เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

เห็นหลายๆคนบอกว่าอย่าให้ดู tv. แต่ลูกผมชอบดุการ์ตูนครับ. ดูทุกวันเลย แต่เป็นภาษาอังกฤษ

จะล่งผลอย่างไรกับการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษหรือด้านอื่นๆ
หรือไม่อย่างไรครับ

Views: 551

Reply to This

Replies to This Discussion

เห็นเค้าว่าถ้าให้เด็กดูทีวีมากเกินไป จะสมาธิสั้นค่ะ
แต่ต้องมีพ่อแม่นั่งเล่นกับลูกพร้อมดูทีวีได้นะคะ น้องกุนชอบบังคับแม่ให้นั่งตักดูด้วยกันคุยกัน ถามกันเป็นประจำ เธอจะเลือกแผ่นซีดีเอง เช่น Mommy&me คายุ วันเดอร์เพท GoGo's Advanture บางทีวันไหนเบื่อก็ขอเปิดเพลงลูกท่งรวมมิตร "คนบ้านเดียวกัน"อิอิอิ เรื่องจริงนะ
ปล.เหนับกินขาแม่อะ ตัวหนักกว่าจะลุกได้
แองเจิ้ลก็ดูมาตั้งแต่เด็ก เริ่มตั้งแต่ 4 เดือนค่ะ
แต่ความสนใจของเค้าจะพัฒนาไปตามอายุ

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด อย่าให้เค้ารับสื่อทางเดียว
พ่อแม่หากอยากให้ลูกได้ดูทีวี ควรมีการโต้ตอบกับเขาด้วยนะคะ

ตอนนี้แองเจิ้ล 3.8 ก็ยังสนใจสื่อด้านทีวีเหมือนเด็กทั่วไป
ส่วนพัฒนาการทางด้านภาษา ไม่มีปัญหาค่ะ เรื่องสมาธิสั้น ก็ไม่มีค่ะ
เนื่องจาก ไม่ทิ้งให้เค้ารับสือทางเดียว มีการโต้ตอบ สอบถามเค้าอยู่เป็นระยะ
ตอนนี้ คุณพ่อเค้าดูทีวีไม่รู้เรื่องเลย เนื่องจาก ลูกสาวมีการโต้ตอบ สอบถามตลอดเวลา =="
ผมก็พยายามดูกะเค้าทุกวันครับ เค้าชอบดู เราก็ดูทุกคนครับ เหมือนเป็นกิจกรรมสำหรับครอบครัวไปแล้ว แต่ที่เบื่อคือต้องดูเรื่องเดิมเกือบทุกวัน บางวันลองเปลี่ยนเรื่องเค้าไม่ดูเลย ไปเล่นอย่างอื่นแทนเลยอะ 5555
ส่วนน้องเบสท์ตอนเล็กๆ จะไม่ให้ดูค่ะเพราะมีทั้ง Bossและเพื่อนๆ แนะนำว่าอย่าให้ลูกดูทีวีเพราะแสงจากทีวีมีผลทำให้เด็กสมาธิสั้นอย่าเอาลูกไปนอนไว้หน้าทีวีและถ้าเขา 2-3 ขวบ อย่าปล่อยให้เขานั่งดูทีวีอยู่คนเดียวนานๆ และให้สังเกตุดูว่าถ้าเด็กชอบนั่งดูทีวีนานๆ ดูได้ทั้งวันดูซ้ำๆ ซากๆ แต่พอเวลาเราให้เล่นของเล่นอย่างอื่นกลับได้ไม่นานนั่นหมายถึงเด็กเริ่มจะมีสมาธิสั้นแล้วและดิฉันก็ได้ไปประชุมผู้ปกครองที่โรงเรียนของลูกซิสเตอร์เขาก็พูดแบบนี้เหมือนกันแต่ลูกชายเขาไม่ติดทีวีค่ะเขาจะชอบเปิดคอมพิวเตอร์ฟังเพลงจาก Internet และระบายสีพอเบื่อก็ไปเป็นคุณครูเขียน ก-ฮ เขียน A-Z ที่ white board แล้วก็ให้คุณแม่อ่านส่วน DVD ก็จะมีที่เขาชอบมากคือ Mommy&Me และ Caillu ดิฉันมีข้อมูลเกี่ยวทีวีส่งผลอย่างไรกับลูกฝากมาให้อ่านลองดูนะคะ
ทีวีส่งผลอะไรบ้างต่อลูกคุณ


