เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
Tags:
คุณเก่งกำลังปรับปรุงเวปคะ เข้าไปแอดที่ fb ก็ได้คะ คุณเก่งยินดีตอบคะ
องค์ประกอบด้าน IQ EQ MQ และ AQ ที่มีผลต่อบุคลิกภาพ
องค์ประกอบด้านสติปัญญา (IQ)
องค์ประกอบด้านความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)
องค์ประกอบด้านความฉลาดทางจริยธรรม (MQ)
องค์ประกอบด้านความสามารถในการฟันฝ่าปัญหาและอุปสรรค (AQ)
องค์ประกอบด้านสติปัญญา IQ (Intelligent Quotient)
เมื่อกล่าวถึง IQ มักจะหมายถึง ความฉลาดทางสติปัญญา ที่เป็นความคิดดั้งเดิมตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 1950 ซึ่งเป็นความฉลาด ที่วัดด้วย แบบทดสอบ แนวคิดเรื่อง IQ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เชาว์ไวไหวพริบ และความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านตรรกะ ตัวเลข ความจำ ความสามารถทางภาษา ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีการวิพากวิจารณ์ถึงข้อจำกัดกันมาก
ปัจจุบันพบว่าความฉลาดของคนไม่ได้แสดงออกมาเพียงแค่นั้น แต่เป็นความฉลาดที่หลากหลายที่เรียกว่า Multiple Intelligence หรือพหุปัญญา ซึ่งนักจิตวิทยาชาวอเมริการชื่อ Howard Guardner กล่าวว่าคนเราทุกคนมีความสามารถทางสมองหลายด้านด้วยกัน โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนจะมีความฉลาด 8 ด้านซึ่งประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ดังนี้ (Guardner,1983)
1. ความฉลาดด้านภาษา (Linguistic intelligence) คือความสามารถด้านภาษา การพูดจาโน้มน้าวผู้อื่น ความสามารถด้านการเขียน ความสามารถด้านบทกวี มีความสามารถในการจำวันเดือนปี และคิดประดิษฐ์คำ
2. ความฉลาดด้านการคำนวณ (Logical – Mathematical Intelligence) คือความสามารถในการใช้เหตุผล การคำนวณ ความสามารถด้านจำนวนตัวเลข ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ความสามารถในการวิเคราะห์คิดเป็นระบบ
3. ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) คือความสามารถในการสร้างภาพในสมอง ความสามารถในการสร้าง จินตนาการสร้างภาพต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนตัวอย่างเช่นสถาปนิกสร้างภาพตึก หรือเมืองขึ้นจากภาพจินตนาการ ความสามารถในการอ่านภาพแผนที่ แผนภูมิ ความสามารถในด้านจินตนาการ สร้างสรรค์
4. ความฉลาดด้านกายภาพหรือร่างกาย (Bodily – kinesthetic Intelligence) คือความสามารถในการใช้สรีระ ร่างกาย ความสามารถในการเล่นกีฬาที่ใช้สรีระร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ความสามารถในการเต้นรำ การแสดง และรวมถึงความสามารถใน ด้านหัตถกรรม และการใช้เครื่องมือต่าง ๆ การเคลื่อนไหว การสัมผัส และใช้ภาษาท่าทาง
5. ความฉลาดด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือความสามารถในด้านคนตรี ความสามารถด้านการร้องเพลง จับระดับเสียงที่มี ความแตกต่างได้ดี สามารถจำทำนอง จังหวะเพลง เสียงดนตรีได้ดี มีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรี
6. ความฉลาดด้านทักษะสังคม (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในด้านการเข้าสังคม การเป็นมิตรกับคนอื่นได้ง่าย ความสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นความสามารถในการสื่อสารการจัดการและความเป็นผู้นำ ชอบพูดคุยกับผู้อื่นมีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถบริหารความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. ความฉลาดด้านบุคคล (Intrapersonal Intelligence) คือความสามารถของบุคคลในการเข้าใจตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง เข้าใจถึงศักยภาพของตนเอง สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิตได้อย่างเหมาะสม ชอบการทำงานคนเดียว ใช้เวลาในการคิดใคร่ครวญ และทำตามความสนใจของตนเอง
8. ความฉลาดด้านธรรมชาติ (Naturalist Intelligence) คือความสามารถในการมองเห็นความงาม ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติ รักธรรมชาติ
องค์ประกอบด้านความฉลาดทางอารมณ์ หรือ เชาวน์อารมณ์ (Emotional Intelligence ,Emotional Quotient :EQ)
ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ เชาวน์อารมณ์ คือการตระหนักรู้จักตนเองว่า ตนเองเป็นใคร มาจากไหน ต้องการอะไรในชีวิต มีความสามารถในการจัดการควบคุมอารมณ์ตนเอง มีวินัย บังคับใจตนเองได้ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น รู้จักผิดชอบชั่วดี และมีความสามารถในการจัดการอารมณ์ของคนอื่น มีอารมณ์ร่วมกับผู้อื่น คนที่มี EQ สูงแสดงออกโดยเป็น ผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นได้ รู้จักการทำงานเป็นทีม สามารถสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่นและรักษาให้ยืนยาวได้ รู้จักเห็นอกเห็นใจ เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้เป็นอย่างดี เมื่อเกิดปัญหาในชีวิตก็สามารถจัดการกับปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ไม่จมอยู่กับ ความเศร้า นานเกินไป ไม่ท้อแท้ง่าย สามารถหาทางออกของปัญหาให้กับตนเองได้ด้วยดี โดยไม่ทำร้ายตัวเอง หรือผู้อื่น รวมทั้งเป็น ผู้ที่มีความสามารถในการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี (นพ. สุรพงษ์ อำพันวงษ์,22 พ.ย.2541)
การศึกษาวิจัยในต่างประเทศยืนยันว่า EQ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความสำเร็จ บังเกิดความราบรื่นทั้งในชีวิตส่วนตัว และการทำงาน (Goleman,1995,1998,Sternberg,1997) โดยที่ EQ นั้นเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ ฝึกฝนให้มีขึ้นในตนเองได้ EQ เริ่มพัฒนาในวัยเด็กเหมือน IQ ดั้งนั้นการสร้างเสริมให้บุคคลมี EQ เพื่อพัฒนาการสมวัยจึงเป็น อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ที่ควรทำขึ้น ในทุกๆสังคม EQ เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจศึกษาวิจัยในต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยมีการทำวิจัยในกลุ่ม นักศึกษา ผู้ปฏิบัติงาน และผู้นำใน องค์การต่างๆ ดังเช่น ที่มหาวิทยาลัย California at Berkeley มีการศึกษาระยะยาวเริ่มตั้งแต่ปี 1950 โดยเก็บข้อมูล ของนักศึกษา ปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์จำนวน 80คน โดยมีการวัด IQ ทำแบบทดสอบบุคลิกภาพ และมีการสัมภาษณ์จาก นักจิตวิทยา เพื่อประเมิน ความสมดุลทางอารมณ์ วุฒิภาวะ การมีบูรณาการ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีการติดตามผล 40 ปีผ่านมา เมื่อบุคคลเหล่านี้ อายุประมาณ 70 โดยสรุปผลการวิจัยเมื่อปี1994 พบว่า EQ มีความสำคัญมากกว่า IQ ประมาณ 4 เท่า ในการกำหนดความสำเร็จ ในอาชีพ ความมีชื่อเสียงและสถานภาพเป็นที่ยอมรับแก่สังคมของบุคคลเหล่านี้ (Goleman, 1998a: Goleman,1998b:)
ส่วนที่มหาวิทยาลัย Harvard ผู้ที่สนใจเรื่องของ EQ ตั้งแต่ปี 1973 คือ McCleland ได้เขียนบทความวิพากษ์การวัดเชาวน์ปัญญาหรือ IQ ไว้ว่า เกรดเฉลี่ยและเชาวน์ปัญญาไม่ได้เป็นตัว บ่งชี้ความสำเร็จของชีวิต ควรหันมาสนใจวัดสมรรถนะ (Competencies) ซึ่งสามารถทำนายพฤติกรรม และความสำเร็จได้มากกว่า นอกจากนี้ เขายังได้ศึกษากลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จโดดเด่น (ซึ่งเขาเรียกว่า Stars) พบว่าคนกลุ่มนี้มีความสามารถเข้าใจอารมณ์ รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้ดีกว่ากลุ่มคนทั่วไป
การศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้นำและผู้ปฏิบัติงานในองค์การต่างๆ นั้น Goleman (1998) ศึกษาจากบริษัท กว่า 200 บริษัทในอเมริกาพบว่า EQ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้นำมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับสูงของบริษัท ผลการวิจัยชี้ชัดว่า 67% ของความสามารถที่บุคคล ใช้ เพื่อความสำเร็จในงาน เป็นเรื่องของ EQ (เช่นความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในองค์กรได้ เป็นต้น) ในขณะที่อีก33% ที่เหลือเป็นเรื่องของความสามารถทางสติปัญญา (Cognitive Abilities) และความรู้ความชำนาญในงาน (Technical Skills) ซึ่งผลดังกล่าวสอดคล้องกับการวิจัยของ Buchele,R & Goleman ,1998 ที่พบว่าในองค์การนั้น ยิ่งงานมีตำแหน่งสูงขึ้นเท่าไร ความรู้ความชำนาญในงาน (Technical Skills) และความสามารถทางสติปัญญา (Cognitive Skills) จะลดความสำคัญลง EQ จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้น
การวิจัยข้ามวัฒนธรรมในอเมริกา เยอรมันนี ญี่ปุ่น และลาตินอเมริกา ในด้านผู้นำขององค์การที่ประสบความสำเร็จ และล้มเหลว พบข้อมูลที่สอดคล้องกันว่าผู้นำที่ประสบความล้มเหลวนั้นล้วนแล้วแต่ขาด EQ ทั้งสิ้น ทั้งที่ผู้นำเหล่านี้ล้วนมีความชำนาญการสูง และมี IQ สูงทั้งสิ้น(Goleman,1998:41-42)
ในสังคมไทย EQ ยังเป็นเรื่องใหม่ที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจ เพื่อที่จะนำมาประยุกต์ใช้และหาคำตอบให้กับปัญหา ปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้น ดังกล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามแม้จะมีผู้ให้ความสนใจมาก โดยสังเกตจาก การเสนอบทความแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ EQ การเสนอทัศนะที่แตกต่างระหว่าง IQ และ EQ เริ่มมีการจัดอบรมของโรงพยาบาล นักวิชาการเพื่อให้ความรู้เรื่อง EQ ให้กับ ผู้ปกครองต่างๆ
ความหมายของคำว่า EQ
Peter Salovey และ John Mayer (1990) ให้นิยามคำว่า เชาวน์อารมณ์ คือ ความสามารถ ของบุคคลในการที่จะไหวเท่าทัน ในความคิดความรู้สึก และภาวะอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นได้ นอกเหนือจากการติดตามกำกับควบคุมได้แล้ว บุคคลพึงรู้จักจำแนก แยกแยะ และใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อชี้นำความคิดและการกระทำของตนเอง จะเห็นว่าความหมายเช่นนี้ สอดคล้อง กับสติและสัมปชัญญะ ในพระพุทธศาสนานั่นเอง EQ เป็นเรื่องของการบริหารจัดการความรู้สึกและอารมณ์ภายในตน (Intrapersonal Emotional Management) และการบริหารจัดการอารมณ์ของตนในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal) EQ เป็นเรื่องของการฉลาดรู้จักใช้อารมณ์ของตน สนองเป้าหมายของการทำงานและชีวิตประจำวัน
Goleman (1995) ได้ให้ความหมายของอารมณ์ไว้ว่า “เป็นความรู้สึกที่ประกอบจากความคิดเฉพาะตน เป็นภาวะทางจิตใจและชีววิทยา เป็นวิสัย แนวโน้มที่จะแสดงออก” (p.289) ตัวอย่างของอารมณ์สำคัญ ๆ ได้แก่ โกรธ เศร้า กลัว ร่าเริง รัก ขยะแขยง ประหลาดใจ ละอาย อดสู เป็นต้น ส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ได้แก่ ภาวะอารมณ์ (Moods) ที่แฝงในตนและคงอยู่นานกว่าอารมณ์ และคำว่า นิสัยใจคอ (Temperament) ที่เป็นนิสัยของอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวคน พร้อมที่จะแสดงอารมณ์และภาวะอารมณ์ออกมาให้ปรากฏ เราจะสังเกตเห็น ความผิดปกติของอารมณ์ของบุคคลได้ชัด หากเบนออกไปจากนิสัยใจคอที่เป็นแบบฉบับปกติของบุคคลนั้น
