เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

สวัสดีค่ะสมาชิกหมู่บ้านสองภาษา พอดีวันนี้ไปเจอกระทู้เกี่ยวกับคนที่มีความเห็นแตกต่างจากพวกเราในการเลี้ยงลูกสองภาษาในเวปบอร์ดแห่งหนึ่ง เลยตัดมาให้อ่านกัน แล้วอยากถามเพื่อนสมาชิกว่ามีความเห็นอย่างไรกันบ้างคะ บอกตามตรงว่าข้อความข้างล่างนี้ทำให้เราลังเล เลยอยากขอความมั่นใจจากสมาชิกค่ะ



หลัก OPOL - One Person One Language เป็นหลักที่ดีที่เด็กๆ
จะเรียนภาษาที่ ๒ ที่ ๓ ได้แน่ๆ ถ้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า
คนๆ นั้น ต้องพูดภาษาหลัก (ภาษาธรรมชาติ ที่เป็นภาษาแม่) ของเรากับลูกค่ะ
ไม่ใช่ภาษาอื่นที่เราไม่คุ้น ชิน การเลี้ยงลูก หรือตัวลูก ต้องการทั้งความรู้ (ที่ลูกจะได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม) และ
ความรัก ความเป็นธรรมชาติของครอบครัวไปด้วยพร้อมๆ กันค่ะ คือ การสื่อสารมันเป็นมากกว่า
คำพูด คำศัพท์เท่านั้น มันต้องมีความเป็นธรรมชาติอยู่ด้วย อย่างที่จะได้รู้สึกอบอุ่นได้
ทั้งพ่อ แม่ ลูกค่ะ เราว่า ความสุข และความรู้สึกมันสำคัญไม่น้อยกว่าความรู้ค่ะ โดยเฉพาะ
ในวัยเยาว์ และพ่อแม่ก็น่าจะ enjoy กับการเป็นพ่อแม่ด้วยค่ะ
(เราบอกจากใจเลยค่ะ ว่าชื่นชม ความตั้งใจและทุ่มเทของพ่อแม่ทุกๆ ท่านมากๆ นะคะ)

มีหลายๆ คำค่ะ ที่เราจะไม่รู้ หรือ ไม่ไหลรื่นออกมาเลย ถ้าเราไม่ได้เป็นเจ้าของภาษานั้นๆ
ลองยกตัวอย่างคำที่ใช้กับเด็กๆ เช่น จ๊ะเอ๋ ว้าย...น้ำกระเซ็น (ตอนลูกเล่นน้ำ) ฯลฯ

การเรียนภาษาอย่างที่เป็นธรรมชาติ (ของผู้พูดและผู้ฟัง) จะได้ผลดีกว่าค่ะ
อย่างที่กระทู้บนๆ ว่า เช่นที่อาม่า อากง ของเราพูดกันมา อย่างนั้นแหละดีค่ะ หรือ ถ้าดูเด็กๆ ตามชายแดนเด็กอิสานแถวๆ สุรินทร์ บุรีรัมย์ หลายคนพูดได้ทั้งไทย อีสาน เขมร เวียต บางคนพูดจีนได้อีกด้วย ถ้าได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอกับเจ้าของภาษา

