เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

สอนเด็กให้แบ่งปัน??


กรุณาอย่าสอนเด็กให้รู้จักการแบ่งปัน ด้วยการไปแย่งของจากในมือบุตรหลานไปให้เด็กคนอื่น คุณกำลังสอนให้เด็กแย่งของคนอื่นโดยไม่ถามความสมัครใจทางอ้อม -- เห็นแม่ร้อยละ 90 ทำอย่างนี้ แล้วมาบ่นว่าลูกตัวเองชอบแย่งของคนอื่น

กรุณาสอนเด็กให้รู้จักการแบ่งปัน โดยถามเด็กว่า ถ้าของชิ้นที่เขาถืออยู่เขาไม่อยากแบ่ง พอจะมีชิ้นอื่นๆ ที่แบ่งให้คนอื่นเล่นด้วยได้ไหม -- ของชิ้นโปรด ใครๆก็ไม่อยากแบ่ง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่นะคะ

ที่มาเขียนบล็อกเรื่องนี้ เพราะว่าพาลูกไปเล่นกับใคร ก็มักเห็นแม่เด็กไปแย่งของจากมือลูก บอกว่า "แบ่งเพื่อนเล่นสิคะ" ยื้อไปมา ลูกร้องไห้งอแงก็ไม่สน บังคับลูก คิดว่านี่คืิการสอนให้รู้จักแชร์ แต่มันกลับตรงกันข้าม เขาสอนเด็กให้แย่งของคนอื่นอยู่ต่างหากโดยไม่รู้ตัว บางทีพอเราบอกว่า "อย่าเลยค่ะ ถ้าน้องไม่อยากแบ่งก็ไม่เป็นไรค่ะ ให้แกเล่นไปก่อนเถอะ" แม่คนนั้นก็จะรีบแย่งมาให้เร็วที่สุด "ไม่เป็นไรค่ะ น้อง...เล่นเบื่อแล้ว กะทิน้ำว้าเอาไปเล่นเถอะจ้า" (ลูกยืนตาปริบๆ พูดในใจอยู่ว่า ไม่จริง) เราอยากจะบอกเขาว่าอย่าทำเช่นนั้น แต่มันก็จะกลายเป็นสอนเขาไป ผู้ใหญ่ไม่ชอบถูกสอน ดังนั้นเราคิดว่าคงจะดีกว่า ถ้าเราเอาประสบการณ์การสอนเรื่องแชร์ของเรามาแบ่งปันในเวบนี้ เพราะหากมีใครที่พบว่าใช้แนวทางเดียวกันกะเราแล้วเวิร์ค จะได้มาช่วยกันสนับสนุนให้สอนเด็กๆ ประมาณนี้กัน

เมื่อตอนลูกขวบนึง ลูกฝาแฝดของเราทะเลาะกัน กัดกัน ทั้งวัน และทุกเรื่อง เช่น กะทิจะหยิบของเล่นแล้วเขามองไม่เห็นน้ำว้าเลยเผลอไปเหยียบ น้ำว้าจะเข้าใจผิดว่ากะทิตั้งใจทำร้าย ก็จะทำร้ายกลับ พอแม่เข้าไปห้ามก็กลายเป็นว่าแม่เข้าข้างกะทิ หรือน้ำว้าทิ้งรถของเล่นไปหยิบนิทาน (แต่ยังไม่เลิก แค่พักชั่วคราว) กะทิเห็นน้ำว้าทิ้งปุ๊บก็ไปคว้ามาปั๊บ น้ำว้าก็โกรธทันทีว่ามาแย่งของเขา ก็มาทำร้ายกะทิ ทุบตุ้บๆ กะทิร้องไห้ว่าผมทำอะไรผิด พอแม่เข้าไปโอ๋กะทิ น้ำว้าก้ร้องไห้ว่าแม่ลำเอียง

เราพบหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ "ทำอย่างไรพี่น้องไม่ทะเลาะกัน" โดย อเดล เฟเบอร์ และเอเลน มาซลิซ เราลองอ่านแล้วนำมาใช้

