เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
หลังจากพักยกเรื่องการเลี้ยงดูลูก
แล้วไปชวนคุยเกียวกับเรื่องราวของความรัก
ให้เข้ากับคอนเซ็ปวาเลนไทล์มาสองครั้ง
ในครั้งนี้หมอก็มาปฏิบัติหน้าที่อันแสนคุ้นเคยให้กับคุณๆที่รัก นั่นก็คือ
ให้คำแนะนำ ค้นหาเทคนิค กลวิธีในการเลี้ยงดูลูกให้ได้ดี เก่ง และสุข
(หรืออีกนัยหนึงหลอกล่อลูกให้ทำตามที่เราต้องการ)
วันนี้มาคุยกันว่าถ้าลูกวัยตั้งแต่ 3-4 ขวบเป็นต้นไป (วัยอนุบาลถึงประถมปลาย )
เกิดหงุดหงิด งอแง งี่เง่า
(หรือแสดงอารมณ์อื่นใดที่บ่งบอกว่าเด็กกำลังไม่มีความสุขอยู่)
คุณจะช่วยลูกอย่างไรดีหนอ
จะดุ ด่าว่า ตวาด ตี ลงโทษดวยความโกรธ ความหงุดหงิดของเราก็กระไรอยู่
เพราะเด็กกำลังมีความรู้สึกตรงกันข้ามกับคำว่า "ความสุข"
เราในฐานะผู้ใหญ่ที่อาบน้ำอุ่นมาก่อนก็น่าจะมีวิธี smart smart
ในการบรรเทาทุกข์ ให้ลูกเกิดความผ่อนคลาย ไม่ใช่ไปซ้ำเติมให้รู้สึกแย่ลงไปกว่าเดิม
รูปนี้ สาวน้อยกำลังหงุดหงิดพร้อมจะวีนแล้วค่ะ
ส่วนรูปข้างล่างนี้ หนุ่มน้อยกำลังอร่อยเลอะเทอะเต็มที่
คุณเห็นอย่างนี้ อย่าหงุดหงิดซะเอง เลอะเทอะก็ล้างได้ ใจเย็นๆ
หมอมีวิธีง่ายๆแต่ต้องใช้เวลาและความผ่อนคลาย สบายๆ ของคุณนั่นแหละมาช่วยให้ลูกอารมณ์สงบลง หรือเรียกว่า calm down มาแนะนำให้ลองไปใช้ดู
เมื่อคุณสังเกตเห็นว่า ลูกเริ่มมีอาการหงุดหงิด งอแง
ไม่สบอารมณ์อะไรบางอย่างเข้าแล้ว
คุณควรรีบเข้าไปจัดการให้อารมณ์ลูกสบลงซะก่อนที่ทุกอย่างจะประทุขึ้นมาเหมือนภูเขาไฟระเบิด (แล้วคุณก็พลอยระเบิดอารมณ์ไปด้วยเพราะควบคุมตัวเองไม่ไหว)
ถ้าคุณมีความไวในการจับอารมณืและการกระทำของลูกได้เร็วพอ
แล้วคาดว่าลูกกำลังรับมือไม่ไหวแล้วกับอะไรบางอย่างที่เข้ามารบกวน
ให้เข้าไปหาลูก แล้วบอกลูกอย่างอ่อนโยนว่า
"พ่อ/แม่รู้ว่าลูกกำลังหงุดหงิด พ่อ/แม่เข้าใจความรู้สึกลูกนะ
ลูกมีสิทธิ์จะโกรธ/โมโห/หงุดหงิด/ไม่พอใจ/เสียใจ/ผิดหวัง/เศร้าฝ/อยากจะร้องไห้....ได้"
อาจเข้าไปกอดหรือสัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน แล้วบอกลูกต่อไปว่า
"ลูกไปทำอะไรที่ลูกชอบ/หามุมสงบจิตใจ/นั่งพัก.......ให้สบายใจแล้วมาเล่าให้พ่อฟังทีหลังว่าเกิดอะไรขึ้น"
สิ่งที่หมอต้องการให้พ่อแม่ทำ ก็คือการเข้าไปหาเด็ก ไปปลอบ ไปแสดงความสนใจ
