เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

สืบเนื่องมาจากไดด้อ่านกระทู้ของคุณอ๋อเกี่ยวกับการทำ ไทม์เอาท์ เลยนึกขึ้นได้ว่าอยากขอความรู้หน่อยคะ  เคยทำไทม์เอาท์กับลูกชายเหมือนกันคะ ประมาณสาม สี่ครั้ง ก็ไม่นานคะ  ประมาณหนี่งนาทีเห็นจะได้ เอาไปขังในห้องนำแต่เปิดไฟไว้ไม่น่ากลัวหรอกคะ แต่ลูกกลัวมาก  พอทำผิดบอกว่าจะเอาไปขังในห้องน้ำก๊กลัวมากเลยคะ  เลยมีคำถามว่า ถ้าเขาทำผิด ขั้นร้ายแรงแล้วเราเอาเขาขังบ่อยบ่อย  คือเด็กก็ทำผิดบ่อยใช่ไหมคะ จะทำให้เขากลายเป็นกลัวห้องเเคบเเคบไปเลยหรือเปล่าคะ  แบบว่าตอบเด็กเด็กถูกแม่เอาขังในห้องน้ำบ่อยบ่อย เลยเป็นความฝังใจอะไรแบบนั้นอะคะ  พอดีที่ญี่ปุ่นเคยดูทีวีว่ามีการแกล้งกันน่ากลัวมาก   ก็เลยคิดเลยเถิดไปถึงว่าถ้าขังเขาบ่อยบ่อย  จนเขากลัวห้องแคบแคบ  เเล้วพอโตขึ้นเพื่อนรู้ว่ากลัวก็จะแกล้งอะไรแบบนั้นอะคะ  คิดมากไปหรือเปล่าไม่รู้  ขอความเห็นหน่อยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าคะ

