เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ต้นไม้และดวงจันทร์'s Comments

Comment Wall (142 comments)

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

At 3:34am on December 5, 2009, มาริสา said…
ขอบคุณมากค่ะ น้องไทคิก็น่ารักค่ะ ชอบเด้กญี่ปุ่นอยู่แล้วน่ารักดี
ชิ่อพี่เล็ก ลูกสองคนน้องล้อกกี้กับน้องแมทธิวนะคะลูกครึ่งออสเตรเลียค่ะ
ซนมากๆ
ยินดีที่ได้รู้จักนะคะแล้วยังไงคุยกันใหม่ค่ะ :)
At 10:07am on November 8, 2009, Tao's mamy รักในหลวง said…
บ่เป็นหยังดอกค่า ... ช่วงนี้ที่มีเวลาเข้ามาบ่อยๆ ก็เพราะไม่ค่อยมีงานเข้า แงแง TT TT
ถ้าช่วงไหน เงียบไป ก็แสดงว่ากำลังรับทรัพย์อยู่ งานเข้า! แฮ่ๆ
At 3:12pm on November 1, 2009, mamychi said…
มาแล้วจ๊ะ Konnikiwka ไม่ได้เข้ามานานเหมือนกันค่ะ
บายดีนะคะ
At 11:07am on October 28, 2009, Tao's mamy รักในหลวง said…
(พิมพ์ใน word เวลาcopyมาโพสต์ ที่พิมพ์สีแดง ตัวหนา หรือขีดเส้นใต้มันจะไม่เห็น อ่านยากมั้ยคะ)

นิทานไวยากรณ์
เมียของเศรษฐี Tense คนที่หนึ่งซึ่งชื่อว่า Simple มีลูกสาว 3 คน
ลูกคนโตชื่อ Past Simple
คนรองชื่อ Present Simple
ส่วนคนสุดท้องชื่อ Future Simple
3 คนนี้มีธรรมชาติพื้นฐานอย่างเดียวกันกับแม่ คือ ซื่อและง่าย ชอบทำอะไรตรงไปตรงมาแบบ Simple Simple
ลักษณะเฉพาะของคนโตคือ ชอบพูดถึงเรื่องในอดีตที่ห่างไกล วาจาที่ใช้ สุภาพอ่อนหวาน แต่ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง
คนกลางสนใจเรื่องใกล้ตัว เป็นคนทันสมัย สนิทสนมเป็นกันเองกับคนง่าย มีความมั่นใจในตัวเองสูง
น้องคนเล็กได้ฉายาว่า เป็นน้องนางแห่งอนาคต เวลาจะทำอะไรชอบผัดผ่อนไปก่อนว่า “วันหลัง” เป็นคนชอบตั้งเงื่อนไข
ธรรมชาติหรือสันดานของ The Simple Tense
คือความเป็น simple ส่วน “เวลา” อดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต เป็นเพียงกรอบของฉากหลังที่ธรรมชาติของ Tense ในกลุ่มนี้ได้ใช้เป็นเวทีแสดงบทบาทของมันออกมาเท่านั้นเอง
Tense ในกลุ่มแรกนี้มี 3 Tense ได้แก่ Past Simple / Present Simple / Future Simple
แม้จะต่างกันที่ความเป็น Past , Present , Future แต่ธรรมชาติของความเป็น Simple ของมันยังคงเป็นลักษณะร่วมที่สำคัญ
Present Simple Tense (Subject + V1)
มาเริ่มที่ Present Simple กันก่อน เนื่องจากเป็น Tense พื้นฐานที่เราต้องเผชิญหน้ากับมันอยู่เสมอ เมื่อต้องไปอยู่ในสถานการณ์การใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตจริง
โครงสร้างไวยากรณ์ง่ายมาก หน้าตาของมันช่างแสนซื่อสมกับชื่อของมันนั่นแหละ S + V1
ตัวอย่าง
Hi, how are you today?
I am fine. Thank you, and you?
I am fine. Thank you.
Now, Let me introduce my friend, his name is Doembang.
Hi, how do you do?
Hi, how do you do?
Doembang, this is my friend, her name is Klangjai.
นี่เป็นประโยคธรรมดาๆ ใช้พูดคุยกันซึ่งหน้า ขณะที่พูดเลย รูปกริยาที่ใช้ก็เหมือนชื่อของมัน คือมีความเป็น Present (ปัจจุบัน) และมีความเป็น Simple (ง่าย) เป็นคุณสมบัติประจำตัว
ตัวอย่างต่อไป
I often come to visit Plaifa.
I always wake up early.
What time do you usually get up?
I get up at 6 o’clock every morning.
How often do you go to the cinema?
I go to the cinema twice a month.

Do you seldom go to the class?
Yes, I do.
Wow! So do I.
เอาละ ประโยคข้างบนนี้ไม่ได้เป็นเหตุการณ์เฉพาะตอนนี้ ขณะนี้หรือวันนี้แล้ว เห็นไหม?
เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดครอบคลุมไปถึงวันอื่นๆ เดือนอื่นๆ ปีอื่นๆ ด้วย บางเหตุการณ์เกิดขึ้นบ่อยๆ หรือเกิดเป็นประจำ บางเหตุการณ์ก็กระทำเป็นนิสัย สังเกตได้จากคำกริยาวิเศษณ์บอกเวลาที่ใส่มาในประโยคขยายความ
นี่แสดงว่าเหตุการณ์ดังกล่าวนอกจากจะมีความเป็นจริงในปัจจุบันแล้ว ยังมีการครอบคลุมไปถึงเวลาในอดีตคือวันก่อนๆ เดือนก่อน หรือปีก่อนๆ ด้วย แถมยังรวมไปถึงวันหน้า เดือนหน้า หรือปีหน้าในอนาคตอีก โดยที่ข้อเท็จจริงของบางเหตุการณ์ก็ยังไม่รู้ว่าจะไปสิ้นสุดลงเมื่อใด
คำว่า often (บ่อยๆ) always (เสมอๆ) usually (โดยปกติ) every morning (ทุกๆเช้า) twice a month (สองครั้งต่อเดือน) และ seldom (นานๆครั้ง) เป็นตัวอย่างกริยาวิเศษณ์ที่มักจะพบเห็นอยู่ ในประโยคแบบ Present Simple Tense จนเป็นเรื่องปกติธรรมดา
ทีนี้มาดูประโยคต่อไป
I’m Thai.
