เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
http://manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000099115
เมื่อ พูดถึง "สิงคโปร์" เป็นประเทศเพื่อนบ้าน และหนึ่งในสมาชิกประชาคมอาเซียนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีสถิติ การอ่านค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับไทย โดยมีสถิติการอ่านหนังสือปีละ 40-50 เล่มต่อคน ขณะที่ครอบครัวไทยยังให้ความสำคัญกับการอ่านน้อยมาก |
|||||
อีกทั้งยังมีกิจกรรมต่อเนื่องในชื่อว่า Read a story with my Dad เป็น การแข่งขันวิจารณ์หนังสือ โดยมีโรงเรียนอนุบาล และศูนย์ดูแลเด็กเข้าร่วม โดยห้องสมุดแห่งชาติจะมีการ์ดแจกให้เด็กๆ จากนั้นให้เด็กๆ นำกลับไปที่บ้านให้พ่ออ่านให้ฟัง เมื่ออ่านเสร็จแล้วก็ส่งการ์ดกลับมาที่ห้องสมุดแห่งชาติ เพื่อเลือกการ์ดและให้รางวัล ผู้ที่ได้รับคัดเลือกก็จะมาที่ห้องสมุดเพื่ออ่านหนังสือและทำกิจกรรมร่วมกัน จากนั้นบรรดาคุณพ่อจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และประสบการณ์การอ่านหนังสือให้ลูกๆ ฟัง และจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ต่อไป และที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ โครงการ Read! Singapore หรือ โครงการมาอ่านหนังสือกันเถอะ เป็น โครงการรณรงค์การอ่านทั่วประเทศ เพื่อมุ่งปลูกฝังการรักการอ่านในชุมชนทั่วประเทศ เสริมความผูกผันของคนในชุมชน และจุดประกายจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้กับคนสิงคโปร์ ริเริ่มโดยคณะกรรมหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ โดยทำงานร่วมกับภาครีกว่า 100 แห่ง มีการจัดการอภิปรายและกิจกรรมการอ่านมากกว่า 16,000 ครั้ง กิจกรรมนี้จะมีการจัดขึ้นนาน 12-14 สัปดาห์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยที่ผ่านมามีผู้ร่วมโครงการแล้วกว่า 160,000 คนภายในปี 2553 |
|||||
"การอ่านเป็นนิสัยที่ดีที่สุดในการ บ่มเพาะสติปัญญา แม้ในโลกปัจจุบันผู้คนนิยมใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น แต่ก็ยังมีกลุ่มคนรักการอ่านหนังสือผุดขึ้นมากมายทั่วโลก อย่างโครงการหนึ่งเล่มหนึ่งเมืองของสหรัฐอเมริกา ขณะที่เรามีโครงการมาอ่านหนังสือกันเถอะ!สิงคโปร์ ซึ่งโครงการนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะสามารถดึงกลุ่มเป้าหมายจากหลากหลายอาชีพมาจัดตั้งชมรมการอ่านเฉพาะ กลุ่มขึ้น เช่น กลุ่มคนขับรถแท็กซี่ ครู ช่างทำผม เจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพ พนักงานโรงแรมและบริการ กลุ่มผู้สูงอายุ เยาวชน ประชาชนทั่วไป หัวหน้าองค์กรรากหญ้า รวมถึงเจ้าหน้าที่พลเรือน และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ปัจจุบันมีชมรมการอ่านเฉพาะกลุ่มขึ้นมากกว่า 90 แห่ง" "ดังนั้นเราดีใจที่เห็นคนทุกกลุ่มหันมาสนใจการอ่าน และพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน หลังจากที่พูดคุยกันเสร็จก็มีการไปอ่านหนังสือเล่มเดิมซ้ำอีก เพราะประเด็นที่พูดคุยกันมีหลากหลาย น่าสนใจ ทำให้เราสนใจและกลับไปอ่านหนังสือเล่มนั้นเพิ่มเติม ที่สำคัญคือ เราเห็นว่าคนที่มาทำกิจกรรมร่วมกันมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นอกจากจะส่งเสริมการอ่านแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ ส่งเสริมความสัมพันธ์ของคนแต่ละกลุ่ม แต่ละชุมชนอีกด้วย" เกียง-โก๊ะ ไล ลิน กล่าว ทั้งนี้ ผู้อำนวยการโครงการริเริ่มด้านการอ่าน ยังกล่าวย้ำอีกว่า การ ส่งเสริมให้ประชาชนทุกวัยทุกอาชีพ และทุกครอบครัวหันมาสนใจการอ่านหนังสือ ไม่ใช่แค่การให้อ่านหนังสือแล้วจบไป แต่เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้ว ยังมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หลากหลายจากหนังสือที่อ่านเรื่อง เดียวกัน ทั้งนี้เพื่อมุ่งพัฒนาให้คนสิงคโปร์มีทักษะการคิดแบบวิพากษ์วิจารณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ และกล้าแสดงออก