คอนเซ็ปต์หลักที่ผู้เขียนพยายามบอกคือ เราต้องไม่บังคับให้ลูกๆรักกัน เลิกพูดว่า "นี่ กะทิเป็นน้องของหนู หนูต้องรักกันนะ" หรือ "เป็นพี่ต้องแบ่งของให้น้อง เป็นน้องต้องแบ่งของให้พี่" เราไม่ควรบอกว่าใครควรทำอะไรหรือควรรู้สึกอย่างไร แต่เราควรถามหาสาเหตุที่เด็กโกรธกัน ทะเลาะกัน หรือสาเหตุที่เขาไม่อยากแบ่งของเล่นให้คนอื่น .... First You must understand him/her. ทำให้ลูกรู้ก่อนว่าคุณเข้าใจเขา ถ้าลูกยังอธิบายไม่เก่ง เราก็ต้องช่วยเกริ่นนำทาง (ไม่ใช่หลอกล่อให้ตอบตามที่เราต้องการนะคะ)

- หนูไม่อยากให้น้องเล่นตุ๊กตาตัวนี้เพราะอะไรจ๊ะ? น้องทำตุ๊กตาหนูสกปรกหรือ?

- น้องไม่ยอมคืนให้หนู

- น้องไม่คืนตุ๊กตาให้ ตอนที่หนูก็อยากเล่นเหมือนกันใช่ไหม?

- (เด็กพนักหน้า)

- (อาจจะเรียกน้องมาคุยด้วยตอนนี้) พี่เขายินดีให้หนูยืมตุ๊กตานะ แต่เวลาที่พี่เขาอยากเล่น เขาจะมาบอกหนู หนูต้องคืนให้พี่เขาเล่นบ้าง ทำได้ไหม?

ของเล่นชิ้นที่ลูกหวง เราก็ไม่ต้องไปตามแย่งมาให้เด็กอื่นเล่น มันทำร้ายจิตใจเด็ก ประมาณว่า "แม่ไม่เคยเข้าใจ" และจะทำให้เขาไม่อยากจะเล่นกะใครอีก เราต้องบอกเขาว่า เอาตัวที่เขาหวงไปเก็บในกล่องสะ (อย่าให้เอามาเล่นยั่วเพื่อน) แล้วหยิบชิ้นที่เล่นด้วยกันได้มาเล่น

เราก็ใช้แนวคิดนี้ทดลองเลี้ยงลูกดู เราไม่ว่าเวลาที่น้ำว้าตีกะทิ แต่เราจะให้ความสนใจคนที่ถูกทำร้ายก่อน เราจะโอ๋กะทิ ถามว่าเจ็บตรงไหน แล้วพูดให้น้ำว้าไ้ด้ยินว่า "น้ำว้าต้องเล่นคนเดียวจนกว่าเขาจะรู้วิธีเล่นดีๆกับกะทินะ" "น้ำว้าเขาต้องอยู่คนเดียวก่อน จนกว่าเขาจะใจเย็น ดูดีๆว่ากะทิไม่ได้ตั้งใจมาชน" บางทีที่ลูกคนนึงรังแกอีกคนร้ายแรงมาก เรียกว่าลูกสองคนไม่ยอมอยู่ใกล้กันเลย คนนึงก็กลัวจะโดนทำร้าย อีกคนก็หมั่นไส้ที่มันมาอ้อนแม่จะทำร้ายเพิ่ม เราจะจับคนที่เข้ามารังแกแยกไปไว้อีกที่นึง อาจจะเป็นบริเวณที่ไกลๆ ให้รู้ว่าถูกแยกออกไปจากที่เกิดเหตุคนเดียว เหมือนให้เวลานอกเขาทบทวนตัวเองและใจเย็นลง และได้โอ๋ลูกคนที่เจ็บถนัดๆหน่อย

ตอนนี้ลูกสองขวบครึ่งแล้วค่ะ ได้ผลดีมาก พี่น้องรักกัน แบ่งปันกัน ช่วยเหลือ ไม่ค่อยจะมีทะเลาะกัน -- ไปไหน(ถ้ารมณ์ดี)จะจูงมือกันไป และกับเด็กอื่นๆ เขาก็แบ่งปันของเล่นให้ โดยเราจะบอกเขาว่า "กะทิ-น้ำว้าจ๊ะ เรย์อยากขี่จักรยานหนู เขามีรถสามล้อมาแลก เอาไหม?" หรือ "น้ำว้า-- ถ้าลูกเล่นพอแล้ว เรย์ขอเล่นหน่อยได้ไหม" ถ้าเขาพอ เขาก็จะแบ่งให้ทันที

