เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

คุณครูบอกว่าเป็นเด็ก ไฮเปอร์ แต่ไม่มาก จึงอยากทราบว่าเราต้องสอนเขาอยากไรครับ ขอบคุณครับ

Views: 380

Reply to This

Replies to This Discussion

หากิจกรรมให้เค้าทำเยอะๆค่ะ เด็กไฮเปอร์จะมีพลังงานเยอะ ให้เค้าได้ทำกิจกรรม เล่นกีฬาจะดีมากๆเลย เพื่อช่วยให้เค้าได้ใช้พลังงานแล้วก็ฝึกทักษะ ฝึกการควบคุมตัวเองด้วยค่ะ
เห็นด้วยกะคุณ Pat ค่ะ เล่นกีฬา หรือหากทำได้ก็ฝึกนั่งสมาธินะคะ (อาจจะยากไปหน่อยสำหรับน้อง) แต่เล่นก๊ฬาก็ช่วยได้มากเชียวค่ะ
ปรึกษาคุณหมอด้วยก็ดีนะคะ จะได้เสริมพัฒนาการได้ถูกทางค่ะ
มีเพื่อนลูกลักษณะคล้ายๆ อย่างนี้เหมือนกัน คุณแม่เค้าใช้วิธีหากิจกรรมให้ลูกทำตั้งกะลูกตื่น มีเล่นเกมส์ประเภทต้องออกแรงค่ะ เช่นโยนบอล ตั้งเต (แม่ก็เหนื่อยหมดแรงไปเลย) แล้วส่วนใหญ่เค้าไม่นอนกลางวัน ถ้านอนก็ไม่เกิน 1 ชั่วโมง คุณแม่ก็เน้นการออกกำลังกาย และเล่นกีฬาเป็นหลักเลยค่ะ ก่อนเข้าโรงเรียน ทุกวันคือขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เรียนยิมสำหรับเด็ก ลูกก็ปีนป่ายตลอดเวลา ตอนเย็นก็ว่ายน้ำอีก กลายเป็นเด็กที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรง และตัวโตกว่าเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด พอถึงเกณฑ์เข้าโรงเรียน กิจกรรมเคลื่อนไหวประเภทกีฬาลดลงไปเลยค่ะ มีแต่ว่ายน้ำหลังเลิกเรียนทุกวัน คุณแม่เค้าบอกว่า แค่นี้ไม่พอ กล้ามเนื้อลูกอ่อนเหลวเห็นได้ชัด และยังคงเป็นเด็กพลังเยอะเช่นเดิม
เห็นด้วยกับคุณแพทนะคะ อย่าลืมระมัดระวังอันตรายด้วยนะคะ ให้เขาปลดปล่อยพลังงานให้เต็มที่ ในที่ที่ปลอดภัยค่ะ
น้องเอิ๊กก็เป็นเหมือนกันเลยค่ะ ก็อาศัยให้ ขี่จักรยาน กำลังจะส่งไปเรียนว่ายน้ำ น่าจะดีขึ้นนะคะ
www.jaoek.co.cc
ไปหาหมอมาแล้ว หมอว่าว่าเป็นไม่มาก ต้องรอดูอายุ6-7ขวบก่อนตอนนี้ยัง 5 ขวบ หมอให้ยาน้ำมาทานบำรุงสมอง ตอนนี้ก็ให้เขานั่งสมาธิ 15 นาที แต่ว่าจะอยู่ไม่คอยนิ่งเลย
มีคนเคยบอกว่าให้เปิดเพลงเย็นๆให้เด็กฟังค่ะ ตอนตื่นนอน ทานข้าว หรือก่อนเข้านอน
ลูกสาวก็เป็นเหมือนกันก่ะ ตอนนี้ 3 ขวบ เข้ารร.แล้ว ที่รร.เน้นให้น้องทำกิจกรรมเยอะมาก ทั้งรำ เต้น และนั่งสมาธิ ประกอบกับเข้าฝึกพัฒนาการที่ทางรพ.เดือนละ 2 ครั้ง ตอนนี้น้องนิ่งขึ้นเยอะรู้จักรอคอย ทำกิจกรรมอย่างหนึ่งได้นานขึ้น และเริ่มพูด2-3คำรู้เรื่องแล้ว อยากทราบเหมือนกันว่าจะสอน 2 ภาษาให้น้องอย่างไรค่ะ
พอดีน้องชายเป็นนักกิจกรรมบำบัด ลูกก็มีปัญหาเหมือนกัน เอามาแชร์เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง

ระบบการควบคุมสมาธิในคน
1.ระบบการทรงตัว ระบบนี้ทำหน้าที่คุมความตึงตัวกล้ามเนื้อ ถ้ามีปัญหาจะทำให้ควบคุมลูกตามองจุดๆเดียวได้ไม่นาน เป็นที่มาของสมาธิสั้น หรือบางคนมีลักษณะตาขี้เกียจ หรือตาเหล่ในบางคน

2.ระบบข้อกระดูก ถ้า ระบบนี้ไม่ดี ข้อจะหลวม ข้อหลวมจะทำให้ความตึงตัวกล้ามเนื้อต่ำ ก็จะส่งผลกลับไปที่ระบบทรงตัวไม่ดีไปด้วย คู่กัน รวมไปถึงสหสัมพันธ์ของระบบข้อ ก็จะเสียไปด้วย โดยเด็กจะทำกิจกรรมบางอย่างที่ซับซ้อนไม่ค่อยได้ เช่น กระโดดตบใต้ขา ว่ายน้ำ ตีลังกา หรือใช้เวลานานในการเรียนรุ้กิจกรรมหนึ่งๆมากกว่าเด็กคนอื่นๆ

3.ความสามารถในการทำ สหสัมพันธ์ของตากับมือ หรือ eye hand coordination เกิดจากระบบที่ 1 บกพร่อง ทำให้เด็กใช้ตากับมือทำงานคู่กันได้ลำบาก เช่นในขณะที่ใช้มือเขียนหนังสือ แต่ตาก็ไม่มอง เป็นต้น
4.สิ่งแวดล้อม ถ้าเด้กได้รับการควบคุมสิ่งแวดล้อมจะทำให้ช่วยเรื่องสมาธิได้ระดับหนึ่ง รวมไปถึงการแตกย่อยขั้นตอนของกิจกรรม ให้ละเอียดน้อยลง ให้เรียนทีละขั้น แล้วค่อยจับมารวมกัน

ตัวอย่างกิจกรรมที่เพิ่มสมาธิ <ทำกิจกรรมการเล่นหรือภาคสนามก่อน แล้วค่อยมานั่งฝึกการเรียนรู้ >

1. กิจกรรมที่กระตุ้นระบบการทรงตัว หรือมีการหมุนเป็นองค์ประกอบ
- กลิ้งตัวบนพื้น ไปกลับ โดยบวกกิจกรรมง่ายๆเข้าไปด้วย เช่น
หยิบบอลแล้วไปแยกสีใส่ตามสีของตะกร้า เลือกหยิบ หนึ่งสี เมื่อคล่องแล้ว เพ่ิมเป็นสองสี สามสี โดยเอาทุกสีมารวมกันแล้วให้เด็กเลือกหยิบตามคำสั่งให้ถูกต้อง เป็นต้น
จัดกลุ่มของสิ่งของ กลุ่มเดียวกันให้วางไว้ด้วยกัน เช่นจัดกลุ่มภาพ คน สัตว์ สิ่งของ อวัยวะ ยานพาหนะ หรือเอาของเล่นที่มีในบ้านมาปรับใช้ เช่น เอาตัวต่อ เลโก้ มาให้หยิบแล้วนอนกลิ้งไปประกอบทีละชิ้นก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องทำเป็นร้อยๆชิ้น แค่สิบยี่สิบชิ้นก็พอ หรือเอาจิ๊กซอว์ภาพที่จำนวนชิ้นไม่มาก มาให้เด็กหยิบไปประกอบทีละชิ้น ก็ได้
กิจกรรมเหล่านี้ ปรับประยุกต์ได้เอง ตามอุปกรณ์ที่มีในบ้าน เพียงแต่ให้มีช่วงที่เด็กต้องหมุนตัวเพิ่มเข้าไปแค่น้น เพื่อเป็นช่วงที่ทำให้เด็กถูกกระตุ้นระบบทรงตัว

