เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
ในฐานะอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ (ที่รู้แค่พอประมาณ) กำลังทำวิทยานิพนธ์อยู่ค่ะ อยากสอบถามคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายค่ะว่า ในการเรียนภาษาอังกฤษที่เรียนกันมาตั้งแต่ชั้นประถม มัธยม อุดมศึกษา คิดว่า ระบบการศึกษา การสอนภาษาอังกฤษของไทยเรา ดี ไม่ดีตรงไหนคะ และอยากให้มันเป็นยังไง ด้วยเหตุผลอะไร
ถ้าท่านไหนสามารถให้ข้อมูลส่วนตัวด้วยได้ (แค่ชื่อ อายุ อาชีพ) จะเป็นพระคุณมากเลยค่ะ หรือถ้าอนุญาตให้ alissa เก็บข้อมูลส่วนตัวจาก profile ในเว็บได้ จะขอบคุณมากค่ะ
Tags:
สวัสดีค่ะคุณ Alissa ตอนแรกนึกว่าคุณ Alissa อยู่ต่างประเทศซะอีก เพราะว่าภาษาอังกฤษดีจังเลยค่ะ
ที่แท้เป็นอาจารย์ด้วย ดีใจจังค่ะ ขอคำแนะนำต่อๆไปด้วยค่ะ
เอาตั้งแต่อนุบาลเลยดีไหมคะ ที่เจอมาและที่ลูกเจอมาด้วยค่ะ
สอน a ant มด / b bird นก ให้ท่องจนถึง z เลย เด็กติดการแปล เหมือนที่คุณบิ๊กเขียนไว้ในหนังสือนั่นแหละค่ะ
ประถม ท่องศัพท์อีกวันละ 5-10 คำ ท่องไปทำไมคร๊าาาาาา ทำไมไม่ให้เด็กเรียนจากธรรมชาติ และความรู้สึกแทน
เช่นชี้ที่เก้าอี้ แล้วครูพูดว่า chair ชี้ที่โต๊ะ พูดว่า table แทนที่จะท่อง chair = เก้าอี้
พอเข้ามัธยม เริ่มท่องเก่งแล้วเรา ถูกปลูกฝังมาแบบนี้นี่ ท่องๆๆๆๆ พอสอบเสร็จลืมค่ะ
พอมหาวิทยาลัย ก็จำแกรมม่า เพื่อที่จะสอบค่ะ เด็กไทยจะอ่านเก่ง แต่ฟังและพูดไม่เก่งค่ะ
ขอแชร์ด้วยคนค่ะ
ชื่อแอ๋ว เป็นแม่บ้าน อายุเยอะแล้ว ฮ่ะๆๆๆ
ส่วนตัวคิดว่าระบบการศึกษาวิชาภาษาอังกฤษของไทยนั้นยังอ่อนด้าน การส่งเสริมทักษะการพูด การฟัง และการออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา ระบบโรงเรียนเน้นไวยากรณ์จนเกินไป คนไทยเขียนเก่งค่ะ เขียนได้แม่น แกรมม่าดีกว่าฝรั่งเจ้าของภาษาซะอีก แต่เเพ้เขาเรื่อง การพูด การฟัง และการออกเสียง
ภาษาไทยเราไม่มีเสียงท้าย ทำให้บางทีฝรั่งฟังเราไม่เข้าใจ อยากให้ระบบการศึกษาไทยหันมาให้ความสนใจกับโฟนิคส์ ซึ่งเห็นหัวใจหลักของภาษาอังกฤษ ซึ่งช่วยเด็กเรื่องการอ่าน การสะกดคำ และการออกเสียงเวลาพูด และการออกเสียงที่ถูกต้อง เพื่อที่ว่าเด็กไทยโตขึ้นไปจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ชัดเจนค่ะ
อยากให้โรงเรียนให้ความสำคัญกับ rote learning (การเรียนแบบท่องจำ) น้อยลง ให้หันมาให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาด้วยความเข้าใจ อาศัยหลักการสอน sight reading (เน้นความเข้าใจความหมายของคำแบบไม่ต้องเเปล) ผสมกับโฟนิคส์ (เน้นการออกเสียงและสะกดคำ) เพื่อที่เด็กไทยเราจะได้เข้าใจภาษาอังกฤษจริงๆ และสามารถอ่านคำที่ไม่เคยเห็นมาก่อนได้ค่ะ
