เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
ขออนุญาตให้คำแนะนำตามประสบการณ์จากการสอนและพัฒนาเด็กนานาชาติ, เด็กพิเศษด้านภาษา, และเด็กไทยในอเมริกา
เพ็ญเข้าใจคุณแม่ที่ว่า มีความประสงค์ที่จะให้ลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษแต่เยาว์วัยนอกเหนือจากภาษาไทย
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแห่งการสื่อสารทั่วโลก โรงเรียนเอกชนหรือรัฐบาลในเมืองไทยให้ความสำคัญมาก
โดยปัจจุบันนี้ เด็กต้องเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไปเพื่อที่ว่าเวลาเข้าเรียนอนุบาล จะได้เรียนไวและเรียนทันเพื่อน
ยิ่งเรียนรู้ภาษามากเท่าไหร่ ก็จะช่วยสร้างฐานะการงานได้มาก หรือที่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่
บางคนก็อยากให้เด็กฉลาดทันวัยในภาษาอื่นๆและสอบได้ดีหรือสอบผ่านเมื่อเข้าโรงเรียน
ซึ่งหลักความจริงแล้ว หลักการเรียนรู้ภาษาอื่นๆหรือภาษาอังกฤษนั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
บางคนก็อาจจะมีการพัฒนาการเรียนรู้ช้ากว่า ซึ่งอาจจะเกิดจากเซลล์ในสมองหรืออารมณ์ แต่ก็ยังแก้ได้บ้าง
หากหมั่นฝึกฝนอย่างมีความสุขแต่เยาว์วัยและไม่รังเกียจภาษาอื่นๆ
เพ็ญจึงอยากจะขอร้องให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ทุกคนเห็นใจและเข้าใจในตัวเด็กบ้างนะคะ
อย่าลืมนะคะว่า "นี่คือภาษาที่สองของเด็ก" จำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะต้องเรียนรู้การหัดพูด เมืองไทยเก่งในการเรียนรู้แกรมม่า
บางคนฝึกพูดตอนอายุใกล้ 40 ปีก็ยังไม่สายเกินไปนะคะ ยังไงๆแกรมม่าก็ยังอยู่ในความทรงจำบ้างค่ะ พี่สาวดิฉันไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษมา 31 ปีเต็มๆ พอกลับไปเรียนภาษาอังกฤษเพียงแค่ 1-3 ปี เธอสามารถพูดได้ 65-85%
ก่อนที่จะสอนภาษาอะไรก็ตาม ผู้ใหญ่หรือผู้สอนต้องคอยสังเกตและคำนึงถึง (อย่าลืมไปว่า "นี่คือภาษาที่สองของเด็ก")
1. พื้นฐานในการพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคน ไม่ว่าจะสอนภาษาใดๆก็ตาม เช่น
- เด็กเบบี้จะพัฒนาเรียนรู้และโต้ตอบภาษาด้วยเสียง อู้อี้ แอ้ แอ้ และเลียนแบบด้วยการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์
ได้โดยจาก การฟัง, การมองหน้าและท่าทางปฏิกิริยาบทของผู้ใกล้ชิดหรือผู้ใหญ่...