แปลและเรียบเรียงจาก How TV Affects Your Child โดย Mary L. Gavin จากเว็บไซต์ www.kidshealth.org



ทุกวันนี้ เด็กๆ ส่วนใหญ่เริ่มต้นดูทีวีตั้งแต่อายุน้อยลงเรื่อยๆ ข้อมูลจากงานศึกษาของสหรัฐอเมริการะบุว่า 70% ของสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนในสหรัฐฯ เปิดทีวีเป็นประจำ โดยเฉลี่ยแล้ว ปีหนึ่งๆ เด็กอเมริกันส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 900 ชั่วโมงในโรงเรียน และอีกเกือบ 1,023 ชั่วโมงอยู่หน้าจอทีวี



ข้อมูลจากสถาบันกุมารแพทย์ของอเมริกา (AAP) ระบุว่า เด็กชาวอเมริกันดูทีวีวันละประมาณ 4 ชั่วโมง ทั้งๆ ที่ AAP เคยออกคำเตือนว่า เด็กอายุเกิน 2 ขวบ ไม่ควรดูทีวีเกินวันละ 1-2 ชั่วโมง และรายการที่ดูก็ควรเป็นรายการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก



ตามคำแนะนำเดียวกันนี้ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรรับชม “ภาพจากจอ” (ไม่ว่าจะเป็นทีวี ดีวีดีหรือวิดีโอ คอมพิวเตอร์ หรือวิดีโอเกม) โดยสิ้นเชิง เพราะช่วง 2 ปีแรก เป็นช่วงเวลาที่สำคัญยิ่งสำหรับพัฒนาการทางสมอง ทีวีจะเป็นตัวขัดขวางการสำรวจค้นคว้า การเรียนรู้ และช่วงเวลาของการมีปฏิสัมพันธ์รวมถึงการเล่นกับพ่อแม่และบุคคลอื่นๆ อันเป็นกิจกรรมซึ่งล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยให้เด็กเล็กๆ สามารถพัฒนาทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตทางปัญญา ร่างกาย สังคม และอารมณ์



ผลการวิจัยชี้ว่า การให้เด็กดูทีวีมากเกินไปส่งผลเสียอย่างมากคือ

เด็กที่ใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีวันละมากกว่า 4 ชั่วโมง มีแนวโน้มจะมีน้ำหนักล้นเกิน
เด็กที่ได้เห็นฉากของความรุนแรง (เช่น การลักพาตัว หรือการฆาตกรรม) มีแนวโน้มจะเชื่อว่าโลกใบนี้น่าหวาดกลัว และสิ่งเลวร้ายจะเกิดขึ้นกับพวกเขา
ผลการวิจัยระบุว่า ทีวีย้ำเน้นเรื่องการแบ่งแยกทางเพศ และชาติพันธุ์


เมื่อพิจารณาถึงทางแก้ปัญหานี้ หลายฝ่ายที่ทำงานกับเด็กก็ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันไป หลายคนสนับสนุนให้เพิ่มเวลารายการด้านการศึกษาให้มากขึ้น ขณะที่อีกหลายคนมองว่าสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากทีวีน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด บางคนเสนอว่าจะเป็นการดีกว่า ถ้าพ่อแม่จะคอยควบคุมเวลาดูทีวีของลูกๆ และสอนให้เด็กๆ รู้ว่าทีวีเป็นเพียงสิ่งให้ความบันเทิงชั่วครั้งชั่วคราว มิใช่ถาวร



ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณต้องคอยตรวจตราเนื้อหาของรายการทีวี และจำกัดเวลาดูของลูกๆ เพื่อจะมั่นใจได้ว่าลูกของคุณไม่ได้ใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีมากเกินไป แทนที่จะได้ทำกิจกรรมอื่น เช่น เล่นกับเพื่อน ออกกำลังกาย และอ่านหนังสือ



