เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
เผอิญสนใจเรื่องการพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก
เพราะเหตุว่าเคยอาศัยอยู่ที่มาเลเซียมาหลายปี
แล้วเกิดความอยากให้ลูกเราพูดภาษาที่สองเป็นแบบ native speaking ได้บ้าง
ประกอบกับมีเพื่อนต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติ (แต่เป็นคนมาเลย์)
เลยทำให้ทราบว่าเพื่อนๆ ชาวต่างชาติ
ทั้งไทย( local) มาเลเซีย จีน อินเดีย
ชนชาติทั้งหมดที่ปนๆกันอยู่ที่ประเทศมาเลยเซีย
มีน้อย ถึงน้อยมากๆ ที่จะมานั่งเรียนภาษาที่สอง ที่สาม ที่สี่กันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว
อาจจะมีข้อยกเว้นก็คือภาษาญี่ปุ่น เกาหลี และอื่นๆ
แต่หลักๆ เช่น จีนกลาง ฮกเกี๊ยน อังกฤษ bahasa ไทย นั้น
เค้าเรียนจากสภาพแวดล้อม ตามถิ่นที่อยู่ เป็นหลัก
จะเห็นว่าคนจีนจากปีนังจะพูดได้แต่ฮกเกี๋ยน
แต่ถ้าไปเจอคนจีนที่ KL จะพูดจีนกลางได้ แต่ไม่สามารถพูดฮกเกี๋ยนได้ก็เยอะ
คุยกันไปคุยกันมา กลายเป็นว่าคนจีน คนอินเดีย คนไทย(โลคัล)
ภาษาที่อ่อนทีสุดกลายเป็นภาษา Bahasa ของคนมาเลย์นั้นเอง
บ้านเราก็อย่าให้เป็นแบบนั้นนะครับ
มันก็คงเหมือนกับบ้านเราที่เฝ้าเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็ก ยันโตจนปัจจุบันก็ยังไม่ดี ไม่เก่ง ไม่คล่อง
กลับมาที่ภาษาอังกฤษ ที่พ่อตั้งใจจะตั้งหน้าตั้งตาพูดกับลูกเรียกว่าตั้งแต่อยู่ในท้องเลยทีเดียว
ปัจจุบันลูกชายคนโต น้องกานต์ อายุ 1.9 ปี สามารถเข้าใจคำสั่ง พื้นฐานได้บ้างแล้ว
แต่ก็คงแล้วแต่อารมณ์ ถ้าวันไหนว่าง่ายๆ ก็ทำหมด
ถึงวันนี้คงเรียกว่ารู้ฟังในระดับหนึ่ง แต่ไม่ซีเรียสมาก
เพราะว่าพูดยังไม่ได้มาก จะภาษาอะไรพูดได้ก่อน พ่อก็ดีใจหล่ะ
หลังจากการหากูเกิ้ล หาไปหามามาเจอบ้านหลังนี้ได้
ก็เลยไปซื้อหนังสือมาอ่าน เล่มหนึ่ง เล่มสอง
ทำให้รู้ว่ะ ไอ้ที่เราทำมาตั้งนานแล้วเนี้ยะ
เค้าเรียกระบบ OPOL (พ่อพูดอังกฤษ แม่ไทย คนเลี้ยงแต๋จิ๋ว)
ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัย
แล้วก็ไม่เคยแปลให้ลูกฟังด้วย อ่ะ ตรงอีก
เพราะอย่างที่เล่าให้ฟัง เห็นแม่คนจีนมาเลย์ สอนภาษาอังกฤษลูก เค้าก็ไม่ได้แปล
เค้าพูดให้ฟังอย่างเดียว ไม่เห็นต้องแปลภาษาจีนเลย
ก็เลยนำมาเลียนแบบ ซึ่งก็ได้ผลดี และเผอิญมาตรงกับเนื้อหาหนังสือ
อย่างนี้คุณพ่อเลยยิ่งได้ใจใหญ่
สิ่งสำคัญตอนนี้อยู่ที่ว่า เราพูดอะไรให้ลูกเราฟังบ้าง
เราสื่อเรื่องราวเหล่านั้นอย่างไร
set สภาพแวดล้อมให้สอดคล้อง
