เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ดนตรีกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์

 ดนตรีกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์

ดนตรีมีส่วนในการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ช่วยให้การประสานงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ความสามารถทางการเห็นและการได้ยินดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนเสริมสร้างสมาธิ ความจำ เชาว์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์อื่นๆ

  ดนตรีกับการพัฒนาสติปัญญา

เป็น ที่ทราบกันดีว่าการนำดนตรีเข้าไปบูรณาการในเนื้อหาวิชาต่างๆ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ความคิดรวบยอดของเนื้อหาวิชานั้นๆ ได้ง่ายขึ้น ครูประถมศึกษาในอเมริกาแต่งเพลงประกอบการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 65 เพลง พบว่า เด็กเรียนรู้ได้เร็วขึ้น และจากการติดตามผล เด็กจะมีความคงทนในการจำยาวนานไปจนถึงการเรียนในชั้นมัธยม (Jeanne Akin, 1997) Dr. Georgi Lozanov ได้ทดลองจัดโปรแกรมดนตรีควบคู่ไปกับการเรียนในหลักสูตรปกติ ที่ใช้เวลาเรียน 4 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษาของประเทศบุลกาเรีย พบว่า เด็กสามารถใช้เวลาเรียนเพียง 2 ปีก็จบหลักสูตร (Delehanty, 1982) ซึ่งวิธีการของ Lazanov นี้ ได้นำไปใช้ในโรงเรียนประถมศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างกว้างขวาง การศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ของนักเรียนมัธยมปลายที่เรียนดนตรีและไม่ได้เรียนดนตรี ของ Mission Viejo High School รัฐแคลิฟอร์เนีย พบว่า กลุ่มที่เรียนดนตรี มี GPA เฉลี่ย 3.57 กลุ่มที่ไม่ได้เรียนดนตรี มี GPA เฉลี่ย 2.91 และในกลุ่มที่เรียนดนตรี มีผู้ได้ GPA เฉลี่ย 4.0 ร้อยละ16 ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้เรียนดนตรี มีผู้ได้ GPA เฉลี่ย 4.0 เพียงร้อยละ 5 เท่านั้น (Horned, 1983) ในรัฐแคลิฟอร์เนียเช่นกัน มีการสำรวจพบว่า ผู้ได้รางวัลชนะเลิศการแข่งขันความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ของ Westing House Science Talent Search เป็นผู้ที่มีความสามารถทางดนตรีด้วย ร้อยละ 40 (State of California, 1986) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า ดนตรีมีส่วนสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษา คณิตศาสตร์ ฯลฯ


 ดนตรีกับการพัฒนากระบวนการคิด

กระบวนการคิด เป็นการคิดที่ประกอบไปด้วยลำดับขั้นตอน ต้องอาศัยทักษะขั้นพื้นฐานจากการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับสิ่งนั้น บรุนเนอร์ (Bruner, 1965 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี และคณะ, 2543) กล่าวว่า เด็กเริ่มต้นเรียนรู้จากการกระทำ ต่อไปจึงจะสามารถจินตนาการ หรือสร้างภาพในใจหรือในความคิดขึ้นได้ จากนั้นจึงจะถึงขั้นการคิดและเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม ส่วน บลูม (Bloom, 1961 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี และคณะ, 2543) ได้จำแนกการเรียนรู้ (Cognition) ออกเป็น 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นความรู้ ขั้นเข้าใจ ขั้นนำไปใช้ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นสังเคราะห์ และขั้นประเมินคุณค่า กระบวนการคิดที่สำคัญ ได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหา การคิดตัดสินใจ เป็นต้น ดนตรีเป็นสิ่งเร้าที่สำคัญของการทำงานของสมองในการะบวนการคิด ทั้งนี้เพราะการรับรู้ทางดนตรีเกิดจากการจินตนาการ ซึ่งเกิดขึ้นภายในสมองโดยตรง หากสมองได้รับการกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอจากเพลงที่มีทำนองง่ายๆ มีคำร้อง เพลงที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้น ไปจนถึงเพลงด้วยวงดนตรีขนาดใหญ่ สมองจะรับรู้ เข้าใจ จำเสียงดนตรีต่างๆ ได้ สามารถวิเคราะห์แนวทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละแนว สังเคราะห์คุณภาพของเสียงประสาน และประเมินคุณค่าของบทเพลงนั้นๆ ได้ ซึ่งเป็นทักษะที่สอดคล้องกับทักษะกระบวนการคิดอย่างแท้จริง งานวิจัยที่สนับสนุน ได้แก่ ในปี ค.ศ.1979 Wolff ได้ทดลองสอนดนตรีให้กับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 วันละ 30 นาที เป็นเวลา 1 ปี ทดสอบด้วย Test of Creative Thinking ทั้งก่อนและหลังการทดลอง พบว่า เด็กมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น (Editor, 1998) Hamann, Bourassa และ Aderman ใช้ Giulford Unusual Consequences Test ทดสอบนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของ Kent State University ที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเดียวกัน แต่เลือกเรียนโปรแกรมดนตรีกับไม่ได้เรียนโปรแกรมดนตรี ผลการทดสอบพบว่า คะแนนความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษากลุ่มที่เรียนโปรแกรมดนตรีสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เรียนอย่างมีนัยสำคัญ (Editor, 1998)