ความรุนแรง



ผลการวิจัยชี้ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กอเมริกัน (อายุต่ำกว่า 18 ปี) ได้เห็นฉากของความรุนแรง 200,000 ฉากทางทีวี ฉากเหล่านี้บางครั้งกระตุ้นการเลียนแบบ เพราะแสดงและส่งเสริมว่าการทำเช่นนี้สนุกและมีประสิทธิภาพในการได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการ



AAP ยังชี้ว่า สถานการณ์ความรุนแรงหลายครั้งมักเกิดจาก “พระเอกหรือคนดี” ในเรื่องด้วยซ้ำไป ซึ่งยิ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กถือเป็นแบบอย่าง แม้ว่าพ่อแม่จะพร่ำสอนลูกๆ ไม่ให้ตีคนอื่น แต่ทีวีกลับบอกว่าการตี กัด หรือเตะคนอื่นนั้นเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเราเป็นคนดี และที่สำคัญ “คนเลว” อย่างในทีวีนั้นสมควรแล้วที่จะได้ถูกกระทำเช่นนั้น



นอกจากนี้ ภาพที่เด็กซึมซับจากทีวียังสร้างรอยแผลและความไม่มั่นคงในจิตใจของพวกเขา ข้อมูลจากการวิจัยระบุว่า เด็กอายุ 2-7 ขวบรู้สึกหวาดกลัวภาพตัวละครที่น่าพรั่นพรึง เช่น ปิศาจหน้าตาน่าเกลียด การบอกกับลูกว่าตัวละครเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง ไม่ได้ช่วยปลอบประโลมเด็ก เพราะเด็กๆ ไม่สามารถแบ่งแยกระหว่างโลกที่เป็นจริงกับโลกจินตนาการ



เด็กๆ อายุ 8-12 ปี รู้สึกขวัญเสียกับภัยคุกคามจากความรุนแรง ภัยธรรมชาติ และการตกเป็นเหยื่อของเด็กๆ ไม่ว่าภาพเหล่านั้นจะเป็นเพียงเรื่องสมมติ ข่าว หรือรายการที่อิงกับเรื่องจริงก็ตาม การอธิบายเหตุผลอาจพอช่วยได้สำหรับเด็กวัยนี้ ดังนั้นคุณจึงต้องให้ความมั่นใจและให้ข้อมูลที่เป็นจริงเพื่อช่วยบรรเทาความหวาดกลัวของลูกๆ อย่างไรก็ตาม คุณควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกดูรายการที่มีภาพซึ่งอาจทำให้แกหวาดกลัว



พฤติกรรมที่น่าเป็นห่วง



ทีวีมักเต็มไปด้วยรายการและโฆษณาที่แสดงพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง เช่น แสดงให้เห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์หรือการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องเท่ สนุก และน่าตื่นเต้น นอกจากนี้ มักไม่มีการพูดถึงผลที่ตามมาจากการดื่มสุรา เสพยาเสพติด สูบบุหรี่ และมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร



ตัวอย่างเช่น งานศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า วัยรุ่นที่ดูรายการทีวีซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ มีแนวโน้มจะสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองหรือมีกิจกรรมทางเพศเร็วกว่าเพื่อนวัยเดียวกันที่ไม่ได้ดูรายการพวกนี้



แม้ว่าโฆษณาบุหรี่จะถูกสั่งห้ามเผยแพร่ทางโทรทัศน์ แต่บรรดาเด็กๆ และวัยรุ่นก็ยังคงเห็นตัวละครในรายการทีวีหรือภาพยนตร์สูบบุหรี่กันทั่วไป (ในอเมริกา) การโฆษณาแฝงด้วยวิธีนี้ทำให้พฤติกรรมไม่ดีบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และการดื่มสุราเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ อันที่จริง เด็กที่ดูทีวีวันละมากกว่า 5 ชั่วโมงขึ้นไป มีแนวโน้มจะเริ่มต้นสูบบุหรี่เร็วกว่าเด็กที่ดูทีวีน้อยกว่าวันละ 2 ชั่วโมง ดังที่แนะนำไว้



