เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

น้อง 6 เดือนดู cd เรื่องไหนได้บ้างคะ

สวัสดีค่ะ เพิ่งเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ  อยากขอคำแนะนำหน่อยนะคะ  ตอนนี้น้องอั๊ตสึ 6  เดือนแล้วค่ะ  เค้าดูซีดีเรื่องไหนได้บ้างคะ  ตอนนี้ไม่เคยดูอะไรเลย แล้วพอดีป๊าของน้องเป็นคนพูดภาษาอังกฤษกับน้อง  เค้าก้อไม่ค่อยว่าง  ส่วนตัวเองก้อพูดไม่ได้อ่ะค่ะ เลยอยากได้สื่อมาช่วยค่ะ  ขอคำแนะนำด้วยค่ะ  ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

Views: 2561

Reply to This

Replies to This Discussion

จริงๆๆแล้ว cd dvd ก็ดีทุกเรื่องล่ะคะ แต่จะโดนใจ เจ้าตัวน้อยหรือเปล่า แค่นั้น โดยปกติเราก็ซิ้อจากร้านนี้ แม่ค้าก็โอเค ลองดูนะคะ

http://play-quotient.pantown.com/
อยากแนะนำเรื่อง Baby einstein ค่ะ บางแผ่นเค้าจะมีเขียนแบ่งช่วงอายุไว้ค่ะเริ่มตั้งแต่ 3 เดือนเป็นต้นไปค่ะ ลองแวะเข้ามาดูได้ค่ะที่
www.superkiddvd.com ค่ะ
คุณแม่คะ น้อง 6 เดือนยังไม่แนะนำดูทีวีเด็ดขาดนะคะ
คุณหมอก็ห้ามไว้ค่ะ
เด็กอาจจะตื่นตากับแสงเสียง แต่ว่า จะมีผลต่อพัฒนาการเด็กในระยะยาวอย่างแน่นอนค่ะ

ถ้าคุณแม่อยากเปิดให้ฟังเสียงภาษาอังกฤษ แนะนำเป็นซีดี เพลงภาษาอังกฤษดีกว่าคะ่
หรือว่า จะเปิดแผ่นดีวีดี นิทานอังกฤษก็ได้ แต่ว่าเอาผ้าคลุมทีวีคะ
อย่าเพิ่งให้น้องเห็นแสงจากทีวี

ภาพจากทีวี เรามองเห็นเป็นภาพปกติ แต่ว่า เด็กเล็ก จะเห็นเป็นเส้นๆเต้นๆตลอดเวลาค่ะ
จะทำให้น้องสายตาเสีย และ มีพัฒนาการช้าคะ่
จะไม่ค่อยพูดกับใคร มีโลกส่วนตัว แล้วถ้าโตขึ้นติดทีวี จะร้องไห้ 3 ชม.เลยค่ะ ที่ไม่ได้ดูรายการโปรด

แนะนำอีกอย่าง อ่านหนังสือให้น้องฟังดีกว่าคะ
ไม่ต้องห่วงเรื่องเวลา มีเวลาเมื่อไหร่ ก็อ่านให้ฟัง จะทำให้น้องรักการอ่านหนังสือ
จับน้องนั่งตัก อ่านไปด้วย ชี้รูปไปด้วย สร้างความสัมพันธ์กับลูกค่ะ
ลูกจะรู้สึกถึงความอบอุ่นด้วยคะ
จับมือน้องฝึกเปิดหนังสือค่ะ อีกหน่อยจะชอบอ่านหนังสืออย่างแน่นอนค่ะ

เหมือนกอไผ่ค่ะ ชอบอ่านหนังสือ เพราะอ่านให้ฟังตั้งแต่ยังเล็ก

คุณแม่คะ แนะนำชุดนี้จริงๆนะ ใช้แล้วได้ผลค่ะ เป็นคำง่ายๆ ไว้อ่านให้น้องฟังไปเรื่อยๆค่ะ
แล้วน้องจะพูดได้เร็วค่ะ

Sight Word REader

อ่าน review ได้ที่นี่ค่ะ

http://go2pasa.ning.com/forum/topics/sight-words?commentId=2456660%...

