เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ควรสอนภาษาเด็กด้วยวิธีใดดี?

จากบทความ "กว่าจะถึงชั้นประถม...ก็สายเสียแล้ว" โดย : นพ.สันต์ สิงหภักดี
เว็บหมอชาวบ้าน



ควรสอนหนังสือเด็กด้วยวิธีใดดี?


การสอนหนังสือเด็กน่าจะแบ่งได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆ

1. แบบโฟนิกส์ (Phonics) หรือแบบอักขระวิธีของไทยเรา วิธีนี้ใช้มาแต่สมัยโบราณดั้งเดิม คือให้เด็กเริ่มท่องตัวอักษร พยัญชนะ สระ และหนังสือไทยเราก็ท่องวรรณยุกต์ด้วย แล้วจึงสอนให้เด็กผสมพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ที่จำได้นั้นให้เป็นคำอ่านออกเสียงและแปลความหมายไป

ในสหรัฐอเมริกานั้น หนังสือที่เคยใช้สอนเด็กอย่างแพร่หลายตลอดมาตั้งแต่โบราณคือ Blue-Backed Speller ของโนอาห์ เวบสเตอร์ ตั้งแต่ ค.ศ.1783 ทำให้เวบสเตอร์มีรายได้จากหนังสือเล่มนี้เลี้ยงชีพ และใช้เวลาตลอดชีวิตทำพจนานุกรม Webster’s Dictionary ที่เราใช้ยึดถือจนทุกวันนี้

วิธีสอนแบบโฟนนิกส์นี้ได้มีผู้คิดและดัดแปลงขึ้นมาอีกหลายแบบ เช่น วิธีของดร.รูดอฟ เฟลสช์ (Dr.Rudoph Flesch) นอกจากนั้นก็ยังมีของแอดดิสสัน-เวสเลย์ (Addison-Wesley) ไดสตาร์ (Distar) และอื่นๆอีกหลายบริษัทที่จัดพิมพ์ขึ้นขาย

วิธีสอนแบบโฟนนิกส์นี้มีผู้ตำหนิว่ายากสำหรับเด็กที่จะต้องท่องจำตัวอักษรและหลักเกณฑ์ต่างๆมากมายกว่าจะอ่านหนังสือออก จะทำให้เด็กเบื่อหน่าย บางท่านอ้างว่าตัวอักษร เช่น ก. ข. ค. เป็นสิ่งที่เด็กไม่เคยเห็นไม่เคยจับต้อง หรือเคยกันมาก่อน ส่วน ไก่ ไข่ ควาย เด็กเคยเห็น เคยกินหรือเคยจับต้องมาก่อน เด็กจะจำเป็นคำๆได้ง่ายกว่า




2. แบบมองดูและท่องจำ (Look and say) แบบนี้สอนให้เด็กอ่านเป็นคำๆแบบหนังสือจีน เป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากในสหรัฐอเมริกา ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การเริ่มต้นจะง่าย เด็กจะจำคำต่างๆได้โดยรวดเร็วในระยะหนึ่ง ทำให้ทั้งครูและคุณพ่อคุณแม่มีกำลังใจและปลาบปลื้มใจ

ระยะหลังๆมีผู้ตำหนิว่าวิธีท่องจำทีละคำนี้มาก โดยให้เหตุผลว่าเด็กจะเรียนได้เร็วเพียงในระยะแรกเท่านั้น หากจะให้เด็กจำคำแต่ละคำไปเรื่อยๆ สมมติว่าวันละ 2 คำ เดือนละ 60 คำ ปีหนึ่งได้ 700 คำ ในภาษาอังกฤษมีอยู่ถึง 2 หมื่นคำ และภาษาไทยประมาณ 1 หมื่นคำ เด็กคงจะต้องใช้เวลาชั่วชีวิตที่จะจำคำแต่ละคำ เช่น นักปราชญ์ชาวจีน นอกจากเด็กบางคนที่เฉลียวฉลาดมาก สามารถจะแยกแยะหาหลักเกณฑ์ในการอ่านขึ้นมาได้เอง (เรียกว่าคิดระบบโฟนนิกส์ของตนเองได้)