My name is Plaifa.
I’m a student.
I live in Bangkok.
I love Thailand very much.
ทั้งหมดนี้บอกเราว่า นี่เป็นเหตุการณ์ที่เป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน แม้ไม่มีกริยาวิเศษณ์บอกเวลาก็สามารถรู้ได้ว่า ข้อเท็จจริงทุกอย่างยังเป็นจริงอยู่ในปัจจุบันนี้ โดยสามัญสำนึกแล้วไม่มีความจำเป็นต้องถามว่า “เมื่อไร” เพราะถ้าถามมาก็จะได้คำตอบกลับไปว่า อ๋อ...ก็ตอนนี้นะสิเธอ ตอนนี้แหละที่ฉันเป็นคนไทย ตอนนี้แหละที่ฉันชื่อปลายฟ้า
ข้อเท็จจริงเหล่านี้ แม้จะมีความเป็นจริงที่ครอบคลุมขอบเขตของเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน แต่ที่สำคัญคือในปัจจุบันนี้ ในตอนนี้ สิ่งที่ฉันพูดออกมานี้คือ ข้อเท็จจริง
เป็นข้อเท็จจริง...ที่เห็นและเป็นอยู่
เอาละ คราวนี้ขยายขอบเขตไปอีกขั้น ตัวอย่างต่อไปนี้จะชี้ให้เห็นว่ากริยารูป Present Simple ใช้บรรยายถึงเรื่องราวอันเป็นข้อเท็จจริง...ที่เห็นและเป็นอยู่ โดยทั่วไปอย่างเต็มที่ มีความแจ้งชัดปราศจากข้อกังขายิ่งกว่าประโยคที่ผ่านมาเสียอีก
The sun rises in the east and sets in the west.
Doi Suthep temple is in Chiangmai.
Paris is in France.
Birds fly.
Buffaloes eat grass.
Fishes swim in the water.
Water flows.
Fire is hot.
Ice is cold.
Fishes do not eat stars.
ประโยคพวกนี้เป็น Fact เช่นเดียวกัน มันเป็นของมันมาอย่างน้น เวลาพูดประโยคพวกนี้ ไม่มีใครสนใจถามหรอกว่า เมื่อไร?
สิ่งสำคัญที่เขาสนใจคือ ความเป็นข้อเท็จจริงของมัน หาใช่เรื่องเวลาไม่
เชื่อหรือยังว่าสิ่งสำคัญซึ่งเป็นหัวใจของ Present Simple Tense นั้นคือ ความเป็น FACT..เป็นข้อเท็จจริงที่เห็นและเป็นอยู่
แม้ เวลา ของความเป็นปัจจุบันจะเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของ Present Simple แต่เวลาก็ไม่ใช่สาระสำคัญของ Tense นี้เสมอไป ในบางสถานการณ์เราไม่สนใจหรือให้ความสำคัญกับเรื่องเวลาเลย
ตัวอย่างต่อไป จะแสดงให้เห็นว่า Present Simple เน้นที่ Fact หรือ ข้อเท็จจริง อย่างเด่นชัด และไม่จำเป็นเสมอไปด้วยว่า Tense นี้จะต้องใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (แม้ว่าส่วนใหญ่จะป็นอย่างนั้นก็ตามที)
The flight leaves Chiangmai for Bangkok at 6.00 pm tomorrow.
เห็นคำว่า Tomorrow ไหม มันแปลว่า พรุ่งนี้
เหตุการณ์นี้เป็นอนาคตชัดๆ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแต่อย่างใด
ที่เราสามารถใช้รูปกริยา Present Simple มาพูดได้เพราะเราสนใจที่ข้อเท็จจริง
นี่เป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอน มันจะต้องเป็นเช่นนี้ มันไม่อยู่ในวิสัยที่ใครจะเปลี่ยนแปลงได้และก็ไม่มีใครคิดที่จะไปเปลี่ยนมันด้วย เที่ยวบินนี้จะออกจากสนามบินเชียงใหม่ไปกรุงเทพ และออกตอน 6 โมงเย็นพรุ่งนี้
ผู้พูดมองและคิดไปที่ความแน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น จึงเลือกใช้รูปกริยาของ Present Simple มาบรรยายบอกเรื่องราว
หรือ Tomorrow is Sunday.
คำว่า Tomorrow ก็เห็นอยู่ทนโท่แล้วว่าเป็นพรุ่งนี้ เป็นเหตุการณ์อนาคตไม่ใช่ปัจจุบัน แต่ที่ใช้รูปกริยา Present Simple ได้ เพราะมันเป็นข้อเท็จจริง และมีความแน่นอน ถ้าขณะที่พูดเป็นวันเสาร์ วันพรุ่งนี้จะต้องเป็นวันอาทิตย์อย่างแน่นอน ไม่มีใครเถียง
Past Simple Tense (Subject + V2)
ธรรมชาติของ Past Simple คล้ายกับ Present Simple มาก เนื่องจากมันอยู่ในครอบครัว Simple Tense เช่นเดียวกัน นั่นคือ...
ใช้บรรยาย Fact หรือข้อเท็จจริง ที่เป็นเหตุการณ์เดี่ยวที่สมบูรณ์ในตัวเอง
แน่ะ...มีคำจำกัดความใหม่เพิ่มมาอีกแล้ว
อะไรคือเหตุการณ์เดี่ยวทีสมบูรณ์ในตัวเอง?
เหตุการณ์เดี่ยวที่สมบูรณ์ในตัวเองเป็นอย่างไร?