Views: 4359

Replies to This Discussion

ขอบคุณคำแนะนำของพี่แมวมากมากเลยคะ เฮ้อแต่ปวดหัวลุกชายดื้อเหลือเกิน หรือไม่ก้คุณแม่ไม่รู้วิธีจัดการ ไทคิชอกเล่นถังขยะมากเลยคะ ชอบเอาของไททิ้ง เอาโน่นเอานี่ไปทิ้ง แม่บอกว่าอันนี้ยังใช้อยู่ยังไม่ทิ้งนะลูก พอวันต่อมาเอาใหม่เอาที่วัดปรอทไปทิ้งอิกและ พอวันดีคืนดีก็ไปรื้อถึงขยะ หาของอะไรประมาณนั้นอะคะ บางครั้งก็ชอบถือแก้วนำของตัวเองมาจากในครัว แบบว่าจะทำเอง แล้วก็หก ราดเป็นทาง บอกว่าให้เอาทีละน้อยก้ไม่ยอมจะเอาเยอะเยอะ บอกว่าแม่จะช่วยถือไปให้ก็ไม่ยอม งอแง มากพูดไม่รู้เรื่อง บางทีก็ชอบเอาผ้าที่ซักแล้วมารากกับพื้น เอาผ้าขี้ริ้วมาปนบ้าง แม่ก็ต้องซักใหม่ ช่วงนี้ฝนก้ตกบ่อย เคยเตือนเขาแบบเอาไปนั่งบนเก้าอี้ เขาก๊ร้องเรียกเรา พอเราทำเฉยก็จะปีนออกมาเอง พอเอานั่งเก้าอี้เตี้ยเตี้ยก็ทำน่าเเบบทะเล้นอะคะ พอเราทำไม่สนใจก็ ยิ่งทะเล้นใหญ๋ พอครบเวลาสองนาที่ เหมือนที่ให้นั่งอยู่นี่เขาไม่รู้ตัวเลยว่าผิด นั่งทำหน้าทะเล้นอยู่นั่นแหละ จนแม่ต้องเอาไปไว้ในห้องนำ เอาไปไว้ที่ห้องอื่นก็รื้อของออกมาเต็มไปหมด ก็เลยเหลือแต่ห้องนำนี่แหละคะ แต่พอฟังจากแม่หลายหลายท่านแล้ว ต่อไปก็คงจะไม่เอาไปไว้ในห้องนำแล้วคะ สงสารลูก
ไม่ทราบว่าน้องอายุเท่าไรค่ะตอนทำอย่างนี้ ถ้าเล็กมากๆ เขายังไม่เข้าใจสิ่งที่คุณพูดถึง บางอย่างไม่ใช่เขาดื้อ การที่ลูกทิ้งของ ลากของ เทน้ำ นั่นคือส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ของการพัฒนาการค่ะ ที่บ้านลูกชายไม่ยอมให้ช่วยป้อนอาหารตั้งแต่ขวบหนึ่งเดือน หกเลอะเทอะไปหมด เราก็เลยปรับโหมดตัวเองต้องยอมให้เลอะ ไม่ทันขวบ 3 เดือนเขาใช้มือได้ดีมาก ใช้ส้อมป้อนสปาเก็ตตี้เข้าปากได้ ใช้ส้อมหวานจิ้มมะม่วงชิ้นเล็กได้ ต่อมาไม่นานเขาก็สามารถใช้มือที่จะจับปากกาได้ เทน้ำไปมา ถ้าเขาทำหกเราก็ให้เขาเช็ด ของโดนรื้อกระจุยทั้งบ้านถือดป็นเรื่องปกติค่ะ
เมื่อตอนยังไม่ 2ภาษา บอกเค้าว่า แอ้ แอ้ แล้วให้เค้าตีมือตัวเอง (แบมือซ้าย มือขวาตีมือซ้าย ) เดี๋ยวนี้บอก punish (แอ้ แอ้) จะหนัก จะเบาก็มือเค้าเอง ไม่ต้องตีเอง เหมือนเค้าจะรู้ ผิดมากก็ตีแรง ผิดน้อยก็เบา ฟังจากเสียงแม่สั่ง
น้องเก่งจังเลยคะ คุณแม่
การทำไทม์เอาท์ไม่ใช่การขังลูกนะคะ เข้าใจผิดแล้วคะ
การทำไทม์เอาท์ คือการกันลูกออกไปจากสถานการณ์ที่วุ่นวายตรงหน้า เพื่อให้เค้าสงบสติอารมณ์ โดยอาจแยกไปมุมนึงของห้อง หรือไปอีกห้องนึง โดยมีพ่อแม่ดูอยู่ห่างๆ ไม่ใช่การขังลูกในห้องใดๆทั้งสิ้นคะ การขังลูกคือการทรมานเด็ก ทารุนเด็กทั้งร่างการและจิตใจคะ ไม่ควรทำคะ จริงๆก่อนจะสอนลูกด้วยวิธีใดควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนนะคะ ลูกคือผ้าขาวคะ เราทำอะไรกับเค้าครั้งนึงมันคือสิ่งที่จะฝังใจเค้าไปตลอดชีวิตคะ อีกอย่างหลักการณ์มีไว้ให้ศึกษา แต่เวลานำมาใช้จริงเราต้องดูดีๆว่าเหมาะกับลูกเรามั้ย เอามาดัดแปลงบ้างตามสภาพลูกเราและครอบครัวเราคะ อย่ายึดติดตามตำราเกินไป