Cooper & Sawaf (1997) ได้ให้ความหมายของ EQ ไว้ว่า เป็นความสามารถของบุคคลในการที่จะรับรู้เข้าใจ และประยุกต์ใช้พลัง การรู้จักอารมณ์ เป็นรากฐานของพลังงาน ข้อมูล การสร้างสายสัมพันธ์เพื่อการโน้มนำผู้อื่นได้
Goleman (1998, p.317) ได้ให้ความหมายของ EQ ไว้อย่างชัดเจนว่า หมายถึง “ความสามารถในการตระหนักรู้ถึง ความรู้สึกของ ตนเอง และของผู้อื่น เพื่อการสร้างแรงจูงใจในตัวเอง บริหารจัดการอารมณ์ต่าง ๆ ของตนและอารมณ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้” โดยเขามีความเชื่อว่า เชาวน์อารมณ์นั้นแตกต่างจากเชาวน์ปัญญา แต่เสริมเกื้อกูลกัน คนที่เก่งแต่หนังสือ (Book Smart) แต่ขาด EQ มักจะมาทำงานให้กับ คนที่มีระดับเชาวน์ปัญหาต่ำกว่าตน แต่มีความเป็นเลิศด้านทักษะของความเก่งคน
Bar-on (1992) (อ้างใน Goleman, 1998b, p.370-371) จากการทำวิทยานิพนธ์ ระดับ ปริญญาเอก ในชื่อเรื่อง “The development of a concept and test of psychological well-being” ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับ EQ ไว้ และได้ให้ความหมายของ EQ ไว้ว่าเป็น “ชุดของความสามารถส่วนตัว ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ของบุคคลที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ของเขาในการต่อกรกับ ข้อเรียกร้อง และแรงกดดันจาก สภาพแวดล้อมทั้งหลายได้เป็นอย่างดี”
จะเห็นได้ว่านิยามของ EQ นั้นมีมากมายในปัจจุบันมีการเผยแพร่แนวคิด แนวประยุกต์ใช้ได้โดยเฉพาะด้านการประเมิน EQ กันเป็นอันมาก การทำความเข้าใจนิยามพื้นฐานของ EQ จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง
ความสำคัญและประโยชน์ของ EQ
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด องค์ประกอบและพัฒนาการของ EQ ทำให้เราทราบว่า EQ น่าที่จะมีส่วนในเบื้องหลัง ของความ สำเร็จต่างๆ ในชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ความสำเร็จในหน้าที่การงาน ในชีวิต ในการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่น หลังจากที่ถูกละเลยเป็นอย่างมากในช่วง 1920-1960 ซึ่งเป็นยุคของความคิด ความเข้าใจ EQ ถือเป็น การเรียนรู้จักอารมณ์ ความรู้สึกของตน ให้ตระหนักมีสติ รู้เท่าทัน สาเหตุและความแปรผันด้านอารมณ์ของตน เป็นการเรียนรู้ พูดคุยภายในตน (Intraindividual Talk) บริหารจัดการอารมณ์ ภาวะอารมณ์ อุปนิสัยใจคอของตน ในทางที่สร้างประโยชน์แก่ทุกฝ่าย สร้างแรงจูงใจ ให้แก่ตนเองไปในทางที่สร้างสรรค์ EQ จึงเป็นการนำเชาวน์อารมณ์ของตนออกมาติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal Relations) ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการสื่อสาร ความเก่งคน ความเข้าอกเข้าใจคน เอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) และเป็นการที่บุคคลมี ความสามารถรักษาความสมดุล ของเหตุผลกับอารมณ์ ความสามารถบริหารจัดการ ความสัมพันธ์งานในหน้าที่ของตน กับผู้อื่นได้เป็น อย่างดี
จะเห็นได้ว่า ความเป็นผู้มีเชาวน์อารมณ์ ผสมเข้ากับเชาวน์ปัญญาของบุคคลคนนั้น นอกเหนือจากจะทำให้บุคคลตระหนัก และรู้จักตนเองแล้ว ยังทำให้เข้าใจความคิดความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่นได้อีกด้วย EQ ก่อให้เกิดการทำงานร่วมมือที่สร้างสรรค์ สนองเป้าหมายที่กำหนดไว้แต่แรกได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล EQ ทำให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นไปอย่างราบรื่น อดทน เข้าใจต่อกัน เกื้อหนุนให้มีการใช้ศักยภาพของคนอย่างสูงสุด ประกอบกับภูมิปัญญาจะทำให้เกิดการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์ EQ ก่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ให้เกียรติยอมรับ เกื้อหนุนแก่กันและกัน เพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์ กล้าเสี่ยง กล้าคิดริเริ่ม ลดการโจมตี การนินทา ก้าวร้าว และไม่ยืดหยุ่นต่อกัน
การประยุกต์ใช้หลักการของ EQ เข้าสู่ชีวิตประจำวันและงานในหน้าที่จะมีประโยชน์อย่างยิ่งกับทุกคน อาทิ
EQ กับปฏิสัมพันธ์ของสติปัญญาและบุคลิกภาพ
ความสนใจเกี่ยวกับ EQ มีมานานนับตั้งแต่ที่มีผู้สนใจเกี่ยวกับความคิด ความเข้าใจ ของมนุษย์ (อาทิ Descartes และ Aristotle ) ซึ่งส่งผลให้มีการศึกษาด้านแนวคิด และการวัดการทดสอบด้านสติปัญญา หรือคุณลักษณะด้านความเป็นคนเก่งของมนุษย์อย่างมาก และต่อเนื่อง ขณะที่ค่อนข้างจะละเลย จิตพิสัย (Affective Manifestations) นับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา ก็มีผู้เริ่มสนใจถึง ความเกี่ยวข้องของ สติปัญญากับบุคลิกภาพ และแยกให้เห็นความแตกต่างกันในระดับพื้นฐานเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงของกระบวนการทางจิต (Psychological Functioning) ของบุคคลนั้นมีความลึกซึ้งมากกว่าระดับพื้นฐาน และควรต้องศึกษาถึง ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของความคิด บุคลิกภาพ อุปนิสัย ประกอบร่วมกันกำหนดเป็นพฤติกรรม ทั้งความรู้และความเชื่อซึ่งต่างมีผลต่อพฤติกรรมในการแก้ไขปัญหา การปรับตัว พฤติกรรมการติดต่อสัมพันธ์ ต่อการแสดงออก ที่เกี่ยวกับจริยธรรมของบุคคล
กระบวนการทางจิตอันเนื่องจากความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของสติปัญญาและบุคลิกภาพนี้จะส่งผลถึงระดับความสามารถในการปรับตัวได้ (Adaptability) ของบุคคลที่แตกต่างกันไปในสถานการณ์ที่เกี่ยวกับความเก่งคิด ความเก่งคน และในเรื่องที่เกี่ยวกับ ศีลธรรมจรรยา อยู่เสมอในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการดำรงชีวิตก็ตาม
กระบวนการของ EQ ต้องมุ่งให้บุคคล หรือกลุ่มบุคคลสามารถที่จะปรับตัวได้เป็นอย่างดีใน 3 สถานการณ์ดังกล่าวคือ ให้บุคคลสนองตอบ ต่อความต้องการพื้นฐาน หรือเป้าหมายต่าง ๆ ของตนได้อย่างสอดคล้องกัน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมคุณธรรม ที่ตนยึดถือด้วย ทำให้บุคคลมีการใช้ความรู้ สติ ความยั้งคิด คิดให้รอบ ใช้ข้อมูลทุกแง่ทุกมุมอย่างเต็มที่ ตามความเป็นจริงถูกต้องกับกาลเทศะกับบุคคล ชุมชน สถานที่
กระบวนการของสมองที่เป็นบ่อเกิดของ IQ และ EQ
EQ เป็นผลการศึกษาอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของสมองส่วนต่างๆ โดยมีลำดับพัฒนาการดังนี้
ในช่วงทศวรรษ 1950 Paul MacLean แห่งสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติของอเมริกา ได้เสนอผลการศึกษาของสมองของคนเราว่า สมองมี 3 ชั้น ชั้นในสุด เรียกว่า Reptilian เกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณ อุปนิสัยดั้งเดิมที่ไม่ได้ขัดเกลา สมองส่วนกลางเรียกว่า Limbic system ที่มี Amygdala เป็นศูนย์ของการรับรู้ ตอบสนองต่ออารมณ์โกรธกลัวของมนุษย์ เป็นบริเวณที่เกิดของอารมณ์ที่ส่งผลต่อ การทำงานของสมองชั้นนอกสุดที่เรียกว่า Neocortex หรือ Cerebral System ทำหน้าที่คิดรับรู้ พูด วางแผน ทำให้ มนุษย์แตกต่าง จากสัตว์ประเภทอื่นๆ ถือเป็น “the thinking brain” ในช่วงทศวรรษ 1960 Roger Sperry แห่ง California Institute of Technology (Cal Tech) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งส่วนของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาและค้นพบว่าสมองทั้ง 2 ส่วน มีหน้าที่เป็น เอกเทศ และความเชี่ยวชาญ แตกต่างกัน สมองซีกซ้ายทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายด้านขวา โดยรับผิดชอบเกี่ยวกับ ภาษาถ้อยคำ เป็นคำพูดตัวหนังสือ เน้นการคิดวิเคราะห์ การคิดวางแผน การคิดตามความเป็นจริง คิดเป็นลำดับขั้นตอน ของความเป็น เหตุเป็นผลอย่างกระตือรือร้น ในส่วนของสมองซีกขวานั้นควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายด้านซ้าย รับผิดชอบเกี่ยวกับ การคิด เป็นภาพ คิดแบบคาดคะเนโดยใช้ญาณหยั่งรู้ คิดโดยประมวลสิ่งเร้าต่างๆพร้อมๆกัน คิดรับรู้จินตนาการ ในลักษณะของความคิด สร้างสรรค์ คิดแบบทันทีทันใด สมองซีกขวาจะคิดในสิ่งที่เป็นภาพรวมในเชิงของมิติสัมพันธ์ ขณะที่สมองซีกซ้ายจะคิดอะไร ในลักษณะ เป็นลำดับขั้นตอน
ในปี 1976 Ned Herrmann ซึ่งสนใจเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ได้เสนอแนวคิด “The whole brain model” ขึ้นมาโดยมีแนวคิดว่า สมองส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้รูปแบบการคิดของ Cerebral อีกส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้การทำงานของ Limbic Mode นอกจากนี้แนวคิดของ Herrmann ได้เสนอ ความโดดเด่นของสมองมนุษย์แต่ละคนว่า เอียงไปทางด้าน Cerebral (สมอง ความคิด ความเข้าใจ) หรือโน้มเอียงไปทางด้านของ Limbic (อารมณ์ ญาณหยั่งรู้ ทันทีทันใด) นำไปสู่ความเชื่อว่า สมองของมนุษย์แต่ละคน จะมีด้านใดด้านหนึ่งที่เด่นกว่าด้านอื่น
Goleman (1998) เชื่อว่า การสอนบุคคลให้มีความสามารถด้านทางอารมณ์ (Emotinonal Intelligence Competencies) นั้นต่างจากการสอนทักษะด้านสมอง หรือเทคนิคทางวิชาชีพใด ๆ ซึ่งเรียนรู้ได้เร็วโดยใช้สมองส่วนของ Neocortex รู้จักเชื่อมโยง, คิด, ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับ แต่ในส่วนของเชาวน์อารมณ์นั้น เป็นการเรียนรู้อีกแห่งหนึ่งที่ซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับ นิสัยการคิด การรู้สึกปฏิกิริยาของคนที่สะสมมานานหลายปี การที่จะพัฒนาได้จะต้องลบพฤติกรรมหรือนิสัยไม่ดี (Unlearn) เสียก่อน แล้วจึงค่อยเรียนรู้ (Relearn) พฤติกรรมที่พึงประสงค์เข้าแทน ซึ่งต้องใช้เวลาใช้การฝึกฝนโดยประสบการณ์และการมีแรงจูงใจที่ดี ต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญของ Emotional Brain โดยเฉพาะ Amygdala ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นศูนย์ของความจำ ที่เกี่ยวกับอารมณ์และปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอารมณ์และการรับรู้อารมณ์ ที่นำไปสู่การตอบสนองที่จะสู้หรือถอย (Fight-or-Flight Response)
หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ในส่วนด้านซ้ายบนของสมอง จะเป็นส่วนที่ส่งเสริมด้านของสติปัญญา โดยเฉพาะ IQ และการแก้ไขปัญหา ด้านซ้ายล่างของสมอง จะทำหน้าที่เป็นเสมือนแม่บ้านคอยจัดระเบียบ ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ส่วนสมองด้านขวาบน จะเป็นต้นกำเนิดของความเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ คิดสังเคราะห์ คิดเห็นภาพรวมที่ควรจะเป็น และส่วนของสมองขวาล่าง จะเป็น “Emotional Brain” บ่อเกิดของ EQ เป็นผู้ที่มีความฉลาดรู้ทางอารมณ์ในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น LeDoux (1993) ศึกษาค้นพบว่าอารมณ์สำคัญๆของมนุษย์มีระบบประสาทที่เป็นเฉพาะของตนในสมอง ภายในระบบ Limbic นั่นเอง
ความเชื่อและองค์ประกอบพื้นฐานของ EQ
