เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ขวดนมมีสารก่อมะเร็ง!

อ่านข่าวแล้วตกใจมากเลยค่ะ  ขวดนมลูกมีสารก่อให้เกิดมะเร็ง  แม่เจ้า!  เราให้ลูกดูดขวดนมมาเป็นปี แล้ว  ไม่รู้ตัวเลย  ตอนนี้ได้อ่านข่าวกังวลมากเลยค่ะ ทั้งขวดนม ทั้งจุกนม  มีสารก่อให้เกิดอันตรายทั้งนั้นเลยค่ะ  แย่จังเรา  กลุ้มใจมากค่ะ  กลัวลูกจะเป็นต่างๆนาๆ  คุณพ่อคุณแม่ท่านไหน มีข้อเสนอแนะ หรือข้อมูลอื่น ๆ บ้างคะ แชร์กันหน่อยซิคะ

Views: 1221

Comment

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

Comment by ปาจรียา(แม่ป้อของอิง+หมิง+หลง) on August 29, 2011 at 2:50pm

งั้นขอถามต่อด้วยค่่ะ

เค้ามีกำหนดอายุการใช้งานของขวดนมไม๊ค่ะ ใช้มา2คนแล้ว(4ปีกว่า) คนที่3ก็จะออกมาเร็วๆนี้ ควรเปลี่ยนเซ็ทใหม่ไม๊น๊า

แล้วเวลาที่เราใช้เครื่องนึ่งขวดนมจะเป็นปัญหาไม๊ค่ะ

Comment by แม่น้องแวนด้า on August 29, 2011 at 10:08am
ขอบคุณมากๆ นะคะ สำหรับความคิดเห็น ค่ะ
Comment by ma ma on August 29, 2011 at 3:54am
จริงจริงเเล้ว น่ากลัวที่สุด ก็ตอนซื้อของ ซื้อก๋วยเตี๋ยว น่ะค่ะ น้ำซุปในถุงพลาสติกน่ะค่ะ ร้อนมาก จริงๆเเล้วอันตรายมากน่ะค่ะ  ขวดนมถ้าเปลี่ยนทุกสามหรือสี่เดือน ก็โอเคน่ะค่ะ  ขวดนมรุ่นใหม่ การันตี free BPA  ด้วยค่ะ
Comment by พ่อน้องเพชร พัฒนสัณห์ on August 28, 2011 at 11:15am
ผมว่าถ้าเราคิดบวกนะครับ ชีวิตประจำวันของเราทุกวันนี้ มีสิทธิเป็นมะเร็งกันได้ทุกวินาทีครับ ทำงานกับเครื่องถ่ายเอกสาร นั่งอยุ่ใกล้คนสูบบุหรี่ กินผักที่มีสารพิษตกค้าง ลูกชิ้นที่กรอบอร่อยเพราะมีสารบอแรกซ์ หมูมีสารเร่งเนื้อแดง ข้าวที่เรากินมียาฆ่าแมลงตกค้าง อาหารร้อน ๆ ใส่ในถุงพลาสติก ข้าวกล่องร้อน ๆ อยู่ในกล่องโฟม จานชามเมลามีนที่ไม่ได้มาตรฐาน กลิ่นควันจากท่อไอเสีย อาหารจากเตาอบไมโครเวฟ .....ฯลฯ ครับ
Comment by คุณแม่น้องอิ่ม & เอม on August 27, 2011 at 11:17am