ถือเป็นการสร้างวัฒนธรรมการอ่านขึ้นในชุมชนทั่วประเทศ นี่คือตัวอย่างประสบการณ์การส่งเสริมการอ่านของประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศเล็ก ๆ อย่างสิงคโปร์ ที่แสดงให้เห็นการสร้างคนคุณภาพ และสังคมน่าอยู่ด้วยนโยบายส่งเสริมรักการอ่าน โดยอาศัยความรู้ และความร่วมมือจากหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล เอกชน และคนในประเทศที่จะช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการอ่านให้ประสบความ สำเร็จ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของคน และสังคมให้น่าอยู่ต่อไป แต่พอย้อนกลับมามองประเทศไทย หลาย ๆ ฝ่ายคงตั้งคำถามกันว่า บ้านเรามีนโยบายส่งเสริมรักการอ่านไม่ต่างไปจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่ทำไมตัวเลขการอ่านของเรายังอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ อื่น ๆ เช่น เวียดนามอ่านหนังสือเฉลี่ย 60 เล่มต่อปี สิงคโปร์อ่านหนังสือเฉลี่ย 40-50 เล่มต่อปี มาเลเซียอ่านหนังสือเฉลี่ย 40 เล่มต่อปี ในขณะที่ประเทศไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 2-5 เล่มต่อปีเท่านั้น รับฟังแนวทางส่งเสริมการอ่านของประเทศเพื่อนบ้านกันไปแล้ว ในฐานะคุณพ่อคุณแม่ และท่านผู้อ่านคิดเห็นกันอย่างไรต่อการพลักดันนโยบายส่งเสริมรักการอ่านของ รัฐบาลไทย หรือมีสิ่งใดที่ควรเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อให้การอ่านของครอบครัวไทยเป็นไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้ทางกล่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้ครับ ทีมงานยินดีน้อมรับด้วยความขอบคุณมากครับ |
Tags:
รัฐบาลไทยควรหันมาให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังซะที เท่าที่ผ่านมาก็เป็นโครงการชั่วคราว อย่างสร้างห้องสมุดประชาชน ไว้แล้วก็ไม่ได้รับการสานต่อ ปล่อยทิ้ง หลาย ๆห้องสมุดประชาชนไม่มีการพัฒนาต่อยอดแต่อย่างใด
เห็นทีพึ่งรัฐบาลไม่ได้แล้ว ต้องหันมาใส่ใจกันเองแล้วหละ โดยเริ่มจากในครอบครัวเราเอง และในสังคมเราอย่างที่เป็นอยู่ในครอบครัวของหมู่บ้านเด็กสองภาษาพ่อแม่สร้างได้นนี่แหละเป็นจุดเริ่มที่ดีสำหรับลูก ๆ และเด็ก ๆ รุ่นต่อ ๆ ไป
คือคิดว่าการสนับสนุนให้รักการอ่านของรัฐบาลไม่จริงจังนัก เพราะคนที่เข้ามาบริหารประเทศส่วนใหญ่ก็เข้ามาเพื่อแก้กฏหมายอำนวนประโยชน์ให้พวกพ้องตัวเอง จริงๆ แล้วคลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์เป็นของรัฐที่ให้เอกชนเช่า ถ้ารัฐจะเอาจริงเอาจังบังคับให้ทุกช่องทีวี มีรายการส่งเสริมการอ่านในช่วง ไพร์มไทม์ ของทุกวัน วันละ 5 นาทีก็สามารถทำได้ แต่กล้าทำไหมล่ะ.....คะ
หรือจะบังคับเอาดาราของช่องมาทำท่ารักการอ่านก็ยิ่งจะช่วยเป็นตัวอย่างให้เยาวชน จะยิ่งดีใหญ่จะได้เป็นกระแสเป็นเทรนให้เด็กและวัยรุ่นทำตาม เหมือนที่เดินตามก้นดาราใช้ BB ใช้แบรนด์แนมกันท่วนทั่ว
ส่วนตัวคิดว่ามีวิธีการส่งเสริมการอ่านตั้งเยอะแยะที่นักวิชาการไทยสามารถเสนอแนวคิดได้ แต่รัฐจะเอาด้วยแต่ไหน เพราะเวลา 5 นาทีในช่วงสำคัญนั้นมันมีมูลค่าสูงลิ่ว แต่ก็ไม่ได้สูงเกินกว่าคุณค่าของเด็กและเยาวชนในประเทศ แต่ถ้าเด็กฉลาด ประชาชนฉลาด จะเหลือใครมาเลือกพวกตูเข้าไปบริหารประเทศกันล่ะ 555555
ดังนั้นช่วยตัวเองกันต่อไปเถอะพ่อแม่พี่น้อง อย่างดีก็ตั้งกลุ่มกันเอง เดี๋ยวพอทำสำเร็จจะมีมือยาวๆ มาสนับสนุนแล้วช่วยป่าวประกาศให้ เพื่อไปอ้างประมาณว่านี่เป็นโครงการที่รัฐให้ความสำคัญและสนับสนุนนะ.... อิ อิ
รัฐบาลไม่ได้เอาจริงเอาจังกับการศึกษา หรือแม้แต่ระบบการปฎิรูปการศึกษา โดยภาพรวมอาจจะเป็นไปได้ยาก ต้องเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ จากครอบครัวของเรา หมู่บ้านของเรา เด็กสมัยนี้ไม่ค่อยชอบอ่าน แม้แต่เด็กที่บ้านเอง เวลาทำรายงาน ก็ copy and past เคยอ่านกันมั้ย
การปลูกจิตสำนึกเป็นเรื่องสำคัญ การชี้ให้เห็นแสดงให้เห็นคุณค่าของการอ่านเป็นสิ่งสำคัญ ต้องช่วยกัน เริ่มต้นจากตัวเรา ค่ะ
© 2024 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by