- เด็กเตาะแตะวัย 12-18 เดือน พัฒนาการออกเสียงแค่ 1-2 คำสั้นๆ เช่น milk, more, go, no, Dada, MaMa
- เด็กเตาะแตะวัย 18-24 เดือน พัฒนาการพูดประโยคสั้นๆ หรือแค่ 2 คำสั้นๆขึ้นไป ที่อาจไม่ตรงตามแกรมม่า
เช่น no more, want more, me want more, go there, carry me, here,
- เด็กวัย 2-3 ปี พัฒนาการพูดประโยคได้อย่างน้อย 3 คำขึ้นไป เช่น I want more, some more milk please,
I don't want that, did you see that, I want it, I don't want it, I love you
2. วัย 0-4 ปี การเรียนรู้แกรมม่าหรือการเขียนและการอ่านยังไม่เน้นมากนัก และไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม
ก็ไม่จำเป็นที่จะไปเน้นการออกเสียงให้ชัดเหมือนเจ้าของภาษานั้นๆ ก็เหมือนกับการร้องเพลง
ควรใช้เสียงอันไพเราะของตัวเองเปล่งเสียงออกมา ให้ความภูมิใจและรักเสียงกับสิทธิของตัวเด็กเองหรือผู้ใหญ่
เองก็ตาม
สิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กก็คือ ขอให้เด็กได้พัฒนาการฟัง, เข้าใจความหมายของคำและประโยค,
รู้จักโต้ตอบหรือแสดงออกและสามารถพูดได้, เด็กออกเสียงได้มากน้อยแค่ไหน,
พัฒนาคำศัพท์ตามวัยได้ถึงไหน
3. คำที่เหมาะสมตามวัย เช่น เด็กควรจะเรียนรู้อะไรก่อน..สอนคำอะไรบ้างตั้งแต่เกิด..
4. ความถนัดในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก เช่น เด็กบางคนถนัดหรือรับรู้ได้จากการอ่าน, บางคนรับรู้ได้จากการมองภาพและให้อ่าน, บางคนก็ถนัดและรับรู้ได้จากการสัมผัส
5. การพัฒนาของตัวเซลล์ในสมองมีมากพอที่จะให้เด็กรับรู้ที่จะเรียนภาษาหรือเข้าใจภาษาได้มากน้อยแค่ไหน
6. เด็กมีอารมณ์ที่จะเรียนรู้หรือพร้อมหรือเปล่าในเวลานั้น
7. ผู้ใหญ่มีเทคนิคในการสร้างความสนใจในการเรียนรู้ภาษาในตัวเด็กได้อย่างไร
เด็กมีความสนใจหรือไม่อยากที่จะเรียนรู้แต่ถูกบังคับจนรังเกียจที่จะเรียนรู้ภาษา
หวังว่าบทความดังกล่าวข้างต้น อาจจะช่วยให้ข้อคิดในการเริ่มสอนภาษาที่สองได้บ้างนะคะ
Tags:
Like ให้แรง ๆ เลยค่ะครูเพ็ญ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวานเองค่ะ คือเพื่อนของกัน (อี๊จอย) ที่ไปโตที่อเมริกา คุยกับน้องเจผ่าน skype โอ้ววว .. แม่เจ้า ตอนแรกคุณแม่ก็ตุ๊ม ๆ ต่อม ๆ นะว่าน้องเจจะฟังรู้เรื่องและตอบคำถามอี๊จอยได้มั๊ย (เพราะอี๊จอยพอรู้ว่าเรากำลังสอนภาษาอังกฤษน้องเจ และพอรู้บ้างว่าน้องเจโต้ตอบได้นิดนึง) อี๊จอยเนี่ยต้องสำเนียงดีกว่ากันแน่นอน ฝรั่งจ๋าซะขนาดนั้น .... กันนั่งใกล้ ๆ ปรากฎว่าน้องเจฟังอี๊จอยเข้าใจ ทั้งที่สำเนียงอี๊จอยไม่เหมือนกะกันอย่างสิ้นเชิง น้องเจก็ไม่ได้สำเนียงฝรั่งขนาดนั้น แต่น้องเจก็ตอบคำถามได้ กันดีใจมากมายค่ะ ที่เริ่มเห็นทางสำหรับน้องเจแล้ว ... :)
ถ้าเด็กเข้าใจคำพูดที่เราบอกให้เค้าทำ ก็แสดงว่าเค้าพอเข้าใจบ้าง แต่ที่เด็กไม่พูดก็อาจจะมีเหตุผลบางอย่างคือ
1. ไม่อยากพูดภาษาที่ไม่ถนัด เพราะอาจจะไม่ชอบหรือพูดยาก เด็กรู้สึกอึดอัดใจและรำคาญ
2. เกรงว่าถ้าพูดไปอาจจะผิด ประเดี๋ยวคุณแม่จะย้ำแล้วย้ำอีกกับคำคำนั้น จนเด็กรู้สึกเกรงกลัวและอึดอัดใจ
3. ถ้าเป็นเด็กบางคนก็อาจจะบ่นว่า "ภาษานี้ไม่ใช่ภาษาของครอบครัวและหนูก็เป็นคนไทย เรื่องอะไรหนูจะไปพูดภาษานั้นล่ะ" โดยเฉพาะเด็กไทยหรือเด็กที่ไม่มีเชื้ออเมริกันแท้ก็จะพูดกันส่วนใหญ่ว่า "หนูไม่ได้โตหรือเกิดที่เมืองไทย หนูเป็นคนอเมริกันก็ต้องพูดแต่ภาษาอังกฤษอย่างเดียว"
ขอบคุณค่ะคุณครูเพ็ญ เคยแอบเครียดเพราะรุ้สึกว่าตัวเองอยู่ไม่ถูกที่ ทำให้รู้สึกท้อ แต่ก็ไม่นานค่ะเห็นของที่พี่ธีส่งมาให้ก็เกิดความคิดใหม่ เราจะเครียดไปทำไมเราไม่ใด้สอนลูกเพื่อให้ไปแข่งกับใครแต่เราตั้งใจสอนลูกเพราะอยากให้เค้ารู้เท่านั้นเอง ได้แค่ใหนก็เอาแค่นั้น ไปเรื่อยๆสนุกดีค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ ไม่เครียด ไม่ท้อ ไปอย่างช้าๆๆๆค่ะ แต่คิดว่าสักวันคงสำเร็จ
ไม่เคยท้อเพื่อลูกสู้เสมอค่ะ
ขออนุญาตใช้พื้นที่กระทู้ของครูเพ็ญแชร์ประสบการณ์ของบ้านอ๊อบนะค่ะ นอกเหนือจากที่ครูเพ็ญบอกข้างบนแล้วอ๊อบขอเสริมว่า
..ก่อนสอนภาษาให้เด็กเล็กควรคำนึงถึง...
1 ลักษณะครอบครัว ถ้าเป็นครอบครัวเล็กๆ อยู่กันไม่กี่คน...ภาษาอังกฤษต้องถูกสอนเป็นภาษารอง..ไม่ใช่ภาษาหลัก เพื่อให้เด็กๆออกไปสื่อสารกับคนนอกบ้านได้
2 ร.ร.ที่ตั้งใจจะให้ลูกเข้าเรียน...ถ้าเป็นร.ร.ไทย (เอกชน) หรือ ร.ร.สองภาษา หรือ ร.ร.นานาชาติ ร.ร.เหล่านี้จะยินดีช่วยเหลือหากลูกๆของเราพูดไทยได้น้อย หรือสื่อสา่รภาษาอังกฤษได้มากกว่าภาษาไทย....
แต่ถ้าร.ร.ที่เตรียมให้ลูกเข้่าเป็นร.ร.ไทย ร.ร.รัฐบาล..ความคาดหวังที่เค้าจะมาเข้าใจในระบบที่เราสอนต้องน้อยลงไปค่ะ...
