เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
ใครไม่เก่งภาษาอังกฤษ ยกมือขึ้น
มีหลายคนตั้งคำถามว่าตัวเองไม่เก่ง Eng แล้วจะสอนลูกยังไง อ้อมเองเป็นคนไม่เก่ง Eng จะว่าไม่เก่งเลยก็ไม่เชิง คือ แกรมม่าไปทางแย่ (ติดลบด้วย) แต่เรื่องพูดและฟังยังพอไหว แบบมั่ว ๆ พอไปวัดไปว่าได้เล็กน้อย แต่พอคิดจะสอนลูกทีนี้คิดหนักสิ เพราะต้องใช้ Eng ทั้งวันจำได้ว่าตอนเริ่มคิดสองลูกครั้งแรกเดือน ต.ค. 09 เพราะลูกปิดเทอมไปเที่ยวบ้านพี่สาวที่หาดใหญ่ แล้วได้หนังสือเด็ก 2 ภาษา ฯ มา ตื่นเต้นมากเริ่มเลย แบบ broken English กระท่อนกระแท่นตอนนั้นยอมรับว่าเครียดมาก ทำไม่ได้ ไม่มีแรงฮึด ไม่สู้ เลยล้มเลิกไปเลยค่ะ
มาเริ่มใหม่ก่อนปิดเทอมใหญ่ ได้เข้า workshopที่เชียงใหม่ เริ่มใหม่อีกครั้ง เข้าเรื่องค่ะ มองปัญหาตัวเองก่อน แรก ๆ อยากพูดกับลูกเป็นประโยคเลยซึ่งมันข้ามขั้นตอนไป คือ ศัพท์ลูกไม่แน่น แม่เองคิดศัพท์ไม่ออก ตอนนั้นเลยเริ่มแบบ OTOL แต่หนักไปทางภาษาไทยนะคะ ทีนี้หาหนังสือเกี่ยวกับทำไงให้พูด Eng ได้ ไม่ว่าของครูเคท (เนตรปรียา) ครูแอนดรูว์ บิ๊กส์ ครูวัชรวรรณ (DIY mind map) ว่าเค้าทำไงกัน ครูแต่ละคนก็มีเทคนิคคล้าย ๆ กัน เป็นข้อ ๆ ดังนี้ค่ะ
1. ฟัง ฟัง ฟัง : จะพุด Eng ได้ต้องผ่านการฟังให้มาก ๆ ครูเคท แนะนำให้ฟังมาก ๆ เปิดทีวี วิทยุ ภาษา Eng ฟังตอนนอน เพื่อให้มันเข้าไปในจิตใต้สำนึก ตอนนั้นยอมรับเลยค่ะว่า อ้อมเปิด MP3 ให้ลูกฟัง ตอนลูกเริ่มหลับใหม่ ๆ ทำให้ลูกนอนยากมาก ลูกถามว่า มาม๊าทำอะไรพี่เมืองนอนไม่หลับเลยทั้งคืน สงสารลูกมาก และตัวเองก็นอนไม่หลับเพราะได้ยินเสียงนิทานตลอดคืน ไม่ไหวแล้วเลิก ๆ หาทางใหม่ โดยการเปิด MP3 ให้ลูกและตัวเองฟังไปเรื่อย ๆ ระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เปิด caillou, wonder pets, Let’s, etc. ฟังไปเรื่อย ๆ ไม่น่าเชื่อนะคะ การฟังเปลี่ยนทัศนะคติของลูกต่อ Eng ได้จริง ๆ เพราะลูกคุ้นเคยกับภาษามากขึ้น
คุ้นสำเนียงมากขึ้น ยิ่งถ้าเราเคยดู DVD มาก่อนเราจะเข้าใจประโยคง่ายขึ้น จำประโยคได้มากขึ้นค่ะ ลูก ๆ เริ่มเข้าใจ Eng
โดยไม่ต้องรอการแปล เรื่องการฟังนี่เป็นกฎข้อแรกของการเรียนภาษาอย่างธรรมชาติเลยค่ะ ดังนั้นขอให้ฟัง ๆ มันเข้าไป อย่าไปสนใจเนื้อหาว่าจะรู้เรื่องหรือไม่ขอให้เปิด Eng ฟังเข้าไว้ค่ะ (เหมาะสำหรับแม่บ้านว่างงานอย่างเราค่ะ 555)