ถ้าลูกเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมภาษาเดียว (คือ ไทย) ก็ให้เรียนอังกฤษ (จีน หรือ อะไรเสริม)
จากเจ้าของภาษาดีกว่าค่ะ ทุ่มเทน้อยกว่า จะสัมฤทธิ์ผล และพูดได้ชัดเจนกว่า
และตามหลักการศึกษาที่มีการวิจัยมา ถ้าก่อนอายุ ๑๔ และลูกได้คุยกับเจ้าของภาษาอย่าง
สม่ำเสมอ ไม่สายเกินไปหรอกค่ะ คือให้ลูกเริ่มรู้จัก ได้เรียนภาษาที่ ๒ กับเจ้าของภาษา
ตอนอายุ ๗ - ๘ - ๙ - ๑๐ ขวบ ก็ยังไม่สายเกินไปค่ะ (เราทำงานกับเด็ก ESL หลายปี)
และยิ่งเดี๋ยวนี้ ทีวี ซีดี เน็ตฯ สื่อที่จะไปเข้าถึงภาษาได้มีมากมาย
หลานของแฟนเราคนหนึ่ง (อ่อนอังกฤษมากๆ)แต่พออยู่ ม.ต้น คุยแช็ทฯ กับเพื่อน
มีมาเลเซีย เมล์คุยกันประจำ จนภาษาดีขึ้นมามากๆ เพราะมีแรงจูงใจและได้ใช้จริงน่ะค่ะ

หรืออย่างคนรุ่นๆ เรา ที่เรียน ภ.อังกฤษ (กับครูไทย) มาตั้งแต่เล็กๆ(เราเริ่มตอน ๔ ขวบ)
ท่องศัพท์ได้มากมาย (ทักษะการอ่านตำราฝรั่งนี่ เราอ่านได้เร็วกว่าเพื่อนอเมริกันซะอีก)
แต่ทักษะการพูดและฟังของเรา แย่มาก สื่อสารแล้วเขาแทบไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด
ตอนอยู่อเมริกา ครูภาษาอังกฤษหลายคน (ของเรา) ชี้ให้ดูเลยว่า
พวกผู้ใหญ่ (ตอนนั้นเราอายุ ๒๐ กว่าๆ) ที่ไม่เคยเรียนภาษาอังกฤษมาเลย
อย่างคนจากซิมบับเว่ เคนย่า ทิเบต ฯลฯ ยังเรียนได้ง่ายกว่าคนอย่างเราที่เรียน ภ.อังกฤษ
(จากครูคนไทย)ซะอีก ครูบอกว่า ของคนอื่นเป็นเหมือนผ้าขาวน่ะ แต่ของเราต้องมาแก้
ศัพท์ สำเนียง แกรมม่า หลายอย่าง (หรือเราเป็นพวกโง่เรื่องภาษามากๆ มั้ง)
อย่างคนอื่นๆ ฟังคำหนึ่งสัก ๒๐๐ ครั้ง ก็อาจจะซึมและจำได้ในหัว แต่ของเราต้องสัก ๔๐๐
เพราะ ๒๐๐ แรก เอาไปลบเม็มโมรี่ที่ไม่ถูกต้องก่อน แล้วอีก ๒๐๐ ถึงค่อยซึมเข้าไปแทนที่ได้

และที่สำคัญมากๆ เลย คือ เด็กต้องรู้ภาษาหลัก (ภาษาแม่)ของตัวเองให้แน่นเสียก่อนถึง
จะเรียนภาษาอื่นได้ดีค่ะ (มีการศึกษาเรื่องครอบครัวญี่ปุ่นในอเมริกาสมัย ๓๐ กว่าปีก่อนเรื่องนี้เลยค่ะ)