Views: 517

Comment

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

Comment by MamaNoi&Porjai on November 16, 2010 at 10:15am
ลูก..หลายครั้งก็ซึมซับพฤติกรรมบางอย่างจาก...พฤติกรรมที่ทำด้วยความหวังดีจากแม่....แต่ผิดวิธี อิอิ
ขอบคุณค่ะที่มาเตือนกัน
Comment by springday on November 16, 2010 at 9:16am
ชอบจังเลยค่ะ ได้ข้อ คิดที่ดีมากเลย ขอบคุณนะคะ
Comment by nuntaka chantorn on November 16, 2010 at 8:23am
ขอบคุณค่ะ
Comment by มิ้น on November 15, 2010 at 4:12pm
เวลาดุเด็กทำยังไงกันบ้างคะ ?
ถ้าใช้เสียงดุ แบบโหดๆ จิกๆ ลูกมิ้นไม่ฟังเลย ทำหูทวนลม แต่ถ้าใช้เสียงกระซิบแบบได้ยินแค่สองคน (กระซิบดุๆ) ลูกจะคิดว่าแม่โกรธมาก ยอมฟัง

คุณก้อย -- กะทิน้ำว้าก็เขวี้ยงของและทิ้งตัวเหมือนกันเลย เวลาไม่พอใจ น้อยใจ -- ข้อดีคือ เราจะได้รู้ไงคะว่าเขากำลัง upset อยู่ ถ้าเดาถูกว่าเขาคิดอะไรถึง upset ก็จะพูดสอนได้ตรงใจเขา แบบจี้ใจดำเลย (พูดเพราะๆนะคะ) -- เวลาลูกไปทำท่าแบบนี้นอกบ้าน มีแต่คนมองค่ะ บางคนไม่ชอบเด็กคงรู้สึกรำคาญและหาว่าเด็กมารยาทไม่ดี แต่พ่อแม่คนจะรู้เนอะว่า เป็นแค่การแสดงออกเวลาไม่พอใจ ยังดีกว่าเด็กมีนิสัยขี้โกหก หรือ ชอบรังแกคนอื่นเยอะ
Comment by Tuktick on November 15, 2010 at 3:22pm
ขอบคุณสำหรับแนวคิดดีๆ จะนำไปใช้กับลูกๆดูค่ะ หวังว่าพี่แพรวา กับ น้องต้นหม่อนจะรักกันมากขึ้น ทะเลาะกันน้อยลงหรือไม่ทะเลาะกันเลย ภาพน่ารักน่าเอ็นดูมากค่ะ
Comment by Bless's Dad on November 15, 2010 at 3:04pm
เข้ามาเก็บข้อมูลด้วยคนครับ ... ได้สาระเพิ่มอีกเยอะเลย ภาพประกอบนี่ สุด ๆ ไปเลยครับ ... อ่านไปอมยิ้มไป
Comment by nuntaka chantorn on November 15, 2010 at 9:44am
สวัสดีค่ะ..คุณมิ้น
ก้อยก็มีลูกชายคะ อายุ 2 ปี 1 เดือน เค้าค่อนข้างเอาแต่ใจคะ ว่าไม่ได้เลยพอรู้ว่าว่า ก็จะประมาณเควี้ยงของ ทิ้งตัวไปมา
เราก็ไม่รู้ทำยังงัย บางทีอยู่ดีๆ ไม่พอใจขึ้นมาก็ขว้างของซะงั้นไม่เข้าใจเค้าเลยคะ แถมทำให้เราทะเลาะกับแฟนบ่อยครั้ง
ขานั้นไม่ห้ามไม่ว่าลูกเลย ไม่ไหวความคิดเห็นไม่ตรงกัน เราเองก็ไม่รู้ว่าเราเลี้ยงเค้าถูกหรือเปล่าแต่ไม่อยากให้เค้าเป็นเด็ก
แบบนี้เลยไม่น่ารักเลยค่ะ
Comment by มิ้น on November 15, 2010 at 12:11am
พี่น้ำ-มิ้นว่าไม่มีอะไรทำให้แม่ปวดหัวได้เท่ากับเห็นลูกทะเลาะกันอีกแล้วเนอะ