เพื่อความเข้าใจอย่างเห็นภาพ ขอแนะนำให้นึกถึงกริยาทุบกำปั้นลงบนดิน เมื่อเอ่ยถึงเหตุการณ์ใดที่เราเลือกบรรยายด้วยประโยคแบบ Simple
ตุ๊บ...นี่ไง...ข้อเท็จจริง มันเป็นอย่างนี้
สื่อสารตรงไปตรงมา ไม่มีอาการอ้อยอิ่งยุ่งยาก ให้ข้อมูลเด็ดขาดจบสิ้นไปทีเดียว บอกแล้วจบเลย ไม่สนใจกับรายละเอียดในเรื่องความต่อเนื่องหรือความสิ้นสุดของเหตุการณ์ (อย่างที่ประโยคแบบ Continuous และ Perfect ให้ความสนใจ)
โดยปกติทั่วไป เมื่อพูดถึง Past simple เรามักจะนึกถึงคุณสมบัติในด้านเวลาที่เป็นอดีตของมัน
นั่นคือเรามักใช้ Tense นี้เพื่อการบอกเล่าเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา เช่น
Christopher Columbus discovered America in 1492.
John swam in the river everyday when he was a child.
When I was young, I loved Sanimsoy very much but now I love Natalie.
I lived in Bangkok for 5 years. (I no longer live there.)
Sanimsoy went to Italy 3 years ago.
ประโยคเหล่านี้เป็นการพูดถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต มันได้เกิดและจบไปแล้ว มันผ่านพ้นไปแล้ว เป็นการมองเหตุการณ์ในแง่ของ “เวลา” ที่อยู่ห่างจากความเป็นปัจจุบัน
นี่คือคุณลักษณะอันสำคัญของประโยคในรูป Past simple
นี่คือข้อเท็จจริงที่ผ่านพ้นจบสิ้น
เวลาที่เจอรูปประโยคแบบ Past simple สิ่งที่น่าจะผุดขึ้นมาในความคิดเป็นอันดับแรกเลยคือ เหตุการณ์นั้นมันเคยเกิดขึ้นและได้ผ่านพ้นไปแล้ว เป็นเรื่องในอดีตไปแล้ว ห่างไกลจากตอนนี้ ปัจจุบันนี้ (ในความรู้สึกของคนพูด)
ถามว่า..แค่นี้สรุปได้หรือยัง?
คำตอบคือ ..จะสรุปก็ได้นะ
แต่ว่า...ควรเผื่อใจไว้บ้างสำหรับบางกรณี อย่าใช้วิธีปิดประตูตาย
เพราะการยึดติดที่ “เวลา” อันเป็นข้อเท็จจริงของ Past simple โดยไม่สนใจสิ่งอื่น อาจก่อให้เกิดความสับสนงงงวยได้ในบางกรณี
มีบ้างเหมือนกันที่เขานำเอากริยาช่อง 2 ของ Past simple มาใช้กับเหตุการณ์ซึ่งหน้าในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่เหตุการณ์นั้นไม่เกี่ยวข้องกับอดีตแต่อย่างใด
ตัวอย่าง
Can you tell me the time?
Could you tell me the time?
ประโยคทั้งสองนี้เป็นประโยคที่เจ้าของภาษาใช้พูดเพื่อถามเวลาคนที่มีนาฬิกาบนข้อมือ มีความหมายอย่างคร่าวๆ ที่คล้ายกันมากคือ
ช่วยบอกหน่อยว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว
ขอแจ้งให้ทราบว่า ในความรู้สึกของผู้พูดและผู้ฟังที่เป็นเจ้าของภาษา ประโยคหลังมีความสุภาพกว่าประโยคแรกประมาณสามเล่มเกวียน
ทำไมจึงสุภาพกว่า ทราบไหม?
เพราะมันเป็นความสุภาพที่ติดมากับธรรมชาติของกริยาช่อง 2 แบบ Past simple อันได้แก่ could นั่นเอง
Could you tell me the time?
ประโยคนี้มีโครงสร้างเป็นอดีต คือกริยา could ช่อง 2 แต่ผู้พูดกลับใช้พูดกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เป็นการถามกันซึ่งหน้า ไม่มีอะไรบอกว่าเกี่ยวข้องกับอดีตเลย
งงใช่ไหม?
ถ้างง โปรดรับข้อมูลใหม่ แล้วคิดตาม
ข้อมูลใหม่ที่ควรทราบคือ Past simple มีธรรมชาติของ “ความห่าง” อีกอย่างหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับ “เวลา” เขาเรียกว่าเป็น “ความห่าง” ในด้านความสัมพันธ์ ของคนกับคน (และในทางตรงกันข้าม Present Simple จะอบอวลไปด้วยบรรยากาศของ “ความใกล้”)
คำอธิบายขยายความก็คือ
การเลือกใช้ระหว่างประโยคว่า Can you tell me the time? ซึ่งเป็น Present Simple หรือ Could you tell me the time? ซึ่งเป็น Past simple นั้น ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้พูดที่มีต่อคนที่เขาพูดด้วยเป็นสำคัญ ไม่เกี่ยวกับเวลาแต่อย่างใด
เมื่อผู้พูดต้องการสื่อสารด้วยการใส่ความสุภาพมากับภาษาผ่านรูปกริยา เขาจะเลือกใช้ Could you tell me the time? แทนที่จะใช้ Can you tell me the time?