(บังเอิญว่า) ลูกๆ เราเกิดและโตที่อเมริกา (เพราะเราไปเรียนต่อและเป็นครูอยู่ที่นั่น ๑๐ กว่าปี)
เรื่องนี้ เราคิดมาตั้งแต่วันแรกที่เรารู้ว่า ท้องเลย เราก็ไปหาข้อมูลมากๆ ๆ แล้วก็ได้ข้อสรุปว่า
่ในครอบครัวเรา เราจะพูดไทยกับลูกตลอดเลยค่ะ สามีก็พูดฮิบรูกับลูกตลอดเหมือนกัน
เรากับแฟนสื่อสารกันด้วย ภาษาไทยค่ะ ลูกเรียน ภ.อังกฤษจากสิ่งแวดล้อม
และเราสารภาพนะ ว่าคงไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอื่น (นอกจากภาษาไทย)ให้ลึก และลึกซึ้ง
กับลูกเราได้ (โดยเฉพาะเมื่อตอนที่เขายังเล็กๆ เช่น จะบอกว่า "เจ้าซาละเปา แม่รักหนูนะ" นี่)
ถ้าให้พูดเป็นภาษาอื่น เราคงไม่อิน และลูกเราก็คงไม่อินเหมือนกันมั้ง
ให้เราร้องเพลงกล่อมลูก เพลงเด็ก (หรือท่องสูตรคูณ) เป็นภาษาอื่นให้ลูกฟังนี่
เราอาจจะทำได้ แต่โทนเสียง น้ำเสียง มันคงไม่ได้สื่อความรู้สึกออกไปได้อย่างที่ใจรู้สึกน่ะ
มันอาจจะเป็นภาษาคำศัพท์ แต่มันไม่ได้เป็นภาษาจากใจ (พ่อแม่)ถึงใจ(ลูก)

หรือ ตอนที่ลูกเป็นวัยรุ่นอย่างตอนนี้
ถ้าจะให้เราพูดเรื่องยาเสพติด ประจำเดือน เอดส์ เอ็กซ์ แฟน แฟชั่น ดนตรี ฯลฯ
กับลูกเป็นภาษาอื่น เราคงพูดได้ไม่ลึก ไม่กว้าง ไม่อิน คือ จะมีข้อจำกัดทางภาษาอยู่มากๆ
และอาจจะสื่อสารไม่ได้อย่างที่อยากสื่อไปเลยด้วย (ในบางกรณ๊)

(ป.ล.ลูกๆ เราเป็นเด็ก ๓ ภาษาตามสิ่งแวดล้อมที่เอื้อนี่แหละ ไม่ได้ให้ไปเรียนอะไรเพิ่มเติมด้วย
ลูกยังอยากเรียนภาษาที่ ๔ และก็มีภาษา Pig Latin ที่เอาไว้พูดกันเมื่อไม่อยากให้พ่อแม่เข้าใจด้วย
อือ...ลูกเราเป็นเด็กธรรมดาๆ ไม่ได้เก่ง อัฉริยะ หรืออะไร แต่อย่างใดเลยนะคะ)

ถ้าอยากให้ลูกได้ภาษาตั้งแต่เด็กๆ จริงๆ ให้ลูกไป ร.ร.ธรรมดาก็ได้ค่ะ
แล้วรวบรวมกันให้ได้สัก ๓- ๔ คน ให้มีโอกาสได้เล่นกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน พี่ๆ หรือหาครู"ฝรั่ง" ที่ใจดี น่ารัก มาเล่นยิม เล่นดนตรี อ่านหนังสือ ทำกิจกรรม (ปั้น เล่น ฯลฯ) กับเด็กๆ กลุ่มนี้
สักอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง น่าจะเป็นธรรมชาติ และสัมฤทธิผลกว่าค่ะ
(โดยทั่วๆ ไปเด็กเล็กๆ มีปฏิสัมพันธ์เป็นกลุ่ม และเรียนรู้ได้ดีกว่าเดี่ยวๆ ค่ะ)

แล้วภาษาในซีดีของเด็กๆ (บางโปรแกรม) หรือการ์ตูนบางเรื่อง
เป็นภาษาการ์ตูน ที่ต่างจากภาษาในชีวิตประจำวันมากๆ เลยค่ะ
การให้ลูกอยู่หน้าจอมากๆ ก็มีผลต่อสุขภาพ สมาธิ และมันเป็นการสื่อสารทางเดียวด้วยนิ

ชีวิตของลูก ของเรา ของครอบครัว ยังมีอีกหลายๆ มุม
ไม่ใช่เรื่องภาษาอังกฤษแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ขออภัยนะคะ ที่เขียนยาวและคิดต่างจากพ่อแม่บางท่าน คือ อยากจะบอกว่า
ไม่ต้องเร่ง รีบ มากค่ะ อยากให้ enjoy กับการเลี้ยงลูก และมีความสุขกับการเป็นพ่อแม่ค่ะ
เพราะเวลาเหล่านี้ ถ้ามันผ่านไป มันเรียกกลับมาไม่ได้อีก น่าเสียดาย. . .

