พอดีช่วงก่อนปวดฉี่บ่อย แต่พอไปฉี่แล้วฉี่ได้น้อยมากๆทั้งๆที่รู้สึกปวดฉี่มากเหมือนจะอั้นไว้ไม่อยู่เลยทีเดียว เวลาฉี่รู้สึกเหมือนมีอาการปัสสาวะแสบขัด ทั้งๆที่ร่ำเรียนมาก็ไม่เคยใช้ความรู้ไว้ปกป้องตัวเองเล้ย อั้นฉี่ตลอด คราวนี้เลยนำบทความวิชาการมาบอกต่อสำหรับแม่ๆที่ชอบอั้นฉี่เหมือนโบว์ค่ะ ประเภทแบบเดี๋ยวก่อนๆ ยังทำนู่น นี่ นั่น ไม่เสร็จ ลองอ่านดูค่ะ
คำแนะนำที่ดี สำหรับคนที่ชอบกลั้นปัสสาวะเพราะห้องน้ำไม่สอาด
ปกติ ท่อปัสสาวะ ureter ทำหน้าที่ส่งต่อน้ำปัสสาวะมาที่ กระเพาะปัสสาวะ ( urinary bladder ) ทั้ง ureter and U.B. มีคุณสมบัติดั้งเดิมเป็นเซลล์ กล้ามเนื้อเรียบ smooth muscle cell ที่ถูกพัฒนาไปเพื่อทำหน้าที่เฉพาะเรื่องท่อ ureter จะสอดเข้าไปเชื่อมกับเซลล์ผนัง ของ UB ในลักษณะ จึงทำหน้าที่เป็น check valve ช่วยป้องกันไม่ให้ น้ำปัสสาวะที่เหลืออยู่ในUB ไหลย้อนขึ้นไปสู่ ureter ได้ เพราะหากไหลย้อนได้ ก็เท่ากับสามารถพาสิ่งสกปรก เช่นเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนในน้ำปัสสาวะ ไหลย้อนขึ้นไปทำให้เกิดการติดเชื้อที่ ไต ได้
บทบาทของ check valve ตรงตำแหน่ง uretero-bladder junction จึงทำหน้าที่เสมือน เป็น mechanical barrier ที่สำคัญ ที่สิ่งที่มีชีวิตมีไว้เพื่อป้องกันเชื้อโรค่จากภายนอก แพร่จากช่องคลอด เข้าไปสู่ท่อปัสสาวะ เข้าไปสู่UB และเข้าไปสู่ ureterand kidney respectively.
น่าแปลกที่ธรรมชาติได้จัดสรรมาว่า หากมีน้ำปัสสาวะขังอยู่ใน UB ประมาณ ๑๐๐ -๒๐๐ ซีซี มนุษย์เราก็จะเริ่มรู้สึกปวดปัสสาวะ คืออยากถ่ายแล้ว ความจริงก็น่าสงสัยว่าหากธรรมชาติสร้างกระเพาะปัสสาวะให้มีขนาด ๑ ลิตร จะดีใหม ? จะได้ไม่ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ไม่ต้องเปลืองน้ำชักโครกและทรัพยากรอื่นๆ จะได้ข่วยลดภาวะโลกร้อนไปด้วยในตัว
คำตอบก็คือ มีความจริงอยู่ข้อหนึ่งว่า แบคทีเรีย จะแบ่งตัวทุก ๒๐ นาที ดังนั้น จากแบคทีเรีย ๑ ตัวจะกลายเป็น ๘ ตัวใน หนึ่งชั่วโมงแรก และหากไม่ถูกขับออก จะกลายเป็น ๖๔ ตัว ในชั่วโมงที่สอง กลายเป็น ๕๑๒ ตัวในชั่วโมงที่สามกลายเป็น ๓๒๗๖๘ ตัวในชั่วโมงที่ห้า กลายเป็น ๒๖๒,๑๔๔ ตัวในชั่วโมงที่หกหากว่า เริ่มต้น จากแบคทีเรีย เพียง ๔ ตัว ก็จะกลายเป็นแบคที่เรีย ๑๓๑,๐๗๒ ตัวในชั่วโมงที่ สี่ ของการอั้นปัสสาวะไว้ใน UB
ทางการแพทย์ถือว่าเมื่อไหร่ที่เพาะเชื้อแล้วพบเชื้อแบคทีเรีย ในปัสสาวะมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ตัว ต่อ ๑ ซีซี ถือว่าเป็นการติดเชื้อที่มีนัยสำคัญทางแพทย์ (Significant growth ) เวลาอั้นปัสสาวะนานๆ ปริมาณปัสสาวะที่สะสมในกระเพาะปัสสาวะมาก จะทำให้กระเพาะปัสสาวะโป่งออก คุณสมบัติความเป็น check valve ตรงตำแหน่ง uretero-bladder juction จะย่อหย่อนไป เหมือนลูกโป่งพองลม อาจมีโอกาสรั่วได้ง่ายกว่า พอไปถ่ายปัสสาวะ หากว่าเราเบ่งเพราะมันปวดมาก การเบ่งจะเป็นการเพิ่ม ความดันในท้อง เพื่อไปกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ความดันในโพรงกระเพาะปัสสาวะ ที่มีสูงอยู่แล้วเพราะมีปัสสาวะอยู่ ก็ยิ่งมากขึ้น ก็จะมีโอกาสทำให้น้ำปัสสาวะไหลย้อนขึ้นไปที่ ureter ได้ง่ายขึ้น หากว่า ปัสสาวะนั้น มีการปนเปื้อนอยู่แล้ว และคั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนานพอ ปริมาณแบคทีเรียก็จะสะสมเป็นทวีคูณ ดังกล่าว ทำให้แบคทีเรียขึ้นไปท่อไต ขึ้นไปเกิดการติดเชื้อที่ไตได้
ดังนั้น ตามหลักสรีระศาสตร์ เวลาปวดปัสสาวะมาก จึงไม่ควร แบ่งตอนแรกเมื่อ กระเพาะปัสสาวะยัง่เต็มที่อยู่ ควรทำใจแข็งให้ปัสสาวะมันไหลออกมาเองจะดีกว่า มิฉะนั้นจะเกิดการติดเชื้อที่ไตได้ง่าย และโดยหลักการเดียวกัน ก็ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้นาน เพราะจะทำให้กระบวนการขับไล่ปัสสาวะที่อาจปนเปื้อน ให้ออกใปจากร่างกาย ต้องเนิ่นนานไปอีก ผู้หญิงเวลาเดินทาง ไม่ควรกลั้นฉี่ ปวดที่ใหน ก็เข้าไปถ่ายเลย ห้องส้วมยังอาจมีเชื้อโรค น้อยกว่าที่ในกระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณในร่มผ้าของเราเสียอีก