เรื่องนี้สามารถอธิบายได้ด้วยหลักอันเป็นธรรมชาติของการใช้ภาษาในสังคมของมนุษย์คือ คนที่มีความสัมพันธ์ห่างเหิน คนที่ยังไม่รู้จักคุ้นเคยสนิทสนม คำพูดที่ใช้ต่อกันมักจะมีความสุภาพสูง (เช่น ดิฉัน คุณ โปรด กรุณา ) และในทางตรงข้าม คนที่มีความสนิทสนมเป็นกันเอง มักจะพูดจาด้วยภาษาชนิดเป็นกันเอง ไม่เป็นทางการ ความสุภาพของภาษามักจะน้อยลง (เช่น กู เอ็ง มึง ข้า วะ เว้ย)
ฉะนั้น หากผู้ใดรู้สึกเป็นกันเองใกล้ชิดสนิทสนมกับคนที่เขาพูดด้วย เขาก็จะเลือกใช้กริยา Present simple ที่มีธรรมชาติของความใกล้ชิดสนิทสนมเป็นกันเองคือ Can you tell me the time? (บอกหน่อยสิว่ากี่โมงแล้ว)
แต่ถ้าเขารู้สึกถึงความห่างไกล ไม่สนิทสนม เขายังไม่รู้จักคนๆนั้นดีนัก หรือเป็นคนแปลกหน้า ก็จะเลือกใช้ประโยคว่า Could you tell me the time? ซึ่งมีธรรมชาติของความห่างในด้านความสัมพันธ์ (Relationship)
ผลที่ตามมาก็คือเกิดความสุภาพอ่อนโยน (Politeness) ของภาษาโดยอัตโนมัติ (ผ่านมาทางรูปของกริยา ที่เป็น Past simple)
ยังไม่จบแค่นี้ กริยาช่อง 2 ของประโยคแบบ Past simple ยังนำไปใช้สื่อความหมายถึงความห่างอย่างที่สามด้วยอีกหนึ่งกรณี คือ “ความห่าง” ในแง่ของความแน่นอน (Certainty)
โดยธรรมชาตินั้น สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ใกล้มือ ใกล้ใจ มักจะทำให้เรารู้สึกมั่นใจ ให้ความรู้สึกแน่นอนสูงกว่าสิ่งที่อยู่ไกลห่าง ฉะนั้น เวลาเลือกใช้ Tense ในการสื่อสาร ผู้พูดจะเลือกใช้กริยาแบบ Present simple กับเหตุการณ์ที่เขารู้สึกว่ามีความใกล้ (ในแง่ความแน่นอน) ให้ความรู้สึกถึงความมั่นใจที่สูง แต่จะใช้ Past simple เมื่อเขารู้สึกว่ามีความแน่นอนหรือมีความมั่นใจที่น้อยกว่า (เหมือนอยู่ห่างไกลไม่ค่อยมีหวัง)
เช่น เมื่อหนุ่มเดิมบางถามสาวกลางใจว่า
Will you come to my house tomorrow? หากกลางใจไม่ค่อยแน่ใจนักว่าจะมาหรือไม่ กลางใจอาจเลือกตอบได้ 2 แบบ ตามความรู้สึกในใจเธอคือ I may come หรือ I might come.
ทั้งสองประโยคแปลเป็นไทยคล้ายกันคือ ฉันอาจมา แม้คำว่า”อาจ” จะแสดงถึงความไม่มั่นใจเต็มร้อยว่าจะทำสิ่งนั้นคล้ายๆ กัน แต่ระดับของความมั่นใจระหว่าง I may come กับ I might come. นี้ก็ยังแตกต่างไม่เท่ากัน ลดหลั่นกันไปตามดีกรี
ถ้ากลางใจตอบแบบแรกว่า I may come. แสดงว่าเธอมีความรู้สึกมั่นใจสูงกว่าการตอบแบบหลังว่า I might come.
ทำไม? จึงเป็นเช่นนี้
เพราะ I may come. เป็นประโยค Present simple ใช้กริยาช่อง 1 คือ may
ส่วน I might come. เป็นประโยครูป Past simple ใช้กริยาช่อง 2 คือ might
ประโยคแบบ Present simple มีคุณสมบัติของความใกล้-ในแง่ความแน่นอนโดยธรรมชาติ ผลคือ รูปกริยาจะสื่อความหมายว่าผู้พูดมีความมั่นใจสูงกว่า ว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้น ส่วน Past simple มีคุณสมบัติของความห่าง-ในแง่ความแน่นอนโดยธรรมชาติ ผลคือ รูปกริยาจะสื่อความหมายว่าผู้พูดมีความมั่นใจต่ำ หรือขาดความแน่นอน
สรุป
Past Simple Tense Present Simple Tense
ความห่าง ความใกล้
1.ห่างในแง่เวลา.. 1.ใกล้ตัวในแง่เวลา..
เก่าแล้ว มีความสดใหม่
เป็นอดีต เป็นปัจจุบัน
2.ห่างในแง่ความแน่นอน.. 2.ใกล้ในแง่ความแน่นอน..
ไม่ค่อยมั่นใจ มีความมั่นใจสูง
3.ห่างในแง่ความสัมพันธ์.. 3.ใกล้ในแง่ความสัมพันธ์..
สุภาพอ่อนโยน เป็นกันเอง ไม่สุภาพนัก
ข้อสรุปไม้ตาย
การเลือกว่าจะใช้ Tense แบบใดในการสื่อสารคือ ให้ดูที่ความคิดและความรู้สึกของผู้พูดต่อเหตุการณ์นั้นๆ เป็นสำคัญ แล้วจึงค่อยเลือกใช้ Tense ให้สอดคล้องกันตามสันดานของ Tense นั้นๆ ที่เลือกมา
Sanimsoy was in Los Angeles 5 years ago. (ห่างไกลทางด้านเวลา)
Now she is in Udornthani. (ใกล้ทางด้านเวลา)
Can you show me the way? ช่วยบอกทางให้หน่อยได้ไหม (ผมถามสนิมสร้อย สุภาพน้อย ใกล้ทางด้านความสัมพันธ์เป็นกันเอง)
Could you show me the way? กรุณาบอกทางให้หน่อยได้ไหมครับ (ระหว่างอยู่ต่างประเทศ ผมเกิดพลัดหลงทางจึงถามทางคนที่นั่น มีความสุภาพมาก ห่างทางด้านความสัมพันธ์)
Would you pass me the pen? กรุณาส่งปากกาให้ด้วยครับ (สุภาพมาก คนมาติดต่อเรื่องซื้อหนังสือ ไม่รู้จักกันมาก่อน)
Will you pass me the pen? ช่วยส่งปากกาให้หน่อย (สุภาพน้อย เสียงแบบนี้สงสัยจะเป็นเดิมบางเพื่อนซี้แน่ๆ)
I could come with you. ฉันสามารถไปกับเธอได้ (มั่นใจน้อย)
I can come with you. ฉันสามารถไปกับเธอได้ (มั่นใจมาก)
What would you like to drink? คุณอยากดื่มอะไรคะ หรือเวลาบอกใครว่าอยากได้อะไรอย่างสุภาพ เช่น
I would like a cup of coffee. ฉันอยากได้กาแฟสักหนึ่งถ้วยค่ะ
ก็คงเข้าใจแล้วนะ ว่าทำไมจึงเลือกใช้ would แทนที่จะใช้ will
Future Simple Tense (Subject + will + V (infinitive)
Tense นี้ไม่มีอะไรยุ่งยากถ้าหากทำตามความนิยมสมัยใหม่ เพียงเอา will มาวางหลังประธานแล้วต่อด้วยรูปกริยาแบบพื้นๆ ที่ยังไม่ได้ผันใดๆ ทั้งสิ้น (infinitive) ก็จะได้ประโยคใช้สื่อความหมายถึงเหตุการณ์ในอนาคนที่เราต้องการจะบอกทันที (โดยไม่มีความจำเป็นต้องใช้ shall ตามประธาน I หรือ we แบบเก่าเลย) เช่น
I will open the window. It’s too dark here.