Eysenck (1994) เชื่อว่าเชาวน์ทางสังคม (Social Intelligence) เป็นผลร่วมของหลายๆ ตัวแปร ด้วยกัน อาทิ แรงจูงใจ อาหาร ปัจจัยทางวัฒนธรรม ครอบครัว การศึกษา บุคลิกภาพ สุขภาพ ประสบการณ์ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาการของเชาวน์ทาง สังคมจะมีได้ก็ต่อเมื่อบุคคลมีสภาพความพร้อมทางสรีระ ทางพันธุกรรม และชีวเคมีซึ่งเรียกโดยรวมว่าเชาวน์ทางชีววิทยา (Biological Intelligence) ซึ่งจะส่งผลถึงพัฒนาการของเชาวน์ปัญญา ที่เป็นด้านสมอง ดังที่ Eysenck เรียกว่า “Psychometric Intelligence” ที่เขาเชื่อว่าเป็นผลอย่างน้อยจาก ๔ องค์ประกอบด้วยกัน คือ ปัจจัยของครอบครัว วัฒนธรรม ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม และการศึกษาที่ได้รับ
มนุษย์ทุกคนมีภาวะอารมณ์พื้นฐานอยู่ในตัวเหมือนกัน แต่ในระดับที่แตกต่างกัน ภาวะอารมณ์อาจเป็นบวกหรือลบก็ได้ การเกิดอารมณ์ทางลบเมื่อขุ่นเคือง เป้าหมายถูกขัดขวาง อารมณ์ทางบวกเกิดเมื่อรู้สึกยินดีเป็นสุข EQ น่าที่จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. เป็นผลร่วมจากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม อาทิ บ้าน ครอบครัว สื่อ โรงเรียน ที่มีบทบาทหล่อหลอมพฤติกรรมที่สะท้อนถึง EQ หรือ Ego Development ของบุคคล
2. เกี่ยวข้องอย่างมากกับ วุฒิภาวะอารมณ์ที่เจริญสมวัย (Maturity) อาทิ ความอดได้รอได้ ไม่หุนหันพลันแล่นหรือใจร้อน โกรธง่าย การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา การไม่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เป็นต้น
3. เกี่ยวข้องกับ บุคลิกภาพ แบบฉบับที่เป็นปกติวิสัยของบุคคลนั้น ที่ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน พัฒนาการเรียนรู้ของ EQ มักจะเกิดในช่วงหลังการศึกษาเล่าเรียนเป็นส่วนมากเป็นเรื่องของ“โลกในความเป็นจริง”
4. เรียนรู้ได้ ฝึกฝนได้ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ แต่ต้องใช้ความอดทนเอาจริงเอาจัง (Goleman, 1998) และเกี่ยวข้องโดยตรง กับระดับประสบการณ์ของบุคคล การเรียนรู้ของ EQ มีทั้งที่ปรากฏให้เห็น (Implicit) ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้โต้ตอบกันภายในตัวบุคคล (Intraindividual) หรืออาจแสดงออกมาอย่าง ชัดเจน (Explicit) ก็เป็นได้ Reuven Bar-On (อ้างถึงใน Stuller 1997, p.48) เชื่อว่า EQ เติบโตตั้งแต่ในวัยเด็กถึงอายุ 50 กว่า ๆ โดยจะมีจุดสูงสุดในช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปี
5. ประเมินได้ในนัยของความเหมาะสมมากกว่าจะเป็นเรื่องของความ ถูก-ผิด หรือ ขาว-ดำ ดี-ชั่ว
6. มีหลายองค์ประกอบร่วม (Multifactorial) ที่มีผลต่อพัฒนาการทางสังคม อารมณ์ สติปัญญา ของบุคคล
7. EQ สูงในกรณีรายบุคคลไม่ได้เป็นหลักประกันว่า เมื่อรวมกลุ่มแล้ว EQ ของกลุ่มจะสูงตามไปด้วย
ลักษณะของการเรียนรู้ทางอารมณ์ของบุคคลเพื่อสร้าง EQ
จะเห็นได้ว่า การกำหนดความหมายและการอบรมขัดเกลานิสัยทางสังคมของบุคคลนั้น
เป็นผลร่วมของปฏิสัมพันธ์ใน 2 ลักษณะ คือ การซึมซับเข้าสู่ตัวเองกับการแสดงออกกับสิ่งแวดล้อมนอกตน
องค์ประกอบของ EQ
Wagner และ Sternberg (1985,p.439) เสนอว่าพฤติกรรมของผู้ที่ชาญฉลาดด้าน “Practical Intelligence” ที่จะเอื้อต่อ ความสำเร็จในวิชาชีพในการบริหารและในชีวิต สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. การครองตน (Managing self) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง ในแต่ละวันให้ได้ผลผลิตสูงสุด อาทิ การจัดลำดับกิจกรรมที่ต้องทำ การกระตุ้นชี้นำตนให้มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์
2. การครองคน (Managing others) ทักษะความรู้ในการบริหารผู้ใต้บังคับบัญชา และความสัมพันธ์ทางสังคม ความสามารถเข้ากับ ผู้อื่นได้ มอบหมายงานให้ทำตรงกับทักษะความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติแต่ละคนให้รางวัลตามผลงานที่ปฏิบัติ
3.การครองงาน (Managing career) จะสร้างผลกระทบที่ดีแก่สังคม องค์การ ประเทศชาติได้อย่างไร จะสร้างชื่อเสียงเกียรติภูมิ ของตนได้เช่นไร จัดความสำคัญจำเป็นของตนให้สอดคล้องกับสิ่งที่องค์การให้ความสำคัญ โน้มน้าวผู้เกี่ยวข้อง ให้เห็นความสำคัญ เห็นดีงามด้วย
Salovey และ Mayer (1994 ,p. 313-316) แสดงทัศนะว่า EQ เป็นเรื่องของทักษะในการปรับตนใน 3 ลักษณะ กล่าวคือ
1.ขั้นรู้ตน การประเมินภาวะอารมณ์ได้อย่างถูกต้อ งและแสดงออกได้อย่างเหมาะสม การที่บุคคลสามารถรับรู้ ระบุ และจำแนก ภาวะอารมณ์ที่เกิดกับตนได้ เป็นปัจจัยนำที่เอื้อต่อความสามารถในการปรับตัวที่แสดงออกทางอารมณ์ ตัวอย่างเช่น เด็กสามารถ รับรู้ภาวะอารมณ์ที่แสดงออกทางสีหน้าได้อย่างถูกต้อง ที่ผันตามระดับอายุ ยิ่งโตยิ่งรับรู้อารมณ์ได้ถูกต้องมากขึ้น
2. ขั้นควบคุมอารมณ์ ขั้นควบคุม กำกับดูแลภาวะอารมณ์ของตน และของผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามกาลและเทศะ ทั้งในแง่ของกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ในบางอาชีพจำเป็นต้องฝึกขั้นนี้มากเป็นพิเศษอาทิ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ที่ต้องฉลาดรู้เท่าทันในท่าทีภาวะอารมณ์ของผู้โดยสาร
3. ขั้นใช้เชาวน์อารมณ์ คนแต่ละคนจะมีความสามารถใช้ประโยชน์จาก ภาวะอารมณ์ของตนต่างกันในการแก้ไขปัญหา หรือช่วยในการปรับตัว หากอารมณ์ดีอาจมีส่วนช่วยให้เกิดภาวะคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีเหตุผลในการตอบข้อสอบกฎหมาย ขณะที่อารมณ์เศร้าทำให้การคิดแบบอุปมาอุปไมยช้าลง
Goleman (1995,p.43-44) ได้เสนอว่าในทัศนะของ Salovey EQ ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบที่สำคัญคือ
1. ขั้นตระหนักรู้จักอารมณ์ตน (Know one’s Emotion) มีตนแล้วให้รู้ตน หรือบางทีเรียกว่าการตระหนักรู้ตน (self awareness) เข้าใจหยั่งรู้ความเปลี่ยนแปลงในอารมณ์ ภาวะอารมณ์ความต้องการของตนในแต่ละห้วงเวลาและสถานการณ์ เข้าทำนองผู้ที่รู้จักตัวเอง และเอาชนะตนเองได้เป็นผู้ที่ฉลาดที่สุด
2. ขั้นบริหารจัดการอารมณ์ของตน (Managing Emotions) เป็นความสามารถที่จะควบคุมจัดการกับความรู้สึก หรือภาวะอารมณ์ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม และชาญฉลาด โดยสร้างเสริมจากภาวะ ที่ตระหนักรู้ในอารมณ์ของตน เมื่อเศร้า โกรธ ผิดหวังหรือเสียใจ ก็ควบคุมตนได้ ไม่โมโหร้ายหรือหา “แพะ” สร้างความทุกข์ระทมให้เกิดแก่ตน นำพาภาวะอารมณ์ของตน ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ ได้โดยเร็ว ผันร้ายให้กลายเป็นดี คิดไตร่ตรองก่อนตัดสินใจ
3. ขั้นสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเองได้ (Motivating Oneself) การกระตุ้นเตือนตนให้คิดริเริ่มอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ผลักดันตน มุ่งสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ จะนำมาซึ่งความสำเร็จ สามารถอดได้รอได้ ไม่หุนหันใจเร็วด่วนได้ ผู้ที่สามารถทำได้ดังนี้ถือเป็น ผู้ที่ประสบความ สำเร็จในงาน มุ่งสู่เป้าหมายอย่างมีพลังของความตั้งใจมั่น มองอะไรที่ไม่ติดกับเงินหรือตำแหน่ง
4. ขั้นสามารถรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นได้ (Recognizing Emotions in others) ความสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นพื้นฐาน ของความ “เก่งคน” รู้เท่าทันในความรู้สึก ความต้องการ ข้อวิตกกังวลของผู้อื่นได้อย่างชาญฉลาด มีไหวพริบ มีความสำคัญต่อบางอาชีพ เช่น งานที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การขาย การสอน และการบริหารจัดการ
5. ความสามารถในการจัดการความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Handling Relationships) เป็นผลร่วมของข้อ 1-4 ทำอย่างไร ที่จะมี ความสามารถ ในการสร้างและรักษาเครือข่ายสายสัมพันธ์ส่วนตัวและที่เกี่ยวกับงานไว้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากกับความเป็นผู้มีชื่อเสียง (ไม่ใช่ชื่อเสีย) ความเป็นผู้นำและความเก่งคน Gardner ถือว่าเป็นลักษณะของ “Interpersonal Intelligence” ที่ประกอบจากการ จัดตั้งกลุ่ม หรือเครือข่าย การเจรจาแสวงหาทางออก การสร้างสายสัมพันธ์เป็นการส่วนตัว และเป็นผู้ที่มีความสามารถวิเคราะห์ สถานการณ์ ทางสังคมได้ดี
Goleman (1998 a , 1998 b) ได้เสนอกรอบแนวคิดเกี่ยวกับเชาวน์อารมณ์ (the emotional competence framework) ไว้ 2 หมวด 5 องค์ประกอบ 25 องค์ประกอบย่อย ดังแสดงไว้ในตารางที่ 1 โดยหมวดแรกเป็นทักษะการบริหารความสัมพันธ์ ส่วน 3 องค์ประกอบที่เหลือเป็นการบริหารตนเอง
แนวคิดเกี่ยวกับเชาวน์อารมณ์
ก. สมรรถนะทางสังคม ได้แก่ การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ การตระหนักรู้ถึงความรู้สึก ความต้องการและข้อห่วงใยของผู้อื่น ได้แก่
1.การเอาใจเขามาใส่ใจเรา
1.1- การเข้าใจผู้อื่น รู้ถึงความรู้สึก มุมมอง สนใจในข้อวิตกกังวลของเขา
1.2- การมีจิตใจมุ่งบริการ คาดคะเน รับรู้และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี
1.3- การพัฒนาผู้อื่น ทราบความต้องการ เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถได้ถูกทาง
1.4 -การสร้างโอกาสในความหลากหลาย เล็งเห็นความเป็นไปได้จากความแตกต่าง โดยไม่แบ่งแยก
1.5-ความตระหนักรู้ถึงทัศนะความคิดเห็นของกลุ่ม ความสามารถอ่านสถานการณ์
ปัจจุบันและความสัมพันธ์ของกลุ่มได้ความคล่องแคล่วในการก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์จากความร่วมมือของผู้อื่น
2.ทักษะทางสังคม
2.1 -การโน้มน้าว แสดงกลวิธีโน้มน้าวต่างๆ อย่างได้ผล
2.2- การสื่อสาร ส่งสารที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ
2.3- ความเป็นผู้นำ โน้มน้าวและผลักดันกลุ่มได้ดี
2.4-การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ริเริ่มและบริหารความเปลี่ยนแปลงได้ดี
2.5-การบริหารความขัดแย้ง เจรจาและแก้ไข หาทางยุติความไม่เข้าใจกัน
2.6-การสร้างสายสัมพันธ์ เสริมสร้างความร่วมมือร่วมใจกันเพื่อการปฏิบัติ
2.7-การร่วมมือร่วมใจกัน ทำงานกับผู้อื่นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย
2.8 - สมรรถนะของทีม สร้างพลังร่วมของกลุ่มในการมุ่งสู่เป้าหมาย
ข. สมรรถนะส่วนบุคคล
บริหารจัดการตนเองได้อย่างไร การตระหนักรู้ความรู้สึกความโน้มเอียงของตน หยั่งรู้ความเป็นไปได้ของตน และความพร้อมต่าง ๆ
3. การตระหนักรู้ตนเอง
3.1 รู้เท่าทันในอารมณ์ตน สาเหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกนั้น ๆและผลที่จะตามมา
3.2 ประเมินตนเองได้ตามจริง รู้จุดเด่นด้อยของตน
3.3 มั่นใจในตนเอง มั่นใจในความสามารถ คุณค่าของตนความสามารถในการ จัดการกับความรู้สึกภายในตนได้
4. การควบคุมตนเอง
4.1 การควบคุมตน สามารถจัดการกับภาวะอารมณ์หรือความฉุนเฉียวได้
4.2 ความเป็นที่ไว้วางใจได้ รักษาความเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์และคุณงามความดีได้
4.3 ความเป็นผู้ที่ใช้สติปัญญา แสดงความรับผิดชอบ
4.4 ความสามารถที่จะปรับตัวได้ ยืดหยุ่นในการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงได้
การสร้างสิ่งใหม่ เป็นสุขและเปิดใจกว้างกับความคิด แนวทาง หรือข้อมูลใหม่ ๆ
