เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

มารู้จักโรค LD กันเถอะคะ คุณพ่อ-คุณแม่ ทราบกันยังคะ

เด็ก LD กับบทบาททางกิจกรรมบำบัด
LD หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้
คือจะมีระดับการเรียนที่ต่ำกว่าเด็กปกติ 2 ชั้นเรียน บกพร่องทางทักษะทางด้านการอ่าน เขียน และคำนวนโดยที่ไม่ใช่สาเหตุมาจากการไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา หรือไม่ใช่เพราะทางบ้านครอบครัวแตกแยกทำให้เด็กไม่อยากเรียนไม่อยากอ่าน แต่เป็นเพราะความบกพร่องทางกด้านสติปัญญาจริงๆ เด็กเหล่านี้ระดับสติปัญญาที่ไม่ถึงขั้นปัญญาอ่อนและอาจจะต่ำแต่ก็ไม่เกินระดับคาบเส้นคือ IQ 70 - 79 , บางคนอยู่ในระดับปัญญาทึบ IQ 80 - 90 ซึ่งถือว่าไม่ใช่เด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อนจนถึงขั้นพิการตามพระราชบัญญัติผู้พิการ แต่จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มผู้พิการตาม
หลักเกณฑ์ของ สปสช. ( สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ) ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของโครงการค้นหาเด็ก LD ในโรงเรียนโดยใช้การประเมินตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดเพื่อจัดแผนการเรียนการสอนเฉพาะบุคคลและการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งแต่ก่อนเด็กในกลุ่มนี้ทางโรงเรียนจะพาไปวัดไอคิวโดยนักจิตวิทยา ซึ่งผลที่ออกมาคือเด็กมีไอคิวปกติไม่ใช่ปัญญาอ่อน แพทย์ก็จะไม่รับรองให้ว่าเป็นผู้มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ และการวัดไอคิวต้องใช้เวลานาน เมื่อเทียบกับจำนวนของเด็กที่ทางโรงเรียนคัดกรองออกมาว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง จากเหตุผล 2 ประการที่เป็นแรงผลักดันให้งานกิจกรรมบำบัดได้อาสาเข้าไปทำการคัดกรองตามกระบวนการ SI
เพื่อคัดแยกเด็ก LD ออกมา คือ
1. การขยายการรับรองความพิการจาก สปสช. ว่าให้เด็กที่มีระดับ IQ 70 - 79 นั้นเป็นผู้พิการตาม สปสช. เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือเพื่อการบำบัดฟื้นฟู และช่วยเหลือทางการศึกษาคือการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนเฉพาะบุคคลตามระดับความสามารถและปัญหาของเด็ก