เข้าใจและรับรู้อารมณืเชิงลบที่เกิดขึ้น ยอมรับความรู้สึกเด็กโดยไม่ตำหนิให้เด็กรู้สึกผิดที่เกิดอารมณ์ลบนั้นๆ แล้วหาวิธีช่วยให้อารมณ์ของเด็กผ่อนคลายลงโดยการให้เด็กไปทำอะไรก็ตามที่เขาชอบทำหรือจะไปสงบสติอารมณ์ของตัวเองสักพักจนเมื่อเด็กรู้สึกดีขึ้นจึงค่อยเข้ามารวมกลุ่มกับคนอื่นๆอีกครั้ง โดยไม่ให้เด็กระเบิดอารมณ์ออกมาเป็นการกระทำที่ก้าวร้าว โวยวาย งอแง เรียกร้องความสนใจหรือแยกตัวไปอย่างเศร้าๆคนเดียวเพราะไม่มีพ่อแม่ให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญในการปลอบโยน
สิ่งที่ให้เด็กไปทำเพื่อผ่อนคลายก็คือกิจกรรมอะไรก็ได้ที่เด็กชอบทำ
ทำอย่างเพลิดเพลิน มีความผ่อนคลายเกิดขึ้นภายหลังทำกิจกรรมนั้น
ดังนั้น การดูทีวี การดูการ์ตูนต่อสู้ การเล่นเกมคอมพิวเตอร์
วิดีโอเกมที่มีคว่ามรุนแรงหรือใช้ความเร็วในการเล่น ไม่ใช่กิจกรรมที่เหมาะสม เพราะยิ่งทำ ยิ่งเครียด
หมอลองยกตัวอย่างกิจกรรมที่หมอว่า ดี สักสองสามอย่างนะคะ
เล่นกีฬา อะไรก็ได้ค่ะ จะเล่นคนเดียวหรือเล่นหลายคนก็ได้
อย่างในรูปนี้ก็คือกีฬาปิงปอง หรือจะเป็นเตะบอล ว่ายน้ำ ชกมวย ได้หมดเลยค่ะ
ต่อมาก็หามุมสงบอ่านหนังสือที่ดีๆ ไม่ใช่หนังสือการ์ตูนต่อสู้รุนแรงหรือนิยายรักๆใคร่ๆ
ที่เดี๋ยวนี้เด็กๆผู้หญิงฮิตอ่านกันมากจนทำให้เกิดจินตนาการฟุ้งซ่านวุ่นวายเรื่องรักในวัยเรียน ไม่เป็นอันเรียนหนังสือกัน
แล้วพอเด็กอารมณ์ดีขึ้น พ่อแม่ก็เรียกเด็กมานั่งคุยว่า เกิดอะไรขึ้นถึงทำให้ลูกหงุดหงิดซะขนาดนี้ ตั้งใจฟังลูกด้วยนะคะ ปล่อยให้เขาพูดระบายเรื่องราว ความรู้สึกออกมาให้หมด คุณมีหน้าที่สำคัญคือฟังและให้กำลังใจลูก หรืออาจให้คำแนะนำบ้างตามความเหมาะสม แต่อย่าแย่งลูกพูดและตัดสินลูกว่าไม่ดีอย่างโน้น อย่างนี้ หรือควรทำอย่างนั้น อย่างนี้
แค่นี้เอง ทำได้มั๊ยคะ
วิธีการนี้จะเป็นการสอนให้เด็กรู้จักหามุมสงบหรือหาอะไรที่เหมาะสมทำ
เพื่อเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ยามผิดหวัง ท้อแท้ เสียใจ
หรือแม้กระทั่งยามโมโหโกรธเคืองเรื่องใดก็ตาม
จะทำให้เด็กมีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองและรู้จักวิธีจัดการอารมณ์เชิงลบอย่างเหมาะสม
แล้วคุณจะก็สบายใจ สบายหูขึ้นนะคะ
Comment
© 2024 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by
You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!
Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้