ขอให้ถือว่า เป็นมุมต่าง(ของพ่อแม่บ้านหนึ่ง) ที่ไม่ได้ตั้งใจจะขัดแย้งส่วนตัวอะไรใดๆ กับใครนะคะ

Views: 1217

Reply to This

Replies to This Discussion

เห็นด้วยกับคุณจี๊มากๆเลยค่ะ
ลองนึกภาพว่า ส่งลูกไปเรียนเปียโน สองวันต่ออาทิตย์ กับมีเปียโนที่บ้าน ฝึกได้ทุกวัน อันไหนจะสัมฤทธิ์ผลเร็วกว่า
สุดยอด ให้ A+
(บังเอิญว่า) ลูกๆ เราเกิดและโตที่อเมริกา (เพราะเราไปเรียนต่อและเป็นครูอยู่ที่นั่น ๑๐ กว่าปี)
เรื่องนี้ เราคิดมาตั้งแต่วันแรกที่เรารู้ว่า ท้องเลย เราก็ไปหาข้อมูลมากๆ ๆ แล้วก็ได้ข้อสรุปว่า
่ในครอบครัวเรา เราจะพูดไทยกับลูกตลอดเลยค่ะ สามีก็พูดฮิบรูกับลูกตลอดเหมือนกัน
เรากับแฟนสื่อสารกันด้วย ภาษาไทยค่ะ ลูกเรียน ภ.อังกฤษจากสิ่งแวดล้อม
...
...
คุณ phanprapa คะ ลองอ่านทวนข้อความนี้ดูอีกครั้งนะคะ เชื่อว่าจะช่วยในการตัดสินใจได้อย่างมั่นใจขึ้นนะคะ
ค่ะจริงๆแล้ว คุณphanprapa ก็เป็น 2 ภาษา นะคะไทย฿ฮิบรู ตั้งแต่เกิด โดยธรรมชาติ อาจจะ3 ภาษากะสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับพ่อแม่ไทยเราไม่มีแฟนต่างชาติ นี่นา เราก็ต้อง ฝึกฝนเรียนรู้ภาษาที่2 (อังกถษ) และเอาไปใช้อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด เท่าที่เราจะทำได้ ก็เยี่ยมที่สุดแล้วค่ะ
การเลี้ยงลูก ความใกล้ชิด ความรักเป็นสิ่งที่สำคัญมากค่ะ เห็นด้วย 100%
เชื่อว่าไม่มีพ่อแม่สองภาษาคนไหนคิดว่าจะลดความสำคัญเรื่องนี้แน่นอน

แต่คิดว่าการใช้ลักษณะเป็น OPOL เป็นสิ่งที่ลงตัวค่ะ เพราะยังมีอีกคนที่ใช้ภาษาแม่ในการสื่อสารแสดงความรักต่อลูก ในขณะที่ลูกก็จะมีโอกาสเรียนรู้ภาษาที่สองแบบสบายๆ (คิดว่าถ้าเรียนตอนโตเขาคงสามารถเรียนรู้ได้ แต่ก็ต้องใช้ความพยายาม และอาจจะมีแค่จำนวนหนึ่งเท่านั้นที่จะสามารถใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ)

และการสร้างสภาพแวดล้อมอย่างตัวอย่างที่คุณ phanprapa ยกมาก็คงไม่สามารถทำกันได้ทุกครอบครัว