2. การวัดไอคิวที่ต้องใช้เวลาที่นานพอสมควรจึงทำให้เด็กได้รับการวัดไอคิวไม่ทั่วถึง การรับรองก็ออกได้ช้าหรือขาดไป การคัดกรองตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดซึ่งใช้หลักของ SI เข้ามาจับจึงเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วเมื่อแปลผลว่าเป็น LD กุมารแพทย์ที่เห็นชอบโครงการก็จะออกเอกสารรับรองความพิการตามหลัก สปสช. ( หรืออาจจะรับรองว่าเป็น LD ตามใบความคิดเห็นของแพทย์ก็พอเพราะทางโรงเรียนต้องการแค่ใบแสดงความคิดเห็นของแพทย์ก็ถือว่าผ่านแล้ว เพราะบางทีการรับรองว่าเป็นผู้พิการตาม สปสช. นั้น
ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่พิการตาม พรบ. แต่มันก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก แค่แพทย์รับรองว่าเป็น LD ตามผลการประเมินของนักกิจกรรมบำบัดก็ถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับเด็กแล้ว เพราะทางโรงเรียนจะนำใบแสดงความคิดเห้นนี้ไปเป็นหลักฐานในการจัด IEP สำหรับเด็ก )
ปัญหาที่พบจากการดำเนินโครงการคือ การวัดตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดตามหลัก SI
คือ บางครั้งเมื่อเด็กที่มีอายุมากเช่น 9 - 10 ขวบ ซึ่งก็ถือว่าสมองได้พัฒนาการเต็มที่แล้ว การใช้ SI มาจับก็ไม่สามารถทำได้เพราะเด็กสามารถทำได้หมด คือผ่านประเมิน เพียงแต่ว่าเด็กเหล่านั้น ยังเขียน อ่าน คำนวณได้ต่ำกว่าเด็กปกติ 2 ชั้นเรียนนั่นเอง จึงมีคำถามว่า ทางกิจกรรมบำบัดจะสามารถคิดหาวิธีการคัดกรองเด็ก LD อย่างเป็นมาตรฐานได้อย่างไรบ้าง เพราะหากทำได้และเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการ บทบาทของเราก็จะเพิ่มขึ้นและมีความชัดเจนด้วย ********* ซึ่งโครงการค้นหาเด็ก LD ในตรงเรียนผู้ที่เริ่มต้นและบุกเบิกเป็นท่านแรกคือ พี่โฉมยงค์ บุตรราช นักกิจกรรมบำบัด รพ. แพร่ และผมก็ได้ไปศึกษาจากพี่โฉมยงค์ และนำไปทำโครงการที่พะเยาและก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากทางโรงเรียนระดับประถมศึกษา แต่ก็ไม่สามารถไปวัดได้ครบเพราะความจำกัดทางด้านเวลาและจำนวนบุคลากร และด้วยประสบการณ์ที่น้อยกว่า จึงทำให้มีปัญหาที่ต้องให้คิดและแก้มากมาย ในที่นี้หมายถึงการอธิบายเพื่อให้แพทย์ยอมรับในการประเมินของเรา หมายความว่าแพทย์คนนี้เข้าใจ แต่อนาคตข้างหน้าแพทย์ที่มารับช่วงต่อจะเข้าใจตรงกันหรือไม่ จึงมีความคิดว่าหากเราสามารถจัดทำแบบประเมินที่เป็นมาตรฐานตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด สามารถ วัด และแปลผลออกมาได้อย่างชัดเจน เพื่อการรับรองโดยแพทย์ คงจะเป็นการดี นอกเหนือจากการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก LD