รายละเอียดเพิ่มเติม
http://www.pantown.com/board.php?id=37315&area=4&name=board...
เห็นด้วยกับคอมเมนต์นี้ค่ะ
ภาพจากทีวี เรามองเห็นเป็นภาพปกติ แต่ว่า เด็กเล็ก จะเห็นเป็นเส้นๆเต้นๆตลอดเวลาค่ะ

ประโยคนี้น่ากลัวจัง แล้วลูกจะเห็นชัดเหมือนปรกติเราเมื่อไหร่อะคะ
ให้ลูกดูทีวีแต่แค่วันละ ไม่ถึง 1 ชั่วโมง ไม่ทุกวันนะคะ คือดูแค่ 1 แผ่นต่อครั้งหน่ะค่ะ
รู้เรื่องแสง พยายามให้ลูกดูไกลๆ แต่ไม่เคยรู้เรื่องภาพเส้นๆเต้นๆเลยค่ะ
อ่านแล้วหนาวๆร้อนๆ เพราะเพิ่งเคยได้ยินนี่แหละ ตอนนี้ลูกก้อยังเล็กเลยเปิดแต่เสียง
ขอบคุณ comment คุณพ่อชิตังเมค่ะ

ยังคงแนะนำน้องอ่านหนังสือเป็นหลัก เช่นเดิมค่ะ
------------------------------------------------------------------------------------------

การดูโทรทัศน์ในเด็กเล็กๆ เป็นอันตรายหรือไม่ ?

ผลกระทบของการดูโทรทัศน์ในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ เป็นเรื่องที่เถียงกันอย่างมาก ทุกๆ ปีมีการทำสถิติเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูโทรทัศน์ของเด็ก และพบว่าเด็กบางกลุ่มมีสัญญาณเตือนที่น่ากลัว

โดยเฉลี่ยเด็กอเมริกันดูโทรทัศน์ 4 ชม. ต่อวัน (ที่มา www.app.org) ในขณะที่ร้อยละ 20 ของเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบมีโทรทัศน์ในห้องพวกเขา ในเด็กทารกอายุ 3 เดือนลงมามีถึง 40 เปอร์เซ็นต์ที่ดูโทรทัศน์ และมีเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากสำหรับเด็กอายุ 2 ขวบ (ที่มา http://seattlepi.nwsource.com/local/314676_babytube08.html) การศึกษาพฤติกรรมการดูโทรทัศน์ของเด็กในปี ค.ศ. 2003 พบว่าเด็ก 6 เดือนถึง 6 ปี ใช้เวลาถึงสองชั่วโมงกับ “สื่อจอ” เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และวิดีโอเกม (ที่มา CBS News) การศึกษายังพบอีกถึงการใช้เวลาที่ใช้ดูโทรทัศน์มากขึ้นและการอ่านที่น้อยลง

การศึกษาพฤติกรรมการดูโทรทัศน์ในเด็กเหล่านี้ทำโดยแพทย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ ได้แนะนำให้ลดการดูโทรทัศน์ลงในเด็ก วีดีโอชุดหนึ่งที่ผลิตออกมาในต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 อย่างเช่น “Baby Einstein” และ “Brainy Baby” พบว่าอาจเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของเด็ก วิดีโอเหล่านี้ซึ่งมีผลิตในรูปแบบ VHS และ DVD ในเนื้อหามีบทสนทนาเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นภาพที่ทับต่อเนื่อง และมักจะไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งยากที่จะเข้าในเนื้อเรื่อง แต่วิดีโอชุดนี้ก็เป็นที่นิยมอย่างมาก อย่างเช่นชุด “Baby Einstein” ได้รับรายได้มากกว่า 500 ล้านเหรียญ (ที่มา Boston Globe) และ Disney ได้ซื้อบริษัทนี้ในปี ค.ศ. 2001 (ที่มา Denver Post)

ผู้ปกครองส่วนมาก กล่าวว่าพวกเขาใช้วิดีโอเหล่านี้เป็นเหมือนพี่เลี้ยงเด็ก การเปิด DVD ชุด “Baby Einstein” ให้เด็กดูเพื่อที่จะให้คุณแม่หรือคุณพ่อสามารถทำความสะอาดบ้านหรือจัดเตรียมอาหาร หรือดูแลงานอื่นๆ ได้ แต่นักวิจัยพบปัญหาว่าวีดีโอเหล่านี้ไม่ได้เป็นประโยชน์และอาจจะเป็นอันตรายต่อพวกเด็ก ๆ ได้