She will help me doing my work.
If you invite him, he will come.
I will make some tea. Do you want some?
นี่เป็นหลักที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องมีตัวเลือกให้ยุ่งยาก เป็นกฎไวยากรณ์สมัยใหม่ที่พวกอเมริกันและอีกหลายชาติทั่วโลกขอบใช้ ไม่ว่าประธานจะเป็นอะไร จะใช้ will เป็นกริยาในทุกกรณี หากเดินตามหลักไวยากรณ์แบบเก่าของอังกฤษแล้ว ประธาน I หรือ we ต้องใช้กริยาช่วยว่า shall แทน will แบบประธานตัวอื่นๆ เช่น
I shall open the window. It’s too dark here.
If you invite me, I shall come.
We shall go to see the movie.
ในกรณีของการเลือกใช้ will กับประธานทุกตัวตามหลักสมัยใหม่นอกจากเหตุผลในเรื่องของ “ความนิยม” ของคนส่วนใหญ่แล้ว ผลดีตามมาที่จะได้คือ “ความง่าย” ของการใช้ในโลกความเป็นจริง
ในบางสถานการณ์หากใช้ shall เป็นกริยาช่วยมาผูกประโยค ความหมายของประโยคดังกล่าวอาจไม่ได้สื่อถึงความเป็นอนาคนอย่างกรณีของ will ก็ได้ เช่น
Shall I visit you this evening? ผมไปเยี่ยมคุณเย็นนี้ได้ไหม
Shall we go to the cinema tonight? คืนนี้เราไปดูหนังกันไหม
จะเห็นว่าความหมายแท้ๆ ของ2ประโยคนี้ ผู้พูดไม่ได้ต้องการจะสื่อถึงความเป็นอนาคต แต่ใช้ในความหมายของการขออนุญาต และความความเห็นหรือชักชวน
ฉะนั้น หากต้องการจะใช้ Tense นี้สื่อความหมายถึงการกกระทำหรือเหตุการณ์ในอนาคต การใช้ will กับประธานของประโยคทุกตัวเลย จะง่ายกว่า และไม่ต้องกลัวพลาด ที่ยิ่งง่ายกว่าเดิมและปลอดภัยแน่ๆ ว่าไม่มีทางผิดก็คือ แทนที่จะพูดหรือเขียนด้วยคำว่า will เต็มๆ ก็ใช้รูปย่อแบบมี Apostrophe เลยทุกตัว แบบนี้...
I’ll open the window.
She’ll help me doing my work.
If you invite him, he’ll come.
I’ll make some tea. Do you want some?
การใช้รูปย่อนี้นอกจากไม่พลาดแล้วยังง่ายและเป็นที่นิยมมากกว่าการเขียน will แบบเต็มๆ ด้วยซ้ำ (We shall ก็ย่อว่า We’ll และ I shall ก็ย่อว่า I’ll ) การใช้รูปย่อและออกเสียงตามนี้จะเป็นที่นิยมทำกันมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาพูด
การใช้ will แบบเต็มๆ คำ
บ่อยครั้งที่เขามักจะใช้เพื่อสื่อความถึง ความตั้งใจอันแน่วแน่เด็ดเดี่ยว มากกว่าที่จะให้หมายถึงความเป็นอนาคน โดยจะใช้วิธีเน้นตัว WILL ในน้ำเสียงที่พูดอย่างหนักแน่นชัดเจนเป็นพิเศษ เช่น
I WILL climb to the top of that mountain.
I WILL speak English fluently in one year.
I WILL love you forever.
I WILL do it. I promise.
ขอสรุปพร้อมยืนยันว่า Future simple ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตโดยทั่วๆ ไป นึกอะไรขึ้นมาได้ในความคิดก็แสดงเจตนาออกไปว่าจะทำ มักไม่ค่อยได้เตรียมการเอาไว้ล่วงหน้า หรือไม่เช่นนั้นก็มันใช้กับกรณีที่มีเงื่อนไข เพราะว่าเหตุการณ์ในอนาคตเป็นเรื่องไม่แน่นอน เช่น
If you invite me, I will come.ถ้าเธอเชิญ ฉันก็จะมา
If it rains, I won’t go.ถ้าฝนตก ฉันก็จะไม่ไป
If you behave badly, I will get a new girlfriend. ถ้าเธอทำนิสัยไม่ดี ฉันก็จะมีแฟนใหม่ด้วยนะเออ
(ถ้าเหตุการณ์อะไรที่จะเกิดแน่ๆ ในอนาคต เป็นเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุม ที่เราไม่อาจไปเปลี่ยนแปลง หรือไม่สนใจที่จะไปเปลี่ยนแปลงมัน เราจะใช้ Present simple นะ ..อย่าลืม)


นิทานไวยากรณ์
เมียคนที่สองของเศรษฐี มีชื่อว่า Continuous เธอเป็นคนที่ Active มาก กระปรี้กระเปร่า คึกคักไม่อยู่นิ่ง ทำอะไรก็จะแสดงให้เห็นจริง เป็นคนละเอียดอ่อน พิถีพิถัน ชอบเน้นกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่องไป
T.D.U. คือกฎหลักประจำครอบครัว
-Temporary ชอบทำอะไรแบบชั่วคราว ไม่ยืนยาวถาวร
-Duration ทำแล้วไม่เลิกในฉับพลัน อย่างน้อยต้องมีช่วงเวลาให้เห็นกันว่าทำอะไร
-Unfinished ทำอะไรก็อ้อยอิ่ง ไม่ทำให้เสร็จสิ้น ชอบค้างคา
Continuous คนนี้มีลูกสาว 3 คน นิสัยเหมือนแม่ทุกคนไม่ทิ้งแถว
คนโตชื่อ Past Continuous มีนิสัยยึดติดกับอดีต
คนรองชื่อ Present Continuous สนใจปัจจุบัน เป็นคนทันสมัย
ส่วนคนสุดท้องชื่อ Future Continuous ชอบวาดหวังอนาคต
ธรรมชาติหรือสันดานของ The Continuous Tense
จะเน้นลงไปในรายละเอียดเรื่องเวลาของเหตุการณ์อย่างเจาะจงมากขึ้น ซึ่งเหตุการณ์นั้นต้องมีลักษณะ..1. เป็นเรื่องชั่วคราว (Temporary) 2. มีช่วงระยะเวลา (Duration) และ 3.ยังไม่สิ้นสุด (Unfinished) หรือจะย่อว่า T.D.U.