2. ฟังแล้วพูดตาม :แรก ๆ อ้อมจะพูดตามประโยคที่เราเข้าใจ หรือประโยคที่เราต้องการเน้นให้ลูกฟัง/จำนะคะ หลัง ๆ พูดตามมันไปเรื่อย ๆ ค่ะ แถมบอกให้ลูกพูดตามด้วยนะคะ (แต่ลูกไม่ค่อยยอมพูดตามเท่าไหร่ค่ะ) ถ้าเราพูดตามได้ทุกประโยคเลยยิ่งดี และก็ต้องเลียนแบบเสียงและสำเนียงให้เหมือนด้วยนะคะ การทำแบบนี้จะทำให้สำเนียงเราดีขึ้น แต่ถ้าขี้เกียจพูดตามก็เปิดฟังไปเรื่อย ๆ ดีกว่าอยู่เงียบ ๆ คนเดียวจริงไม๊คะ สำหรับนักท่องเน็ท หรือติดคอมพ์อย่างเราก็เปิดฟังไประหว่างท่องเน็ทก็เพลิน ๆ ดีนะคะ (ครูเคทบอกว่าการฟังแบบไม่ตั้งใจมันจะเข้าไปอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา แล้วรอไว้ประมวลใช้ในอนาคตค่ะ)
3. อ่าน :จำได้ว่าแรก ๆ อ้อมจะ print out ประโยคต่าง ๆ จากห้อง English club ออกมานั่งอ่านนอนอ่านกันเลยทีเดียว แต่เชื่อไม๊ค่ะว่าการอ่านไม่ทำให้เราพูด Eng ได้ดี แต่การฟังและการพูดตามตะหากที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้เราได้มากกว่า
4. ศัพท์และไวยากรณ์ :ปัญหาโลกแตกของทุกคนที่ไม่เก่ง Eng อย่างเรา จำได้ว่าแรก ๆ ที่เริ่มพูด Eng กับลูกมันเหมือนเทปผี ซีดีเถื่อนที่สะดุด ๆ อยู่นั่นแหละเพราะคิดศัพท์ไม่ออก ทำไงล่ะ.......คำตอบคือกลับสู่สามัญค่ะ เอาแค่คำนาม+กิริยา ก่อน เคยสังเกตไม๊ค่ะฝรั่งเค้ามีการเน้นเสียงหนักเบาในการพูด คือทั้งประโยคเค้าจะไม่พูดเสียงโทนเดียวอย่างเรา แต่เค้าจะเน้นสิ่งที่เป็นใจความสำคัญของประโยคที่ต้องการให้เรารู้ค่ะ ดังนั้นถ้าเราต้องการพูด Eng ให้ได้ดีเราอย่าไปคิดถึงรูปประโยคเต็ม (เพราะเราคิดไม่ได้ ไม่รู้ไวยากรณ์นี่นา) ให้พูดแค่ใจความสำคัญ เช่น จะให้ลูกกินข้าว ก็พูดแค่ Eat your breakfast,….your dinner,…..your lunch หนัก ๆ เข้าถ้าคิดไม่ออกก็พูดว่า Eat your food,…..your rice (แปลรวมว่า ก็กิน ๆ มันเข้าไปเถอะลูก555) ถ้าต้องการให้ลูกเข้านอนก็พูดแค่ time to bed, bedtime แค่นี้ก่อน อย่าไปคิดมากใส่ประโยคยาก ๆ ยาว ๆ ทำไม จำไว้ว่าการพูด Eng ที่ดีต้องทำให้สั้น ๆ ง่าย ๆ (คุณ Andrew Bigs แนะนำ) พอพูดบ่อย ๆ มันจะเริ่มคล่องปากค่ะ เห็นไม๊ค่ะ ไม่มีการต้องไปท่องศัพท์ หรืออ่านหนังสือไวยากรณ์ให้เสียเวลาเพราะอ้อมรู้ตัวเองดีว่าถึงอ่านไปก็จำไม่ได้ ก็อ่านมาตั้งแต่เด็ก ๆ ตอนนั้นสมองว่าง ๆ ก็ยังจำไม่ได้ประสาอะไรจะไปอ่านตอนนี้ล่ะคะจริงไม๊ ที่บ้านอ้อมไม่มีการติดคำศัพท์ตามเฟอร์นิเจอร์ใด ๆ เพราะเน้นการฟัง พูด มากกว่าการอ่านและการท่องค่ะ เรื่องคำศัพท์เป็นยาขมของทุกคนที่อ่อน Eng แต่เชื่อไม๊ค่ะว่าเราทุกคนที่คิดจะสอน 2 ภาษาให้ลูกต้องเคยผ่านการเรียน และท่องศัพท์มาไม่น้อยกว่า 10