ปัญหาไม่เพียงเฉพาะเนื้อหาวิดีโอ ที่บทสนทนาที่มีเพียงเล็กน้อยหรือภาพต่อเนื่องที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่วิดีโดชุดนี้ยังอาจมีผลถึงการพัฒนาการของสมองในเด็กทารก สมองของเด็กเป็นสิ่งสำคัญมากในเด็กก่อนอายุ 2 ขวบ ซึ่งเป็นการพัฒนาเชื่อมต่อระบบประสาทและเติบโตขนาดของสมอง จำเป็นต้องมีสิ่งเร้าในการกระตุ้นการพัฒนาการของสมอง นักวิจัยแย้งว่าวิดีโอไม่ให้สิ่งเร้านี้

การศึกษาวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร “Journal of Pefiatrics” สุมตัวอย่าง 1,000 ครอบครัว ทดสอบเด็กอายุ 8 เดือนถึง 16 เดือน สำรวจให้เด็ก 32 เปอร์เซ็นต์ดูวิดีโอ โดยเด็ก 17 เปอร์เซ็นต์ของพวกเขาดูวิดีโดอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงต่อวัน ทดสอบใช้วิดีโอชุด “Baby Einstein” ว่ามีผลต่อการพัฒนาการของพวกเขาหรือไม่ โดยเน้นไปที่คำศัพท์ โดยเฉลี่ยทุกชั่วโมงของทุกวันเด็กที่ดูวิดีโอนี้เขารู้คำศัพท์น้อยลง 6-8 คำเมื่อเทียบกับเด็กอายุเดียวกัน แต่เด็กที่มีอายุ 17 -24 เดือน เมื่อทดสอบแล้วไม่มีผลกระทบใดๆ

สถานบันชั่นนำ “Frederick Zimmerman” ของมหาวิทยาลัยวอชิงตันกล่าวว่า “ไม่มีหลักฐานชัดเจนถึงประโยชน์ที่มาจากดีวีดีและวิดีโอของเด็กเล็ก และมีคำแนะนำบางอย่างถึงอันตรายกับเด็กเล็ก” (ที่มา Forbes)

ดังนั้นเราควรห้ามให้เด็กเล็กๆ ดูโทรทัศน์หรือไม่ ?
ที่มา : howstuffworks.com
แปละและเรียบเรียง : blog.mom2kids.com
พญ.จารุวรรณ กิตติโศภิษฐ์ กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ได้แนะนำว่า พัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงวัย 3 ขวบ มีความสำคัญมาก เนื่องจากสมองมีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เด็กควรได้รับการเรียนรู้และส่งเสริมอย่างรอบด้าน ผ่านระบบประสาทเคลื่อนไหวทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส รวมทั้งพัฒนาการของหูชั้นในด้านการทรงตัว ทำให้เด็กเล็กๆ ชอบที่จะเล่นโยกเยก แต่เด็กวัยนี้ยังมีการพัฒนาด้านสายตาไม่เต็มที่ ดังนั้นการส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ ผ่านระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสื่อสารให้เด็กได้รับความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ เช่น การสัมผัสและโอบกอด

คุณหมอจารุวรรณ ยังบอกอีกว่า วัยขวบปีแรกเด็กยังมีพฤติกรรมเลียน แบบท่าทาง ซึ่งทำให้เด็กเริ่มสนใจและเริ่มที่จะจดจำหน้าพ่อแม่หรือคนใกล้ตัว ในวัย 2 ขวบ เด็กจะเริ่มมีการพัฒนาด้านการสื่อสารภาษา เพื่อบอกความต้อง การต่างๆ ดังนั้น ช่วง 3 ขวบปีแรกจึงไม่ควรให้เด็กเล็กดูโทรทัศน์ เนื่องจากจะเป็นผลลบต่อพัฒนาการและเป็นการสื่อสารทางเดียวที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ ตอบโต้ ทำให้เด็กไม่เกิดการพัฒนาทั้งทักษะ ภาษา หรือสังคม การส่งเสริมพัฒนาการด้านนี้ให้กับลูกน้อยทำได้ด้วยการเล่นกับคนใกล้ชิด เป็นการเล่นเพื่อสนุกไม่ใช่การสอนสั่ง หรือห้าม และผู้ใหญ่ ไม่ควรเอาตัวเป็นที่ตั้ง คาดหวังล่วงหน้าให้ เด็กมีพฤติกรรมเป็นไปตามความต้องการ แต่ควรเป็นการเล่นตามความสนใจของเด็ก เล่นเพื่อสนุกให้เกิดการพัฒนาอย่างรอบด้าน