ส่วนตัวเราคิดว่าไม่เห็นด้วยกับการตี เพราะเป็นการใช้กำลัง และการทำไทม์เอาท์สำหรับเด็กที่พูดแล้วไม่ฟัง ดื้อมากๆจริงๆ และใช้วิธีพูดกันแล้วไม่ได้ผล สำหรับลูกเราตอนนี้ยังไม่ดื้อขนาดนั้น เรายังใช้วิธีพูดสอนและบอกเค้าดีๆ อธิบายถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดถ้าเค้าดื้อแค่นี้ลูกก็หยุดทำแล้วคะ อย่างเช่นล่าสุดเมื่อคืน เค้าเอาเก้าอี้ต่อกับโต๊ะแล้วโดดลงมา เราก็บอกไม่ได้นะลูก มันสูงไป เอาแค่โต๊ะพอแค่นี้พอนะ เค้าก็ยอมคะ แล้วพูดเองว่า แค่นี้พอ
ขอบคุณคุณแม่น้องโมกข์มากคะ สำหรับคำแนะนำดีดี อ้อมก็เคยจับเขานั่งเก้าอี้ เขาก็พยายามจะปีนออกมา พอจับนั่งเก้าอี้เตียเตี่ย ก้ทำน่าตาทะเล้นเหมือนไม่รู้สึกผิด พอหมดเวลา เราก็อธิบายให้เขาฟังคะ เขาก็ทำหน้าทะเล้นใส่เราอีก พอเอาไปไว้ในห้องนอน ก็เล่นเพลินเลยคะ รื้อโน่นรื้อนี่ออกมาใหญ่ จนไม่รู้จะทำไงเลยเอาไปไว้ในห้องนำ แต่ก็รู้สึกแล้วคะ ต่อไปนี้คงไม่เอาไปไว้ในห้องนำอีกแล้วคะ เวลาที่เราพูดกับเขาดีดี แล้วเขาเชื่อฟังอันนั้นก้ไม่ทำให้แม่ปวดหัวเท่าไหร่ แต่เวลาพูดไม่รู้เรื่องนี่ซิคะ อธิบายก็แล้ว ปลอบก็แล้ว เฮ้อ ปวดหัวจริง่จริงคะ
เคยอ่านมาว่าไม่ควรทำโทษแบบนี้โดยให้เด็กอยู่ในห้อง ควรจะเป็นที่โล่ง ๆ เพื่อความปลอดภัย เคยมีคนทำโทษลูกโดยขังในห้องน้ำพอครบกำหนดปรากฎว่าลูกล็อคห้องน้ำ ต้องใช้ขวานจามลูดบิดเพื่อเปิด

ขอแชร์ประสบการณ์ เพิ่งทำไปเมื่อ 3 วันมานี่เอง เป็นการทำโทษแบบ ไทม์เอาท์ ครั้งแรกของน้องวาเม เคยอ่านมาเยอะเลยลองซะเลย น้องชอบเล่นกับพ่อแม่มาก แม่เห็นมาเล่นนานแล้ว ได้เวลานอน เค้าเริ่มอาการเดิม งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมฟังเหตุผล จะเล่นต่อให้ได้ เราเคยคุยเคยบอกเค้าหลายครั้งแต่ก็แก้ไม่ได้ แม่โมโหมากและพูดเสียงดังแล้วบอกให้ยืนอยู่หน้ากระจกห้ามไปไหนจนกว่าหนูจะใจเย็นลง แต่เราก็เดินไปมาอยู่ใกล้ๆ ไม่ได้ไปไกลจากเค้า เค้าต่อต้านมากเลยร้องไห้เสียงดัง สะบัดแขนตีตัวเอง ดึงเสื้อ บิดตัวไปมาแบบว่าไม่ยอมรับการที่แม่ให้ยืนอยู่ตรงนี้ ร้องไห้แบบสะอึกสะอื้นมากเลยจนเราอยากจะเข้าไปกอด แต่ก็พยายามใจแข็ง แต่เราผิดตรงที่เราพูดเสียงดังกับเค้าด้วยความที่เราโมโหเลยระงับไม่ได้ พอคิดได้เราเลยพูดกับเค้าเรียบ ๆ อยู่ตรงนั้นนิ่ง ๆ รอแม่ 2 นาที่เดี๋ยวแม่ล้างแก้วเสร็จจะไปกอดเอง (ไม่รู้ทำถูกหรือเปล่า แต่ด้วยความสงสารลูกมาก และเป็นครั้งแรกที่ทำโทษแบบนี้ และอีกอย่างเค้าไม่อยู่นิ่งเลย ร้องไห้ ไปแล้วดึงเสื้อ บิดไปบิดมา ตีตัวเองบ้าง และพูดหนูขอโทษ อยากหาม๊ะม๊า จะหาม๊ะม๊า เราก็เลยต้องพูดแบบนั้นถ้าจรอให้อยู่นิ่ง ๆ ก็คงอีกนาน ก็เลยใช้เวลามากำหนด) พอครบเวลาแม่เดินเค้าไปกอด หอม และบอกรักเค้า ซึ่งลูกสาวสะอึกสะอื้นมาก ๆๆๆ กว่าทุกครั้งที่เค้าเคยร้องไห้ เราก็คิดสงสารลูกมาก รู้สึกเสียใจที่ทำให้เค้าเสียใจ แต่แม่อย่างเราก็ไม่รู้จะแก้ไขยังไงดีกับปัญหาเดิม ๆ ก็เลยต้องเลือกวิธีนี้ ยังไงก็ขอผู้รู้แนะนำอีกทีค่ะ