ส่วนตัวคิดว่ารูปแบบที่คุณพงษ์ระพีแนะนำพวกเรา ควรใช้เป็นแนวทางเท่านั้น แต่ละครอบครัวควรนำไปปรับใช้ตามสภาพความจำกัดในด้านต่างๆ หากคุณพ่อคุณแม่ยังติดขัดอยู่มากในเรื่องการใช้ภาษาที่สอง ก็ไม่ควรกดดันตัวเองมากจนเกินไป ค่อยเป็นค่อยไปจนสามารถใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติแล้ว คิดว่าคงไม่มีอุปสรรคในการสื่อสารความรักความเข้าใจแน่นอนค่ะ

//เล็ก-แม่น้องภูมิ
คุณเล็กพูดถูกมากๆ เลย เขียนสรุปใจความได้โดนใจค่ะ
เราเชื่อว่า ความคิดเห็นแต่ละคน แตกต่างกันเพราะเราอยู่ในบริบทที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงไม่ผิดที่แต่ละคนมีความเชื่อแตกต่างกัน

ในมุมมองของเรา คิดว่าการสร้างเด็กสองภาษาระบบนี้ อาจจะเป็นระบบที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อมากนักในบางประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย คุณเจ้าของความคิดเห็นนี้ โชคดีที่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการได้ใช้ภาษาอังกฤษ เดินออกมาข้างนอกก็ได้พูดได้ใช้ภาษาอังกฤษแล้ว ถ้าเราเป็นยังงั้นได้ เราก็คงเลือกพูดภาษาไทย รึไม่ก็หันไปศึกษาภาษาอื่น ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่พร้อม

รึถ้าเลือกได้ ก็อยากจะทำแบบที่เสนอคือ ให้เด็กรวมกลุ่มกัน เรียนรู้กัน หาครูฝรั่งใจดี มาเล่นทำกิจกรรมกัน แต่สิ่งที่คิดกับ ความเป็นไปได้ที่จะทำ มันก็ดูจะไปด้วยกันไม่ได้ ทั้งกลุ่มเพื่อน เวลา และครูฝรั่งใจดี


"ถ้าลูกเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมภาษาเดียว (คือ ไทย) ก็ให้เรียนอังกฤษ (จีน หรือ อะไรเสริม)
จากเจ้าของภาษาดีกว่าค่ะ ทุ่มเทน้อยกว่า........"


ส่วนตัวเรา เชื่อในศักยภาพของเด็ก และเชื่อมั่นในความเป็นแม่ของแต่ละคน เราคิดว่าไม่มีใครรู้จักลูกได้ดีไปกว่า พ่อแม่ แนวคิดของเราจึงคิดว่า การทุ่มเทให้ลูก เป็นสิ่งที่เราจะตั้งใจทำให้ดีที่สุด และการไปฝากความหวังกับคนอื่นให้ช่วยสอน เราก็รู้สึกว่าไม่มั่นใจ ยิ่งถ้าคุณครูที่ต้องดูเด็กหลายคน ขนาดนั้นเราดูคนเดียวยังไม่แน่ใจเลยว่า เราดูได้ละเอียดรึยัง การใช้ระบบนี้เราออกแบบบทเรียนของเราได้


"หลานของแฟนเราคนหนึ่ง (อ่อนอังกฤษมากๆ)แต่พออยู่ ม.ต้น คุยแช็ทฯ กับเพื่อน
มีมาเลเซีย เมล์คุยกันประจำ จนภาษาดีขึ้นมามากๆ เพราะมีแรงจูงใจและได้ใช้จริงน่ะค่ะ"


เราเชื่อในแรงจูงใจมาก เพราะฉะนั้น การสร้างเด็กสองภาษา หรือเป้าหมายที่เราดูแลลูกตอนนี้ ไม่ใช่การสอนภาษาให้เก่งหรือผลักดันให้เก่งแต่ละวิชา(เพราะเราคิดว่าตัวเอง คงไม่สามารถในทุกเรื่อง และโตขึ้นเค้าก็คงมีความเป็นตัวเองมากขึ้น) แต่เป็นการทำให้ลูกมีทัศนคติ และมีความสุขในการเรียนรู้ในทุกเรื่อง ยกตัวอย่างหลานของคุณที่แสดงความคิดเห็น เค้าก็มีแรงจูงใจ ทำให้อยากทำ มีความสุขที่จะทำ ก็เหมือนเราๆใน web นี้ที่มีความสุขที่จะทำเพื่อลูก มันมีแรงผลักดัน ลูกก็ได้ แม่ก็ได้ไปด้วย