แนวโน้มของอารมณ์ที่เกื้อหนุนการมุ่งสู่เป้าหมาย
5. การสร้างแรงจูงใจ
5.1 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พยายามที่จะปรับปรุงหรือให้ได้มาตรฐานที่ดีเลิศ
5.2 ความจงรักภักดี ยึดมั่นกับเป้าหมายของกลุ่ม เป้าหมายขององค์การ
5.3 ความคิดริเริ่ม พร้อมที่จะปฏิบัติตามโอกาสอำนวย
5.4 การมองโลกในแง่ดี แม้มีอุปสรรค ปัญหา แต่ก็ไม่ย่นระย่อมุ่งสู่เป้าหมาย
Bar-on (1992) ได้เสนอองค์ประกอบของ EQ โดยแบ่งเป็น 5 หมวด 15 คุณลักษณะสำคัญ ดังที่แสดงไว้ในตารางที่ 2
หมวดและคุณลักษณะของ EQ ในทัศนะของ Bar-on (1992)
หมวด คุณลักษณะ
1. ความสามารถภายในตน
1.1 ตระหนักรู้จักตน
1.2 เข้าใจภาวะอารมณ์ของตน
1.3 กล้าแสดงความคิด และความรู้สึกของตน
2. ทักษะของความเก่งคน
2.1 ตระหนักรู้เท่าทันในความคิดความรู้สึกของผู้อื่นได้ดี
2.2 ใส่ใจสวัสดิภาพห่วงใยผู้อื่น
2.3 สร้างสายสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี
3. ความสามารถในการปรับตัว
3.1 ตรวจสอบความรู้สึกของตน
3.2 ตีความเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี
3.3 ยืดหยุ่นในความคิดความรู้สึกของตนได้ดี
3.4 แก้ไขปัญหาและสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดี
4. กลยุทธ์ในการบริหารความเครียด
4.1 จัดการกับความเครียดได้ดี
4.2 ควบคุมอารมณ์ของตนได้ดี
5. ปัจจัยด้านแรงจูงใจและภาวะอารมณ์
5.1 มองโลกในแง่ดี
5.2 สร้างความสนุกสนานให้เกิดแก่ตนเองและผู้อื่นได้ดี
5.3 รู้สึกและแสดงออกซึ่งความเป็นสุขให้ปรากฏได้
Weisinger (1998) ได้กำหนด EQ ออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เกี่ยวกับ EQ เฉพาะบุคคลมี 3 องค์ประกอบย่อยคือ ส่วนที่เพิ่ม EQ ให้แก่ตนเอง (intrapersonal emotional intelligence) ซึ่งได้แก่การพัฒนาให้มีความตระหนักรู้จักตน การบริหารอารมณ์ของตน และการสร้างแรงจูงใจที่ดีให้แก่ตน ส่วนที่สองได้แก่การใช้ EQ ของตนเพื่อเสริมสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ (interpersonal emotional intelligence) ประกอบด้วยการพัฒนาทักษะการสื่อสารที่ดี ความเก่งคน และการช่วยเหลือผู้อื่นให้ช่วยตัวเขาได้ โดยเขาเชื่อว่ามี 4 แนวทางที่จะช่วยเสริมสร้าง EQ ของผู้คนได้คือ
-ให้โอกาสได้รับรู้ ตีความและแสดงภาวะอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง
-ให้ได้ใช้ภาวะอารมณ์นั้นๆ กับตนเองและผู้อื่น และเรียนรู้
-ให้ได้เข้าใจอารมณ์และความรู้ที่ได้รับ
-ให้ควบคุมอารมณ์และเอาชนะ สร้างพฤติกรรมในทางบวก
EQ มีความสำคัญต่อบุคคลและสังคม และมีประโยชน์ทั้งในแง่ชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และองค์กรต่างๆ การศึกษาวิจัยใน ต่างประเทศ ยืนยันว่า EQ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความ สำเร็จความราบรื่นทั้งในชีวิตส่วนตัว และการทำงาน (Goleman,1995,1998.) โดยที่ EQ นั้นเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ ฝึกฝนให้มีขึ้นในตนเองได้ EQ เริ่มพัฒนาในวัยเด็กเหมือน IQ ดังนั้นการสร้างเสริมให้บุคคลมี EQ เพื่อพัฒนาการสมวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในการการพัฒนาบุคลิกภาพ
อย่างไรก็ตาม IQ และ EQ ก็ยังไม่เพียงพอในการเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เพราะหากบุคคลนั้นมี สติปัญญาดี มีความฉลาดทางอารมณ์ แต่ไร้คุณธรรม ไร้ศีลธรรมก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมไม่มี ความสุข ดังนั้นองค์ประกอบที่สำคัญและขาดเสียไม่ได้ อีกองค์ประกอบหนึ่งคือ ความฉลาดด้านจริยธรรม และศีลธรรม MQ ( Moral Quotient)) นั่นเอง
องค์ประกอบด้านความฉลาดทางจริยธรรม และศีลธรรม (Moral Quotient :MQ)
MQ (Moral Quotient) คือระดับจริยธรรมศีลธรรมบุคคล ซึ่งสามารถการควบคุมตนเอง มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีความกตัญญู เป็นคนดี มีระเบียบวินัย มีสำนึกผิดชอบชั่วดี และเคารพนับถือผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคมและมนุษยชาติ บางคนเข้าใจว่า EQ กับ MQ นั้นคือ สิ่งเดียวกันแต่จิตแพทย์ จาก ม.ฮาร์วาด ดร.โรเบิร์ต โคลส์ ( Cole ; 1997 ) ได้แยกเอาระดับความคิดด้านจริยธรมมและศีลธรรมนี้ออกมาจากความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญเฉพาะขึ้นอีก ดร.โรเบิร์ต โคลส์ กล่าวว่า MQ นั้นไม่สามารถฝึกฝนหรือขัดเกลาได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ขณะที่บุคคลเจริญเติบโตขึ้นมาแล้ว เหมือนดังคำโบราณของไทยที่ว่า "สันดอนนั้นขุดได้ แต่สันดานนั้นขุดยาก"
การที่บุคคลคนหนึ่งจะมี MQ ระดับดี ต้องเริ่มปลูกฝังในวัยเด็กจึงจะได้ผล อาศัยปัจจัย 3 อย่างด้วยกันคือ การสอนศีลธรรมโดยตรงให้กับเด็ก การถ่ายทอดทางศีลธรรมจากผู้ใหญ่ให้กับเด็ก ความรักและวินัย
MQ เป็นเรื่องที่ต้องฝึกมาตั้งแต่วัยเด็ก ถ้าบุคคลได้รับการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมาแต่ยังเป็นเด็ก บุคคลก็สามารถพัฒนาพื้นฐาน MQ ของตนขึ้นมาในระดับหนึ่ง (มากน้อยแล้วแต่การปลูกฝัง) และ MQ นี้ก็จะฝังลึกลงไปในจิตใต้สำนึก ของบุคคลผู้นั้น และจะรอเวลาที่ได้รับการกระตุ้นอีกครั้ง โดยการอบรมสั่งสอน การฟังธรรม และวิธีอื่น ๆ แต่ถ้าบุคคลไม่มี MQ อยู่ในจิตสำนึกดั้งเดิมแล้ว ไม่ว่าโตขึ้นจะได้รับการกระตุ้นอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้บุคคลผู้นั้นกลายเป็นคนดีขึ้นมาได้มากนัก
ในทางจิตวิทยา เรื่องระดับพัฒนาการทางจริยธรรม ได้มีนักจิตวิทยาได้เสนอทฤษฏีที่น่าสนใจ ไว้นานแล้วก่อน ที่จะมีการเสนอเรื่อง MQ ก็คือ Lawrance Kolhberg 1927-1987 ซึ่งนับว่าเป็นทฤษฏี ที่อาจนำไปทำความเข้าใจบุคลิกภาพของบุคคลได้อีกแนวคิดหนึ่ง
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ทฤษฎีของโคลเบิร์ก (Kolhberg) เป็นทฤษฎีที่มีรากฐานสืบเนื่องมาจาก ทฤษฎีของพีอาเจต์ แต่โคลเบิร์กได้ปรับปรุงวิธีการวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมทั้งได้ทำการวิจัยอย่างกว้าวขวาง ไม่เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ได้ทำการวิจัยในประเทศอื่น ที่มีวัฒนธรรมต่างไป เช่น ประเทศไต้หวัน เตอรกี และเม็กซิโก เป็นต้น โคลเบิร์กได้คิดวิธีวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีระบบการ ให้คะแนนอย่างมีระเบียบ แบบแผน ผู้ที่จะใช้วิธีการให้คะแนนระดับพัฒนาการทางจริยธรรม จะต้องได้รับการอบรมเป็นพิเศษ วิธีการวิจัยที่โคลเบิร์กใช้ก็คล้ายคลึง กับวิธีการของพีอาเจต์มาก คือสร้างสถานการณ์สมมติปัญหาทางจริยธรรม ที่ผู้ตอบยาก ที่จะตัดสินใจได้ว่า “ถูก” “ผิด” “ควรทำ” หรือ “ไม่ควรทำ” อย่างเด็ดขาด เพราะขึ้นกับองค์ประกอบหลายอย่าง การตอบจะขึ้น กับวัยของผู้ตอบ เกี่ยวกับความเห็นใจ ในบทบาทของผู้พฤติกรรมในเรื่องค่านิยม ความสำนึกในหน้าที่ในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ความยุติธรรมหรือหลักการที่ตนยึด จากการวิเคราะห์คำตอบของผู้ตอบวัยต่าง ๆ โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น คำอธิบายของระดับและขั้นต่าง ๆ ของพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก มีดังต่อไปนี้
ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre-Conventional) ในระดับนี้เด็กจะได้รับ กฎเกณฑ์และข้อกำหนดของพฤติกรรมที่ “ดี” “ไม่ดี” จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น บิดา มารดา ครูหรือเด็กโต และมักจะคิดถึงผลที่ตามมาที่จะนำรางวัลหรือการลงโทษมาให้
พฤติกรรม “ดี” พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รางวัล
พฤติกรรม “ไม่ดี” พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รับโทษ
โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
1.1 การลงโทษ และการเชื่อฟัง (Punishment and Obedience Orientation)
1.2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน (Instrumental Relativist Orientation)
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม (Conventional) พัฒนาการจริยธรรมระดับนี้ ผู้ทำถือว่า การประพฤติตนตาม ความคาดหวัง ของผู้ปกครอง บิดา มารดา กลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกหรือของชาติ เป็นสิ่งที่ควรจะทำหรือทำความผิดเพราะกลัวว่า ตนจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ผู้แสดงพฤติกรรมจะไม่คำนึงถึงผลตามที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ถือว่าความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี เป็นสิ่งสำคัญ ทุกคนมีหน้าที่จะรักษามาตรฐานทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
2.1 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับ “เด็กดี” (Interpresonal Concordance of “good boy, nice girl” Orientation)
2.2 กฎและระเบียบ (“Law-andorder” Orientation) การทำถูกไม่ประพฤติผิด คือ การทำ ตามหน้าที่ประพฤติตนไม่ผิดกฎหมาย และรักษาระเบียบแบบแผนของสังคม
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ หรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม (Post-conventional Level) พัฒนาการ ทางจริยธรรมระดับนี้ เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะ ตีความหมายของ หลักการและมาตรฐานทาง จริยธรรมด้วยวิจารณญาณ ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักฐานของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม การตัดสิน “ถูก” “ผิด” “ไม่ควร” มาจากวิจารณญาณของตนเอง ปราศจากอิทธิพลของผู้มีอำนาจหรือกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก กฎเกณฑ์ – กฎหมาย ควรจะตั้งบนหลักความยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกของสังคมที่ตนเป็นสมาชิก โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น
สรุปแล้ว พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมี 3 ระดับ และ 6 ขั้น ขั้นต่าง ๆ ของพัฒนาการทางจริยธรรม มีดังนี้
ขั้นที่ 1 การลงโทษ และการเชื่อฟัง
โคลเบิร์กกล่าวว่าในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า พฤติกรรมของตน “ถูก” หรือ “ผิด” เป็นต้นว่าถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ “ผิด” และพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม
เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ “ถูก” และจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล
ขั้นที่ 2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน
ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตนเอง หรือทำดีเพราะอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล ไม่ได้คิดถึงความยุติธรรมและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการ เห็นใจผู้อื่น หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตน แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค “ถ้าเธอทำให้ฉัน ฉันจะให้.........”