- ลากเส้น หรือมีเครือ่งหมายเส้นตรงบนพื้น แล้วให้เด็กเดิน บนเส้น ซึ่งการเดินจะเป็นลักษณะการเดินต่อเท้า จะกระตุ้นการทรงตัวได้ดีอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจาก ฐานการลงน้ำหนักของคนเปลี่ยนไป ทำให้ต้องทรงตัวมากขึ้น หรือหากได้ไปสนามเด็กเล่น ก็ให้เด็กเดินบนสะพานทรงตัว ก็คือหลักการเดียวกัน และหลักการเดียวกันเพื่อไม่ได้เด็กเบื่อ ก็แทรกกิจกรรมเข้าไประหว่างต้องเดินบนเส้น หรือเดินบนสะพานไปด้วย
- ทำเครือ่งหมาย หรือ วางแผ่นโฟม หรือกระดาษบนพื้น เยื้องกันไปมา หรือถ้าเป็นแผ่นสีๆ จะดีมาก หรือประยุกต์เอาก็ได้ แล้วให้เด็กกระโดดไปบนแผ่นดังกล่าว โดยให้กระโดดตามโจทย์ที่เราวางไว้ เช่นให้กระโดดไปเหยียบกระดาษสีแดง หรือ เขียว และพอถึงแผ่นจุดหมายก็ให้โยนบอลลงตระกร้าตามสี เป็นต้น ซึ่งจะช่วยในเรือ่งการวางแผนการเคลื่อนไหวในเด็กอีกด้วย เนือ่งจากไม่ใช่แค่กระโดดเฉยๆ แต่ต้องคิดด้วยว่าต้องกระโดดไปทิศไหน สีอะไร ต้องลงตะกร้าไหน
- กระโดดกระต่ายขาเดียว ควรสลับทำให้ได้ทั้งสองด้าน ทั้งซ้าย และขวา
- เดิน แมงมุม คือการให้เด็ก เดินด้วยมือสองข้าง เท้าสองข้าง โก้งโค้งคว่ำหน้าลง เหมือนคลาน แต่ไม่ให้เอาเข่าและศอกลงพื้น
- เล่นภาคสนาม เช่นชิงช้า ม้าหมุน กระดานหก ม้วนหน้า ม้วนหลัง หรือเอาผ้าปูเตียงมาห่อตัวเด็ก แล้วดึงให้เด็กกลิ้งออกมา ถ้าทำกิจกรรมนี้ ควรทำบนพื้นนุ่ม และระวังหลังคนดึงผ้าด้วย