 ดนตรีกับการพัฒนาอารมณ์

คำพูดที่มักจะใช้แทนภาพพจน์ของนักดนตรีว่าเป็นผู้มี "อารมณ์อ่อนไหว" (น่าจะเป็น "อารมณ์สุนทรีย์" มากกว่า - ผู้เขียน) ซึ่งอาจจะเกิดทัศนคติในทางลบก็เป็นได้ เพราะโดยแท้จริงนักดนตรีจะเป็นผู้ที่มี "อารมณ์มั่นคง" ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ต่างๆ นักวิจัยได้ค้นพบว่า สมองของมนุษย์สามารถตอบสนองและจำแนกอารมณ์ทางดนตรี (Musical Moods) ว่าเป็นความสุข ความเศร้า ความโกรธ ความกลัว ฯลฯ โดยการตรวจสอบคลื่นไฟฟ้าในสมอง และยังพบว่า การตอบสนองเกิดขึ้นในระบบประสาทอัตโนมัติด้วย เช่น ความเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิในร่างกาย เป็นต้น (Carol Krumhansl, 1997) อารมณ์ทางดนตรีเป็นสถานะการณ์จำลองของอารมณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของมนุษย์ การที่สมองเรียนรู้ (รู้จักคุ้นเคย) กับอารมณ์ลักษณะต่างๆ เมื่อเวลาที่ต้องเผชิญกับสภาวะทางอารมณ์ใดๆ ย่อมไม่หวั่นไหวและแสดงออกได้อย่างเหมาะสม ผู้ฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ทางดนตรีจึงเป็นผู้รู้จักอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมอารมณ์ตนเอง รวมทั้งเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น ในปัจจุบันเชื่อกันว่า ความสามารถในการพัฒนาอารมณ์ (EQ - Emotional Quotient)* เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้คนเราประสบความสำเร็จ (ศันสนีย์, 2542 : 196) ได้แก่ การรู้อารมณ์ตนเอง การบริหารจัดการอารมณ์ตนเอง การรู้จักสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง การรู้อารมณ์ผู้อื่น และการบริหารจัดการอารมณ์ผู้อื่น (กมลชนก, 2542 : 14-15) ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวนี้ ดนตรีสามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์

*บางแห่งใช้คำว่า ความฉลาดทางอารมณ์ (EI-Emotional Intelligence)

 ดนตรีกับพัฒนาพลังสมาธ

สมาธิ หมายถึง ความตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว คนที่มีสมาธิดี สามารถที่จะทำงานอะไรก็ตามอย่างตั้งอกตั้งใจจนกระทั่งประสบความสำเร็จ สมาธินี้ถ้าได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ จะขยายขอบเขตของช่วงเวลามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายของช่วงเวลาที่จิตใจอยู่ในสภาวะนิ่งหรือคงที่ไปพร้อมๆ กัน สภาวะนิ่งหรือคงที่ของจิตใจ เรียกว่า พลังสมาธิ โลกปัจจุบันนี้ ยอมรับกันว่า การที่บุคคลจะประสบความสำเร็จในกิจการงานต่างๆ ได้ตามวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าวิจัย การสร้างสรรค์ ฯลฯ จะต้องเป็นผู้ที่มีพลังสมาธิอยู่ในระดับสูง ดนตรีมีผลต่อการพัฒนาพลังสมาธิ ทั้งนี้เพราะการฝึกฝนทางดนตรีอย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การฟัง การร้อง การเล่นดนตรี ฯลฯ จำเป็นต้องใช้สมาธิและการเพิ่มขอบเขตของช่วงเวลาตามลำดับ จากเพลงสั้นๆ ไปจนถึงการฝึกฝนเพลงที่มีความยาวมากๆ ประสบการณ์ดังกล่าวจะเป็นการขยายขอบเขตของช่วงเวลาที่จิตใจอยู่ในสภาวะนิ่ง เป็นการพัฒนาพลังสมาธิให้เพิ่มขึ้นตามลำดับนั่นเอง*