ส่วนเด็กอื่นๆที่ยึดหลักการจำคำ เมื่อมากๆเข้าก็จะสับสน ลืม ต่อไปแทนที่จะเป็นนักอ่านที่ดีก็จะเป็นนักเดาคำ (Word guesser) และนานๆเข้าถ้าอ่านไม่ออกจริงๆก็จะเป็นนักอ่านข้ามคำ (Word skipper) ดร.รูดอฟ เฟลสช์ ผู้ซึ่งสนับสนุนวิธีสอนแบบโฟนนิกส์อธิบายว่า วิธีโฟนนิกส์นั้น เด็กอาจต้องเสียเวลาเพียง 3 เดือน ก็จะอ่านหนังสือได้หมดทุกเล่ม

การใช้ตัวอักษรผสมเป็นคำ หนังสือนั้นมนุษย์คิดได้มาตั้งแต่ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมอันสูงส่งของมนุษย์ แต่คนอเมริกันกลับโยนมันทิ้งเสียเฉยๆ หันไปท่องจำตัวหนังสือทีละคำแบบจีน เด็กใช้หนังสือปีละหลายๆเล่มอยู่หลายๆปี ระบบนี้สร้างร่ำรวยมหาศาลให้แก่บริษัทพิมพ์หนังสือ ทั้งทำให้เด็กอเมริกันอ่านหนังสือไม่ออกพอจะใช้งานได้ (Functional illiterate) อยู่เป็นล้านๆคน

ดร.เกลนน์ ดอมแมน เป็นผู้เดินสายกลาง ให้ความคิดเห็นว่าการสอนหนังสือนั้น จะใช้วิธีใดก็ได้ ประการสำคัญคือให้เริ่มสอนตั้งแต่ยังเล็ก ถ้าเด็กอายุเกิน 6 ขวบไปแล้ว จะเรียนหนังสือยากมาก วิธีของ ดร. ดอมแมน จะเริ่มด้วยการใช้บัตรคำระยะแรก เมื่อเด็กจำคำได้ประมาณ 100 คำ ให้เริ่มต้นสอนตัวอักษรและสอนให้เด็กหัดผสม วิธีสอนที่นำทั้งสองแบบมาผสมกัน เรียกว่า วิธีผสม (Eclectic method) ซึ่งมักจะนิยมใช้ในโรงเรียนมอนเตสซอรี่ (Montessory Schools) ในสหรัฐอเมริกา



ผมได้ศึกษาหนังสือ “คู่มือครูอนุบาล เตรียมสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตบูรณาการฯ” ของท่านรองศาสตราจารย์ลัดดา นีละมณี ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ท่านให้ใช้บัตรคำสอนเด็กให้อ่านเป็นคำๆ รวมแล้วได้ประมาณ 115 คำ ในปีที่ 2 ท่านให้เด็กท่องแจกลูกคำ เช่น เงา เรา เหา เมา ครู พรู ทุก คุก ชุก ซุก ฯลฯ ตลอดทั้งปีเด็กจะได้เรียนรู้คำที่ได้จากสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ผสมกัน ประมาณร้อยละ 60 ของคำไทยทั้งหมด ตลอดเวลา 2 ปี ในหลักสูตรอนุบาลของท่านนี้ จะทำให้เด็กสามารถจะเข้าใจการอ่านแบบอักขระวิธีของไทยได้เพียงพอ และสามารถจะเรียนหนังสือในชั้นประถมปีที่ 1 ได้อย่างสะดวกสบาย พอจะเรียกได้ว่าเป็นวิธีผสม (Eclectic method) เป็นวิธีที่เหมาะสมมาก