ขั้นที่ 3 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคมสำหรับ “เด็กดี”
พัฒนาการทางจริยธรรมขั้นนี้เป็นพฤติกรรมของ “คนดี” ตามมาตรฐานหรือความคาดหวังของบิดามารดา หรือเพื่อนวัยเดียวกัน พฤติกรรม “ดี” หมายถึง พฤติกรรมที่จะทำให้ผู้อื่นชอบและยอมรับ หรือไม่ประพฤติผิดเพราะเกรงว่าพ่อแม่จะเสียใจ
ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ
โคลเบิร์กอธิบายว่า เหตุผลทางจริยธรรมในขั้นนี้ถือว่าสังคมจะอยู่ด้วยความมีระเบียบร้อยต้องมีกฎหมายและข้อบังคับ คนดีหรือคนที่มีพฤติกรรมถูกต้อง คือคนที่ปฏิบัติตามระเบียบบังคับหรือกฎหมาย ทุกคนควรเคารพกฎหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นระเบียบของสังคม
ขั้นที่ 5 สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับ ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมควรที่จะปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้มาตรฐานทางจริยธรรม ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ “ถูก” และ “ผิด” ขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล แม้ว่าจะเห็นความสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบุคคล แต่เปิดให้มีการแก้ไข โดยคำนึงถึงประโยชน์และ สถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้น
ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล (Universal Ethical Principle Orientation)
ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชน และเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคนในขั้นนี้สิ่งที่ “ถูก” “ผิด” เป็นสิ่งที่มโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ
สรุปแล้ว โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น ถือว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์เป็นไปตามขั้นอย่างมีระเบียบ คือเริ่มจากขั้นที่ 1,2,3,4,5 และ 6 ตามลำดับ บุคคลทุกคนจะต้องผ่านพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นต้น ๆ ซึ่งเป็นรากฐานของพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นต่อไป และเมื่อผ่านแล้ว ก็ยากที่จะกลับไปขั้นเดิมอีก
สรุปลำดับขั้นพัฒนาการจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม “ ดี” คือได้รางวัล “ไม่ดี”คือการได้รับโทษ
ขั้นที่ 1. บุคคลใช้เกณฑ์ทางจริยธรรม โดยยึดการลงโทษ การเชื่อฟัง เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
ขั้นที่ 2. บุคคลใช้ กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน ไม่คิดถึงความยุติธรรม ไม่เห็นใจผู้อื่น ทำเพื่อสนองความต้องการ ของตนเอง ทำโดยมีเงื่อนไข ระดับจริยธรรมตามกฏเกณฑ์สังคม
ขั้นที่ 3. บุคคลทำตามความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับเด็กดี good boy, nice girl
จะทำตามผู้ใหญ่ ผู้บังคับบัญชา ยอมรับโดยไม่คำนึงความถูกต้อง
ขั้นที่ 4. บุคคลยึดกฎและระเบียบ การทำตามหน้าที่ ประพฤติตนไม่ผิดกฎหมาย รักษาระเบียบแบบแผน ของสังคม
ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณหรือระดับเหนือกฎเกณฑ์ของสังคม
ขั้นที่ 5. บุคคลยึดหลักสัญญาประชาคม หรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
ขั้นที่ 6. บุคคลยึดหลักการคุณธรรมสากล
โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และโลกก็ประสบกับปัญญาใหม่ ๆ ซึ่งในอดีตไม่เคยเกิดขึ้นและปัญหาบางปัญหาก็มี ความซับซ้อน และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในทุกด้านส่งผลให้บุคคลที่ไม่สามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ต้องเผชิญกับ ความยุ่งยาก อาชีพบางอาชีพ หากบุคคลากรที่ไม่สามารถปรับตัว กับการเปลี่ยนแปลงก็จะต้องออกจากอาชีพไปก็มี โลกของงานอาชีพ หลายอาชีพ ในปัจจุบันได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วโดยเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และเทคโนโลยีการสื่อสารดังนั้นบุคคลที่พึงประสงค์ในศตวรรษนี้ นอกจากเป็นผู้มีบุคลิกภาพด้านองค์ประกอบ IQ ,EQ, และ MQ ในระดับสูงแล้ว ยังมีองค์ประกอบที่ปัจจุบันในวงการธุรกิจให้ความสำคัญมากคือ องค์ประกอบด้าน AQ
องค์ประกอบด้านความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค AQ (Adversity Quotient)
ความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) คือความสามารถในการ ที่อดทนทั้งด้านความยาก ลำบากทางกาย ความอดกลั้นทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ที่สามารถเผชิญ และเอาชนะเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วและไม่มีความแน่นอน ซึ่งจะเป็นรูปแบบพฤติกรรมการตอบสนองต่อปัญหา อุปสรรคในชีวิตอันเป็นกลไกของสมอง ซึ่งเกิดจาก ใยประสาทต่างๆที่ถูกสร้างขึ้น ฝึกฝนขึ้น ปัญหาที่กล่าวถึงนี้จะเป็นปัญหาเล็กน้อย เป็นปัญหาปานกลาง หรืออาจจะเป็นปัญหาใหญ่โต ซับซ้อนก็ได้ อาจสรุป ว่า AQ คือ “ความสามารถในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ”ประกอบด้วย 4 ลักษณะ ดังนี้
1. ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ได้ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
2. ความพยายามที่จะควบคุมสถานการณ์และนำตัวเองเข้าไปแก้สถานการณ์
3. วิธีคิดหรือวิธีมองปัญหาที่จะเข้าไปแก้ไขสถานการณ์นั้นว่า มีจุดจบของปัญหา และปัญหา ทุก ๆ ปัญหาต้องมีทางออกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
4. ความสามารถที่จะอดทนและทนทานต่อปัญหาต่าง ๆ ได้
Q ตัวนี้มาจาก Quotient ซึ่งเราจะรู้จักมากกับคำว่า IQ (Intelligence Quotient) และปัจจุบันเราจะได้ยินคำว่า EQ (Emotional Quotient) กันมากขึ้นควบคู่กันไป แต่จริงๆ แล้วมี Q - Quotient หรือ Quality กันอีกหลายตัว ลองมาทำความรู้จักกันดีกว่า
IQ - Intelligent Quotient (เชาวน์ปัญญา) คือความสามารถด้านสติปัญญา ซึ่งเกิดจาก 2 ส่วนคือ จากยีนส์หรือพันธุกรรม และจากการเลี้ยงดู โดยทั่วไปจะยึดตัวเลข 100 เป็นระดับไอคิวเฉลี่ยของคนปกติ ตามหลักสถิติแล้วคนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68 ของประชากรทั้งหมดมีไอคิวอยู่ที่ระดับ 85-115 เราเชื่อกันว่า คนไอคิวสูงมักจะเรียนเก่ง ฉลาด แต่ที่จริงแล้ว IQ มีผลต่อความสำเร็จในชีวิตเพียง 20% เท่านั้น
EQ - Emotional Quotient (ปรีชาทางอารมณ์) คำนี้มาจากแนวคิดของแดเนียล โกลด์แนน นักจิตวิทยา สหรัฐอเมริกา หมายความถึงการรู้จักควบคุมตนเอง เข้าใจอารมณ์ มีวินัย บังคับใจตนเองไม่แสดงออกตามอารมณ์พาไป คนมี EQ สูงจะมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นง่าย ทำงานเป็นทีมได้ รู้จักเห็นอกเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น
AQ - Adversity Quotient (ความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค) คือ ความสามารถในการที่อดทนทั้งด้านความยากลำบากทางกาย ความอดกลั้นทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ที่สามารถเผชิญและเอาชนะเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไม่มีความแน่นอน ปัญหาที่กล่าวถึงนี้จะเป็นปัญหาเล็กน้อย เป็นปัญหาปานกลาง หรืออาจจะเป็นปัญหาใหญ่โตซับซ้อนก็ได้ คนที่มี AQ สูงหรือมีจิตใจชอบการต่อสู้ จะมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วย ไม่รู้สึกท้อแท้
MQ - Moral Quotient (ความฉลาดทางจริยธรรมและศีลธรรม) คือ การมีระดับจริยธรรมและศีลธรรมส่วนตัว ซึ่งสามารถส่งผลต่อการควบคุมตนเองให้มีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซื่อสัตย์ มีความรู้ผิดรู้ถูก อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ MQ เกิดจากการสั่งสมและปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมาตั้งแต่เด็ก มากน้อยแล้วแต่การปลูกฝัง และ MQ จะฝังลึกลงใต้จิตสำนึก รอเวลาที่ได้รับการกระตุ้นอีกครั้ง โดยการอบรมสั่งสอน การฟังธรรม และวิธีอื่นๆ ไม่สามารถฝึกฝนหรือขัดเกลาได้ในเวลาสั้น
HQ - Health Quotient (ความฉลาดในด้านสุขภาพ - พลานามัยสมบูรณ์) คือ ความสามารถทางการจัดการและการบริหารสุขภาพ ใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากน้อยแค่ไหน เคยคิดไหมว่าถ้าหากเราทำงานหนักโดยไม่ใส่ใจต่อสุขภาพหรือการพักผ่อนใดๆ มันจะ เกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง แน่นอนว่าความเครียดถามหา สุขภาพกายอ่อนแอ สุขภาพจิตย่ำแย่และในที่สุด ผลการปฏิบัติงานก็จะไม่มีประสิทธิภาพ การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ควรดูแลและใส่ใจต่อสุขภาพของตนเองสักนิด ด้วยการหาเวลาออกกำลังกายเสียบ้างหรือหันไปเล่นกีฬาสุดโปรด เพราะการออกกำลังกายนั้นจะช่วยทำให้สมองทุกส่วนทำงาน ระบบความจำดีขึ้น และที่สำคัญ จะทำให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นด้วย
SQ - Social Quotient (ทักษะทางสังคม) คือความสามารถในการเข้าสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การวางตัวดี รวมถึงภาษากาย (body language) หรือแม้แต่การสบตา (eye contact) ขณะพูดคุยกับผู้อื่น รวมถึงทักษะด้านอื่นๆ เช่น ความตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีต่อองค์กร SQ ใกล้เคียงกับ EQ ในเรื่องของอารมณ์และมนุษยสัมพันธ์ แต่ EQ ไม่มีเรื่องของการแต่งตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง
OQ - Optimist Quotient (การมองโลกในแง่ดี) คือการเปลี่ยนมุมมองใหม่ ทำจิตใจให้แจ่มใส พร้อมเผชิญปัญหา มองอุปสรรคเป็นความท้าทาย คนที่มองโลกในแง่ดี เมื่อมีปัญหาจะไม่เครียดจนเกินไปและพร้อมจะฝ่าฟัน ซึ่งต้องมีความมานะอดทน ทำให้ประสบความสำเร็จมากกว่าการมองโลกในแง่ร้าย
UQ - Utopia Quotient (การสร้างสรรค์จินตนาการ) คือรู้จักคิดฝันทางบวก เป็นที่มาของความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative) จินตนาการเป็นการพัฒนาสมองซีกขวาให้ทำงานได้ดีขึ้น
เราสามารถพัฒนา Q (Quality) หรือคุณภาพด้านต่างๆ ได้ โดยสังเกตว่ามีพฤติกรรมไหนที่บกพร่อง และพยายามปรับปรุงเรื่องนั้น เช่น
Read more: http://www.novabizz.com/NovaAce/Quotients.htm#ixzz1ba0UYjRM
ลักษณะของการเรียนรู้ทางอารมณ์ของบุคคลเพื่อสร้าง EQ
จะเห็นได้ว่า การกำหนดความหมายและการอบรมขัดเกลานิสัยทางสังคมของบุคคลนั้น
เป็นผลร่วมของปฏิสัมพันธ์ใน 2 ลักษณะ คือ การซึมซับเข้าสู่ตัวเองกับการแสดงออกกับสิ่งแวดล้อมนอกตน
องค์ประกอบของ EQ
Wagner และ Sternberg (1985,p.439) เสนอว่าพฤติกรรมของผู้ที่ชาญฉลาดด้าน “Practical Intelligence” ที่จะเอื้อต่อ ความสำเร็จในวิชาชีพในการบริหารและในชีวิต สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. การครองตน (Managing self) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง ในแต่ละวันให้ได้ผลผลิตสูงสุด อาทิ การจัดลำดับกิจกรรมที่ต้องทำ การกระตุ้นชี้นำตนให้มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์
2. การครองคน (Managing others) ทักษะความรู้ในการบริหารผู้ใต้บังคับบัญชา และความสัมพันธ์ทางสังคม ความสามารถเข้ากับ ผู้อื่นได้ มอบหมายงานให้ทำตรงกับทักษะความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติแต่ละคนให้รางวัลตามผลงานที่ปฏิบัติ
