เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

รักวัวให้ผูกให้ลูกให้ตีสมัยนี้ยังใช้กันได้อยู่หรือเปล่าค่ะ

ลูกดิฉันอายุ 1 ขวบ8เดือน ชอบรื้อของ และเริ่มเอานิ้วมือแย่ปลั๊กไฟแต่ก็จัดการซื้อตัวเสียบปิดไว้แล้วแต่ก็แอบแกะออกมาเองได้ พอป้อนข้าวให้ก็ไม่ยอมจะทานเอง ดิฉันก็ให้ทานเองส่วนใหญ่จะหกมากกว่ากิน55 บ้างทีอารมณ์ดิฉันขึ้นปรี๊ดเลยโมโหอ่ะ แต่นึกย้อนมองตัวเองที่เคยโดนแม่ตีมันทรมานมากแต่ก็ไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ เลยไม่อยากให้ลูกเจ็บ

ต้องอดทนสอนด้วยเหตุผลสุดๆๆๆ

Views: 294

Replies to This Discussion

555 ใช้ไม่ได้ผลที่นิวซีแลนด์ เพราะเค้ามีกฏหมายห้ามตีเด็ก แม้กระทั้งพ่อแม่ของเด็กเองค่ะ 

 

ลองใช้ positive discipline ในการสอนลูกดูสิค่ะ ได้ผลมากกว่า ความยากง่ายของมันคืออยู่ที่ตัวเราเอง ถ้าเราเปลี่ยนแปลงตัวเอง มุมมองของตัวเองได้ สอนลูกก็ไม่ใช่เรื่องยากค่ะ 

 

http://go2pasa.ning.com/profile/101thaikids?xg_source=profiles_memb... ลองเข้าไปดูค่ะ

http://www.101thaikids.com/home_101/index.php

THE TOP TEN 101s

ผู้เขียน: ดร. แคททาลีน ซี เคอร์ซี่ ผู้แปล: ปนัดดา - ปิยวลี ธนเศรษฐกร

1. หลักการทำให้เป็นเรื่องใหญ่ - การให้ความสนใจเชิงบวกกับเด็ก ๆ เวลาที่เด็ก ๆ กำลังมีพฤติกรรมที่คุณครูต้องการ เช่น ชมเชย ขอบคุณ กอด

2. หลักการเบี่ยงเบนกิจกรรม - การที่คุณครูเสนอกิจกรรมอย่างหนึ่งให้เด็กทำแทนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก เพื่อที่เด็กจะได้ไม่สามารถทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อไปได้ เช่น คุณครูสามาถทำให้เด็กคนนั้นหยุดตะโกนได้โดยการชวนเด็ก ๆ เล่นร้องเพลงกระซิบ

3. หลักการให้ทางเลือกเชิงบวกแก่เด็ก - การที่คุณครูเสนอทางเลือกที่คุณครูยอมรับได้ให้เด็ก 2 ทาง และให้โอกาสให้เด็กตัดสินใจเลือกว่าจะทำตามทางเลืกไหน เช่น จะให้ครูหม่อม หรือ ครูใหม่อาบน้ำให้คะ?

4. หลักการอะไรก่อน อะไรหลัง - การบอกเด็ก ๆ ให้ทำสิ่งที่เด็กจำเป็นต้องทำให้เสร็จก่อน แล้วถึงจะอนุญาติให้เด็กทำในสิ่งที่พวกเค้าต้องการ เช่น เมื่อทานข้าวเสร็จแล้ว ไปเล่นกับเพื่อนได้ค่ะ

5. หลักการแสดงความเข้าใจ - การอธิบายให้เด็ก ๆรู้ว่าเราเข้าใจว่าพวกเค้ากำลังต้องการอะไร หรือกำลังมีความรู้สึกอย่างไร และบอกเด็กถึงพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น คุณครูรู้ค่ะว่าหนูไม่อยากหยุดเล่นเกมส์ คุณครูไม่ว่าอะไร เพราะถ้าเป็นคุณครู คุณครูก็คงจะรู้สึกเหมือนหนูเช่นกัน แต่เมื่อสักครู่คุณครูได้ยินเสียงสัญญาณบอกเวลาเข้าแถวไปห้องกิจกรรมแล้วค่ะ

6. หลักการให้ความสำคัญ - การทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าเค้าเป็นคนสำคัญโดยการมอบหมายหน้าที่สำคัญให้เด็กได้รับผิดชอบ และพูดชมเชยเด็ก ๆ ว่า สิ่งต่างๆจะเสร็จสมบูรณ์ไม่ได้ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากพวกเค้า เช่น คุณครูต้องขอบใจมีมี่มากที่ช่วยคุณครูแจกนมให้กับเพื่อน ๆ ถ้าไม่มีมีมี่คุณครูคงแจกนมเสร็จช้ากว่านี้ และเพื่อน ๆ คงได้ดื่มนมช้ากว่านี้

7. หลักการมองตา - การที่คุณครูนั่งลดระดับลงมาในระดับสายตาของเด็ก และใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวลเวลาพูดคุยกับเด็ก ๆ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับเด็ก ๆ และทำให้พวกเค้ารู้สึกอบอุ่น และเป็นมิตรเวลาที่อยู่กับคุณครู

8. หลักการส่งความรู้สึก - การอธิบายด้วยน้ำเสียงปกติเรารู้สึกอย่างไรกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก และพฤติกรรมที่เราต้องการให้เด็กปฏิบัติแทนคืออะไร เช่น คุณครูรู้สึกไม่ชอบเลยค่ะ เวลาน้องมายด์อ่านหนังสือนิทานเสร็จแล้ววางเอาไว้ที่พื้น มันทำให้ห้องเรียนของเราดูรกและสกปรก คุณครูต้องการให้น้องมายด์เอาหนังสือเก็บเข้าที่ค่ะ

9. หลักการกระซิบ - การใช้เสียงกระซิบ หรือใช้เสียงเบา ๆ เมื่อต้องการเรียกความสนใจจากเด็ก ๆ และควบคุมให้ห้องเรียนมีความปกติ คุณครูอาจจะพูดเบา ๆ หรือร้องเพลงเบา ๆ ก็ได้

10. หลักการตั้งเวลา - คือ การใช้เสียงเสียงของเครื่องจับเวลาเป็นสัญญานบอกเด็ก ๆว่าถึงเวลาที่พวกเค้าจะต้องทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เช่น คุณครูจะตั้งเวลาไว้ 5 นาที เมื่อเด็ก ๆ ได้ยินเสียงสัญญานของเวลานั่นหมายถึงว่ามันเป็นเวลาเก็บของเล่นแล้วนะคะ

 

หลักการคล้าย ๆ กับที่ตอนนี้คุณแม่อันดามันอ่านอยู่เลยค่ะ แต่เป็นหนังสือชื่อ " แนะนำวิธี เลี้ยงลูกแบบ Happy" มี 3 เล่มแล้วค่ะ

เนื้อหาหนังสืออ่านง่าย มาก ๆ ค่ะเป็นแบบแทรกการ์ตูนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ คนเขียนเป็นคุณหมอจิตวิทยาเด็กที่ญุีปุ่นค่ะ

ชื่อหมอไดจิ อาเคะฮาชิ ของสำนักพิมพ์รักลูกค่ะ ลองหามาอ่านดูก็ได้ค่ะ หนังสือน่ารักดี อ่านง่ายค่ะ

คุณแพทกับแม่น้องอันดามันน่ารักที่สุดเลย

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service