ปี ของอ้อมเองอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 16 ปี ไม่รวมตอนทำงานนะคะ อ้อมเชื่อว่าเพื่อน ๆ คงมีศัพท์มากมายในสมองของเรา เพียงแต่เราไม่เคยหยิบมาออกมาจากก้นบึ้งของสมองเรามากกว่า เชื่ออ้อมเถอะค่ะว่าการฟัง พูดตามและเริ่มพูดกับลูกมันช่วยกระตุ้นให้สมองเราขุดศัพท์เก่า ๆ ออกมาใช้โดยที่เราไม่รู้ตัว หรือถ้าเราไม่รู้ศัพท์จริงๆ ก็จินตนาการจากสิ่งที่เราเห็นแล้วพูดออกมาด้วยศัพท์ง่าย ๆ ที่เรารู้ค่ะ ยกตัวอย่างง่าย ๆ เมื่อไม่กี่วันมานี้เอง อ้อมเจอแมวหง่าว ทุกคนคงรู้จักแมวหง่าวนะคะ ที่มันชอบร้องหง่าว ๆ เสียงดัง ๆ อ้อมต้องการเล่าให้ลูกฟังว่าแม่เจอแมวหง่าวมาอยู่หน้าบ้านเรา ทำไงล่ะ “แมวหง่าว” ใช้ศัพท์อะไรไม่เคยมีในสมองน้อย ๆ ของเราเลย ถ้าบอกว่า cat มันก็ไม่ใช่แมวหง่าวสิ เลยบอกลูกไปว่า Today, I saw an old ugly cat at the front of our house. เชื่อไม๊ค่ะ PM/KM สามารถเข้าใจได้เลยทันทีว่าหมายถึงเจ้าแมวหง่าวที่น่าเกลียดน่ากลัว นี่เป็นเพราะพอเราฝึกบ่อยเข้า เราจะพูดได้จากสิ่งที่เห็นและจากศัพท์ที่เรามีอยู่โดยไม่ต้องคิดผ่านจากภาษาไทยค่ะ
เรื่องไวยากรณ์ต่อ....ให้เราลืมกฎซะ (Andrew Bigs) เพราะเราพูดเพื่อการสื่อสาร ถ้าคนฟังเข้าใจ ใจความที่เราต้องการสื่อสารเป็นอันจบ ถือว่าการสื่อสารสมบูรณ์ค่ะ แต่ถ้าเรามัวแต่คิดถึงไวยากรณ์ และ tense ชาตินี้ทั้งชาติคนที่อ่อน Eng อย่างเราคงไม่ได้พูด Eng เป็นแน่ จำไว้ว่าพูดไม่ถูกไวยากรณ์ดีกว่าไม่ได้พูดแม้แต่ประโยคเดียว (ที่เขียนมานี่ไม่ใช่ว่าไวยากรณ์ไม่สำคัญนะคะ แต่ถ้าเราฝึกบ่อย ๆ มันมาเองค่ะ)
5. ช้า ๆ ชัด ๆ การพูด Eng ที่ดีต้องพูดได้อย่างถูกต้อง อย่า..งงว่ามันค้านกับข้อที่แล้วนะคะ ในที่นี้หมายถึงการออกเสียงค่ะ เราต้องออกเสียงให้ถูก อย่างที่คุณผู้ใหญ่บิ๊กเน้นนักหนาเรื่อง final sound พวก t, k ch, sh จำไว้ว่าที่ฝรั่งเค้าไม่เข้าใจที่เราพูดไม่ใช่เพราะเราพูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์ แต่เป็นเพราะเราพูดไม่ชัดค่ะ ลองถามตัวเองว่าเราพูดคำง่าย ๆ อย่าง car ว่า “คา” หรือ คาร แบบมี r เข้ามาด้วย
ถ้ายังไม่ได้เราต้องฝึกค่ะ โดยการทำตามข้อแนะนำที่ 1 และ 2 ข้างบน