หลังจากวันนั้นสังเกตเห็นว่าน้องรู้จักที่จะระงับอารมณ์ตัวเองนะค่ะ ซึ่งเมื่อวานเค้างอแงมาก จนแม่ก็เริ่มจะไม่ไหวแล้ว พ่อก็เลยพูดขึ้นหนูจำเมื่อวันก่อนได้ไหม เค้าเลยพูดว่า หนูไม่พลาดอีกแน่ แล้วเค้าก็เริ่มอารมณ์ดีขึ้นมาเองเลย รู้สึกว่าจะพูดง่ายขึ้นมาบ้าง ส่วนตัวคิดว่าคงจะดีกว่าแต่ก่อนที่เวลาเค้าทำผิด งอแง ไม่มีเหตุผลเอาแต่ใจตัวเอง แม่ก็วีนแตกเหมือนกัน ใช้วิธีเสียงดังสยบซึ่งลูกก็จะใช้เสียงดังบ้างเหมือนกัน ซึ่งวิธีนี้เป็นการทำให้เค้าได้คิดว่า เค้าทำอะไรไป ผิดไหม ผิดยังไง เสียใจกับสิ่งที่ตัวเองทำมากแค่ไหน และต่อไปเค้าจะมีเหตุผลเอง
น้องน่ารักจังเลยนะคะ พอเด็กเริ่มเข้าใจพูดง่าย คุณแม่ก็ค่อยสบายหน่อยนะคะ
เผอิญเจอข้อมูลเกี่ยวกับการทำ time out พอดีเลยนำมาฝากอ่านกันค่ะ

ใช้วินัยกับลูกด้วยความรัก/ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ


ลูกคือสิ่งที่พ่อแม่รักและหวงแหนมากที่สุด พ่อแม่ทุกคนหวังให้ลูกเป็นคนดี ฉลาดเฉลียว และมีคุณธรรม คงไม่มีพ่อแม่คนไหนที่อยากเห็นลูกเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กก้าวร้าว ไม่ให้เกียรติผู้อื่น แต่อยากเห็นลูกอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข การสร้างให้เด็กเป็นคนมีระเบียบวินัย จึงเป็นหนทางหนึ่งที่สำคัญในการสร้างให้ลูกเป็นทั้งคนดี ฉลาด และเป็นพลเมืองที่ดีที่จะพัฒนาชาติและสังคมต่อไป วิธีการสร้างระเบียบวินัยให้ลูกมีวิธีการดังต่อไปนี้

คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นคนสม่ำเสมอ อารมณ์ไม่ขึ้น ๆ ลง ๆ ในการตั้งกฏทุกข้อกับลูก เช่น หากอนุญาตให้เด็กเล่นในโคลนและอีกวันหนึ่งตะโกน ว่ากล่าวและทำโทษลูกในการเล่นโคลน ลูกจะรู้สึกสับสนว่าเขาควรทำหรือไม่

เมื่อบอกว่าไม่ได้ นั่นมีความหมายว่าไม่ได้จริงๆ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องแน่ใจจริงๆว่าถ้าบอกว่า ไม่ได้ คือไม่ได้ เพราะหากห้ามสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว ลูกไม่เชื่อฟังแต่พ่อแม่อะลุ้มอะล่วยก็จะเกิดผลเสียตามมา

ในกรณีที่คุณพ่อ คุณแม่บอกว่าไม่ได้ แต่ลูกยังฝืนทำอีก มีขั้นตอนในการลงวินัยดังนี้ บอกลูกว่าไม่ได้อีกครั้ง แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องแน่ใจจริงๆว่าสิ่งที่ต้องการให้ลูกทำตามนั้นทำได้จริง ไม่ใช่สิ่งที่ เกินกำลังและความสามารถของลูก ยกตัวอย่างเช่น ขอให้ลูกยกของที่หนักเกินกำลังของลูก เมื่อลูกไม่ทำ ก็ดุว่า ทำโทษ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ขณะที่ลูกกำลังเล่นอยู่ในสนามกับเพื่อนบ้าน แต่ถึงเวลากลับบ้านแล้ว คุณแม่เรียกให้มา แต่ลูกก็ยังไม่ยอมมา สิ่งที่คุณแม่ต้องทำคือ คุณแม่ต้องเดินจากไปทันที ลูกอาจจะไม่ยอมมาอีก คราวนี้คุณแม่อาจบอกลูกว่าถ้าไม่มาหนูต้องนั่งนิ่งๆในรถหรือแยกตัวให้ไปอยู่ตามลำพัง ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า (Time out) แต่เมื่อลูกไม่ยอมมาอีก คราวนี้คุณแม่ต้องทำตามที่เตือนไว้คือไปเอาลูกมานั่งนิ่งๆในรถ สัก2 นาที เพื่อให้ลูกรู้ว่าทำผิดอะไร

อย่าตะโกนใส่ลูกและดุด่าว่ากล่าวลูกด้วยถ้อยคำรุนแรง ไม่มีใครแม้แต่ผู้ใหญ่ที่ชอบฟังคนชอบตะโกนดุว่าด้วยถ้อยคำรุนแรง การให้เกียรติลูกเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเขาจะเรียนรู้การให้เกียรติผู้อื่น ด้วย เราอาจจะหงุดหงิด และอยากจะระเบิดอารมณ์ออกมา แต่ควรใจเย็น ๆ ไม่พูดตะโกนใส่ลูกด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด

การลงวินัยกับลูกมักจะมีผลต่อจิตใจของทั้งคุณพ่อ คุณแม่และลูก เราอาจลองวิธีโน่น วิธีนี้ และทำให้บางครั้งเราหมดความอดทน หรือลืมจุดประสงค์ของการลงวินัย หรือาจจะล้มเลิกการลงวินัยนั้น สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำคือ อย่าล้มเลิกการลงวินัยนั้น เพราะหากเราเลิก ลูกจะยิ่งลองทดสอบพ่อแม่มากขึ้น ว่าเขาจะหลบหลีกกฏเกณฑ์ได้มากน้อยแค่ไหน

การลงวินัยโดยการให้ลูกนั่งนิ่ง ๆ หรือแยกให้ไปอยู่ตามลำพัง (Time out) เป็นสิ่งที่ต้องทำ โดยมีวิธีการดังนี้

1.ต้องจัดสถานที่หนึ่งในมุมของบ้านที่เป็นมุมในการวางเก้าอี้ที่จะให้เด็กการนั่งนิ่งๆ

