงาน "รักลูกเฟสติวัล ปีที่ 13 ที่อิมแพค เมืองทองธานี คุณหมอพงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ แนะว่า
วิธีง่ายๆ เริ่มจาก
1. " ให้ความชื่นชม " ทั้งต่อหน้า....ลับหลัง จะกระตุ้นเด็กให้อยากปรับตัว ปรับบุคลิกภาพ เพราะเด็กจะรู้สึกว่า ตัวเองเป็นที่รักเป็นที่ต้องการของพ่อแม่ จึงอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่จุดที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการได้
2. " ยิ้มไว้ก่อน พ่อสอนไว้ " พยายามสอนให้เขารู้จักยิ้มทักทายคนแปลกหน้าก่อน เพื่อมิตรภาพใหม่ๆ
3. " นึกถึงใจเขา ใจเรา " พยายามสอนให้เด็กรู้จักเห็นใจผู้อื่นอยู่เสมอ สอนลูกว่า ลูกไม่ชอบให้คนอื่นทำกับเขาอย่างไร คนอื่นก็ไม่อยากให้ลูกทำกับเขาอย่างนั้นเช่นกัน
4. " พาไปเจอคนเยอะๆ " เพื่อทักษะทางสังคมของเด็กจะดีได้มากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเขาได้มีโอกาสพบปะสมาคมกับคนอื่นบ่อยๆ
5. ข้อสุดท้าย " ให้เข้าร่วมกิจกรรม " ถ้าลูกเก็บตัวจนไม่มีเพื่อนสนิทเลย พ่อแม่คงต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือ หมั่นพาลูกไปร่วมกิจกรรมกับเด็กอื่นบ้าง อาจจะเป็นลูกของเพื่อนหรือลูกของพี่ป้าน้าอา หรือเชิญชวนเพื่อนร่วมชั้นมางานวันเกิดของลูก จะช่วยลูกให้ค่อยๆทำความรู้จักและทำความคุ้นเคยจนเป็นเพื่อนกัน
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องเดียวกันกับคุณภาพการศึกษาไทย ความฉลาดทางสังคมต้องค่อยๆดำเนินและพัฒนาขึ้น ต้องเป็นการเลี้ยงลูกให้อยู่ในทางสายกลาง ไม่เร่งให้โต หรือคาดหวังในตัวลูกมากเกินไป
"การคาดหวังในตัวลูกมากเกินไป อาจกลายเป็นการเคี่ยวเข็ญ..นำไปสู่พฤติกรรมการเลี้ยงแบบเร่งรีบ กดดันเด็กมาก ทำให้กลายเป็นเด็กก้าวร้าว ไม่เกรงใจผู้ใหญ่ ระยะยาวจะมีปัญหาพฤติกรรม มีปัญหาทางอารมณ์ บางรายอาจเกิดความเครียด โดยไม่รู้ตัว ที่สุดนำไปสู่การขัดแย้งไม่ส่งผลดีกับเด็ก...และทุกคนในครอบครัว"
อยากเห็นลูกเก่งและต้องเก่งทุกแขนงวิชา แต่ละเลยแง่มุมของ "ความดี" ...ภาพเด็กอนุบาลต้องเดินเข้าห้องติวหลังเลิกเรียน วันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ที่เห็นมากขึ้น พ่อแม่อาจเชื่อว่า นี่คือโอกาสของลูก
คุณหมอพงษ์ศักดิ์ ฝากว่า การที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตมาเป็นเด็กฉลาด พร้อมที่จะช่วยพัฒนาสังคมให้ดีได้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่แวดล้อมตัวเขา โดยมีพ่อแม่เป็นเบ้าหลอมที่สำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างต้นทุนความฉลาดทางสังคม
ค่านิยมที่ผิดเพี้ยนจึงเป็นมุมตรงข้าม ... ไม่เพียงปิดกั้นความสุขความสนุกสนานตามวัยของลูก ยังทำลายความสามารถในการตอบสนองทางสังคมของเด็กๆ เพื่อสังคมที่ดีกว่าในวันข้างหน้า
(ที่มา นสพ.ไทยรัฐ วันที่ 19 มีนาคม 2555)
บางครั้งเราอาจปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องวิ่งตามกระแสของการแข่งขันในปัจจุบัน แต่หวังเพียงอย่างน้อยที่บทความดีๆนี้ จะช่วยชลอความคิดของผู้เป็นพ่อ-แม่ ให้ช้าลงได้บ้าง เพื่อคืนความสุขสนุกสนาน(แม้อาจเพียงเล็กน้อย) ตามวัยให้แก่ลูกอันเป็นที่รัก เหมือนครั้งที่เราก็เคยได้รับในวัยเด็กจากคุณตา-คุณยาย
(ความคิดเห็นจากผู้โพสต์)
Comment
ไม่อยากให้ลูกแข่งขันกับใครนอกจากตัวเอง..
สมัยเราไม่เห็นมีการสอบเข้าชั้นอนุบาลเลยเนอะ..
"ภาพเด็กอนุบาลต้องเดินเข้าห้องติวหลังเลิกเรียน วันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ที่เห็นมากขึ้น พ่อแม่อาจเชื่อว่า นี่คือโอกาสของลูก"
โดนใจเหมือนกันค่ะ .......ที่แย่ไปกว่านั้นบางโรงเรียนบังคับเรียนพิเศษ เรียนปรับพื้นฐานอะไรต่างๆนาๆเยอะมาก ไม่เรียนก็ถือว่าสละสิทธิที่จะเข้าโรงเรียนกันเลยทีเดียว เศร้ามากที่เห็นระบบการศึกษาไทยเปลี่ยนไปได้ขนาดนี้ ไม่เรียนพิเศษก็สู้เค้าไม่ได้เพราะทุกวันนี้ห้องเรียนกลายเป็นห้องลงเวลาเข้าเรียน...ส่วนเนื้อหาในการเรียนไปหาเรียนพิเศษเอา...
เนื้อหาบทความดีมากเลยค่ะ
"...ภาพเด็กอนุบาลต้องเดินเข้าห้องติวหลังเลิกเรียน วันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ที่เห็นมากขึ้น พ่อแม่อาจเชื่อว่า นี่คือโอกาสของลูก"
เป็นภาพน่าเศร้าที่ไม่อยากให้ลูกต้องเป็นอย่างนั้นเลย แต่ยอมรับว่าการแข่งขันเดี๋ยวนี้มันสูงจริงๆ
© 2024 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by
You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!
Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้