การพูด Eng เป็นการสะสมแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีทางลัดค่ะ อยู่ที่ใจเราว่าจะสู้หรือถอย ถ้าสู้แล้วทำอย่างจริง ๆ จัง ๆ ประมาณ 2-3
เดือนเราจะรู้สึกว่าตัวเองดีขึ้นจนต้องชมตัวเอง (เพราะไม่มีใครชมเรา อิอิ) ขอให้เชื่อก่อนว่าการฝึก Eng แบบธรรมชาติต้องเริ่มจากการ ฟัง พูด อ่าน เขียน ค่ะ ดังนั้นถ้าตอนนี้ใครกำลังตะบี้ตะบันอ่าน อ่าน อ่าน อยู่นั้นขอให้พักก่อน กลับมาเริ่มด้วยวิธีที่ง่าย และลงทุนน้อยที่สุดคือการฟังค่ะ
ถ้าถามว่าตอนนี้อ้อมเก่ง Eng แล้วเหรอ ถึงกล้ามาแนะนำคนอื่น ตอบได้เต็มปาก (และเต็มใจด้วย) ว่าไม่เก่งค่ะ แต่ก็เริ่มรู้ตัวว่าตัวเองสามารถสื่อสารกับลูกได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้นโดยไม่ต้องคิดจากไทยเป็นอังกฤษแล้วค่ะ ก็ไม่รู้เหมือนกันนะคะว่ามันเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ก็ยังไม่เก่ง ยังไม่คล่อง ยังคิดศัพท์ไม่ออกบ้างเหมือนกัน และที่สำคัญยังพูดผิดอยู่มากค่ะ จนบางทีคุณสามีแอบนั่งส่ายหัว คิดคิดในใจว่า “พูดไปได้” แต่บ้านเราก็มีความสุขกับการเรียนรู้และสื่อสารกันด้วยภาษา Eng กันต่อไป เด็ก ๆ มีความภูมิใจในที่ตัวเองเริ่มพูด Eng ได้อย่างเป็นธรรมชาติ และเป็นที่ชื่นชมของใคร ๆ ที่พบเห็นค่ะ
สุดท้ายขอขอบคุณคุณบิ๊กและครอบครัวที่ถ่ายทอดประสบการดี ๆ ลงในหนังสือเด็ก 2 ภาษาพ่อแม่สร้างได้ทั้ง 2 เล่ม มากค่ะ ทำให้วันนี้ได้มีพ่อแม่สองภาษาเพิ่มขึ้นอีกมากมายในเวลาเดียวกันค่ะ (ไม่ใช่มีแค่เด็ก 2 ภาษา)
Comment
แอบปริ๊นคำแนะนำไปอ่านเป็นแนวทางแล้วค่ะ ขอบคุณที่แชร์ประสบการณ์นะคะ ได้ผลอย่างไรจะกลับมาบอกค่ะ
พอถึงทางตัน จะแวะเข้ามาอ่านของคุณอ้อมเสมอ เหมือนชาร์ตแบตไปในตัวค่ะ
ขอใช้เป็นแนวทางสำหรับสอน นางฟ้าตัวน้อย บ้างนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
เป็นแนวทางที่ถูกขมวด บ่มเพาะมา จนเหลือแก่นแท้จริงๆเลย ขอลอกการบ้านหน่อยนะครับ 555 -ขอบคุณครับ
พ่อป๊อก
ไม่รู้พูดงัย เป็นเหมือนกันเลยถึงเหนื่อยแต่จะสู้เพื่อคุณลูกจ้า
ขอบคูณมากครับ
อ่านแล้วชอบมากเลยครับ ขอบคุณจริงๆ คล้ายๆกับได้อ่านหนังสือคุณบิ๊ก อีกแบบหนึ่งครับ ไปทางเดียวกันด้วย
กด like ให้ 1ล้านครั้งเลยครับ
© 2024 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by
You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!
Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้