ส่วนเรื่องความเป็นธรรมชาติบางเรื่อง ภาษาที่เราไม่อิน ไม่เข้าถึง รึว่าอธิบายยากๆไม่ได้ คงเป็นความสามารถ รึว่าบริบทแต่ละครอบครัว บางครอบครัว พ่อแม่เก่งภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ก็อาจไม่มีผล บางครอบครัวมีบริบทที่ อีกคนที่ต้องพูดภาษาแม่ไม่มีเวลา บางครอบครัวพ่อแม่ไม่เก่งภาษา ในมุมมองของเรา เราคิดว่า ทำให้ดีที่สุดภายใต้บริบทของเรา อย่ายึดติดกับวิธีการใดๆ เพราะวิธีการอาจต้องปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามลูกรึว่าบริบทที่เปลี่ยนไป ถ้าเรายังไม่อินกับคำพูดไหน ยังอธิบายอะไรยากๆไม่ได้รึว่าอธิบายแล้วอาจไม่ดีเท่าภาษาไทย เราก็น่าจะพูดไทยก่อนได้ แล้วก็ค่อยๆพัฒนาตัวเองไป หาความรู้ หาข้อมูล เราทำอย่างนี้ในทุกเรื่อง แม้แต่ภาษาไทย รึวิชาอื่น เราก็คิดว่า พ่อแม่ควรเป็นครูคนแรกของลูก

แต่สิ่งที่ต้องทำคือ ทำให้ลูกรู้สึกดีกับการเรียนรู้ภาษา และสิ่งต่างๆ โตขึ้นคิดว่าเค้าจะมั่นใจและถ้าเค้าชอบ เค้าคงจะขวนขวายเอง ความรู้ของเราคงสอนเค้าไม่ได้ดีทั้งหมดแน่ๆ ความเป็นธรรมชาติในระบบนี้ ดีตรงที่ ไม่ต้องนั่งท่องให้เหนื่อย เป็นโอกาสที่พ่อแม่จะได้อยู่กับลูก ใกล้ชิดลูกมากขึ้น หากิจกรรมที่จะเป็นกุศโลบายให้เค้าสนุกและได้เรียนรู้ร่วมกัน
เห็นด้วยกับทุกความเห็นที่กล่าวมาเลยคะ เพราะเราไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้มีโอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันดังนั้นเราจึงต้องสอนลูกตั้งแต่เล็กด้วยตัวเราเอง จะไปหวังพึ่งครูคนอื่นคงได้อะไรไม่มาก และวิธีการแบบที่คุณพ่อมือใหม่ได้แนะนำนั้นก็เป็นวิธีธรรมชาติในการเรียรรู้ ตัวดิฉันเองคิดว่าการเรียนรู้แบบopol ยิ่งทำให้เรามีโอกาสได้ใกล้ชิดลูกมากขึ้น ทุกครั้งที่ลูกพูดคำศัพท์ใหม่ใหม่ในแต่ละวันเราแทบจะรู้อย่างละเอียดเพราะ เราจะเผ้าติดตามว่าลูกมีพัฒนาการทางภาษาอย่างไร
ผมอยากบอกเพื่อนๆทุกคนที่กำลังจะเริ่มทำนะครับ....สิ่งที่สำคัญคือลงมือทำ..และอย่ามีข้อแม้มากเกินไป..ถ้าทำแล้วพบว่าวิธีที่ใช้มีข้อบกพร่องก็แก้ไข..ผมได้ดูทีวีแล้วเริ่มทำวันรุ่งขึ้นเลย..ไมได้เตรียมตัว..แต่ผมรู้สึกว่ารอไม่ได้แล้ว..พอทำไปได้ 2 อาทิตย์ก็ได้หนังสือ ..เด็กสองภาษาพ่อแม่สร้างได้.. มาอ่านแล้วก็นำมาประยุกต์ใช้ครับ..หนังสือเป็นหนึ่งทางลัด..มีประโยนช์มากจริงๆ..^.^
คนที่เขียนเรื่องมุมมองที่แตกต่างนี้ เราว่าเป็นความคิดที่ไม่ผิดหรอกค่ะ อย่างเราเองที่อยู่ต่างประเทศ พ่อสอนภาษาพ่อ แม่สอนภาษาแม่ ต่างคนต่างสอนภาษาใครภาษามัน ผลของการสอนก็จะเต็มไปด้วยคุณภาพ เพราะพ่อแม่เป็นเจ้าของภาษาโดยตรง เวลาสื่อการกับลูกก็สามารถสื่อสารกันได้อย่างลึกซึ้ง

