ทำไมคนไทยถึงใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้เสียที...
ajarnwes - [ 29 เม.ย. 52 04:36:41 A:124.120.114.37 X: ]
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/04/K7805784/K7...
กระทู้น่าสนใจจากพันทิพ
-------------
พวก เราคนไทยหลายคนตั้งคำถามเกี่ยวกับทำอย่างไรถึงจะพูดภาษาอังกฤษได้ อยากพูดได้ แต่ไม่มีเงินไปเรียนเมืองนอก ไม่รู้จะหาฝรั่งที่ไหนมาฝึกภาษาด้วย ฯลฯ ผมจึงอยากแบ่งปันความคิดเห็นจากประสบการณ์อันน้อยนิดที่ได้ทำงานร่วมกับชาว ต่างชาติประมาณ 7-8 เดือนผ่านมา ซึ่งอันที่จริงภาษาอังกฤษของตัวเองก็ไม่ใช่ว่าจะเข้าขั้นดีนักหนาเสียด้วยซำ ้ แต่การที่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาเหมือนกัน ทำให้คันไม้คันมืออยากนำเอาแง่คิดบางอย่างจากพยายามแก้ปัญหาของตัวเองมาเล่า ให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นบ้าง
ผมขอสรุปจากความคิดของตัวเองสำหรับผู้ที่กำลังอยากใช้ภาษาอังกฤษ อันหมายถึง พูด ฟัง อ่าน เขียน ดังนี้
๑. ถ้าใครที่ไม่ได้เติบโตในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษมานาน จะไม่มีทางเรียนภาษาอังกฤษได้ดีในเวลาอันสั้นแน่ๆ...
เรา มาเริ่มต้นกันที่ความจริงกันดีกว่า ถึงมันจะฟังดูไม่ให้กำลังใจกันบ้างเลย แต่ผมเชื่อว่าหลายคนมีความรู้สึกนี้และพวกเรารู้กันดีในหมู่คนไทย ถึงได้มีลักษณะกลืนภาษาอังกฤษไม่ลงคอเหมือนยาขม
ต้นเหตุของปัญหาน่าจะมาจากความอยากพูด,ฟัง,อ่าน,เขียน"ได้"ในเวลาอันสั้น
พอ พวกเรานึกอยากจะพูดภาษาอังกฤษขึ้นมา ก็อยากให้มันพูดได้ในทันที ซึ่งมันขัดกับหลักธรรมชาติ พอทำไม่ได้ก็ทำให้เกิดความท้อ ตัดบทเสียว่าชาตินี้ตรูคงไม่มีวันใช้ภาษาอังกฤษได้แน่นอน...
คำถามคือจำเป็นจะต้องใช้ภาษาอังกฤษได้ดีขนาดไหน...
ถ้า บอกว่าพ่อค้าแม่ค้ายังพูดภาษาอังกฤษงูๆปลาๆขายของกับฝรั่งได้ ก็น่าจะตอบคำถามได้ว่าเราสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ในสถานการณ์ที่จำเป็น เท่าที่มันสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ แต่ถ้าเราขยายจุดมุ่งหมายให้มากกว่าพ่อค้าแม่ค้าขึ้นมาหน่อย แต่ไม่ให้มากจนเกินธรรมชาติไป น่าจะทำให้เรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นไปทีละขั้นตอน
นั่นก็คือ เราไม่มีวันจะใช้ภาษาอังกฤษได้ดีเท่าหรือแม้แต่ใกล้เคียงเจ้าของภาษาแน่ๆ อย่างน้อยก็ในเวลาอันสั้น เราไม่มีวันจะลุกขึ้นมาวันหนึ่งแล้วพูดภาษาอังกฤษฉอดๆหลังจากไปเข้าโรงเรียน ภาษาไม่กี่สัปดาห์ ตามที่เขาโฆษณาว่าได้ผลในเวลาอันรวดเร็วเท่านั้นเท่านี้ (นอกจากคนที่มีพื้นฐานอยู่แล้ว และกำลังฟิตตัวเพื่อเตรียมสอบหรือจะไปเมืองนอกอีกไม่นาน)