กิจกรรมเพิ่มระบบข้อ
- กระโดดกับที่ กระโดดไปข้าง หน้า ไปข้างหลัง หรือกระโดด ซิกแซกไปมา ตามเกมที่เราจัดให้
- หาลูกบอลขนาดแฮนด์บอลหนึ่งลูก หรืออะไรก็ได้ ที่พอจะเอาขาหนีบไว้ได้ แล้วให้เด็กกระโดดไปพร้อมกับหนีบบอลไว้ที่เท้า และทำตามคำสั่งเราด้วย เช่นแยกสี แยกกลุ่มโดยอย่าให้บอลหลุดจากเท้า ทำให้เด็กต้องแยกประสาท ที่ต้องแยกสี กระโดด และต้องหนีบบอลที่เท้าไปด้วย ยากดี
- เล่นไถนา ให้เด็กได้เดินด้วยมือและแขนแทนเท้า ระวังผู้ยกขาด้วย
- กระโดดแตะสลับ พร้อมกับเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
- กระโดดพร้อมกับยกขาซ้าย แล้วเอามือขวาไปแตะ ยกขวาขวาเอามือซ้ายไปแตะ เพื่อกระตุ้น การแยกแยะซ้ายขวา แยกส่วนร่างกาย
- กระโดดกบ
- กระโดดพร้อมกับโยนบอลไปใส่ตระกร้า ถ้าเด็กแยกประสาทไม่ได้ เด็กจะทำสองขั้นตอนรวมกันไม่ได้ จะโยนบอลต้องหยุดกระโดด จึงจะโยนได้ ดังนั้นให้ทำบ่อยๆ
- ขี่ม้าส่งเมือง อันนีคนที่ขี่หลังควรจะเป็นเด็กโตที่ขาถึงพื้นแล้ว ไม่งั้นตอนล้มลงมาจะมีปัญหา หรือถ้ามีคนช่วยประคองก็ใช้ได้
- โหนบาร์ มากกว่า 5-10 วินาที หรือโหนบาร์แล้วเคลื่อนที่ไปข้างหน้า สำหรับเครือ่งเล่นบางตัว จะมีบาร์เหมือนบันไดขั้นๆ ทำให้โหนตัวไปข้างหน้าได้ เล่นชักเย่อ หรือเล่นผลักของหนักๆเช่นเข็นจักรยานให้เพื่อนเป็นต้น
- ปั้นดินน้ำมัน หรือดินเหนียว หรือให้ช่วยทำงานบ้านบางอย่าง ที่ถ้าเด็กทำพลาดก็ไม่เกิดความเสียหายอะไรมากนัก เช่นพอพ่อขุดดิน เอาดินใส่ถุงให้เด็กหิ้วไปทิ้ง เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้องแขนและมือ กิจกรรมงานบ้านผู้ปกครองต้องจัดและคิดออกมาเอง เนือ่งจากสภาพ สถานการ์ณหลายๆอย่างต่างกัน ดังนั้นคนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นจะเข้าใจดีที่สุด เพียงแต่ให้กิจกรรมดังกล่าวอยู่ในแนวคิดที่ว่า ต้องใช้ข้อ หรือต้องออกแรง และยังไม่ต้องซับซ้อนมาก เท่านั้นเอง
- กระโดดกระต่ายขาเดียว ไปข้างข้างหน้า หรือกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางที่ไม่สูงมาก ที่เด็กพอกระโดดได้ ถ้าเด้กยังทำไม่ได้ ควรให้ทำซ้ำๆไปเรือ่ยๆ บางคนอาจใช้เวลาหลายวันกว่าจะทำได้ ดังนั้นไม่ควรรีบเร่งเด็ก ขอแค่ได้รับการกระตุ้น ผลการกระตุ้นจะออกมาเองเมื่อเด็กพร้อม
- กดดินน้ำมันให้เป็นรูปตามแบบ ตามโจทย์ หรือตามอิสระ
- ถ้ามีที่นวดแป้ง ที่เป็นไม้ท่อนกลมๆ ให้เด็กเอามาใช้กลิ้งดินน้ำมันก็ได้