ที่มาบทความ ผศ.วิญญู ทรัพยะประภา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตร์ศาสตร์

Views: 2324

Comment

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

Comment by กมลชนก สุขฤทัย on November 29, 2011 at 10:27am

ผมอยากเรียนเปียนโนต้องไปที่ไหนครับ

Comment by ฟ้าใหม่ on November 2, 2011 at 11:17am

เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะว่าดนตรีเสมือนสิ่งวิเศษที่จะทำให้พัฒนาการของเด็กแทบทุกด้านพัฒนาได้ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และด้านสติปัญญาค่ะ และหากท่านใดสนใจอยากให้ลูกหลานของท่านมีดนตรีในหัวใจ ขอฝากประชาสัมพันธ์ เปียโนสำหร้บเด็ก brand ( Tyticus-Toy pianos ) " Educational Toy & For Home Decoration" นอกจากจะเสริมสร้างพัฒนาการด้าน EQ สำหรับเด็กแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้มีชีวิตชีวาได้อีกด้วย วัสดุที่ใช้แบบเดียวกับ http://www.mytoypianos.com ท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอดูรูปแบบสินค้าได้ที่ phuntulee@gmail.com หรือ ติดต่อที่ คุณศิริพร  พันธุลี (ชมพู่) โทร. 086-6546504, 081-6979331,086-4291364  ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ

 

Comment by แม่น้องก้านบัว on October 17, 2011 at 9:17am

ขอบคุณบทความดีๆค่ะ กำลังส่งเสริมอยู่ค่ะ ไว้มา update ความคืบหน้านะคะ

 

Comment by วิทยา on October 15, 2011 at 11:04am

ขอบคุณครับ

 

Comment by ธนวินท์ on October 14, 2011 at 8:19am
เปิดดนตรีคลาสสิคให้เด็กแรกเกิด -5 ปี ฟังก็ดีนะคะ. พวกดนตรีที่พัฒนาศักยภาพสมองโดยเฉพาะ เด็กที่ได้ฟังดนตรีพวกนี้จะคิดเป็นเหตุเป็นผล เก่งคณิต แยกแยะได้ดีค่ะ ลูกชายฟังตั้งแต่แรกเกิด มีอยู่ช่วงหนึ่งหยุดฟัง แล้วมาเปิดให้ฟังอีกที เหมือนเขาจะจำได้ค่ะ. ยิ้ม และแสดงอาการดีใจ ที่เพลงขึ้น ทำท่าเขินใหญ่เลย ดนตรียังสามารถรักษาโรคได้อีกต่างหากค่ะ. พวกดนตรีบำบัด
Comment by แม่น้องเนย on October 14, 2011 at 4:44am
ขอบคุณมากค่ะคุณเกษม อ่านแล้วช่วยย้ำว่าดนตรีมีประโยชน์จริงๆ
Comment by zen's mommie on October 13, 2011 at 9:44am
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆค่ะ
Comment by Bai-toey on October 12, 2011 at 6:54pm

ง้านอีก 2 ปี จะมาปรึกษาพี่เกษมอีกทีว่าเรียนที่ไหนดีนะค้า ^^

 

Comment by เกษม สิริภัทรคุณ on October 12, 2011 at 11:27am
ตอนนี้มีที่เรียนรับตั้งแต่สองขวบครับ เพื่อพัฒนาโครงสร้างของสมองอย่างมีความสุขครับ
Comment by Bai-toey on October 11, 2011 at 5:38pm
บทความเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ .. ว่าแต่เรียนเปียโนนี่เริ่มเรียนได้ตั้งแต่กี่ขวบอ่ะคะเพี่เกษม

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service