ข้อแตกต่างในด้านเวลาที่ทำหน้าที่เป็นฉากหรือเวทีให้กับแต่ละ Tense เหล่านี้ได้แสดงบทบาทคือ
ถ้าเป็น Present Continuous เวลาของฉากเหตุการณ์นั้นจะเป็นปัจจุบัน
ถ้าเป็น Past Continuous เวลาของฉากเหตุการณ์นั้นจะเป็นอดีต
ถ้าเป็น Future Continuous เวลาของฉากเหตุการณ์นั้นจะเป็นอนาคต
Present Continuous Tense (Subject + is/am/are + V-ing)
1. เป็นเรื่องชั่วคราว (Temporary)
เมื่อผู้พูดใช้ Continuous Tense กับเหตุการณ์ใด เขาจะรู้สึกกับเหตุการณ์นั้นว่ามันเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว ที่เกิดขึ้นในชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สถานการณ์ที่ถาวรยืนยง (Permanent)
ตัวอย่าง
John เป็นชาวอเมริกัน เขาทำงานเป็นครูสอนภาษาที่จังหวัดอุดร ที่นี่ชาวบ้านเรียกเขาว่า บักจ้อน ถ้าเราถามเขาว่าคุณอาศัยอยู่ที่ไหน John สามารถเลือกตอบได้สองอย่างคือ...
I am living in Udornthani. หรือไม่ก็ I live in U.S.A.
ประโยคว่า I am living in Udornthani. มีนัยยะต่างกันกับ I live in U.S.A. ตรงความรู้สึกนึกคิดของ John ผู้ตอบคำถามนั้นเอง เมื่อ John คิดว่าการอาศัยอยู่ที่อุดรเป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น เขาจะเลือกใช้รูปกริยา Present Continuous มาสื่อความว่า I am living in Udornthani ซึ่งบอกให้รู้ว่าตามความคิดของ John เมืองอุดรไม่ใช่ที่อยู่ถาวรที่เขาจะลงหลักปักฐาน เมื่อหมดสัญญาว่าจ้างจากโรงเรียนสอนภาษา เขาก็จะเดินทางกลับไปอยู่อเมริกาบ้านเกิด และเมื่อ John เลือกพูดด้วยประโยคว่า I live in U.S.A.
นั่นก็เพราะว่าเขาต้องการบอกให้รู้เป็นนัยว่าอเมริกาคือที่ที่เขาตั้งใจว่าจะใช้ชีวิตอยู่เป็นการถาวร
ต่อไป John เกิดไปหลงรักนักร้องสาวชาวอุดรอย่างหัวปักหัวปำ เธอชื่อสนิมสร้อย
สนิมสร้อยมีอาชีพเป็นนักร้อง ส่วน John มีอาชีพเป็นครูสอนภาษา
................(ต่อวันหลังนะจ๊ะ)


2. มีช่วงระยะเวลา (Duration)
และ 3.ยังไม่สิ้นสุด (Unfinished) หรือจะย่อว่า T.D.U.
At 10:44am on October 27, 2009, Tao's mamy รักในหลวง said…
แล้วจะส่งให้ยังไงล่ะ พิมพ์เสร็จไป 3 Tenseแล้ว จะโพสท์ลงกะทู้ มันจะน่าเกลียดไปไหม
หรือว่าส่งทาง email???
At 10:31am on October 23, 2009, mamychi said…
หวัดดีค่ะ พี่อ้อม ไม่ออนนานเลย ลืมกันยังค่ะ
ยังคิดถึงอยู่นะคะ
At 3:21pm on October 22, 2009, Tao's mamy รักในหลวง said…
สวัสดีค่ะ รัตน์เพิ่งไล่ตามกะทู้ทันอ่านของคุณต้นไม้ของแม่พอดี
ได้หนังสือหรือยังคะ
ถ้ายัง รัตน์จะลองลอกจากหนังสือมาให้ แต่อาจนานหน่อย ประมาณ2-3 วัน/1 tense (แฮ่ะ ไม่รู้รอไหวเป่า) ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นมีงานเข้ามั้ย
ช่วยได้ก็ช่วยกันไป เนอะ
At 12:40pm on October 16, 2009, Mai said…
เพิ่งจะเห็นข้อความ โทษที นานๆ จะเข้ามาที หนังสือเล่มไหนดีเนี่ยจะบอกให้ว่าดีทุกเล่ม ไปที่ร้านหน้งสือที่ขายหน้งสือภาษาอังกฤษนะแล้วเลือกมาอ่าน เอาหน้งสืออ่านเล่นสำหรับเด็กก่อนก็ได้ หรือไม่ก็ไปเปิดๆดูว่าเรื่องแบบไหนน่าสนใจ ก้อซื้อมาเลย อ่านไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ได้เอง ภาษาเป็นทักษะที่ใช้เวลา เรียนไปพร้อมลูกเนี่ยหล่ะไม่ช้าก็ได้เอง มีปัญหาไรก็ส่งข้อความมาได้ อาจตอบเร็วช้าหน่อยขึ้นอยู่ว่าว่างแค่ไหนคับ มีไรถามได้ถ้าช่วยได้จะช่วยตอบ จริงๆไม่ได้เก่งมากมายนะ รู้บ้างไม่รู้บ้าง ช่วยได้ก็ช่วยคับ
At 11:32pm on October 10, 2009, Mommy_Auntie said…
คุณอ้อมอยู่ที่โตเกียวหรอค่ะ อยากไปเที่ยวเหมือนกันนะ
แพลนจะไปปีหน้า แต่ก้อผลัดไปปีแล้วปีเล่า
ว่าแต่น้องไทคิพูดได้ 3 ภาษาเลยใช่ป่ะ ดีจัง
At 12:25pm on October 10, 2009, mamychi said…
konnijiwa p"Aom kha
Okengkidesuka?