3.การครองงาน (Managing career) จะสร้างผลกระทบที่ดีแก่สังคม องค์การ ประเทศชาติได้อย่างไร จะสร้างชื่อเสียงเกียรติภูมิ ของตนได้เช่นไร จัดความสำคัญจำเป็นของตนให้สอดคล้องกับสิ่งที่องค์การให้ความสำคัญ โน้มน้าวผู้เกี่ยวข้อง ให้เห็นความสำคัญ เห็นดีงามด้วย
Salovey และ Mayer (1994 ,p. 313-316) แสดงทัศนะว่า EQ เป็นเรื่องของทักษะในการปรับตนใน 3 ลักษณะ กล่าวคือ
1.ขั้นรู้ตน การประเมินภาวะอารมณ์ได้อย่างถูกต้อ งและแสดงออกได้อย่างเหมาะสม การที่บุคคลสามารถรับรู้ ระบุ และจำแนก ภาวะอารมณ์ที่เกิดกับตนได้ เป็นปัจจัยนำที่เอื้อต่อความสามารถในการปรับตัวที่แสดงออกทางอารมณ์ ตัวอย่างเช่น เด็กสามารถ รับรู้ภาวะอารมณ์ที่แสดงออกทางสีหน้าได้อย่างถูกต้อง ที่ผันตามระดับอายุ ยิ่งโตยิ่งรับรู้อารมณ์ได้ถูกต้องมากขึ้น
2. ขั้นควบคุมอารมณ์ ขั้นควบคุม กำกับดูแลภาวะอารมณ์ของตน และของผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามกาลและเทศะ ทั้งในแง่ของกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ในบางอาชีพจำเป็นต้องฝึกขั้นนี้มากเป็นพิเศษอาทิ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ที่ต้องฉลาดรู้เท่าทันในท่าทีภาวะอารมณ์ของผู้โดยสาร
3. ขั้นใช้เชาวน์อารมณ์ คนแต่ละคนจะมีความสามารถใช้ประโยชน์จาก ภาวะอารมณ์ของตนต่างกันในการแก้ไขปัญหา หรือช่วยในการปรับตัว หากอารมณ์ดีอาจมีส่วนช่วยให้เกิดภาวะคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีเหตุผลในการตอบข้อสอบกฎหมาย ขณะที่อารมณ์เศร้าทำให้การคิดแบบอุปมาอุปไมยช้าลง
Goleman (1995,p.43-44) ได้เสนอว่าในทัศนะของ Salovey EQ ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบที่สำคัญคือ
1. ขั้นตระหนักรู้จักอารมณ์ตน (Know one’s Emotion) มีตนแล้วให้รู้ตน หรือบางทีเรียกว่าการตระหนักรู้ตน (self awareness) เข้าใจหยั่งรู้ความเปลี่ยนแปลงในอารมณ์ ภาวะอารมณ์ความต้องการของตนในแต่ละห้วงเวลาและสถานการณ์ เข้าทำนองผู้ที่รู้จักตัวเอง และเอาชนะตนเองได้เป็นผู้ที่ฉลาดที่สุด
2. ขั้นบริหารจัดการอารมณ์ของตน (Managing Emotions) เป็นความสามารถที่จะควบคุมจัดการกับความรู้สึก หรือภาวะอารมณ์ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม และชาญฉลาด โดยสร้างเสริมจากภาวะ ที่ตระหนักรู้ในอารมณ์ของตน เมื่อเศร้า โกรธ ผิดหวังหรือเสียใจ ก็ควบคุมตนได้ ไม่โมโหร้ายหรือหา “แพะ” สร้างความทุกข์ระทมให้เกิดแก่ตน นำพาภาวะอารมณ์ของตน ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ ได้โดยเร็ว ผันร้ายให้กลายเป็นดี คิดไตร่ตรองก่อนตัดสินใจ
3. ขั้นสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเองได้ (Motivating Oneself) การกระตุ้นเตือนตนให้คิดริเริ่มอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ผลักดันตน มุ่งสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ จะนำมาซึ่งความสำเร็จ สามารถอดได้รอได้ ไม่หุนหันใจเร็วด่วนได้ ผู้ที่สามารถทำได้ดังนี้ถือเป็น ผู้ที่ประสบความ สำเร็จในงาน มุ่งสู่เป้าหมายอย่างมีพลังของความตั้งใจมั่น มองอะไรที่ไม่ติดกับเงินหรือตำแหน่ง
4. ขั้นสามารถรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นได้ (Recognizing Emotions in others) ความสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นพื้นฐาน ของความ “เก่งคน” รู้เท่าทันในความรู้สึก ความต้องการ ข้อวิตกกังวลของผู้อื่นได้อย่างชาญฉลาด มีไหวพริบ มีความสำคัญต่อบางอาชีพ เช่น งานที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การขาย การสอน และการบริหารจัดการ
5. ความสามารถในการจัดการความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Handling Relationships) เป็นผลร่วมของข้อ 1-4 ทำอย่างไร ที่จะมี ความสามารถ ในการสร้างและรักษาเครือข่ายสายสัมพันธ์ส่วนตัวและที่เกี่ยวกับงานไว้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากกับความเป็นผู้มีชื่อเสียง (ไม่ใช่ชื่อเสีย) ความเป็นผู้นำและความเก่งคน Gardner ถือว่าเป็นลักษณะของ “Interpersonal Intelligence” ที่ประกอบจากการ จัดตั้งกลุ่ม หรือเครือข่าย การเจรจาแสวงหาทางออก การสร้างสายสัมพันธ์เป็นการส่วนตัว และเป็นผู้ที่มีความสามารถวิเคราะห์ สถานการณ์ ทางสังคมได้ดี
Goleman (1998 a , 1998 b) ได้เสนอกรอบแนวคิดเกี่ยวกับเชาวน์อารมณ์ (the emotional competence framework) ไว้ 2 หมวด 5 องค์ประกอบ 25 องค์ประกอบย่อย ดังแสดงไว้ในตารางที่ 1 โดยหมวดแรกเป็นทักษะการบริหารความสัมพันธ์ ส่วน 3 องค์ประกอบที่เหลือเป็นการบริหารตนเอง
แนวคิดเกี่ยวกับเชาวน์อารมณ์
ก. สมรรถนะทางสังคม ได้แก่ การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ การตระหนักรู้ถึงความรู้สึก ความต้องการและข้อห่วงใยของผู้อื่น ได้แก่
1.การเอาใจเขามาใส่ใจเรา
1.1- การเข้าใจผู้อื่น รู้ถึงความรู้สึก มุมมอง สนใจในข้อวิตกกังวลของเขา
1.2- การมีจิตใจมุ่งบริการ คาดคะเน รับรู้และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี
1.3- การพัฒนาผู้อื่น ทราบความต้องการ เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถได้ถูกทาง
1.4 -การสร้างโอกาสในความหลากหลาย เล็งเห็นความเป็นไปได้จากความแตกต่าง โดยไม่แบ่งแยก
1.5-ความตระหนักรู้ถึงทัศนะความคิดเห็นของกลุ่ม ความสามารถอ่านสถานการณ์
ปัจจุบันและความสัมพันธ์ของกลุ่มได้ความคล่องแคล่วในการก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์จากความร่วมมือของผู้อื่น
2.ทักษะทางสังคม
2.1 -การโน้มน้าว แสดงกลวิธีโน้มน้าวต่างๆ อย่างได้ผล
2.2- การสื่อสาร ส่งสารที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ
2.3- ความเป็นผู้นำ โน้มน้าวและผลักดันกลุ่มได้ดี
2.4-การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ริเริ่มและบริหารความเปลี่ยนแปลงได้ดี
2.5-การบริหารความขัดแย้ง เจรจาและแก้ไข หาทางยุติความไม่เข้าใจกัน
2.6-การสร้างสายสัมพันธ์ เสริมสร้างความร่วมมือร่วมใจกันเพื่อการปฏิบัติ
2.7-การร่วมมือร่วมใจกัน ทำงานกับผู้อื่นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย
2.8 - สมรรถนะของทีม สร้างพลังร่วมของกลุ่มในการมุ่งสู่เป้าหมาย
ข. สมรรถนะส่วนบุคคล
บริหารจัดการตนเองได้อย่างไร การตระหนักรู้ความรู้สึกความโน้มเอียงของตน หยั่งรู้ความเป็นไปได้ของตน และความพร้อมต่าง ๆ
3. การตระหนักรู้ตนเอง
3.1 รู้เท่าทันในอารมณ์ตน สาเหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกนั้น ๆและผลที่จะตามมา
3.2 ประเมินตนเองได้ตามจริง รู้จุดเด่นด้อยของตน
3.3 มั่นใจในตนเอง มั่นใจในความสามารถ คุณค่าของตนความสามารถในการ จัดการกับความรู้สึกภายในตนได้
4. การควบคุมตนเอง
4.1 การควบคุมตน สามารถจัดการกับภาวะอารมณ์หรือความฉุนเฉียวได้
4.2 ความเป็นที่ไว้วางใจได้ รักษาความเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์และคุณงามความดีได้
4.3 ความเป็นผู้ที่ใช้สติปัญญา แสดงความรับผิดชอบ
4.4 ความสามารถที่จะปรับตัวได้ ยืดหยุ่นในการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงได้
การสร้างสิ่งใหม่ เป็นสุขและเปิดใจกว้างกับความคิด แนวทาง หรือข้อมูลใหม่ ๆ
แนวโน้มของอารมณ์ที่เกื้อหนุนการมุ่งสู่เป้าหมาย
5. การสร้างแรงจูงใจ
5.1 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พยายามที่จะปรับปรุงหรือให้ได้มาตรฐานที่ดีเลิศ
5.2 ความจงรักภักดี ยึดมั่นกับเป้าหมายของกลุ่ม เป้าหมายขององค์การ
5.3 ความคิดริเริ่ม พร้อมที่จะปฏิบัติตามโอกาสอำนวย
5.4 การมองโลกในแง่ดี แม้มีอุปสรรค ปัญหา แต่ก็ไม่ย่นระย่อมุ่งสู่เป้าหมาย
Bar-on (1992) ได้เสนอองค์ประกอบของ EQ โดยแบ่งเป็น 5 หมวด 15 คุณลักษณะสำคัญ ดังที่แสดงไว้ในตารางที่ 2
หมวดและคุณลักษณะของ EQ ในทัศนะของ Bar-on (1992)
หมวด คุณลักษณะ
1. ความสามารถภายในตน
1.1 ตระหนักรู้จักตน
1.2 เข้าใจภาวะอารมณ์ของตน
1.3 กล้าแสดงความคิด และความรู้สึกของตน
2. ทักษะของความเก่งคน
2.1 ตระหนักรู้เท่าทันในความคิดความรู้สึกของผู้อื่นได้ดี
2.2 ใส่ใจสวัสดิภาพห่วงใยผู้อื่น
2.3 สร้างสายสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี
3. ความสามารถในการปรับตัว
3.1 ตรวจสอบความรู้สึกของตน
3.2 ตีความเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี
3.3 ยืดหยุ่นในความคิดความรู้สึกของตนได้ดี
3.4 แก้ไขปัญหาและสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดี
4. กลยุทธ์ในการบริหารความเครียด
4.1 จัดการกับความเครียดได้ดี
4.2 ควบคุมอารมณ์ของตนได้ดี
5. ปัจจัยด้านแรงจูงใจและภาวะอารมณ์
5.1 มองโลกในแง่ดี
5.2 สร้างความสนุกสนานให้เกิดแก่ตนเองและผู้อื่นได้ดี
5.3 รู้สึกและแสดงออกซึ่งความเป็นสุขให้ปรากฏได้
Weisinger (1998) ได้กำหนด EQ ออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เกี่ยวกับ EQ เฉพาะบุคคลมี 3 องค์ประกอบย่อยคือ ส่วนที่เพิ่ม EQ ให้แก่ตนเอง (intrapersonal emotional intelligence) ซึ่งได้แก่การพัฒนาให้มีความตระหนักรู้จักตน การบริหารอารมณ์ของตน และการสร้างแรงจูงใจที่ดีให้แก่ตน ส่วนที่สองได้แก่การใช้ EQ ของตนเพื่อเสริมสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ (interpersonal emotional intelligence) ประกอบด้วยการพัฒนาทักษะการสื่อสารที่ดี ความเก่งคน และการช่วยเหลือผู้อื่นให้ช่วยตัวเขาได้ โดยเขาเชื่อว่ามี 4 แนวทางที่จะช่วยเสริมสร้าง EQ ของผู้คนได้คือ
-ให้โอกาสได้รับรู้ ตีความและแสดงภาวะอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง
-ให้ได้ใช้ภาวะอารมณ์นั้นๆ กับตนเองและผู้อื่น และเรียนรู้
-ให้ได้เข้าใจอารมณ์และความรู้ที่ได้รับ
-ให้ควบคุมอารมณ์และเอาชนะ สร้างพฤติกรรมในทางบวก
EQ มีความสำคัญต่อบุคคลและสังคม และมีประโยชน์ทั้งในแง่ชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และองค์กรต่างๆ การศึกษาวิจัยใน ต่างประเทศ ยืนยันว่า EQ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความ สำเร็จความราบรื่นทั้งในชีวิตส่วนตัว และการทำงาน (Goleman,1995,1998.) โดยที่ EQ นั้นเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ ฝึกฝนให้มีขึ้นในตนเองได้ EQ เริ่มพัฒนาในวัยเด็กเหมือน IQ ดังนั้นการสร้างเสริมให้บุคคลมี EQ เพื่อพัฒนาการสมวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในการการพัฒนาบุคลิกภาพ
องค์ประกอบด้านความฉลาดทางจริยธรรม และศีลธรรม (Moral Quotient :MQ)
MQ (Moral Quotient) คือระดับจริยธรรมศีลธรรมบุคคล ซึ่งสามารถการควบคุมตนเอง มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีความกตัญญู เป็นคนดี มีระเบียบวินัย มีสำนึกผิดชอบชั่วดี และเคารพนับถือผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคมและมนุษยชาติ บางคนเข้าใจว่า EQ กับ MQ นั้นคือ สิ่งเดียวกันแต่จิตแพทย์ จาก ม.ฮาร์วาด ดร.โรเบิร์ต โคลส์ ( Cole ; 1997 ) ได้แยกเอาระดับความคิดด้านจริยธรมมและศีลธรรมนี้ออกมาจากความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญเฉพาะขึ้นอีก ดร.โรเบิร์ต โคลส์ กล่าวว่า MQ นั้นไม่สามารถฝึกฝนหรือขัดเกลาได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ขณะที่บุคคลเจริญเติบโตขึ้นมาแล้ว เหมือนดังคำโบราณของไทยที่ว่า "สันดอนนั้นขุดได้ แต่สันดานนั้นขุดยาก"