ใช่แล้วค่ะ

ขอเพิ่มเติมข้อมูลโดยตัดบางส่วนมานะคะ

โดยทั่วไปแล้วขวดนมใหม่ๆ ที่ทำจากพลาสติก จะไม่มีสารตกค้างใดๆ ค่ะ เพียงแต่ว่าเมื่อเรานำไปใช้นานๆ เข้า จนผิว (พลาสติกด้านใน) เริ่มเป็นรอยอันอาจจะเกิดจากการล้างทำความสะอาด หรือการโดนความร้อนจัด หรือเย็นจัดแล้วโดนกระแทก ก็อาจจะเกิดรอยขูดขีด (ซึ่งบางครั้งเราอาจจะไม่ทันสังเกตเห็น เพราะมันอยู่ด้านใน) เมื่อเนื้อพลาสติกเป็นรอย สารก่อมะเร็งกลุ่ม BPA (Bisphenol A) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate Plastic) และ อีพอกซีเรซิ่น (Epoxy Resins) (นิยมเอามาใช้ทำ ขวดและทำให้ขวดพลาสติกมีความใส) สารพิษ BPA นี้จะซึมออกมาปนเปื้อนในน้ำนมในขวดนมของลูกเราด้วย!!!

จากการทดลองในหนู พบว่า สาร BPA แค่เพียง 3 ส่วนในล้านส่วน ก็มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่งผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในร่างกายอีกด้วย แม้ว่าปริมาณสารที่ปนเปื้อน นี้อาจจะมีน้อย แต่เนื่องจากว่าเราต้องให้ลูกของเรากินนมจากขวดติดต่อกัน ก็เป็นการสะสมสารพิษนี้ได้เช่นกัน

Bisphenol A หรือ BPA คืออะไร

เป็นสารเคมีที่ประเภทโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate Plastic) นำมาใช้ผลิตพลาสติกเป็นวัตถุดิบสำคัญ ที่ใช้การผลิตขวดนมเด็ก, ขวดน้ำดื่ม มีคุณสมบัติ ช่วยให้ขวดนม หรือพลาสติก มีความแข็งแรง ใส ไม่แตกง่ายเมื่อบริโภคอาหารจากบรรจุภัณฑ์เหล่านั้น ก็จะรับสาร BPA เข้าไปโดยไม่รู้ตัว

BPA เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร

ความร้อน จากการต้ม, นึ่ง หรือ สเตอริไลซ์ พลาสติก จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้สารพิษหลุดร่อนปะปนในอาหารยิ่งขึ่น โดย สาร BPA จะแทรกซึมลงในของเหลวและอาหาร ที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะ เช่น ขวดนม ขวดพลาสติก กล่องบรรจุอาหารแล้วจึงเข้าสู่ร่างกายเมื่อกินเข้าไป

โทษของ BPA ต่อมนุษย์

มีผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท ความทรงจำ การเรียนรู้ มีผลต่อฮอร์โมนการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ ทำให้เด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป เด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน และไฮเปอร์แอคทีฟ ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ยิ่งสะสมในร่างกายมากเท่าใด ก็จะยิ่งไปลดศักยภาพการทำงานของร่างกายมากขึ้น ที่สำคัญคือ เด็กทารก เมื่อได้รับสาร BPA ก็จะส่งผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าในเด็กโต หรือผู้ใหญ่

ความตื่นตัวเรื่องสาร Bisphenol A

 - แคนาดา เป็นประเทศแรก ที่ห้ามจำหน่ายขวดนมเด็กที่มีสาร BPA ไปแล้วเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2551

 - สหรัฐอเมริกา รัฐนิวยอร์ก เป็นรัฐล่าสุด ที่ออกกฎหมายห้ามผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเด็กที่มีสาร BPA โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2553

 - สหภาพยุโรป หรือ EU ได้ออกมาเตือน ห้ามใช้สาร BPA ในการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร และขวดนมแล้ว

 

เวลาทำความสะอาด หากใช้ความรุนแรง (น้ำยาล้างขวดที่มีฤทธิ์แรงเกินไป) หรือใช้วัสดุทำความสะอาดที่ไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้ขวดด้านในเป็นรอย เมื่อเป็นรอยสาร BPA ก็จะปนเปื้อนออกมา