นิดเองค่ะ อาชีพสาวโรงงาน
อยากให้ระบบการศึกษาไทยปรับเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่โดยเริ่มตั้งแต่พื้นฐาน ซึ่งสำคัญมาก
ยกเลิกการสอนแบบแปล a ant มด ให้สอนและเรียนแบบธรรมชาติ
นำระบบการสอบโฟนิคส์มาสอนตั้งแต่เริ่มต้นพื้นฐาน ส่วนตัวเองตั้งแต่เกิดมาพึ่งจะมารู้จักโฟนิกส์เอาเมื่อ 4-5 เดือนมานี้
ทำให้รู้ว่่าพูดหรือออกเสียงไม่ชัด เพราะเราไม่ได้เรียนรู้พื้นฐานการออกเสียงที่ถูกต้องค่ะ
ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ ขอเก็บข้อมูลก่อน รอท่านอื่นด้วยค่ะ หวังไว้ว่า ถ้าวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ตีพิมพ์ จะได้กระเตื้องระบบการศึกษาภาษาอังกฤษของไทยเราบ้าง
สวัสดีค่ะครู Alissa หมวยค่ะ อาชีพแม่บ้าน
ถ้าจะว่ากันจริงๆ คงต้องรื้อระบบการศึกษาไทยทั้งระบบเลยล่ะค่ะ ไม่ใช่แค่วิชาภาษาอังกฤษเท่านั้น เด็กไทยถูกสอนให้เชื่อ และจำขึ้นใจ (แบบที่คุณแอ๋วว่าไว้แหละค่ะ rote learning) คิดแบบบูรณาการไม่ได้ เป็นอย่างนี้ตั้งแต่เริ่มเข้าโรงเรียนจนจบมหาวิทยาลัยเลย เด็กชอบที่จะทำข้อสอบแบบ choices ส่วนครู/อาจารย์ก็ชอบตรวจข้อสอบแบบนี้เพราะไม่ต้องมานั่งอ่าน สอดกระดาษเข้าคอมพ์ให้มันตรวจ แป๊บเดียวก็เสร็จ
สำหรับตัวหมวยเอง พอมาเรียนป.โท ที่นิด้า การเรียนจะเป็นแบบ discussion + presentation ข้อสอบก็เป็นแบบเขียนอธิบาย แทบจะไม่มีข้อสอบแบบ choice เลย ตอนเรียนนี่เครียดมากเหนื่อยมาก เพราะเราเคยชินแต่การเรียนแบบท่องจำเพื่อที่จะทำข้อสอบแบบ กา กา กา เพื่อทำคะแนนให้ได้เยอะๆ ผลออกมาจะได้ดูเหมือนเราเป็นเด็กเรียนเก่ง ผิดค่ะ
ปัญหาของเด็กไทยเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษ รู้แต่แกรมม่า แต่พูดไม่ได้ ตีความก็ไม่แตกฉาน ถ้าให้อ่านหนังสืออังกฤษก็จะมัวสนใจแต่โครงสร้างประโยคที่เค้าเขียน หมวยสังเกตเห็นจากหนังฝรั่งบ่อยๆ นะคะ ที่ในห้องเรียนจะมีชั่วโมงที่เด็กต้องออกไปเล่าเรื่องให้เพื่อนๆ ฟังหน้าห้อง (แล้วแต่หัวข้อที่อาจารย์จะกำหนด) คิดว่าถ้าวิชาภาษาอังกฤษ (และวิชาอื่นๆ) ในบ้านเราเป็นอย่างนี้ก็คงดี คือ ให้โอกาสเด็กได้ฝึกคิด/วิเคราะห์/แสดงความคิดเห็นออกมา และเอามาใช้จริงๆ ไม่ใช่ทำการบ้านในสมุดตอบโจทย์ เขียนแกรมม่า ส่งครูตรวจ เป็นอันจบ ต้องยอมรับว่าเมืองไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นต่างชาติ เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะได้ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆ นอกห้องเรียนมีน้อยมากค่ะ การจะเรียนรู้วิชาอะไรก็แล้วแต่ หมวยว่ามันต้องผ่านการได้ใช้ได้ทำจริงๆ ทั้งนั้นค่ะ