Views: 6025

Reply to This

Replies to This Discussion

หลักการช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD)
สำหรับผู้ปกครอง/สำหรับคุณครู
เรียบเรียงโดย
ผศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
โรงพยาบาลศิริราช
สำหรับผู้ปกครอง :
1. เรียนรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับความบกพร่องในการเรียนรู้ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้คุณพ่อและคุณแม่เข้าใจลูกๆว่า เขาไม่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการเดียวกับคนส่วนใหญ่ การเรียนรู้อะไรที่เป็นสิ่งที่ยากสำหรับบุตรหลานของท่าน และมีแหล่งความช่วยเหลืออะไรบ้างที่ท่านพอจะช่วยเหลือได้ เพื่อช่วยให้ชีวิตและการเรียนรู้ง่ายขึ้นสำหรับลูก
2. ค้นหาสิ่งที่ช่วยบอกให้ท่านรู้ว่าบุตรหลานของท่านเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่ง เช่น โดยการมอง การฟัง หรือการสัมผัส อะไรเป็นวิธีที่เป็นจุดอ่อนที่สุดของลูกของท่านในการเรียนรู้ ควรกระตุ้นให้ลูกเกิดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่ใช้ประสาทสัมผัสหลายๆด้านรวมกัน
3. มุ่งให้ความสนใจไปยังสิ่งที่เด็กสนใจ ความเฉลียวฉลาด ความสามารถพิเศษและทักษะต่างๆที่ลูกของพ่อแม่มี ซึ่งจะช่วยได้มากในการสร้างแรงจูงใจ และสนับสนุนให้บุตรหลานของพ่อแม่เกิดการเรียนรู้ที่ราบรื่น
4. สอนโดยอาศัยจุดเด่นหรือวิธีการที่บุตรหลานของท่านถนัดและทำได้ดี เช่น ถ้าลูกสามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดีเมื่อฟังข้อมูลเหล่านั้น ขอให้ใช้ประโยชน์จากจุดเด่นของลูก แทนที่จะเคี่ยวเข็ญให้เด็กอ่านมากๆ ควรปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้ข้อมูลใหม่จากการฟังข้อความจากเทปบันทึกเสียงที่อ่านเรื่องราวในหนังสือเล่มนั้น หรือให้ดูวิดีทัศน์หรือวิดีโอเทปแทน
5. ให้เกียรติและกระตุ้นให้เด็กใช้สติปัญญาตามธรรมชาติของเด็ก เด็กอาจมีปัญหาในการอ่านหรือการเขียน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การเรียนรู้ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งมีอีกมากมาย เด็กส่วนใหญ่ที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้มีระดับสติปัญญาปกติหรือสูงกว่าปกติซึ่งจะช่วยให้เขาสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดี
6. สิ่งที่ควรคำนึงที่สุดและจงจำไว้เสมอคือ ความผิดพลาดไม่ใช่ความล้มเหลว ลูกมีแนวโน้มที่จะมองความผิดพลาดของตนเองเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ คุณแม่คุณพ่อสามารถที่จะเป็นแบบอย่างโดยการยอมรับความผิดพลาดของตนเองอย่างมีอารมณ์ขัน ชี้ให้เด็กเห็นว่าความผิดพลาดนั้นสามารถจะนำมาเป็นประโยชน์ได้เช่นกัน เป็นการเรียนรู้ที่จะไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำอีก จะช่วยให้เด็กได้เกิดการแก้ปัญหาของตนเองด้วยวิธีใหม่ ความผิดพลาดเหล่านั้นไม่ใช่จุดจบของโลก
7. ควรตระหนักไว้เสมอว่าอาจจะมีบางสิ่งบางอย่างที่บุตรหลานของท่านจะไม่มีวันทำได้ หรือจะมีปัญหาการทำเช่นนี้ไปจนตลอดชีวิต โปรดช่วยให้ลูกๆของท่านเข้าใจว่า การที่เป็นเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าเขาคือผู้ล้มเหลว และให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกของพ่อแม่จะทำได้
8. โปรดตระหนักว่าการพยายามเคี่ยวเข็ญให้บุตรหลานของท่านอ่าน เขียน หรือ ทำการบ้านให้ได้ ทั้งๆที่เป็นสิ่งที่เขาทำไม่ได้ อาจนำไปสู่สถานการณ์ที่มีความขัดแย้งสูง ซึ่งจะลงท้ายด้วยความเครียด ความโกรธ คับข้องใจ
9. เข้าร่วมประชุมกับทางโรงเรียน พยายามผลักดันให้มีการจัดโปรแกรมการศึกษารายบุคคล (individualized educational plan – IEP) ให้กับลูก และแบ่งปันประสบการณ์ของคุณให้คุณครูได้ทราบว่าคุณใช้การสอนวิธีใดที่บ้านที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุด
10. โปรดดูให้แน่ใจว่าหนังสือที่ลูกอ่านตรงกับระดับความสามารถในการอ่านของลูก ส่วนใหญ่เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้จะอ่านหนังสือได้ในระดับที่ต่ำกว่าระดับชั้นเรียนของตน ดังนั้นเพื่อที่จะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการอ่าน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เด็กจะต้องมีหนังสืออ่านที่ตรงกับระดับความสามารถในการอ่านของเด็ก
11. สนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของเขา มองหาดูว่าลูกของท่านเก่งในเรื่องใด มีอะไรที่เขาชอบหรือสนุกสนานกับสิ่งนั้นเป็นพิเศษบ้าง ควรสนับสนุนให้เขามีโอกาสประสบความสำเร็จและค้นพบความสามารถที่เขาจะแสดงออกได้อย่างภาคภูมิ
12. ไตร่ตรองความคาดหวังของพ่อแม่และปรับให้อยู่ในความเป็นจริงเป็นระยะๆ
13. ส่งเสริมและเข้าร่วมในชมรมผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือให้เด็กที่มีปัญหาเช่นเดียวกัน
สำหรับคุณครู
1. รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือนถึงความบกพร่องในการเรียนรู้ กล่าวคือเด็กแสดงความยากลำบากในการอ่าน การเขียน การคำนวณ ความจำ ความตั้งใจ สมาธิ ทักษะการจัดการ การทำงานประสานกันของร่างกาย และพฤติกรรมทางสังคม เด็กที่เป็น LD มักจะเป็นเด็กมีผลการเรียนไม่ดีทั้งๆที่เด็กแลดูเฉลียวฉลาด
2. เข้าร่วมในการฝึกอบรมหรือการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือโปรแกรมพัฒนาบุคลากรต่างๆ ครูต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอเพื่อพัฒนาทักษะทางการสอนและแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับบรรดาครูด้วยกัน รวมทั้งขอความช่วยเหลือจากองค์กรที่มีผู้เชี่ยวชาญ และนักการศึกษาพิเศษสำหรับความบกพร่องในการเรียนรู้
3. วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน สังเกตติดตามความสามารถและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักเรียนแต่ละคน
4. พัฒนาเทคนิคการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ควรใช้เทคนิคหรือนวัตกรรมเพื่อดึงความสนใจของเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้และต้องปรับปรุงโอกาสในการเรียนรู้ของเด็กด้วยการจัดเตรียมการเรียนการสอนรายบุคคล (individualized educational plan - IEP)
5. เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้มักจะมีความยากลำบากในการดึงความคิดรวบยอด และการติดต่อสื่อสารในชั้นเรียนมากกว่าเด็กคนอื่น ปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย และความสามารถของเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้
6. จัดเตรียมโครงสร้างของการเรียนรู้ การพัฒนานิสัยการทำงาน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ต้องสอนให้เด็กได้สังเกตความก้าวหน้าและจัดระเบียบเวลา และความพยายามที่ใช้ในการทำงานแต่ละอย่าง
7. พยายามสร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ โดยมองหาจุดดี จุดแข็งของเด็กและให้คำชมอยู่เสมอ
8. ประชุมกับผู้ปกครองเพื่ออภิปรายปัญหาของเด็กที่โรงเรียนร่วมมือกับผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในการให้การศึกษาพิเศษหรือการศึกษารายบุคคลกับเด็ก และแนะนำกลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้ในระหว่างสุดสัปดาห์หรือในช่วงวันหยุดได้
9. ทำความเข้าใจกฎหมายและขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการศึกษาพิเศษหรือโปรแกรมการศึกษารายบุคคล เป็นกระบอกเสียงให้กับเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้รักษาสิทธิของเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ในฐานะที่เด็กเป็นสมาชิกของชุมชน โรงเรียน
10. คุณครูสามารถทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของทางโรงเรียนในการช่วยเหลือเด็ก ปรับให้เกิดความยืดหยุ่นในกระบวนการสอนในชั้นเรียน ใช้ประโยชน์จากสื่อวัสดุที่มีลักษณะตรวจสอบคำตอบได้ด้วยตนเอง ซึ่งช่วยให้เด็กได้รับผลย้อนกลับหรือได้ข้อมูลป้อนกลับทันทีทันใดโดยไม่ต้องรู้สึกอับอายคนอื่น ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับฝึกทักษะและฝึกปฏิบัติต่าง ๆ รวมทั้งสอนให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์แบบประมวลคำ
11. ให้การเสริมแรงทางบวกต่อเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ เมื่อแสดงทักษะทางสังคมที่เหมาะสมทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
คุณครูควรเข้าใจว่าการที่นักเรียนที่มีภาวะ LD ได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษนั้น ไม่ได้หมายความว่านักเรียนผู้นั้นมีอภิสิทธิ์เหนือนักเรียนคนอื่น เพียงแต่ว่าเขามีความพิการทางสมองอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างออกไป เปรียบเสมือนนักเรียนที่มีความพิการทางสายตาที่จำเป็นต้องเรียนรู้โดยการใช้อักษรเบรลล์

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service