"หลายคนที่มองว่า โรงเรียนสาธิต เป็นที่เรียนของลูกคนรวย ความจริงแล้ว ก็มีบ้าง แต่ไม่อยากให้มองแบบนั้น โดยเฉพาะสาธิต มศว จะมีเด็กคละกันไปทุกระดับ ตั้งแต่ลูกคนงาน จนถึงลูกคนมีฐานะ ซึ่งโรงเรียนไม่ได้เลือกคนที่เงิน หรือดูว่าที่ความไฮโซ หรือไม่ไฮโซ แต่เราจะคัดเลือกเด็กจากความสามารถของตัวเด็กเอง โดยจะมีการสอบวัดศักยภาพของเด็กก่อนเข้าเรียน รวมทั้งผลักดันเด็กให้มีคุณภาพ และศักยภาพอย่างทัดเทียมกัน" ผอ.โรงเรียนสาธิต มศว สะท้อน
เสียงสะท้อนพ่อแม่ ที่มีลูกเรียน "สาธิต"
มาฟังเสียงของพ่อแม่ผู้ปกครองอย่าง "จิตรารัตน์ คุณรัตนาวณิชย์" หรือ "เอ็ง" คุณแม่เชื้อสายจีน วัย 53 ปี ที่เลือกให้ลูกเข้าเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ชั้นประถม จนถึงมัธยม บอกว่า เธอได้รับคำแนะนำมาจากญาติพี่น้องที่บอกต่อๆ กันมา เพราะเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง มีความพร้อม และมีคุณภาพ นอกจากนี้ ตัวเธอมีค่านิยมที่เชื่อมาตลอดว่า ถ้าให้ลูกเข้าเรียนที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ จะเป็นประวัติรองรับให้ลูกหางานทำได้ง่ายในอนาคต
ดังนั้น จึงแนะนำให้ลูกสมัครสอบเข้าเรียนชั้นป.1 จนปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นม.4 สายวิทย์-คณิต ซึ่งเด็กนักเรียนของที่นี่ จะมีเด็กคละกันไป ตั้งแต่ครอบครัวฐานะปานกลาง ไปจนถึงครอบครัวฐานะดี นอกจากนี้ ระบบการเรียน การสอนของโรงเรียน จะเน้นให้ความสำคัญกับเด็ก รวมไปถึงครู และพ่อแม่มีโอกาสได้พบปะพูดคุย และแลกเปลี่ยนกันอยู่เสมอ
"ตอนแรกที่ลูกสอบเข้าได้ ก็กลัวอิทธิพลลูกคนรวยอยู่เหมือนกันนะ เพราะมีทั้งลูกทหาร ลูกส.ส. ซึ่งเราไม่ใช่คนมีฐานะอะไร จึงบอกกับลูกว่า อย่าไปมีเรื่องชกต่อยกับใครเขานะ รวมทั้งเพื่อนของลูกบางคน มีโทรศัพท์เครื่องละหลายหมื่นใช้ แต่เราจะสอนลูกอยู่ตลอดว่า ให้ใช้เท่าที่เรามี อย่าไปตามเพื่อน เรามีหน้าที่เรียน ก็คือเรียนอย่างเดียว" คุณแม่จิตรารัตน์กล่าว
ไม่ว่าสังคม จะให้ความสำคัญกับโรงเรียนชื่อดังมากน้อยแค่ไหนก็ตาม แต่ถึงกระนั้น คุณพ่อคุณแม่ ถือเป็นบุคคลที่จะต้องให้ชุดความรู้กับลูกอย่างถูกต้อง ด้วยการสอนให้ลูกทำหน้าที่ของนักเรียนให้ดีที่สุด ตั้งใจเรียน ไม่ใช่ปลูกฝังให้หลงอยู่กับกระแสค่านิยมเพียงเพราะได้เข้าโรงเรียนชื่อดัง จนเกิดพฤติกรรมโอ้อวด และดูถูกคนอื่น นั่นอาจจะเป็นผลเสียต่อตัวเด็กในอนาคตได้
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
|
You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!
Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้