ระบบการศึกษา เอาเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษใช่ไหมคะ
ป๊อปค่ะ อายุ 30 ปี ปัจจุบันเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ก่อนหน้านี้เป็นอาจารย์อยู่ที่มศว
ป๊อปว่ามันขาดการฝึกฝนค่ะ เริ่มเรียนภาษาอังกฤษเหมือนท่านอื่น ที่โรงเรียนให้เรียนตอนป.4 ก็เริ่มที่ a b c
เพราะว่าค่อนข้างโตแล้วก็ไม่ได้เรียนท่อง a ant b bird เรียน a b c d เป็นตัวตัวไปเลย
จึงได้รู้จักได้เรียนเรื่องเสียงของพยัญชนะแต่ละตัว สมัยนั้นไม่มีโฟนิคนะคะ ที่โรงเรียนพยายามให้อ่านสะกดได้
แต่แปลไม่ออก เจอคำแล้วอ่านได้ แต่ต้องไปเปิดdic อีกที
ที่คิดว่าขาด น่าจะเป็นการฝึกฝนมากกว่า ภาษาเป็น skill เหมือนการขี่จักรยาน เหมือนการว่ายน้ำ
ถ้าอยากทำได้ อยากพูดได้ ก็ต้องฝึกพูด และฝึกการใช้ให้ได้
ตอนเด็กๆก็เรียนท่องศัพท์มาเหมือนกัน แต่ว่า ต้องพยายามเอาศัพท์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
เพื่อให้เราได้ฝึกฝนให้ใช้ได้ดี การที่เราขาดการฝึกฝนทำให้เราไม่ได้พัฒนาค่ะ
ตอนปฐมเรียนอาทิตย์ละสองครั้งเองค่ะ แต่ที่บ้านสนับสนุนเรื่องภาษา
ให้เรียนพิเศษทุกวัน จันทร์ ถึง พฤหัส ที่โรงเรียนภาษาหน้าโรงเรียนปฐม จริงๆคือกิจกรรมยามรอพ่อมารับ
มันก็คือการที่เราได้เรียน และได้เอาสิ่งที่เราเรียนมาใช้ทุกวัน ง่ายๆคือ ต้องพูดคุยกับชาวต่างชาติทุกวัน
ถ้าใช้ภาษานี้ไม่ได้ ก็ให้มันรู้ไป
มันก็จะต่างกับเด็กที่เรียน แค่อาทิตย์ละสองครั้งที่โรงเรียน เพราะว่าเรียนคาบนึง จบไป ไม่เคยเอามาใช้อีกเลย
จนถึงอีกคาบก็พูดอีกที พูดอาทิตย์ละไม่กี่ประโยค ขาดการฝึกฝน เลยไม่สามารถนำภาษาไปใช้ได้จริง
การเรียนให้ได้ดี ต้องใช้ทุกวัน ต้องมีโอกาสพูดทุกวันค่ะ
การเรียนภาษาที่ดีต้องไม่เกิน 10 คน เพือให้ทุกคนได้ฝึกการใช้ภาษาอย่างทั้วถึง คือได้ฝึกในชั่วโมงทุกคน
ไม่ใช่เด็กห้องละ 40 คน นี่จะได้ฝึกพูดคนละกี่ประโยค และพออกจากห้องก็เลิกใช้แล้วภาษานี้ คิอไม่ได้ฝึกฝน
ไม่ได้ฝึกใช้ เหมือนอยากขี่จักรยานได้ แต่ไม่ลองขี่ มันก็จะขี่ไม่ได้ค่ะ
พอเรียนมัธยม เตรียมพัฒ น่ะค่ะ ที่นี่เรียนห้องละ 60 คน แต่การสอนเข้มข้นมาก
มีการฝึกฟังตลอดเวลา ทุกคาบ ฟังจริงจัง ฟังแล้วได้อะไรบ้าง