ทางออกก็ น่าจะเป็น ทางสายกลาง คือไม่อยากได้จนสุดโต่ง แต่ก็ไม่ได้ทิ้งมันไปเสียเลยเมื่อยังทำไม่ได้ดี เราสามารถเก็บความสามารถทางภาษาอังกฤษไว้กับตัวโดยรักษาระดับที่มีอยู่ แล้วคอยเตือนตัวเองให้เก็บเล็กเก็บน้อยในระหว่างชีวิตประจำวัน
๒. ยังมีทางออกที่ดีอยู่ เหมือนแสงอุโมงค์ที่ปลายทาง ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
อินเตอร์ เน็ตและmp3 สามารถทำลายระยะทางอันไกลโพ้นได้ คนรุ่นนี้แสนจะโชคดีอย่างหามิได้ ถ้าใครเกิดทันยุคที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตและmp3 จะรู้ว่าการเรียนภาษาอังกฤษสมัยก่อนกว่ายี่สิบปีมันสุดแสนจะลำบากยังไง อย่างดีก็มีแค่เทปคาสเซ็ทฟังประโยคทักทาย I'm fine, thank you แบบนี้ทั้งม้วน
สมัยนี้เราสามารถ Download file mp3 จากเว็บไวต์สอนภาษาอังกฤษที่เป็นบทความง่ายๆ พูดช้าๆชัดๆ มาฟังเวลาว่าง ขับรถ หรือใช้เครื่องเล่นอันเล็กๆติดตัวฟังได้ทุกที่ทุกเวลา ที่สำคัญก็คือ ฟรีและเลือกเปลี่ยนได้มากมายถ้าฟังจนเบื่อ ไม่ต้องจมอยู่กับ yes, no, ok เหมือนเมื่อก่อน
อีกอย่างหนึ่งฝรั่งมักจะบอกว่า อย่าอายๆที่จะพูดกับเราชาวตะวันตก หรือคนไทยเราบางทีบอกว่า พูดมันไปเถอะ ใส่ๆเข้าไปเดี๋ยวก็ได้เอง ซึ่งพวกเราหลายๆคนไม่สามารถทำอย่างนั้น มันเหมือนมีก้อนอะไรมาอุดอยู่ในปากอยู่ดีเวลาจะพูดภาษาอังกฤษ ก็เพราะเราไม่มีข้อมูลอยู่ในหัวนั่นเอง เพราะเราไม่ได้รับฟังหรือพูดมันบ่อยๆ
ในเว็บไซต์
www.effortlessenglish.com ของอาจารย์ AJ Hoge กล่าวไว้ว่าคนเราต้องฟังซำ้ๆกันถึงไม่ตำ่กว่า 30 ครั้งจึงจะจำข้อความสั้นๆได้ การฟังบทเรียน mp3 ซำ้ๆบ่อยๆจะทำให้เริ่มจับสำเนียงได้ และถ้าอ่านบทเรียนไปด้วยก็จะได้คำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยเพิ่มเข้ามา ถ้าหากได้ฟังฝรั่งพูดของจริงก็จะไม่ตื่นตระหนก (ผมเชื่อว่าคนไทยหลายคนมีอาการแบบนี้แน่ๆ) และจะช่วยคลายกังวลกับโรคกลัวฝรั่งลง ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกที่จะทำให้รู้สึก"เป็นมิตร"กับภาษาอังกฤษขึ้นมา
เพราะ หลังจากที่เราฟังและพูดบ่อยๆระยะหนึ่ง เหมือนลิ้นมันจะลื่นไปตามสำเนียงขึ้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งไม่ต้องไปบีบบังคับมัน และเมื่อเราอ่านภาษาอังกฤษก็พยายามเอาเสียงนั้นมาใส่เหมือนให้มันก้องอยู่ใน หัว ก้จะอ่านได้ราบรื่นขึ้น
๓. อีกอย่างที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษของคนไทยก็น่าจะเป็น ทัศนคติต่อการเรียนภาษาที่สอง...