อย่าถึงกับขนาดๆว่าต้องส่งไปเรียนเมืองนอกเมืองนา
เพื่อฝึกภาษาเลยครับ ผมว่ามันหมดยุคแล้ว และไม่คุ้มเอาซะเลย
กะอีแค่ได้ภาษากลับมา แต่ขาดหัวใจความเป็นคนไทย
ผมว่ามันจะอารมณ์เดียวกับการส่งลูกไปเรียนดนตรี
แต่คนที่บ้านไม่มีพื้นฐาน หรือชอบดนตรีเลย
ส่งลูกไปเรียนก็เท่านั้น กลับมาก็ไม่ได้มาซ้อมกับพ่อกับแม่
เล่นอยู่คนเดียว ส่วนใหญ่ถ้าเด็กไม่ชอบก็เลิกกลางทางทั้งนั้น
เสียดายนะ ครับ
ใครเคยเรียนดนตรี และชอบคงจะเข้าใจอารมณ์ความสุขแบบนั้น
เวลาที่พ่อ กับลูก มาเล่นดนตรีด้วยกัน แจมกัน รับรองได้เลยครับว่ามีแต่ความสุข
กลับมาเรื่องภาษาดีกว่า สำหรับผู้ปกครอง
ถ้าใครเก่งภาษาอยู่แล้วย่อมได้เปรียบ
แต่ถ้าใครไม่เก่ง ไม่คล่อง ก็ค่อยๆไป เป็นผู้ใหญ่แล้ว น่าจะสามารถตั้งเป้าหมายได้ง่ายกว่าเด็กๆนะครับ
อย่าลืมว่าถ้าอยากให้ลูกเก่งภาษา ตัวเองก็ต้องพัฒนาด้วย เรียนต่อไปอย่าหยุด สงสัย ไม่รู้ก็โพสถามเอา
แต่เห็นว่าอุปสรรคทั้งของคนเก่งภาษา และไม่เก่งภาษาก็คือ
ไม่กล้าพูดในที่สาธารณะ!!!
อย่าไปอายเลยครับ กลัวพูดผิด พูดถูก แกรมม่าไม่ตรงหลัก โน้นนี่นั้น
ช่างมัน อย่าไปอาย ก็ขนาดภาษาไทยเราเอง เรายังพูดไม่ตรงหลักไวยกรณ์เลย
แล้วจะไปแคร์ทำไมถ้าจะพูด จริงไหม๊!!!
อาย สำเนียงไม่ดี
คำถามคือ ไม่ดีคือย่างไร ต้องสำเนียงอังกฤษ อเมริกัน แคนนาดา
อะไรประมาณนี้เหรออ คุยกับฝรั่งหลายๆคน ฝรั่งกันเองบางที่ก็ไม่เข้าใจ
ก็คงเหมือนคนภาคกลาง คงฟังคนอีสาน เหนือ ใต้ ไม่ได้ร้อยเปอร์เซนต์
แต่ก็ยังเข้าใจสิ่งที่พูดใช่หรือไม่
เพราะฉะนั้นอย่าไปกังวลมากนัก
เคยกับเพื่อนชาวต่างชาติหลายๆคน บอกว่า อังกฤษสำเนียงไทยของเราๆนั้น
ดีแล้ว ฟังเข้าใจง่าย สื่อสารตรงไปตรงมา
ดีกว่าพวก อินเดีย พูดน้ำไหลไฟดับ แต่ไม่เข้าใจก็เยอะ
เพราะฉะนั้นอย่าไปติด กับคำว่าพูดแบบเจ้าของภาษา
ขอให้พูดอย่าให้เพืียนก็พอ ครับ
เพิ่งเคยเขียนบล๊อคฉบับแรกเขียนวนไปวนมาหน่อย
แต่ไว้คิดอะไรสนุกๆเกี่ยวกับภาษา เกี่ยวกับลูก จะมาเล่าให้ฟังใหม่
Comment
อายุน้องกานต์เท่ากับน้องเบเน่ ไม่เก่งภาษาแต่กำลังพยายาม น้องเข้าใจคำสั่งภาษาอังกฤษได้บ้างแล้วเหมือน คำศัพท์ที่เคยทำท่าว่าจะพูดได้ก็ไม่ค่อยพูดแล้ว ตอนภาษาไทยของน้องมาแรงแซงภาษาอังกฤษไปแล้ว จึงรีบตาม ตาม และตาม
ขอบคุณค่ะสำหรับคำแนะนำดีๆยอดเยี่ยมสุดๆๆค่ะ
© 2024 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by
You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!
Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้