คุณอ๊อบ-ที่คุณอ๊อบพูดน่ะใช่เลยค่ะ ลูกมิ้นก็เป็นแบบนั้นเหมือนกัน

คุณชัชชญา- อยากเล่าประสบการณ์ตัวเองค่ะ ไม่รู้ว่าจะพอมีประโยชน์ไหมนะคะ ตอนที่ลูกยังเล็ก ฟังเราไม่รู้เรื่อง พูดไม่ได้ เวลาจะปลอบเขาหรือจะดุเขา เราจะใช้น้ำเสียงไกด์เอา เวลาที่เราเปลี่ยนน้ำเสียง เด็กเขาก็จะเงี่ยหูฟังแล้ว จากที่ร้องกรีีดๆ แงๆ เขาก็สงบลงได้ในระดับนึงเพื่อฟังเราพูด เราอาจจะต้องออกท่าทางประกอบคำพูดด้วย ......ครั้งแรกที่มิ้นใช้วิธีนี้ คือตอนที่ลูกตื่นกลางดึกแล้วจะให้อุ้ม ทำสารพัดวิธีแล้วเขาก็ไม่หลับแถมโกรธเราที่กล่อมเขาไม่ได้ มิ้นเลยเอาเขาไปไว้มุมห้องให้อยู่คนเดียว เขาร้องไห้ เราก็ไม่ไปรับเขา จนเขาตัดสินใจลุกขึ้นแล้วเริ่มเดินมาหาเราที่เตียง แสดงว่าเขาพร้อมจะทำตามเงื่อนไขเราละ เราก็รีบเข้าไปรับมาโอ๋เลย เราใช้เสียงอ่อนโยนสุดๆ คุยกะเขาว่า ขอโทษด้วยนะที่ต้องให้น้ำว้าไปอยู่ตรงนั้น แม่รู้นะว่าน้ำว้าง่วง (เหมือนลูกเพิ่งฟังเรา ว่าเราเข้าใจเขา) แต่แม่พยายามกล่อมหนูแล้วหนูก็ไม่หลับ แล้วก้โกรธแม่ด้วย เอางี้เดี๋ยวแม่ร้องเพลงให้ฟังอีกทีเอาไหม ...ยังไงไม่รู้เหมือนเขารับสารได้ แล้วก็ยอมนิ่งให้เราร้องเพลงกล่อมจนหลับ ....มิ้นทำแบบนี้บ่อยๆ คุยกะลูกเหมือนว่าเขาฟังเราพูดรู้เรื่อง ทั้งที่เขาก็แค่ฟังน้ำเสียงเอา ทำเป็นปี แล้วพอวันที่เขาเริ่มรู้ภาษามันก็ง่าย พอเขาเริ่มทะเลาะกันเองหรือเริ่มวีน เราก็คุยกะเขาได้ เขาจะฟังนะ แล้วเขาจะเป็นฝ่ายกำหนดเวลาให้แม่ด้วย ถ้าแม่พูดนานไป เขาฟังแล้วมันไม่ใช่ เขาก็เลิกฟัง วิธีนี้ก็ทำให้เราได้เรียนรู้ความคิดลูกทางอ้อมด้วย จะทำให้มิ้นสามารถต่อรองกะลูกได้ เวลาอยากให้เขาทำอะไร (หรือหยุดทำอะไร) มิ้นก็ไม่ต้องบังคับ สามารถหาเหตุผลมาชักจูงเขาได้ เพราะเรารู้ละว่าอะไรที่เขาmind
Comment by แม่ดาว&น้องพลอย on November 14, 2010 at 7:11pm
ขอบคุณค่ะ ต้องเปลี่ยนแนวโดยด่วน ดาวยังสอนแบบเก่าอยู่ค่ะ เพิ่งรู้ว่าผิดวิธี
Comment by ชัชชญา ลิมป์วนัสพงศ์ on November 14, 2010 at 2:09pm
ของเรามีคนเดียวแต่ก็เที่ยวแย่งของจากผู้ใหญ่ แต่อย่างอื่นยอมแบ่งหมดยกเว้นรถเข็นห่วงไม่ยอมให้ใครจับเลย นอกจากแม่
อยู่แบบครอบครัวใหญ่หลานคนเดียวตามใจกันใหญ่เลย ลองใช้วธีนี้แล้วแตไม่มีใครเห็นด้วย บอกว่าน้องยังเล็กทำอย่างนั้นไม่ได้เค้ายังไม่รู้เรื่อง ทำไงดีน๊า

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service