Like ให้คุณอ๊อบแรง ๆ อีกคน (แบบว่าโดนมากมายค่ะ) .... :)
ปล. ไม่ได้คุยกันนานมากกกกกกกกกกกกกกกกกกก เลยนะคะเนี่ย 555+
เห็นด้วยกับอ๊อบค่ะ ลูกชายไปโรงเรียน อ่านให้แม่ฟัง a, ant, มด ไปแล้วค่ะ ต้องคอยเตือน
เห็นด้วยกับครูเพ็ญในเรื่องการกดดันตัวเอง และลูก เพราะภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ เพราะฉะนั้นการสื่อสารกับลูกจะค่อนข้างยาก ไม่คล่องเหมือนภาษาแม่ และสำหรับเด็กโต ที่พอรู้ภาษาไทยแล้ว ยิ่งค่อนข้างยาก แต่ถ้ากลับลองไปอ่านหนังสือคุณบิ๊ก จะรู้ว่าการสอนภาษามีหลายระบบค่ะ เช่น 1 คน 1 ภาษา , 1 เวลา 1 ภาษา ถ้าพ่อแม่ลองถอยก้าวลงมา หรือใช้ภาษาที่สองเป็นเรื่องสนุก สอดแทรกลงในชีวิตประจำวันแต่ละวัน สอดแทรกลงไปในการเล่นแต่ละวัน อาจเป็นคำศัพท์ หรือประโยคง่ายๆ เป็นการปูพื้นฐานให้เค้าคุ้นเคยกับภาษาทีสองอย่างเป็นธรรมชาติ (ไม่ใช่จับมานั่งเรียนค่ะ) โดยไม่ต้องหวังผลต้องพูดได้อย่างเจ้าของภาษา (เพราะมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วค่ะ) คิดว่าก็คงไม่ต้องกังวลอะไรมากมาย ค่ะ (ความเห็นส่วนตัวนะค่ะ)
ใช่ค่ะการกดดันหรือบังคับลูกให้ใช้ภาษาที่สองตลอดเวลาทั้งที่เค้ายังไม่ถนัดเป็นการไปจำกัดจินตนาการของลูกอย่างสิ้นเชิงเลยค่ะ คือบางครั้งเราเองไปตัดสินลูกว่า เอ...ลูกน่าจะพูดได้มากกว่านี้ น่าจะเล่าเรื่องต่าง ๆ หรือเล่นกันเองเป็นภาษาอังกฤษได้แต่ทำไมไม่ทำ ทำไมใช้แต่ภาษาไทยแล้วเราคอยไปกำหนดให้ลูกต้องเป็นอย่างที่เราต้องการ เป็นการไปทำลายจินตนาการของลูกอย่างสิ้นเชิง
ข้อความของครูเพ็ญ ทำให้อ้อมได้ข้อคิดถึงเรื่องความพร้อมและวัยของเด็กค่ะ ถึงแม้ลูกเราจะโตแล้ว 8 ปี 6 ปี แต่ระยะเวลาในการสอนภาษาที่ 2 ไม่มากพอ แค่ปีเดียวเท่านั้น ระยะทางอีกยาวไกล เราก็ไม่ต้องคาดหวังสูงเกินไป
ขอบคุณมากนะคะสำหรับแง่คิดดี ๆ
Like ให้คุณ Suthawadee อีกคนค่ะ ....... (แต่พี่เมือง กะ น้องขมิ้นเก่งมากเลยนะคะ) :)
ปล. กันก็เคยเจอกับตัวค่ะ ถึงแม้จะไม่ได้ใช้ OPOL แค่ใช้ OTOL เท่านั้นเอง มันไม่ใช่ปิดกั้นจินตนาการค่ะ เจอประโยคที่ถามแค่ว่า What is it in Thai? เลยย้อนดูตัว เราสอนอะไรพลาดไปป่าว ที่ไม่รู้ไทย รู้อังกฤษ ก็เลยต้องปรับวิธีการสอนใหม่ เพื่อให้ลูกเข้าใจและรู้ทั้งไทยและอังกฤษ (ก็ยากเหมือนกันกับการที่ต้องสอนอะไรคนเดียว แต่ก็พยายามจัดตัวเองและสิ่งที่จะสอนให้พอดี ๆ) ดูกันไปเรื่อย ๆ สอนกันไป และปรับกันไปตามสถานการณ์ :)
© 2025 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by