ด้าน ดร.พัฒนา ชัชพงษ์ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า เด็กในวัย 3-6 ขวบเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้โลกและภาษาเด่นชัดมาก ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กจะเป็นอย่างไรในอนาคต อยู่ที่การส่งเสริมเลี้ยงดูในช่วงเวลานี้เป็นสำคัญ พ่อแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการหลายด้านไปพร้อมๆ กัน เช่น อาหาร สังคม การเล่นดนตรี หรือการอ่าน เด็กไม่จำเป็นต้องมีของเล่นราคาแพง แต่พ่อแม่สามารถใช้สิ่งของที่อยู่ในบ้านเป็นของเล่นได้ ในส่วนของดนตรีไม่จำเป็นต้องเปิดเพลงให้ฟังเท่านั้น การเคาะจังหวะ เช่น ตบมือ เคาะไม้หรือดนตรีล้วนๆ ที่ไม่มีเนื้อร้อง จะทำให้เด็กได้เรียนรู้จังหวะ นอกจากนี้ การอ่านนิทานให้ลูกฟังจะต้องมีเสียงสูงเสียงต่ำมีจังหวะ เด็กจะจดจำนิทานเรื่องนั้นมากกว่าการเล่านิทานที่เสียงราบเรียบ นิทานทำให้เด็กมีจินตนาการ และถ้ามีเนื้อหาดีๆจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กอยากทำความดี


ขอขอบคุณข้อมูล ไทยรัฐ
ทีวีเด็กเสี่ยงโรคสมาธิสั้น (1)
ดูทีวีเด็กเสี่ยงโรคสมาธิสั้น (1)
ห้ามเด็กต่ำกว่า 2 ขวบดูทีวีเด็ดขาด

“พ่อแม่ที่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ดูโทรทัศน์เป็นประจำ มีความเสี่ยงเมื่อเด็กโตขึ้นมาจะทำให้เป็นโรคสมาธิสั้น”

นพ.กิจจา ฤดีขจร กุมารแพทย์ ประจำศูนย์การแพทย์นวบุตร สตรีและเด็ก อาคาร ไลฟ์ เซ็นเตอร์ ถนนสาทรใต้ กล่าวเพิ่มเติมว่า พ่อแม่บางครั้งอาจเกิดความเข้าใจผิดว่า การที่เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบชอบจ้องหน้าจอทีวีก็คิดว่าเด็กดูเนื้อหาในทีวีรู้เรื่อง

หรือบางครั้งพ่อแม่อาจต้องใช้เวลาไปทำภารกิจอื่นและเห็นว่าเด็กอยู่กับทีวีได้โดยไม่งอแง จึงให้เด็กดูทีวีนาน ๆ พฤติกรรมเช่นนี้มีภาวะเสี่ยงต่อการที่เด็กจะเป็นโรคสมาธิสั้นเมื่อโตขึ้นได้

มีผลวิจัยในต่างประเทศระบุว่า เด็กต่ำกว่า 2 ขวบที่ดูโทรทัศน์ สมองจะทำงานเป็นวงจรไฟฟ้าสั้น ๆ เนื่องจากถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องโดยภาพบนจอโทรทัศน์ที่เปลี่ยนไปทุก 2-3 วินาที จึงสามารถดึงดูดความสนใจและทำให้เด็กนั่งนิ่ง ๆ อยู่หน้าจอโทรทัศน์ได้เป็นเวลานาน

อาการนั่งนิ่ง ๆ ของเด็กเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าภายนอก สมองถูกกระตุ้นไปเรื่อย ๆ รับรู้เรื่องสั้น ๆ หลายเรื่องพร้อมกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับสมาธิที่เด็กต้องสร้างขึ้นมาเอง เช่น ระหว่างการอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างจดจ่อ และเพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องนั้น ๆ ซึ่งเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะขาดสมาธิที่สร้างขึ้นเองจากภายใน