เข้าใจคุณคนที่เขียนข้อความเรื่องมุมมองที่แตกต่างนี้มากๆ คิดแบบนี้มันก็ใช่เลยค่ะ

แต่ว่า...ทุกครอบครัว ต่างก็อาศัยอยู่ในประเทศที่แตกต่าง อย่างครอบครัวคนไทยที่อาศํยในประเทศไทย โอกาส ตลอดสภาพแวดล้อม ไม่เอื้ออำอวย เราก็ต้องทำการประยุกต์หน้าที่ของพ่อแม่ให้มีบทบาทในการสอนลูกมากยิ่งขึ้น เพราะหากจะมัวแต่รอเจ้าของภาษามาสอนลูกมันก็คงไม่ทันการ อีกทั้งค่าใช้จ่ายก็สูง ครอบครัวธรรมดาที่ฐานะต่ำก็ไม่มีโอกาสที่จะสอนลูกเป็นเด็กสองภาษาได้เลย


สำหรับเราว่าไม่จำเป็นจะต้องยึดติดว่าพ่อแม่เป็นเจ้าของภาษารึเปล่า หากมีความสามารถพอจะสื่อสารกับลูกเป็นภาษาอื่น เราก็ว่าน่าจะทำ ไม่เห็นเสียหายตรงไหน หากความรู้ที่มีน้อยนิดก็ศึกษาเพิ่มเติม ทุกสิ่งมันสามารถปรับกันได้

อย่างคนอื่นๆ ฟังคำหนึ่งสัก ๒๐๐ ครั้ง ก็อาจจะซึมและจำได้ในหัว แต่ของเราต้องสัก ๔๐๐
เพราะ ๒๐๐ แรก เอาไปลบเม็มโมรี่ที่ไม่ถูกต้องก่อน แล้วอีก ๒๐๐ ถึงค่อยซึมเข้าไปแทนที่ได้


เรื่องของการสอนผิดๆ กว่าจะมาแก้ใช้เวลานาน พูดแบบนี้ก็ไม่ผิดค่ะ ถึงต้องบอกว่าพ่อแม่ที่สอนภาษาที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของภาษาต้องหมั่นหาความรู้เพิ่มเติม อะไรที่ไม่แน่ใจก็หาข้อมูลที่ถูกต้องก่อนนำประโยคนั้นๆ ไปใช้กับลูก หากระวังในการสอน หมั่นหาความรู้เพิ่มเติม ก็คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในอนาคตค่ะ
เห็นด้วยค่ะ

ผลพลอยได้ของการหมั่นหาความรู้เพื่อลูกนั้น ก็คือภาษาอังกฤษของเราเองก็ดีขึ้นด้วย เป็นผลดีต่อหน้าที่การงานค่ะ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง กับความเห็นของคุณพลอยชมพูค่ะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service