ยิ่งขวดนมพลาสติกเป็นแบบใสมากเท่าไร ขวดนั้นยิ่งมีสาร BPA มากเท่านั้น เพราะสาร BPA ใช้ทำให้ขวดนมใส หากเป็นขวดนมแบบขุ่น ก็จะมีสาร BPA น้อยกว่า

นอกจากขวดนมแล้ว จุกนมที่ทำจากพลาสติกก็เป็นอีกเรื่องที่คุณแม่ทั้งหลายควรจะใส่ใจนะค่ะ เพราะจุกนมนั้นมี 2 แบบคือ ทำจากพลาสติกและแบบซิลิโคน ซึ่งแบบพลาสติกนั้น โอกาสที่ลูกของเราจะดูดไปหม่ำจุกนม (ขบกัดเพราะกำลังหมั่นเขี้ยว ฟันกำลังขึ้น) จนทำให้จุกนม (ทำจากพลาสติก) ฉีกขาด ก็มีโอกาสที่สาร BPA จะปนเปื้อนได้เช่นกันค่ะ ส่วนที่เป็นจุกนมแบบซิลิโคนเด็กจะขบ กัด ยังไงก็ไม่ขาดค่ะ ในปัจจุบันมีผู้จำหน่ายขวดพลาสติกไม่กี่รายที่ทำขวดนมแบบ BPA-Free ออกมา (ไม่มีสาร BPA) ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าหากสามารถเลือกซื้อมาใช้งานได้

Comment by Somying Ungpiyakul on August 27, 2011 at 10:20am
ขอแนะนำ ว่า ให้ดูที่ข้างขวดนมว่า BPA free หรือ NO BPA ค่ะ
Comment by คุณแม่น้องอิ่ม & เอม on August 27, 2011 at 1:50am

ขอแชร์ข้อมูลค่ะ จริงๆ แล้วไม่น่าตกใจหรือกังวลจนเกินไปค่ะ เนื่องจากทุกประเทศจะมีประกาศฯ จากหน่วยงานราชการที่เข้ามาควบคุมมาตรฐานการผลิตอยู่แล้ว ทั้งขวดนมและจุกนม ประเทศไทยเราก็มีค่ะ (โดยอ้างอิงมาจากญี่ปุ่น) ว่าพลาสติกที่เหมาะสมในการนำมาผลิตขวดนั้น ควรเป็นประเภทไหน ความสามารถในการทนความร้อนอยู่ที่เท่าไหร่ และควรตรวจสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ก่อนการจำหน่ายว่ามีสารปนเปื้อนแต่ละประเภทตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ซึ่งหากเราเลือกขวดนมที่มีมาตรฐานในการผลิตจากผู้ประกอบการ (แต่ขวดนมทีไม่ได้มาตรฐานและวางขายก็อาจจะมีปนอยู่) โดยอ่านข้อมูลการผลิตให้ละเอียด และใช้งานตามที่แนะนำ เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างปลอดภัยแล้วค่ะ

ในกรณีขวดนม สารก่อมะเร็ง (หากมี) จะปนเปื้อนออกมาจากขวดนมได้ก็ต่อเมื่อภาชนะบรรจุได้รับอุณหภูมิสูง ดังนั้นคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนจัดเติมลงในขวดนม ควรเป็นแค่น้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องปกติก็พอแล้วค่ะ

พอดีว่าทำงานเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น่ะค่ะ ก็เลยพอทราบเกี่ยวกับประกาศฯ & กฎหมายอยู่บ้าง ส่วนมากแล้วผู้ประกอบการผลิตภาชนะบรรจุจะต้องมีข้อมูลการตรวจวิเคราะห์เพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ของตัวเองก่อนจำหน่ายอยู่แล้วค่ะ

แต่หากหันไปมองภาชนะบรรจุอาหารอื่นๆ แล้ว มีเยอะมากเลยค่ะที่ไม่ได้มาตรฐาน อาหารบางอย่างก็บรรจุภาชนะในไม่เหมาะสม อันนี้น่าหนักใจกว่าขวดนมเยอะค่ะ

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service