“ผลกระทบโดยตรงของโรคสมาธิสั้น เริ่มแสดงให้เห็นจากพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติ เช่น อายุ 2 ขวบ แต่ยังพูดไม่ได้ ซึ่งปกติ เด็ก 1 ขวบ จะสามารถพูดได้เป็นคำ ๆ เช่น เรียก พ่อ แม่ หม่ำ เป็นต้น เด็กอายุ 1 ขวบ 6 เดือน เด็กสามารถผสมคำได้ประมาณ 10 คำและสื่อสารได้ พออายุ 2 ขวบ สามารถสื่อสารได้รู้เรื่องมากขึ้น แต่ 100% ของเด็กที่เป็นสมาธิสั้นจะมีปัญหาเรื่องภาษา โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ แต่ยังไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับพ่อแม่ จะไม่สามารถจำภาพ จำเสียง หรือเลียนแบบได้” นพ.กิจจา กล่าว

สำหรับโรคสมาธิสั้น คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัย เด็ก โดยแสดงออกของเด็กจะออกมาในลักษณะอาการขาดสมาธิ (attention deficit) ขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (impulsivity) อาการซน (hyperactivity) ซึ่งในเด็กผู้ชายส่วนใหญ่จะพบอาการซน และการขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง

อาการขาดสมาธินั้น มีโอกาสพบได้เท่า ๆ กันทั้งในเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง และอาการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมของเด็ก

ปัจจุบันพบว่า โรคสมาธิสั้น เกิดจากความบกพร่องของสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมอง อาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ กรรมพันธุ์ การเลี้ยงดู โดยประมาณ 30-40% ของเด็กสมาธิสั้น จะมีคนในครอบครัว คนใดคนหนึ่งเป็นโรคสมาธิสั้นด้วย

นอกจากนี้ การดูโทรทัศน์ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น โดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ พ่อแม่ไม่ควรให้เด็กวัยนี้ดูโทรทัศน์โดยเด็ดขาด....!!

และหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี เมื่อเด็กโตขึ้นโรคสมาธิสั้นจะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก เพราะเมื่อเด็กมี ความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน อยู่ไม่นิ่ง นั่งไม่ติดที่ เด็กจึงไม่สนใจการเรียน และบางครั้งยังก่อกวนความสงบสุขในชั้นเรียนอีกด้วย

นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่นมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ทำอะไรรุนแรง ทำลายข้าวของ ก้าวร้าว ขาดทักษะต่าง ๆ เนื่องจากอดทนเล่นหรือฝึกได้ไม่นาน เพื่อนไม่ชอบเล่นด้วย และเด็กจะไม่สามารถเข้าสังคมกับบุคคลอื่นได้

พ่อแม่จึงควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของเด็ก หากพบอาการเสี่ยงจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที..!?!.



แหล่งข่าว : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
โพสต์เมื่อ : 2007-08-14
เด็กเล็กอายุไม่ถึง 2 ขวบ ไม่ควรดูทีวี
เนื่องจากการปล่อยให้เด็กดูทีวีตั้งแต่อายุยังน้อยขนาดนั้น สามารถขัดขวางพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก และยังส่งผลต่อการมีสมาธิของเด็กอีกด้วย

จากรายงานของเอเอฟพีบอกว่า นี่เป็นคำแนะนำที่นักวิชาการที่ทำการศึกษา จะนำเสนอให้ นิโคลา โรซอน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลีย พิจารณาเร็วๆ นี้ เพื่อดำเนินการให้ศูนย์รับเลี้ยงเด็กและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติตาม และขอความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้ช่วยกันเพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกหลาน ซึ่งหนึ่งในข้อแนะนำจากรายงานชื่อว่า เก็ท อัพ แอนด์ โกรว์ (Get Up And Grow) ยังได้พูดถึงเด็กเล็กตั้งแต่ 2-5 ขวบ ว่าควรจะดูโทรทัศน์ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง

"จากข้อมูลหลายชิ้นที่เราได้รับเมื่อเร็วๆ นี้ ล้วนมีคำแนะนำว่า เด็กเล็กที่อายุยังไม่ถึง 2 ขวบ ไม่ควรดูทีวีหรือเล่นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นดีวีดี คอมพิวเตอร์ และเกมอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ การใช้เวลาจุ้มปุ๊กอยู่หน้าจอทีวี อาจจะทำให้เด็กๆ มีกิจกรรมกรรมทางสังคม หรือได้ออกไปเล่นกับเพื่อนๆ น้อยลง ซึ่งสิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก นอกจากนั้นยังอาจส่งผลถึงพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อตาของเด็กๆ ด้วย" ข้อมูลส่วนหนึ่งที่ระบุในรายงานดังกล่าว ซึ่งมีข่าวว่าทางการออสเตรเลียยังไม่มีมติออกมามีผลบังคับใช้ ขณะนี้ยังรอผลสรุปอยู่ว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่ก็อยากใช้เป็นข้อมูลให้ประชาชนได้รู้ เพื่อช่วยกัน

ทั้งนี้จากข่าวยังว่า เหตุที่มีการสำรวจเรื่องนี้ขึ้นมาก็เนื่องจากทางการออสเตรเลียได้รับข้อมูลว่ามีเด็กๆ เป็นโรคอ้วนกันมากขึ้น อีกทั้ง ดร.โจ ซัลมอน จากมหาวิทยาลัยดีคิน หนึ่งในทีมศึกษา ยังบอกด้วยว่า ที่ผ่านมายังไม่มีหลักฐานหรือผลการศึกษาใดๆ ระบุเลยว่าเด็กได้รับประโยชน์จากการดูทีวี เธอยังฝากเตือนพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่ใช้โทรทัศน์เป็น "พี่เลี้ยงเด็ก" ว่าเป็นสิ่งไม่ควรทำ!!!

พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรหาทางเลือกอื่นให้ลูกๆ ได้เล่น ได้ผ่อนคลาย ซึ่งน่าจะเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาการด้านสมองของเด็ก เรายังไม่พบหลักฐานหรือผลการศึกษาใดที่อ้างได้ว่า วิดีโอและเกมคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หรือเป็นผลดีต่อสุขภาพจิตและพัฒนาการของเด็ก

มิหนำซ้ำยังมีผลการศึกษาบางชิ้นบอกด้วยว่า เด็กเล็กและวัยรุ่นที่ดูทีวีมากเกินไป โดยดูเกินกว่า 2-3 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มที่จะสุขภาพไม่ดีเมื่อมีอายุมากขึ้น
ข้อมูลจาก มติชน
ถ้าปล่อยให้เด็กเล็กดูทีวี..จะเป็นอย่างไร

2 Votes583 views9 comments10 พ.ย. 2552 11:28
สวัสดีค่ะ คุณที่รัก

หมอมีเรื่องเล่าจากบทความชื่อ

TV Reduces Young Kids' Language Skillsโดย Jennifer Warner
WebMD Health News
Reviewed by Louise Chang, MD June 3, 2009
ในบทความนี้เกล่าวถึงงานวิจัยหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่ทำขึ้นเพื่อหาคำตอบว่า

การที่ผู้ใหญ่ปล่อยให้ทารกหรือเด็กเล็กดูทีวีจะมีผลต่อเด็กอย่างไร




งานวิจัยที่ถูกอ้างถึง
เป็นของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Washington
มีหัวหน้าคือ DR. Dimitri A. Christakis, MD, MPH
ได้ทำวิจัยในเด็กจำนวน 329 ราย
อายุตั้งแต่ 2 เดือนถึง 2 ปี ติดตามเป็นเวลา 2 ปี

วิธีการให้ได้มาซึ่งคำตอบคือ

ทีมงานจะติดอุปกรณ์ดิจิตัลที่สามารถบันทึกเสียงทุกเสียงที่ได้รับไว้ที่ตัวเด็ก

และสุ่มบันทึกเสียงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆระหว่างวัน

แล้วนำข้อมูลเสียงมาศึกษาเปรียบเทียบกัน

(ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เด็กได้ยินจากสิ่งแวดล้อมหรือเสียงที่เด็กเปล่งออกมาเอง

ณ.ช่วงเวลาที่ทำการสุ่มก็จะถูกบันทึกไว้หมด)

เมื่อนำเสียงที่ได้มาวิเคราะห์พบว่า

พ่อแม่ที่ดูทีวีเพิ่มขึ้นทุกๆหนึ่งชั่วโมงจะพูดกับลูกน้อยลงไป 770 คำ (7%)