At 9:41pm on October 9, 2009, mamychi said…
ญี่ปุ่นกี่โมงแล้วค่ะ กทม.21.40น. แล้วค่ะ
ฝนกำลังตกโปรยปราย น่านอนมากเลย
พอดีว่าลูกชายน้องชิหลับอย
กับอาม่า แลยแว๊บมาเล่นค่ะ
At 9:38pm on October 9, 2009, mamychi said…
Kombangwa
ชื่ออะไรค่ะ จะได้เรียกถูกค่ะ
ona maie wa nan desu ka?
Watashiwa jane desu ne
Eii desuka??
At 1:31pm on October 9, 2009, mamychi said…
เจนเคยเรียนค่ะ แต่ก็ชอบนะเพราะฝันว่าอยากไปญี่ปุ่น
ได้แต่ฝันค่ะ ยังไม่มีโอกาสดีดีเลย เพื่อนก็ไปทำงานที่
ญี่ป่นหลายคนค่ะ เรียนมาด้วยกัน กลับมาแล้วก็มีค่ะ
ไปสอนภาษาไทยที่นั่น รายได้ดีมากเลยค่ะ อยู่เมืองไหนค่ะ
ตอนนี้ญี่ปุ่นเป็นไงบ้างค่ะ
At 12:53pm on October 9, 2009, Mommy_Auntie said…
ขอบคุณนะค่ะ ที่แวะเข้าบล็อกน้องต้นข้าว
ว่าแต่น้องไทคิเป็นลูกครึ่งญี่ป่นใช่ป่ะ
น่ารักจังเลย
At 2:20pm on October 7, 2009, mamychi said…
อยู่ที่ญี่ปุ่นหรอค่ะ จะได้เข้ามาฝาคำถามให้ตอบเป็นญี่ป่นค่ะ
อยากพูดได้เหมือนกันค่ะ เคยเรียนแต่คืนอาจารย์หมดแล่ว
Dooso Yoroshiku
At 6:24pm on October 6, 2009, อรนัย รักในหลวง said…
ออนไลน์ทิ้งไว้แว่บไปแวบมาค่ะคุณอ้อม
ไม่น้อยใจหรอกค่ะ แค่ไม่ชอบคำพูดที่แรงเกินไป ทุกคนที่นี้ไม่ได้เพอร์เฟคแต่ต่างมาช่วยกัน แต่สิ่งที่เค้าเขียนมันดูถูกความตั้งใจของคนอื่นมากเกินไปน่ะคะ
At 12:17pm on October 3, 2009, อรดา พงศ์สุธนะ said…
สวัสดีค่ะ คุณอ้อม หายไปไหนหรือเปล่า ไม่เห็นเข้าเวปหลายวันค่ะ ยุ่งกับตัวเล็กหรือเปล่าคะ เวลาที่ญี่ปุ่นเร็วกว่าเมืองไทยเท่าไรคะ..ขอบคุณนะคะ ที่ติดตามผลงานเคทและดาด้วยนะคะ
At 8:53pm on September 27, 2009, mother Bee said…
555 คุณอ้อม แต่บีน่ะ ชอบกินราเมงที่สุด แล้วก็มอนจะด้วย เคยมีโอกาสไปอยู่ที่เซนได 2 เดือนค่ะ ชอบญี่ปุ่นอ่ะ ทั้งคนทั้งอากาศดีมากเลย อิจฉาคุณอ้อมอ่ะ ได้อยู่ที่อากาศดีๆ สังคมคุณภาพ
ช่วงนี้อากาศเย็นๆ ค่ะ เข้าฤดูใบไม้ร่วงละ ที่ญี่ปุ่นล่ะคะเป็นไง คิดถึงมลภาวะเมืองไทยบ้างป่าว กลางธันวาบีก็ได้กลับบ้านแล้วค่ะ ชักคิดถึงควันพิษบ้านเราแล้วละ หุหุ
At 4:48pm on September 27, 2009, mother Bee said…
ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันค่ะ ฝากเนื้อฝากตัวเช่นกันนะคะ โดยเฉพาะภาษาญี่ปุ่น เคยเรียนมาบ้าง ชอบมากๆๆๆๆเลยค่ะ แต่ว่าคอมยังไม่ได้ลงโปรแกรมภาษาญีปุ่นเลย น้องไทคิน่ารักจังค่ะ ตอนนี้เรียนชั้นไหนแล้วคะ
ว่าแต่คุณต้นไม้ของแม่ ชื่ออะไรคะ
At 1:24pm on September 14, 2009, Choltisa said…
สวัสดีค่ะ คุณอ้อมขอบคุณมากนะคะ มาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น อื่ม แมวก้อคิดแบบเดียวกันเลยกันคุณอ้อม ค่ะ ก้อเลยพยายามพูดคุยกับเค้าทั้งสองภาษา ไทย อังกฤษ
แล้วแต่สัดส่วน สามีก้อพยายามไปหาข้อมูลมา เค้าก้อเลยตามใจแล้วแต่เรา เพียงถ้าลูกสามารถพูดไทยได้ก้อเป็นอะไรทีเยี่ยมไปเลย เพราะภาษาอังกฤษยังพอมีเวลาจะสอนได้
คุณอ้อมโชคดีจังเลยนะคะ มีคุณแม่ไปอยู่ใกล้ ๆๆๆ ในวัยที่ลูกเริ่มใช้ภาษา แน่นอนว่าเค้าจะได้ยิน ได้มีโอกาสพูดกับคุณยายบ่อย ดี ๆๆๆ ค่ะ