การที่บุคคลคนหนึ่งจะมี MQ ระดับดี ต้องเริ่มปลูกฝังในวัยเด็กจึงจะได้ผล อาศัยปัจจัย 3 อย่างด้วยกันคือ การสอนศีลธรรมโดยตรงให้กับเด็ก การถ่ายทอดทางศีลธรรมจากผู้ใหญ่ให้กับเด็ก ความรักและวินัย
MQ เป็นเรื่องที่ต้องฝึกมาตั้งแต่วัยเด็ก ถ้าบุคคลได้รับการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมาแต่ยังเป็นเด็ก บุคคลก็สามารถพัฒนาพื้นฐาน MQ ของตนขึ้นมาในระดับหนึ่ง (มากน้อยแล้วแต่การปลูกฝัง) และ MQ นี้ก็จะฝังลึกลงไปในจิตใต้สำนึก ของบุคคลผู้นั้น และจะรอเวลาที่ได้รับการกระตุ้นอีกครั้ง โดยการอบรมสั่งสอน การฟังธรรม และวิธีอื่น ๆ แต่ถ้าบุคคลไม่มี MQ อยู่ในจิตสำนึกดั้งเดิมแล้ว ไม่ว่าโตขึ้นจะได้รับการกระตุ้นอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้บุคคลผู้นั้นกลายเป็นคนดีขึ้นมาได้มากนัก
ในทางจิตวิทยา เรื่องระดับพัฒนาการทางจริยธรรม ได้มีนักจิตวิทยาได้เสนอทฤษฏีที่น่าสนใจ ไว้นานแล้วก่อน ที่จะมีการเสนอเรื่อง MQ ก็คือ Lawrance Kolhberg 1927-1987 ซึ่งนับว่าเป็นทฤษฏี ที่อาจนำไปทำความเข้าใจบุคลิกภาพของบุคคลได้อีกแนวคิดหนึ่ง
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ทฤษฎีของโคลเบิร์ก (Kolhberg) เป็นทฤษฎีที่มีรากฐานสืบเนื่องมาจาก ทฤษฎีของพีอาเจต์ แต่โคลเบิร์กได้ปรับปรุงวิธีการวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมทั้งได้ทำการวิจัยอย่างกว้าวขวาง ไม่เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ได้ทำการวิจัยในประเทศอื่น ที่มีวัฒนธรรมต่างไป เช่น ประเทศไต้หวัน เตอรกี และเม็กซิโก เป็นต้น โคลเบิร์กได้คิดวิธีวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีระบบการ ให้คะแนนอย่างมีระเบียบ แบบแผน ผู้ที่จะใช้วิธีการให้คะแนนระดับพัฒนาการทางจริยธรรม จะต้องได้รับการอบรมเป็นพิเศษ วิธีการวิจัยที่โคลเบิร์กใช้ก็คล้ายคลึง กับวิธีการของพีอาเจต์มาก คือสร้างสถานการณ์สมมติปัญหาทางจริยธรรม ที่ผู้ตอบยาก ที่จะตัดสินใจได้ว่า “ถูก” “ผิด” “ควรทำ” หรือ “ไม่ควรทำ” อย่างเด็ดขาด เพราะขึ้นกับองค์ประกอบหลายอย่าง การตอบจะขึ้น กับวัยของผู้ตอบ เกี่ยวกับความเห็นใจ ในบทบาทของผู้พฤติกรรมในเรื่องค่านิยม ความสำนึกในหน้าที่ในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ความยุติธรรมหรือหลักการที่ตนยึด จากการวิเคราะห์คำตอบของผู้ตอบวัยต่าง ๆ โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น คำอธิบายของระดับและขั้นต่าง ๆ ของพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก มีดังต่อไปนี้
ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre-Conventional) ในระดับนี้เด็กจะได้รับ กฎเกณฑ์และข้อกำหนดของพฤติกรรมที่ “ดี” “ไม่ดี” จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น บิดา มารดา ครูหรือเด็กโต และมักจะคิดถึงผลที่ตามมาที่จะนำรางวัลหรือการลงโทษมาให้
พฤติกรรม “ดี” พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รางวัล
พฤติกรรม “ไม่ดี” พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รับโทษ
โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
1.1 การลงโทษ และการเชื่อฟัง (Punishment and Obedience Orientation)
1.2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน (Instrumental Relativist Orientation)
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม (Conventional) พัฒนาการจริยธรรมระดับนี้ ผู้ทำถือว่า การประพฤติตนตาม ความคาดหวัง ของผู้ปกครอง บิดา มารดา กลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกหรือของชาติ เป็นสิ่งที่ควรจะทำหรือทำความผิดเพราะกลัวว่า ตนจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ผู้แสดงพฤติกรรมจะไม่คำนึงถึงผลตามที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ถือว่าความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี เป็นสิ่งสำคัญ ทุกคนมีหน้าที่จะรักษามาตรฐานทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
2.1 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับ “เด็กดี” (Interpresonal Concordance of “good boy, nice girl” Orientation)
2.2 กฎและระเบียบ (“Law-andorder” Orientation) การทำถูกไม่ประพฤติผิด คือ การทำ ตามหน้าที่ประพฤติตนไม่ผิดกฎหมาย และรักษาระเบียบแบบแผนของสังคม
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ หรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม (Post-conventional Level) พัฒนาการ ทางจริยธรรมระดับนี้ เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะ ตีความหมายของ หลักการและมาตรฐานทาง จริยธรรมด้วยวิจารณญาณ ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักฐานของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม การตัดสิน “ถูก” “ผิด” “ไม่ควร” มาจากวิจารณญาณของตนเอง ปราศจากอิทธิพลของผู้มีอำนาจหรือกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก กฎเกณฑ์ – กฎหมาย ควรจะตั้งบนหลักความยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกของสังคมที่ตนเป็นสมาชิก โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น
สรุปแล้ว พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมี 3 ระดับ และ 6 ขั้น ขั้นต่าง ๆ ของพัฒนาการทางจริยธรรม มีดังนี้
ขั้นที่ 1 การลงโทษ และการเชื่อฟัง
โคลเบิร์กกล่าวว่าในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า พฤติกรรมของตน “ถูก” หรือ “ผิด” เป็นต้นว่าถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ “ผิด” และพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม
เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ “ถูก” และจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล
ขั้นที่ 2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน
ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตนเอง หรือทำดีเพราะอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล ไม่ได้คิดถึงความยุติธรรมและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการ เห็นใจผู้อื่น หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตน แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค “ถ้าเธอทำให้ฉัน ฉันจะให้.........”
ขั้นที่ 3 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคมสำหรับ “เด็กดี”
พัฒนาการทางจริยธรรมขั้นนี้เป็นพฤติกรรมของ “คนดี” ตามมาตรฐานหรือความคาดหวังของบิดามารดา หรือเพื่อนวัยเดียวกัน พฤติกรรม “ดี” หมายถึง พฤติกรรมที่จะทำให้ผู้อื่นชอบและยอมรับ หรือไม่ประพฤติผิดเพราะเกรงว่าพ่อแม่จะเสียใจ
ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ
โคลเบิร์กอธิบายว่า เหตุผลทางจริยธรรมในขั้นนี้ถือว่าสังคมจะอยู่ด้วยความมีระเบียบร้อยต้องมีกฎหมายและข้อบังคับ คนดีหรือคนที่มีพฤติกรรมถูกต้อง คือคนที่ปฏิบัติตามระเบียบบังคับหรือกฎหมาย ทุกคนควรเคารพกฎหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นระเบียบของสังคม
ขั้นที่ 5 สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับ ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมควรที่จะปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้มาตรฐานทางจริยธรรม ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ “ถูก” และ “ผิด” ขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล แม้ว่าจะเห็นความสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบุคคล แต่เปิดให้มีการแก้ไข โดยคำนึงถึงประโยชน์และ สถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้น
ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล (Universal Ethical Principle Orientation)
ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชน และเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคนในขั้นนี้สิ่งที่ “ถูก” “ผิด” เป็นสิ่งที่มโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ
สรุปแล้ว โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น ถือว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์เป็นไปตามขั้นอย่างมีระเบียบ คือเริ่มจากขั้นที่ 1,2,3,4,5 และ 6 ตามลำดับ บุคคลทุกคนจะต้องผ่านพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นต้น ๆ ซึ่งเป็นรากฐานของพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นต่อไป และเมื่อผ่านแล้ว ก็ยากที่จะกลับไปขั้นเดิมอีก
สรุปลำดับขั้นพัฒนาการจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม “ ดี” คือได้รางวัล “ไม่ดี”คือการได้รับโทษ
ขั้นที่ 1. บุคคลใช้เกณฑ์ทางจริยธรรม โดยยึดการลงโทษ การเชื่อฟัง เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
ขั้นที่ 2. บุคคลใช้ กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน ไม่คิดถึงความยุติธรรม ไม่เห็นใจผู้อื่น ทำเพื่อสนองความต้องการ ของตนเอง ทำโดยมีเงื่อนไข ระดับจริยธรรมตามกฏเกณฑ์สังคม
ขั้นที่ 3. บุคคลทำตามความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับเด็กดี good boy, nice girl
จะทำตามผู้ใหญ่ ผู้บังคับบัญชา ยอมรับโดยไม่คำนึงความถูกต้อง
ขั้นที่ 4. บุคคลยึดกฎและระเบียบ การทำตามหน้าที่ ประพฤติตนไม่ผิดกฎหมาย รักษาระเบียบแบบแผน ของสังคม
ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณหรือระดับเหนือกฎเกณฑ์ของสังคม
ขั้นที่ 5. บุคคลยึดหลักสัญญาประชาคม หรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
ขั้นที่ 6. บุคคลยึดหลักการคุณธรรมสากล
โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และโลกก็ประสบกับปัญญาใหม่ ๆ ซึ่งในอดีตไม่เคยเกิดขึ้นและปัญหาบางปัญหาก็มี ความซับซ้อน และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในทุกด้านส่งผลให้บุคคลที่ไม่สามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ต้องเผชิญกับ ความยุ่งยาก อาชีพบางอาชีพ หากบุคคลากรที่ไม่สามารถปรับตัว กับการเปลี่ยนแปลงก็จะต้องออกจากอาชีพไปก็มี โลกของงานอาชีพ หลายอาชีพ ในปัจจุบันได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วโดยเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และเทคโนโลยีการสื่อสารดังนั้นบุคคลที่พึงประสงค์ในศตวรรษนี้ นอกจากเป็นผู้มีบุคลิกภาพด้านองค์ประกอบ IQ ,EQ, และ MQ ในระดับสูงแล้ว ยังมีองค์ประกอบที่ปัจจุบันในวงการธุรกิจให้ความสำคัญมากคือ องค์ประกอบด้าน AQ
องค์ประกอบด้านความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค AQ (Adversity Quotient)
ความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) คือความสามารถในการ ที่อดทนทั้งด้านความยาก ลำบากทางกาย ความอดกลั้นทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ที่สามารถเผชิญ และเอาชนะเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วและไม่มีความแน่นอน ซึ่งจะเป็นรูปแบบพฤติกรรมการตอบสนองต่อปัญหา อุปสรรคในชีวิตอันเป็นกลไกของสมอง ซึ่งเกิดจาก ใยประสาทต่างๆที่ถูกสร้างขึ้น ฝึกฝนขึ้น ปัญหาที่กล่าวถึงนี้จะเป็นปัญหาเล็กน้อย เป็นปัญหาปานกลาง หรืออาจจะเป็นปัญหาใหญ่โต ซับซ้อนก็ได้ อาจสรุป ว่า AQ คือ “ความสามารถในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ”ประกอบด้วย 4 ลักษณะ ดังนี้
1. ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ได้ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
2. ความพยายามที่จะควบคุมสถานการณ์และนำตัวเองเข้าไปแก้สถานการณ์
3. วิธีคิดหรือวิธีมองปัญหาที่จะเข้าไปแก้ไขสถานการณ์นั้นว่า มีจุดจบของปัญหา และปัญหา ทุก ๆ ปัญหาต้องมีทางออกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
4. ความสามารถที่จะอดทนและทนทานต่อปัญหาต่าง ๆ ได้
Q ตัวนี้มาจาก Quotient ซึ่งเราจะรู้จักมากกับคำว่า IQ (Intelligence Quotient) และปัจจุบันเราจะได้ยินคำว่า EQ (Emotional Quotient) กันมากขึ้นควบคู่กันไป แต่จริงๆ แล้วมี Q - Quotient หรือ Quality กันอีกหลายตัว ลองมาทำความรู้จักกันดีกว่า
IQ - Intelligent Quotient (เชาวน์ปัญญา) คือความสามารถด้านสติปัญญา ซึ่งเกิดจาก 2 ส่วนคือ จากยีนส์หรือพันธุกรรม และจากการเลี้ยงดู โดยทั่วไปจะยึดตัวเลข 100 เป็นระดับไอคิวเฉลี่ยของคนปกติ ตามหลักสถิติแล้วคนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68 ของประชากรทั้งหมดมีไอคิวอยู่ที่ระดับ 85-115 เราเชื่อกันว่า คนไอคิวสูงมักจะเรียนเก่ง ฉลาด แต่ที่จริงแล้ว IQ มีผลต่อความสำเร็จในชีวิตเพียง 20% เท่านั้น
EQ - Emotional Quotient (ปรีชาทางอารมณ์) คำนี้มาจากแนวคิดของแดเนียล โกลด์แนน นักจิตวิทยา สหรัฐอเมริกา หมายความถึงการรู้จักควบคุมตนเอง เข้าใจอารมณ์ มีวินัย บังคับใจตนเองไม่แสดงออกตามอารมณ์พาไป คนมี EQ สูงจะมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นง่าย ทำงานเป็นทีมได้ รู้จักเห็นอกเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น
AQ - Adversity Quotient (ความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค) คือ ความสามารถในการที่อดทนทั้งด้านความยากลำบากทางกาย ความอดกลั้นทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ที่สามารถเผชิญและเอาชนะเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไม่มีความแน่นอน ปัญหาที่กล่าวถึงนี้จะเป็นปัญหาเล็กน้อย เป็นปัญหาปานกลาง หรืออาจจะเป็นปัญหาใหญ่โตซับซ้อนก็ได้ คนที่มี AQ สูงหรือมีจิตใจชอบการต่อสู้ จะมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วย ไม่รู้สึกท้อแท้
MQ - Moral Quotient (ความฉลาดทางจริยธรรมและศีลธรรม) คือ การมีระดับจริยธรรมและศีลธรรมส่วนตัว ซึ่งสามารถส่งผลต่อการควบคุมตนเองให้มีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซื่อสัตย์ มีความรู้ผิดรู้ถูก อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ MQ เกิดจากการสั่งสมและปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมาตั้งแต่เด็ก มากน้อยแล้วแต่การปลูกฝัง และ MQ จะฝังลึกลงใต้จิตสำนึก รอเวลาที่ได้รับการกระตุ้นอีกครั้ง โดยการอบรมสั่งสอน การฟังธรรม และวิธีอื่นๆ ไม่สามารถฝึกฝนหรือขัดเกลาได้ในเวลาสั้น
HQ - Health Quotient (ความฉลาดในด้านสุขภาพ - พลานามัยสมบูรณ์) คือ ความสามารถทางการจัดการและการบริหารสุขภาพ ใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากน้อยแค่ไหน เคยคิดไหมว่าถ้าหากเราทำงานหนักโดยไม่ใส่ใจต่อสุขภาพหรือการพักผ่อนใดๆ มันจะ เกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง แน่นอนว่าความเครียดถามหา สุขภาพกายอ่อนแอ สุขภาพจิตย่ำแย่และในที่สุด ผลการปฏิบัติงานก็จะไม่มีประสิทธิภาพ การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ควรดูแลและใส่ใจต่อสุขภาพของตนเองสักนิด ด้วยการหาเวลาออกกำลังกายเสียบ้างหรือหันไปเล่นกีฬาสุดโปรด เพราะการออกกำลังกายนั้นจะช่วยทำให้สมองทุกส่วนทำงาน ระบบความจำดีขึ้น และที่สำคัญ จะทำให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นด้วย
SQ - Social Quotient (ทักษะทางสังคม) คือความสามารถในการเข้าสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การวางตัวดี รวมถึงภาษากาย (body language) หรือแม้แต่การสบตา (eye contact) ขณะพูดคุยกับผู้อื่น รวมถึงทักษะด้านอื่นๆ เช่น ความตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีต่อองค์กร SQ ใกล้เคียงกับ EQ ในเรื่องของอารมณ์และมนุษยสัมพันธ์ แต่ EQ ไม่มีเรื่องของการแต่งตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง
OQ - Optimist Quotient (การมองโลกในแง่ดี) คือการเปลี่ยนมุมมองใหม่ ทำจิตใจให้แจ่มใส พร้อมเผชิญปัญหา มองอุปสรรคเป็นความท้าทาย คนที่มองโลกในแง่ดี เมื่อมีปัญหาจะไม่เครียดจนเกินไปและพร้อมจะฝ่าฟัน ซึ่งต้องมีความมานะอดทน ทำให้ประสบความสำเร็จมากกว่าการมองโลกในแง่ร้าย
UQ - Utopia Quotient (การสร้างสรรค์จินตนาการ) คือรู้จักคิดฝันทางบวก เป็นที่มาของความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative) จินตนาการเป็นการพัฒนาสมองซีกขวาให้ทำงานได้ดีขึ้น
เราสามารถพัฒนา Q (Quality) หรือคุณภาพด้านต่างๆ ได้ โดยสังเกตว่ามีพฤติกรรมไหนที่บกพร่อง และพยายามปรับปรุงเรื่องนั้น เช่น
องค์ประกอบด้านความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค AQ (Adversity Quotient)
ความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) คือความสามารถในการ ที่อดทนทั้งด้านความยาก ลำบากทางกาย ความอดกลั้นทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ที่สามารถเผชิญ และเอาชนะเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วและไม่มีความแน่นอน ซึ่งจะเป็นรูปแบบพฤติกรรมการตอบสนองต่อปัญหา อุปสรรคในชีวิตอันเป็นกลไกของสมอง ซึ่งเกิดจาก ใยประสาทต่างๆที่ถูกสร้างขึ้น ฝึกฝนขึ้น ปัญหาที่กล่าวถึงนี้จะเป็นปัญหาเล็กน้อย เป็นปัญหาปานกลาง หรืออาจจะเป็นปัญหาใหญ่โต ซับซ้อนก็ได้ อาจสรุป ว่า AQ คือ “ความสามารถในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ”ประกอบด้วย 4 ลักษณะ ดังนี้
1. ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ได้ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
2. ความพยายามที่จะควบคุมสถานการณ์และนำตัวเองเข้าไปแก้สถานการณ์
3. วิธีคิดหรือวิธีมองปัญหาที่จะเข้าไปแก้ไขสถานการณ์นั้นว่า มีจุดจบของปัญหา และปัญหา ทุก ๆ ปัญหาต้องมีทางออกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
4. ความสามารถที่จะอดทนและทนทานต่อปัญหาต่าง ๆ ได้
Q ตัวนี้มาจาก Quotient ซึ่งเราจะรู้จักมากกับคำว่า IQ (Intelligence Quotient) และปัจจุบันเราจะได้ยินคำว่า EQ (Emotional Quotient) กันมากขึ้นควบคู่กันไป แต่จริงๆ แล้วมี Q - Quotient หรือ Quality กันอีกหลายตัว ลองมาทำความรู้จักกันดีกว่า
IQ - Intelligent Quotient (เชาวน์ปัญญา) คือความสามารถด้านสติปัญญา ซึ่งเกิดจาก 2 ส่วนคือ จากยีนส์หรือพันธุกรรม และจากการเลี้ยงดู โดยทั่วไปจะยึดตัวเลข 100 เป็นระดับไอคิวเฉลี่ยของคนปกติ ตามหลักสถิติแล้วคนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68 ของประชากรทั้งหมดมีไอคิวอยู่ที่ระดับ 85-115 เราเชื่อกันว่า คนไอคิวสูงมักจะเรียนเก่ง ฉลาด แต่ที่จริงแล้ว IQ มีผลต่อความสำเร็จในชีวิตเพียง 20% เท่านั้น
EQ - Emotional Quotient (ปรีชาทางอารมณ์) คำนี้มาจากแนวคิดของแดเนียล โกลด์แนน นักจิตวิทยา สหรัฐอเมริกา หมายความถึงการรู้จักควบคุมตนเอง เข้าใจอารมณ์ มีวินัย บังคับใจตนเองไม่แสดงออกตามอารมณ์พาไป คนมี EQ สูงจะมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นง่าย ทำงานเป็นทีมได้ รู้จักเห็นอกเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น
AQ - Adversity Quotient (ความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค) คือ ความสามารถในการที่อดทนทั้งด้านความยากลำบากทางกาย ความอดกลั้นทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ที่สามารถเผชิญและเอาชนะเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไม่มีความแน่นอน ปัญหาที่กล่าวถึงนี้จะเป็นปัญหาเล็กน้อย เป็นปัญหาปานกลาง หรืออาจจะเป็นปัญหาใหญ่โตซับซ้อนก็ได้ คนที่มี AQ สูงหรือมีจิตใจชอบการต่อสู้ จะมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วย ไม่รู้สึกท้อแท้
MQ - Moral Quotient (ความฉลาดทางจริยธรรมและศีลธรรม) คือ การมีระดับจริยธรรมและศีลธรรมส่วนตัว ซึ่งสามารถส่งผลต่อการควบคุมตนเองให้มีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซื่อสัตย์ มีความรู้ผิดรู้ถูก อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ MQ เกิดจากการสั่งสมและปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมาตั้งแต่เด็ก มากน้อยแล้วแต่การปลูกฝัง และ MQ จะฝังลึกลงใต้จิตสำนึก รอเวลาที่ได้รับการกระตุ้นอีกครั้ง โดยการอบรมสั่งสอน การฟังธรรม และวิธีอื่นๆ ไม่สามารถฝึกฝนหรือขัดเกลาได้ในเวลาสั้น
HQ - Health Quotient (ความฉลาดในด้านสุขภาพ - พลานามัยสมบูรณ์) คือ ความสามารถทางการจัดการและการบริหารสุขภาพ ใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากน้อยแค่ไหน เคยคิดไหมว่าถ้าหากเราทำงานหนักโดยไม่ใส่ใจต่อสุขภาพหรือการพักผ่อนใดๆ มันจะ เกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง แน่นอนว่าความเครียดถามหา สุขภาพกายอ่อนแอ สุขภาพจิตย่ำแย่และในที่สุด ผลการปฏิบัติงานก็จะไม่มีประสิทธิภาพ การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ควรดูแลและใส่ใจต่อสุขภาพของตนเองสักนิด ด้วยการหาเวลาออกกำลังกายเสียบ้างหรือหันไปเล่นกีฬาสุดโปรด เพราะการออกกำลังกายนั้นจะช่วยทำให้สมองทุกส่วนทำงาน ระบบความจำดีขึ้น และที่สำคัญ จะทำให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นด้วย
SQ - Social Quotient (ทักษะทางสังคม) คือความสามารถในการเข้าสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การวางตัวดี รวมถึงภาษากาย (body language) หรือแม้แต่การสบตา (eye contact) ขณะพูดคุยกับผู้อื่น รวมถึงทักษะด้านอื่นๆ เช่น ความตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีต่อองค์กร SQ ใกล้เคียงกับ EQ ในเรื่องของอารมณ์และมนุษยสัมพันธ์ แต่ EQ ไม่มีเรื่องของการแต่งตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง
OQ - Optimist Quotient (การมองโลกในแง่ดี) คือการเปลี่ยนมุมมองใหม่ ทำจิตใจให้แจ่มใส พร้อมเผชิญปัญหา มองอุปสรรคเป็นความท้าทาย คนที่มองโลกในแง่ดี เมื่อมีปัญหาจะไม่เครียดจนเกินไปและพร้อมจะฝ่าฟัน ซึ่งต้องมีความมานะอดทน ทำให้ประสบความสำเร็จมากกว่าการมองโลกในแง่ร้าย
UQ - Utopia Quotient (การสร้างสรรค์จินตนาการ) คือรู้จักคิดฝันทางบวก เป็นที่มาของความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative) จินตนาการเป็นการพัฒนาสมองซีกขวาให้ทำงานได้ดีขึ้น
เราสามารถพัฒนา Q (Quality) หรือคุณภาพด้านต่างๆ ได้ โดยสังเกตว่ามีพฤติกรรมไหนที่บกพร่อง และพยายามปรับปรุงเรื่องนั้น เช่น
Read more: http://www.novabizz.com/NovaAce/Quotients.htm#ixzz1ba0lUsyi
การพัฒนาตนเอง
แอบมาอ่านได้ความรู้เพิ่ม ขอบคุณนะค่ะ
ขอบคุณ แม่อั่งเปา มาก ๆ นะคะ
ขอบคุณด้วยคนค่ะ ยังไม่ได้อ่านค่ะ แต่เห็นความพยายามพิมพ์แล้ว ต้องยกนิ้วให้เลยค่ะ (พิมพ์เองหมดเลยหรือคะ)
coppy มาจากเวปคะ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านคะ
© 2025 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by