มาดูทางฝ่ายลูกบ้าง

พบว่าลูกพูดกับพ่อแม่น้อยลงเมื่อ(ลูก)ใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีทุกชั่วโมงที่เพิ่มขึ้น



สรุปง่ายๆ

ยิ่งพ่อ/แม่/ลูกดูทีวีมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีเวลาพูดกันน้อยลงเท่านั้น

โดยให้เหตุผลของการพูดคุยกันน้อยลงไว้ 2 ประการคือ

1. ผู้ใหญ่ปล่อยทิ้งให้เด็กดูทีวีโดยลำพัง หรือถึงมีผู้ใหญ่อยู่ด้วย

ก็มัวแต่ง่วนอยู่กับกิจธุระของตัวเองจนไม่ได้สนใจที่จะพูดคุยกับเด็ก

2. ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ต่างพากันสนใจดูทีวีจนลืมสนใจกันและกัน

เด็กก็จะดูว่าปิศาจจะถูกพระเอกตามมาฆ่าเมื่อไหร่

แม่/ป้า/ยายรอว่าเมื่อไหร่พระเอกจะมาคุกเข่าง้อคืนดีนางเอกที่กำลังตั้งครรภ์แก่ซะที

ส่วนพ่อก็มัวแต่ลุ้นว่าทีมฟุตบอลทีมไหนจะชนะ

อ้อ ลืมบอกไปว่า ทุกคนที่หมอพูดถึงต่างนั่งดูทีวีกันคนละเรื่องและคนละเครื่อง



The American Academy of Pediatrics

(สมาคมกุมารแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา)

และสมาคมกุมารแพทย์ของประเทศไทย มีคำแนะนำว่า

ไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ขวบดูรายการทีวี

รวมถึง วิดีโอ ดีวีดี สื่อมีเดียต่างๆ

เพราะช่วง 2 ขวบปีแรกของเด็กเป็นช่วงเวลาสำคัญ (Critical period)

ของพัฒนาการด้านภาษาซึ่งจะเกิดขึ้นได้ดีก็เมื่อเด็กได้รับการใส่ใจ

พูดคุย อ่านหนังสือ เล่านิทานให้เด็ก

(ไม่ใช่ปล่อยให้เด็กเล็กเรียนรู้ภาษาเองจากรายการทีวี)



บทความนี้ก็เป็นอีกบทความหนึ่งที่ตอกย้ำผลเสียของการให้ทารกและเด็กวัยก่อนเข้าอนุบาลดูทีวีว่าทำให้พัฒนาการด้านภาษาของเด็กลดลงกว่าที่ควรจะเป็น

จากการที่ทั้งพ่อแม่และเด็กไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

เพราะมัวแต่สนใจทีวีจนลืมใส่ใจคนรอบข้าง


ดังนั้นถึงเวลาปิดทีวีแล้วหาอะไรสนุกๆทำกับลูกได้แล้วค่ะ
--------------------------------------------------
จากเว็บ momypedia:
http://community.momypedia.com/community/blog/my_blog_detail.aspx?b...
------------------------------------------------------
จาก คุณแม่ xx
8 ก.พ. 2553 13:54
คุณหมอขา แล้วกรณีที่ดูทีวีมาตลอดจน 3 ขวบกว่าแล้ว จะแก้ไขอย่างไรคะ

พฤติกรรมน้องตอนนี้ พูดคุยกันเพื่อน ๆ เล่นกับเพื่อน ๆ ได้ปกติ แต่ชอบอยู่คนเดียวมากกว่า และชอบอยู่นิ่ง ๆ นั่งมอง ไม่วิ่งเล่นร่าเริงตามวัย จะร่วมเล่นด้วยเมื่อมีคนมาชวน นี่เป็นปฏิกิริยาของการดูทีวีมากเกินไปไหมคะ ทุกวันนี้ก็ยังคงติดทีวีอยู่เหมือนกัน

-----------------------------------------------------------------

" ด้วยรักและเป็นห่วงจริงๆค่ะ"
ขอบคุณข้อความดีๆค่ะ
อ่านแล้วก็อึ้งไป ลังเลมานานแล้วค่ะเรื่องนี้

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service