โรคอ้วน



บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพได้เตือนมานานแล้วว่า การดูทีวีมากเกินไปมีส่วนสัมพันธ์กับโรคอ้วน อันเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในยุคปัจจุบัน ขณะดูทีวี เด็กๆ ย่อมไม่ได้เคลื่อนไหวและมีแนวโน้มจะหาของขบเคี้ยว นอกจากนี้ เด็กๆ ยังถูกกระหน่ำด้วยข้อความโฆษณามากมายที่ส่งเสริมให้รับประทานอาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ เช่น มันฝรั่งกรอบ และเครื่องดื่มที่เต็มไปด้วยน้ำตาล จนสิ่งเหล่านี้กลายเป็นอาหารว่างประจำของพวกเขา



การรับชมรายการทีวีทางการศึกษามากเกินไปก็มีผลกระทบทางอ้อมต่อสุขภาพของเด็กๆ เช่นกัน ถึงแม้เด็กจะดูรายการทีวีเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นเวลา 4 ชั่วโมง แต่ในอีกแง่หนึ่งก็หมายความว่า เด็กเหล่านั้นไม่ได้ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ พูดคุยกับคนอื่นๆ หรือไม่ได้ใช้เวลาเล่นกลางแจ้งเลย



โฆษณา



จากข้อมูลของ AAP เด็กชาวอเมริกันชมโฆษณา 40,000 ชิ้นต่อปี โฆษณาดังกล่าวนี้มีตั้งแต่อาหารขยะและของเล่น ไปจนถึงรายการส่งเสริมการขายที่น่าสนใจ ข้อความการตลาดที่ส่งถึงเด็กๆ ทุกเพศทุกวัย ที่สำคัญ สำหรับพวกเด็กๆ แล้ว อะไรๆ ในโฆษณาก็ดูยอดเยี่ยมไปหมด กลายเป็นสิ่งที่พวกแกจะต้องมีให้ได้ โฆษณาเหล่านี้ล้วนดึงดูดใจ และบ่อยครั้งก็ดูดีเกินจริง



สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ พวกเขายังไม่เข้าใจว่าโฆษณามีไว้เพื่อขายสินค้า เด็ก 6 ขวบหรือต่ำกว่านั้นไม่สามารถแยกแยะระหว่างเนื้อหารายการทีวีกับโฆษณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าตัวละครที่พวกแกชื่นชอบเป็นผู้โฆษณาสินค้านั้น แม้แต่เด็กที่อายุมากกว่านี้ก็จำเป็นต้องได้รับการเตือนว่านี่เป็นการโฆษณา



แน่นอนว่าการหลีกเลี่ยงโฆษณาโดยสิ้นเชิง อาจยากที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น สิ่งที่คุณทำได้ก็คือ สอนเด็กๆ ให้เป็นผู้บริโภคที่ฉลาดด้วยการพูดคุยถึงสิ่งที่แกคิดเกี่ยวกับโฆษณาที่กำลังเผยแพร่ ขณะดูทีวีร่วมกัน ถามคำถามที่กระตุ้นให้คิด เช่น “ลูกชอบอะไรในนั้น” “ลูกคิดว่ามันดีอย่างที่เห็นในโฆษณาหรือเปล่า” และ “ลูกคิดว่านี่เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพไหม”



นอกจากนี้ คุณควรอธิบายกับลูกๆ ว่า โฆษณานั้นออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้คนเราเกิดความต้องการในสิ่งที่ไม่จำเป็น และบ่อยครั้งที่โฆษณาทำให้เราคิดว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย การพูดคุยกับลูกๆ ถึงข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้จะช่วยให้พวกแกมองเห็นแง่มุมต่างๆ มากขึ้น



คุณอาจจำกัดการดูโฆษณาของเด็ก ได้ด้วยการอัดเทปรายการที่อนุญาตให้ลูกดูเอาไว้ (โดยไม่มีโฆษณา) หรือ