ทั้ง ดร.เกลนน์ ดอมแมน และซิดนีย์ เลดสัน เน้นว่าเคล็ดลับสำคัญในการสอนหนังสือเด็กก็คืออย่าทำให้เด็กเบื่อ การเรียนรู้ของเด็กเป็นเกมที่น่าตื่นเต้นสนุกสนาน นอกจากผู้ใหญ่ไปบอกเสียเองว่าการเรียนเป็นเรื่องน่าเบื่อน่าหนักใจ หรือเป็นเรื่องยากลำบากน่าพรั่นพรึง และท้อถอย การอยากเรียนรู้ของเด็ก (รวมทั้งการเรียนหนังสือ) เป็นสัญชาตญาณที่เข้มแข็งของเด็ก เช่นเดียวกับลูกแมวหัดจับหนูหรือลูกสุนัขหัดต่อสู้กัน สัตว์ทำตามสัญชาตญาณเพื่อความอยู่รอด การเรียนรู้ของเด็กก็คือการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตไปในอนาคต

Views: 1459

Comment

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

Comment by นายสมบูรณ์ จันทวี on June 2, 2011 at 9:19pm

จากประสบการณ์การสอนภาษาไทยแก่สามเณรชาวบังคลาเทศ อายุ 13 ปี ซึ่งไม่เคยรู้จักภาษาไทยมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการพูด การอ่าน หรือ การเขียน

ผมสอนโดยวิธี การผันอักษร  ซึ่งดำเนินการสอนตามหนังสือแบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม ๑ ตอนต้น (ฉบับเดิม  ไม่ใช้ฉบับปรับปรุงของคุณหญิงกษมา และคณะ  เพราะท่านไปแก้ให้เด็กอ่าน กะบี่ เป็น กระบี่  กะจ่า เป็นกระจ่า  ทั้ง ๆ ที่เด็กเพิ่งเริ่มเรียน กะ กา กิ กี  ยังไม่เรียน อักษรควบใด ๆ)  ใช้เวลาสอน วันละประมาณสองชั่วโมง สัปดาห์ละไม่เกินห้าวันใช้เวลาสอนประมาณสามเดือน  ที่ต้องประมาณเพราะไม่สามารถกำหนดวัน เวลาได้ชัดเจน  ท่านกิจภาระกิจของสงฆ์  เช่นกิจนิมนต์  ) สามเณรรูปหนึ่งสามารถพูดได้ว่า อ่านออก  เขียนได้  (อาจจะไม่เข้าใจความหมายทุกคำที่อ่าน  ซึ่งแม้แต่ผู้แต่งแบบเรียนภาษาไทยให้เด็กไทยอ่าน ก็ไม่รู้ความหมาย  เช่น เขียนบรรยายว่า  ตาดีมีนา (แล้า มีภาพตา  พร้อมกับเขียนว่า ตา)

ที่น่าสนใจมาก ๆ คือสามเณรสามารถเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ ได้ เอง  เช่น คำว่า กัมปนาท  ซึ่งจะมีคำอ่านเขียนไว้ว่า กำ-ปะ- นาด  เป็นต้น

                                                สมบูรณ์  จันทวี

Comment by สุนิสา สุวรรณ on May 22, 2010 at 10:53am
สวัสดีค่ะ ข้อมมูลดีมากๆเลยคะ สำหรับคุณแม่น้องmillan เลือกให้ตัวไหนเป็นการสอนน้องเค้าคะ คุณแม่น้องmillan ตอนนี้สอนน้องเค้ากี่ภาษาแล้วคะ.
Comment by สุภาพร(แม่ปั้น฿แป้ง) on March 16, 2010 at 2:00pm
ขอมาแอบอ่านด้วยคนนะคะ ดีมากเลย
Comment by จันทกานต์ นิมมานนรเทพ on April 30, 2009 at 7:41pm
ถ้าสนใจอยากจะเข้าไปทดลองโปรแกรม "ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ" ซึ่งตัวเองกำลังทำอยู่ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (ไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียตนาม) นี้คือแบบ โฟนิกส์ (phonics) ค่ะ ตอนที่อ่านเนื้อหาในหนังสือเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ แล้ว คิดว่าตัวเองควรจะเข้ามาคุยกับกลุ่มพ่อแม่ดูซักหน่อย

