เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ลองอ่านดูนะครับคุณแม่มือใหม่

พัฒนาการของทารกในครรภ์

วงจรการตกไข่
1. ไข่ที่เจริญเติบโตเต็มที่จะถูกปล่อยออกมาจากรังไข่ประมาณทุกๆ วันที่ ของรอบเดือน ไขที่หลุดออกจาก
รังไข่นั้นจะถูกขนอ่อนตรงส่วนปลายของท่อนำไข่ ซึ่งมีลักษณะเป็นปากแตร โบกพัดให้ไข่นั้นเคลื่อนเข้าสู่ท่อนำไข่ จากนั้นท่อนำไข่จะบีบตัวเป็นคลื่นให้ไข่เคลื่อนมาสู่ตัวมดลูก
2. ระหว่างที่ไข่เดินทาง หากได้เจอกับเชื้ออสุจิของฝ่ายชายจะเกิดการผสมกัน เรียกว่า การปฏิสนธิ
ซึ่งการปฏิสนธินั้นมักจะเกิดบริเวณท่อนำไข่
3. ไข่ที่ได้รับการผสม หรือปฏิสนธิ จะเริ่มแบ่งตัวจาก 1 เซล เป็น 2 เซล ภายในเวลา 24 ชั่วโมง
4. ไข่ที่ได้รับการผสมจะแบ่งตัวไปเรื่อยๆ จนเซลมีลักษณะเป็นก้อนกลมเหมือนลูกบอล
5. ในระหว่างที่มีการแบ่งตัว ก้อนเซลนี้จะเคลื่อนที่ไปตาท่อนำไขเข้าสู่โพรงมดลูก
6. ก้อนเซลนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเกิดมีโพรงขึ้นภายใน
7. ก้อนเซลดังกล่าว จะเคลื่อนตัวเข้าสูงโพรงมดลูก
8. เริ่มมีการฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งเป็นเวลา 7 วันแล้ว การฝังตัวมักจะเกิดที่ส่วนบนของเยื่อบุโพรงมดลูก อาจเป็นข้างซ้าย หรือขวาก็ได้ หลังจากปฏิสนธิแล้ว 10 วัน ตัวอ่อนจะฝังตัวอยู่ในโพรงมดลูก
อย่างสมบูรณ์ และจะค่อยๆ เจริญเติบโตกลายเป็นทารก
เดือนที่ 1 ระยะนี้สามารถมองเห็นทารก (ตัวอ่อน) ได้ด้วยตาเปล่า ส่วนของสมอง และไขสันหลังจะมีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด เริ่มมีการสร้างส่วนที่เป็นกระดูกสันหลัง ความยาวทารกประมาณ 0.5 ซ.ม.

เดือนที่ 2 เป็นระยะที่อวัยวะภายในถูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ สามารถมองเห็นข้อต่อภายในร่างกาย เช่น ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อสะโพก และข้อเข่าได้ชัดเจน กระดูกสันหลังสามารถบิดเพื่อเคลื่อนไหวไปมาได้ เริ่มมีการสร้างอวัยวะเพศ รูปร่างของทารกจะดูไม่เหมือนเด็ก แต่จะมีลักษณะคล้ายๆ ลูกน้ำ ความยาวทารกประมาณ 2.5 ซ.ม.

เดือนที่ 3 โครงสร้างของใบหน้าเริ่มสมบูรณ์ แต่เปลือกตายังปิดอยู่ กล้ามเนื้อต่างๆ มีการเจริญเติบโต แขนขาเริ่มยืดออก และเคลื่อนไหวได้ การทำงานของระบบสมอง และกล้ามเนื้อเริ่มมีความสัมพันธ์กัน ข้อต่างๆ เริ่มเชื่อมต่อกัน นิ้วมือนิ้วเท้าสมบูรณ์ และเริ่มงอได้ ปลายนิ้วมีเล็บ ทารกจะหัดดูดนิ้ว และเริ่มกลืนน้ำคร่ำได้ ความยาวของทารกประมาณ 8 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 17.5 กรัม

เดือนที่ 4 แขน และข้อต่อต่างๆ พัฒนาอย่างสมบูรณ์ กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงขึ้น ทารกสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างกระฉับกระเฉง แต่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหว เริ่มมีขนอ่อนปกคลุมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีการสร้างขนคิ้ว และขนตา ความยาวของทารกประมาณ 15 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 135 กรัม

เดือนที่ 5 ช่วยนี้ทากรในครรภ์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ฟันจะถูกสร้างขึ้นมาแต่จะอยู่ใต้ขากรรไกร เริ่มมีผมบนศีรษะ กล้ามเนื้อต่างๆ มีความแข็งแรงมากขึ้น ทารกเคลื่อนไหวมากขึ้น ระยะนี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกแล้วว่าลูกดิ้น หรือมีการเคลื่อนไหวเป็นระยะๆ ความยาวของทารกประมาณ 25 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 340 กรัม

เดือนที่ 6 ทารกในครรภ์จะมีการดูดนิ้วมือเป็นพักๆ บางครั้งอาจจะไอ หรือมีอาการสะอึกได้ ทารกจะดูผอมบาง เนื่องจากมีไขมันสะสมอยู่ใต้ผิวหนังน้อย ความยาวของทารกประมาณ 33 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ
0.5 ก.ก.

เดือนที่ 7 สัดส่วนของศีรษะจะดูใหญ่กว่าลำตัว ช่วงนี้จะเริ่มมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น มีการสร้าง
ไขมาปกคลุมผิวหนัง และลำตัว เพื่อให้ความอบอุ่น และป้องกันผิวหนังจากน้ำปอดของทารกจะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ และพร้อมที่จะทำงานเมื่อทารกคลอดออกมา ความยาวของทารกประมาณ 37 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 1 ก.ก.

เดือนที่ 8 ทารกจะมีขนาด และสัดส่วนใกล้เคียงกับเด็กแรกเกิด มีความแข็งแรงมากขึ้น ในช่วงนี้ทารกจะเริ่มกลับหัวเข้าสู่อุ้งเชิงกราน การดิ้นของทารกจะสามารถสังเกตเห็นได้จากหน้าทองของแม่ ความยาวของทารกประมาณ 40 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 1.5 ก.ก.

เดือนที่ 9 ระยะนี้ทารกจะโตเร็วมากจนเต็มพื้นที่ในมดลูก การเคลื่อนไหวจะน้อยลง เพราะเนื้อที่ในมดลูกมีจำกัด ทารกจะอยู่ในท่าที่พร้อมจะคลอด เล็บมีการเจริญเติบโต และยาวครอบคลุมปลายนิ้ว ผมบนศีรษะมีความยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ถ้าเป็นครรภ์แรกศีรษะของทารกจะเคลื่อนเข้าไปอยู่ในอุ้งเชิงกราน ความยาวของทารกประมาณ 50 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 2.5 ก.ก.

Views: 76

Attachments:

Reply to This

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service