ผม เคยแชทผ่านอินเตอร์เน็ตกับเพื่อนชาวต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ สองอย่างฟิลิปปินส์ เขาบอกว่า"ชาวฟิลิปปินส์เป็นคนเปิดกว้างและอยากจะเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆเสมอ โดยเฉพาะกับภาษาอังกฤษ พวกเราพูด เขียน อ่าน ร้องเพลง ดูหนัง ฯลฯ ที่เป็นภาษาอังกฤษ"
แล้วภาษากาตาล็อคของเขาล่ะ ก็ไม่ได้สูญหายไปอย่างใด ในขณะที่บ้านเราถูกยำ้นักย้ำหนาว่าเรามีภาษาเป็นของตัวเอง ต้องรักษาและหวงแหนมันราวกับว่า จะมีใครมาทำให้มันสูญหายมลายไปง่ายๆ
ดัง นั้นทางสุดโต่งทางแรกอาจจะเป็นทัศนคติที่ว่า เกิดเป็นคนไทยก็ต้องใช้แต่ภาษาไทย, ฝรั่งไม่ใช่พ่อแม่เราทำไมจะต้องไปใช้ภาษาของมัน ฯลฯ
ในขณะที่ทางสุด โต่งอีกทางหนึ่งก็คือ การเอาภาษาอังกฤษมาใช้แสดงสถานะทางสังคม หรือใช้ไม่ถูกที่ถูกเวลา พูดไทยคำอังกฤษคำโดยไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในเชิงเทคนิค หรือเรียกกันแบบไทยๆว่า กระแดะ นั่นเอง
เคยได้ยินฝรั่งคนหนึ่งที่ อยู่เมืองไทยมานานเล่าให้เพื่อนมาใหม่ฟังว่าคนไทยบางคนจะรุ้สึกว่าเขา"ไฮ โซ"ทันที ถ้าได้พูดภาษาอังกฤษให้คนอื่นเห็น เพื่อนของเขายักคิ้วหงึกๆบอกว่า แปลกดี
ปัญหาของคนไทยจึงมีประเด็นเรื่อง ชนชั้นของภาษาเข้ามาแทรกอีกอย่างเช่น ภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นภาษาของชาวบ้าน หรือภาษาที่สองอย่างในประเทศอื่นๆเขา
ทีนี้เราคงต้องมาหยุดตรงทาง สายกลางกันอีกทีที่ว่า เพื่อการเรียนรู้โลกกว้าง และการติดต่อสื่อสารกับชาวโลก ภาษาอังกฤษไม่ได้ใช้เฉพาะกับฝรั่ง ไม่ได้พูดเพื่อความโก้เก๋ หรือยกระดับทางสังคม ตรงกันข้ามภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางเพื่อใช้ติดต่อกับคนทุกชนชาติ ยังมีประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่ไม่ใช่ชาวตะวันตกอย่าง อินเดีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ ฮ่องกง ฯลฯ ชาวนาในประเทศจนๆที่แอฟริกาบางคนยังพูดภาษาอังกฤษได้ เพราะเป็นภาษาของคนทุกชนชั้นใช้สื่อสารกัน
๔. การเรียนภาษาอังกฤษสามารถฝึกฝนกับเพื่อนคนไทยด้วยกันได้...
เพียง แต่ต้องแยกประเด็นของการ"กระแดะ"ให้ดี เรื่องนี้เป็นเรื่อง Sensitive (ถึงตรงนี้บางคนอาจจะบอกว่า ทำไมไม่ใช้ "เป็นเรื่องละเอียดอ่อน" ต้องกระแดะใช้ภาษาอังกฤษทำไม)
ผมเห็นว่า มันขึ้นอยู่กับคนที่เราพูดด้วย และขอบเขตของการพูด เราคนไทยคงเข้าใจกันได้ดีว่า จุดไหนที่มันจะเลยหรือไม่เลย "เส้นแห่งความกระแดะ" ไปได้ เข้าทำนอง กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา
กลับมาว่ากันเรื่องฝึกฝนภาษากันต่อ...ผม เห็นหลายคนพยายามหาเพื่อนฝรั่งคุยแต่ก็หาไม่ได้ ผมเข้าใจความรู้สึกนั้นดี เพราะเคยเป็นแบบเดียวกัน ไม่รู้จะไปคุยภาษาอังกฤษกับใครที่ไหนแล้วจะให้เป็นได้ยังไง เลยไปลงเรียนคอร์สสนทนาภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เป็นคอร์สสำหรับคนทำงานมาเรียนตอนเย็น
ปรากฎว่าในชั่วโมงเรียน พออาจารย์ฝรั่งให้หันหน้าเข้าหากันแล้วฝึกพูดคุยเป็นประโยคถามตอบ ทุกคนอำ้ๆอึ้งๆไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษต่อกัน เพราะคนไทยเรารู้สึกผิดเหลือเกินที่ต้องพูดภาษาอังกฤษกันเอง
แต่ที่จริง แล้ว...เมื่อเป็นคอร์สเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งทุกคนเสียเงินทองและเวลาฝ่ารถติดมาเรียน สุดท้ายมานั่งมองหน้ากันแล้วก็พูดออกมาเป็นภาษาไทย ในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป ทุกคนก็เริ่มสนิทสนมกันและเริ่มกระเซ้าเย้าแหย่กันเป็นภาษาไทยจนจบคอร์ส บางคนก็กลับไปโดยพูดภาษาอังกฤษไม่ดีขึ้นเลย...