อยากจะให้ลองโปรแกรมของเราดูด้วยค่ะ เพราะว่านอกจากราคาจะย่อมเยามากๆ (ถึงมากที่สุดแล้ว) US$59.85 (Baht 2,395.00) ยังใช้งานได้ตลอดชีพ สามารถโอนเป็นมรดกจากรุ่นสู่รุ่นได้ด้วยนะคะ และในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2558 เป็นช่วงที่เรากำลังเก็บข้อมูลงานวิจัยภายใต้โครงการชื่อ "โครงการวิจัยติดตามคุณภาพการเรียนภาษาอังกฤษของผู้ที่พูดภาษาอื่น" (Project Follow Through on Speakers of Other Languages) การเก็บข้อมูลงานวิจัยนี้เก็บทั้งหมด 127 ประเทศและประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้นค่ะ ดังนั้นผู้ที่ซื้อชุดการเรียน "คลิกแอนด์รี้ด โฟนิค" ClickN READ Phonics เมื่อเรียนจบแล้ว (หรือระหว่างเรียนอยู่) ถ้าอยากทดลองสอบทักษะความรู้ความเข้าใจดู สามารถมาสอบได้ค่ะ ถ้าเด็กมีอายุไม่ครบ 12 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่สมัครสอบ เราอนุญาตให้ผู้ปกครอง 1 ท่านเข้าสอบด้วย (จริงๆ แล้วให้มาช่วยดูแลลูกของท่านมากกว่าค่ะ แต่อนุญาตให้ผู้ปกครองช่วยบุตรหลานทำข้อสอบนะคะ) ถ้ามีคะแนนผ่านตามเกณฑ์ ก็ได้รับรางวัลไปค่ะ คือเราส่งทั้งเด็กและผู้ปกครองไปเข้าแค้มป์ฺกิจกรรมฤดูร้อน (ไม่เน้นการเรียนทุกประการ แต่เน้นทักษะการมีมนุษยสัมพันธ์และกิจกรรมกลางแจ้ง)

ลองแวะไปดูที่หน้ากิจกรรมได้จากที่นี่ค่ะ

ประโยคนี้ยกมาจากบทความข้างต้น และเห็นด้วยมากๆ ตอนนี้ในอเมริกาเองก็ตื่นตัวมากเรื่องการสอนให้เด็กๆ เรียนเรื่องการออกเสียงก่อนเป็นลำดับแรก เมื่อก่อนคนอเมริกันคิดว่าบุครหลานของตนต้องพูดภาษาอังกฤษได้อยู่แล้วเพราะเป็นภาษาของตัวเอง แต่ในบางรัฐมีคนหลายเชื้อชาติไปอยู่ อาทิ แคลิฟอร์เนีย ฟลอริด้า ฮาวาย ก็เลยเป็นปัญหาที่สภาคองเกรสต้องลงมาร่วมแจมแก้ปัญหาด้วยค่ะ
ส่วนเด็กอื่นๆที่ยึดหลักการจำคำ เมื่อมากๆเข้าก็จะสับสน ลืม ต่อไปแทนที่จะเป็นนักอ่านที่ดีก็จะเป็นนักเดาคำ (Word guesser) และนานๆเข้าถ้าอ่านไม่ออกจริงๆก็จะเป็นนักอ่านข้ามคำ (Word skipper) ดร.รูดอฟ เฟลสช์ ผู้ซึ่งสนับสนุนวิธีสอนแบบโฟนนิกส์อธิบายว่า วิธีโฟนนิกส์นั้น เด็กอาจต้องเสียเวลาเพียง 3 เดือน ก็จะอ่านหนังสือได้หมดทุกเล่ม

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service