สมัยเรียน ม ปลาย มีวิชาการฟังโดยเฉพาะ แบบว่า ฟังเข้าไป ฟังจนอ๊วก
มีวิชาเฉพาะในแต่ละตัวเยอะมาก เรียนรวมๆ อาทิตย์นึงเรียน 8 คาบได้
ถือว่าเยอะ
ตำราเรียนก็มีส่วน เพราะว่าบางทีคนเขียนตำราก็ใส่ความเข้าใจผิดผิดของตัวเองลงไปในเนื้อหา
อย่างหนังสืออธิบายภาษาอังกฤษที่คนไทยเขียน บางเล่มอ่านแล้วมันผิด แต่คนที่มาซื้อไปอ่าน
หรือเด็กที่ได้เรียน เค้าก็ไม่ทราบว่ามันผิด มันก็จะฝังหัวเราอยู่อย่างนั้น
เหมือนคำ Oven ที่เราถูกสอนให้อ่านว่า โอ-เว่น แต่จริงๆแล้วคือ อ๊ะ-เว่น
ครูผู้สอนก็ควรต้องมีความสามารถด้วย ไม่ใช่กะโหลกกะลา มาสอนผิดๆ นี่ทำลูกป๊ฮปออกเสียงผิด ป๊อปยังอยากไปคุยกับครูเลย
หลังไมค์มาคุยกันได้ค่ะ
ขออนุญาตเรียบเรียงในนี้เลยละกันนะคะ ขาดตกอันไหน หรือควรเพิ่มอะไรเข้าไป รบกวนแจ้งด้วยค่ะ
1. methodology วิธีการสอน ไม่ควรสอนแบบท่องจำ (rote learning) แต่สอนแบบเน้นความเข้าใจ (sight reading) สอนให้แสดงออก (express) ซึ่งฝึกการคิด วิเคราะห์
2. knowledge สิ่งที่มาสอนควรเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าถูกต้องแล้วจริงๆ เช่น (โดยเฉพาะ) phonics
3. practise การฝึกฝน นำเอามาใช้จริง เพื่อให้เข้าใจ จำได้ และใช้จริงได้
4. teacher บุคลากรผู้สอนต้องมีความรู้ทักษะที่ถูกต้องและเพียงพอในการสอน
5. teaching material อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน ควรใช้ที่เหมาะสม ถูกต้อง และหลากหลาย (ขอแอบเม้าท์ด้วยว่า หนังสือเห็นเปลี่ยนทุกปี) ไม่ใช่เฉพาะหนังสือ แต่รวมสื่อการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย
แนะนำคือ less grammar, more listening-speaking เรียนไวยากรณ์ให้น้อยลงและเรียนการฟังการพูดให้มากขึ้น
1.เด็กอายที่จะพูดคะ
2.เมื่เด็กทำไม่ได้ ครูมักจะลง โทษ ทำให้ยุเกลียดภาษาอังกฤษคะ และเป็นการจำฝังใจ เมื่อก่อนไม่มีลูกถ้าเห็นเป็นอิงจะเดินหนี หรือหลีกเลี่ยง ตั้งแต่ยังไม่ได้เปิดดูด้วยซ้ำ
3.อยากให้เป็นแบบ leannig by doing มากกว่า ทำให้เห็นว่ามันสนุก เหมือนหลอกเด็กมาเล่นแต่ที่จริงกำลังสอนคะ
เด็กบางคนไม่ชอบการสอนแบบวิชาการ ยกตัวอย่างลูกชายคะ แม่ตั้งใจที่จะสอน จะไม่ทำ คะ พอเราบอกว่ามาเล่นเป็นเพื่อนหน่อย หรือช่วยแม่ทำอันนี้หน่อย จะทำคะ
4. เด็กชอบคำชม กับ กำลังใจคะ เช่นตอนนี้ทำไม่ได้ต้องให้กำลังใจ ถ้าทำได้แล้วก็ต้องมีคำชมคะไม่จำเป็นต้องเอาคะแนนมาล่อหรือของรางวัลคะ
© 2025 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by