ซื้อหรือเช่าวิดีโอหรือดีวีดีมาให้เด็กดูแทน



การสอนเด็กๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีในการดูทีวี



แนวทางต่อไปนี้ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้จริงเพื่อให้การดูทีวีของครอบครัวคุณให้คุณมากกว่าโทษ:

1. จำกัดเวลาดูทีวี - ควรวางทีวีไว้ในห้องที่มีสิ่งบันเทิงอื่นๆ ที่ไม่ใช่จอสี่เหลี่ยม (เช่น หนังสือ นิตยสารสำหรับเด็ก ของเล่น เกมปริศนา กระดานหมากรุก เป็นต้น) เพื่อส่งเสริมให้ลูกๆ ของคุณทำอย่างอื่นนอกจากดูทีวี

2. ไม่ควรมีทีวีในห้องนอนลูก

3. ปิดทีวีในระหว่างรับประทานอาหาร

4. ไม่อนุญาตให้ลูกดูทีวีไป ทำการบ้านไป

5. ทำให้การดูทีวีเป็นเหมือนสิทธิพิเศษที่คุณยอมอนุญาตให้ลูกบางครั้งบางคราว แต่ไม่ใช่สิทธิ์ที่พวกแกต้องได้เสมอไป บอกกับลูกๆ ว่า พวกแกจะดูทีวีได้ก็ต่อเมื่อทำการบ้านและงานบ้านเสร็จหมดแล้ว

6. ทดลองหยุดทีวีสักสัปดาห์หนึ่ง – ลำพังแค่การงาน งานบ้าน และอื่นๆ ก็มากพอจนคุณแทบจะหาเวลาพิเศษของครอบครัวไม่ได้อยู่แล้ว คุณจึงควรเก็บออมเวลาดูทีวีมาไว้สำหรับการอยู่พร้อมหน้ากันของครอบครัวเพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน เล่นเกม ทำกิจกรรมกลางแจ้ง และอ่านหนังสือจะดีกว่า

7. เป็นตัวอย่างที่ดี โดยการจำกัดเวลาดูทีวีของคุณเอง

8. ดูรายการทีวีที่จะให้ลูกดูเสียก่อน

9. กำหนดตารางเวลาการดูทีวีของครอบครัวในแต่ละสัปดาห์ซึ่งทุกคนในครอบครัวเห็นพ้องด้วยและติดตารางเวลาไว้ในบริเวณที่เห็นชัด (เช่น หน้าตู้เย็น) เพื่อให้ทุกคนรู้ว่า รายการใดที่สามารถดูได้และในเวลาใด และต้องแน่ใจว่าจะไม่มีใครเปิดทีวีในเวลาอื่น

10. ดูทีวีร่วมกับลูก ถ้าคุณไม่สามารถดูทีวีจนจบรายการ ก็ให้ดูช่วงสองสามนาทีแรกเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ทราบว่ารายการนั้นเหมาะสมหรือไม่ หรือคอยเช็คดูเป็นระยะๆ ตลอดรายการ

11. พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับสิ่งที่พวกแกเห็นบนจอทีวี และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและค่านิยม (สำหรับเด็กโต) ถ้ามีอะไรที่คุณไม่เห็นด้วยปรากฏขึ้นบนหน้าจอ คุณอาจปิดทีวีและใช้โอกาสนี้ถามคำถามที่กระตุ้นให้ลูกคิด เป็นต้นว่า “ลูกคิดว่าเหมาะสมไหมที่คนเหล่านั้นจะใช้กำลัง พวกเขาน่าจะทำอะไรได้อีกไหม ถ้าเป็นลูก ลูกจะทำยังไง” คุณสามารถใช้ทีวีอธิบายถึงสถานการณ์ที่สร้างความสับสน หรือเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน (เช่น เรื่องเพศ ความรัก สุรา การสูบบุหรี่ ฯลฯ) สอนลูกคุณให้รู้จักตั้งคำถามและเรียนรู้จากสิ่งที่เห็นจากทีวี

12. พูดคุยกับพ่อแม่ท่านอื่นๆ หรือคุณครูที่โรงเรียนเกี่ยวกับนโยบายการดูทีวีของพวกเขา และรายการสำหรับเด็กที่เหมาะสมในทัศนะของพวกเขา