แมวก้อทำคล้าย ๆๆ กับคุณอ้อมนั้นแหละค่ะ คือ คุยกันทางเนต เปิดกล้องคุยกับน้องสาว กับหลาน ๆๆ ทำให้น้องยูมี และดงกอน คุ้นเคย มาคิดเองนะคะ ว่าคงไม่เลิกพูดคุยกับลูกเป็นอังกฤษ แต่สัดส่วนอาจจะลดลงไปบ้าง อาจจะไปเน้นพูดภาษาไทยมากขึ้น จริง ๆๆ แล้วทุกวันก้อทำอยู่ คือ พูดทั้งสองภาษาในเวลาเดียวกัน เพื่อให้เค้ารับรู้สิ่งที่แม่ต้องการเช่น ลูกปวดฉี่ รึ ยังครับ ไป วันนี้เค้าก้อพูด อมม่า ฉี่ ฉี่ ซึ่งส่วนใหญ่เค้าจะพูด pee pee เค้าเลือกที่พูดเอง อย่างอ่านนิทานที่ซื้อมาจากเมืองไทย ก้อจะอ่านเป็นภาษาไทย แล้ว ก้ออ่านเป็นภาษาอังกฤษต่อ เมื่อคืนสามีอ่านนิทานเกาหลีให้น้องดงกอนฟัง แมวก้อจะอ่านเล่มเดียวกันนั้นเป็นภาษาไทยแทน เค้าก้อดูฟังเข้าใจ สามีก้อหน้าบานเลยค่ะ ประมาณว่าเราฟังสิ่งที่เค้าพูดบ้าง ฮ่า ๆๆๆๆ
ตอนแรกก้อมีความเห็นต่างกัน ก้อมีเถียงกันเรื่องนี้แหละค่ะ ก้อบอกทำไมคนเกาหลีส่งให้ลูก ๆๆ ไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษเสียเงินแพง ๆๆๆ กัน ทำไม ในเมื่อเรามีโอกาสก้อสอนเค้าไปเลยตั้งแต่ยังเล็ก ๆๆ มันเป็นธรรมชาติ แล้วสามีก้อภาษาอังกฤษเค้าก้อเก่งกว่าแมวเสียอีก ตัวเค้าเองยังเรียนรู้อยู่ทุกวันนี้เลยค่ะ pick up phone ในตอนเช้า เวลาเราคุยกันก้อจะใช้ภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ แล้วก้อเกาหลี ผสมกันไป ลูก ๆๆ คงได้ยินบ่อย ๆๆ
เป็นการพูดคุยภายในบ้านกัน เกาหลีนี่ไม่ห่วงเลย แบบคุณอ้อมว่าเค้าได้โดยสภาพแวดล้อมอยู่แล้ว แมวพยายามจะคุยกับเค้าให้น้อยที่สุดเกาหลีเนี่ย เพราะช.ม. อื่นมันจะถูกลดสัดส่วนไป ความจริงเลี้ยงมาคนนึงแล้ว แต่ก้อเลี้ยงต่างกันค่ะ น้องยูมีนี่เน้นภาษาไทย 80 % อังกฤษ 20% ส่วนน้องดงกอนนี่แมวคิดว่าที่ผ่านมา อังกฤษ 70% ไทย 30%
จริง ๆๆ ตอนเล็กคุณยายมาช่วยเลี้ยงอยู่ 6 เดือนค่ะ แล้วก้อกลับ ทำให้ตอนนั้นเค้าพูดไทยได้เร็วมาก เพิ่งจะขวบนึง นม น้ำ หมำ ๆๆ ยาย ยาย แม่ สามีก้อแฮปปี้มาก ดูเค้าปลื้มที่ลูกพูดไทยได้ หลังจากคุณยายกลับไปเมืองไทย ก้อยังจำได้อยู่คำว่าคุณยาย แล้วเค้าก้อไม่ค่อยพูด พูดได้ช้านะคะ อาจจะเพราะเราพูดหลายภาษา สามีก้อคิดเช่นนั้น แต่ไม่ได้ซีเรียสเรื่องลูกพูดช้า กว่าเค้าจะเริ่มพูดเป็นประโยค แต่ไม่ยาวนะคะ ก้อเมื่อสอง สาม อาทิตย์นี่เองค่ะ เค้าเพิ่งจะสองขวบเต็ม ปลาย สิงหา
ดูคลิปน้องไทคิ จัดว่าเค้าพูดเร็วได้เร็วนะคะ คุณอ้อม เพราะเค้าเป็นเด็กสามภาษา ดช เนี่ยส่วนใหญ่จะพูดช้ากว่า ดญ แต่ก้อไม่เสมอไป สามีเองเค้าก้อบอกตอนเด็ก ๆๆ เค้าเริ่มพูดก้อช้ากว่าเด็กทั่วไป แต่พอพูดได้ก้อพูดเป็นต่อยหอย ฮ่า ๆๆๆ ก้อเห็นพัฒนาการของลูกในแต่ละวันก้อมีความสุขค่ะ เค้าเก็บคำศัพท์ที่จะพูดกับเราไว้ในคลังแล้ว พอพูดออกตาก้อดีใจ เย้ ลูกพูดแล้ว เช่น อมม่า sitdown , no no , I want cup ฯลฯ
แต่ยังแปลกใจทำไมลูกเรียก อมม่า ตลอด ทั้งที่แมวจะแทนตัวเองว่า แม่ อาจจะสามีและพี่สาวเค้าตะโกนเรียกเราแบบนั้นมั้งเนอะคะ
ดีใจที่เราได้เจอเพื่อนดี ๆๆ ในนี้นะคะ ขอบคุณอ้อมที่สละเวลามาตอบนะคะ เพิ่มความมั่นใจขึ้นมา ไว้คุยกันใหม่นะคะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service