2.ใช้มุมที่จัดเตรียมนี้เท่านั้นในการลงวินัย เพื่อลูกจะไม่สับสน และเข้าใจในสิ่งที่เรากำลังทำ

3.การจัดเวลาในการนั่งนิ่งๆ ขึ้นอยู่กับอายุของเด็กอาจใช้เวลาประมาณ 2 นาที ไม่ควรนานเกินไปหรือสั้นเกินไป

4.ลูกอาจลุกขึ้น ร้องไห้ เริ่มพูดจาตะโกนเรียกร้องความสนใจ หรือแสดงความก้าวร้าวมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ต้องนำลูกกลับนั่งทันที อย่าบอกให้ลูกไปนั่งเองแต่คุณพ่อคุณแม่เป็นผู้นำลูกไปนั่งที่เก้าอี้ อาจใช้เวลาหลายครั้ง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องใช้ความอดทนและไม่ควรใจอ่อนยอมล้มเลิก

5.เริ่มลูกนั่งครบ 2 นาทีแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องกลับไปนั่งกับลูก ประสานสายตากับลูกแล้วบอกลูกถึงเหตุผลที่ต้องมานั่งที่นี่ ถามลูกว่าเข้าใจหรือไม่ว่าทำผิดอะไร และบอกลูกว่าไม่ควรทำสิ่งนี้อีก ให้ลูกขอโทษและกอดลูกไว้

6.ไม่ควรรื้อฟื้นถึงความผิดเก่าๆ แล้วนำกลับมาพูดใหม่อีก เพราะลูกจะรู้สึกด้อยค่า หรือสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้ลูก และอาจส่งผลให้ลูกมีพฤติกรรมต่อต้านมากขึ้น

7.ให้คุณพ่อคุณแม่ทำการลงวินัยแบบนี้ทุกครั้งเมื่อลูกเริ่มแผลงฤทธิ์ อาจต้องใช้ความอดทนมาก แต่เป็นสิ่งที่คุ้มค่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่ทำบ้างไม่ทำบ้าง สิ่งเหล่านี้ก็จะไม่ได้ผล

เวลาเจ้าตัวเล็กแผลงฤทธิ์ขึ้นมาทีไร คุณพ่อคุณแม่เป็นต้องปวดหัว ไม่รู้จะใช้วิธีไหนดี ลองดูนะคะ การให้ความรักความอบอุ่นและการลงวินัยอย่างเหมาะสมจะทำให้ลูกมีจิตใจที่มั่นคงและแจ่มใสส่งผลให้พัฒนาการด้านต่างๆดีขึ้น เหมือนคำพังเพยที่กล่าวว่า รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี คราวนี้ เป็นรักลูก อยากให้ลูกเป็นคนดีต้องลงวินัยด้วยความรักถึงจะได้ผล เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนเสมอค่ะ

ข้อมูลจาก
ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มีนาคม 2553 12:50 น.
ขอบคุณมากคะคุณสุมนา สำหรับข้อมูลดีดี
ยินดีค่ะ เรียกลี่ก้อได้น่ะค่ะ

เข้าใจผิดมาตลอดเลย นึกว่าการทำTime out คือการทำให้เด็กกลัว ถ้าเด็กกลัวการลงโทษจะได้เลิกพฤติกรรมที่ไม่ดี

ขอบคุณนะคะได้อ่านบทความนี้แล้วทำให้เข้าใจหลักการมากขึ้น

ขอถามหน่อยได้ไหมคะว่า ถ้าเป็นเด็ก 1y8m ถ้าแล้วเขาร้องไห้ไม่มีเหตุผลเราควรปล่อยให้เขาร้องไปสักพักแล้วจึงค่อยปลอบเขา หรือรีบปลอบให้เขาเงียบให้เร็วที่สุด อย่างไหนจะดีกว่ากันคะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service