13. เสนอกิจกรรมบันเทิงอื่นๆ แทนการดูทีวี เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง กีฬา อ่านหนังสือ การทำงานฝีมือหรืองานอดิเรก ฟังเพลง หรือเต้นรำ ฯลฯ กิจกรรมสนุกๆ นอกเหนือจากการดูทีวีนั้นมีไม่จำกัด ถ้าคุณจะใช้ความพยายามสักหน่อย ดังนั้นจงปิดทีวีและรื่นรมย์กับช่วงเวลาอันแสนวิเศษที่คุณและลูกๆ จะได้ทำอะไรร่วมกัน
น้องเจ .... ฟังซีดีตั้งแต่อยู่ในท้อง :) พอคลอด 2 เดือนแรก ก็ยังฟังซีดีเหมือนเดิม เข้าเดือนที่ 3 ก็มีเพิ่มมาเป็น I can read, Baby Einsteins, ฯลฯ ... แต่ว่าจะดูแค่วันละไม่เกิน 15 นาที รายการทีวีอื่นไม่ได้ดูค่ะ (เพราะคุณแม่ไม่ชอบดูทีวี ก็เลยไม่ค่อยเปิด 555+ แต่ก็เคยทดลองเปิด น้องเจก็ร้องให้ปิดค่ะ ต่อบล็อคดีกว่าสนุกกว่า 555+)

ตอนนี้ 4 ขวบนิด ๆ น้องเจดู Caillou, Leap Frog, English Time, Gogo's Adventure, ฯลฯ ที่เป็นสื่อความรู้ ดูได้แค่วันละแผ่น จบแล้วก็ปิดเลย การ์ตูนอื่นไม่ดูค่ะ แต่มีรายการนึงที่น้องเจชอบมากอยู่ช่อง Thai PBS วันเสาร์ตอนเช้า Mr.Maker ของ bbc/Cbeebies แล้วก็ search หาเพลง สิ่งที่น้องเจอยากดูเองผ่าน youtube ทุกเรื่องที่น้องเจดู ทุกอย่างที่ search ผ่าน youtube กันจะนั่งดูอยู่ด้วย และกำหนดเวลาที่แน่นอนทุกครั้ง ถึงเวลาที่กำหนดปุ๊บ ปิดเลย งดต่อรอง 555+ ถ้าดื้อไม่เชื่อ ... งดเลย 1 อาทิตย์ (ระหว่างอาทิตย์ที่ถูกงด ก็ทำอย่างอื่นแทน) และถ้ายังดื้ออยู่ ก็จะขยายเวลางดไปเรื่อย ๆ ...น้องเจจะรู้ดีว่าถึงเวลาแล้วต้องปิด 5555+
Wow เยื่ยมจริงๆค่ะ MaMa n'JAY
ดูมากจะทำให้ลูกสมาธิลั้นค่ะ เพราะลูกชายก็เป็นอยู่ค่ะ
ครับ คล้าย ๆ ที่ทำอยู่ครับ ดีใจเหมือนกันว่า ยังมีท่านอื่น ๆ ที่ลูกดู tv เหมือนผม กังวลว่าควรจะให้ดูไหม แต่ลูกชอบอะ เลยต้องยอม

แต่ก็ให้ดูวันละแผ่นเหมือนกัน ครับ
น้องนายก็ดูเยอะเหมือนกันครับวันนึงก็หลายชั่วโมง (น้องอายุ จะ 3 ขวบครับ) ไม่อยากให้เค้าดูเหมือนกันครับแต่ขัดเค้าไม่ได้(ลูกคนเดียว) แต่ก็จะนั่งกับเค้าและพูดคุยโต้ตอบบ้างครับ ส่วนสมาธิจะสั้นรึปล่าวอันนี้ไม่แน่ใจครับเพราะว่าน้องนายสามารถนั่งฟังนิทานจนจบเรื่องได้แม้ว่านิทานเรื่องที่เล่าจะใช้เวลานานก็ตาม

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service