กิจกรรมนั่งโต๊ะ
- ลากเส้นตามแบบ ลากเส้นเชื่อมจุด จับคู่เหมือน จับคู่ความสัมพันธ์
- ลากเส้น ทางวงกต
- ร้อยลูกปัด โดยให้เด็กหยิบลูกปัดจากมือเรา โดยเราควรเปลี่ยนตำแหน่งมือของเราไปเรือยๆ หากอยู่ที่เดิม ซักพักเด็กจะจำตำแหน่งได้แล้วจะไม่มอง ดังนั้นให้ยกมือเราขึ้นลง ซ้ายขวา ไป เด็กจะมองตาม ขณะที่เด็กดึงลูกปัดหรือของจากมือ เราก็ควรดึงไว้ซักพัก เพื่อให้เด็กได้ออกแรงมือ ซักพักค่อยปล่อย
- ตักลูกปัดใส่ชวดปากแคบ หรือตักน้ำแทนลูกปัดก็ได้ แต่ระวังเปียก ควรเตรียมพร้อม
- ปั้มรูปภาพ ทำให้เด็กต้องใช้ข้อมือและนิ้ว ในการกด รวมทั้งต้องมองด้วย
- ประกอบของเล่น ชุดเครื่องมือช่าง ที่ต้องมีการขันน๊อต ประกอบชิ้นส่วนโดยผู้ปกครองต้องวางโจทย์ให้เด็กว่าจะทำอะไร และให้ทำง่ายๆก่อนแล้วค่อยปรับยาก
- เล่นภาพสายฟ้าแลบ โดยให้เด็กดูภาพในเวลา 2-3 วินาที แล้วเอาลง แล้วถามว่าเด็กเห็นอะไร มีอะไรในรูปบ้าง

การทำกิจกรรมถ้าจะให้ผลเร็วต้องทำบ่อย และใช้คู่กับการปรับพฤติกรรม เทคนิคที่ใช้บ่อยที่ใช้ก็คือการให้รางวัลและการลงโทษ
การให้รางวัล
-ใช้คำชม
-ให้ของรางวัล โดยมีการปรับระดับการให้รางวัลด้วย
ตอนแรก ให้รางวัลทันที เพื่อให้เด็กเห็นผลการกระทำ ซ้ำๆซัก สามสี่ครั้งติดกัน
จากนั้น เริ่มใช้วิธีการถ่วงเวลา เช่น ใช้วิธีการสะสมสติกเกอร์ เช่น ครบสามดวงให้รางวัล หลังจากนั้นเพิ่มปริมาณไปเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ควรเยอะมาก เด็กจะไม่อดทนถึงขนาดนั้น ถ้านานเกิน
ของรางวัลจะเป็นอะไรก็ได้ แล้วแต่เรา แต่ควรจะเป็นในความชอบของเด็ก จะทำให้เด็กมีความต้องการทำ หรือรักษาข้อตกลงได้มากขึ้น

การลงโทษ
- ตำหนิ
- เอาของรางวัลคืน
- ทำนอกเวลา โดยให้เด็กนั่งกอดอกเฉยๆ เป็นเวลา ห้านาที สิบนาที เป็นต้น หรือแยกตัวอยู่ในห้องคนเดียวเป็นเวลาตามอายุ ห้าขวบ ห้านาที เจ็ดขวบเจ็ดนาที เป็นต้น แต่วิธีนี้ อาจใช้ไม่ได้ผลสำหรับเด็กบางคนที่ชอบแยกตัว ต้องปรับวิธีใหม่ แต่บางครั้งอาจใช้ได้ผล เช่นเด็กกำลังเล่นกันเป็นกลุ่ม แล้วเด็กทำนิสัยไม่ดี ถ้าเราไปแยกเด็กออกมาแล้วให้อยู่ในห้องคนเดียวหรือต้องมานั่งกอดอก โดยที่เพื่อนๆยังได้เล่นกันอยู่ แบบนี้จะทำให้เด็กรู้สึกถูกลงโทษได้มาก เพราะเพื่อนได้เล่นแต่ตัวเองไม่ได้เล่น เหมาะมากกับสถานการณ์แบบนี้


กิจกรรมท่ีควรเลี่ยง
- ให้ดูทีวีนานๆ ถึงแม้จะเป็นสื่อความรู้ก็ตาม เนื่องจากร่างกายเด็กและการตอบสนองไม่เหมือนผู้ใหญ่หรือเด็กโต ดังนั้นยิ่งดูจะยิ่งมีปัญหา สมาธิยิ่งสั้นลง
- game computer
- ถ้าใช้แค่เป็นการประกอบบ้าง ก็พอไหว แต่ไม่ควรให้เป็นกิจกรรมหลัก

ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องระบบประสาทในเด็ก search google

sensory integration
eye hand coordination
token and reward
perception and cognition
short attention span

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service