น่าจะดีถ้าคนไทยหันหน้าเข้าหากัน แล้วฝึกฝนภาษาอังกฤษกันเอง (โดยไม่ให้ลำ้เส้นแห่งความกระแดะ)
เรา จะพึ่งพาตัวเองได้มากกว่านี้ ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องบินไปเรียนเมืองนอก ไม่่ต้องล้มเลิกความตั้งใจที่จะใช้ภาษาอังกฤษเพราะหาคนคุยด้วยไม่ได้
๕. การใช้ภาษาอังกฤษได้ดีหมายถึงความฉลาดหรือไม่...
คำ ตอบคือใช่ สำหรับบางคนที่มีความสามารถทางภาษา(Linguistic) แต่คนแบบนี้ก็สามารถเรียนภาษาอื่นๆได้ดีและเร็วเหมือนกัน เพราะเป็นความสามารถพิเศษของเขา แต่สำหรับคนบ้านๆอย่างเราๆล่ะ จะต้องฉลาดแค่ไหนจึงจะเรียนภาษาอังกฤษได้
ในเรื่องนี้ตามวิชาการเขา บอกว่า ความสามารถของคนเราอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝน การกระทำซำ้าๆยำ้ๆบ่อยๆ จนมันพัฒนาเป็น ทักษะ (skill) เช่น การหัดว่ายนำ้ เล่นกีฬา การดนตรี วาดรูปและอีกหลายๆอย่าง การฝึกภาษาก้เช่นเดียวกัน
ดัง นั้นในมุมนี้จึงไม่น่าเกี่ยวกับความฉลาดแบบไอคิว ไม่งั้นที่สิงค์โปร์คงมีแต่คนเรียนจบสูงๆเท่านั้นที่พูดภาษาอังกฤษได้ แต่ชาวสิงค์โปร์ ไม่ว่าพ่อค้าแม่ขาย รปภ. คนขับรถ ทุกคนใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เพราะเขาใช้ทุกวัน จนชาวสิงคโปร์มีภาษาอังกฤษตามแบบของตัวเองที่เรียกว่า Singlish ซึ่งหลายๆคนอาจจะบอกว่ามันเป็นภาษาวิบัติ แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าที่ไม่ได้ใช้เลย คนไทยเราที่ chat กันเป็นภาษาอังกฤษก็ยังชอบเติม na ท้ายประโยคด้วยความเคยชิน ถึงมันจะดูไม่ดีนักคามหลักภาษา แต่เพื่อความenjoy ระหว่างคนไทยด้วยกันก็ไม่น่าซีเรียส อย่างน้อยก็ทำให้คนไทยที่อยากใช้ภาษาอังกฤษสนุกขึ้น
ข้อสรุปต่างๆของ ผมมีที่ผิดพลาดประการใดก็ขอความคิดเห็นจากผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ดีแนะนำ ด้วย เนื่องจากตัวผมเองใช้วิธีดับเครื่องชนแบบเปลี่ยนที่ทำงานไปอยู่ในบริษัทที่ มีชาวต่างชาติใช้ภาษาอังกฤษหลายคน ซึ่งมีข้อดีในการฝึกภาษา แต่ข้อเสียก็คือต้องยอมลดรายได้ลงหรือลดตำแหน่งจากหัวหน้าไปเป็นลูกมือ ซึ่งถ้าใครที่รู้วิธีเรียนภาษาอังกฤษที่ดีคงไม่ต้องทำขนาดนั้น
ชาว ต่างชาติหลายคนชมชอบความมีนำ้ใจของคนไทยเรามาก บางคนบอกว่าเขาสัมผัสได้ด้วยภาษาใจ แต่เขาคงอยากให้เราสื่อสารกับเขาด้วยคำพูดได้จะดีมาก ถึงได้มีหลายคนพยายามให้กำลังใจคนไทยอย่างคุณ แอนดรูว์ บิ๊ก เจ้าของสโลแกน "ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว" หรือคุณคริสโตเฟอร์ ไรท์ ที่ออกมาเต้นแร้งเต้นกาให้คนไทยเรียนภาษาอังกฤษอย่างสนุกขึ้น ผมเชื่อว่าเขาไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่รายได้เป็นหลัก เพราะถ้าอย่างนั้นสู้ไปทำธุรกิจกวดวิชาน่าจะรวยกว่า
ดังนั้นจึงยังมีชาว โลกอีกหลายชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางเพื่อติดต่อกัน และพวกเขาคงอยากรู้จักคนไทยให้มากขึ้นในยุคโลกไร้พรมแดนทุกวันนี้