เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่กล้าขัดใจลูกและเลือกที่จะโอ๋ลูกตามใจลูก เพราะกลัวลูกไม่รัก แต่เชื่อไหมว่า การเลี้ยงลูกให้เป็นคุณหนูโดยตามใจทุกอย่าง อยากได้อะไรเป็นต้องเนรมิตให้ ถือเป็นการทำร้ายลูกอย่างทารุณที่สุด.... ด้วยน้ำมือของพ่อแม่เอง!!!
ถ้าคุณรักลูกจริงๆ และอยากเห็นพวกเขาเติบโตมีความสุข รู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และไม่เป็นทาสของเงินลองเปิดใจรับกฎเหล็ก 7 ประการของ "ยีน ชาทสกี" นักเขียนชื่อดังของอเมริกา และบรรณาธิการสายการเงินประจำรายการ NBC's Today Show ที่ทุ่มเทมาทั้งชีวิตเพื่อค้นหาคำตอบว่า ทำไมเด็ยุคใหม่ถึงไร้วินัยทางการเงินและสะกดคำว่า พอเพียงไม่เป็น !!!!!
กฎข้อที่ 1 สอนลูกให้เลือกสิ่งดีที่สุด และเลือกให้เป็น
การตัดสินใจเลือกเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ต้องทำในชีวิตนี้ คุณต้องเลือกระหว่างอะไรกับอะไรสักอย่างเสมอ การสอนให้ลูกรู้จักตัดสินใจเลือกอย่างถูกต้อง จะต้องปลูกฝังตั้งแต่ยังแบเบาะจนถึง 2 ขวบ เพื่อสอนให้รู้ว่า ไม่ใช่ว่าอยากได้อะไรแล้วต้องได้ตามใจไปซะทุกอย่าง เทคนิคสร้างทักษะการเลือกที่ถูกต้องให้ลูกควรเริ่มจากการฝึกลูกให้เลือกระหว่างของ2อย่าง จากนั้นค่อยเพิ่มจำนวนเป็น 3-4 อย่าง ถ้าลูกเลือกแล้ว และรบเร้าอยากเปลี่ยนใจ พ่อแม่ก็ห้ามใจอ่อนเด็ดขาด เพราะจะสร้างนิสัยไม่ดีให้กับลูก ต้องปลูกฝังให้ลูกรู้จักการเลือกและตัดสินใจด้วยตัวเอง ที่สำคัญต้องแฮปปี้กับการตัดสินใจ ไม่ใช่ว่า พอได้ของเล่นชิ้นหนึ่งมาแล้ว ก็ลงดิ้นกับพื้นร่ำร้องอยากจะได้ของเล่นชิ้นใหม่ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะกลายเป็นคนบ้าช๊อปปิ้ง ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า โดยไม่รู้จักคุณค่าของเงิน
กฎข้อที่ 2 กติกาต้องเป็นกติกา เข้มงวดอย่างมีเหตุผล และเลิกตามใจลูก
ผลสำรวจของ "แดน คายด์ลอน" ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด บ่งชื้ว่า เด็กที่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางการเลื้ยงดูเข้มงวดของพ่อแม่ และครอบครัวที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด มีแนวโน้มที่จะไม่ออกนอกลู่นอกทางเมื่อเทียบกับลูกเศรษฐีที่ถูกตามใจตั้งแต่เกิด ลองใช้เทคนิคหักเงินทุกครั้งที่ลูกไม่ทำตามกติกา หรือลงโทษลูกโดยห้ามดูทีวี
กฎข้อที่ 3 กำหนดเงินค่าขนมตายตัว เพื่อฝึกให้ลูกบริหารเงินด้วยตัวเอง
สำหรับพ่อแม่ที่ไม่กล้าปฏิเสธลูก การกำหนดเงินค่าขนมตายตัวอาจเป็นเรื่องยาก เพราะเมื่อลูกรบเร้าอยากได้โน่นได้นี่ พ่อแม่จำนวนมากก็มักใจอ่อนซื้อให้ทุกที ลองเริ่มต้นด้วยการกำหนดเงินค่าขนมเป็นรายอาทิตย์และค่อยเพิ่มภาระเป็นรายเดือน วิธีนี้จะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของเงินและรู้จักการวางแผนการใช้เงินของตัวเอง เด็กหลายคนยอมอดขนมเพื่อเก็บเงินไว้ซื้อของเล่นกระนั้น พ่อแม่ไม่ควรนำเรื่องค่าขนมมาโยงกับการบังคับให้ลูกช่วยทำงานบ้าน
กฎข้อที่ 4 สอนลูกให้รู้จักการรอคอย
ปลูกฝักให้ลูกรู้ว่าได้อะไรมายาก ทำให้รู้สึกภาคภูมิใจมากกว่าการได้อะไรมาง่ายๆ พ่อแม่ที่ดีควรส่งเสริมลูกให้เรียนรู้ที่จะเก็บเงินเพื่อซื้อของที่ต้องการ เช่น ถ้าลูกอยากซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คราคาแพง ในขณะที่มีค่าขนมอาทิตย์ละไม่กี่ร้อยบาท สิ่งที่พ่อแม่จะช่วยได้ก็คือ ทุกครั้งที่ลูกหลยอดกระปุกออมสิน พ่อแม่ควรสมทบเงินในอัตราที่เท่ากันให้ลูก นอกจากการรวบรวมเงินออมทั้งหมดที่สะสมมาได้จากการช่วยงานพิเศษภายในบ้าน เมื่อทำแบบนี้แล้ว เด็กย่อมจะเห็นคุณค่าของสิ่งี่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงตัวเอง
กฎข้อที่ 5 สนับสนุนให้ลูกทำงานพิเศษ
ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่สุดในการสอนลูกให้มีความรับผิดชอบ พ่อแม่อาจเริ่มต้อนจากการจ้างลูกทำงานพิเศษภายในบ้าน เช่น รับจ๊อบล้างรถให้คุณพ่อ หรืออาสาเลี้ยงน้องแทนคุณแม่ เมื่อลูกได้ลิ้มลองรสชาติของการหาเงินได้เอง และอยากได้ข้าวของที่มีราคาแพงเกินกว่ารายได้พิเศษในบ้าน พวกเข้าก็จะออกไปหางานพิเศษทำนอกบ้าน อย่าโวยวายเด็ดขาด ถ้าจู่ๆลูกจะขอไปทำงานแมคโดนัลด์
กฎข้อที่ 6 สอนลูกให้รู้จักคุณค่าของเงิน
เด็กๆ รู้จักใช้เงินเป็น ก็ตั้งแต่พวกเขานับเงินเป็นแล้ว แต่เรื่องที่ยากยิ่งกว่าคือ ทำอย่างไรถึงจะสอนให้พวกเขารู้จักคุณค่าของเงิน มีทิปง่ายๆ สำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ เมื่อไหร่ที่ลูกร่ำร้องอยากได้ของเล่น ลองทดสอบลูกว่าของเล่นที่อยากได้สำคัญระดับไหนตั้งแต่ 1-5 โดยทั่วไปแล้ว เด็กทุกคนมักตอบว่า สำคัญที่สุดเป็นอันดับ 5 จากนั้นทิ้งเวลาไว้สักอาทิตย์หนึ่ง แล้วค่อยกลับมาถามลูกใหม่ การทำอย่างนี้สม่ำเสมอจะช่วยให้พวกเขาพัฒนาศักยภาพในการตัดสินใจด้วยตัวเอง และรู้ว่าควรใช้เงินอย่างไรให้คุ้มค่า
กฎข้อที่ 7 เป็นตัวอย่างที่ดีของลูก ... จงอย่าเหนียวหนี้
พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก โดยเฉพาะเรื่องวินัยการเงิน เริ่มต้นง่ายๆ จากการจ่ายค่าขนมให้ลูกตรงเวลา อย่าเพาะนิสัยเหนียวหนี้ให้พวกเขา มิฉะนั้น พวกเขาก็จะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เหนียวหนี้ ไม่ยอมชำระค่าบัตรเครดิตตรงเวลา เมื่อพูดคำไหนก็ต้องคำนั้น พ่อแม่ต้องเข้มงวดกับกติกาที่กำหนดไว้ ไม่ใช่ตัวเองยังผิดคำพูดบ่อยๆ แล้วนับประสาอะไรจะบังคับลูกได้
Comment
เป็นบทความที่ดีค่ะ
อืม...ข้อคิดที่ดีมากคะ ต้องเก็บไว้เป็นข้อมูลอิอิ ขอ Copy ละเพื่อนำไปใช้ในอนาคต ขอบคุณคะ
ง่ะ แม่ข้าวหอมต้องปรับตัวเองใหม่หมด ... เวลาอยากได้อะไรให้ลูกหน้ามืดซื้อมาก่อนค่อยว่ากันที่หลังตลอด 555
เป็นข้อมูลที่ดีมากค่ะ
รู้สึว่าเพิ่งอ่านจากคอลัมนืใน นสพ.ไทยรัฐตอนไปกินบะหมี่ ชอบค่ะ อยากจะตัดเก็บ แต่เกรงใจเค้า อิอิ
ดีจังมาเจอในเวปนี้อีก เป๊ะเลย เหมือนฟ้าบันดาล(ขนาดนั้นเชียว..)
ก็ยังประเมินตัวเองไม่ได้ว่าตามใจลูกไหม เพราะเค้าขอในสิ่งที่เราให้ได้ตามฐานะ แต่ก็คิดว่าต้องขัดใจบ้าง
เพราะดูเขาได้อะไรตามต้องการเกินไปแล้ว(แม่ให้ด้วยความสงสารลูกค่ะที่ไม่มีเพื่อนเล่น เลยซื้อของเล่นให้)
ขอบคุณบทความดีๆ ไม่ต้องแอบตัด นสพ.ใครแล้ว
คุณแม่คนนี้ก็ไม่ค่อยมีวินัยทางการเงินเท่าไหร่ค่ะ ชอบใช้จ่ายไปเรื่อย อย่างนี้คงสอนลูกยากเพราะคุณแม่เป็นตัวอย่างซะเอง คงต้อ
งปรับปรุงยกใหญ่ค่ะ ไม่อยากให้เขาฟุ่มเฟือยค่ะ ตอนเด็กที่คุณยายเลี้ยงก็ตามใจมาก อยากได้อะไรก็ได้ พอแกเสียไป ไปอยู่กับคุณป้า คุณป้าสอนให้เก็บเงิน ถ้าอยากได้อะไรก็เก็บเงินซื้อเอง จะได้รู้จักคุณค่าของเงิน และของชิ้นนั้น ก็จริงนะคะ เรารักษาของชิ้นนั้นอย่างดี เพราะกว่าจะได้มาไม่ใช่ง่าย ๆ ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ด้วยค่ะ
© 2024 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by
You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!
Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้